เรื่องของชนชาติไทย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 7 มิถุนายน 2010.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(1)


    ความเชื่อของชนชาติเอเชียนั้นได้อ้างว่า มนุษย์นั้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน หรือมีตำนานในลักษณะว่าผู้คนเหล่านั้นเดิมมีถิ่นฐานอยู่แหล่งเดียวกัน

    ในตำนานของจีนนั้นได้กล่าวถึงผู้สร้างโลกว่าคือ พานกู๊ เมื่อทำการสร้างโลกแล้วก็เกิดหลงใหลโลกอยู่นานถึง 8,000 ปี “พานกู๊” (กู๊-แปลว่า เภ่าหรือโบราณ) สาหรับคำว่า “พาน” นั้นออกเสียงใกล้เคียงกับ แผน (แถน) เป็นคำไทโบราณ แปลว่า พรหมผู้สร้างโลก หากเป็นเช่นนี้ก็เชื่อไว้ก่อนว่าทั้ง พาน แผน และแถน(พญาแถนหรือผีแถน) นั้นเรียกคล้ายกัน โดยมีความหมายให้รู้กันว่าคำนี้ หมายถึง พรหม ผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์

    คติความเชื่อเรื่อง พรหมผู้สร้างโลกนั้น ในตำนานสิงหนวัติกุมาร มีการกล่าวถึงพระเจ้าพรหม ผู้ขับไล่ศัตรูที่มารุกรานดินแดนโยนก มีช้างเผือกชื่อ พานคำ เป็นพาหนะ เหตุช้างเผือกเชือกนี้ที่มีชื่อว่า พานคำ นั้น เนื่องจากเทวดาให้เอาพาน (พังลางหรือผางลาง-ลักษณะคล้ายฆ้องหรือระฆัง)ทำด้วยทองคำไปตีประโคมทั่งรมฝั่งแม่น้ำโขงทำให้งูใหญ่( พญานาค ?) ในแม่โขงกลายร่างเป็นช้างเผือกมาคู่บุญบารมี สำหรับให้พระเจ้าพรหมใช้ปราบข้าศึกศัตรู ดังนั้นพาน (ฆ้อง ?) ที่ทำด้วยโลหะ (ทองแดง ทองคำ สำริด)จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจ เช่นเดียวกับช้างเผือกดังนั้นทั้งช้างเผือกและพาน (พังลาง-ฆ้อง ?) จึงถือว่าเป็นสมบัติคู่บารมีของ ผู้นำของชนขาติโยนก

    ในตำนานเรื่องท้าวฮุง กล่าวเรียก ขุนเจือง ก็มีเรื่องของช้างพานคำ เช่นเดียวกันคือ เมื่อท้าวฮุ่ง (ขุนเจือง)ยังเยาว์วัยนั้นกลุ่มผู้คนที่ภักดีเลื่อมใสได้พากันนำสิ่งของวิเศษมาบรรณาการ โดยมีช้างเผือกชื่อ พานคำ กับช้างหลายเชือก ต่อมาพวกข่า (พวกพางคำ) ที่อยู่บนภูเขาสูง ได้นำดาบเหล็กชื่อ ดาบฮางเช็ง เป็นดาบที่นำแร่เหล็กจากเขาภูซางมาตีเป็นดาบ กับฆ้องเงินคู่หนึ่งมามอบให้เป็นของคู่บารมี และในตำนานมีเรื่องเล่าอีกว่า ขุนเจือง (ท้าวฮุ่ง)นั้นต้องเอาฆ้องทองคำไปตีให้กังวาน จึงจะจับช้างเผือกเชือกนี้ได้ เป็นการแสดงถึงอำนาจของพาน (ฆ้อง) บริเวณที่พบช้างเผือกนั้นมีชื่อว่าเวียงพานคำ (อำเภอแม่สาย จ.เขียงราย)

    ดังนั้นเรื่องของ พานกู๊ ในตำนานของจีนนั้นจึงมีการถ่ายทอดต่อลงมา จะหมายถึงช้างเผือก พานคำ-หรือพานทองคำที่เป็นฆ้อง-หรือหมายถึงอำนาจของพระเจ้าพรหมหรือพรหมก็ได้ล้วนมีเค้าเรื่องมาจากแหล่งเดียวกัน

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c001.shtml
     
  2. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(2)

    พระเจ้าพรหม และท้าวฮุ่ง กล่าวเรียก ขุนเจือง นี้ เป็นชื่อผู้นำชนชาติคนสำคัญคือ พระเจ้าเป็นผู้นำของพวกไทยใหญ่ และท้าวฮุ่ง (ขุนเจือง) เป็นผู้นำของนขาติลาวจกหรือลัวะ ? ต่างตั้งบ้านเมืองอยูรมฝั่งแม่น้ำโขงมาก่อนทั้งสิ้น และโดยชนชาตินี้ต่างมี พาน (ฆ้อง ?) เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและมีบทบาทในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (เช่นเดียวกับมโหระทึกที่เกิดในยุคโลหะเมื่อ 3,000 ปี )

    นอกจากนี้ยังมีเรื่องของขุนบรมปรากฏในตำนานอีกว่าพญาแถนหลวงได้ทำพิธีราชาภิเษกให้ขุนบรม (บูฮม) ขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งมีเครื่องกษัตริย์สำหรับการเป็นกษัตริย์นั้นได้มีฆ้องวิเศษนี้อยู่ด้วยมีโคลงกล่าวถึงฆ้องใบหน้าว่า “เสียงหน่วยฆ้องปานฟ้าผ่าสุเมรุ”ต่อมาเมื่อขุนบรมแบ่งสมบัติให้ลูกชายเจ็ดคนนั้น ได้กล่าวว่า
    ขุนลอได้รับฆ้องเป็นเครื่องยศ

    ดังนั้นชนชาติตั้งบ้านเรือนอยู่ทางเหนือจึงเป็นชนชาติที่มีราก ทางวัฒนธรรมเดียวกันคือ ถือเอา พาน (ฆ้อง ?) เป็นสัญลักษณ์ประจำนเผ่าของตน ในตำนานจีนโบราณจึงกล่าวถึง พานกู๊ ผู้สร้างโลก (พระพรหม) ซึ่งถูกนำมาเล่าเป็นตำนานชนชาติของตน

    ต่อมาประมาณ 500,00 ปี มนุษย์ (สมัยก่อนประวัติศาสตร์) ได้รวมกลุ่มสร้างชุมชนที่มีหัวหน้า มีคำเรียกคนที่เป็นหัวหน้ามนุษย์หรือชุมชนนั้น ว่า สามเจ้า-สานอว่าง หรือ ซำอ๋วง (คล้ายๆ เรียกไตรภูมิ) ชื่อหัวหน้านั้นคือชื่อ เจ้าฟ้า เจ้าหล้า เจ้าคน (เหมือนกับจะบอกหน้าที่ของหัวหน้าว่าเป็นหัวหน้าท้องฟ้า หัวหน้าแผ่นดินและ หัวหน้ามนุษย์)

    ก่อนพุทธกาล 2309 ปี (บางแห่งว่า 2410 ปี) นั้น ได้มีกษัตริย์ฟูฮี ครองบ้านเมืองดูแลราษฎร สมัยนี้จนเรียกสมัย วู้ติ๊หรือหงอเด้ คือ ห้ากษัตริย์ ที่ได้ครองเมืองมาถึงก่อน พุทธกาล 1662 ปีจึงสิ้นราชวงศ์ ต่อมาเป็นสมัยของ สานไต๋ (กษัตริย์สามราวงศ์) ได้แก่ราชวงศ์เหีย ราชวงศ์ษ่าง และราชวงศ์จิว ซึ่งมีกษัตริย์แต่ละราชวงศ์ครองเมืองต่อเนื่องมา ตามลำดับ

    พระเจ้าอู๋เต้ นั้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์เหีย ครองราชย์ก่อนพุทธกาล 1662 ปี พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการสำรวจอาณาเขตเพื่อเขียนแผนที่ เรียกว่าอู๊ก้องกิวเจียว แปลว่า แผนที่ส่วยเก้าแคว้นของอู๊ ซึ่งปรากฏมีแคว้น (เมืองใหญ่) ต่างๆ อยู่ 9 แห่งคือ 1. แคว้นกี เมืองหลวง 2.แคว้นชิง 3.แคว้นเอียน 4.แคว้นฉู 5.แคว้นอยี 6.แคว้นอย่ง 7.แคว้นเหลียง 8.แคว้นกิง 9.แคว้นอย่าง บรรดาแคว้นเหล่านี้ไม่ได้กำหนดเขตแดนให้แน่นอน ในแผนที่จึงกำหนดไว้แต่เส้นทางที่ใช้ติดต่อกัน

    ในช่วงที่กษัตริย์ราชวงศ์จิวครองราชย์ เมื่อก่อนพุทธกาล 579-288 ปีนั้น ได้เกิดเหตุการณ์รบพุ่งแย่งชิงกันเป็นใหญ่ในแคว้นต่างๆ

    ระหว่างก่อนพุทธกาล 200-พุทธศักราช 288 บริเวณที่เป็นดินแดนของพวกจีนนั้น(อาณาเขตของจีน) ยังไม่ได้ขยายเขตไปถึงทะเลหลวงตอนใต้ ได้มีมณฑลของจีน ที่ปรากฏชื่ออยู่ ดังนี้

    ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง กว่างไซ กุยจิว และยืนนาน เป็นดินแดนที่อยู่นอกแผนที่ (นอกเขตแดน) ซึ่งเป็นแคว้นที่จีนรู้จัก (เรียก) ชื่อว่า หมันเหยาะ เปอะ-อูต และขึ่น-ม่าน กล่าวคือ

    หมัน-เหยาะ เป็นขื่อเรียกเขตมณฑลฮกเกี้ยน

    เปอะ-อูต เป็นชื่อเรียกเขตมณฑลกวางตุ้ง

    ขึ่น-หม่าน เป็นชื่อเรียกเขตมณฑลกุยจิวและมณฑลยูนนาน

    หลักฐานจากแผนที่ที่เขียนในสมัยเจี๋ยนโกวะ นั้น ได้ระบุถึงการรวมแคว้นของดินแดนจีนขึ้นใหม่ว่า

    แคว้นอ-ย่งกับแคว้นเหลียงนั้นได้รวมกันเป็นแคว้นจี๋น

    แคว้นกิงกับแคว้นอย่างได้รวมกัน เป็นแคว้นฌ้อ
    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c002.shtml
     
  3. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(3)


    อาณาเขตของจีนโบราณในสมัยนี้จึงมี 11 แคว้น (เดิมมี 9 แคว้น) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นเมื่อรวมกันเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน คือ จี๋น ฌ้อและจิว เป็นเมืองหลวง รวมกับแคว้นอื่นอีก 8 แคว้น ภายหลังแคว้นเหล่านั้นได้พากันตั้งตัวเป็นใหญ่จึงทำให้เกิดแคว้นที่สำคัญ คือ แคว้นลู้ แคว้นไงว่ แคว้นฉี่ แคว้นจิ้นแคว้นฌ้อและแคว้นจี๋น

    แคว้นที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ขวาง มีไพร่พล เสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าแคว้นอื่นๆ คือแคว้น ฌ้อ กับแคว้นจี๋น ต่อมานั้นแคว้นจี๋นได้เข้าปราบแคว้นฌ้อได้ จึงทำให้แคว้นจี๋นสามารถรวบรวมเอาแคว้นจิว เมืองหลวง และแคว้นอื่นๆ มารวมเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ง่ายเมื่อ พ.ศ. 288

    ดังนั้นแคว้นจี๋น จึงมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยแคว้นอื่นๆ 11 แคว้น ภายหลังแคว้นจี๋น นั้นได้แผ่อำนาจเข้าไปยังดินแดนต่างๆ จนมีอำนาจในมณฑลฮกเกี้ยน (หมัน) เหยาะและเปอะ-จต) มณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางไซ ขยายเขตออกไปจนถึงเขตญวนตังเกียมารวมไว้ในอาณาจักร เรียกรวมผ่นดินนี้ว่า จี๋น คือ ประเทศจีน ปัจจุบันนี้

    ลำหรับแคว้นขึ่นม่านประกอบด้วยมณฑลกุยจิว และมณฑลยูนนานนั้นอยู่ ด้านตะวันตกมีอาณาเขตตั้งแต่ทิศเหนือจนถึงทิศใต้นั้นจดทะเลใหญ่ (มหาสมุทร) มีเมืองหล่งซีเมืองจกเมืองป่า และดินแดนของพวกตง อยู่บ้านเมืองเรียงรายกันดามชายแดน ส่วนดินแดนที่อยู่นอกอาณาเขตออกไปอีกนั้นเป็นดินแดนของชาติเกียงอยู่ติดต่อทางเหนือมีชาติม่านติดต่อทางทิศใต้และมีชาติที่ติดต่อทางทิศตะวันตก

    แคว้นขึ้นม่าน นี้ คำว่า ขึ่นม่าน แปลว่า งูใหญ่ จึงเป็นกลุ่มมนุษย์มีการนับถืองู (หรือพญานาคหรือมังกร) เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคน เป็นนัยให้เข้าใจว่า มนุษย์กลุ่มคือกลุ่มนาคพันธุ์ ที่มีความชำนาญการในการตั้งถิ่นฐานอยู่ตามน้ำ และนับถืองูใหญ่

    ในยุคสามก๊ก (พ.ศ.763) นั้น เกียงอุย แม่ทัพของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (เป็นบุตรของเล่าปี่)อยู่ที่เมืองจกได้นำทหาร 80,000 คนไปตั้งกองทำนาปลูกข้าวอยู่ที่เมืองหล่งซี (ในสามก๊กเรียกหล่งเส) ต่อมาใน พ.ศ.1172 กษัตริย์ราชวงศ์ถัง ได้ทำการยกฐานะเมืองหล่งซี ขึ้นเป็นแคว้น (เมืองใหญ่) เรียกว่าหล่งเหยา


    สมัยที่พระภิกษุฟาเหียน (พระถังซัมจั๋ง) ไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดียนั้น ได้บันทึกเส้นทางเดินว่า ได้เดินทางออกจากเมืองเชียงอาน (เมืองซีอาน) นั้น ผ่านหล่งเหยา (LUNG YU หรือ LAN-CHOW) ก่อน แคว้นหล่งเหยา นี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหนองใหญ่ คือทะเทสาบซี-อว่าง- มู้ (ปัจจุบันเรียก ชิงฮ้าย)

    ชื่อ หล่งซี หรือ หลงเส หรือ หล่งเหยา ซึ่งเป็นคือของแคว้นเดียวกันนี้ ออกเสียงคล้ายหนองแส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ ได้เข้าใจว่า เมืองตาลีฟู ซึ่งอยู่ในรัฐน่านเจ้า (ปัจจุบันอยู่มณฑลยูนนาน) นี้คือ หนองแส เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวนั้นมี หนองน้ำเออร์ฮ้ายและทางด้านทิศใต้ของหนองน้ำนี้มีแคว้นที่มีคนในตระกูลเมือง (ตระกูลเจ้าเมือง) ครองอยู่คือ เจ้าม่งเส จึงกำหนดว่า ม่งเส นี้ คือ หนองแส

    สำหรับเมืองจกนั้นในสมัยสามก๊ก (พ ศ. 763) เรียกว่า จก ต่อมาภายหลังได้เรียกว่า ซีฉวน หรือ เสฉวน เป็นเมืองที่เล่าปี่ได้มาตั้งตนเป็นเจ้าครองเมืองจก ด้วยเหตุที่เล่าปี่นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นจึงพากันเรียกว่าจกฮั่นชนชาติจกนี้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ระหว่างเมืองหล่งซี เมืองปา เมืองเกียง เมืองม่าน

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c003.shtml<!-- google_ad_section_end -->
    <TABLE id=post3393346 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3393346 class=alt1>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("3393346")</SCRIPT> [​IMG] </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(4)

    ในพงศาวดารเหนือ ได้เล่าถึงเรื่อง “ ปู่เจ้าลาวจก ลงมาจากแถนโดยเกริ่นเงินสร้างเมืองลงใกล้แม่น้ำละว้านัทธี (แม่น้ำสาย) ชื่อเมืองหิรัญเงินยางคือ เมืองเชียงแสนและเป็นผู้มีชื่อร่วมงานตั้งจุลศักราชในปีกัดไก๊เอาปีกุนเป็นเอกศก ยามรุ่งแจ้งวันจันทร์ขึ้น ๒ ค่ำเดือนห้า เป็นกำหนด ตรงกับพุทธศักราช 1182 เวลานั้นเมืองหริภุญไชยและเมืองสุโขทัยมีอยู่แล้ว แต่มิได้ออกแก่กันและกัน ปู่เจ้าลายจกผู้นี้น่าจะเป็นเชื้อนรบดีของชาติจก”

    ปา เป็นชนชาติหนึ่งที่อยู่คู่กันกับจก จีนเรียก ปา-จก ควบกัน โดยหมายเอาว่า เป็นชื่อเดิมของเสฉวนในสมัยเจี๋ยนโกวะ คือ เมืองจกอยู่ภายนอกทางทิศตะวันตกถัดเข้ามา ตอนกลางก็เป็น เมืองปา อยู่ระหว่างเมืองหล่งซี กับเมืองจี๋น เมืองฌ้อเมืองจก และขึ่นม่าน ชนชาติปานั้นมีดินแดนกว้างขวางแต่ไมได้เป็นเมืองอิสระ จีนจึงเรียก ดินแดนของชนชาติปาว่าเป็น แดนผี ในตำนานเลียดก๊กนั้น เมืองปาเคยสู้รบกับฌ้อ และตีฌ้อจนพ่ายแพ้

    ครั้นเมื่อเล่าปี่เป็นใหญ่ตั้งตัวเป็นเจ้าครองเมืองจก จึงรวมเอาเมืองปาไปอยู่ด้วย (จีนจึงเรียกปา-จกควบกัน} เมืองปาเป็นอิสระในนามเมืองจกภายหลังเมืองปานี้ได้เป็นเขตของแคว้นจี๋นไป (ตามชื่อที่เขียนแผนที่)

    เมืองปานั้นมีภูเขาสำคัญอยู่ลูกหนึ่งชือ ปาซาน อยู่ตอนกลาง (จีนเรียก ซัวปา) ดังนั้นชนชาติปาจึงอาศัยอยู่บริเวณป่าซานนี้ เป็นชาวชนบทห่างไกล (เรียกว่า ซัวปานั้ง) ในสามก๊กนั้นมีเมือง ปาตง ปาเส ซึ่งหมายถึงเมืองปาตะวันออก เมืองปาตะวันตกของชนชาติปา

    อูต (เรียกเหมือน ออสโตรเอเชียติก ซึ่งเป็นกลุ่มมอญ-ขอม) เป็นชนชาติที่อยู่ ทางทิศใต้ของเมืองปา ชนชาติอูตกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลกวางไซ (เรียกอูตไซมณฑลกวางตุ้ง (เรียกว่า อูตตุง) ใน มณฑลกุยจิว และมณฑลยูนนานก็มีอยู่บ้าง คำว่าอูต และเหยาะ นั้นน่าจะถูกใช้เรียกในความหมายเดียวกัน กล่าวคือ อูต ในเลียดก๊กนั้น ออกเสียงอวด แต่ญวน (ยวน?) นั้นออกเสียง เวียด ส่วนจีนนั้นใช้คำว่าเหยาะ หมายถึง ยวน และไทยใช้คำว่า ยวนหมายถึง โยนก

    ดังนั้น อูต ที่อยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน มณฑลกวางตุ้ง มลฑลกวางไซ และประเทศญวนนั้นได้ถูกจีนนั้นเรียกทั้ง อูต อวดและเหยาะ (คือเรียก หมัน- เหยาะ -มณฑลฮกเกี้ยน เปอะ-อูตมณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางไซ) มาตั้งแต่ครั้งกษัตริย์ราชวงศ์จิว ดังนั้นการที่จีนเรียกขึ่นม่าน-มณฑลกุยจิลและมณฑลยูนนานนั้น คำว่า ม่าน ก็ดูจะมีความหมายถึงกลุ่มไทยใหญ่พม่า หรือ เมียนม่าร์ด้วย

    การศึกษาเดิมเรื่องชนชาติไทยหรือไท นั้นว่าเมื่อ 6,000 ปีมาแล้วนั้นชนชาตินี้ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง หว่าง-ห่อ

    ต่อมา 5,000 ปีมาแล้ว ชนชาติจี๋น (จีน) ได้พากันมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่โดยว่าจีนนั้นมาจากบริเวณทะเลสาบคัสเปียน โดยเดินทางผ่านทะเลทรายโกบีข้ามแม่น้ำเหลืองซึ่งไหลแม่น้ำไหลอยู่รอบนอก ชนชาติจี๋นจึงเดินทางบุกผ่านบ้านเรือนของชนชาติไทยที่ดั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 1,000 ปี เข้ามาจนถึงแม่น้ำไอว่ เป็นแม่น้ำสาขาทีแยกออกไปจากแม่น้ำเหลือง หว่าง-ห่อ

    บริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่นั้นชนชาติจี๋นได้ตั้งเมืองฮามเอียง (ฮูหยง) เป็นเมืองเอกของแคว้นจี๋น ต่อมาเมื่อชนชาติจี๋นมีอำนาจสามารถขยายอาณาเขตไปยังแคว้นต่างๆ และได้พระเจ้าจิ๋นซีฮองเต้เป็นกษัตริย์ครองแผ่นดินบริเวณดังกล่าวจึงยกเมืองฮามเอียง ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีน ภายหลังนั้นเมืองฮามเฮียงนี้ ได้เปลี่ยนเป็น เมืองเชียงอาน (ปัจจุบันคือ เมืองซีอานหรือซีอัน-XIAN)
    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c004.shtml<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(5)

    ประวัติเมืองฮามเอียงนั้น เล่าว่า เมื่อครั้งแผ่นดินห้องสิน ยูเลียม และออกไล่ขุนนางสองพี่น้องในราชสำนักของพระเจ้าติวอ๋อง เห็นว่าพระเจ้าติวอ๋องจะพ่ายแพ้แก่พระเจ้าบูอ๋อง กษัตริย์ราชวงศ์จิว จึงได้ลักเอาตราหยกของพระเจ้าติวอ๋องไปถวายแก่พระเจ้าอ๋อง แต่เกียงจูแหยแม่ทัพของพระเจ้าบูอองนั้นไม่ชอบสองขุนนางที่อกตัญญูต่อฮ่องเต้ของตน จึงให้ฆ่ายูเลียม และออกไล่เสีย ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าเฮาอ๋องนั้น เองหยู ซึ่งเป็นหลานของยูเลียมได้เข้ารับราชการในกองทหารม้า เองหยูนั้นได้ฝึกม้าเป็นอย่างดีและบำรุงจนม้าสมบูรณ์อ้วนพี ทำให้มีความชอบเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเฮาอ๋อง พระองค์จึงพระราชทานเมืองฮูหยงให้เองหยูไปครองเป็นเจ้าเมือง โดยเปลี่ยนชื่อเมืองฮูหยงเป็น เมืองจี๋น ต่อมาเมื่อตั้งแคว้นจี๋นขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำไอว่ จึงตั้งเป็นเมืองเอก ของแคว้นจี๋น และได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชนชาติจี๋นต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองเชียงอาน ดังกล่าว

    ในตำนานน่านเจ้าของชาวเสฉวนนั้น ว่า เมื่อครั้งที่กษัตริย์ราชวงศ์เหม็งปกครองแผ่นดินนั้น ชนชาติที่อยู่ในรัฐน่านเจ้า ซึ่งเรียกว่า ม่าน (จาก ขึ่นม่าน) นั้นตั้งอยู่บริเวณที่ราบเขากิ่วลง ชึ่งอยู่ใต้เมืองยงเชียง เมืองนี้อยู่ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำอิระวดีทางตอนเหนือของเมียนม่าร์

    เรื่องชนชาติม่านนี้ ก็คือ “งอ้าย-ลาว” (ไทยเรียกชนชาติอ้ายลาว) นี้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐน่านเจ้า และอยู่กระจัดกระจายไปถึงตังเกี๋ย บริเวณถันหาว แง่อาน และกวางไตร ซึ่งต่อมาชนชาตินี้ได้พากันอพยพลงมาตามเส้นทางแม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำโขงลงมาทางดินแดนสุวรรณภูมิตั้งเป็นดินแดนของชนชาติมอญและชนชาติขอมในที่สุด

    ส่วนชนาติไตหรือไตหรือได (TI-DI ไม่มี ยังมีชนชาตินี้อยู่ในจีนตอนใต้) ที่มีแหล่งกำเนิดตามตำนานนั้น น่าจะเป็นกลุ่มเดียวกับเป็นขนชาติม่าน (งอ้าย-ลาว) เมื่อก่อนพุทธกาล 4,500 ปี ถึง พ.ศ 205 นั้น มีอาณาจักรไทยมุง ตำนานน่านเจ้าได้กล่าวถึง ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ถังนั้น เจ้าตระกูลเมือง (มุง) ได้เป็นใหญ่ปกครองรัฐน่านเจ้า

    เจ้าตระกูลเมือง (มุง) นั้นเป็น คำเรียกสำหรับบุคคลที่เป็นเชื้อสายของเจ้าเมือง ที่ครองเมืองโดยหมายเอาคำว่า “มุงหรือ เมือง” (MONG-MUANG) เป็นหลัก นัยความหมายถึงมุง หรือมุง หรือ เมือง ตามคำที่จีนเรียก ชนชาติมงโกลว่า โม๊ง-กู๊ (กู๊-แปลว่า เก่า) นั่นคือชนชาติไทยมีความเกี่ยวพันกับชนชาติมงโกล หรือเป็นชนชาติที่แยกสาขามาจากกลุ่มมงโกล แต่คงไม่ได้หมายว่า มีถิ่นฐานอยู่ที่แบบเดียวกับพวกมงโกลเลียน หรือแถบภูเขาอัลไต ซึ่งไกลเหลือกำลังมนุษย์จะเดินทาง การขุดค้นทางโบราณคดีของเอ็ม ไอ อาทาโมนอฟ นักโบราณคดีชาวรัสเซียได้พบว่า เทือกเขาอัลไตนั้นเป็นภูเขาน้ำแข็ง ไม่มีร่องรอยของคนไทอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีแต่ความแห้งแล้ง ติดกับทะเลทรายโกบี

    ดังนั้นบ้านเมืองของชนชาติที่มีเขื้อสาย มงโกล ? (มงโกล-คนผิวเหลือง) น่าจะอยู่ในบริเวณรัฐน่านเจ้าที่รู้จักกันคือ กลุ่มชนจาติม่านหรือ งอ้าย-ลาว นั่นเอง โดยมีเมืองที่เจ้าตระกูลมุงหรือเมืองปกครองดูแลคนกลุ่มนี้อยู่ มีชื่อเมือง หล่งซี หรือ หลงเส (หนองแส-ตาลีฟู) และชื่อ เจ้าม่งเส ดูจะสอดคล้องกับ มีเจ้าตระกูลเมือง ครองบ้านเมืองของชนชาติไทกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ไทมุง-ไทเมือง-ไทโม๊ง

    ผู้ครอบครองเมืองหรือผู้เป็นใหญ่เหนือตนนั้น พวกม่านเรียกว่า “เจ้า” ดังนั้นในตำนานน่านเจ้า ได้เล่าถึง เจ้าตน (เหมือนเรื่องพระเจ้าหกตน) ครองดินแดนแต่ละแเคว้นว่า มี 6 แคว้น จึงสามารถชิงเอาแคว้นอื่น 5 มารวมเป็นอาณาจักร เรียกว่า ไท-โม๊ง-โกวะ (แปลว่าประเทศเมืองไท)

    ไทโม๊งโกวะ หรืออาณาจักรไทมุง นี้มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 11-14 (พ.ศ. 1161-1370)ซึ่งพอจะมองเห็นเรื่องราวของชนชาตินี้และถิ่นฐานทูอยู่ทางเหนือชัดเจนขึ้น
    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c005.shtml<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(6)

    ในตำนานน่านเจ้านั้นมีเรื่องเล่าถึงการกำเนิดผู้คนในท้องถิ่นนี้ คือพวก “ม่าน” หรือ “งอ้ายลาว” ไว้ว่าชนชาติม่าน (“งอ้ายลาว”) ผู้หนึ่งชื่อ เมืองเกียตก ไปหาปลาที่ทะเลสาบอีล่อ แล้วเกิดจมน้ำตาย นางสายี (หรือสาหู) ภรรยาได้ไปร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ริมน้ำ (ในทะเลสาบอีล่อ) นั้น ขณะนั้นได้มีขอนไม้ลอยน้ำมากระแทกที่ตัวนาง จึงเป็นเหตุให้นางตั้งครรภ์ขึ้น แล้วนางก็คลอดบุตรออกมา 10 คน เมื้อนางพาบุตรทั้งสิบคนไปที่ทะเลสาบนั้น ปรากฏว่าขอนไม้ครั้งนั้น ได้กลายเป็นมังกร แล้วร้องถามว่า ลูกข้าอยู่ไหน

    เด็ก 9 คน พากันตกใจวิ่งหนี แต่คนเล็กสุดท้องคนที่ 10 นั้นไม่กลัว กลับวิ่งขึ้นขี่หลังมังกรนั้น มังกรจึงเลียหลังเด็กชายคนนั้น นางจึงตั้งชื่อลูกคนสุดท้องว่า “กิ่วลง” (มีความหมายว่า นั่งหลัง (มังกร) ภาษาม่านนั้นคำว่า กิ่ว แปลว่า หลัง และลง แปลว่านั่ง)

    อีกด้านหนึ่ง ตรงเชิงเขา “งอ้ายลาว” ใกล้แม่น้ำสายหนึ่ง ได้มีหญิงคนหนึ่งชื่อ หนูพีสี ปรากฏว่านางมีลูกสาวอยู่ 10 คนเช่นกัน ดังนั้น กิ่วลง กับพี่ชาย 9 คน จึงได้พากันไปแต่งงานกับลูกสาว 10 คนของหนูพีสี นับเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีบุตรสืบเชื้อสายต่อมา บุตรของแต่ละคนก็เป็นต้นตระกูล (แซ่) ของกลุ่มคนต่าง ๆ ต่อมา ได้แก่ 1.แซ่ตง 2.แซ่โห่ง 3.แซ่ตะวัน 4.แซ่ซี 5.แซ่ห้อ 6.แซ่อว้าน 7.แซ่จาง 8.แซ่อย่าง 9.แซ่ลี 10.แซ่จาว

    ผู้คนที่เป็นต้นตระกูลทั้งหมดนี้จะพากันสักทาหมึก (สีดำ) สักเป็นรูปช้าง สักรูปมังกร นุ่งผ้ายักรั้งมีชายกระเบนห้อยไปด้านหลัง เมื่อผู้นำตระกูลทั้ง 10 ตระกูลมีลูกหลานเกิดขึ้นมากมาย จึงได้พากันอพยพออกจาบริเวณที่ราบเชิงเขา “งอ้ายลาว” แห่งนั้นลงมาตามแม่น้ำ เมื่อเห็นทำเลอุดมสมบูรณ์ถิ่นฐานบ้านเมืองตามชุมชนต่าง ๆ สามารถมีเครือญาติกระจัดกระจายออกเป็น 39 ชุมชน (ชนบท)

    ตำนานนี้จึงเป็นเค้าเรื่อง “กลุ่มคนแถบงอ้ายลาว” มีลูกหลานมากมายจากคนเป็นต้นตระกูลจำนวน 10 คน แล้วคนที่เป็นต้นตระกูลนี้ได้พาครอบครัวพาเชื้อสายของตนไปตั้งบ้านเมืองอยู่ตามริมแม่น้ำ สร้างเป็นชุมชนต่าง ๆ ตำนานเล่าคล้ายกับพงศาวดารล้านช้างที่พากันออกมาจากน้ำเต้าแล้วแยกย้ายตั้งถิ่นฐานที่อยู่กันตามที่ลุ่มที่ดอนเมือง คือ เมืองลุ่มลีดเลียง เมืองเพียงคัดค้อย หรือ นาน้อยอ้อยหนู เป็นต้น


    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c006.shtml<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
  7. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(7)

    สำาหรับ “เจ้าตระกูลเมือง” ครองอาณาจักรหรือรัฐน่านเจ้านั้น ตำนานว่าเป็นคนสืบเชื้อสายมาจากมคธราษฎร์ (อินเดีย) นั้น มีเรื่องราวว่า พระราชาแห่งมคธราษฎร์นั้น มีพระนามว่าเพี้ยวซูตี (อโศกราช) พระองค์มีมเหสี พระนามว่า นางเขียนเมืองควาย ทั้งสองมีโอรสชื่อ ตีเมืองชู ต่อมานั้นดีเมืองชู ได้เป็นเจ้าครองอาณาจักรหรือรัฐน่านเจ้า ตีเมืองชูมีบุตร 9 คน มีชื่อปรากฏในตำนาน (การตั้งชื่อมีประเพณีนิยมนำชื่อบรรพบุรุษนำหน้าชื่อ) ดังนี้

    1.เมืองชูฟูหล้า เป็นต้นตระกูลของพวกอยี ตะวันตกเฉืยงใต้ 16 แคว้นในน่านเจ้า

    2.เมืองชูเตียน เป็นต้นตระกูลของพวกโท้ (พวกธิเบต)

    3.เมืองชูนา เป็นต้นตระกูลของฮั่น (จีน)

    4.เมืองชูชวน เป็นต้นตระกูลของพวกม่าน ตะวันออก (อยู่ใน กุยจิอิว กวางไซ
    กวางตุ้ง)

    5.เมืองชูตก เป็นต้นตระกูลของพวกเมืองในน่านเจ้า มีบุตร 12 คน บุตร 7 คน
    เป็นพระอรหันต์ และ บุตร 5 คนเป็นเมธี (นักปราชญ์)

    6.เมืองชูโถ เป็นต้นตระกูลของพวกลังกา (ชาวสิงหล ประเทศลังกา)

    7.เมืองชูดิน เป็นด้นตระกูลของพวกญวนตังเกีย

    8.เมืองชูส่ง เป็นต้นตระกูลของพวกชินกะ (แคว้นผาซื่อ)

    9.เมืองซูสู่ เป็นต้นตระกูลของพวกอยีขาว พวกน่านเจ้า
    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c007.shtml<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->

     
  8. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(8)
    ภาคใต้ที่ต่อกับลาวสำหรับเจ้าครอง อาณาจักรน่านเจ้านั้น เจ้าเมืองชูฟง โอรสของตีเมืองชู ได้ครองเมืองน่านเจ้า และมีเชื้อสายเป็นวงศ์เจ้าครองเมืองน่านเจ้า ตามลำดับดังนี้

    1. เจ้าเมืองชูส่ง เป็นต้นตระกูลของชินกะ แห่งรัฐผาซือได้ครองน่านเจ้า มีนามว่าสานสานโกวะ มีโอรสสืบวงศ์ไปถึงรัฐมีนาม ผาใย และขวัญมิ

    2. เจ้าจ้างเกี่ยว เดิมเป็นแม่ทัพของเมืองฌ้อ ได้ยกทัพเข้ามาชิงดินแดนได้เมืองแถนจึงตั้งตัวเป็นเจ้า แล้วตั้งรัฐแถนหรือเถียนขึ้น

    3. เจ้าชินกะ เชื้อสายของเมืองชูส่ง (เชื้อสายของพระเจ้าอโศกราช) เรียกร้องที่ครองว่ารัฐ ผาซื่อ

    4. เจ้านงเยาวน เป็นเชื้อสายของชินกะ เมื่อขงเบ้งยกทัพมาปราบยงคีและเบ้งเฮก แล้วได้ถูกแต่งตั้งให้ครองเมือง เรียกว่ารัฐเกียนนิง พร้อมกับให้นงเยาวน นั้นมีแซ่อย่างจีนว่าจาง และเชื้อสายสกุลจางนี้ได้ครองรัฐต่อมาถึง32 ชั่วคน จนถึงสมัยน่านเจ้าทำการแบ่งรัฐออกเป็น 6 แคว้น โดยมีเจ้า 6 ตนเข้าครองแคว้นเหล่านั้น

    5. เจ้าจางล้อจิ้นขิว สกุลจางชั้นที่ 17 สมัยเจ้า 6 ตน นั้นได้รับยศฝ่ายทหารจากกษัตริย์ราชวงศ์ถัง ของจีน ต่อมาได้เห็น เมืองสีห์นร เจ้าตระกูลเมืองที่ครองเมืองม่งเส นั้นมีบุญมีฤทะ จึงยกลูก สาวและมอบเมืองให้ครองแทน

    6. เจ้าเมืองสิงห์นร ลูกเขยของจางล้อจิ้นขิว ที่เป็นผู้มีบุญนัก มีเชื้อสายจากเจ้าตระกูลเมือง ได้ทำการสร้างเมืองและมีฝีมือรบพุ่งอย่างแข็งแรง จึงตั้งเมืองตามลักษณะเมืองที่ครอง คือ เป็นเมืองใหญ่ ว่า เมืองไท (ไทมุง) มีเชื้อพระวงศ์ครองราชย์สืบต่อมาถึง 255 ปี มีนามประเทศรู้จักชื่อไทยมุงหรือเมืองไท สุดท้าย แจงหมายสือเป็นกบฏเข้าชิงอำนาจจนสิ้นวงศ์ใน พ.ศ. 1445

    7. เจ้าแจงหมายสือ ได้เข้าชิงอำนาจจากวงศ์เมืองสิงห์นร เมื่อ พ.ศ. 1445 ได้ปราบดาภิเษกเป็นเจ้าครองน่านเจ้า ต่อมาลูกชายผู้สืบวงศ์ในสมัยที่ 2 นั้นได้ขอพระธิดาของกษัตริย์ราวงศ์ฮั่น (ใต้) ซึ่งครองอยู่มณฑลกวางตุ้งมาเป็นมเหสี พ.ศ. 1471 จาวสานเเจง ได้ก่อกบฏเข้าชิงอำนาจและฆ่าเจ้าครองเมือง

    8. เจ้าจาวสานแจง ก่อกบฏได้ครองนานเข้าได้ 10 เดือน จึงถูก ยางกันเจนผู้ร่วมคิดก่อกบฏด้วยกันฆ่าตาย

    9. เจ้ายางกันเจน ผู้ร่วมก่อกบฏได้ชิงอำนาจฆ่าจาวสานแจง แล้วก็ครองน่านเจ้าแทนครองได้ 8 ปี มีความโหดร้าย จนตวันชื่อเพง เข้าชิงอำนาจได้ แล้วบังคับให้ ยางกันเจนบวช บ้างว่า ต่อมาได้สำเร็จโทษในภายหลัง

    10. เจ้าตวันซื่อเพง เป็นเชื้อสายของทหารวงศ์เจ้าตระกูลเมือง (วงศ์เมืองสีหนร) ขึ้นครองเมือง พ.ศ.1480 มีเชื้อสายสืบวงศ์ 158 ปี สุดท้ายเจ้าครองเมืองคนสุดท้ายทำตัวเหลวไหล ขุนนางจึงเชิญข้าหลวงประจำเมืองสานสาน ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทนใน พ.ศ. 1637

    11. เจ้าเก้าแสงไท ข้าหลวงประจำเมืองสานสาน ได้ถูกขุนนางยกให้เป็นเจ้าครองเมืองอยู่ได้ 2 ปีก็ตาย แต่ก็สั่งให้คืนเมืองกับเชื้อสายของเจ้าตระกูลเมืองตามเดิม

    12. เจ้าตวันแจงสวน เป็นน้องของเจ้าผู้ครองน่านเจ้าคนสุดท้ายที่ถูกถอด ได้ครองรัฐต่อมา ได้ตั้งบุตร ของเก้าแสงไท เจ้าครองเมืองคนก่อนเป็นอุปราช เจ้าตะวันแจงส่วนผู้นี้มีเชื้อสายสืบวงศ์ ได้ 315 ปี เมื่อ พ.ศ. 1803 ราชวงศ์ของเจ้าครองน่านเจ้าก็ขึ้นแก่ชาติมงโกล สมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน

    สรุปแล้วอาณาจักรหรือรัฐน่านเจ้านั้น มีเจ้าครองเมืองตั้งแต่เจ้าเมืองชูฟง จนถึงเจ้าตวันแจงส่วน ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล 578 -พ.ศ.1803 นั้นรวมเวลา ประมาณ 2382 ปี มี เชื้อสายเจ้าครองเมืองจากวงค์ของเจ้าเมืองชูส่ง วงค์ของเจ้าจ้วงเกี่ยว วงค์จางของเจ้านงเยาวน (เชื้อสายชินกะมี 36 ชั่วคน) วงค์ของเจ้าเมืองสีห์นร (255 ปี) วงค์ของเจ้าแจงหมายสือ วงค์ของเจ้ายางกันเจน วงค์ของเจ้าตะวันซื่อเพง (158 ปี) วงค์ของเจ้าเก้าแสงไท และวงค์ ของเจ้าตะวันแจงส่วน (314 ปี ) รวมทั้งหมด 9 วงค์ (ไม่นับยงคีและเบ้งเฮ็ก)

    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c008.shtml<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->

    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->

     
  9. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เรื่องของชนชาติไทย(9)
    ส่วนเรื่องเมืองลุง – เมืองปา (นครลุง – นครปา) ที่ระบุว่าเป็นเมืองของชนชาติไทนั้นเดิมไม่ปรากฏในแผนที่อู๊ก้องกิวเจียว (แผนที่ส่วยเก้าแคว้นของอู๊) ที่เขียนเมื่อก่อนพุทธกาล 1662 ปี สันนิษฐานว่า เมืองลุงจะ
    ตั้งอยู่ปลายหรือนอกเขตแคว้นเหลียง

    ต่อมาในสมัย สานไต๋ และในแผนที่สมัยกษัตริย์ราชวงค์จี๋นนั้น จึงปรากฏที่ตั้งเมืองลุง และเมืองปาอยู่นอกเขตแดนของจีน ดินแดนของเมืองปานั้นจีนเรียกเป็น “แดนผี”

    ดังนั้นบริเวณที่ตั้งเมืองลุงและเมืองลุงและเมืองปาที่ทราบในภายหลังนั้นเมื่อศึกษาจากแผนที่จะพบว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณของชื่อแคว้นอื่น ในแผนที่อู๊ก้องกิวเจียว นั้นคือบริเวณเฉะจี๊ และไซหยงในแผนที่สมัยซุนซิวเลียดก๊ก บริเวณที่ตั้งเมืองลุง คือ เตียงหยง กาวเอียน และตี (น่าจะ ไต-TI)

    ส่วนเมืองปานั้นเป็นเมืองอยู่ในอาณาจักรจิ๋นแล้ว แผนที่ของจีนนั้นระบุว่าพวกม่าน (ขื่นม่าน) นั้นอยู่ทิศใต้ และอยู่ทางทิศหรดีของเมืองปา พวกจกนั้นอยู่ทิศตะวันตก ภายหลังนั้นเมืองลุงปาได้อยู่ในแคว้นจี๋น ครั้นเมื่อพวกจี๋นตั้งเมืองหลวงขึ้น ก็ใช้เมืองฮูหยง (เมืองฮามเอียง) ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างเมืองลุงและเมืองปาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีนทำให้เห็นว่า บริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทนั้น มีทำเลที่ดีและเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางอาณาจักรก่อน

    สำหรับเจ้าตระกูลเมือง ที่ครองดินแดนชนชาติไทมุงนี้ ตำนานน่านเจ้ากล่าวว่า วงศ์ที่ครองประเทศนี้มาจากแคว้น มคธราษฎร์ จีนรู้จักรัฐน่านเจ้านี้มานานแล้วในนาม “สาน-สาน-โกวะ” สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จีว เมื่อก่อนพุทธกาล 579 ปี ดังนั้น สานสานโกวะ จึงน่าจะเป็นที่มาของการเรียก ซาน หรือ ฉาน (SHAN) ของชนชาตินี้ในเวลาต่อมา

    ในพุทธศตวรรษ 336-288 นั้น สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จี๋นนั้น แม่ทัพจากเมืองฌ้อ ได้ยกทัพเข้ามาชิงเอาดินแดนรัฐน่านเจ้าแล้วตั้งตัวเป็นเจ้า เรียกดินแดนนี้ว่าแถนหรือ เถียนในสมัยสามก๊กระหว่าง พ.ศ. 700-800 จูกัดเหลียง (ขงเป้ง) ได้เป็นแม่ทัพจากเมืองจกได้ยกทัพมาปราบเบ้งเฮ็ก (บ้างว่าเป็น ชนชาติไท) เมื่อปราบได้ชัยชนะแล้วจึงแต่งตั้งให้ นงเยาวนครครองเมือง (ประเทศ) เรียกว่า ประเทศเกียนนิง และให้นงเยาวน มีชื่อ (สกุล)ตามอย่างจีนว่า จาง

    รัฐน่านเจ้านั้นเคยเป็นไมตรีกับจีน และเป็นศัตรูกันตามสมัย ในที่สุดรัฐน่านเจ้าจึงตกเป็นของจีนในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน (พ.ศ. 1822-1911)

    ถิ่นฐานหรือเมืองของชนชาติไทนั้น จีนได้รู้จักมาก่อนแล้ว มีการเรียกชื่อดินแดนนี้แตกต่างกันตามยุคสมัย ดังนี้

    ก่อนพุทธกาล 579 ปี-พ.ศ. 288 สมัยกษัตริย์ราชวงศ์จิว เรียกชื่อ 1. สาน-สาน-โกวะ 2.ขวัญมิ โกวะ 3. เปะหง่ายโกวะ (ผาใย-เพงาย)

    สมัยเจี๋ยนโกวะ เรียก แถนหรือ เถียนโกวะ

    พ.ศ. 337-807 สมัยราชวงศ์ฮั่น จีนเรียก 1. แคว้นอี๋ 2. เปะซื่อโกวะ (ผาชื่อ)
    พ.ศ. 808-1132 สมัยวู๋ไต๋ หรือหงอโต้ (ห้าวงศ์กษัตริย์) จีนเรียกแคว้นนิง

    สมัยกษัตริย์ราชวงศ์สุย จีนเรียก แคว้นขวัญ
    พ.ศ. 1161-1406 สมัยราชวงศ์ถัง จีนเรียก 1.นานกิง 2.หกเจ้าไทเมือง 3. สานสาน
    พ.ศ. 1503-1821 สมัยราชวงศ์ซ้อง (ใต้) จีนเรียก น่านเจ้า
    พ.ศ. 1822-1911 สมัยกษัตริย์ราชวงศ์หงวน จีนเรียก จงคิง

    ดินแดนของชนชาติม่าน (งอ้าย-ลาว) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จีนตอนใต้นั้น จึงมีชื่อเรียกอาณาจักรหลายชื่อดังกล่าว ชื่อที่รู้จักกันอย่างดี คือ น่านเจ้า จนเชื่อกันว่า เป็นอาณาจักรของชนชาติไท

    พวกม่าน ในน่านเจ้าจึงเป็นบรรพบุรุษของชนชาติไท (ทางเหนือ) ส่วนจะเป็นชนชาติพวกเดียวกับชนชาติสยามที่มีชื่ออยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ (บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) หรือไม่นั้นเป็นข้อศึกษาต่อไป


    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c009.shtml<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
  10. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    การตั้งชุมชนเมืองของชนชาติไทย

    การกำเนิดของชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่บนบริเวณแหลมอินโดจีนนั้น ในตำนานมีเรื่องราวกล่าวว่า คนสองกลุ่มคือชนชาติมอญ-ชนชาติขอม นั้นถือว่าเป็นต้นแบบของตระกูลมนุษย์ที่อาศัยในแถบอินโดจีน ก่อนจะเข้าผสมผสานกับคนพื้นเมืองจนเป็นชนกลุ่มอื่นต่อไป

    เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1 คือประมาณ 2500 ปีก่อนพุทธศาสนา กลุ่มคนที่มีชาติพันธ์มอญ-ขอม หรือ กลุ่มออสโตรเอเชียติค (อยู่แถบจีนตอนใต้ ?) นั้น ได้พากันเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มชาติพันธ์มอญนั้นได้อพยพลงมาตามลำน้ำสาละวินลงมาทางดินแดนของเมียนมาร์ แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นตามลุ่มแม่น้ำนี้ ในที่สุดก็จัดตั้งอาณาจักรมอญของตนขึ้นที่เมืองสุธรรมวดีคือเมืองสะเทิมอยู่ทางตอนใต้ของเมียนม่าร์

    ส่วนกลุ่มชาติพันธ์ขอมนั้นได้อพยพมาตามลำน้ำโขง ลงมาตอนใต้ สร้างบ้านแปงเมืองจนในที่สุดได้ตั้งอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในดินแดนปากแม่น้ำโขง คือบริเวณของประเทศเขมรในปัจจุบัน

    สรุปแล้วทั้งชนชาติมอญและชนชาติขอมนั้นเดินนั้นต่างมีถิ่นฐานอยู่ทางจีนตอนใต้แหล่งเดียวกัน ต่อมาต่างก็พากันแยกย้ายอพยพมาตามลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงมาสร้างอาณาจักรของตนขึ้น

    สำหรับชนชาติไทยนั้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่แห่งใด จากข้อมูลศึกษาเดิมนั้นให้เชื่อกันว่าน่าจะอยู่แถบภูเขาอัลไต โดยหมายเอาชื่อ อัลไตมาเป็น ไต หรือไท ภายหลังเมื่อมีการศึกษาทางมานุษยวิทยาแล้ว เรื่องของชนชาติไทยจึงมีข้อที่สรุปว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาตินี้น่าจะอยู่แถวภาคเหนือของไทย หรือทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนซึ่งมีกลุ่มไทลื้อ ไท-ยอง หรือนับเอาแหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดกาญจนบุรีให้เป็นถิ่นของบรรพบุรุษของคนไทยหรือคนสยาม ล้วนมีเหตุผลดีกว่า เรื่อง คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตหรือมาจากตอนใต้ของจีน จึงเป็นข้อศึกษาที่ไม่ยุติ

    http://www.moohin.com/thaihistory/h008c010.shtml<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
  11. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    เรียนคุณวสุธรรม

    ประวัติชนชาติสยามหรือเสียม มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ลองหาข้อมูลจากหนังสือประวัติชนชาติสยาม(หรือ"ประวัติคำว่สยาม")ของคุณจิตร ภูมิศักดิ์ มาศึกษาดูจะได้แง่มุมประวัติศาสตร์ที่บอกชัดว่าเกิดที่สุวรรณภูมินี่เอง ในประวัติศาสตร์ของจีนสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ก็มีการกล่าวถึงชนชาติซัมที่มีการค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยบอกที่ตั้งคร่าวไว้ว่าอยูทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนติดทะเล และลักษณะพิเศษของพื้นที่เพราะปลูกและที่อยู่อาศัยของชนชาติซัมนี้คือ เป็นที่ที่ขุดหาน้ำบาดาลได้ง่ายมาก เป็นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์มาก ต่อมายุดหลังการเรียกชือก็เรียกเพี้ยนมาเป็นเสียม "SIAM" เราอ่านว่า สยาม ยิ่งมีการขุดพบแหล่งอารยธรรมบ้านเชียงยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าเราไม่ได้อพยพมาจากตอนใต้ของจีนอย่างทีเรียนกันมา เดิมทีชนชาติซัมจะเรียกตัวเองว่าชาวอารยัน มีความเจริญรุ่งมากมีภาษาเป็นของตัวเอง นิยมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมชำนาญการทำผ้าไหม ทำนาปลูกข้าวหาปลา ทำอาหารหลากชนิด ทำขนมที่ใช้มะพร้าวและข้าวเป็นส่วนประกอบหลายชนิด
     
  12. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    เรียนคุณวสุธรรม

    ประวัติชนชาติสยามหรือเสียม มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ลองหาข้อมูลจากหนังสือประวัติชนชาติสยาม(หรือ"ประวัติคำว่สยาม")ของคุณจิตร ภูมิศักดิ์ มาศึกษาดูจะได้แง่มุมประวัติศาสตร์ที่บอกชัดว่าเกิดที่สุวรรณภูมินี่เอง ในประวัติศาสตร์ของจีนสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ก็มีการกล่าวถึงชนชาติซัมที่มีการค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยบอกที่ตั้งคร่าวไว้ว่าอยูทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนติดทะเล และลักษณะพิเศษของพื้นที่เพราะปลูกและที่อยู่อาศัยของชนชาติซัมนี้คือ เป็นที่ที่ขุดหาน้ำบาดาลได้ง่ายมาก เป็นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์มาก ต่อมายุดหลังการเรียกชือก็เรียกเพี้ยนมาเป็นเสียม "SIAM" เราอ่านว่า สยาม ยิ่งมีการขุดพบแหล่งอารยธรรมบ้านเชียงยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าเราไม่ได้อพยพมาจากตอนใต้ของจีนอย่างทีเรียนกันมา เดิมทีชนชาติซัมจะเรียกตัวเองว่าชาวอารยัน มีความเจริญรุ่งมากมีภาษาเป็นของตัวเอง นิยมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมชำนาญการทำผ้าไหม ทำนาปลูกข้าวหาปลา ทำอาหารหลากชนิด ทำขนมที่ใช้มะพร้าวและข้าวเป็นส่วนประกอบหลายชนิด
     
  13. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขอขอบคุณท่านมากๆครับ

    ขอขอบคุณท่านมากๆครับ จะลองค้นคว้าเพิ่มครับ
     
  14. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    สยาม

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สยาม (อักษรละติน: Siam) เป็นชื่อเรียกของชนชาติและประเทศไทยในสมัยโบราณ แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยใช้เรียกตนเอง สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา<SUP id=cite_ref-.E0.B8.97.E0.B8.97.E0.B8.97_0-0 class=reference>[1]</SUP> แต่ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา


    1 แนวคิดเกี่ยวกับที่มา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>แนวคิดเกี่ยวกับที่มา

    จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีใครทราบที่มาของคำว่าสยามว่ามาจากที่ไหนอย่างแน่ชัด แต่ที่ทราบแน่นอนแล้วคือ สยาม มิใช่ชื่อที่คนไทยใช้เรียกตนเอง โดยในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาในอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พบว่า "สยาม" เป็นนามที่ชาวโปรตุเกสในแถบตะวันออกไกลใช้เรียกอาณาจักรในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา<SUP id=cite_ref-.E0.B8.A5.E0.B8.B2.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B9.81.E0.B8.9A.E0.B8.A3.E0.B9.8C_1-0 class=reference>[2]</SUP>
    จิตร ภูมิศักดิ์ ได้แนะนำการศึกษาประวัติที่มาของคำว่า "สยาม" ว่า:
    1. จะต้องเป็นคำที่คล้ายกับ "ซาม-เซียม" ตามสมมุติฐานทางนิรุกติศาสตร์
    2. มีความหมายเกี่ยวข้องกับน้ำ เนื่องจากพบในพงศาวดารราชวงศ์หยวน อันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนชาติไต
    3. น่าจะเป็นภาษาหนานเจ้า
    4. ที่เกิดของคำว่า "สยาม" อยู่ในบริเวณทางตอนเหนือของพม่า<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP>
    คำที่ใกล้เคียงกับสยาม

    • ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า "หรั่ว เซม" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน
    • ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า "สยาม" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า สิแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) <SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP>
    • ในภาษาเขมร คำว่า "สยาม" หมายถึง "ขโมย" โดยออกเสียงว่า "ซี-เอม" เมืองเสียมเรียบ ซึ่งอยู่ใกล้กับนครวัด จึงมีความหมายว่า "พวกขโมยพ่ายแพ้" ดังนั้น ความหมายของคำว่า "สยาม" ในภาษาเขมรจึงหมายถึง "พวกขโมยป่าเถื่อน" เนื่องจากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ มีคนไทที่อพยพมาจากทางเหนือเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของเขมรซึ่งอาจเข้ามาโดยการกวาดต้อนของชาวเขมรเองเพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างปราสาทหินต่างๆ คำว่า "สยาม" จึงเป็นคำเขมรที่ใช้เรียกกลุ่มคนไทซึ่งในเวลานั้นชาวเขมรยังมองว่าเป็นแค่คนป่า บนรูปสลักฝาผนัง ณ นครวัด ประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงกำลังพลจากอาณาเขตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาร่วมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีภาพกองกำลังกองหนึ่งที่มีคำบรรยายใต้ภาพว่า "เนะ สยฺมกุก" (เนะ สยำกุก) <SUP id=cite_ref-3 class=reference>[4]</SUP> ซึ่งแปลได้ความว่า "นี่ เสียมกุก" เป็นกองกำลังต่างหากจากกองกำลังจากอาณาจักรละโว้ ซึ่งรูปสลักฝาผนังได้สลักแยกไว้พร้อมคำบรรยายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นคนไท-ลาวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเป็นที่ยอมรับกัน
    • ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร "เซียน" (น่าจะหมายถึง เสียม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร "ร้อยสนม" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร "หลอหู" (น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร "เซียน" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร "หลอหู" จนในที่สุด อาณาจักร "เซียน" และอาณาจักร "หลอหู" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหมที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร "เซียนหลอ" (ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน="เสียนหลอกว๋อ" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = "เสี่ยมล้อก๊ก") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "ไท่กว๋อ"<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP>
    • นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของคนไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP>
    สยามในฐานะชนชาติ

    สยามเป็นชื่อดินแดนและกลุ่มชนไม่จำกัดชาติพันธุ์ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าสยามเป็น "พวกร้อยพ่อพันแม่"<SUP id=cite_ref-.E0.B8.A5.E0.B8.B2.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B9.81.E0.B8.9A.E0.B8.A3.E0.B9.8C_1-1 class=reference>[2]</SUP> คือ มิได้หมายถึงชนชาติใดชนชาติหนึ่ง แต่อาศัยลักษณะภายนอกเป็นตัวกำหนด เช่น ใช้เรียกผู้ทำมาหากินกันในบริเวณตาน้ำพุที่ผุดจากแอ่งดินอ่อนหรือดินโคลน<SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP> หรืออาจใช้เรียกผู้ที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำโขง<SUP id=cite_ref-5 class=reference>[6]</SUP>
    ชาวสยามหรือเสียมเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นละติจูด 19° เหนือลงมา เป็นการผสมผสานของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร<SUP id=cite_ref-6 class=reference>[7]</SUP> นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้เขียน "คนไทย มาจากไหน" จึงเสนอให้เรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันว่า "ชาวไทยสยาม" แทน เพราะคำว่า "ชาวไทย" มีความหมายครอบคลุมถึง "ชาวไทยใหญ่" และ "ชาวไทยน้อย" ซึ่งอาศัยอยู่นอกประเทศไทยด้วย<SUP id=cite_ref-7 class=reference>[8]</SUP>
    สยามในความหมายของชนชาติไทย

    <DL><DD>ดูเพิ่มที่ ไทยสยาม
    </DD></DL>ตามหลักฐานของลาลูแบร์นั้น คนในประเทศไทยได้เรียกเผ่าพันธุ์ของตนเองว่า ไทย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาแล้ว โดยได้บันทึกไว้ว่า
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน [...] คำว่า สยาม กับ ไทย เป็นสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน<SUP id=cite_ref-8 class=reference>[9]</SUP>
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>D.G.E. Hall ได้เขียนใน "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ว่า "สยาม ใช้เรียกคนป่าแถบแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพบในระเบียงด้านใต้ของนครวัด... ภายหลังการก่อตั้งอยุธยา ดินแดนดังกล่าวได้ชื่อว่าสยาม ชาวยุโรปก็มักเรียกว่า นครแห่งสยาม" และระบุว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของสยาม<SUP id=cite_ref-9 class=reference>[10]</SUP>
    ส่วนกลุ่มเมืองสุโขทัย ก็พบว่ามีการเรียกว่า "สยามประเทศ" ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ของอาณาจักรล้านนาด้วยเช่นกัน<SUP id=cite_ref-10 class=reference>[11]</SUP>
    ราชอาณาจักรสยาม

    <DL><DD>ดูเพิ่มที่ อาณาจักรอยุธยา, อาณาจักรธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์
    </DD></DL>ถึงแม้ว่าจะมีกล่าวถึง "สยาม" (ซึ่งอาจหมายความถึงคนไทยหรือไม่ใช่ก็เป็นได้) โดยผู้คนจากต่างแดนอย่างกว้างขวางดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วก็ตาม แต่ทว่าในอดีตนั้น แนวคิดเรื่องรัฐชาติยังไม่ปรากฏชัดเจน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การอ้างอิงถึงราชอาณาจักรของทางราชสำนักของไทยจึงยังคงอ้างอิงโดยใช้ชื่อเมืองหลวง ดังเช่นพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเอกาทศรถที่มีไปถึงพระเจ้าดอน ฟิลลิปแห่งโปรตุเกส ผ่านผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองกัว ก็ได้มีการอ้างพระองค์ว่าเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้นของ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาทิ<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP> ส่วนชาวต่างชาติได้เรียกอาณาจักรอยุธยาว่า สยาม มาตั้งแต่ราว พ.ศ. 2000 เป็นต้นมา<SUP id=cite_ref-.E0.B8.A5.E0.B8.B2.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B9.81.E0.B8.9A.E0.B8.A3.E0.B9.8C_1-2 class=reference>[2]</SUP> ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยใช้ชื่อประเทศว่า "สยาม"<SUP id=cite_ref-11 class=reference>[12]</SUP>
    เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้พยายามดัดแปลงให้ประเทศมีลักษณะสมัยใหม่ขึ้น เพื่อซึ่งประการหนึ่งในนั้นคือ การทำให้ประเทศไทยมีลักษณะเป็นรัฐชาติที่มีการควบคุมจากส่วนกลาง และเริ่มมีการใช้ชื่อ "ราชอาณาจักรสยาม" เป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ<SUP id=cite_ref-.E0.B8.97.E0.B8.97.E0.B8.97_0-1 class=reference>[1]</SUP> อย่างไรก็ดี เหรียญกษาปณ์แทนเงินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ตัวหนังสือว่า "กรุงสยาม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ตัวหนังสือว่า "สยามรัฐ"<SUP id=cite_ref-12 class=reference>[13]</SUP>
    จากสยามเป็นไทย

    ต่อมา ในสมัยที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามก้าวขึ้นสู่อำนาจ ปลุกแนวคิดชาตินิยมและการเชื่อฟังผู้นำอย่างมาก ซึ่งจากรายงานการศึกษาในยุคนั้นโดยนักศึกษาประวัติศาสตร์บางคน<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP> ได้มีการค้นพบคนไทยที่อยู่ในเวียดนาม และจีนตอนใต้ นอกเหนือไปจากจากกลุ่มไทยใหญ่ในพม่าอีก ทำให้เกิดกระแสที่ต้องการรวบรวมชนเผ่าไทยเหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศ "ไทย" เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในที่สุด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติเป็น "ไทย" ตามประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ซึ่งได้รับการคัดค้านจากบางฝ่ายว่าจะเป็นการทำให้คนเชื้อชาติอื่น เช่น จีน มลายู ไม่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ "ไทย" แต่ทว่าในที่สุดประกาศรัฐนิยมก็มีผลบังคับใช้ ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ไทย ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นสิ่งตกทอดไม่กี่อย่างจากประกาศดังกล่าวมาถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคำว่า "สวัสดี"

    อ้างอิง
    สยาม - วิกิพีเดีย
     
  15. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขอเชิญเพื่อนธรรม ร่วมกันแสดงความเห็น
    และข้อแนะนำเพื่อได้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องครับ
     
  16. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขออนุโมทนาเพื่อนธรรมทุกท่าน
    โปรดใช้วิจารณญานในการศึกษาครับ
    ข้อมูลที่ผมหยิบมานี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด
    แต่ผมอยากให้เป็นจุดเริ่มต้นความสนใจ
    หากเพื่อนธรรมท่านใดมีข้อมูล
    กรุณาร่วมบุญด้วยการนำข้อมูลมาเผยแพร่ได้
    แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครับ<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...