เปิดนโยบายหลัก"ชูศักดิ์ ศิรินิล" เยี่ยมวัดมีปัญหา-เน้นเรียบง่าย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนไม่พิเศษ, 9 มีนาคม 2008.

  1. คนไม่พิเศษ

    คนไม่พิเศษ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +32
    http://matichon.co.th/khaosod/view_...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB3T1E9PQ==


    เปิดนโยบายหลัก"ชูศักดิ์ ศิรินิล" เยี่ยมวัดมีปัญหา-เน้นเรียบง่าย

    คอลัมน์ สกู๊ปข่าวสด




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อเร็วๆ นี้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เดินทางมามอบนโยบายในการปฏิบัติงานแก่ผู้บริหาร ข้าราชการ และลูกจ้างของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม

    นายชูศักดิ์ กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อสภาไปแล้ว ชัดเจนในเรื่องการอุปถัมภ์ คุ้มครอง ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญกับการปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจ นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

    ปัญหาของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการแบ่งส่วนราชการ เป็นที่แน่ชัดว่า ในปัจจุบัน มีกฎกระทรวงกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ชัดเจน แต่ว่าความชัดเจนในแง่ของถ้อยคำ ยังมีปัญหาอยู่ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้พูดถึงความซ้ำซ้อนระหว่างอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกับกรมการศาสนา

    ตรงนี้ จะต้องดำเนินการแก้ไขให้งานด้านพระพุทธศาสนาเกิดความเป็นเอกภาพ

    ภารกิจสำคัญของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ สนองตอบต่อกิจกรรมความประสงค์ทั้งหลายของคณะสงฆ์ โดยเฉพาะคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ที่เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการปกครองดูแลคณะสงฆ์ สำนักพุทธฯ มีหน้าที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการของมหาเถรสมาคมที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารคณะสงฆ์โดยตรง

    "เราต้องร่วมมือร่วมใจกันตอบสนองความต้องการของท่านให้เต็มกำลังความสามารถ ที่สำคัญต้องประสานดูแลกันอย่างใกล้ชิด"

    ทั้งนี้ ขอโอกาสสำนักพุทธฯ จัดโครงการให้ตนได้ไปเยี่ยมวัดเดือนละครั้ง ถือโอกาสได้ไปดูแลวัด ไปเยี่ยมไปสนทนาหารือกับเจ้าอาวาส ไปพบกับคณะสงฆ์ในวัดต่างๆ เดือนละครั้งหรือสองครั้ง แต่ควรจะต้องเลือกวัด ด้วย วัดที่มีความเจริญก้าวหน้า ขอให้เป็นลำดับหลัง แต่ตนอยากจะไปวัดที่ยังมีปัญหา ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จะได้ช่วยเหลือวัด
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    "คงจะหมุนเวียนกันไป ภาคนั้นบ้างภาคนี้บ้าง คงจะไม่เป็นการรบกวนท่าน ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ก็ไปกันแบบชาวพุทธ คือ ความเรียบง่าย ไปถึงก็เข้าวัด จะจัดให้ผมนอนที่วัดด้วยก็ได้จะเป็นการดี"

    ในอดีตที่ผ่านมา ถือวัดเป็นศูนย์กลาง วัดเป็นที่สอนหนังสือ เป็นสถานที่ให้พุทธศาสนิกชนมาทำบุญ อบรมสัมมนา แต่ในปัจจุบัน การรวมตัวแบบชาวบ้านไม่ค่อยมีให้เห็น ต่างคนต่างกระจัดกระจาย ดังนั้น ถ้าเราสามารถจับมือกับกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง พัฒนาหลักสูตรการศึกษาของนักเรียน วิชาหน้าที่ศีลธรรม วิชาพระพุทธศาสนาต้องบรรจุในหลักสูตร และต้องให้พระแสดงบทบาทการเป็นครูบาอาจารย์เข้าไปสอนในโรงเรียน

    ส่วนการส่งเสริมโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ซึ่งปัจจุบันยังมีปัญหาอีกมาก ทั้งการขาดงบประมาณ การบริหารจัดการ ตนขอมอบหมายให้สำนักพุทธฯ ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มาร่วมพัฒนาโรงเรียนดังกล่าว ตลอดจนประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีการบรรจุวิชาพระพุทธศาสนา วิชาหน้าที่ศีลธรรม ในหลักสูตรการศึกษาและให้มีภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง

    อาทิ ส่งเสริมให้เด็กไปทำบุญที่วัด ปฏิบัติธรรม สามารถที่จะนำเป็นคะแนนได้ด้วย จะส่งผลให้หลักบวร บ้าน วัด โรงเรียน เชื่อมโยงกันเหมือนสมัยโบราณ

    "ในสมัยนี้ จะให้พระไปสอนเด็กนักเรียน ถ้ามัวแต่ไปเทศน์แบบที่เทศน์กันทั่วไป ฟังแค่ 5 นาที นักเรียนหลับกันหมดทั้งห้อง เราจำเป็นต้องปรับการสอนให้มีชีวิตชีวา เป็นเรื่องของเทคนิค"
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขณะเดียวกัน ตนได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ ได้ทราบถึงโครงการทางสื่อโทรทัศน์ คิดว่าถ้าเรามีโครงการต่างๆ เช่น วัยรุ่นกับธรรมะ โครงการนักการเมืองกับธรรมะ เป็นต้น ซึ่งธรรมะของพระพุทธองค์มีหลายข้อ มีการแยกแยะให้เห็นหลายด้าน อาทิ ธรรมะของพ่อค้า ธรรมะกับนักเรียน ธรรมะกับนักการเมือง

    โดยขอความกรุณาจากคณะสงฆ์ ให้ตั้งกรรมการขึ้นมา 1 ชุด มาสังคายนานำหลักธรรมะสั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย ด้วยการจัดทำธรรมะวันละคำ รณรงค์ให้นักวิชาชีพคำนึงถึง คุณธรรม จริยธรรม อาทิ ธรรมะเกี่ยวกับนักการเมือง อาจจะรณรงค์โดยใช้คำว่า พูดแล้วต้องทำ, คำพูดเป็นนายเรา ส่วนกลุ่มข้าราชการนั้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่นิยมมีกิ๊ก ก็จะมีการรณรงค์ธรรมะของคนที่เป็นคู่สมรส สามีภรรยา ครอบครัว เอาธรรมะไปช่วยด้วยเช่นกัน

    "ส่วนปัญหาสังคมในยุคนี้ เช่น เรื่องอบายมุข ยาเสพติด เราสามารถนำพระพุทธศาสนาเข้าไปแก้ปัญหาเหล่านี้ เรามีกองทัพธรรมที่เข้าไปช่วยแก้ปัญหา มีความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ที่จะส่งพระภิกษุเข้าไปอบรมบรรยายธรรม ไปให้ความรู้แก่นักโทษ"

    สำหรับเรื่องนโยบายส่วนที่ส่งเสริม เชิดชู ผู้ดำรงตนตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมจริยธรรม หมายถึง การส่งเสริมบุคคลที่มีความรู้ ให้ความสนใจในพระพุทธศาสนา คุณธรรมจริยธรรมทุกปี

    เรากำลังมีภารกิจสำคัญ คือ เรื่องของวันวิสาขบูชาโลก ทราบว่าปีนี้จะมีกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่พอสมควร รวมทั้งเราอยากจะทำให้ประเทศไทยของเราเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ถือเป็นเรื่องในระดับสากลระดับชาติ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ ต้องใช้ความทุ่มเทอย่างมหาศาลของทุกคน ทั้งฆราวาสและพระภิกษุต้องร่วมมือกัน

    "ผมได้รับทราบเรื่องนี้ ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่จะพิสูจน์ฝีมือของพวกเราว่าจะสามารถที่ผลักดันให้สิ่งนี้ ประสบผลสำเร็จ ผมถือโอกาสสนับสนุนให้กำลังใจ และให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในโอกาสต่อไป"

    ได้มีโอกาสอ่านในรายงานจากสำนักพุทธฯ มีเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องวัดร้าง เท่าที่ตรวจสอบในรายงานพบว่ามีมากพอสมควร ผลที่ตามมา เรามีโบสถ์มีวัด มีศาสนสถานมากมาย แต่เราไม่มีกิจกรรม จึงกลายเป็นวัดร้าง ตรงนี้ ควรที่เราจะต้องทำการแก้ปัญหา

    เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงศึกษาธิการ มีโครงการจับคู่ นำโรงเรียนดังไปจับคู่กับโรงเรียนที่ไม่ดัง จัดโครงการแลกเปลี่ยนครูไปสอนพิเศษ หากเราแก้ปัญหาเรื่องวัดร้าง โดยใช้วิธีการจับคู่ นำวัดดังๆ ไปจับคู่กับวัดที่ไม่เจริญ จะได้มีการแลกเปลี่ยนกัน เช่น แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ส่งพระไปจำวัดและพัฒนาวัด

    "ที่ผมเป็นห่วงอย่างมาก คือ การบวชในปัจจุบัน จะเน้นในเรื่องของงานรื่นเริงมากกว่า การยึดถือปฏิบัติตามประเพณี เพราะการบวชทุกวันนี้ ผู้บวชไม่ต้องท่องจำบทสวด แต่มีพระสวดนำให้ และไม่ต้องไปปฏิบัติตัวอยู่ที่วัด 7 วัน เหมือนสมัยที่ผมเคยบวชในอดีต"

    "ดังนั้น ผมจะหารือกับมหาเถรสมาคมว่า จะแก้ไขอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ประเพณีบวชกลับมาจริงจังเหมือนในอดีต ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บวชได้ประโยชน์จากการบวชอย่างแท้จริงด้วย"

    "ผมอยากจะผลักดันภารกิจและภาระหน้าที่ของสำนักพุทธฯ ให้เจริญก้าวหน้า ตามภารกิจที่เราได้รับมอบหมาย หวังว่าการมอบนโยบายในครั้งนี้ คงจะเป็นประโยชน์ และขอความร่วมมือจากทุกคนปฏิบัติหน้าที่ราชการของเราให้บรรลุความสำเร็จก้าวหน้าต่อไป" รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้าย
     

แชร์หน้านี้

Loading...