เมตตาตัวเราเองโดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 3 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เมตตาตัวเราเอง

    <DD>ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปโปรดตั้งใจสดับเรื่องราวของพรหมวิหาร ๔ สำหรับพรหมวิหาร ๔ นี้ ได้พูดมาแล้วว่าเป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญที่สุด บุคคลใดมีกำลังใจทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คนประเภทนั้นตายแล้วหาอบายภูมิเป็นที่ไปไม่ได้ จะต้องกลายเป็นคนโง่ในอบายภูมิ คือไม่รู้จักตกนรก ไม่รู้จักเป็นเปรต ไม่รู้จักเป็นอสุรกาย ไม่รู้จักเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    <DD>แต่ถ้าจะบังเอิญเกิดมาเป็นคน ก็เป็นคนที่มีรูปร่างลักษณะสวยสดงดงามเป็นกรณีพิเศษ และก็จะอยู่ในเขตที่เพียบพร้อมด้วยความสุขสำราญ ถ้าเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาที่มีบุญวาสนาบารมีมาก มีรัศมีกายผ่องใสเป็นพิเศษ ถ้าอารมณ์มั่นคงจริง ๆ พรหมวิหาร ๔ นี่เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นพรหมนี่ว่ากันถึงด้านโลกีย์วิสัย คือมีพรหมวิหาร ๔ แบบชาวโลก
    <DD>ทีนี้หากว่าจะใช้พรหมวิหาร ๔ นี้แบบชาวโลกุตตระ โลกเหมือนกัน แต่ว่าเหนือโลกขึ้นไป โลกุตตระ แปลว่า เหนือโลก ได้แก่ พระนิพพาน เป็นจิตระดับของพระอริยเจ้า ฉะนั้นการเจริญพรหมวิหาร ๔ จึงมีความสำคัญ
    <DD>พรหมวิหาร ๔ นี่เป็นอารมณ์คิด เป็นอารมณ์ที่ใช้ปัญญามากกว่าการใช้อารมณ์ทรงตัว แต่ทว่าขอบรรดาท่านพุทธบริษัทและพระโยคาวจรทั้งหลาย จงอย่าทิ้งอารมณ์สมาธิ ที่เคยบอกไว้แล้วว่าการเจริญพระกรรมฐานกองใดก็ดี ถ้าทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเสียแล้ว กรรมฐานกองนั้นก็เลอะ ๆ หรือว่าเละ คือ ใช้ไม่ได้ เพราะว่าสภาวะจิตของเราชอบกระสับกระส่ายมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ฉะนั้นอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานแก้อารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต
    <DD>นอกจากจะใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน จะใช้อนุสสติอื่น ๆ หรือว่า กสิณ หรือว่า อสุภ ควบคุมก็ได้ตามใจชอบ แต่จุดใหญ่จริง ๆ ต้องยึดอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นอารมณ์ นี่เพื่อป้องกันจิตโยกโคลง คือหมายความว่า จิตมีความสะทกสะท้านมาก จิตไม่ทรงตัว ถ้าจิตของเราไม่ทรงตัวมีการหวั่นไหวมาก การเจริญพระกรรมฐานก็ไร้ผล
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>คำว่า ไร้ผล ก็หมายความว่าการเจริญพุทธานุสสจิกรรมฐานนี่ไม่มีผล คือว่าบางคราวจิตเราจะกระสับกระส่ายมากเกินไป บางคราวจิตก็จะทรงตัวดีพอสมควร ฉะนั้นเพื่อให้จิตทรงตัวดี การเจริญพระกรรมฐานทุกอย่าง
    <DD>อันดับแรก ถ้าจิตชอบคิด เราก็ใช้อารมณ์คิดก่อน คิดอยู่ในขอบเขตของอารมณ์ของกรรมฐานที่เราต้องการ ถ้าเห็นว่าคิดจะฟุ้งซ่านมากไป ก็ทิ้งอารมณ์คิดเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ พออารมณ์จิตสบายเราก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป สลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ไม่ช้ามรรคผลก็เกิด เพราะปัญญาเกิดขึ้นมาก
    <DD>วันนี้ก็จะขอพูดถึงพรหมวิหาร ๔ ต่อจากเมื่อวานนี้ เมื่อวานนี้ดูเหมือนว่าจะพูดเรื่องการเมตตา กรุณา คือว่า ความรัก ความสงสารตัวเอง ความจริง การรักการสงสารนี่ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า เราต้องรักเราต้องสงสารตัวเองให้มาก ถ้าเรารักเราสงสารตัวเองมากเพียงใด ความรักความสงสารในบุคคลอื่น ก็มีมากเพียงนั้น ถ้าเราจะเมตตาก็ต้องเมตตาตัวเราเองก่อน ถ้าเราจะกรุณาก็ต้องกรุณาตัวเราเองก่อน
    <DD.ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะช่วยคนอื่นให้รู้เรื่องของนรก สวรรค์ พรหม และนิพพาน และก็สามารถจะสอนคนผู้นั้นให้ปฏิบัติเข้าถึงได้ สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงทำพระองค์ท่านให้เป็นพระอรหันต์ก่อน แล้วจึงช่วยคนอื่นให้มีความสุข ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ฉะนั้น เมตตานี่ก็เช่นเดียวกัน สมมุติว่าในอันดับต้นในสมัยที่เป็นโลกีย์วิสัย การที่เราเมตตาชาวบ้าน รักชาวบ้าน สงเคราะห์ชาวบ้าน ยินดีกับความดีของชาวบ้าน มีความวางเฉยเมื่อชาวบ้านเขาเพลี่ยงพล้ำเราไม่ซ้ำเติมนั้น หมายถึงว่าเรารักตัวของเราเอง ต้องการให้เราเองมีความสุข ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเราไม่ประกาศตนเป็นศัตรูกับใคร เรารักเขาเขาก็รักตอบ เราสงสารเขาเขาก็สงสารตอบ เราไม่อิจฉาเขาเขาก็ไม่อิจฉาตอบ เขาเพลี่ยงพล้ำเราไม่ซ้ำเติม เขาก็ไม่เกลียด อย่างนี้ชื่อว่าเรารักเราสงสารตัวเราเอง คือ เรามีมิตรที่ดีอยู่เสมอ นี่ว่ากันถึงด้านโลกีย์วิสัย
    <DD>สำหรับเราตอนนี้เป็นตอนของพระอนาคามี เราจะรักเราจะสงสารเราตรงไหน พระอนาคามีนี่มีความสำคัญอยู่ ๒ ระดับ นั่นก็คือ กามฉันทะ กับ ปฏิฆะ สำหรับท่านที่ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ข้อที่เรียกว่า ปฏิฆะ ไม่มีความสำคัญ เพราะว่าเราลบล้างมามากแล้ว ส่วนที่หนักก็คือ กามฉันทะ คำว่า " กามฉันทะ " ก็หมายความว่า
    <DD>มีความพอใจในรูปที่สวย
    <DD>พอใจในเสียงที่เพราะ
    <DD>พอใจในกลิ่นที่หอม
    <DD>พอใจในรสอร่อย
    <DD>พอใจในการสัมผัสระหว่างเพศ

    <DD>เราพูดกันง่าย ๆ อันดับแรกก็มาพูดกันถึงว่า อยากมีสามี อยากมีภรรยา คิดว่ามันมีความสุข อันนี้เป็นอารมณ์คิด คิดว่าการแต่งงานมันมีความสุข ทีนี้ถ้าเรามีพรหมวิหาร ๔ เราก็มานั่งรักตัวเอง สงสารตัวเองเสียก่อน ว่าการมีคู่ครองจริง ๆ คนที่เขามีกันอยู่แล้วน่ะ เขามีความสุขหรือว่าเขามีความทุกข์ ไปนั่งพิจารณาหาความจริงให้พบ สัญญา ความจำของเรามี ปัญญา ความรอบรู้ของเรามี เราอย่ายอมให้จิตโง่เกินกว่ากิเลส อย่าให้กิเลสเข้ามาจูงจิตเราเป็นสำคัญต้องหักห้ามกำลังใจอย่างอาศัยที่เจริญสมาธิจิต โดยใช้อานาปานุสสติกรรมฐานเป็นตัวนำ นั่นก็หมายความว่าต้องการให้มีกำลังใจเข้มแข็ง
    <DD>เรามานั่งดูคู่วิวาห์ที่เขาแต่งงานกัน วันที่จะแต่งงาน รู้สึกว่าจะมีความชุ่มชื่นใจมาก มีศักดิ์ศรี แต่ทว่าก่อนจะแต่งพอเริ่มรักกันเข้ามาแค่นี้ อารมณ์มัน ก็เริ่มเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร
    <DD>อันดับแรก จิตเริ่มรัก ยังไม่ได้ตกลงในเรื่องรักแน่นอน อารมณ์มันก็เริ่มเป็นทุกข์แล้วว่า คิดว่าคนที่เราอยากจะรักเขาน่ะ เขาจะรักเราหรือเปล่า ใจเริ่มไม่สบาย ถ้าเห็นคนที่เราคิดว่าจะรักหรือกำลังรักเขาอยู่แต่ยังไม่ตกลงกัน เดินไปกับใคร ไปไหนมาไหนกับใคร ดีไม่ดีเขาไปกับพี่น้องของเขา เราก็คิดเสียว่าบางทีเขาจะไปกับคนอื่นเสียแล้ว เขารักคนอื่นเสียแล้ว อารมณ์มันก็ไม่เป็นสุข พอตกลงรักกันขึ้นมาได้ ความระแวงระไวมันก็มากขึ้น เกรงไปว่าความรักของเราจะไม่แน่นอน นี่มันเริ่มทุกข์ใจไม่สบาย นอนไม่หลับ พอเริ่มแต่งงานกันแล้ว อยู่ด้วยกันภาระหนักมันเกิดขึ้นได้ กิจการงานต่าง ๆ ที่เคยเกียจคร้านได้ ไม่ทำอะไรได้ หนาวก็นอน ร้อนก็นอน มีกินแค่นี้ก็พอ ไม่ต้องทำต่อไป แต่พอเริ่มแต่งงานเข้า มันต้องขยันมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเรามันเป็นคนสองคน นอกจากคนสองคนแล้ว ยังญาติทางฝ่ายสามี ญาติฝ่ายภรรยา เพื่อนฝ่ายสามี เพื่อนฝ่ายภรรยา เราก็จะต้องนั่งเอาใจ ฝ่ายละหลายสิบคน
    <DD>นี่เริ่มภาระแห่งความทุกข์เกิดขึ้น นี่ในที่นี้ในเมื่อเป็นคนสองคนก็ต้องมีงานหนักมากขึ้น เพราะการจับจ่ายใช้สอยมันก็มากขึ้น และก็ยังต้องเป็นห่วงอารมณ์ซึ่งกันและกัน เกรงว่าจะเป็นที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน ต้องระมัดระวังอารมณ์ตัวเองมากขึ้น นี่ความทุกข์มันรัดตัวเข้ามามากทุกที
    <DD>ต่อมาพอมีบุตรมีธิดาเกิดขึ้น ตอนนี้สิ ดีไม่ดีกำลังนอนหลับสบาย ๆ ในยามดึก พ่อเจ้าประคุณร้องขึ้นมาในเวลาดึก ทั้งพ่อทั้งแม่ก็ต้องลุกขึ้นมาทั้ง ๆ ที่นอนยังไม่เต็มตื่น อาการทางร่างกายก็จะเปลี้ยเพลียเพียงใดก็ตามที เพราะอาศัยความรักลูกสงสารลูกก็ต้องทำทุกอย่าง ถ้าลูกเกิดป่วยไข้ไม่สบายขึ้นมา ยามใดก็ดีก็ต้องรีบไปหาหมอ การไปหาหมอนะ ดีไม่ดีไปกลางค่ำกลางคืนถูกฆ่าตายเมื่อไรก็ได้ และกว่าจะเลี้ยงลูกโตขึ้นมาแต่ละคนต้องใช้กำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา กำลังทรัพย์เท่าไร ถ้าลูกเป็นคนดีก็รู้สึกว่าจะเป็นที่พอใจ ถ้าลูกเป็นเด็กร้ายอกตัญญูคุณพ่อคุณแม่ อย่างเด็กสมัยนี้ที่เขาพูดกันว่าบิดามารดา คือ พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจให้เขาเกิด เขาเกิดกันมาเอง พ่อแม่อาศัยมีความปรารถนาในกามารมณ์มากกว่า แล้วเขาจึงเกิดมา แล้วก็เอาใจออกห่างไปเป็นคนทำลายชาติหวังจะเปลี่ยนแปลงระบบความเป็นอยู่ของชาติให้เป็นทาสกันทั้งเมือง
    <DD>อันนี้เคยพอมาแล้วนี่ พ่อแม่ถึงกับน้ำตาไหล เคยพบมาเป็นนักเรียนสตรีโรงเรียนที่มีชื่อแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พ่อเป็นนายทหาร อาจารย์ตักเตือนเธอเท่าไรก็ไม่เชื่อฟัง เขาเรียกว่าเป็นหัวซ้ายหัวขวาอะไรก็ไม่ทราบ ต่อมาท่านอาจารย์ก็คิดว่าบิดา มารดาคงจะตักเตือนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อเป็นนายพล จึงได้เชิญบิดามารดาไปเพื่อพบให้พูดกับลูก แต่พอเรียกลูกสาวมาพบบิดามารดา ลูกสาวไม่ยักไหว้พ่อไหว้แม่ ไหว้แต่ท่านอาจารย์ใหญ่ แล้วกลับพูดกับท่านอาจารย์ใหญ่ว่า ไปเรียกเขามาทำไม หนูพูดกับเขาไม่รู้เรื่อง เขากับหนูพูดกันไม่รู้เรื่อง หนูคิดว่าเขากับหนูขาดกันแล้วตั้งแต่วันเกิด นี่ความจริงแกยังเรียนหนังสืออยู่ แกยังใช้เงินของพ่อของแม่อยู่ เครื่องแต่งตัวเครื่องเรียนทุกอย่างอาหารการบริโภคยังกินของพ่อของแม่อยู่ แกพูดอย่างนั้น ท่านผู้เป็นบิดาซึ่งเป็นนายพลกับมารดาถึงกับก้มหน้าน้ำตาไหล
    <DD>นี่ถ้าหากว่าเราบังเอิญมีลูกเป็นอย่างนี้เข้า มันจะมีความสุขหรือมีทุกข์ และก็หวนกลับไปอีกที ความรักระหว่างคนที่จะแต่งงานกัน มักจะเพ่งกันอยู่เฉพาะในวัยที่มีความผ่องใสแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า แต่ว่าสภาพของคู่แต่งงานทั้งคู่จะทรงสภาพอย่างนั้นเป็นปกติหรือว่าเสื่อมลงไป สิ่งที่เรามองเห็นได้ง่ายคนที่เขาแต่งงานมาก่อน อย่างบิดามารดา ปู่ย่าตายายของเรานะ ท่านก็เป็นหนุ่มเป็นสาวกันมาก่อน แล้วเวลาที่เราจะเริ่มมีสภาวะพอจะแต่งงานกับเขาได้นี่ ท่านทั้งหลายเหล่านั้นหนุ่มสาวแล้วหรือยัง หรือว่าแก่ไปเสียแล้ว บางรายเราก็เห็นหง่อม ต้องเอาวิสัยของพระเรวัตมาใช้ ที่พระเรวัตที่บรรดาญาติฝ่ายหญิงซึ่งมีอายุ ๑๒๐ ปี หนังตกกระ หลังงอ ผมหงอก ตาฝ้า หูฟาง มารดน้ำสังข์ บรรดาญาติทั้งหลายก็บอกว่า " ขอเธอทั้งหลายจงครองคู่อยู่กันไป จนกระทั่ง แก่เฒ่าถือไม้เท้ายอดทอง เหมือนกับคุณยายของฝ่ายเจ้าสาว "
    <DD>พระเรวัตมองดูแล้วก็ใจหาย ถามว่า " ต่อไปเจ้าสาวของผมจะมีสภาพอย่างนี้ไหม "
    <DD>คนทั้งหลายก็บอกว่า " ถ้ามีอายุยืนอย่างนี้ ก็มีสภาพอย่างนี้เหมือนกัน "
    <DD>พระเรวัตก็เลยตัดสินใจว่า เจ้าสาวของเราเวลานี้กระปรี้กระเปร่า ผิวพรรณผ่องใส แต่ต่อไปข้างหน้าต้องแก่อย่างนี้ก็ไม่เอาแล้ว ขอบอกศาลา เลยหนีบวช บวชแล้วก็เป็นพระอรหันต์
    <DD>นี่เราควรจะมีความเมตตา คือความรัก กรุณา ความสงสารตัวเอง ว่าเราจะแบกกายแบกใจของเราไปรับความทุกข์เรื่องในการแต่งงานเพื่อประโยชน์อะไร เพราะการแต่งงาน การมีสามี การมีภรรยา มีบุตรธิดา มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะแบกความทุกข์หาที่สุดมิได้จนกว่าจะตาย แล้วก็มานั่งนึกดูว่า สภาวะของร่างกายเราก็ดี ของเจ้าสาวเจ้าบ่าวก็ดี ร่างกายของแต่ละคนนี้หรือแม้ว่าคนอื่นก็เหมือนกัน มันเป็นทรัพย์สมบัติของเราจริง ๆ หรือว่าเป็นสมบัติของใคร ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาท่านบอกว่า
    <DD>" ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายมันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกัน มีอาการ ๓๒ มีวิญญาณธาตุ มีอากาศผสม มีจิตเข้ามาอาศัย จิตก็คือเรา "
    [​IMG]ทีนี้ร่างกายทั้งหลายเหล่านี้ เราบังคับมันได้ไหม เราปรนเปรอมันทุกอย่าง ไม่ต้องการให้มันแก่ แล้วมันแก่ไหม เราไม่อยากให้มันป่วย มันจะป่วยไหมล่ะ เราไม่อยากให้มันตาย ห้ามมันได้ไหมในเรื่องความตาย

    นี่ความจริง เนื้อแท้จริงเราก็ห้ามไม่ได้ ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของเจ้าสาวเจ้าบ่าวก็ดีที่เรารัก คิดกันดูให้ดีว่าร่างกายของใครเป็นร่างกายที่สะอาด มีไหมคนที่เกิดมาแล้วตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตายไม่ต้องอาบน้ำชำระร่างกายเหมือนเทวดาเหมือนพรหมน่ะมีไหม เทวดากับพรหมนี่เขาเกิดขึ้นมาแล้วนับตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันจุติ เขาไม่มีเหงื่อ ไม่มีไคล ไม่มีสิ่งสกปรกในร่างกาย ร่างกายหอมตลอดเวลา

    แล้วก็ร่างกายของมนุษย์เรานี่ มีสภาพอย่างนั้นไหม นั่งทำใจนึกให้ดีว่า ร่างกายที่เราอาศัยอยู่นี่มันแสนจะสกปรก มีทั้งอุจจาระ มีทั้งปัสสาวะ มีทั้ง น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มันขังอยู่ในร่างกาย เรามองไม่เห็น แต่พอมันหลั่งไหลมาจากร่างกายนิดเดียว เราก็มีความรังเกียจคิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้สกปรก แต่ว่าบางทีเรามันเป็นคนลืมง่าย ถ้าสิ่งสกปรกผ่านไป ชำระร่างกายแล้ว เราก็นึกว่ามันสะอาด ข้อนี้องค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสอนว่า
    <DD>" จงอย่าลืมเพราะมันเป็นความจริง ไม่ว่าร่างกายของชายหรือหญิงมันเต็มไปด้วยความสกปรก สกปรกและก็เสื่อมลงทุกวัน มีอาการเต็มไปด้วยความทุกข์ ด้วยการบริหารร่างกาย " มีความเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเลี้ยงร่างกายด้วยทรัพย์สิน จะกินก็ไม่สะดวก จะนอนก็ไม่สะดวก การแสวงหาทรัพย์ไม่ใช่ของง่าย กว่าจะได้มาต้องพบกับอุปสรรคทุกประการ เราทำงานกับผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาไม่ดีเราก็กลุ้ม หรือบางทีผู้บังคับบัญชาดี เพื่อนร่วมงานด้วยกันไม่ดีเราก็กลุ้ม เวลาป่วยไข้ไม่สบายจะพักจะผ่อนบ้าง ถ้าวันลาหรือไปลาผู้บังคับบัญชาเขาไม่ยอมให้ลา เราก็ลำบากกายลำบากใจ
    <DD>เป็นอันว่าเราเกิดมาเป็นคนที่มันมีทุกข์ ถ้ายิ่งเราจะแสวงหาความสุขจากการแต่งงานแทนที่มันจะคลายความทุกข์ มันจะเพิ่มความทุกข์มากขึ้น ก็เป็นอันว่า เราไม่พบกับความสุข เราพบกับความทุกข์ แล้วก็มานั่งคิดในใจว่า เราเป็นคนมีเมตตา ความรัก เราเป็นคนมีความกรุณา ความสงสาร เราควรจะสงสารตัวเราไหม ถ้าเราคิดว่าเราจะรักใครสักคนหนึ่ง หวังผลในการแต่งงาน ถ้าแต่งงานแล้วมันเป็นความทุกข์ นี่เราควรจะแต่งงานหรือว่าไม่ควรจะแต่ง ถ้าหากว่าเราคิดว่ามันเป็นความสุข เราก็ควรแต่ง ถ้าคิดว่ามันเป็นความทุกข์เราก็ต้องสงสารตัวเราเองว่า แค่ตัวเราเองนี้เรายังแบกเกือบไม่ไหว และไม่สามารถทรงกำลังกายให้มันเป็นสุขอยู่ได้ ถ้าเราไปแบกอีกคนหนึ่งเข้ามาแล้ว วันต่อมาอีกหลายคน คือ ลูกสาว ลูกชาย ความทุกข์ใหญ่มันก็เกิด เราก็หันกลับมามีเมตตา ความรักตัวเอง กรุณา ความสงสารตัวเองว่า
    <DD>" โอหนอ เราอยากโง่ไปทำไม ร่างกายของเราก็สกปรก ถ้าเราต้องการมีคู่ครอง ร่างกายของคู่ครองก็สกปรก เราคนเดียวแบกหนึ่งทุกข์ ทุกข์เท่านี้ คือ ขันธ์ ๕ ไปมีคู่ครองเข้า อีกคนหนึ่งก็แบกมาอีก ๕ ขันธ์ กลายเป็น ๑๐ ถ้ามีลูก มีหลาน มีเหลนออกมาไปกันใหญ่ "
    <DD>องค์สมเด็จพระจอมบรมไตรโลกศาสดาทรงตรัสว่า
    <CENTER>" ภารา หเว ปัญจขันธา " : " ขันธ์ ๕ ทั้งหลาย เป็นภาระอันหนัก "</CENTER>
    คือ เราคนเดียวมี ๕ ขันธ์ หนักแค่นี้ ถ้าเพิ่มอีกคนเป็นขันธ์ ๑๐ เพิ่มอีกคนเป็นขันธ์ ๑๕ เพิ่มอีกคนเป็นขันธ์ ๒๐ มันจะหนักปานไหน ตอนนี้เราก็เริ่มรัก เริ่มสงสารตัว ขอตัดกำลังใจว่าจะไม่คิดพึงหาคู่ครอง เห็นโทษจากความรัก ในความปรารถนาที่มีคู่ครอง เพราะมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันหาความสุขไม่ได้
    <DD>โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ครองก็ดี เราก็ดี ย่อมทรุดโทรมลงไปทุกวัน ไม่ช้าก็จากกันด้วยความตาย ถ้าเรายังมีความหลงใหลใฝ่ฝันด้วยอำนาจตัณหาแบบนี้อีก เราก็ต้องเกิดอีก มันจะหาความสุขอะไรไม่ได้ ควรจะตัดสินใจแล้วก็จำพระบาลีของค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไว้ว่า
    " ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยัง " : " ความเศร้าโศกเสียใจเกิดจากความรัก ภัยอันตรายเกิดจากความรัก "
    <DD>และสิ่งที่เรารัก มันจะอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัยหรือไม่ สมบัติของโลกมีความเกิดขึ้นในเบื้อต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง แล้วก็สลายทั้งหมด องค์สมเด็จพระบรมสุคตเห็นโทษอย่างนั้นสมเด็จพระมหามุนีจึงได้หนีพระนางพิมพากับพระราหุล ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์บำเพ็ญตนเป็นพระอรหันต์หมดความทุกข์ มีแต่อารมณ์ความสุขฉันใด เราก็ขอตัดกำลังใจ คือ จะรักเรา และสงสารตัวเราเข้าไปว่า กรรมใดที่เนื่องจากกามารมณ์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราไม่ต้องการ เราจะแสวงหาความสุข คือ อยู่แต่ผู้เดียวตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    <CENTER>" เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา " เป็นต้น แปลว่า " ทางของบุคคลผู้เดียวเป็นทางเอก เป็นทางนำมาซึ่งความสุข "</CENTER>
    <DD>เราก็พยายามจับเอากายคตานุสสติกรรมฐานกับอสุภกรรมฐานพร้อมกับสักกายทิฏฐิมาบวกกันเข้าว่าร่างกายนี่เป็นเพียงธาตุ ๔ มีสภาพสกปรก มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว ทำไมเราจึงไปรักร่างกายเขาเพื่อประโยน์อะไร เพราะมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีความรักตัว สงสารตัว คิดอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ช้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็จะชนะอำนาจกามกิเลสเสียได้ จัดว่าเป็นครึ่งหนึ่งของพระอนาคามี ยังไม่หมดแต่เวลามันหมด
    <DD>ต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคตจงพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น อยู่ในอิริยาบถที่เห็นว่าสมควร ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควรว่าควรจะเลิก
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR align=right><TD>สวัสดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER>( จากเทปเรื่อง พรหมวิหาร ๔ ปี ๒๕๒๑ )
    ( ม้วน ๒ หน้า ข )
    </CENTER></DD><DD><CENTER>ที่มา http://www.putthawutt.com/html/menu.html</CENTER></DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...