เจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 1 กันยายน 2010.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    <CENTER>.</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>.</CENTER><CENTER>อาวาสิกวรรคที่ ๔</CENTER><CENTER>๑. อาวาสิกสูตร</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>
    </CENTER>[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ไม่ควรยกย่อง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ ภิกษุเจ้าอาวาสเป็นผู้
    ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ไม่ถึงพร้อมด้วยวัตร ๑
    ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงจำสูตร ๑
    เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีในการหลีกออกเร้น ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ๑
    เป็นผู้ไม่มีวาจาไพเราะ ไม่กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ๑
    ปัญญาทราม โง่เขลา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้
    ไม่ควรยกย่อง ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรยกย่อง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ ภิกษุเจ้าอาวาส
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ถึงพร้อมด้วยวัตร ๑
    เป็นผู้พหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ ๑
    เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกออกเร้น ยินดีในกัลยาณธรรม ๑
    มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ๑
    มีปัญญา เฉลียวฉลาด ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรยกย่อง ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๑</CENTER>[.539/COLOR]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2010
  2. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    <CENTER>๒. อัปปิยสูตร</CENTER><CENTER>
    </CENTER>[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์
    ธรรม ๕ ประการเป็นไฉนคือ
    เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑

    เป็นผู้พหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก จำทรงไว้ ขึ้นปาก คล่องใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑

    เป็นผู้มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวยไม่มีโทษ ให้ทราบข้อความได้ชัด ๑

    เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

    ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๒
    </CENTER>ที่มา
    ________________________________


    <CENTER>๓. โสภณสูตร</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ


    ย่อมยังอาวาสให้งาม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
    • เป็นผู้พหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑
    • เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ฯลฯ ให้ทราบข้อความได้ชัด ๑
    • เป็นผู้สามารถเพื่อให้ผู้เข้าไปหาเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ๑
    • เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมยังอาวาสให้งาม ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๓
    </CENTER>ที่มา
    ________________________________


    <CENTER>๔. พหุปการสูตร</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕</CENTER>ประการ ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    • เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑


    • เป็นผู้พหูสูต ฯลฯบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑
    • ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่หักพัง ๑
    • ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ย่อมเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญ เป็นสมัยทำบุญ
    • เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
    ผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๔
    </CENTER>
    ที่มา
    ________________________________


    <CENTER>๕. อนุกัมปกสูตร</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>
    </CENTER>[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ยังคฤหัสถ์ให้สมาทานในอธิศีล ๑
    • ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ ๑
    • เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ป่วยแล้ว ย่อมให้สติว่าท่านทั้งหลายจงตั้งสติให้ตรงต่อพระรัตนตรัย ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ย่อมเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุหมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญเป็นสมัยทำบุญ ๑
    • ย่อมฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์ถวาย จะเลวหรือประณีตก็ตามด้วยตนเอง ๑
    • ไม่ยังศรัทธาไทยให้เสียไป ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ฯ




    <CENTER>จบสูตรที่ ๕
    </CENTER>
    ที่มา
    ________________________________


    <CENTER>๖. ยถาภตอวรรณสูตร</CENTER><CENTER></CENTER>[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส ๑
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
    • ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
    • ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๖
    </CENTER>ที่มา
    ________________________________

    ๗. ยถาภตเคธสูตร

    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
    • ผู้ตระหนี่อาวาส หวงแหนอาวาส ๑
    • เป็นผู้ตระหนี่สกุลหวงแหนสกุล ๑
    • ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    ถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
    • เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส ไม่หวงแหนอาวาส ๑
    • เป็นผู้ไม่ตระหนี่สกุล ไม่หวงแหนสกุล ๑
    • ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๗
    </CENTER>ที่มา
    ________________________________




    <CENTER>๘. ยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๑ </CENTER><CENTER>


    </CENTER>[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
    • ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้ว กล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
    • ผู้ตระหนี่อาวาส
    • ตระหนี่สกุล
    • ตระหนี่ลาภ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ฯ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
    • ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
    • ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
    • ไม่ตระหนี่สกุล ๑
    • ไม่ตระหนี่ลาภ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๘
    </CENTER>ที่มา

    ________________________________

    ๙. ยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๒


    <CENTER></CENTER>[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
    • ตระหนี่สกุล
    • ตระหนี่ลาภ
    • ตระหนี่วรรณะ
    • ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
    • ไม่ตระหนี่สกุล
    • ไม่ตระหนี่ลาภ
    • ไม่ตระหนี่วรรณะ
    • ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ฯ

    จบสูตรที่ ๙

    ที่มา
    ________________________________


    <CENTER>๑๐. ยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๓</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
    • ตระหนี่สกุล
    • ตระหนี่ลาภ
    • ตระหนี่วรรณะ
    • ตระหนี่ธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    เหมือนถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    • ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
    • ไม่ตระหนี่สกุล
    • ไม่ตระหนี่ลาภ
    • ไม่ตระหนี่วรรณะ
    • ไม่ตระหนี่ธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER><CENTER>จบอาวาสิกวรรคที่ ๔</CENTER><CENTER></CENTER>


    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...