เมถุนธรรม มีความหมายว่าอย่างไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 4 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="94%" align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ

    ประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมี

    น้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ ๆ พึงประพฤติร่วมกัน

    นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.
    [อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]

    บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย

    เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.

    ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

    คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควร

    อธิบาย.

    ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่า อสัทธรรม.

    ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อย

    ชื่อวสลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออก

    แห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.

    บท ทุฏฺฐุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรม

    อันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าอนึ่ง ตั้งแต่นี้ไปพึงเปลี่ยน

    สองบทว่า โย โส นี้ ทำให้เป็น ยนฺตํประกอบใน ๓

    บทว่า ยนฺตํ ทุฏฐุลฺลํ ยนฺตํ โอทกนฺติกํ ยนฺตํ รหสฺสํ.

    ก็แล พึงทราบโยชนาใน ๓ บทนี้ อย่างนี้ว่า

    การเห็นก็ดี การจับก็ดี การลูบคลำก็ดี การถูกต้องก็ดี การเบียดสีก็ดี

    ซึ่งเป็นบริวารของกรรมนั้น จัดเป็นกรรมชั่วหยาบ แม้เพราะเหตุนั้น กรรมนั้น

    จึงจัดเป็นกรรมชั่วหยาบ กรรมชั่วหยาบนั้น ชื่อว่าเมถุนธรรม น้ำอันบุคคล

    ย่อมถือเอา เพื่อความสะอาดในที่สุดแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น กรรมนั้น จึงชื่อว่า

    มีน้ำเป็นที่สุด กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั่นแล ชื่อว่าโอทกันติกะ กรรมมีน้ำเป็น

    ที่สุดนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม กรรมนั้นชื่อว่าเป็นกรรมลับ เพราะความเป็น

    กรรมที่ต้องทำในที่ลับ คือ ในโอกาสอันปิดบัง กรรมนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.

    กรรมนั้น ชื่ออันคนเป็นคู่ ๆ พึงถึงร่วมกัน เพราะความเป็นกรรม

    อันบุคคลพึงร่วมเป็นคู่ ๆ กัน. ในบทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺติ นั้นพึงทราบ

    โยชนาว่า กรรมอันคนเป็นคู่ ๆ พึงถึงรวมกันนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.

    ก็แล ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงชักธรรมทั้งปวง มี

    อสัทธรรมเป็นต้นนั้นมารวมในที่เดียวกัน จึงตรัสว่า นี้ ชื่อว่า เมถุนธรรม.

    ถามว่า เพราะเหตุไร อสัทธรรม จึงเรียกว่า เมถุนธรรม?

    แก้ว่า อสัทธรรมนั้น เป็นของคนคู่ผู้กำหนัดแล้ว ผู้กำหนัดจัดแล้ว

    ผู้อันราคะชุ่มใจแล้ว คือผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว ได้แก่เป็นธรรมของคนคู่ผู้

    ปานกัน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.เป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรม

    ไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc colSpan=2 height=1></TD></TR><TR bgColor=#fff9e6 height=22><TD align=left width="65%"> โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...