เรื่องราว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 9 ตุลาคม 2011.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    พระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทะเจ้า บำเพ็ญบารมี 30 ทัศ คือ บารมี 10 อุปบารมี
    10 และปรมัตถบารมี 10 โดยเป็นการบำเพ็ญที่เป็นการบำเพ็ญอย่างยาวนาน บำเพ็ญ
    กุศลทุกประการ บำเพ็ญติดต่อกันไปและบำเพ็ญบารมีด้วยความเคารพครับ ซึ่งแต่ละ
    ชาติก็บำเพ็ญบารมี ทั่ง 10 ประการอยู่แล้ว ไม่ใช่บำเพ็ญอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่า
    ชาตินั้นจะเด่นในบารมีอะไรเป็นสำคัญ ท่านก็ยกพระชาตินั้นว่า เด่นในบารมีนั้น เช่น
    พระเวสสันดร เด่นในเรื่องทาน ซึ่งท่านก็บำเพ็ญทุกบารมีอยู่แล้วครับในชาตินั้น ซึ่งหา
    อ่านได้ที่พระไตรปิฎก เล่ม 74 จริยาปิฎก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัยครับ
    คำว่า “บวช” เป็นคำที่คนไทยนิยมใช้ มาจากภาษาบาลี “ปพฺพชฺชา” ซึ่งหมายถึง
    บรรพชา มีรากศัพท์มาจาก ป (ปะ) แปลว่า ทั่ว และ วช (วะชะ) แปลว่า เว้น
    มาเป็นคำว่า “บรรพชา” แล้วกลายมาเป็นคำว่า “บวช” ในที่สุด
    คำว่า “ปพฺพชฺชา” หรือ “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว หมายถึง การงดเว้นจาก
    ความชั่วทั้งปวง หรือ หมายถึง ออกไป คือ ออกไปจากธุรการงานทุกประเภทของ
    คฤหัสถ์ ผู้ที่ถือบวชในพุทธศาสนา จะได้นามว่า พระบ้าง ภิกษุบ้าง บรรพชิตบ้าง
    ในปัจจุบันคำว่า “การบวช” ที่เราพูดกันนั้น มิได้หมายเอาเฉพาะความหมายที่ตรงกับ
    คำว่า “บรรพชา” เท่านั้น แต่หมายถึงคำว่า “อุปสมบท” ด้วย เพราะตามความ
    หมายเดิม บรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ดังนั้น คำว่า “บวช”
    จึงใช้เป็นคำกลาง ๆ หากต้องการจะสื่อสารให้รู้ว่าบวชเป็นอะไรก็เพิ่มคำใหม่ต่อท้าย
    เช่น บวชเณร บวชพระ บวชชี เป็นต้น การบวชในพุทธศาสนาแยกได้ 2 ประเภท
    1. การบรรพชา คือ การบวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา ผู้ชายมีอายุต่ำกว่า 20 ปี
    มีศรัทธาจะบวชในพุทธศาสนา พระวินัยได้กำหนดไว้ให้บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุ
    ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หากมีคุณสมบัติอย่างอื่นครบ และมีความประพฤติดีงาม ก็
    สามารถขอบวชเป็นพระภิกษุได้
    2. การอุปสมบท คำว่า “อุปสมบท” หมายถึง การบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา
    บางทีก็ใช้รวมกับคำว่า “บรรพชา” เป็น “บรรพชาอุปสมบท” หมายถึง การบวชเป็น
    สามเณรและภิกษุในพุทธศาสนา มีคำที่ใช้แทนผู้ที่บวชเป็นภิกษุแล้ว
    การบวชพระหรือการอุปสมบทในพุทธศาสนาแยกได้ 3 ประเภท คือ
    1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การบวชประเภทนี้ เป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าประทาน แก่
    กุลบุตรผู้ขอบวชด้วยพระองค์เอง เป็นการอนุญาตให้มาเป็นภิกษุโดยการตรัสด้วยพระ
    วาจาแต่จะมีอยู่ 2 แบบ คือ...
    หากบุคคลผู้ที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาขอบวช พระองค์ก็จะตรัสเรียกให้เข้าเป็นภิกษุ
    ว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่
    สุดทุกข์โดยชอบเถิด” การตรัสพระวาจาเพียงแค่นี้ก็สำเร็จเป็นภิกษุในพุทธศาสนา
    แล้ว
    สำหรับแบบที่สองเป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้แก่บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ
    สามารถกำจัดกิเลสได้แล้ว พระองค์จะตรัสพระวาจาว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด
    ธรรมเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” จะพบพระพุทธเจ้าจะตัดข้อความ
    ตอนสุดท้ายออก คือ “ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสตัณหา
    ได้แล้ว จะไม่มีความทุกข์โดยสิ้นเชิง

    2. ติสรณคมนูปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยวิธีให้ผู้ขอบวชกล่าวคำรับเอาและเข้า
    ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง(สรณะ) เป็นที่ระลึก ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้แล้วใน
    เรื่อง “การบรรพชา” แต่การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทานี้ เดิมใช้บวชพระมาก่อน
    กล่าวคือ ตอนที่พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยออกประกาศศาสนา ได้เสร็จไปโปรด
    ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ประทานการบวชแก่บุคคลผู้เลื่อมใสศรัทธา
    ขณะที่ประทับอยู่ในเขตเมืองพาราณสีนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป แล้วพระองค์ก็ทรง
    ส่งพระสาวกเหล่านั้นออกประกาศศาสนาไปตามบ้าน คาม นิคมและราชธานี โดย
    ส่งไปแห่งละรูป มิให้เดินทางไปแห่งเดียวกันสองรูป
    เมื่อมีผู้ศรัทธาจะขอบวชในพุทธศาสนา พระสาวกก็ไม่อาจจะบวชให้แก่ผู้เลื่อมใส
    เหล่านั้นได้ ต้องพาผู้มีศรัทธาเหล่านั้นเดินทางรอนแรม หนทางก็ทุรกันดาร พระ
    พุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากเหล่านี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสามารถบวชด้วยวิธีติสรณ
    คมนูปสัมปทานี้ โดยไม่ต้องพาผู้ขอบวชเดินทางมาหาพระพุทธองค์อีกต่อไป
    3. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นวิธีบวชที่พระพุทธเจ้าทรงมอบพระโอวาทให้แก่พระ
    มหากัสสปะรับไปปฏิบัติ คือพระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทโดยการมอบพระโอวาทแก่
    ท่าน และให้ท่านนำไปปฏิบัติ พระภิกษุที่ได้รับการบวชด้วยวิธีนี้มีเพียงพระมหากัสสปะ
    รูปเดียวเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงพระโอวาทที่พระองค์ตรัสประทานแก่พระ
    มหากัสสปะไว้ดังนี้
    ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตัปปะ
    อย่างแรงกล้าไว้ในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ ทั้งที่เป็นผู้ใหม่และทั้งที่มีพรรษาปาน
    กลางดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรมทั้งหมดที่
    ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้นทั้งหมดแล้วประมวลมาไว้ด้วยใจ
    ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติที่เกิดพร้อมด้วย
    ความยินดีจักไม่พรากจากเราดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างว่ามานี้แล
    4. ญัตติจตุตถกรรมวาจา คือ การอุปสมบทด้วยการสวดญัตติเป็นที่ 4 การ
    อุปสมบทหรือบวชพระในปัจจุบัน ใช้วิธีการอุปสมบทแบบบัตติจตุตถกรรมวาจานี้โดย
    หมู่สงฆ์เป็นผู้ใช้ ซึ่งเดิมใช้วิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่วิธีการเดิมทำให้เกิดข้อผิด
    พลาดและบกพร่องในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาบวชเป็นภิกษุ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกให้
    เป็นหน้าที่ของสงฆ์โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขถึงจำนวนสงฆ์ไว้ 2 อย่าง คือ
    -ในท้องถิ่นที่กันดารและห่างไกล ให้ใช้สงฆ์จำนวน 5 รูป ในการทำพิธีบวช
    -ในเมืองอันเป็นถิ่นที่หาภิกษุได้ง่าย กำหนดให้ใช้สงฆ์จำนวน 10 รูป
    ในจำนวนภิกษุ 5 หรือ 10 รูปนั้น ให้รวมกันเป็นคณะ แล้วให้มีพระอุปัชฌาย์ 1 รูป
    และพระคู่สวด 2 รูป ส่วนภิกษุที่เหลือให้เป็นพระอันดับ การรับรองการบวชในคณะ
    สงฆ์จะต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์ หลังจากกำหนดใช้การบวชพระด้วยวิธีญัตติจตุตถ
    กรรมนี้แล้ว ก็ยกเลิกวิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา และใช้วิธีหลังนี้สำหรับบวชให้แก่ผู้
    จะบวชเณร (บรรพชา)
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะ คือ
    ๑. ความเป็นพหูสูตร (การสดับตรับฟังมาก)
    ๒. ปริปุจฉกถา (การสอบถาม)
    ๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย
    ๔. การคบบุคคลผู้เจริญ
    ๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
    ๖. สัปปายกถา

    จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ ๑ นิกาย หรือว่า ๒-๓-๔-๕ นิกาย
    แม้ด้วยการสดับมาก ก็ย่อมละอุทธัจกุกกุจจะได้. เมื่อเป็นผู้มากด้วยการ
    สอบถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี เมื่อเป็นผู้รู้ชำนาญในพระวินัยบัญญัติ
    เพราะความเป็นผู้ชำนาญอันตนประพฤติแล้วก็ดี เมื่อเข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่
    ผู้เจริญ เช่นกับ พระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้.
    ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อ
    การละอุทธัจจกุกกุจจะดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็อุทธัจจะอันละด้วย
    ธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตมรรค และกุกกุจจะอันละ
    ได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอนาคามิมรรค " ดังนี้.
    ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เมื่อได้ยินคำใดก็ควรที่จะได้เข้าใจความหมายของคำ
    ที่กล่าวถึงด้วย คือ คำว่า คติ กับ (คติ)ภพ
    คติ หมายถึง ที่ไป, ที่ ๆ จะไป ซึ่งก็มีทั้งที่ไปดี (สุคติ) กับ ที่ไปที่ไม่ดี (ทุคติ)
    ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ไม่พ้นไปจากคติ ๕ คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรต-
    วิสัย(เกิดเป็นเปรต) มนุษย์ เทวดา(เทวดาในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผู้ที่เกิด
    ในรูปพรหมและอรูปพรหมด้วย)
    ส่วนคำว่า ภพ หมายถึงสถานที่เกิดของหมู่สัตว์ มี ๓๑ ภพภูมิ หรือหมายถึง
    ความบังเกิดขึ้นเป็นบุคคลต่าง ๆ และ ในบางแห่งเช่น ภพ ในปฏิจจสมุปบาท ภพมี
    ๒ ความหมายคือ กรรมภพ หมายถึง เจตนาเจตสิก(อกุศลเจตนา โลกียกุศลเจตนา)
    และอุปปัตติภพ หมายถึง ผลของเจตนา(โลกียวิบาก เจตสิกที่ประกอบ และกัมม-
    ชรูป) ด้วย
    ดังนั้น ที่กล่าวถึง คติภพ นั้นน่าจะหมายถึง ภพที่กำลังเป็นอยู่ และภพที่จะไปเกิด
    ต่อไป ในชาิิติต่อไป ซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจะเป็นภพภมิใด ถ้าเกิดในสุคติภูมิ
    ก็เป็น สุคติภพ ถ้าเกิดในอบายภูมิหรือทุคติภูมิ ก็เป็นทุคติภพ
    โสภณ ( ดีงาม ) + เจตสิก ( สภาพที่ประกอบกับจิต )
    เจตสิกที่เกิดกับโสภณจิต หมายถึง เจตสิกที่ดีงาม ไม่มีโทษ และเกิดกับจิตได้ทั้ง
    ๓ ชาติ คือ กุศลชาติ วิบากชาติ และกิริยาชาติ
    โสภณเจตสิกมี ๒๕ ดวงหรือประเภท ได้แก่
    โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
    วิรตีเจตสิก ๓ ดวง ได้แก่ ...สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑
    อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ได้แก่ ...กรุณา ๑ มุทิตา ๑ และ ปัญญาเจตสิก ๑
    ดวง
    ส่วนมานะ เป็นเจตสิก ที่เป็นอกุศลเจตสิก ดังนั้น มานะจึงไม่ใช่โสภณเจตสิก ที่เป็น
    เจตสิกฝ่ายดีครับ เพราะมานะเจตสิกเป็นอกุศลเจตสิก อกุศลเจตสิก ไม่เกิดร่วมกับ
    โสภณเจตสิกและโสภณจิตใดๆเลย ซึ่ง โสภณเจตสิกที่ตรงกันข้ามกับมานะเจตสิก
    โดยไม่ตรงนั้นไม่มีครับ ไม่ใช่มีเจตสิกฝ่ายดีจำเพาะเจาะจงที่ตรงกันข้ามกับมานะ
    เจตสิกครับ เพียงแต่ว่าสภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็นลักษณะคือ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน ก็
    เป็นสภาพธรรมที่ดี ที่ตรงกันข้ามกับมานะ เพราะขณะนั้น ไม่มีการเปรียบเทียบ แต่อ่อน
    น้อมในสิ่งที่ควรอ่อนน้อม เป็นต้น

    โสภณสาธารณเจตสิก
    โสภณ ( ดีงาม ) + สาธารณ ( ทั่วไป ) + เจตสิก ( ประกอบกับจิต )
    เจตสิกที่ทั่วไปแก่โสภณจิต หมายถึง เจตสิก ๑๙ ดวงที่เกิดกับโสภณจิตทุกดวง
    ( ๕๙ ดวง ) คือ โสภณจิตแต่ละดวงจะต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวงนี้ เกิดร่วมด้วย และ
    จะมีเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วยอีก ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเป็นโสภณจิตประเภทใด เช่น มีปีติ
    ปัญญา วิรตี หรืออัปปมัญญา เกิดร่วมด้วย หรือไม่มีเกิดร่วมด้วยก็ได้ โสภณสาธารณ
    เจตสิก ๑๙ ดวง ได้แก่ ...
    ๑. ศรัทธา ๒. สติ
    ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ
    ๕. อโลภะ ๖. อโทสะ
    ๗. ตัตตรมัชฌัตตตา
    ๘. กายปัสสัทธิ ๙. จิตตปัสสัทธิ
    ๑๐. กายลหุตา ๑๑. จิตตลหุตา
    ๑๒. กายมุทุตา ๑๓. จิตตมุทุตา
    ๑๔. กายกัมมัญญตา ๑๕. จิตตกัมมัญญตา
    ๑๖. กายปาคุญญตา ๑๗. จิตตปาคุญญตา

    ๑๘. กายุชุกตา ๑๙. จิตตุชุกตา

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
    ...............................ในบรรดาองค์เหล่านั้น สภาวะที่ชื่อว่า
    มานะ เพราะอรรถว่า ย่อมถือตัว. มานะนั้น มีการทรนงตนเป็นลักษณะ
    (อุนฺนติลกฺขโณ) มีการยุกย่องสัมปยุตธรรมเป็นรส (สมฺปคฺคหนรโส)
    มีความปรารถนาดุจธงเป็นปัจจุปัฏฐาน (เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน) มีโลภะ
    ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน (ทิฏฐิวิปฺปยุตตฺตโลภปทฏฺฐาโน) พึงทราบ
    ว่า เหมือนคนบ้า.

    [๗๒๒] มานสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
    การถือตัว ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเสมอกับเขา ว่าเราเลวกว่าเขา
    การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ]
    การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการ
    เป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานสัญโญชน์.

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
    แต่ในนิทเทสมานะข้อที่หนึ่งในขุททกวัตถุวิภังค์ ตรัสว่า มานะหนึ่ง
    ย่อมเกิดแก่ชนทั้ง ๓. ที่ชื่อว่า มานะ (ความถือตัว) ด้วยอำนาจการทำความ
    ถือตัว.
    บทว่า มญฺญนา มญฺญิตตฺตํ (กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว) นี้เป็น
    การชี้แจงถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า อุณฺณติ ( การยกตน) โดยความหมายว่า
    เทิดทูน. ที่ชื่อว่า อุณฺณาโม (การเชิดชูตน) เพราะอรรถว่า มานะย่อมยัง
    บุคคลผู้เกิดมานะให้พอง คือ ยกให้ตั้งขึ้น ที่ชื่อว่าธโช (ดุจธง) โดยความ
    หมายว่าเชิดชูขึ้นแล้ว. ที่ชื่อว่า สมฺปคฺคาโห (การยกจิตขึ้น) เพราะอรรถว่า
    ย่อมประคับประคองจิตโดยความหมายว่า การยกขึ้น. บรรดาธงทั้งหลายมาก
    ธงที่ยกขึ้นสูง ตรัสเรียกว่า เกตุ (ธง) เพราะว่ามานะเมื่อเกิดบ่อย ๆ เพราะ
    อาศัยมานะต่อ ๆ มา ก็เป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้นไว้สูง เพราะฉะนั้น
    จึงเรียกว่า เหมือนธง. จิตใดย่อมต้องการมานะเหมือนธง เพราะฉะนั้น จิต
    นั้นจึงชื่อว่า เกตุกมฺยํ (ปรารถนาดุจธง) ภาวะแห่งเกตุกัมยะนั้น ชื่อว่า
    เกตุกมฺยตา (ความที่จิตต้องการดุจธง) ก็ความที่จิตต้องการดุจธงนั้นเป็น
    ของจิต มิใช่เป็นของอัตตา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เกตุกมฺยตา จิตฺตสฺส
    (ความที่จิตต้องการดุจธง) อธิบายว่า จิตสัมปยุตด้วยมานะย่อมปรารถนาดุจธง
    และภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า เกตุกมฺยตา คือ มานะที่นับว่าเป็นดุจธง

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

    โทษของมานะ
    [๕๙๒] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษ
    ก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่
    ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คน
    ที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่
    นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย
    ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้
    หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด
    ที่ ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไป
    เพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่
    ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
    ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่
    ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑- หน้าที่ ๔๐๙

    ๔. ปฐมทารุขันธสูตร
    (ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์กับท่อนไม้ลอยน้ำ)
    [๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้
    มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริม
    ฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
    เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน่าพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย
    กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้
    หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
    ไม่ถูกน้ำวน วนไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมา
    นี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุ
    ว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ถ้าท่านทั้งหลาย จะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกย
    บก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ไม่ถูกเกลียวน้ำวน วนไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภาย
    ในไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ ย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระ
    ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงใน
    ท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคือ
    อะไร เกลียวน้ำวน วนไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุคำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
    คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิ-
    ราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูก่อนภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน? คือ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขา
    สุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิด
    ขึ้นแล้วของเขา ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ, ดูก่อนภิกษุ อมนุษย์จับเป็น
    ไฉน? คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาเป็นเทพ
    นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะหรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจัก
    ได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดู
    ก่อนภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนวนไว้เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูก่อนภิกษุ ความเป็นของ
    เน่าในภายในเป็นไฉน? คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามกไม่
    สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่า
    เป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายในมีใจชุ่ม
    ด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน.
    [๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาล ยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
    เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติด
    บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูก อมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภาย
    ใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้
    บรรพชาอุปมาบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของ
    เขาเถิด
    นันทโคบาล กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ.
    ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    เจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
    พระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้
    มีพระภาคเจ้า นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค
    เจ้า ก็แล ท่านพระนันทะ อุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง
    พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
    นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ก็อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ก็ท่านพระ
    นันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
    จบ ปฐมทารุขันสูตรที่ ๔

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
    ว่าด้วยนิทเทสแห่งโลภะ
    เนื้อความแห่งบททั้งหลายที่ยังมิได้กล่าวไว้ในหนหลังแม้ในโลภนิทเทส
    พึงทราบดังต่อไปนี้.
    สภาวะที่ชื่อว่า ราคะ (ความกำหนัด) ด้วยสามารถความยินดี. ที่ชื่อว่า
    สาราคะ (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่าความยินดีมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อนุนโย
    (ความคล้อยตามอารมณ์) เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้คล้อยไปในอารมณ์ทั้ง
    หลายที่ชื่อว่า อนุโรโธ (ความยินดี) เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ อธิบายว่า
    ย่อมยังสัตว์ให้ใคร่. ที่ชื่อว่า นนฺที (ความเพลิดเพลิน) เพราะอรรถว่า เป็น
    เหตุให้สัตว์เพลิดเพลินในภพใดภพหนึ่ง หรือตัวเองย่อมเพลิดเพลิน ความ
    เพลิดเพลินนั้นด้วย ความกำหนัดด้วยอรรถว่าความยินดีนั้นด้วย เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า นนฺทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน) ในนันที
    ราคะนั้น ตัณหาเกิดขึ้นครั้งเดียวในอารมณ์หนึ่งชื่อว่านันที (ความเพลิดเพลิน)
    เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงตรัสเรียกว่า นันทีราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
    เพลิดเพลิน).

    เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
    รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนจะร่วมงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
    รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
    สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
    ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
    ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ
    และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...