เรื่องการตัดสินคดีความของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย okilu220, 5 ธันวาคม 2006.

  1. okilu220

    okilu220 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    312
    ค่าพลัง:
    +2,090
    เรื่องการตัดสินความของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    ก็นับว่ามีหลักการพิศดารยิ่งกว่าผู้พิพากษาคนใดในโลก กล่าวคือครั้งหนึ่งได้มีพระ ๒ องค์ทะเลาะวิวาทถึงกับทุบตีกัน พระองค์ที่ถูกตีได้ไปฟ้องสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) สมเด็จพระวันรัตจึงให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตัดสินความ (ขณะนั้นยังครองสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี) พระองค์ที่ถูกตีก่อน ก็เรียนเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า ตนถูกตี อีกองค์หนึ่งตีก่อน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กล่าวว่า "ท่านแหละตีเขาก่อน" พระองค์นั้นก็พยายามยืนยันว่า ตนไม่ได้เป็นฝ่ายตีก่อน เจ้าพระคุณสมเด็จฯกลับยืนกรานว่า "ท่านต้องตีเขาก่อนแน่" สมเด็จพระวันรัตจึงถามว่า "เหตุใดจึงว่าพระองค์นี้ ตีองค์นั้นก่อน?" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงเรียนว่า "เนื่องจากผลกรรมแต่ปางก่อนที่พระองค์นี้เคยตีเขาก่อน ผลกรรมจะไม่ยุติลงถ้าทั้งสองยังคง จองเวรกรรมกันสืบไป" สมเด็จพรพระวันรัตจึงกล่าวกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านจงยุติกรรมอันนี้เสีย" เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ไปหาปัจจัยบางอย่างมอบให้กับพระองค์ที่ถูกตี และกล่าวแก่พระทั้ง ๒ ว่า "ขอให้ท่านทั้งสองจงอโหสิกรรมให้แก่กันเสียเถิด" เรื่องเป็นอันยุติลงด้วยดี เพราะพระทั้ง ๒ รูปต่างก็เชื่อฟัง และยินดีอโหสิกรรมต่อกัน และต่อมาก็ได้ร่วมสมาคมกันเป็นอันดี ไม่มีเรื่องโกรธเคือง ต่อกันอีก อนึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้สารภาพต่อสมเด็จพระวันรัตว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของท่านที่ปกครองพระไม่ได้เอง
    เรื่องสุดท้ายที่เดียวกับอัจฉริยภาพของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งจะหยิบยกมากล่าวในที่นี้ก็คือ เรื่องการให้พรด้วยวาจาสิทธิ์ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการให้พรที่แปลกประหลาดกล่าวคือในสมัยที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังครองสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวีอยู่นั้น ได้รักใคร่เมตตาเณรน้อยองค์หนึ่งที่เป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด จึงวันหนึ่งขณะที่กำลังสนทนาอยู่กับเณรน้อยองค์นี้และพร้อมกับอุบาสิกาผู้สูงอายุคนหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กล่าวขึ้นลอยๆว่า "เณร อยากมีอายุยืนไหมจ๊ะ?" เณรน้อยก็รับว่าอยากมีอายุยืน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงว่า "ขอพรจากโยมแก่ซิ" พร้อมกับ
    หันหน้าไปทางอุบสิกาผู้สูงอายุนั้น เณรน้อยองค์นั้นก็เอาดอกไม้ธูเทียนมาส่งใหอุบาสิกาผู้เฒ่าคนนั้นเพื่อขอพร อุบาสิกาผู้เฒ่าจึงให้ศีลให้พรขอให้เณรน้อยอายุมั่นขวัญยืน นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งว่า เหตุการณ์ที่เหมือนทำกันเล่นในวันนั้นมีผลจริงได้อย่างศักดิ์สิทธ์ เณรน้อยองค์นั้น ต่อมาได้มีอายุถึง ๙๒ปี และครองพรรษาอยู่ถึง ๗๐ พรรษา จึงได้มรณภาพและได้รับสมณศักดิ์ขั้นสุดท้ายเป็น "พระธรรมถาวร" และด้วยการมีอายุยืนนานนี้เอง ทำให้ชนชั้นหลังได้มีโอกาสสืบเรื่องราวของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และการสร้างพระสมเด็จฯ จากท่านและทั้งได้บันทึกเป็นหลักฐานกันต่อมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...