เมตตาบารมี บารมีที่สะสมได้ง่ายแต่มีผลานิสงส์สูง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 19 มีนาคม 2009.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    [​IMG]




    ที่มาค่ะhttp://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=2084เมตตาบารมี บารมีที่สะสมได้ง่ายแต่มีผลานิสงส์สูง


    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อานิสงส์ของการเจริญเมตตาเจโตวิมุติฌานสมาบัตินี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎกหลายแห่งว่ามี ๑๑ ประการ ดังต่อไปนี้

    ย่อมหลับเป็นสุข ๑ ย่อมตื่นเป็นสุข ๑ ย่อมไม่ฝันร้าย ๑ ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย ๑ ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา ๑ ไฟยาพิษหรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายได้ ๑ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้โดยรวดเร็ว ๑ สีหน้าย่อมผ่องใส ๑ เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ (เมื่อจะสิ้นลมก็ยังมีสติอยู่เสมอ) ๑ เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก (ถึงแม้ไม่บรรลุธรรมสูงสุด คือ นิพพาน) ๑

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีถึงอานิสงส์ของทาน และบุญซึ่งลงทุนน้อย แต่ได้ผลมากกว่า ไว้ในเวลามสูตร โดยลำดับ ดังนี้

    “…การมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าสร้างวิหารทานถวายสงฆ์

    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕ มีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

    การที่มีจิตเจริญด้วยเมตตาแม้เพียงเวลาชั่วสูดของหอมมีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕…”

    การพัฒนาจิตใจให้เจริญด้วยเมตตาอย่างจริงจังต่อเนื่อง เรียกว่า “การบำเพ็ญเมตตาบารมี” ซึ่งเป็นหนึ่งของบารมี ๑๐ ทัศ หรือ “ทศบารมี” ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เคยทรงบำเพ็ญมาแล้ว

    เมตตาสามารถแผ่กระจายออกไปได้ทุกทิศทาง ไม่มีขอบเขต ไม่กำหนดสถานที่ กาลเวลา เมตตาเป็นเรื่องของจิตใจ จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยทรัพย์สิ่งของ ไม่ต้องลงทุนลงแรงแต่อย่างใด และเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมพึงให้ความสำคัญ และน้อมนำมายืดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคมโลกต่อไป

    -------------------------------------------------
    เมตตาบารมี บารมีที่สะสมได้ง่ายแต่มีผลานิสงส์สูง
    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มีนาคม 2009
  2. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    คำว่า “เมตตา” หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ความใฝ่ใจ หรือต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตาจัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง

    ท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ได้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง “เมตตา” กับ “ความรัก” ซึ่งเป็นธรรมชาติของจิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงและคลุกเคล้ากันอยู่อย่างแนบแน่น และค่อนข้างจะยากลำบากที่จะแยกแยะออกเว้นแต่จะได้มีการศึกษาทำความเข้าใจในธรรมชาติที่แท้จริงของคำทั้งสองไว้ในเทปคำบรรยายเรื่อง “วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์” และหนังสือที่ได้ถอดข้อความที่ได้ถอดจากเทปดังกล่าวไว้ดังนี้

    “…เมตตาเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ หมายถึง ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น สัตว์อื่น และต้องการจะน้อมนำสุขเข้าไปให้ ถ้าเมตตาทั่วหน้า เป็น สัมสัมเภท ไม่มีเขตแดน ไม่มีประมาณ ท่านก็เรียกว่า เมตตาอัปปมัญญา เมื่อเราสำรวมจิตแผ่เมตตาเป็นอัปปมัญญา เราก็จะแผ่ทั่วไปคือ ไม่เจาะจง

    ถ้าสุดวิสัยที่จะแผ่เมตตา แผ่กรุณาได้แล้วเราก็ปลงใจเสียด้วยอุเบกขา
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อนุโมทนาด้วยจ้าน้องบีน

    พี่เต้ก็สวดมนต์บทนี้บ่อยนะ

    สวดแล้วจิตสงบมากเลย
     
  4. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    มาดูเรื่องความรัก ความรักที่เจือด้วยราคะเป็นความเสน่หา เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในใจแล้ว ก็ทำให้กระวนกระวาย ก็เพื่อสนองความต้องการของตน ถ้าระวังไม่ดีก็จะเป็นความเห็นแก่ตัว ริษยา หวงแหน ผูกพันยึดครองเป็นเจ้าของ ถ้าได้ตามที่อยากก็หลงใหล หมกมุ่น ถ้าไม่ได้ก็โกรธแค้น อาฆาต พยาบาท ทำลายล้าง เกลียดชัง

    ชาวโลกส่วนมากสรรเสริญความรัก ปูทางหลอกล่อให้คนรักกัน แต่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอริยเจ้าทั้งหลายเตือนเอาไว้ว่า บุคคลไม่ควรกระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะว่าการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้นเป็นความทรมาน สิ่งผูกพันเครื่องร้อยรัดย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีสิ่งอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก คือว่า ทั้งไม่มีสิ่งอันเป็นที่รักและไม่มีสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก คือ ไม่รักและไม่ชังนั่นเอง นี่เป็นเพียงท่านบอกความจริงให้ทราบ ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความรักก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ถ้ายังสมัครใจที่จะรักอยู่ ด้วยเห็นว่ามีความสุข มีความสบาย มีความนุ่มนวล มีความรู้สึกอยากจะรักอยู่ก็ต้องระวังให้ความทุกข์น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เหมือนกินปลาที่มีก้างก็ต้องระวังเลือกเอาก้างออก

    ตามพระพุทธภาษิตที่ว่ามาเมื่อครู่นี้ว่า ถ้าไม่มีสิ่งอันเป็นที่รักและไม่รัก คือไม่รักไม่ชัง ตัดได้ทั้ง ๒ อย่างแล้ว เครื่องผูกมัดก็ไม่มี จิตก็มั่นคงแล้วก็หลุดพ้นได้ อย่างน้อยก็พ้นจากความเศร้าโศก เพราะความวิบัติของสิ่งเหล่านั้น

    ชาวโลกส่วนมากก็หลงใหลนักดนตรี นักร้อง ยอมเสียเงินแพงๆ เพื่อให้ได้เห็นได้เข้าชมนักร้อง นักดนตรีที่เขาชอบ แม้รายได้จะน้อยอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร ก็เหยียดผู้ไม่ชอบดนตรี ว่ามีสันดานหยาบด้วย

    แต่พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ทรงมีบัญญัติห้ามผู้มุ่งปฏิบัติเพื่อการขัดเกลาจิตใจ ไม่ให้ร้องรำขับร้อง และไม่ให้ดูฟ้อนรำ ไม่ให้ฟังเพลง ฟังดนตรี ห้ามภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ผู้ถือศีล ๘ เหตุผลเป็นอย่างไร เหตุผลก็คือว่า ดนตรีและขับร้อง ฟ้อนรำ โน้มเอียงไปในทางราคะ จูงจิตไปในทางกำหนัด รักใคร่ เคยมีนักดนตรีนักเต้นรำไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เคยได้ยินคำของอาจารย์เก่าๆ พูดว่า นักเต้นรำที่ทำให้คนหัวเราะ ทำให้คนพอใจด้วยคำจริงบ้างคำเท็จบ้าง เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงมีความเห็นอย่างไร

    เมื่อเขาอ้อนวอนถามถึง ๓ ครั้ง ๒ ครั้งแรก พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธด้วยความเอ็นดูแก่เขาว่าอย่าถามเรื่องนี้เลย ให้ถามเรื่องอื่นเถอะ แต่เขาก็อ้อนวอนถามถึง ๓ ครั้ง เมื่อถามครั้งที่ ๓ แล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า

    สัตว์ทั้งหลาย มีราคะ โทสะ และโมหะมากอยู่แล้ว นักเต้นรำ นักขับร้อง ไปเพิ่มราคะ โทสะ และโมหะให้เขาอีก พวกร้องรำทำเพลงเหล่านั้นเมื่อตามแล้วย่อมเข้าถึงนรกเป็นแน่แท้

    อันนี้จากพระไตรปิฎกชื่อ ตาลปุตตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ ข้อ ๕๘๙

    ในกรณีที่กล่าวนี้ คือว่าถ้าไม่มีบุญกุศลอย่างอื่นช่วยเอาไว้ ถ้าเพียงแต่มีอาชีพเป็นนักเต้นรำ ขับร้อง ไม่มีบุญกุศลอย่างอื่นช่วยเอาไว้ มันก็ต้องเป็นไปตามนั้น อันนี้ก็มีเงื่อนไขเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีเงื่อนไข

    พวกที่ผลิตสื่อเพื่อยั่วยุราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ก็จะน่าหวาดหวั่นเพียงใดต่อคติสัมปรายภพของพวกเขา คือต่ออนาคตในชาติหน้า

    สิ่งที่โลกนิยม ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไปนะครับ คือว่า อาจจะชวนกันไปนรกก็ได้ หนุ่มตาลบุตร คนที่มาถามก็ร้องไห้ ว่าเชื่อผิดๆ มาเสียตั้งนาน ขอให้ระวังความเชื่อของพวกเราเองไว้ด้วยนะครับ คำพูดอะไรที่ผิดหลักของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นจอมปราชญ์ เชื่อพระพุทธเจ้าไว้ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ใครสอนผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็อย่าไปถือเอา ใครทำผิดจากที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำ ก็ไม่ทำตาม

    นี่พูดถึงความรักความใคร่ที่เจือด้วยราคะ ท่านจะเห็นว่ามันต่างกับเมตตาเยอะแยะเลย และห่างกันมากเลย แต่ว่าบางทีมันก็ผสมกันอยู่ มีความรักด้วยมีราคะด้วย มีเมตตาด้วย ผสมกันอยู่ ไม่ใช่จะแยกกันได้โดยง่าย ส่วนมากจะเป็นอย่างนั้น
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  5. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674

    บทไหนคะพี่เต้ แผ่เมตตาไม่มีประมาณ...หรอคะ rabbit_
     
  6. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    คราวนี้มาพูดถึงความรักที่ไม่เจือด้วยราคะ เป็นความรักอย่างพี่น้อง อย่างมิตรภาพ ความรักอย่างนี้ใกล้กับเมตตา มุ่งเกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกันเป็นสำคัญ คนเรามีความรักเหมือนกัน คือชอบพอสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ต่างกันที่วัตถุแห่งความรัก เช่น รักต้นไม้ รักดอกไม้ รักเพื่อน รักพ่อ รักแม่ รักศาสนา สำหรับนักปรัชญา วัตถุแห่งความรักของเขาก็คือ รักความรู้ นักปรัชญาอาจจะยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อแสวงหาความรู้ เมื่อได้ความรู้มาแล้วก็พอใจ ปรัชญาจึงแปลว่า ความรักในความรู้ นักปรัชญาจึงหมายถึงผู้รักในความรู้ วิญญาณของคนพวกนี้ก็กระหายต่อความรู้อยู่เสมอไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ

    ผู้ที่ใฝ่ธรรม ศึกษา และปฏิบัติธรรมจนได้รู้รสเข้าถึงรสแห่งธรรมแล้ว ก็จะรู้สึกติดใจในรสแห่งธรรม เกิดความรักธรรมขึ้นมาอย่างจับใจเพลิดเพลินอยู่ในการศึกษาปฏิบัติธรรม สั่งสอนธรรมอย่างไม่รู้เบื่อ เรียนธรรมอย่างไม่รู้เบื่อ อ่านหนังสือธรรม วิเคราะห์วิจัย รู้สึกและเห็นตามพุทธพจน์ที่ว่า รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ถ้ามีใครถามว่า ทำอย่างไรถึงจะสิ้นทุกข์ ก็ต้องบอกว่าต้องไปจัดการกับตัณหา ตัณหายิ่งเบาบางลง ยิ่งน้อยลงเท่าไหร่ ทุกข์ก็น้อยลงเท่านั้น

    ด้วยเหตุนี้จึงพอใจในการที่จะให้ธรรม สั่งสอนธรรม เพราะการให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

    จะเห็นได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความรักที่ไม่เจือด้วยราคะ จะมีขอบเขตกว้างขวาง บางทีก็เรียกว่า เมตตาสากล (Universal Loving Kindness) หรือเมตตาอัปปมัญญา เช่น ความรักความหวังดีของพระโพธิสัตว์ที่มีต่อสรรพสัตว์ ความปรารถนาดีของพระพุทธเจ้าที่มีต่อสัตว์โลก ทรงมีพระมหากรุณาที่จะช่วยเขาให้พ้นทุกข์


    ถ้าแยกให้ชัดจริงๆ ระหว่างความรักกับเมตตาก็คือ ความรักจะมีความผูกพัน วางอุเบกขาไม่ค่อยลง ส่วนเมตตานั้นไม่มีความผูกพัน วางอุเบกขาได้สะดวก เมื่อถึงคราวจำเป็น เพราะว่าสายทางเดินของความรักกับของเมตตานั้นมันคนละเส้นทางกัน แต่บางคราวมักจะคละกันอยู่ ปนกันอยู่ แต่ถ้าเป็นเมตตาที่บริสุทธิ์ล้วนๆ ก็จะวางอุเบกขาได้สะดวก ความรักที่เจือด้วยราคะก็มักจะคละกันอยู่กับเมตตา คือมีเมตตาด้วย มีความรักด้วย ทำให้คละอยู่ อยู่ใกล้กันมาก

    ฉะนั้น เวลาเจริญเมตตา ท่านจึงให้ระวังข้าศึกใกล้คือราคะ คนไม่สังเกตอาจแยกไม่ออกและเป็นไปได้โดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้สึกตัวก็ถลำไปแล้ว กิเลสนี่มันมีเสน่ห์และมีเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายเยอะ ตามมันไม่ค่อยทัน

    เมตตาที่แท้จริงจะจบลงด้วยอุเบกขา ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ดีมาก ทำให้จิตใจสงบ ราบเรียบ สะอาด ผ่องแผ้ว แต่ความรักแบบโลกียะ เนื่องจากชอบพออย่างผูกพัน จึงมักจะจบลงด้วยความโศก ระหว่างที่รักอยู่ก็มีความหวาดหวั่น มีความกลัว กลัวความพลัดพราก กลัวความสูญเสีย พอหลุดพ้นจากความรักได้ ความโศกหรือความกลัวก็จะไม่มี อันนี้เป็นนัยพระพุทธพจน์
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    บทสวดมหาเมตตาใหญ่แบบพิสดารจ้า
     
  8. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    วิธีหนึ่งที่เราจะทำได้ดี คือพยายามทำตัวให้เป็นกันเองกับความพลัดพราก ความสูญเสีย ความผิดหวัง คล้ายๆ หมองูที่อยู่กับงู หรือคนที่อยู่กับเสือ คุ้นเคยเป็นกันเองจนไม่กลัว หรือเอาหลักธรรมอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ข้อ เราพิจารณาทุกวันหรือวันละหลายๆ ครั้งว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ เรามีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

    พิจารณาบ่อยๆ วันละ ๒-๓ ครั้ง ตื่นนอน ก่อนนอน อะไรก็แล้วแต่ ก็นึกถึงพวกนี้ไว้บ่อยๆ แล้วเราก็จะเป็นกันเองกับความผิดหวัง ความพลัดพราก ความสูญเสีย ได้อะไรมาก็เป็นสมบัติ แต่ก็นึกถึงวิบัติด้วยเสมอ นึกอยู่เสมอมันอยู่กับใจของเรา คุ้นเคยกับใจของเรา และก็จะบรรเทาความหวาดกลัว ความหวั่นพรั่นพรึงหรือความกลัว กลัวความพลัดพราก กลัวความสูญเสีย กลัวความอะไรต่างๆ ที่คนทั้งหลายเขากลัวกันอยู่

    ลองดูต่อไป คนที่รักลูกมาเพียงใด ก็มีความกลัวแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในใจมากเท่านั้น พอได้โอกาสความกลัวก็แสดงตัวออกมา เช่น ลูกกลับบ้านมืดค่ำ ต้องผ่านทางเปลี่ยว ลูกไปเที่ยวทางเรือ ทางรถ ทางเครื่องบิน ไปไหน พ่อแม่ที่รักลูกมาก ก็อดวิตกกังวลถึงลูกในขณะที่เดินทางไม่ได้

    นี่ก็จะทดสอบให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความวิตกกังวลไม่ใช่น้อยเลย อันนี้ก็บอกความจริงให้ทราบ ส่วนจะทำใจได้แค่ไหน ก็แล้วแต่จะทำเอา

    ความที่เราเมตตากรุณาต่อกัน ซึ่งถ้าจะยืมมาใช้ในความหมายของความรักที่แท้จริงแล้ว ก็เป็นสภาพที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ปลดปล่อยอีกคนหนึ่งให้เป็นอิสระ ให้เขามีสันติสุข เรามีชีวิตอยู่เหมือนสายพิณที่แม้จะต่างสายกัน แต่เมื่อบรรเลงเพลงเดียวกัน แต่ถ้าสายพิณ ๒ สายพันกันเป็นสายเดียวกันเมื่อใด เมื่อนั้นก็จะสูญเสียความไพเราะไป ความรักที่เห็นแก่ตัวไม่ใช่ความรักที่แท้จริง เขาเห็นแก่ตัวต่างหาก เขาถือเอาอีกคนหนึ่งเป็นเครื่องมือแสวงหาความสุข ความพอใจของตน พอเขาไม่ได้ดังใจก็โกรธเกลียดและทำลาย เขาจะต้องเบียดเบียนบีบคั้น ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัวเป็นความรักที่แท้จริง เป็นการปลดปล่อยให้มีเสรีภาพ ให้มีสันติสุข แต่เรามีธรรมะเป็นเครื่องร้อยเอาไว้ ให้เรามีที่ป้องกันโดยธรรม ความรักอย่างหนึ่งเร่าร้อน ความรักอีกอย่างหนึ่งสงบเย็น ควรจะเลือกดำเนินความรักอย่างใด ความรักปัญญา ความรักสันติสุข เป็นสิ่งพึงปรารถนาอย่างยิ่ง ขอให้เราปลูกฝังนิสัยมาทางนี้

    นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมเพิ่มให้นะครับ ในระหว่างความรักกับเมตตา ธรรมดาของชีวิตคนต้องผ่านความรักชนิดที่เร่าร้อนมาก่อน เป็นเงื่อนไขทางร่างกาย และก็เพื่อการเรียนรู้บางอย่าง แต่เมื่อถึงวาระที่จะต้องสงบเย็นก็ควรให้สงบเย็น ยิ่งผ่านวาระต้นไปแล้ว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะว่าจะได้อยู่กับความรักที่สงบเย็นนานๆ เท่าที่ชีวิตในช่วงหลังยังเหลืออยู่
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  9. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    อ๋อค่ะ บีนก็ท่องบ้างเวลาว่างๆๆค่ะ อิอิ

    อืม ถามนิดค่ะ คือไม่แน่ใจว่าเวลาท่องต้องท่องคำแปลภาษาไทยด้วยรึปล่าวคะ *-*;aa50

    อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ สาธุ คะ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถ้าท่องคำแปลด้วย จะดีมากเลยครับ

    แต่พี่สวดแค่คำบาลีครับ
     
  11. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    การแสดงความเมตตา หรือ การแผ่เมตตานี้ เป็นธรรมชาติ หรือคุณสมบัติพื้นฐานของจิตมนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐอยู่แล้ว ยกเว้นคนที่เป็นโรคทางจิตคลุ้มคลั่งจนไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะของตนได้ หรือ ผู้ที่มีจิตใจโหดเ**้ยมที่สุดจนไม่อาจสมมุตินามได้ว่าเป็นมนุษย์ จะต้องมีการแสดงความเมตตาออกทางจิตอยู่เป็นประจำทุกวัน มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกิเลสสันดานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพียงแต่เจ้าตัวมิได้สังเกตจดจำไว้เท่านั้น อาทิ วันไหนที่มีอารมณ์ดี เจ้าตัวจะยินดีพอใจที่จะกล่าวทักทายปราศรัยกับเพื่อนบ้าน หยอกล้อกับสัตว์เลี้ยงมากเป็นพิเศษ หรือ บางครั้ง ระหว่างขับรถไปทำงาน เปิดวิทยุรับฟังในรถได้รับทราบข่าว รถบัสแสวงบุญประสบอุบัติเหตุตกเหวระหว่างเดินทาง มีผู้โดยสารบาดเจ็บล้มตายเป็นเรือนร้อย ก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกสลดใจ สมเพช สงสารในทุกข์เวทนาของบุคคลเหล่านั้นขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ

    ธรรมชาติของจิตในเรื่องความเมตตานี้ หากจะกล่าวในเชิงอุปมาก็เปรียบได้กับต้นไม้ผล หรือต้นไม้ดอก ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ต้นเมตตา” ที่ได้เจริญเติบโตขึ้นมาโดยธรรมชาติ ปราศจากเจ้าของที่หมั่นเฝ้าดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ เมื่อถึงฤดูกาล ต้นเมตตาก็จะให้ผล หรือ ให้ดอก ผลิบานสุกงอม แล้วก็ร่วงหล่นลงดินเป็นอาหารของนก กา กระรอก หรือสัตว์อื่นๆ โดยที่มิได้บังเกิดประโยชน์แก่เจ้าของต้นเมตตานั้นแต่อย่างใด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจากต้นเมตตาไม่ว่าจะเป็นดอกหรือผลนี้ ย่อมจะไม่สมบูรณ์ได้ทัดเทียมกับต้นเมตตาที่เจ้าของเอาใจใส่ หมั่นดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ อยู่เป็นประจำ เมื่อใดก็ตามที่เจ้าของเอาใจใส่รดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย ต้นเมตตานั้นย่อมจะเจริญเติบใหญ่ มีลำต้นอวบใหญ่แข็งแรง มีรากแก้วงอกยาวฝังลึกลงไปในดิน ยึดแน่นจนยากที่จะโค่นล้มได้ ดอกหรือผลของต้นเมตตาก็จะมีขนาดใหญ่ มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น สี หรือ รส จัดเป็นผลผลิตที่อำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของได้อย่างแท้จริง

    จึงกล่าวได้ว่า “เมตตา” นี้เป็นหลักธรรมประจำใจของแต่ละบุคคล และเป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน หรือที่เรียกว่า “สารณียธรรม” ซึ่งสามารถแสดงออกได้ทั้งทางกาย คือ “เมตตากายกรรม” ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อเห็นคนยืนตากแดดรอจะข้ามถนน เราหยุดรถให้เขาข้ามถนน การแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน เช่น เมื่อมีคนหยุดรถให้เราข้ามถนน เราแสดงกิริยาขอบคุณ เคารพในน้ำใจดีของเขาด้วยการน้อมศีรษะ ส่งยิ้มให้ เป็นต้น ทางวาจา คือ “เมตตาวจีกรรม” ได้แก่ การมีวาจาที่อ่อนหวานสุภาพ สอบถามสารทุกข์สุกดิบ บอกแจ้งแนะนำ กล่าวคำตักเตือนด้วยความหวังดีและจริงใจ และทางความคิดต่อกัน คือ “เมตตามโนกรรม” ได้แก่ การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำแต่สิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่กัน และกัน

    เมตตาจิตนั้น เราส่งให้คนอื่นก็จริง แต่ผลส่วนใหญ่ได้แก่เราเอง ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ในตัว ทำให้เป็นคนไม่มีศัตรู ทำให้ดวงจิตผ่องแผ้วมีสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้ประกอบการงานได้ผลดี แม้ผีเปรต อสุรกาย สัตว์ร้ายในป่า เช่น ช้าง หมี เสือ งูพิษ ก็ไม่กล้าทำอันตราย มีแต่จะช่วยคุ้มครองป้องกันภัยพิบัติให้ พระธุดงค์ที่อยู่ตามป่าและเขานั้น ท่านได้ใช้เมตตาจิตเป็นธรรมคุ้มครองรักษาตัวตน

    เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นการยืนยันว่า การแสดงความเมตตาไม่ว่าจะโดยทางกาย วาจา หรือ ทางใจนั้น มิใช่เป็นข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากลำบากเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็น ธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตของมนุษย์อยู่แล้ว จึงไม่ควรปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งให้สูญเปล่าไปโดยมิได้นำมาใช้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร สมควรให้ความสนใจเฝ้าหมั่นทำนุบำรุง ฝึกฝน บริหาร เฝ้ากระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกว่า จะต้องถือปฏิบัติเป็นกิจประจำวันเพื่อให้เป็นนิสัยที่จะขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับการตื่นนอนในตอนเช้า จะต้องเข้าห้องน้ำ ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ ฯลฯ เมตตาจิตก็จะกระตุ้นให้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ยากที่จะลบล้างให้หมดสิ้นไป เช่นเดียวกับการตอกตะปูลงไปในเนื้อไม้ ตอกวันแรก ตะปูจะฝังลงไปในเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย จึงไม่เป็นการยากที่จะถอนดึงตะปูนั้นออก ต่อมาในวันรุ่งขึ้น และวันถัดไป เมื่อเราตอกซ้ำเป็นประจำทุกๆ วัน ตะปูจะฝังลึกลงไปในเนื้อไม้ทุกที จนกระทั่งไม่สามารถถอนดึงเอาออกได้ด้วยกรรมวิธีธรรมดา

    คนที่ไม่ค่อยได้รับผลของเมตตานั้นเพราะทำบ้าง ไม่ทำบ้าง หรือไปแผ่เมตตาเอาตอนที่ภัยจะมาถึงนั่นเอง อย่างนี้บางทีไม่ทันการณ์ เมตตาที่ได้ผลแน่นอนนั้นจะต้องถือปฏิบัติอย่างจริงจัง จริงใจ และต่อเนื่อง
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    คำว่า
     
  13. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    แผ่เมตตาเป็นสมาธิได้ ตามคำภีร์วิสุทธมรรค

    และลองทำมาแล้ว
    ปัจจุบันก็ทำอยู่

    จิตสงบ รวมเร็ว
    ไม่วิตกกังวล
    แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วไป
    ลดโทสะและอารมณ์ร้อมรุ่มได้ดี
     
  14. ขันติธรรม

    ขันติธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2009
    โพสต์:
    545
    ค่าพลัง:
    +373
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

    (kiss) เมตตาภาวนา สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, อะเวรา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด, อะพ์ยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันเถิด, อะนีฆา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจเถิด, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงเป็นผู้มีสุขรักษาตนเถิด.
    กรุณาภาวนา สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, ทุกขา ปะมุจจันตุ จงพ้นจากทุกข์เถิด.
    มุทิตาภาวนา สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, มา ลัทธะสัมปัตติโต วิคัจฉันตุ จงอย่าไปปราศจากสัมบัติอันได้แล้วเถิด.
    อุเบกขาภาวนา สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, กัมมัสสะกา เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน กัมมะทายาทา เป็นผู้รับผลของกรรม กัมมะโยนี เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด กัมมะพันธู เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กัมมะปะฏิสะระณา เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ยัง กัมมัง กะริสสันติ จักทำกรรมอันใดไว้ กัล์ยาณัง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่ว ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

    yimm(f)สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. toon0901

    toon0901 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +17
    อนุโมทนาบุญ สาธุ สาธุ แผ่เมตตาเป็นสิ่งที่ดี จะทำให้จิตใจของเราสงบ และเป็นที่รักของคนทุก ๆ คน มันจะมีบางสิ่งบางอย่างที่สัมผัสได้ชัดมาก อย่างเช่น ไปไหนมาไหน จะมีแต่คนส่งยิ้มให้ เจอแต่คนดี ๆ ไม่เชื่อต้องลองดู แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาบ้างนะคะ เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับกุศลจิตของคุณ
     
  16. leesansuk

    leesansuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +332
    โมทนา สาธุ กับทุกท่านค่ะ เมตตาบารมี เป็นสิ่งที่ดีทำให้โลกเราสงบสันติสุขค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...