เรียนถามผู้รู้ครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ิิbetarird, 22 สิงหาคม 2012.

  1. ิิbetarird

    ิิbetarird เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +161
    คือผมเปิดบทสวดจีนไปเรื่อยๆแล้วไปเจอบทสวดจีนสรรเสริญน่าจะโพธิสัตว์นะครับผมแปลจีนไม่ออก

    แต่ว่าทำไมท่านน่ากลัวจังเลยครับ มีปางปางค์โชว์ของลับด้วย ช่วยไขความข้องใจผมด้วยครับ ว่าท่านเป็นใครครับ

    เป็นพระคุณอย่างสูงครับ ที่จะมาช่วยผมไขข้อข้องใจทั้งยังทำให้ได้รู้จักพระโพธิสัตว์เพิ่มขึ้นอีกครับ สาธุครับ


    http://www.zenheart.hk/viewthread.php?action=printable&tid=23742

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1e6aFNl4w14&feature=g-vrec]黑财神心咒 # - YouTube[/ame]
     
  2. P184

    P184 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +809
    黑财神心咒
    อ่านว่า เฮยไฉเสินซินโจ้ว
    เป็นคาถาหัวใจของเทพโภคทรัพย์ของธิเบตครับ
    รายละเอียดเป็นอย่างไรผมไม่ค่อยทราบเพราะไม่ถนัดทางสายของธิเบต
    แปลว่า คาถาหัวใจเทพโชคลาภสีดำ 555 แปลตามตัวนะครับ (เฮยแปลว่าสีดำ)
    ทราบเพียงว่าที่ธิเบตมีเทพโชคลาภหลายองค์ โดยจะเรียกเป็นสีๆ
    หวงไฉเสิน(สีเหลือง)จะได้รับความนิยมมากสุด ในเมืองไทยจะเรียกว่าซัมภาลา
    ส่วนใหญชาวธิเบตจะยกย่องว่าเป็นโพธิสัตว์
    ปัจจุบันแพร่หลายในจีน เรื่อยๆมาจนถึงไทย
    แต่จีนก็ไม่ได้ยกย่องนับถือมากเพราะชาวจีนมีเทพเจ้าโชคลาภของตนอยู่แล้ว

    ส่วนใน MV ที่เห็นเป็น subจีนนั้น ก็เพราะว่าทำขึ้นเพื่อให้คนจีนสวดตามได้ (บทสวดมันเป็นภาษาธิเบต) เป็นการเทียบเสียงจากธิเบตเป็นจีน
    ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพุทธมหายานแบบจีนครับ

    (ธิเบต ทิเบต หรือต้องเขียนแบบใด หากเขียนผิดขออภัยด้วย)

    หากต้องการศึกษาเกี่ยวกับพุทธนิกายของธิเบตต้องศึกษานิกายวัชรยาน หรือตันตรยาน(ตันตระ)
    บางก็ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพุทธมหายานเพราะมีความใกล้เคียง แต่ก็มีส่วนต่างอยู่มาก(บางก็ว่าแยกกัน)
    แต่ผมว่ามันต่างกันเลยความเห็นส่วนตัวครับ
    แต่ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านนิกายต่างๆของพุทธ(โดยเฉพาะคนไทย) อาจจะสงสัย+งง+ตกใจ ถึงขั้นรับไม่ได้
    เพราะนิกายนี้ให้ความสำคัญกับตาราหรือทารา(แปลว่าเมีย)
    เชื่อว่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์จะมีตาราประจำตัว(ก็มีจริง)แต่นิกายนี้ของธิเบตรวมทั้งบางส่วนของอินเดียจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
    จะกล่าวถึงท่วงท่าการร่วมรักกัน ซึ่งมีขั้นตอนที่ลึกลับซับซ้อนยากแก่การเข้าใจ
    ดังจะเห็นได้ชัดจากพุทธรูปเทวรูปของนิกายนี้ รวมถึงหน้าตาอันดุดันดูน่ากลัว(มาก)

    http://www.atriumtech.com/cgi-bin/h...m/cafe/religious/topic/Y7041488/Y7041488.html

    เนื้อหาเล็กน้อยครับ ลึกเกินเดี๋ยวจะตกใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  3. P184

    P184 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +809
    ศาสนาพุทธลัทธิตันตระ

    ศาสนาพุทธลัทธิตันตระ
    ลัทธิพุทธตันตระ (อังกฤษ: Vajrayana) เป็นนิกายที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู นิกายนี้ถือกำเนิดในราวสมัยราชวงศ์คุปตะ แต่มาแพร่หลายหลังพุทธศตวรรษที่ 10-11 โดยซึมซาบเอาความเชื่อดั้งเดิมในจารีตวรรณกรรม และ ผสมปรัชญาพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบบตันตระถือเป็นวิวัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ในอินเดียมีชื่ออื่นอีก เช่น มนตรยาน รหัสยาน คุยหยาน สหัชยาน เน้นเวทมนตร์คาถามากกว่านิกายอื่นๆ

    ลัทธิพุทธตันตระมีคำสอนที่ต่างจากพุทธศาสนาแบบเดิมมากขึ้น ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะจะดึงศาสนิกจากฮินดูให้มานับถือด้วย แต่การกระทำเช่นนี้ทำให้คุณภาพของศาสนิกเสื่อมลง กลายเป็นว่าศาสนิกเริ่มเบื่อกับคำสอน และท้ายที่สุด คือถูกฮินดูกลืนจนแยกไม่ออกว่าเป็นชาวพุทธหรือชาวฮินดู จนศาสนิกไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการนับถือฮินดูหรือพุทธ

    การพัฒนาการ 3 ระดับของพุทธแบบตันตระ

    ระยะที่ 1 มันตรยาน

    เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9- 10 จากนั้นก็พัฒนาการนำสิ่งใหม่เข้ามาสู่พุทธศาสนามีพิธีกรรมทางไสยศาสตร์เพื่อการบรรลุธรรม โดยนำเอามันตระ มุทรา มัณฑละ และเทพเจ้าเข้ามาในพุทธศาสนาอย่างไม่เป็นระบบ เช่น การท่องบ่นมนต์ หรือ ธารณีแตกต่างกัน บูชาเทพเจ้า หรือพระโพธิสัตว์ องค์ใดก็ได้ แล้วทำเครื่องหมาย มุทรา หรือนิ้วมือให้ถูกต้องก็จะศักดิ สิทธิ ์ หรือสำเร็จผลได้

    ระยะที่ 2 วัชรยาน

    พระพุทธศาสนานิกายนี้ได้พัฒนาคำสอนเป็นระบบตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 โดยผสมผสานกับคำสอนเดิมทุกสายกับหลักของพระเจ้า 5 พระองค์ มีอาทิพุทธะ เป็นต้น หลักการปฏิบัติเด่นชัด คือ สหัชญาณ เหมือนกับพุทธนิกายเซนในจีน คือ เน้นการปฏิบัติ รู้แจ้งภายใน ถ่ายทอดผ่านคำปริศนาไม่ผูกมัดตัวเองด้วยคำสอนเก่า หรือคำสอนจำกัดแบบตายตัว วัชรยานนี้มีในทิเบต และภูฏานในปัจจุบัน

    ระยะที่ 3 กาลจักร หรือ กาฬจักร

    หมายถึงวงล้อแห่งเวลา เป็นพัฒนาการยุคสุดท้ายของพุทธศาสนาแบบตันตระ โดยประสานความคิดที่แตกแยกกัน และเน้นโหราศาสตร์ ถือว่ามีศักติประจำพระพุทธเจ้า พระอิศวรปางดุร้าย และพระโพธิสัตว์ ปางดุร้ายพร้อมกับมีธรรมบาล หรือยิดัมคุ้มครองรักษา กาฬจักรนี้เคยรุ่งเรืองในอินโดนีเซียมาก่อนศาสนาอิสลามจะมีอิทธิพล
     
  4. P184

    P184 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +809
    หลักธรรมสำคัญ

    เชื่อว่ามีอาทิพุทธะ
    กำหนดให้พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ มีปางดุ
    กำหนดให้มีมนต์ เรียกว่าธารณีประจำองค์พุทธะและพระโพธิสัตว์
    บัญญัติให้มีมุทราคือการทำเครื่องหมายต่างๆที่เป็นสัญญลักษณ์ของพุทธะและพระโพธิสัตว

    การเปลี่ยนศีล 5 เป็น ม.ทั้ง 5

    การปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นในนิพพานนั้น ต้องเข้าถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยอริยมรรคเป็นองค์แปดนั้น วัชรยานถือว่าการหลุดพ้นคือการเสพกามอันศักดิ ์ สัทธิ ์ กับโยนิ นักสิทธะควรบำรุงด้วย ม.ทั้ง 5 คือ
    1. มัทยะ คือ น้ำเมา
    2. มางสะ คือ เนื้อ
    3. มัศยา คือ ปลา
    4. มุทรา คือ การยั่วให้เกิดกำหนัด
    5. ไมถุนธรรม คือ เมถุนธรรม

    เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ที่
    ศาสนาพุทธลัทธิตันตระ - วิกิพีเดีย
     

แชร์หน้านี้

Loading...