เรื่องราว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 4 สิงหาคม 2011.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ไม่มีในพระไตรปิฎกในเรื่องการแบ่งภพภูมิแบบนี้ครับ และไม่ใช่คำ
    สอนของพระพุทธเจ้าครับ ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 31 ภพภูมิ คือ

    กามภูมิ 11 คือ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษย์ 1 อบายภูมิ 4

    สวรรค์ 6 ชั้นคือ จาตุมมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิสสวัตตี

    อบายภูมิ 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน

    รูปภูมิ 16 ได้แก่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภาพรหม
    อัปปมาณาพรหม อาภัสสราพรหม ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม
    สุภกิณหาพรหม เวหัปผลาพรหม อสัญญสัตตาพรหม อวิหา อตัปปา สุทัสสา
    สุทัสสี อกนิฏฐา
    อรูปภูมิ 4 ได้แก่ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตน-
    ภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
    พระภิกษุต้องเป็นเพศที่ขัดเกลา สำหรับพระภิษุที่บวชนั้น ไม่ใช่สงฆ์โดยปรมัต คือ
    เป็นเพียงสมมติสงฆ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ประพฤติตามพระวินัย ก็เป็นเรื่องของพระภิกษุแต่ละ
    รูป แต่เมื่อบวชแล้วก็ต้องอยู่ประพฤติตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้า บัญญัติไว้ ซึ่งพระ
    พุทธเจ้าได้แสดงเหตุผลที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ 10 ข้อดังนี้ครับ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจ
    ประโยชน์ ๑๐ ประการแล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก
    ทั้งหลาย. ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ
    เพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
    เพื่อการอยู่สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
    เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน ๑
    เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปรายภพ ๑
    เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ๑
    เพื่อความเจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ๑
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑
    เพื่ออนุเคราะห์วินัย ๑
    ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล จึงบัญญัติสิกขาบท
    แสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.
    เสขิยวัตร 75 ข้อ
    หมวดที่ 1 : สารูป มี ๒๖ ข้อ
    (ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน)
    ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."

    ๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักห่มเป็นปริมณฑล".
    ๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน".
    ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน”.
    ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน".
    ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
    ๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน."
    ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน."
    ๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า."
    ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า."
    ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ หัวเราะลั่น."
    ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น."
    ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน."
    ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน."
    ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน."
    ๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวกบ้าน."
    ๑๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน."
    ๑๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน"
    ๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน."
    ๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน."
    ๒๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน."
    ๒๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน."
    ๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) ไปในละแวกบ้าน."
    ๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) นั่งในละแวกบ้าน."
    ๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระโหย่ง."
    ๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัดเข่า."
    หมวดที่ ๒ : โภชนปฏิสังยุต มี ๓๐ ข้อ
    (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
    ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."

    ๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับบิณฑบาต."
    ๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.”
    ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ."
    ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."
    ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต."
    ๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง."
    ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน."
    ๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต."
    ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัย
    ความอยากได้มาก."
    ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อ
    ประโยชน์แก่ตนฉัน."
    ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น."
    ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก."
    ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม."
    ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก."
    ๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.”
    ๑๗. พึงทำศึกษาว่า "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด."
    ๑๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเดาะ คำข้าว.”
    ๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว."
    ๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.”
    ๒๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันสลัดมือ."
    ๒๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก."
    ๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.”
    ๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.”
    ๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ
    ๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียมือ."
    ๒๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันขอดบาตร."
    ๒๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก."
    ๒๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส."
    ๓๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน."
    หมวดที่ ๓ : ธัมมเทสนาปฏิสังยุต มี ๑๖ ข้อ
    (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
    ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ."
    ๒.พึงทำศึกษาว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ."
    ๓.พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ."
    ๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ."
    ๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า."
    ๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า."
    ๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน."
    ๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน."
    ๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า."
    ๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ."
    ๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ."
    ๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่ง
    บนอาสนะ."
    ๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่ง
    บนอาสนะสูง."
    ๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่."
    ๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดิน
    ไปข้างหน้า."
    ๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไป
    อยู่ในทาง."

    หมวดที่ ๔ : ปกิณณกะ มี ๓ ข้อ
    (เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด)
    ๑. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ."
    ๒. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ
    บนของสดเขียว."
    ๓ พึงทำศึกษาว่าเราไม่อาพาธจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนเขฬะในน้ำ.”

    เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
    รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
    รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
    สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
    ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
    ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...