101.เดินกรุงเก่า เข้าวัดหลวง (2)

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 พฤษภาคม 2022.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    101


    เดินกรุงเก่า เข้าวัดหลวง (2)

    ?temp_hash=f5e76ac151b5512b45661aac5b0495b1.gif


    เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว สร้อยฟ้ามาลาเคยเขียนกระทู้เรื่อง เดินกรุงเก่า เข้าวัดหลวง คราวนั้นไปทำบุญไหว้พระในวันปิยมหาราช พ.ศ.2555 รวมทั้งหมด 6 วัด จะมี วัดกษัตราธิราชวรวิหาร, วัดไชยวัฒนาราม, วัดโลกยสุทธาราม, วัดราชบูรณะ, วัดมหาธาตุ, วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดหลวงทั้งในอดีตและวัดหลวงในปัจจุบัน

    มาในปี 2565 นี้ วันมาฆบูชาตรงกับวันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ และเป็นวันคล้ายวันเกิด ก็เลยคิดจะไปทำบุญไหว้พระ 9 วัด จึงค้นหาข้อมูลว่าวัดหลวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัดอะไรบ้าง แล้วพอจะเอื้อกับเวลาและระยะทางไปแต่ละวัดได้แค่ไหน ถ้าวัดไหนอยู่ไกลต่างตำบลต่างอำเภอกันมากก็จะไม่ไป ซึ่งในรายชื่อวัดหลวงที่วางผังเส้นทางจัดลำดับได้มา ถ้าหากระหว่างทางผ่านวัดไหนที่น่าสนใจก็จะแวะเข้าไปทำบุญไหว้พระด้วย


    ?temp_hash=f5e76ac151b5512b45661aac5b0495b1.gif

    '
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • NB1.gif
      NB1.gif
      ขนาดไฟล์:
      78.4 KB
      เปิดดู:
      52
    • 14457756.gif
      14457756.gif
      ขนาดไฟล์:
      15.4 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529

    เจ็ดโมงกว่าได้เวลาออกจากบ้าน
    คราวนี้มีสมาชิกไปกัน 2 คน แวะซื้อดอกบัว ธูปเทียน ทองคำเปลว แล้วไปเติมพลังแถวๆ ตลาดใกล้ๆ บ้าน วันนี้อากาศดีไม่ร้อน ท้องฟ้าครึ้มมีเมฆ



    ?temp_hash=f2de9a75edf44d1497cdec7ee4292ca6.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529


    วัดที่ตั้งใจจะไปเป็นวัดแรกคือ วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร (ขอนำข้อมูลจากกระทู้ ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร บางตอนมาลงนะ)


    วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร
    พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
    วัดตั้งอยู่บนเกาะฝั่งตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน ชาวบ้านแถวนั้นมักเรียกว่า วัดใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 เสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2421 เพื่อใช้ในการบำเพ็ญพระราชกุศลระหว่างที่เสด็จประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยช่างชาวตะวันตกเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างวัด ชื่อว่า นายโยคิม กรัสซี (Joachim Grassi) เป็นสถาปนิกชาวอิตาเลียนที่เข้ามารับราชการในประเทศสยาม สังกัดกรมโยธาธิการ คนไทยสมัยนั้นเรียกกันหลายแบบ เช่น “ยูกิง แกรซี” หรือ “กราซี” บ้าง “เย เกรซิ” บ้าง หรือ “ซินญอครัสซี” บ้าง


    ?temp_hash=f2de9a75edf44d1497cdec7ee4292ca6.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2022
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529


    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg


    เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแล้ว นายโยคิม กรัสซี จึงได้ออกแบบอาคารทุกหลังภายในวัด ไม่ว่าจะเป็น พระอุโบสถ, ศาลาการเปรียญ, หอไตร, โรงเรียนปริยัติธรรม หมู่กุฏิสงฆ์ ฯลฯ เป็นแบบตะวันตกทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระอุโบสถที่บรรจงออกแบบตามสถาปัตยกรรมยุคโกธิกนั้นมีหลักฐานในศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถระบุว่า

    “โรงพระอุโบสถในร่วมยาว ๗ วา ๓ ศอก ๖ นิ้ว กว้าง ๔ วา ศอก ๖ นิ้ว เบื้องหน้ามีซุ้มประตู เบื้องหลังเป็นหอระฆัง ที่ตั้งพระเจดีย์สูงแต่พื้นดินตลอดยอด ๑๒ วา ๓ ศอกคืบ ๓ นิ้ว...” เป็นอาคารก่ออิฐโบกปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ท้ายพระอุโบสถที่เป็น “หอระฆัง” เป็นโดมปลายแหลมตามศิลปะสมัยกลางของยุโรปที่นิยมสร้างเป็นศาสนสถานในศาสนาคริสต์ นายกรัสซีได้ดัดแปลงมาเป็นหอระฆัง มีลักษณะกรวยแหลมสูง ๓ ชั้น แต่ละชั้นเจาะช่องหน้าต่างเป็นอาร์คโค้งปลายแหลม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบโกธิก ไว้รอบหอระฆังชั้นละ ๔ ด้าน

    ชั้นแรกวางยอดปราสาทจำลองประดับไว้ที่มุมทั้งสี่ชั้นที่สองและชั้นที่สาม หน้าต่างประดับด้วยกระจกสีทั้ง 8 ด้าน จากนั้นเป็นทรงสอบเข้าไปจนยอดสุดเป็นปลายแหลมแบบโกธิก มีบันไดเวียนจากล่างจนถึงเบื้องบน บนหอระฆังมี

    พระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์สำริดปิดทองซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประกอบพิธีบรรจุด้วยพระองค์เอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529


    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg


    พระประธานในพระอุโบสถ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร กาไหล่ทองคำทั้งองค์หน้าตักกว้าง 22.5 นิ้ว สูง 36.5 โดยฝีพระหัตถ์การปั้นหล่อของ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ” นายช่างใหญ่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งสวยงามเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก จึงพระราชทานนามว่า “พระพุทธนฤมลธรรโมภาส” ประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร พระอัครมหาสาวกขนาบทั้งสองข้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังโปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองเหลืองกะไหล่ทองคำ อุทิศแด่พระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้อัญเชิญมาพร้อมพระพุทธนฤมลธรรโมภาศ ประดิษฐานบนหิ้งข้างเรือนแก้ว ภายในอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ เมื่อ พ.ศ.2421 โดยมีการกล่าวถึงประวัติและมูลเหตุการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 2 อย่างละเอียด กล่าวคือ รัชกาลที่ 3 โปรดให้กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส หล่อพระพุทธรูป 37 ปาง แล้วทรงเลือก 3 ปางเพื่อสร้างเป็นพระพุทธรูปพระชนมพรรษาประจำแผ่นดิน 3 ปาง ส่วนที่เหลือให้ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา รัชกาลที่ 4 โปรดให้หล่อพระพุทธรูปกาไหล่ทอง 37 องค์แล้วอุทิศแด่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา 33 องค์ และพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 องค์ อีก 3 องค์อุทิศแด่รัชกาลที่ 1 - 3 ครั้นเมื่อมีการฉลองวัดชุมพลนิกายารามใน พ.ศ. 2407 รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญพระพุทธรูป ที่อุทิศแด่พระเจ้าปราสาททองและ

    พระนารายณ์มหาราช มาตั้งในอุโบสถแล้วเชิญกลับกรุงเทพฯ ต่อมา รัชกาลที่ 5 ดำริว่าพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ คือ พระเจ้าปราสาททอง พระนารายณ์มหาราช และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแต่เคยประทับ ณ บริเวณเกาะบางปะอิน จึงควรมีสิ่งที่ระลึกถึงพระเกียรติ ซึ่งสำหรับรัชกาลที่ 4 คือ พระพุทธรูปนิรันตราย ส่วนอีก 2 พระองค์ โปรดให้หล่อพระพุทธรูป ตามขนาดและแบบเดียวกับองค์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาในคราวฉลองวัดชุมพลนิกายาราม


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=67054db48324304cbe18b41b6e7ebdec.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=0b23e56ee33111f6649220bfd15bf4b7.jpg


    img_20220216_094657a-jpg.jpg

    ภายนอกพระอุโบสถบริเวณด้านหน้าจะมีหอพระคันธารราษฎร์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางนาคปรก สมัยลพบุรีฝีมือช่างขอม อายุเก่าแก่นับพันปี ที่ฐานพระมีพระแท่นศิลาจารึกพระคาถาสำหรับให้ราษฎรสวดอธิษฐานขอฝนด้วย


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2022
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ใกล้ๆ กันนี้มีต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกไว้


    img_8525_1ta-jpg.jpg
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529


    ถัดจากนั้นก็จะมี “สุสานสวนหินดิศกุลอนุสรณ์” ที่บรรจุอัฐิในราชสกุลดิศกุล ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2022
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ด้วยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงปรารถนาให้ได้มีเจ้านายได้ทรงผนวชที่วัดแห่งนี้ สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงได้ผนวชที่วัดนิเวศธรรมประวัติ พระตำหนักที่ประทับจำพรรษาของพระองค์ เรียกว่า ตำหนักสมเด็จ ในระหว่างทรงผนวช และจำพรรษาอยู่ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ทรงนิพนธ์หนังสือแบบเรียนเล่มที่ 1 ขึ้น แล้วทรงออกสอนนักเรียนที่เป็นลูกชาวบ้านในละแวกนั้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จึงเป็นที่มาของการตั้งโรงเรียนประชาบาลหลังแรกในประเทศไทย


    img_8482_1ta-jpg.jpg
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=7d1537af31f6a3031dbb59bd315e1a8e.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=7d1537af31f6a3031dbb59bd315e1a8e.jpg


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529


    วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารยังเคยเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้านายฝ่ายในด้วย

    ?temp_hash=5bb268d797f74935eb76685bacf73ebf.jpg

    พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี

    หลังจากพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี พระธิดาองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์(เจ้าคุณจอมมารดาแพ) สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักภายในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2447

    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชทานน้ำสรงพระศพ และพระบรมวงศานุวงศ์สรงน้ำพระศพ แล้วจึงโปรดให้เจ้าพนักงานทรงเครื่องพระศพและเชิญลงพระลองในประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ แล้วจึงเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานแว่นฟ้า 3 ชั้น ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์

    การพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดีนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งพระองค์ทรงได้พืชพันธุ์มาจากพุทธคยา แล้วทรงเพาะและปลูกไว้ที่วัดนิเวศธรรมประวัติเป็นวันเดียวกับวันประสูติของพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี ดังนั้น พระองค์จึงมีพระราชดำริให้จัดการพระราชทานเพลิงพระศพที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดนิเวศธรรมประวัติ โดยให้ตั้งพระศพทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระราชวังบางปะอิน

    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg

    ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2448 เจ้าพนักงานได้เชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ออกจากพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ออกไปทางประตูศักดิไชยสิทธิ์ขึ้นประดิษฐานบนรถพระศพ แล้วประกอบพระลองในด้วยพระโกศทองเล็กห้อยเฟื่อง แล้วจึงเชิญพระศพไปยังสถานีรถไฟเพื่อเชิญพระศพไปยังพระราชวังบางปะอินต่อไป


    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังบางปะอินก่อนล่วงหน้า 1 วัน เมื่อพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดีมาถึงสถานีรถไฟบางปะอินในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ รอรับพระศพ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้าในเรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชยเพื่อเชิญพระศพไปยังพระราชวังบางปะอิน การจัดขบวนเรือครั้งนี้ โปรดฯ ให้จัดขบวนเรือยาวอย่างขบวนเรือถวายผ้าพระกฐิน หลังจากขบวนเรือถึงพระราชวังบางปะอินแล้ว เจ้าหน้าที่เชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์


    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg

    ?temp_hash=5bb268d797f74935eb76685bacf73ebf.jpg

    แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง เนื่องด้วยพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี นั้นเป็นพระธิดาที่ประสูตินอกพระเศวตฉัตร คือ ประสูติในตอนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 4 ซึ่งประสูติแต่หม่อมแพ ดังนั้นจึงเป็นพระธิดาที่รัชกาลที่ 5 ทรงสนิทเสน่หามาแต่กาลเก่า ถึงกับทรงยกย่องกรมขุนสุพรรณภาควดี ว่า "เป็นลูกคู่ทุกข์คู่ยาก" จึงได้มีพระราชดำริ ให้มีการจัดงานพระศพอย่างยิ่งใหญ่ดังกล่าว


    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg


    ในละครสี่แผ่นดินกล่าวไว้ว่า "เมื่องานบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณที่พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์เสร็จลง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินผ่านทางเจ้านายฝ่ายใน พระองค์เสด็จจากที่ประทับด้วยสีพระพักตร์ที่เศร้าหมอง เนื่องด้วยอาลัยถึงพระธิดาที่อยู่ในพระโกศ แล้วพอทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์กลาง ผู้ซึ่งเป็นพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณ พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินเข้ามาสวมกอดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้น แล้วต่างองค์ก็ต่างทรงพระกรรแสง" เป็นที่สะเทือนใจยิ่ง

    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg

    ต่อมา วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระศพออกจากพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ไปประดิษฐานบนเรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชยเพื่อเชิญไปพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ เมื่อถึงวัดนิเวศธรรมประวัติ เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระจิตกาธารยอดพระเกี้ยว ประกอบพระโกศจันทน์ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจุดเพลิงพระราชทานพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี วันรุ่งขึ้นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเก็บพระอัฐิบรรจุลงพระโกศทองคำ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระอัฐิลงประดิษฐานเหนือบุษบกเรือพระที่นั่งชลวิมานไชย แล้วจึงเชิญขึ้นประดิษฐานในบุษบกทองคำ ณ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เพื่อบำเพ็ญพระกุศลพระอัฐิ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ซุ้มเรือนแก้วขึ้นภายในวัดนิเวศธรรมประวัติเพื่อใช้บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี

    ในงานพระศพครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์สีขาว ซึ่งถือว่าเป็นการพระราชทานพระเกียรติยศแก่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้อย่างสูง เนื่องจากโดยทั่วไปพระมหากษัตริย์จะทรงฉลองพระองค์สีขาวเฉพาะงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชบุพการี

    ?temp_hash=15e0fee2e90dbe75765ec19c55248e53.jpg

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์


    ในคราวเดียวกันนี้เหตุการณ์อันวิปโยคก็ได้เข้ามาสุมพระราชหฤทัยอันเศร้าโศกาอาดูรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เพิ่มเป็นเท่าทวีอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระอรรคชายาพระองค์กลาง ซึ่งโดยเสด็จตามพระราชบิดามาในงานพระราชพิธีในครั้งนี้ ก็ทรงพระประชวรถึงขั้นเพ้อตรัสเป็นภาษาฝรั่งและสิ้นพระชนม์ ด้วยพระอาการไข้พิษ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2448 กล่าวกันว่า "ต้องเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอองค์หนึ่งลงมาบางปะอิน แล้วเชิญพระศพของอีกพระองค์ขึ้นไปกรุงเทพฯ ในการเสด็จพระราชดำเนินคราวเดียวกัน"


    เป็นเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมานาน แต่ถ้าได้ย้อนกลับไปอ่านครั้งใด ก็ทำให้เศร้าใจทุกครั้ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2022
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ?temp_hash=78957c85950f9f4b86d396d42cad41a3.jpg

    ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2022
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529


    การข้ามไปยังตัวเกาะของวัดสามารถใช้เรือข้ามฟากหรือข้ามด้วยกระเช้าข้ามฟาก ก็เห็นแต่นั่งกระเช้าข้ามกันยังไม่เห็นนั่งเรือข้ามฝั่ง

    ?temp_hash=78957c85950f9f4b86d396d42cad41a3.jpg


    ทำบุญไหว้พระ เดินชมความงามความสงบของวัดแล้ว ก็เดินมาทางด้านแหลมประภาคาร ระหว่างเดินมานี้ต้องระวังเพราะจะมีรถไฟฟ้าวิ่งรอบๆ พระอุโบสถ เดี๋ยวจะโดนชนเข้าเพราะมาแบบเงียบๆ แป๊บเดียวถึงตัว ตรงด้านถัดจากทางขึ้นลงกระเช้าไปนิดเดียวมีคาเฟ่เปิดอยู่ด้วย อยู่ในส่วนของศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต รักษ์บางปะอินคาเฟ่ เข้าไปซื้อน้ำสตอเบอรี่กินเย็นชื่นใจหายปวดหัว


    ?temp_hash=78957c85950f9f4b86d396d42cad41a3.jpg


    นั่งเล่นสักพักก็ข้ามฝั่งขับรถไปวัดต่อไปใกล้กันเป็นวัดที่สอง ซึ่งวัดนี้เมื่อมาพระราชวังบางปะอินแล้วเลยไปเกาะเมืองทีไรก็จะต้องขับรถผ่านกะว่าจะเข้าก็ไม่เคยได้เข้าไปสักที เห็นว่าที่จอดรถน้อยมาก มาคราวนี้เปิดหาข้อมูลกลับเข้าใจผิด มีที่จอดรถเยอะจอดได้สบายเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529

    วัดที่สอง

    วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร

    เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
    ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน
    สร้างโดยพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 เมื่อปีวอก พ.ศ.2175 บริเวณที่ตั้งของวัดเคยเป็นเคหสถานเดิมของพระราชชนนีของพระองค์ ตามหลักฐานจากพระราชกระแสรับสั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 3 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2419 และในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 25 พิมพ์ครั้งที่ 2 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพงษาดิศรมหิตป โปรดให้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2468 ความว่า “…ที่ทรงสร้างวัดชุมพลนิกายารามนี้เป็นมูลนิเวศสถานของพระราชชนนีแห่งองค์พระเจ้าปราสาททอง หากจะสันนิษฐานตามหลักฐานที่อ้างอิงทุกกรณีแล้วเห็นว่าเป็นความจริงโดยแน่แท้ เพราะว่าวัดชุมพลนิกายารามนี้ต่อมาปรากฏว่าเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์ ซึ่งมีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้านเรนทร์ ที่เป็นพระราชโอรสของพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรืออีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวงท้ายสระ ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดโคกแสง ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์ในครั้งกระนั้น นอกจากนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดมาปฏิสังขรณ์หรือบูรณะแต่อย่างใด…”


    ?temp_hash=78957c85950f9f4b86d396d42cad41a3.jpg


    พ.ศ.2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทำผาติกรรมพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ(หลวง) เป็นแม่กองมาปฏิสังขรณ์ สิ้นพระราชทรัพย์ไปประมาณ 500 ชั่งเศษ แล้วทรงอุทิศพระราชกุศลแด่พระเจ้าปราสาททองผู้เป็นเจ้าของวัดและทรงอุทิศพระราชกุศลแด่เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์ผู้ปฏิสังขรณ์ ดังมีพระราชปรารภอยู่ในศิลาจารึกซึ่งติดอยู่ที่พระเจดีย์ทั้งสององค์ด้านหลังพระอุโบสถ


    พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยทรงบูรณะพระอุโบสถและพระวิหาร สิ้นพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมาก

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...