เรื่องปางพระพุทธรูปจากพุทธประวัติ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย mastermind, 3 มิถุนายน 2007.

  1. mastermind

    mastermind สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2006
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +16
    ผมเห็นว่าขณะนี้มีผู้สนใจในเรื่องของพระพุทธรูปมากขึ้นพอสมควร ประกอบกับว่าสื่อต่างๆ ที่นำเสนอ ก็ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่สมบูรณ์ จึงนำเสนอออกมาอย่างไม่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา ประชาชนทั่วไป ก็ยังขาดแหล่งข้อมูลอีกมาก พระพุทธประวัติบางตอนมีการสร้างพระพุทธรูปอยู่ถึง 3 ปางต่อเนื่องกัน ตำราสมัยก่อนบางเล่ม ไม่มีภาพประกอบก็จะเขียนผิดหรือเรียกบางปางเป็นปางเดียวกัน เช่น ตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ มีพระพุทธรูปเรียงตามพุทธประวัติ 3 ปางคือ ปางมหาภิเนษกรมณ์ ปางทรงตัดพระเมาลี และปางอธิษฐานเพศบรรพชิต การบรรยายพุทธประวัติไม่สามารถแยกออกเป็นตอนๆได้ แต่พระพุทธรูปทั้ง 3 ปางแตกต่างกันอย่างช้ดเจน แต่ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต เราอาจไม่ค่อยได้พบเห็นกันเท่าไรนักffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    หรืออย่างหัวข้อ เชิญบูชาพระพุทธรูปปางประสูติ ในเวปไซด์นี้เช่นกัน ดูจากรูปแล้ว น่าจะเป็นพระพุทธรูปปาง “ทรงพระดำเนิน 7 ก้าว” มากกว่า เพราะปางประสูติน่าจะเป็นปางที่มีพระนางสิริมหามายา ทรงยืนเหนี่ยวกิ่งสาละ ส่วนปางที่เป็นรูปพระกุมารยืนชี้พระหัตถ์ขึ้นฟ้านั้น น่าจะเป็นปาง ทรงพระดำเนิน 7 ก้าว ตามพุทธประวัติว่า พระโพธิสัตว์กุมาร เมื่อเสด็จลงยังพื้นภูมิภาคแล้วทรงทอดพระเนตรไปยังปราจีนทิศ เห็นเหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งปวงทำสักการบูชาแล้วทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางอุตรทิศ เสด็จย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าวแล้วทรงหยุดประทับบนทิพยปทุมชาติ ทรงเปล่งพระสุรเสียงดำรัสว่า ในโลกนี้เราเป็นยอดเป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุด การเกิดของเรานี้เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มี ขณะนั้นโลกธาตุเกิดมหัศจรรย์หวั่นไหว รัศมีพระอาทิตย์ก็อ่อนลงมหาเมฆก็ตั้งขึ้นในทิศทั้งหลาย ยังวัสโสทกให้ตกลงในที่นั้นโดยรอบ ปางทรงพระดำเนิน 7ก้าว เป็นปางพระที่ฝ่ายมหายานนิยมสร้าง เป็นรูปพระกุมารทรงยืนพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นชี้สู่เบื้องบน พระหัตถ์ขวาชี้ลงเบื้องล่าง<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    การค้นคว้าของผม ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เพราะยังพบเห็นพระพุทธรูปอีกหลายๆปางที่ยังไม่มีคำตอบ แต่ที่ค้นคว้าไว้แล้ว ยินดีที่จะเผยแพร่แก่สมาชิกทุกท่านที่สนใจ ผมลงรูปไว้ที่<O:p></O:p>
    http://www.freewebs.com/buddhaimages/ <O:p></O:p>
    มีข้อคิดเห็นประการใด รบกวนผู้รู้ทั้งหลายชี้แนะด้วยครับ<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...