เรื่องเด่น เทคนิคการจับพิรุธคนโกหกจากนักจิตวิทยา

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 4 กันยายน 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    1.PNG

    หนึ่งในสกิลสำคัญที่เราควรมีติดตัวไว้คือการอ่านภาษากายของคนเราเพราะมันสามารถบอกได้ว่าคนๆนั้นกำลังโกหกหรือรู้สึกอย่างไรอยู่ บทความนี้คือเทคนิคดีๆ จากนักจิตวิทยา ที่จะช่วยให้เราจับโป๊ะคนโกหกได้ ขอบอกเลยว่ามีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในทุกวันนี้มาก...

    4.PNG


    มนุษย์เรียนรู้การโกหกตั้งแต่ทารก


    คนเราเริ่มเรียนรู้การโกหกตั้งแต่ตอนเด็ก เมื่ออายุครบ 6 เดือน ทารกจะเริ่มรู้ว่าพฤติกรรมของตัวเองมีผลต่อผู้ดูแล และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว เช่น แกล้งร้องไห้เพื่อดึงความสนใจ หรือแกล้งหัวเราะเพราะเห็นว่าคนรอบข้างชอบท่าทางแบบนี้ เป็นต้น ในงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัท ประเทศอังกฤษ ได้บอกไว้ว่า เราไม่ควรตีความว่าการโกหกในช่วงอายุนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่าคนเราไม่ซื่อสัตย์ การหลอกลวงถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทารกเรียนรู้เพื่อสื่อสารกับคนอื่นทางสังคมก่อนที่จะพูดเป็น...

    6.png

    คนเรามักโกหกเรื่องอะไรกันบ้าง

    • เรื่องเกี่ยวกับตัวเองมากกว่า 50%
    • เรื่องของคนอื่น (โกหกเพื่อคุ้มครองคนอื่น) 25%

    ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนเราต้องโกหกมักเกิดจากแรงจูงใจ 2 ประเภท คือ โกหกเพื่อโจมตีคนอื่น และโกหกเพื่อป้องกันตัวเอง...

    5.png

    แรงจูงใจที่จะโกหกเพื่อโจมตีคนอื่น ได้แก่

    • เพื่อเอารางวัล เพราะถ้าไม่โกหกก็ไม่มีทางได้มาง่ายๆ
    • เพื่อได้เปรียบคนอื่นหรือได้ประโยชน์จากสถานการณ์
    • เพื่อสร้างความประทับใจเชิงบวกและได้รับการชื่นชม
    • เพื่อแสดงอำนาจเหนือผู้อื่นด้วยการควบคุมข้อมูล

    2.PNG

    แรงจูงใจที่จะโกหกเพื่อป้องกันตัวเอง ได้แก่

    • เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษหรือต้องอับอายขายหน้า

    • เพื่อคุ้มครองไม่ให้คนอื่นโดนลงโทษ
    • เพื่อคุ้มครองตนเองจากภัยอันตรายทางกายหรือทางอารมณ์
    • เพื่อหลุดพ้นจากสถานการณ์ทางสังคมที่น่าอึดอัดใจ
    • เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว

    3.PNG

    FUN FACT : คนชอบเข้าสังคมมักจะพูดโกหกมากกว่าคนเก็บตัว และรู้สึกสบายใจกว่าเวลาโกหก รวมทั้งยืนกรานเรื่องที่โกหกอยู่ได้นานกว่า...

    7.PNG

    13 เคล็ดลับจับโกหกจากนักจิตวิทยา

    1) เวลาฟังใครเล่าอะไร ขอให้อดทนไว้ อย่าเติมข้อมูลที่ขาดหายไป แต่จงใส่ใจอย่างเต็มที่กับสิ่งที่เขาพูดและไม่ได้พูดออกมา

    2) เด็กมักยกมือปิดปากเวลาพูดโกหก ส่วนผู้ใหญ่ที่โกหกจะพยายามอดทนไม่ทำแบบนั้น ทั้งที่เป็นแรงกระตุ้นสากลที่พบโดยทั่วไป แต่อาจจะยกมือแตะปากเร็วๆ หรือวาดมือไปด้านบนแทน

    3) คนเรามักจะแตะไปที่ดวงตาหรือพยายามหลับตาเวลาพูดโกหก ซึ่งมักจะทำไปโดยที่ไม่รู้ตัว ผู้ชายมักจะถูตา ส่วนผู้หญิงจะแตะใต้ดวงตาเบาๆ

    4) ให้ฝึกมองหาการแสดงอารมณ์บนใบหน้าที่ออกมาเพียงชั่วพริบตาเดียว ซึ่งเรียกว่า "การแสดงสีหน้าในระดับไมโคร" แม้จะปรากฎเพียงสั้นๆ แต่คนโกหกมักระงับไว้ไม่อยู่ ทำให้เราได้สัญญาณบอกใบ้ที่เชื่อถือได้ของความรู้สึกที่แท้จริงของบุคคคลนั้น

    5) ให้สังเกตสมมาตรในการแสดงท่าทางกับการแสดงสีหน้าของบุคคล เช่น รอยยิ้ม หน้าบึ้ง และการยักไหล่ ซึ่งถือเป็นหน้ากากด้านเดียวที่ปิดบังความรู้สึกอันแท้จริง ขณะที่การแสดงท่าทางของความจริงตามธรรมชาติมักเกิดขึ้นเท่าๆกันทั้งภายนอกและภายใน

    6) ลองมองหากลุ่มพฤติกรรมที่สื่อถึงการหลอกลวง เพราะการแสดงท่าทางหรือการหลุดปากพูดโดยไม่ตั้งใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าสังเกตเห็นตัวชี้วัดการหลอกลวงหลายๆ แบบในกลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวก็น่าจะช่วยให้เราระวังตัวได้

    7) ให้ระวังการผงกศีรษะที่ไม่ตรงกับใจ เช่น เพื่อนที่บอกว่าขอยืมเงินหน่อยแล้วจะคืนแน่ๆ แต่ในขณะที่พูดก็ส่ายหน้าไปด้วย ภาษากายแบบนั้นสื่อให้เห็นว่ากำลังโกหกอยู่

    8) หากคู่สนทนาหยุดแสดงท่าทางหรือทำตัวนิ่งแข็งบริเวณร่างกายส่วนบน ซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมตามธรรมชาติ สามารถสื่อได้ว่ากำลังหลอกเรา สิ่งสำคัญคือจงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง หากรู้สึกแปลกๆ

    9) เวลาจะตั้งคำถามเพื่อดูว่าอีกฝ่ายจะหลอกเราหรือไม่ ให้พยายามอยู่ตรงตำแหน่งที่เราจะมองเห็นใบหน้า ลำตัว และขาของคู่สนทนาได้ชัดๆ เพื่่อจะจับพฤติกรรมที่ไม่สอดคคล้องกันได้มากขึ้น เช่น การยกมือบังหน้าเวลาที่เราพยายามสบตา หรือหันหน้าไปตรงทางออก เป็นต้น

    10) มองหาความย้อนแย้งขัดกันในเนื้อหาคำพูด การแสดงสีหน้า และภาษากาย คนโกหกมักจะทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ แต่คนพูดความจริงจะส่งสารเดียวกันออกมาอย่างสอดคล้องในทุกช่องทาง

    11) ให้ซักถามด้วยคำถามปลายเปิดเพื่อเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง และใช้คำถามที่ตอบว่าใช่หรือไม่ เพื่อประเมินพฤติกรรม

    12) การตอบคำถามยากๆ โดยพูดทวนทั้งหมด ถือเป็นชั้นเชิงในการซื้อเวลาเพื่อจะแต่งเรื่องโกหก หากเป็นคนที่พูดความจริงมักจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าได้ยินคำถามถูกต้องแล้ว โดยจะพูดทวนคำถามแค่บางส่วนเท่านั้น

    13) ให้ใส่ใจตอนจบการพูดคุยหรือสอบถาม ถ้าเขาแสดงความโล่งอกอย่างเห็นได้ชัดหลังจากการสอบถาม อาจเป็นเพราะเรื่องหลอกลวงของเขาใช้ได้ผล

    "... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลยังไม่ละธรรมข้อหนึ่งคือ การพูดปด เราย่อมไม่กล่าวว่า มีบาปกรรมอะไรที่บุคคลนั้นทำไม่ได้..." นี่คือพุทธพจน์ ซึ่งมีที่มาปรากฏในอิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 หน้า 243

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก เทคนิคจับเท็จ เคล็ดลับจับโกหก Pamela Meyer (2559) แปลจาก Liespotting แปลโดยพิมพ์ใจ สุรินทรเสรี กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์
     

แชร์หน้านี้

Loading...