เมื่อหลวงปู่ปานธุดงค์ไปไหว้พระพุทธบาทสระบุรี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 16 กรกฎาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]
    หลวงพ่อปานไหว้พระพุทธบาทffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    วันนี้วันที่ 29.. 2514 วันนี้ฉันไม่ได้นอนฝัน คงไม่เสียเวลาเล่าเรื่องของหลวงพ่อปานตามที่ลูกหลานอยากรู้เรื่อง มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า อย่ามัวเล่นสำนวนกันเลย ฉันเป็นคนแก่ใจร้อน ด้วยทราบว่าเวลาตายใกล้เข้ามาเต็มที มีอะไรพอระบายได้ก็จะรีบระบาย ที่เกินวิสัยจะพูด เพราะถ้าพูดไปลูกหลานจะลงนรก ก็จะงดไม่พูด เพื่อความสุขของลูกหลาน เมื่อหลวงพ่อปานและคณะของท่านมีใครบ้าง ไม่บอกให้ทราบ เพราะเรื่องข้างหน้าหนัก คนที่ร่วมทางยังไม่ตายก็มี จะสร้างความหนักใจให้ท่าน เมื่ออำลาคณะท่านสาธุชนผู้ทรงความดีมีเมตตาแด่พระสงฆ์จริง ๆ ไม่ใช่พระสงฆ์ที่ธุดงค์ปลอม แล้วท่านก็มุ่งเข้าเขตพระ พุทธบาท ทางของพระธุดงค์ที่ผ่านเข้าพระพุทธบาทสมัยนั้นไม่มีทางรถ ใช้ทางเกวียนหรือทางเดินเท้าของชาวบ้าน เรื่องทางของดเพราะไม่มีความสำคัญ เมื่อเข้าพระพุทธบาทแล้วต่างก็นมัสการตามปกติของนักบุญ เวลาที่เข้านมัสการไม่ตรงกับเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ทั้งนี้หลวงพ่อท่านให้ความเห็นว่า การมานมัสการในงานเทศกาลคนแย่งกันไหว้ อารมณ์ตั้งมั่นน้อย มาไหว้แบบนี้เงียบสงัด อารมณ์เยือกเย็น มีปีติโสมนัสดีกว่าไหว้ในงานเทศกาลมาก เมื่อเวลายังไม่ใกล้ค่ำเหลือเวลามาก ท่านก็คุยเรื่องพระพุทธบาทให้คณะที่ร่วมทางไปด้วยฟัง ท่านว่าประวัติที่เขาเขียนจะเขียนว่าอย่างไรอย่าคำนึงถึง ทุกองค์จงใช้หลักวิชชา 3 ใช้ให้เป็นประโยชน์ คำว่าวิชา 3 หมายถึงอภิญญาเล็ก คือมีทิพยจักษุญาณและปุเพนิวาสานุสสติญาณ สำหรับทิพยจักษุญาณมีผลงานขยายออก มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้
    ทิพยจักษุญาณ เป็นญาณแม่บท
    ญาณที่มีผลจากทิพยจักษุญาณ คือ ทำทิพยจักษุญาณได้อย่างเดียว ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ติดตามมาคือ
    ก. .จุตูปปาตญาณ รู้ว่าคนและสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิดที่ไหน คนและสัตว์ที่เกิดมาในปัจจุบันมาจากนรก สวรรค์ หรือมาจากพรหม
    ข. .เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์คนและสัตว์ตามความรู้สึกของอารมณ์
    ค. .อตีตังสญาณ รู้เรื่องที่ล่วงมาแล้วกี่ชาติก็ได้
    ง. .ปัจจุบันนังสญาณ รู้เรื่องในปัจจุบันว่า คน สัตว์ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย กำลังทำอะไรอยู่ สบายหรือมีทุกข์
    จ. .อนาคตังสญาณ รู้เรื่องที่จะมีต่อไปกี่ชาติก็ได้
    ฉ. .ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลของความสุข ความทุกข์ของคน สัตว์ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ที่มีสุขมีทุกข์อยู่ในปัจจุบัน เพราะความดีความชั่วอะไรให้ผลความดีหรือความชั่วในอดีตหรือปัจจุบันให้ผล
    ช. .ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่ล่วงมาแล้วได้
    ตามที่พูดมานี้เพียง 2 ในวิชชา 3 เท่านั้น ส่วนอีกข้อหนึ่งคือ อาสวักขยญาณ การทำกิเลสให้สิ้นไป ยังไม่ใช้ในเวลานี้ หมายถึงเวลาที่ท่านไปธุดงค์กัน เข้าใจว่าขณะไปธุดงค์ยังคงไม่มีใครบรรลุอรหันต์ แต่คณะที่ร่วมทางคงทรงญาณตามที่กล่าวมาแล้วคล่องตัวทุกองค์ เมื่อท่านบอกว่าทุกองค์จงอย่าอาศัยประวัติ เพราะคนเขียนประวัติเอาแน่นักไม่ได้ เพราะเขียนตามความคิดว่าอาจจะเป็นตามนั้นก็ได้ ให้ใช้ญาณที่มีตามลำดับ อารมณ์จะได้ไม่เกาะอุปาทาน ท่านให้เวลาคนละ 3 นาที แล้วต่างคนต่างให้เขียนตอบท่านว่ามีอะไรสำคัญ ท่านทำแบบนี้เป็นการซักซ้อมคณะของท่านให้คล่องในการใช้ญาณ ทุกองค์เมื่อรับบัญชาไม่มีใครกล้าหลับตาด้วยเขาคล่องทั้งลืมตาและหลับตา ลืมตาดูเหมือนจะคล่องกว่าหลับตาเสียอีก ต่างก็หยิบกระดานที่ติดตัวไปออกมาเขียนตรงกัน ที่นี่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาจริง นอกจากมีรอยพระพุทธบาทที่ ไม่ปลอมซ่อนอยู่ใต้รอยพระพุทธบาทเทียมที่ท่านสร้างคลุมของเก่าไว้แล้ว ยังมีพระบรมสารีริกธาตุที่พระอรหันต์ท่านนำมาบรรจุไว้อีก 3 องค์ เมื่อทุกองค์ส่งหนังสือถวายท่าน ๆ อ่านแล้วก็ยิ้ม กล่าวว่า พวกเธอพอใช้ได้ แต่ยังไม่ดีแท้ เอาเท่านี้พอคุ้มตัวได้ คืนนี้มาพิสูจน์ความจริงกัน ที่พวกเธอว่ามีพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุมีที่ไหนต้องมีปาฏิหาริย์ที่นั่น เอาล่ะซี ท่านเกิดจะซ้อมความสามารถของญาณด้วยการพิสูจน์ปาฏิหาริย์ ทุกคนใจระทึกอยากเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์ หลวงพ่อท่านกำชับว่าอย่ามีอารมณ์อยากจนเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ คือ อารมณ์ฟุ้งเกินพอดี จิตไม่เป็นสมาธิ พระท่านจะไม่โปรด จงรักษาอารมณ์ให้สงบเป็นปกติ ดำรงฌานเป็นปกติ มีอารมณ์วิปัสสนาเป็นอารมณ์ หวังพระนิพพานเป็นที่ไป ชีวิตเธอและฉันอาจจะตายก่อนแสงจันทร์ที่มองเห็นในค่ำวันนี้ก็ได้ เรามีอันตรายรอบตัว อันตรายจากสัตว์ร้าย อันตรายจากคนพาล และอันตรายจากลมปราณที่มันอาจจะเกิดหยุดหมุนเวียนเสียเมื่อไรก็ได้ เมื่อมันหยุดเราก็ตาย ตายแล้วจะไปไหน ถ้ามีอารมณ์ฟุ้งซ่านอาจไปอบายภูมิได้ ควรรักษาสมาธิ มีเมตตา และอารมณ์วิปัสสนาที่ไม่มีอารมณ์เกาะ ปล่อยชีวิต ปล่อยทรัพย์สิน ปล่อยญาติ พวกพ้อง บิดามารดา คิดว่าเราไม่มีอะไร แม้แต่ร่างกายมันก็กำลังจะพัง โลกนี้เป็นทุกข์ เทวโลก พรหมโลกก็ไม่สิ้นทุกข์ พระนิพพาน เท่านั้นจะทำให้สิ้นทุกข์ ปลดเสียให้หมด อยู่อย่างคนมีความสุข เรื่องปาฏิหาริย์ของพระบรมธาตุเป็นภาระของฉัน พวกเธอยังมีกำลังอ่อน เชิญท่านอาจไม่ปรากฏ ขอให้เธอจงปล่อยให้เป็นภาระของฉัน โน่นต้นไม้ใบไม้ที่กำลังร่วงโรยหรือสดใส จงไปพิจารณาให้เป็นวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาไม่ใช่เกาะแต่ตำรา จงหาของจริงมาใคร่ครวญ วิปัสสนาท่านให้ดูของจริง ไม่ใช่มัวถ่างตาดูแต่ตำราแล้วก็ติดตำราแจ ของจริงไม่ใช้จะได้อะไรเป็นที่พึ่ง ท่านว่าแล้วท่านก็ขับคณะของท่านให้หาที่พักตามสบาย ต่างคนต่างอยู่ ห้ามรวมกันตั้งแต่ 2 องค์ขึ้นไป
    ตอนนี้หลานแปลกใจไหม ทำไมหลวงพ่อท่านเตือนพระของท่านอย่างนั้น ที่เตือนไม่ให้คำนึงถึงพระบรมธาตุ เพราะอารมณ์อยากเป็นนิวรณ์ที่กั้นความดีคือตัวทำลายสมาธิ อยากดีอยากชั่วก็ช่างเถอะ ต้องหยุดอยาก ถ้าขืนอยากอารมณ์ก็ฟุ้งหาอารมณ์สงัดไม่ได้ แล้วท่านสอนให้มีอารมณ์เมตตา มีวิปัสสนา ลูกและหลานคงจะเห็นว่า มีอารมณ์คราวเดียวหลายอย่างพร้อมกันเหมือนพ่อครัวหุงข้าว เราต้องการผลคือข้าวที่สุกแล้ว แต่ขณะหุงต้องมีเตา มีเชื้อเพลิง มีเพลิง มีหม้อ มีน้ำ มีอุปกรณ์สำหรับเช็ดน้ำ มันต้องมีพร้อมกันจึงจะมีข้าวสุกได้ จะมีอะไรลำบากสำหรับพ่อครัวถ้าได้รับคำสั่งให้หุงข้าว ด้วยอุปกรณ์มีครบแล้ว และคล่องในการหุงดีแล้ว เรื่องพระคณะของหลวงพ่อก็เหมือนกัน ท่านทำจนไม่มีความรู้สึกหนัก จะมีอะไรลำบาก ลูกและหลานที่นั่งรับฟัง ถ้าอยากดีตามนี้ก็ลองดูบ้างก็ดี ไม่เสียผลประโยชน์ แต่อย่าหวังผลเร็วนักนะจะเสียเรื่อง เอาผลอะไรไม่ได้ ทำไปด้วยความเต็มใจ เชื่อผล ทำตามที่ท่านแนะนำ ความดีที่เป็นความดีไม่ใช่ดีปลอม จะเข้าถึงอย่างไรไม่มีอะไรหนัก และคงจะแปลกใจที่ท่านไม่สอนวิชาทำพระ ทำตะกรุดแจกเวลาไปธุดงค์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นกิเลส พระธุดงค์ท่านตัดแล้ว ท่านไปเอาดีกัน ท่านไม่เอาเลวกัน แต่สมัยนี้ท่านคงพากันคิดว่า ถ้าได้ทรัพย์ได้ของมีค่า มีคนรับปวารณาเวลาธุดงค์เป็นของดีกระมัง จึงเห็นธุดงค์แบบมอญแปลงมากเหลือเกิน พระอุปัชฌาย์ควรเตือนสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเสียบ้าง อย่าทำตนเป็นเต่าใหญ่ไข่กลบ ไม่เหลียวแลพระของตนบ้างเลย จะกลายเป็นต้นตอทำลายความดีของพระพุทธศาสนาไป
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...