เรื่องที่ "นักดูจิต" ไม่ควรพลาด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 3 เมษายน 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อารัมภบท
    =============================
    รู้ และ เห็น
    รู้กับเห็น คือ สติกับสัมปชัญญะ
    - สติ คือ “รู้”
    - สัมปชัญญะ คือ “เห็นทั่ว”
    เมื่อ สติ กับ สัมปชัญญะ พัฒนาแก่กล้าขึ้นไปเรื่อยๆ
    ก็จะเรียกว่า ญาณทัศนะ
    - ญาณ ก็แปลว่า “หยั่งรู้”
    - ทรรศะ ก็แปลว่า “เห็นชอบ”
    ญาณทัศนะ เกิดจากการ รู้ และ เห็น อย่างเดียวเท่านั้น
    จากคุณ : รู้สึกตัว
    บทสนทนา
    =============================

    (โยม)
    การจะรู้สึกตัวได้บ่อยๆ นอกจากฝึกรู้แล้ว ยังต้องไปฝึกอะไรเพื่อเพิ่มกำลังอีกหรือเปล่าครับ
    (พระอาจารย์)
    อย่างอื่นไม่เกี่ยวหรอก มันอยู่ที่ว่าขยันในการที่จะรู้บ่อยๆ
    “รู้” แล้วให้ “เห็น” ด้วยนะ
    เคยบอกแล้ว ว่าอย่าให้มันหายนาน
    อุบายวิธีการที่ไม่ให้หายนานก็ให้มา “รู้กาย เห็นกาย”
    การที่กลับมา รู้กาย เห็นกาย
    ตรงนี้ คือความตั้งมั่น ให้สติมันตั้งมั่น
    ให้กายเป็นที่ตั้งของสติ ตรงนี้เรียกว่าทำให้มีสมาธิ
    ให้ฝึก เข้าใจไหม ฝึกตรงนี้ให้มั่นคง
    ให้สติมันมั่นคง ตั้งมั่นอยู่กับกาย
    ไม่วอกแวก ไม่ออกจากกาย
    ตรงนี้ถือว่าเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง
    เพราะงั้นให้กลับมารู้กายบ่อยๆ
    ทั้งวันเนี่ยะ อย่างเนี้ย คือการสร้างฐานของสมาธิคือความตั้งมั่น ให้มากขึ้น
    แล้วมันก็จะ “เห็น” “เห็น”อาการของใจได้
    คือแต่ก่อน เวลาเห็นอาการของจิตเนี่ย
    จิตที่ไม่มีกำลังสมาธิ คือไม่ตั้งมั่น มันจะส่าย มันจะส่าย
    เช่นว่า หงุดหงิดปุ๊บเนี่ย มันดูแล้วมันจะ “ทำไมไม่หายไปซะทีวะ”
    มันจะเลือกให้ค่ามันทันที หรือ “ทำไมมันมากขึ้น” ฯลฯ
    เห็นไหม มันจะมีกระวนกระวายที่จะไปคว้าอะไรใหม่ขึ้นมาทดแทน
    อันนี้เรียกว่ามันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นโดยที่ว่ารู้เฉยๆ
    เพราะฉะนั้นเนี่ยะ ให้มาฝึก รู้กาย เห็นกาย
    เพราะกายมันเป็นที่ให้ตั้งมั่นได้ง่าย
    กายมันไม่มีปัญหา มันไม่เคยบอกว่าหงุดหงิด
    มันไม่ได้มีบอกว่าดี มันไม่ได้มีบอกว่าไม่ดี เห็นไหม
    พอไปรู้ปุ๊บ มันก็เฉยๆของมัน
    จิตเค้าสามารถจะตั้งมั่นอยู่กับมันได้ สติสามารถจะตั้งมั่นอยู่กับกายได้
    ตรงนี้มันเป็นการสร้างความเป็นสมาธิอย่างหนึ่งนะ
    แล้วให้เห็น เห็นการต่อเนื่องของกาย
    อย่างนั่งอยู่นี่ เห็นเลย เข้าใจไหม อย่างนี้
    เห็นกายเนี่ย นั่ง กำลังนั่ง
    ถ้า “รู้” มันรู้ได้ขณะหนึ่ง เดี๋ยวก็หาย
    รู้...หาย...รู้...หาย อย่างนั้นมันจะลอย
    ถ้าไม่ขยันรู้บ่อยๆ ถ้าไม่รู้ถี่นะ มันก็จะหลุด กว่าจะรู้สึกครั้งหนึ่ง
    ยิ่งถ้ารู้ที่ใจอย่างเดียวนะ จะเป็นอย่างนั้น เพราะใจมันไวมาก
    แล้วก็มีงานอีก ตาต้องทำ หูได้ยิน จิตต้องคิด
    ต้องมีการประกอบกระทำอยู่เรื่อย มันจะหลุด ถ้ารู้ที่ใจอย่างเดียว
    เพราะฉะนั้น ถ้าอยากจะ “รู้” ให้มันสติมันอยู่กับจิตนานๆ
    หรือว่าอยู่กับ กาย วาจา จิต ...นานๆ
    ให้ “รู้กาย เห็นกาย” อยู่
    เพราะว่ามันไม่ค่อย เห็นจิต น่ะ
    พอรู้ รู้จิต แต่ไม่ค่อย เห็นจิต
    การดูจิต ถ้าไม่ชำนาญจะเห็นแค่แป๊บเดียว
    แล้วจะเห็นแค่ตอนที่มันมีอารมณ์แรงๆ หนักๆ ถึงจะเห็น
    แต่พอเห็น พอเริ่มเห็น มันก็จะมีอาการเพ่ง
    มันเป็นอย่างนั้นแน่ เพราะมันยังรู้ไม่เป็น เห็นไม่เป็น มันจึงไม่เห็นเฉยๆ
    มันเห็นแล้วมันขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน
    มันเห็นแล้วมันจะต้องเข้าไปอย่างนั้นอย่างนี้
    แล้วมันก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่เห็นอีก
    อย่างเนี้ย
    แต่ว่าถ้ามันชำนาญแล้ว มันจะรู้เห็น อย่าง“เป็นกลาง”
    ให้เริ่มจาก“เห็นกาย”
    แล้วมันจะสร้างความคุ้นเคยที่จะเข้าไปเห็น
    เห็นกายได้ใช่ไหม
    ตอนนี้รู้กายได้ใช่ไหม
    เห็นความเป็นปกติของกายใช่ไหม นี่มันจะคุ้นเคยกับความเป็นปกติ
    มันจะคุ้นเคยกับ “รู้ปกติ”
    รู้อย่างนี้ รู้เหมือนที่รู้กายอย่างนี้ นี่คือรู้ปกติ
    แล้วเวลาขณะรู้กายอย่างนี้ ก็คอยสังเกตอยู่ภายในด้วย
    เมื่อรู้ปกติแล้ว ก็แอบชำเลืองดู ดูภายในว่ามีอะไร
    เช่น สบาย ไม่สบาย นี่เข้ามาดูอาการของใจแล้ว
    หงุดหงิด วิตก กังวล ความคิด
    แอบดู เห็น ชำเลืองดู เหลือบๆดู ก็จะเห็น
    ก็เอามาเทียบกับปกติ ให้เห็นว่า เออ อย่างนี้ ปกติ
    รู้แบบปกติ ไม่เพ่ง ไม่เอาอะไร ไม่ต้องมาก ไม่ต้องน้อย
    อย่างนี้มันจะเรียนรู้ว่า ปกติเป็นอย่างไร รู้จิตแบบปกติเป็นอย่างไร
    (โยม)
    การกลับมา“รู้กายเห็นกาย” จะช่วยให้เข้าใจว่า ความปกติคืออะไร และการรู้แบบปกติเป็นอย่างไร?
    (พระอาจารย์)
    ใช่ คือเห็นแบบปกติ เข้าใจไหม
    คือกายนี่ มันเป็นปกติอยู่แล้ว
    เวลาไปรู้แล้ว มันไม่มีอะไร เห็นไหม
    เราไปทำอะไรมันก็ไม่ได้ จะให้มันดีขึ้นหรือเลวลงก็ไม่ได้ เห็นไหม
    มันก็เป็นของมันอยู่แล้ว แล้วการที่เราเข้าไปเห็น ก็เห็นด้วยอาการปกติ เข้าใจไหม
    ไม่ได้เห็นแล้วเข้าไปมีเข้าไปเป็น
    แล้วขณะนั้นน่ะ ขณะที่เห็นแบบปกติเนี่ยะ ให้แอบดูใจด้วย
    ดูอาการของจิต ว่าเออ เห็นใจแบบปกติเป็นอย่างนี้
    เข้าใจไหม มันจะได้รู้ว่า เออนี่คือเห็นกลางๆ(แบบรู้กาย) เห็นกลางๆเป็นอย่างงี้
    แต่ถ้าอยู่ๆ “รู้” กำหนดที่ใจอย่างเดียวเลยตรงๆเนี่ย
    บางทีมันไม่เข้าใจ มันไม่เห็นแบบปกติ
    มันเห็นแบบ เข้าไปมี เข้าไปเป็น
    เห็นแบบเข้าไปจัดการ เข้าไปแทรกแซง
    นี่ก็เพราะมันไม่ชำนาญ
    แต่อย่างเรา หรืออย่างอาจารย์ปร*โ*** หรือท่านอื่นๆ
    อาศัยว่าเคยปฏิบัติทางสมถะมาก่อน
    ชำนาญ มีความชำนาญพอ
    พอที่จะตั้งใจดูจิต ก็“ดู”เลย ดูได้เลย ดูแล้วเห็นเลย
    เห็นแบบ “สิ่งที่ถูกรู้ และสิ่งที่รู้” คือต่างคนต่างอยู่ เข้าใจไหม
    เข้าใจไหม นี่คือฐาน คือความชำนาญ มันคือความชำนาญ
    แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวนะว่ามันคือกำลังตรงไหน คือว่าคนเขาทำเป็น มันเป็น เข้าใจไหม
    แต่ของเรามันยังไม่เป็น คือว่ามันจะถลำเข้าไป
    ถ้าไม่ถลำเข้าไป ก็หาย ...หาย
    พอรู้ รู้ขณะหนึ่ง แล้วก็หายไปซะครึ่งชั่วโมง, ชั่วโมงอะไรอย่างนั้น แล้วถึงกลับมารู้ใหม่
    มันไม่สามารถจะ “เห็น” เข้าใจไหม
    เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้มัน “รู้” “เห็น” ได้นานขึ้น ก็ให้มา “รู้เห็นกาย” ซะเลย
    เพราะกายมันง่ายกว่า จิตมันไม่ค่อยไหวน่ะ
    คือจิตมันค่อนข้างจะวอกแวก แล้วเรามักจะมีความเห็นต่อจิตด้วย
    คือมีและชอบจะมีอุปาทานกับมันอยู่เรื่อย
    เช่นว่านี่ดี นี่ไม่ดี นี้มันมาก นี้มันน้อย นี้มันใช่ นี้มันไม่ใช่ ...อยู่เรื่อย เข้าใจไหม
    พอรู้ปุ๊บ มันจะมีอุปาทานทันทีอยู่แล้ว แล้วมันก็จะกระโดดเข้าไปเล่นด้วย มันจะไม่เห็นเฉยๆ
    รู้ได้ ไม่ใช่ว่าสอนให้ดูจิตแล้วจะดูจิตอย่างเดียว รู้กายก็ได้
    เพราะมันเป็นเรื่องเดียวกันหมดแหละ
    ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่เรียก สติปัฏฐาน ๔ หรอก
    ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็สอนสิว่า สติปัฏฐาน ๑ อ่ะ ใช่ป่ะ
    ถ้าว่า ดูจิต ดูใจง่าย เพราะมันเป็นประธานอยู่แล้ว เป็นที่หนึ่ง
    คือทั้งหมดทั้งหลายรวมลงที่ใจ ก็...ฟิ้ว สติปัฏฐาน ๑ !
    ไม่มีสติปัฏฐาน ๔ ใช่ป่าว เอาง่ายๆอ่ะ ก็ทั้งหมดรวมลงที่ใจ ก็ที่ใจที่เดียวสิ


    (โยม)
    เท่าที่ฟังคือการฝึก “เห็นกาย” มันจะเป็นการสร้างสัมปชัญญะ
    คือการทำให้ “เห็น” ได้อย่างเป็นช่วงระยะเวลา หรือเห็นได้ทั้งวัน
    (พระอาจารย์)
    ใช่ เข้าใจไหม “เห็น” มันไม่ใช่ “รู้”
    มันจะไม่ใช่รู้แบบ ฉุบๆๆ แต่มันจะ “เห็น” ด้วย
    ทัศนะ คือเห็น
    ถ้าไม่มีการเห็นนะ พอไปดูจิต
    มีสติ “รู้” ...แล้ว พอมันไม่มีอะไร แล้วไม่มีสัมปชัญญะการ“เห็น”นะ ปุ๊บ! ...หลุด
    มันไม่รู้จะไปเห็นอะไร มันไม่ดูอะไร เพราะว่าพอจะเข้าไปดูอีกก็กลัวจะเพ่ง
    แล้วส่วนมากก็เพ่งนั่นแหละ
    แต่พอบอกว่า ให้กลับมารู้บ่อยๆ พวกโยมมันไม่บ่อยน่ะสิ มันไม่บ่อย
    พูดตามจริงนะ ถ้ารู้บ่อยๆ มันจะปรับมาเป็นสัมปชัญญะให้เอง
    เมื่อมันยังไม่บ่อยพอ ก็ต้องให้มาเห็นต่อเนื่อง “ให้เห็น”
    เพราะ“สติ”เนี่ยะ จะไม่ต่อเนื่อง
    เช่น พอตอนไหนไม่รู้ หาย หลง เผลอ เพลิน ...แล้วรู้ปุ๊บ รู้ว่าเออ เมื่อกี้หายไป
    อย่างงี้เห็นมะ มันเป็นแค่ขณะหนึ่ง สติเนี่ยะ
    แต่ตัวที่ต่อเนื่องไปเนี่ย มันเป็นเรื่องของ “เห็น” หรือสัมปชัญญะ
    คือทั้งรู้และเห็น
    ฝึก ให้มันเห็น ฝึกสัมปชัญญะ
    มันก็จะได้ทั้งรู้และเห็น
    อาการต่อเนื่องคือ “เห็น”
    เหมือนการลืมตาขึ้นมาแล้วมองเห็นอยู่
    เพราะฉะนั้นฝึก “เห็น” ด้วย เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ
    เมื่อสัมปชัญญะมันเพิ่มขึ้น มากขึ้น แกร่งกล้าขึ้น พอดูใจปุ๊บ
    ต่อไปมันจะ “รู้และเห็น” “รู้และเห็น”
    ไม่มีอะไรก็จะเห็นความไม่มีอะไร
    เห็นได้ตลอด เห็นได้ต่อเนื่อง ...เห็น
    ไม่อย่างนั้นเราก็ต้องมา หมั่นระลึกรู้ ระลึกรู้ ระลึกรู้แล้วก็หาย ระลึกรู้แล้วก็หาย
    มันจะขาด ...หาย ...แล้วก็ลอย ไปอย่างนี้มันจะลอย
    มันจะเผลอ มันจะเพลิน ...จะหาย อันนี้คือปัญหาของคนปฏิบัติ
    ฉะนั้นเมื่อเผลอ เมื่อเพลิน ปุ๊บ!
    เลยต้องหาวิธีการที่จะ“ทำ”
    ด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิบ้าง
    ก็เพื่อให้มันเป็นรูปแบบ ที่สามารถจะฝึกทำให้เกิดความชำนาญที่จะ“เห็น”ได้ต่อเนื่อง
    แต่ถ้าเข้าใจแล้ว ก็เอาสติสัมปชัญญะมาตั้งกับกายก็ได้
    เพราะกายมันจะมีตลอดเวลาอยู่แล้ว
    ไม่ต้องไปสร้างกายขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะให้เห็นนะ
    คำว่าเห็น มันเห็นตอนไหนก็เห็น
    มันมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องไปสร้างอาการของกายขึ้นมาใหม่
    เห็นจนมันเต็มรอบ หรือว่าแข็งแกร่งดีแล้ว
    พอไปรู้จิตใจ มันก็รู้ตรงๆได้ มันก็รู้ตรงๆที่จิตได้
    มันจะอยู่ได้เห็นได้ เห็นได้ต่อเนื่อง เห็นได้เป็นเวลานาน เห็นได้
    เพราะงั้นสติเนี่ยะ
    วันหนึ่งอาจจะ “รู้” ได้สักสิบครั้ง ยี่สิบครั้ง ไม่มีปัญหา
    ขอให้มัน “เห็น” ตลอดทั้งวันเถอะ เข้าใจไหม
    เพราะฉะนั้นการระลึกรู้น่ะ
    ไม่สำคัญเท่ากับการที่เห็นอยู่ตลอดทั้งวัน เข้าใจไหม
    มัน“เห็น” เห็นเป็นช่วง น่ะ
    แล้วระหว่างที่มันเห็นเนี่ย มันจะไม่มีความ“รู้ชัด” แต่มัน“เห็น” เข้าใจไหม
    มันรู้อยู่ มันก็มีการเห็นอยู่ แต่อาการมันจะหนักไปทางเห็น
    เพราะฉะนั้นรู้ อาจจะไม่รู้มาก แต่ว่ามันเห็นได้ตลอดเวลา ไม่มีปัญหา
    ตรงนี้เค้าเรียกว่า มีทั้งสติ และสัมปชัญญะ
    ไม่ใช่ว่าเอาแต่ต้องรู้บ่อยๆ
    รู้บ่อยๆ มันจะไปทิ้งตัวสัมปชัญญะซะ ขาดการเห็น
    เคยรู้มากๆ แล้วมันไม่รู้มากๆ เริ่มเครียดแล้ว เริ่มเครียด กังวล หาวิธีแก้แล้ว ให้เข้าใจ
    แล้วในขณะที่รู้เห็นกาย ก็ให้รู้จิตด้วย
    เหลือบๆดู ชำเลือง หยั่งลงไป เบาๆ แตะๆ
    แล้วสุดท้ายมันจะเป็นเรื่องเดียวกันหมด
    มันจะทั้งรู้ทั้งเห็น มันจะมีการรู้และการเห็น
    ต่อไปถ้ามันเข้าใจแข็งแกร่ง ชำนาญแล้ว
    มันจะไม่มาเน้นอยู่ที่กาย หรือตั้งฐานอยู่ที่กายหรอก
    ฐานจะไปอยู่ที่จิตที่ใจก็ได้ แล้วจะเห็นได้ทั้งวัน
    เห็นได้ โดยที่ไม่มีอาการเพ่ง เข้าใจไหม
    มันจะเฉลี่ย มันจะเป็นกลาง
    (โยม)
    รู้กายแบบที่พระอาจารย์สอนนี่ รู้ยังไงเหรอครับ
    ต้องเริ่มรู้จากหายใจเข้าออก แล้วไล่ไปว่ากำลังนั่ง กำลังขยับมือ กำลังกระพริบตา ฯลฯ ?
    (พระอาจารย์)
    ไม่ต้องไปเอารายละเอียดมากขนาดนั้น
    รู้รวมๆ รู้ในเชิงอรรถ มันมีเชิงอรรถกับเชิงพยัญชนะ
    เชิงพยัญชนะ เช่นรายละเอียด หายใจ, หลับตา, กระพริบตา, พลิกลิ้น, กลืนน้ำลาย ฯลฯ
    พวกอย่างนี้เรียกว่าเป็นพยัญชนะ
    จุดเล็กจุดน้อยพวกนี้ ถ้าไม่ชำนาญนะ มันจะทำให้เกิดอาการเพ่ง
    จะไปเพ่ง กำหนด คอยระวัง คอยควบคุม คอยดูว่าให้มันเห็นอยู่ตลอด เข้าใจไหม
    ให้รู้รวมๆ เห็นรวมๆไปก่อน
    รู้ภาพรวมเป็นฐาน เช่นยืน เดิน นั่ง นอน เป็นฐานไปก่อน
    จากนั้นมีอะไรปรากฏต่อมา เช่น ขยับ เขยื้อน กระดุกกระดิก
    ก็จะเห็นว่ามีการขยับในอาการยืนเดินนั่งนอน อะไรอย่างนี้
    อันนี้ก็คือเทคนิคให้เห็นต่อเนื่อง จะเกิดความต่อเนื่องของสัมปชัญญะ


    (โยม)
    มีนักภาวนาบอกว่านาทีหนึ่งเขารู้ได้ยี่สิบสามสิบครั้ง ความถี่ตรงนี้ปกติมันต้องมากน้อยแค่ไหนเจ้าคะ
    (พระอาจารย์)
    ถ้าเห็นแล้วมันไม่ถี่หรอก
    เข้าใจไหม เห็นเนี่ย มันยังไงล่ะ
    คือเห็นเนี่ยะมันจะเห็นเป็นระยะเวลา เหมือนกับตาเรามองเห็นรูปเนี่ย เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นในขณะนั้น
    ไม่ใช่ว่ารู้ รู้อย่างอันนี้ต้นไม้ ใบไม้ นี่ๆ อย่างนี้เรียกว่ารู้ เข้าใจไหม
    รู้เป็นชิ้น เป็นชิ้น เป็นชิ้นๆๆๆ เนี่ยะ รู้เป็นเรื่อง เป็นเรื่อง เป็นตอน ตอน ๆ ๆ
    แต่ถ้า “เห็น” ...ไม่ต้องรู้อะไรล่ะ เห็นน่ะ
    เห็นว่ามีคนมา เนี่ยะเดินมา เห็นว่ามีหมาเดินไปเดินมา
    อย่างนี้ “เห็น” ...เห็นแต่ไม่ได้ว่าอะไร


    (โยม)
    ถ้าใช้อาการเห็นแบบนี้ มันก็ไม่ได้รู้ “ถี่ๆ” อย่างเคยได้ยินมา
    โยมเกรงว่ามันต้องให้จิตได้เรียนรู้ บ่อยๆ ถี่ๆ ด้วย คือน่าจะต้องมีอะไรมากกว่าคอยเห็นอยู่แค่นี้
    (พระอาจารย์)
    ไม่ต้องอ่ะ เครียด
    สังเกตไหมว่าเครียด เข้าใจป่ะ
    เครียด เป็นทุกข์ เกิดจากการที่เราไปกังวลที่ว่ามันถูกหรือผิดอย่างเงี๊ยะ
    ไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องขนาดนั้น


    (โยม)
    งั้นก็คงเข้าใจแล้วค่ะ คิดว่าที่โยมเคยได้ยินมา ท่านคงอยากแยกให้เห็นว่า สภาวธรรมมันเป็นอย่างนี้นะ การเผลอไปเป็นอย่างนี้นะ แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ถี่ๆ
    (พระอาจารย์)
    ใช่ ใช่ ท่านแยกเพื่อให้โยมเห็น
    แยกเพื่ออะไร เพื่อให้เห็นว่า นี่ปกติ นี่ผิดปกติ แค่นั้นเอง
    คือให้แยกแยะสภาวธรรมให้ออก
    เราฝึกสติสัมปชัญญะ
    ฝึกจนสติสัมปชัญญะเนี่ยเป็นเส้นตรง มันก็รู้ได้ตลอด เห็นได้ตลอด
    ไม่เห็นจำเป็นว่าจะต้องมายิบๆๆๆๆ อย่างนั้นเลยนะ ในอาการที่เรียกว่า “เห็น”


    (โยม)
    โยมสังเกตเห็น ว่าบางทีถ้าจิตมันมีอาการส่ายๆไม่ตั้งมั่น ถ้ากลับมารู้ของหยาบๆเช่นรู้กาย แล้วมันจะกลับมาตั้งมั่นได้ง่าย จนอดคิดไม่ได้ว่ามันพอหรือเปล่า
    (พระอาจารย์)
    ให้ตั้งมั่นอยู่กับกายสิ
    ไม่ใช่แค่ตั้งมั่นได้ เค้าให้ตั้งมั่นอยู่
    ตั้งมั่นอยู่กับกายนั่นแหละ ให้มันเป็นฐาน
    อยู่กับกายเป็นฐาน ตั้งมั่นอยู่กับกายเลย


    (โยม)
    ที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครบอกให้โยมเน้นดูกาย มันจะถูกจริตกับโยมแน่หรือ?
    (พระอาจารย์)
    เราไม่ได้เน้นอะไร
    แต่เราเอากายมาเป็นอุบายให้ตั้งมั่น
    แล้วขณะดูกาย ก็ไม่ใช่ว่าดูกายอย่างเดียว
    ให้ดูใจด้วย ให้สังเกตดูด้วย ก็ดูได้หนิ
    กำลังนั่งอยู่แล้วมีความคิดอยู่ตอนนั่งหรือเปล่าล่ะ
    กังวลไหมตอนนั่งเนี่ยะ เข้าใจไหม
    ก็ดูไปด้วยกันได้ ก็รู้กำลังนั่งอยู่แล้วคิด กำลังนั่งอยู่แล้วก็ดูไป
    คือให้เอากายเป็นที่ตั้ง แล้วมันก็จะรู้เอง ว่ามันก็สามารถที่จะรู้ที่ใจได้ โดยตรง
    เพียงแต่ให้รู้กายเป็นฐานไว้ก่อน ไม่งั้นใจมันลอย
    ไม่ให้มันจะใจลอย เข้าใจไหม เพื่อไม่ให้มันหายน่ะ
    ส่วนจะหายบ่อยแค่ไหน อยู่ที่เราขยันรู้
    เรารู้อิริยาบถเนี่ยะ ยืน เดิน นั่ง นอน เราก็รู้อาการยืนเดินนั่งนอน
    ขยับตัวไป ขยับตัวมา เนี่ยะนั่งอย่างนี้เราก็รู้ได้ตลอดเวลา
    ก็อยู่ได้ ดูได้ เห็นได้ ไม่เห็นต้องอาศัยกำลังอะไรอีก
    แม้ตอนจิตใจจะไม่ตั้งมั่น เราก็รู้กายได้
    เพราะกายมันเป็นของตั้งมั่นอยู่แล้ว กายเนี่ยะมันไม่มีปัญหา
    ถ้าเราดูจิต ดูอาการของจิต การจะมีสติรู้มันกำลังมีอะไรเกิดขึ้น
    เปรียบไปเหมือนกับ ถือถ้วยชาที่มันมีน้ำชาเต็มเปี่ยม
    พอดูปุ๊บก็เห็นน้ำชามันเต็มอยู่ แล้วให้ดูโดยถือชาไว้ไม่ให้กระเพื่อมหรือกระฉอก
    เข้าใจไหม นั่นล่ะคือรู้ครั้งหนึ่งครั้งหนึ่งล่ะ
    แล้วในวิถีประจำวันเนี่ยะ มันยังต้องมีการกระทำอื่นๆให้เราทำอีก
    มันยังต้องมีความคิด ยังต้องทำอะไร ปาก มือ ก็ทำงาน
    แล้วจะให้ถือถ้วยน้ำชานี่โดยไม่ให้กระฉอกเลยได้ไหม
    สติมันไม่สามารถกลับมารู้ แล้วมาตั้งมั่น ให้มันไม่กระเพื่อมไม่กระฉอกได้ตลอดเวลา
    ในขณะที่มือก็ต้องทำ ปากก็ต้องพูด ใจต้องคิดเนี่ย
    มันไม่สามารถจะทำให้ “เป็นปกติธรรมดาในการรู้การเห็น” ได้หรอก “มันยาก”
    แต่ว่ากาย มันไม่เหมือนอย่างนั้น
    คือไม่ต้องมาประคับประคองมันถึงขนาดนั้น
    มันมีของมันซื่อๆ แข็งๆ อยู่แล้ว คุณสมบัติของกายมันตั้งมั่นอยู่ในตัวแล้ว
    ซึ่งมันแตกต่างกับคุณสมบัติของจิตหรือใจ ที่มันเหมือนปรอท เข้าใจไหม
    รู้ปุ๊บมันก็แว็บ รู้ปุ๊บก็แว็บ รู้ปุ๊บก็แว็บ
    (โยม)
    แล้วทุกคนกลับมารู้กายได้หมดเลยเหรอเจ้าคะ ฐานกายเนี่ยะใครๆก็ทำได้เหรอคะ
    (พระอาจารย์)
    ได้หมด
    จริงๆเนี่ยะ สำคัญนะ อย่าทิ้ง อย่าทิ้งกายนะ ไม่ได้เลย
    จริงๆเราก็สอนดูจิตหรอก แต่เราก็ไม่ได้สอนให้ทิ้งกายหรือว่าไม่พิจารณากายเลย
    ไอ่พิจารณากาย คือหมายความว่า “รู้กาย เห็นกาย”นะ
    ส่วนเอากาย ยกขึ้นมาเป็นประเด็นแล้วก็คิดๆๆ ไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    แค่รู้ว่ากำลังนั่งอยู่ แล้วเห็น
    เห็นอย่างที่รู้สึกได้ตามธรรมดาทั้งตัวนี่แหละ แค่นี้ก็เรียกว่าพิจารณากายแล้ว
    ทำอย่างนี้ แล้วมันจะมั่นคง
    การรู้นี่มันจะต่อเนื่อง เอ่อ ที่ต่อเนื่องไม่ใช่รู้ต่อเนื่อง แต่มันเห็นต่อเนื่อง
    มันจะมีการเห็นต่อเนื่อง
    แล้วก็ดูใจ เมื่อเคยฝึกเห็นแบบต่อเนื่อง
    มันก็จะมีสัมปชัญญะทำให้ดูจิตใจอย่าง “เห็น” ในอาการต่อเนื่องด้วย
    ตรงเนี้ย ก็อย่างเดียวกับที่อาจารย์ ปร*โ*** ท่านพูด
    สมาธิจริงๆ คือสมาธิในปกติประจำวัน
    ไม่ใช่สมาธิแบบกำหนดเอา ตั้งอกตั้งใจเอา
    สมาธิ ที่เป็น “ความตั้งมั่น”
    การให้สติมาตั้งมั่นอยู่กับกาย นี่เรียกว่าการทำสมาธิอย่างหนึ่ง
    สติตั้งมั่นที่ไหน?
    ตั้งอยู่ที่ไหนก็ได้ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ขอให้มันรู้อย่างนั้นได้ แล้วมันไม่เผลอ หรือว่าหายไปน้อย
    แต่ถ้ามันหลงหรือจับไม่ถูก
    เพราะมันไม่สามารถรู้ได้ทุกขณะ ทุกสภาวะเวลา ของทุกขณะจิต
    ถ้ามันจับไม่ถูก หรือจับอะไรไม่ถูก ดูอะไรไม่ชัดเจน
    ให้กลับมาตั้งอยู่ที่กายเลย กลับมารู้กายเห็นกาย
    ให้มันมีความตั้งมั่นอยู่ที่กายก่อน ให้สติมันตั้งมั่นอยู่กับกายก่อน
    แล้วมันจะค่อยๆ “เห็น” ภายในได้ชัดเจนขึ้น มันจะ“เห็น”ได้ต่อเนื่อง
    สุดท้าย มันเป็นเรื่องเดียวกันนะ
    มันจะไม่เข้าไปรู้แบบเข้าไปมี เข้าไปเป็น มันจะรู้แบบ รู้เฉยๆ
    ก็พูดอยู่บ่อยๆ ว่ารู้เฉยๆ คือต่างคนต่างอยู่
    อารมณ์ส่วนอารมณ์ รู้ส่วนรู้
    แต่ตอนเนี้ย ถ้าไม่ตั้งมั่นนะ มันจะส่าย
    มันจะไม่รู้เฉยๆ มันรู้แล้วไปเพิ่มขึ้น
    รู้แล้วไปตำหนิมัน รู้แล้วก็มีความปรุงแต่งต่อ อย่างเนี้ย มันไม่รู้เฉยๆ
    แต่ถ้าเราตั้งมั่นอยู่กับกาย แล้วแอบดูมัน สังเกตดูภายในไปด้วย
    แล้วเราจะรู้ว่า ...เออ ปกติคืออย่างนี้ ปกติของการรู้เฉยๆเป็นยังไง
    ปกติที่รู้แบบ “ไม่เพ่ง ไม่เผลอ” เป็นยังไง

    ถ้าไม่มีอะไร ไม่รู้จะทำอะไร กำลังจับอะไรไม่ถูก ให้กลับมารู้กายลูกเดียว
    ถ้ากลับไปหาที่จิต เดี๋ยวมันวิ่งไปส่ายแส่ ซัดเซ พเนจร ดิ้นนนนน
    หาทางจะทำให้ถูก หาทางว่าจะดูยังไง จะทำยังไง จะทำยังไงกับมัน
    จะเอาไว้ หรือจะปัดออก หรือจะประคอง หรือว่ามันเพ่งอยู่ หรือว่ามันอะไร ฯลฯ
    อย่างเนี้ย เขาเรียกว่ามัน “ส่ายแส่สับสน” นะ
    ไม่ต้องไปใส่ใจมันเลย
    กลับมารู้กายเฉยๆ
    ทื่อๆ โง่ๆ รู้เฉยๆเลย
    จนมันระงับ ตั้งมั่นดีแล้ว แล้วจะเห็น
    จะแยกแยะออกเอง ว่านี่...อ๋อ เป็นแค่อาการ คืออาการ จิตคือรู้เฉยๆ
    อาการคืออะไร ไม่มีว่าอันนี้ใช่ อันนั้นไม่ใช่
    ทุกอย่างคืออาการ ทุกอย่างที่รู้น่ะ เข้าใจไหม
    ไม่มีว่าอันนี้ดี อันนี้ไม่ดี อันนี้ถูก อันนี้ผิด
    ทุกอย่างคืออาการทั้งหมดแหละ
    มันจะค่อยๆทำความชัดเจนของมัน
    ในสติที่มันจะชัดเจนในการรู้เฉยๆว่าเป็นอย่างไร
    ถ้าจับอะไรไม่ถูก รู้อะไรไม่ได้ เห็นอะไรไม่ชัด ให้รู้กายเข้าไปก่อน
    เห็นกายที่เป็นก้อนๆนี่แหละ เวลาขยับก็เห็นว่าขยับ
    คือจะไปดูจิตโดยตรง อย่างพวกโยมเนี่ยะ มันไม่ค่อยไหว
    เข้าใจไหม เพราะโยมมีภาระ มันต้องมีงาน
    มันจะมาเป็นแบบปฏิบัติโดยตรงเหมือนพระ
    คือว่ากำหนดลงที่จิต หรือว่าตั้งสติอยู่ที่ฐานของใจ
    หรือว่าฐานของจิตของธรรมโดยตรงเนี่ย มันยาก สำหรับคนทั่วไป
    ก็เอาแบบง่ายๆ เอาเป็นว่าส่วนใหญ่ขอแนะนำให้เน้นที่กาย มันง่ายที่สุด
    เพราะว่ามันสามารถ รู้กายเห็นกาย โดยที่ยังสามารถกระทำงานได้
    มันจะง่ายกว่ารู้ใจไป แล้วก็ทำงานไป
    เพราะรู้ใจ รู้อาการของใจแล้วทำงานด้วยเนี่ยะ มันไม่ค่อยได้
    สำหรับโยมนะ มันโดนคาบไปแด๊กหมด
    ด้วยความปรุงแต่ง ด้วยถูกผิด ด้วยอายตนะที่เราต้องมีต้องทำอะไร
    แต่ถ้าสติมาตั้งอยู่กับกายหรืออิริยาบท จะสามารถทำได้ทุกอย่าง
    ให้สังเกตดูว่าความยากง่ายของสติที่ตั้งอยู่กับกายแล้วทำงาน
    กับสติที่ตั้งอยู่กับใจแล้วทำงาน จะเห็นว่าอันไหนมันหลุดง่ายกว่ากัน
    จะเห็นว่าสติตั้งอยู่กับกาย สามารถจะอยู่เป็นช่วง อยู่ได้เป็นกอบเป็นกำกว่า
    ไม่อย่างนั้น ถ้าอยู่ที่ใจ แล้วก็ยังมาเพียร ดันทุรังอยู่ที่ใจ
    ยังไงก็หลง ยังไงก็หาย แล้วก็อยู่กันแค่นั้นแหละ
    แต่ถ้าสมมุติ เรากลับมาอยู่บ้าน อยู่คนเดียว
    หมดภาระหน้าที่การงาน ไม่มีอะไร นั่งอยู่เฉยๆ อย่างเงี้ยะ
    เข้าใจไหม อย่างนี้ค่อยปรารภที่ใจโดยตรงได้ เห็นได้ตลอดแหละ เข้าใจไหม
    ก็ค่อยเห็นเบาๆไป ดูอย่างเดียวกับที่เห็นกายอย่างเป็นปกติแบบเนี้ย
    มันก็มีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรารภใจเฉยๆได้โดยตรงเหมือนกัน
    แต่ถ้าเวลาทำมาหากิน กำลังทำงานทำการ
    กำลังต้อนรับแขก กำลังพูดคุย
    ยังไงก็ต้องอยู่ที่กายอ่ะ รู้ที่ใจเนี่ยหลุดหมด
    คุยกับคนเนี่ยก็หลุดแล้ว
    คุยกับแขกต้อนรับแขก “สวัสดีค่ะ” ก็หลุดแล้ว ไม่มีอยู่หรอก
    แล้วพอเจอ ไอ่โน่นมา ไอ่นี่ว็อบ ไอ่นี่แว็บ ก็หลงไปหมดแล้ว
    แต่ว่า! ถ้าสติมันตั้งมั่น มั่นคงได้แล้วเนี่ย มันจะทันนะ
    จริงๆนะ มันจะทันหมด ทันอาการผิดปกติในจิตด้วย
    แต่ว่านี่มันผิดไปจนไม่รู้กี่ผิดแล้ว มันยังไม่รู้เลย
    มันหลุดไปกี่รอบแล้ว ไม่รู้เลย
    อย่างนี้ มันสะสมความผิดปกติไปมาก กว่าจะกลับมารู้ที มันนาน
    แต่ถ้ารู้อย่างนี้ รู้อย่างนี้ อย่างน้อยให้มันเห็นกายก่อน
    มันไปไหนไม่ไกลหรอก มันจะอยู่ในแวดวงนี้
    พอมีความผิดปกติแรงๆปุ๊บ มันจะเริ่มสะดุดใจขึ้น
    มันจะเริ่ม “เอ๊ะใจ” ขึ้น ในอาการของจิตมันจะ “เอ๊ะ!” “เอ๊อะ!” ง่ายขึ้น
    ให้ตีกรอบ เอากายนี่แหละเป็นกรอบ ตีกรอบ อยู่ที่ในกาย
    แต่ถ้าเอาจิตเป็นตัวตั้ง พอเราตีกรอบ จะไปตีกรอบให้จิต
    มันตีกรอบไม่ค่อยได้ มันไหลไปเรื่อยเปื่อย
    ออกไปทางตาก็ได้ ทางหูก็ได้ ทางจมูก ทางลิ้นก็ได้ ทางปากก็ได้
    เห็นไหม ใจมันออกได้ทั้งนั้นล่ะ
    แต่พอมาเอาสติมาตีกรอบอยู่ที่กาย อย่างน้อยมันจะไม่ออกนอกกายไปได้
    (โยม)
    เหมือนจะจับประเด็นได้ว่า การรู้กายเห็นกาย
    จะช่วยให้เข้าใจว่ารู้อย่างเป็นปกติคืออย่างไร
    และยังสามารถช่วยไม่เกิดการหลงไปเพ่งได้ด้วยใช่ไหมครับ?
    (พระอาจารย์)
    อือ พอตั้งใจดูจิต โดยมากเพ่งหมด
    เพราะว่าพอมันไปเห็นอะไรชัดเจนขึ้น
    หรือว่าไปเห็นอารมณ์อะไรที่มันเด่นขึ้นมาปุ๊บ
    มันจะจดจ่อเลย มันจะมีเจตนาเข้าไปกลายๆที่จะไปเพ่งให้มันหายไป
    รอวันดับ ดูแบบเมื่อไหร่มันจะดับเสียที มันไม่เป็นกลางสักเท่าไหร่
    แต่ถ้าดูกาย แล้วมันจะช่วยปรับสมดุลให้ ให้การรู้มันเป็นปกติมากขึ้น
    ให้สังเกตดูสิ กายเนี่ยะ มันธรรมดาใช่ไหม เป็นปกติอยู่แล้ว
    นั่งเฉยๆ เค้าไม่มีดีไม่มีร้าย เราไม่ต้องทำอะไร มันก็เฉยๆ
    เราก็รู้เฉยๆไปอย่างนี้
    แล้วมันจะคุ้ยๆกับการรู้แบบปกติ หรือรู้แบบกลางๆว่ารู้ยังไง
    ต่อไปเวลามีอาการที่เกิดขึ้นปรากฏขึ้นทางใจ
    มันก็จะรู้ได้แบบเดียวกับที่เคยฝึกรู้ทางกาย
    รู้ไปธรรมดา เห็นเป็นธรรมดา เห็นมันธรรมดา
    จะมากก็ได้ จะน้อยก็ได้ จะเกิดอีกก็ได้ หรือมันจะไม่ดับก็ได้ อย่างเนี้ย
    มันสามารถจะให้เป็นธรรมดาได้
    แต่เวลาถ้าเราไม่มีสติความตั้งมั่น ไม่มีสมาธิตั้งมั่น
    ปุ๊บ มันจะกระโดดเข้าไปกระทำ
    ส่ายแส่ เนี่ยะ คือการไหว สติก็ไหว สมาธิก็ไหว ปัญญาก็ไหว
    เบี่ยงเบนไปตามความเห็น ความเชื่อ หมดแหละ
    ว่าต้องอย่างนั้นดีกว่า ต้องอย่างนี้ดีกว่า โดยเราไม่ทันเลยว่ากำลังคิด กำลังปรุง


    (โยม)
    แม้จะยังไม่สามารถรู้เท่าทันจิต แต่ถ้าเราสามารถดูกายไปเรื่อยๆ ก็ไม่เป็นไรใช่ไหมเจ้าคะ
    อย่างถ้าดูจิตไม่ออกมาหลายวันแล้ว แต่ยังดูกายได้ตลอด?
    เออ ไม่เป็นไร
    สุดท้ายแล้วมันเรื่องเดียวกัน บอกให้เลย
    ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าไม่ตั้งมาเป็นสติปัฏฐาน ๔ หรอก
    คือสุดท้าย ให้อยู่ในแวดวงสี่อย่างนี้
    สติ สามารถตั้งได้ แล้วเข้าถึงธรรม เข้าถึงความเป็นกลางของมัชฌิมาปฏิปทาได้
    ก็ไม่ได้ว่าให้ดูกายอย่างเดียว ดูจิตอย่างเดียว ดูธรรมอย่างเดียว ดูเวทนาอย่างเดียว
    อะไรก็ได้ แล้วแต่ว่าจะชำนาญ
    หรือว่าอะไรที่กำหนดสติไปตั้งมั่นแล้วมันสามารถอยู่ได้ อันนั้นล่ะดีหมดแหละ
    ถ้าอยู่ที่ใจได้ ก็ไม่ต้องมาดูกายหรอก บอกให้เลย
    แต่ถ้าอยู่ไม่ได้ สติไม่ตั้ง มีแต่หลงกับหาย กับหาย กับเผลอ กับเพลิน
    รู้ทีไร ก็รู้ได้แป๊บนึง เดี๋ยวหายไปอีกครึ่งชั่วโมง
    หรือรู้แป๊บนึงหายไปทั้งวันอย่างเนี๊ย
    หากยังดันทุรังต่อ ไม่มีทางชนะมันหรอก
    ก็มารู้กาย ลองดู!
    จริงๆ ที่เรามาสอนเนี่ยะ
    เราฝึกจากกายมาก่อนนะ ตัวเราเองนะ
    เราก็รู้ตัวโดยรู้กายก่อน แล้วก็มารู้ที่ดวงจิตผู้รู้ ค่อยมาสังเกตที่ใจ
    สมัยแรกๆเราไปเริ่มที่ใจก่อน แล้วเราก็จับไม่ค่อยอยู่
    มันเหมาะอยู่แล้วกายเนี่ย
    ถ้ารู้ใจได้ จับแล้วมันอยู่หมัด สติอยู่ได้ เห็นได้
    รับรอง! เราก็จะสอนให้อย่างนั้นโดยตรงเลย เราจะไม่สอนให้มารู้กายหรอก
    แต่เราจะไม่มาเน้นเรื่องการที่กลับไป “นั่ง” อย่างนี้อย่างนั้นนะ
    เพราะอันนี้มันเป็นการ สร้างรูป สร้างสภาวะ ขึ้นมา
    แล้วมันจะไม่รู้กายกับจิต อย่างเป็นธรรมชาติ หรือว่าเป็นธรรมดา หรือเป็นปกติ
    แต่มันจะกลับไปสร้างความผิดปกติทางกาย
    แล้วจะเกิด มานะ หรือทิฏฐิ ว่าถ้าไม่สร้างความผิดปกตินี้ๆ จิตจะไม่ดี
    ให้เห็นตามความเป็นจริง
    คือจะเห็นกันเอง จะเข้าใจเอง
    ว่า “ทำ” และ “ไม่ทำ” มันได้หรือไม่ได้อย่างไร แล้วมันต่างกันตรงไหน
    ก็ให้เห็นแค่นี้แหละ ไม่ต้องไปอะไรมากมาย
    เห็นอย่างที่เป็นอย่างนี้
    ก็ไม่เห็นมันจะบอกเลยว่ามันเรียกชื่อว่าอะไร
    หรือว่าตัวมันคืออะไร หรือว่าอะไรเกิดอะไรดับ
    แต่มันเข้าใจใช่ไหม เห็นแล้วมันเข้าใจ
    (โยม)
    ขอ ช่วยขยายความเรื่องการรู้กายอีกสักทีครับ
    (พระอาจารย์)
    ก็รู้ว่าเป็นก้อนๆ แท่งๆ หนาๆ หนักๆ อย่างนี้ เข้าใจไหม
    รู้กายจริงๆน่ะ มันไม่ต้องบอกหรอก ว่ากำลังนั่ง กำลังยืน กำลังเดิน กำลังนอน
    เพราะความเป็นจริง เค้าไม่มีคำพูดด้วยซ้ำ
    เค้าไม่มีคำเรียกขานด้วยซ้ำ ว่ามันคืออะไร หรือหมายความว่าอะไร
    ถามกายสิ มันเคยบอกไหม ว่ามันเป็นหญิง ชาย สวย ไม่สวย ดำ ขาว ด่าง สูง ต่ำ เตี้ย ฯลฯ
    เห็นไหม กายเค้าไม่ว่าอะไรสักคำเลย
    เนี่ย ความเป็นจริงเค้าไม่มีอะไรอยู่แล้ว ไม่มีความหมายอะไรด้วยซ้ำ
    เช่นเดียวกันกับอาการของใจ หรืออาการของจิต หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น
    เค้าไม่เคยบอกว่าถูก เค้าไม่เคยบอกว่าผิด
    เค้าไม่ได้บอกว่าใช่ เค้าไม่ได้บอกว่าไม่ใช่
    แต่เค้าคือสิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่
    คือไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่ามันกำลังอยู่ในอาการเรียกว่าอะไร
    แค่รู้ตัว ว่ากลุ่มก้อนๆ มันกำลังอยู่ในอาการแบบหนึ่งๆ
    ทรงอยู่อย่างนั้น มันทรงอยู่อย่างนั้น เป็นวัตถุที่ทรงอยู่อย่างนั้น เข้าใจไหม
    ถ้ารู้กายจริงๆนะ ไม่ใช่มารู้ว่า ...เออนั่ง ก็นั่งหนอนั่งหนอ กำลังนั่งกำลังนั่ง ไม่ใช่รู้อย่างนั้น
    ให้รู้ความรู้สึกทั้งตัว เป็นก้อนๆ กำลังไหว หรือว่ากำลังนิ่ง หรือกำลังเคลื่อน หรือกำลังขยับ
    จริงๆแล้วรู้กาย มันคือกายวิญญาณ เป็นความรู้สึกทางกาย เท่านั้นเอง
    หนักๆ หน่วงๆ เบาๆ ร้อน แข็ง ฯลฯ อย่างนี้ เรียกว่ารู้กาย
    ไม่ใช่ไปรู้ แล้วรู้ว่ามีกระดูก มีหนัง มีเอ็น อย่างนี้ไม่ใช่
    ให้รู้ความรู้สึกทางกาย เรียกว่ารู้กาย รู้กายในลักษณะของสติปัฏฐาน
    รู้ตอนไหนก็รู้ได้
    อย่างตอนนี้ก็รู้ได้ รู้กายได้ใช่ไหม
    เพราะฉะนั้นการปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้ทำอะไรขึ้นมาใหม่เลย
    แต่เป็นการกลับมาดู อย่างที่มันมี อย่างที่มันเป็น
    เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันมีอยู่แล้ว
    ไม่ต้องตั้งใจดูมันก็มี กายก็มี จิตก็มี
    อาการ อารมณ์ มันก็มีอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
    รู้ตรงนี้ ก็จะเห็นความเป็นจริง ของกายกับจิต ตรงๆเลย
    มีอยู่แล้ว มันมีอยู่ทุกขณะทุกเวลาอยู่แล้ว ธรรมตามความเป็นจริงน่ะ
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9070981/Y9070981.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2010
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ผมคัดมาในตอนที่สำคัญนะครับ
    นักดูจิตดูให้ดี

    สติสัมปชัญญะต้องเจริญให้สืบเนื่องเป็นสายน้ำนะครับ
    ไม่ใช่เป็นแบบหยดน้ำที่ว่าต้องเห็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ อย่างนี้ไม่ถูก

    แต่วิธีการนี่ล่ะสำคัญทำยังไง
    จะตั้งสติสัมปชัญญะ ให้สืบเนื่องเป็นสายน้ำได้

    ใครรู้ช่วยบอกหน่อย ว่าทำยังไง
    ผลที่ได้เป็นยังไง
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คุณเต ไปตัดสินอย่างนั้นก็ไม่ถูกหรอก
    คุณตอบตัวเองให้ได้ก่อนเถอะ ว่าสติสายน้ำของคุณน่ะ
    มันใช่แบบที่พระอาจารย์ท่านสอนหรือเปล่า แล้วเห็นด้วยกับคำสอนนี้หรือเปล่า
    ทำได้อย่างพระอาจารย์ท่านบอกไหม โยนิโสมนสิการโดยแยบคายได้ไหม
     
  4. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ใช่แล้วฮ้าบบ ป้าขวัญ
    แผล่บๆ
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การรู้ การเห็น นี่ เกิดที่ไหนคะ

    ใครรู้ ใครเห็น ตามความเป็นจริงคะ
    แล้วรู้ตรงนี้ ที่เห็๋นตามความเป็นจริง เที่ยงมั๊ยคะ
    ถ้าไม่เที่ยง รู้ตรงนี้ก็ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง นะคะ


    (smile)
     
  6. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทาค่ะ^ ^~

    ________________________

    สุขใดเหมือนแม้นการไม่เกิดไม่มี

    จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงนิพพาน
     
  7. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    อ่านทีแรกไม่รู้นะว่าผมเอ่ยถึงชื่อผม
    ผมก็ไม่รู้ว่าใครชื่อเต
    เออ...ตลกดี

    ผมทำได้หมดนะ
    ก็ปฏิบัิติเอง รู้เอง เห็นเอง แล้วมันจะผิดไปไหน

    คุณอ่านมาก็ได้แต่ความจำ
    แต่ผมปฏิบัติ เจอความจริงมา

    มันก็รู้รอบ รู้กว้าง สิ

    ถึงมาพูดได้

    คุณค้านตรงไหนให้ว่ามา
    เพราะที่ผมยกมามันชัดเจนอยู่แล้ว
    ถ้าใช้ปัญญาให้มากกว่านี้ ในการอ่าน ก็จะเข้าใจ
     
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อย่างไรเสีย ลมหายใจ ในกรณีสมาธิชั่วคราวนั้น ก็ยังเป็นราวเกาะได้เสมอ..



    อนุโมทนากับข้อความดีๆครับคุณขวัญ
     
  9. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ท่านว่าที่อาจารย์ฮะ

    ช่วยชี้ชัดๆได้ไม๊ขราบบบ

    ว่าแต่ว่าที่อาจารย์เคยเห็นน้ำหยดจากก๊อกป่ะฮะ
    ตอนเด็กๆผมชอบเปิดปิดเล่นบ่อยๆเลยฮะ
    ทำให้เป็นหยดก็ได้ เป็นสายก็ได้ด้วยฮะ สนุกมากเลยฮะ
    ไอ้สองอันนี้เป็นน้ำเหมือนกันรึปล่าวฮะ ท่านฮะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2010
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ธรรมะที่ได้จากการอ่าน
    และจากการปฏิบัติมันต่างกันนะคุณ

    คุณลองอ่านที่ผมโพสต์แล้วถามมาเป็นจุด ๆ ดีกว่า
    จะได้คลายข้อสงสัยเป็นขั้น ๆ ไป

    เดี๋ยวผมไปธุระก่อนดึก ๆ จะมาอีกครั้ง

    ดีเลย...สติที่สืบเนื่อง เป็นสายน้ำ
    สติที่ระลึกได้ว่าเผลอ หลงอารมณ์ ไปแล้วเป็นหยดน้ำ
    เมื่อเกิดสติแบบหยดน้ำขี้น ควรทำให้เป็นสายน้ำต่อไป

    เอานะผมไปธุระก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2010
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อะนะ ก็ไม่มีความเห็นจะตอบใครนะ ใครใคร่ค้า... ค้า เนาะ

    ผู้ใดอ่านแล้วได้ธรรม ได้หนทางในการปฏิบัติ เข้าใจการภาวนาสติปัฏฐาน4 ได้ลึกซึ้งขึ้น
    ก็ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
    ผู้ใดอ่านแล้วเกิดอกุศลจิต ก็ขออภัยด้วยค่ะ
    ผู้ใดอ่านแล้วสงสัย ข้องใจ ติดค้างในใจ ไม่เข้าใจ ตะขิดตะขวงใจ ก็ขออภัยด้วยค่ะ
    ที่เป็นเหตุให้ท่านเกิดนิวรณ์ เกิดความเดือดร้อนใจ หรือเป็นทุกข์ใจ
    ถ้าไม่มีสิ่งใดเกิดแก่ท่าน มีเพียงความว่างเปล่าที่ไร้ประโยชน์ ก็ไม่เป็นไรค่ะ
    เพราะต่างจิตต่างใจ เราชอบ ท่านอาจไม่ชอบก็ได้ เราก็มาแบ่งปันตามประสา...เพื่อน
     
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG]

    พี่ปราบ : ....ใครหนอ...อุ้มลูกเห็นทางธรรม...
    หนูนา : เคขวัญนั่นไง เธออุ้มลูกแต่แบ่งใจฟังธรรม..
    พี่ปราบ : คนอุ้มลูก ใจเขาย่อมมีแต่ใฝ่กวัดแกว่งแต่เปล ไฉนจะเอาเวลาใจมาฟังธรรมได้
    หนูนา : เคขวัญนั่นไง เธออุ้มลูกแต่แบ่งใจฟังธรรมเห็นสติปัฏฐาน4ได้

    พี่ปราบ : :8)

    เทวตาแสง : ตึง ตึง ตึง!



    [music]http://khonthook.googlepages.com/haata.wma[/music]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2010
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คุณดูเอาแล้วกันใครเป็นอย่างที่คุณว่าเอาไว้
    คุณ....หรือ....ใคร

    ส่วนผมก็ตอบตามคุณถามแค่นั้น
    ผมตอบแล้วก็จบ
    ตอบด้วยความเมตตา....
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ส่วน 2 เกลอ จอมสร้างวีระกรรมนี่
    ช่างยุจริงนะ
    <table class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr></tr></tbody><thead><tr> </tr> </thead> <tbody id="collapseobj_post_thanks_3149841" style=""> <tr> <td class="alt1"> <table class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"> <tbody><tr valign="top"> <td class="alt1"> ปราบเทวดา (วันนี้)
    </td> </tr> <tr> <td class="alt2"> <center> [ อานิสงค์การอนุโมทนา ] </center></td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table><table id="post3149931" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175">เล่าปัง<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_3149931", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Nov 2007
    ข้อความ: 988
    Groans: 1
    Groaned at 52 Times in 33 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 28
    ได้รับอนุโมทนา 3,593 ครั้ง ใน 1,012 โพส
    พลังการให้คะแนน: 387 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_3149931" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    พี่ปราบ : ....ใครหนอ...อุ้มลูกเห็นทางธรรม...
    หนูนา : เคขวัญนั่นไง เธออุ้มลูกแต่แบ่งใจฟังธรรม..
    พี่ปราบ : คนอุ้มลูก ใจเขาย่อมมีแต่ใฝ่กวัดแกว่งแต่เปล ไฉนจะเอาเวลาใจมาฟังธรรมได้
    หนูนา : เคขวัญนั่นไง เธออุ้มลูกแต่แบ่งใจฟังธรรมเห็นสติปัฏฐาน4ได้

    พี่ปราบ : :8)

    เทวตาแสง : ตึง ตึง ตึง!



    <object id="WMP7" classid="CLSID:6BF52A52-394A-11d3-B153-00C04F79FAA6" width="330" height="180">

    </object><!-- google_ad_section_end -->
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เล่าปัง : วันนี้ เมื่อ 08:55 PM
    </td> </tr> <tr> <td class="alt2" style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px 1px;"> [​IMG] [​IMG] <script type="text/javascript"> vbrep_register("3149931")</script> [​IMG] </td> <td class="alt1" style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 0px 1px 1px 0px;" align="right"> [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อ่านแล้ว ไม่ีูรู้เรื่อง แต่ขอทักตรงนี้หน่อย

    ตรงนี้ คนรู้ธรรมจริงๆ เขาจะหัวเราะเอานะครับว่า นั่นคือ ความไม่เป็นเอกคตาจิต

    เพราะ ทำอะไรหลายอย่าง ซึ่ง ใครๆ ก็ทำได้ แต่ถามว่า อุ้มลูกไป ฟังธรรมไป มันได้เนื้อได้น้ำหมดไหม มันก็ฟังผ่านหูไป หรือ ฟังเสียงตัวเองมากกว่า

    อย่าไปคิดว่า เรื่องแบบนี้คือเรื่องดี

    ถ้ามีสติดีจริง ควรจะทำอะไรให้สำเร็จไปเป็นอย่างๆ อย่างที่ไม่วอกแวกไปเรื่องอื่น

    ไม่ใช่ว่า เลี้ยงลูกไป แต่ใจอยากฟังธรรม จริงอยู่ว่ามันไม่ผิดหรอก แต่ ถ้าฝึกธรรมให้ดีแล้ว เขาจะไม่ทำแบบนั้น มันเหมือนคนจับปลาสองมือ อันนั้นเบื่อ ก็อยากทำอีกอย่าง

    ก็จะกลา่ยเป็นคน สมาธิ สั้น ไม่ใช่เรื่องดีนะนี่

    มิน่าหละ พวกดูจิต ถึง ไม่เข้าใจ คำว่า สมาธิ สักที แล้วชอบจัง เถียงเรื่องไม่ต้องทำสมาธิเนี่ย

    ฝึกสมาธิ ให้ได้ ให้ปรากฏ กับจิตตนสักครั้ง ก่อน แล้วค่อยพูดว่า เข้าใจสมาธิและสติ ดีแล้ว

    ไม่เช่นนั้น รสแห่งสมาธิที่แท้จริงยังไม่เคยสัมผัส สัมผัสแต่รสกิเลส รู้เห็นตามเงาของจิต จะมาบอกว่า รู้แล้วเห็นแล้ว ไม่ได้หรอก
     
  16. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    หลบภัยsay

    การปฏิบัติ ถ้าคิดว่าตัวเองเก่ง ยิ่งทำยิ่งเก่งแบบนั้น ถือว่ายังใช้ไม่ได้
    การปฏิบัติ และไปข่มขู่ผู้อื่น นี่คือใช้ไม่ได้ นักปราชญ ย่อมไม่ยกย่อง
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ถ้า หลบภัยหมายถึง ความที่ นายขันธ์ พูดข้างต้น

    ก็ให้ ตีความใหม่ ว่า การพูดข้อเท็จจริง นั้นหมายถึง การข่มขู่ผู้อื่น ก็แสดงว่า คนตีความนั้น รู้ไปในทางที่ผิดเอง ให้อ่านความใหม่ดีๆ

    ส่วน การบอกว่า ยิ่งคิดว่า ตนเก่ง อันนี้ก็ตีความตามตรรกะตน ให้ไปอ่านใหม่ แล้วมองใหม่
    ว่า ยิ่งทำ ยิ่งก้าวหน้า มันต้องเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ ยิ่งทำยิ่งเก่ง อย่าตีความตาม อคติ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ประเด็น คือ คนไม่เข้าใจธรรม แต่มักมีพฤติกรรมอันส่งเสริม ให้เกิดความเข้าใจผิดกันเองคือ

    1 การคุยสัพเพเหระ จนเกินพอดี เป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรม เพราะจิตเป็นอย่างไรปล่อยไป

    2 การสนับสนุน แม้มีการกระทำผิดๆ ของกลุ่มตนเอง เช่น สนับสนุนในการมุสา ต่อเพื่อนสมาชิก

    3 เข้าใจธรรมผิดๆ แล้ว ยกยอกันเอง เช่น การเห็นธรรม ขณะอุ้มลูก

    4 เข้าใจธรรมผิดๆ แล้ว ส่งเสริม เช่น ฌาณ ไม่จำเป็น สมาธินอกรูปแบบก็ทำได้

    5 ส่งเสริมความแตกแยก โจมตี สิ่งที่ดี ที่มีอยู่เช่น กล่าวว่า สมาธิในรูปแบบไ่ม่ใช่สิ่งจำเป็น อันเป็นการขวางความพอใจในการทำสมาธิของคนอื่น

    6 การเชิดชูประเด็นเดิมๆ โดยไม่ได้มองไปถึงต้นทาง ว่า แม้ปลายทางจะทำให้ถูกอย่างไร ต้นทาง ผิด มันก็ควรจะเข้าใจกันได้ถึงผลสืบเนื่องภายหลัง

    ทีนี้ เรื่องแบบนี้ มันก็ไม่เป็นอะไรหรอก ไม่มีใครว่าหรอก

    แต่ อย่าไปตำหนิ คนอื่นเขา ทั้งๆ ที่ตัวเราทำอะไร ไม่ดีมาตั้งหลายอย่าง
     
  19. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    หลบภัยพูดกลาง ๆ และ มันถูกด้วย อืม มีคนกดไม่เห็นด้วย และไม่ยอมให้เหตุผล
    เสียด้วยซิ อันนี้หลวงพ่อที่เป็นอาจารย์ของหลบภัย ย้ำเตือนหลบภัยเสมอ
    หลบภัย อย่าทำตัวแบบนั้น หากหลบภัย ทำตัวแบบนั้น การปฏิบัติของหลบภัยจะไม่ได้อะไรเลย

    และหากใครตำหนิด้วยความเมตตา เพื่อจะสั่งสอน ตรงนี้หลบภัยขออนุโมทนา
    หากตำหนิเพื่ออวดว่า เก่งหรือข่มคนอื่น นั้นหมายถึงการแสดงความโง่ ของตัวเอง
    ออก เท่านั้นเอง หลบภัยไม่ได้หมายถึงลุงขันธ์ค่ะ
    การที่ใครทำอย่างไง จะไปทำแบบไหน ก็แล้วความเพียรล่ะ ใครใกล้ชิดพระอรหันต์
    ไม่ได้หมายถึงคุณใกล้พระ คำว่าใกล้พระ เอาพระมาไว้ในใจ
    ถ้ายังเป็นแบบนี้ ถือว่า พระไม่อาจเข้าไปข้างใน เนื่องจากกิเลสหนาเกินไป

    และอย่าไปคิดว่า คนอื่นรุ้ หรือไม่รู้ ที่สำคัญ ทำให้ตัวเองรู้ก่อนและถูกทาง
    อันนี้จะไม่เสียชาติเกิด ที่เกิดมา
     
  20. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ใครบอกว่าเห็นธรรมเล่าครับ อย่าปรุงไปตามสัพเพเหระ นึกอยากจะพูดอะไรเล่นก็พูด

    การที่ยก กรณีคุณขวัญ ซึ่งเป็นคุณแม่ เป็นสุภาพสตรีที่เป็นแม่คน คนที่เขารู้ภาระ
    ของคนเป็นแม่คน คนที่มีความกตัญญูรู้คุณคน โดยเฉพาะแม่ของตนดีนั้น จะต้องเล็ง
    เห็นความเหน็ดเหนื่อยในการเลี้ยงดูลูก หรือ ตนนั้นมา

    แล้วถ้าหากคนที่ต้องเอาเวลาทั้งหมดในชีวิตมาดูแลลูก ดูแลคุณ ท่านเหล่านั้นจะ
    มีเวลาฟังธรรมบ้าง ฉลาดในการหาเวลาฟังธรรมบ้าง มีจิตว่องไวพอจะสดับธรรม
    จากใจสู่ใจได้บ้าง ฟังจนพอเห็นทางในการทำสติปัฏฐาน4

    ฟังชัดๆนะว่า เห็นทางการเจริญสติปัฏฐานสี่ คือ เห็นหนทางปฏิบัติ ไม่ใช่ละเมออ่าน
    ภาษาไทยไม่ออกแล้วปรุงไปว่า "เห็นธรรม" แบบคนที่คุยแบบสัพเพเหระ ปล่อยให้
    จิตอกุศลลากไป ไม่มองเฉพาะที่เป็นกุศลมันอยู่ตรงไหน

    ก็นะ ตามสบาย คนที่เขาเล็งเห็นคุณธรรมของแม่ มีความกตัญญูในหัวใจเป็นข้อใหญ่
    "นิทาน" ที่ผมแต่งขึ้นมาก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้ระลึกได้ ได้คติไปบางประการ ส่วนคนที่
    ฟัง "นิทาน" แล้วเห็นเป็นจริงเป็นจังเหมือนคนติดละครช่อง7 ดูแล้วก็อินลากตัวละคร
    ออกมาประนามเป็นคุ้งเป็นแควไหลเป็นสายลอยไป ก็ว่ากันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...