//// เจริญอานาปานสติแล้วจะมีผลอย่างไร ////

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xeforce, 13 พฤษภาคม 2014.

  1. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    ********************


    เจริญอานาปานสติแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
    การเจริญ "อานาปานสติ" เป็น การเจริญ " สติปัฏฐาน" เป็นไปได้ทั้ง 4 หมวด ทั้ง กาย เวทนา จิต และธรรม
    หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องจะทำให้ มรรคมีองค์ 8 บริบูรณ์
    หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องจะทำให้ โพชฌงค์ 7 (องค์แห่งการตรัสรู้) ถึงความเต็มรอบ
    หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องจะทำให้ เกิดอินทรียสังวรขึ้น
    และ อินทรียสังวร นั้นทำให้เกิด การสำรวม กาย วาจา รวมไปถึงใจด้วย ทำให้ศีลบริบูรณ์
    เมื่อศีลบริบูรณ์ จึงทำให้ไม่ผู้ปฏิบัติ ไม่เดือดร้อน กาย ใจ เป็นส่วนไปเกื้อกูล สนับสนุน ให้จิต เป็นสมาธิได้ง่าย
    หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องแล้วเป็นทั้ง "สมถะ" และ "วิปัสสนา"



    ********************

    แสดงไปตามลำดับ ตามนี้ครับ

    การเตรียมกำลังใจ และการวางจิต
    1. ผู้ปฏิบัติพึงสำรวจตนเอง ถึงอินทรีย์ 5 และ พละ 5 ของตน คือ ดูกำลังใจของตน ที่จะเพียรเพื่อความ
    ความหลุดพ้นมีมากแค่ไหน ผู้ปฏิบัติพึงหวังว่า "เราปฏิบัติเพื่อละวาง เพื่อความพ้นทุกข์" ไม่ใช่เพื่อ สะสมบุญ
    บารมี เพื่อไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม โดยตั้งกำลังใจว่า "อานาปาสติที่เราเพียรนี้ เพื่อมรรคผลนิพพาน
    " และทำกำลังใจว่า "ไม่มีทางใดแม้ซักทางอย่างเช่นการวอนขอสิ่งศักดิ์จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง นอกจากหนทางนี้
    คือ มรรคมีองค์ 8 ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว" ถ้ากำลังใจของนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ สังโยชน์ในข้อ "สีลัพพตปรามาส"
    นั้นได้ถูกละลงได้ชั่วคราว

    2. ผู้เริ่มปฏิบัติ ตั้งกำลังใจมั่นไว้ว่า
    "จะปฏิบติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการทำอานาปนสตินี้" และมั่นใจเลยว่า
    "การหมั่นเอาสติมารู้ที่ลมนี้" (อานาปานสติ) จะทำให้ถึงพระนิพพานได้จริง... ปักความเชื่อใจลงในคำสอนของ
    "พระพุทธเจ้า"ทิ้งความสงสัยไปก่อน " ถ้ากำลังใจของนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ สังโยชน์ในข้อ "วิจิกิจฉา"
    นั้นได้ถูกละลงได้ชั่วคราว


    การทำกำลังใจตาม 2 ข้อนี้ จะทำให้ อินทรีย์ 5 และ พละ5 ของผู้นั้นมีกำลังมากตามไปด้วย ในข้อของ ศรัทธา
    และความเพียรนี่คือจิตที่เป็นไปพร้อมเพื่อจะทำให้เกิดขึ้นของมรรคจิต โดยมุ่งที่ขั้นต้นคือ การบรรลุธรรมขั้น
    "พระโสดาบัน" ละสังโยชน์ 3 ข้อ เบื้องต่ำ.. ที่เป็นเครื่องผูก เครื่องร้อยรัดจิต ให้ติดอยู่ในสังสารวัฏ ...
    ซึ่งหนึ่งข้อที่เหลือ คือ "สักกายทิฐิ" จะถูกละอย่างถาวรก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติเจริญ "อานาปานสติ" จนเห็นความไม่เที่ยง
    ว่างจากตัวตน ที่มีสภาพเป็นอย่างนี้อยู่ตามธรรมชาติแล้ว แต่เพราะความไม่รู้(อวิชชา) ปิดปังสภาวะความเป็นจริงนี้..
    ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าไปเห็นแจ้งในส่วนนี้ ผลคือ ความเห็น ที่คิดว่าเป็นเรา เป็นของเรา จะขาดลง "สักกายทิฐิ" จะถูกละไปถาวร
    และมีผลให้สังโยชน์อีก 2 ข้อข้างต้น ถูกละให้ขาดไปถาวร คือ "สีลัพพตปรามาส" และ "วิจิกิจฉา"... คราวนี้สิ่งที่
    นักปฏิบัติต้องทำ คือ ข้อของ "ละสักกายทิฐิ" จะเห็นสภาพไตรลักษณ์ได้อย่างไร?... คำตอบทั้งหมดอยู่ในกระทู้นี้แล้ว
    ดังนี้ครับ


    ********************

    " อานาปานสติ "

    ก่อนปฏิบัติต้องทำกำลังใจ ให้ในวันๆหนึ่ง ให้มีสติกลับมาระลึกรู้ที่ลมหายใจให้ได้มากที่สุด นำการระลึกถึงลมสอดแทรกไป
    ทุกกิจกรรมในชีวิต ที่พอทำได้ ให้มากที่สุด... โดยความคิดเหล่านี้ คือมรรคในข้อ "สัมมาสังกัปปะ" คือความดำริออก
    จากกาม ไม่พยาบาท เบียดเบียน... เมื่อผู้ปฏิบัติมีความคิดที่จะเจริญสติขึ้น มรรคข้อนี้บริบูรณ์ เพราะเมื่อมีสติ ความพอใจ
    ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(กาม) ขณะจิตที่มีสตินั้น ย่อมขาดลง ความคิดที่อาฆาตพยาบาท ก็ถูกสติ ทำให้ขาดลงเช่นกัน...
    ความคิดของผู้ปฏิบัติจะเจริญอานาปานสตินั้น คือการเจริญมรรคข้อ "สัมมาสังกัปปะ"

    หมายเหตุ
    ***ผู้ปฏิบัติที่ศึกษา "อานาปานสติ" พึงสังเกตุคำพระพุทธเจ้า "ทุกคำ" ว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายทุกคำ โดยไม่เว้นแม้แต่คำเดียว***


    ภาคปฏิบัต
    เริ่มต้น ผมจะไม่ลงรายละเอียดถึงขั้นตอนปฏิบัติมากนัก ในข้อนี้ผมจะแสดงเพียงข้อหลักๆ ผู้ปฏิบัติต้องหาสมดุลแห่งธรรม
    ว่าจะเร่งรัด หรือผ่อน ในเวลาใด ผมจะเพียงชี้ให้เห็น "ความอัศจรรย์ของอานาปานสติ ที่พระพุทธองค์ทรงบอกสอนไว้"
    ว่าน่าอัศจรรย์เพียงใด ที่เป็นเหตุเป็นผล เกื้อกูล สนับสนุนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยทั้งหมด


    1. ผู้ปฏิบัติกระทำตามพระพุทธเจ้า ดังนี้
    " มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก "


    การปฏิบัติ คือ.............
    ผู้ปฏิบัติหมั่นคอยมีสติมาระลึกที่ลมหายใจที่เข้า - ออก ทำเพียงแค่เท่านี้แต่...

    สิ่งที่เกิดขณะนั้น คือ.............
    เมื่อมีสติระลึกลมหายใจ คือ "การเจริญสติ" จะเกิด"อินทรียสังวร"ขึ้น จิตไม่แส่ส่าย เป็นเครื่องปิดกั้น "อกุศล" เป็นเหตุทำให้เกิดศีล
    และศีล เป็นเหตุให้ มรรคในข้อ "สัมมาวาจา" "สัมมากัมมันตะ" และ "สัมมาอาชีวะ" ถึงความบริบูรณ์ไปด้วย
    เมื่อเพียรปฏิบัติ"อานาปานสติ" มรรคในข้อ "สัมมาวายะมะ" ถึงความบริบูรณ์ไปด้วย ดังนี้
    ผู้ปฏิบัติที่เพียรปฏิบัติ "อานาปานติ"
    จะเกิดสภาวะ คือ เพียรเอาสติที่อยู่กับลมหายใจ เท่ากับ
    เราประคองจิตไว้(รู้ลม) เพื่อไม่ให้อกุศลเกิด
    เราประคองจิตไว้(รู้ลม) เพื่อละอกุศลที่เกิด
    เราประคองจิตไว้(รู้ลม) เพื่อให้กุศลเกิดขึ้น
    **ประคองจิตไว้ (ความตั้งใจเพียรในการรู้ลม)

    อีกทั้ง "สติสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบจาก การเจริญ "อานาปานสติ" โดยเอาสติมารู้ที่ลมหายใจนี้
    อีกทั้งเป็น "กายคตาสติ" ด้วย
    ซึ่งการทำ" อานาปานสติ "ในขั้นนี้เป็น "สมถะ" ที่เกิดจากเอาสติที่เกาะอยู่ที่ลมหายใจให้เป็นเครื่องอยู่
    เป็น "วิหารธรรม"

    ***
    **

    ในขั้นแรกนี้ เป็นเพียงสติที่อยู่กับลมหายใจ ... จนสติเกิดบ่อยขึ้นถี่ขึ้น และจดจ่อกับลมได้นานขึ้น
    แต่จิตที่มักจะไหลไปรวมกับลมหายใจ จึงต้องยกขึ้น "อานาปานสติ" อีกขั้นหนึ่ง ดังนี้

    ********************


    2. ผู้ปฏิบัติกระทำตามพระพุทธเจ้า ดังนี้

    "เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น"



    การปฏิบัติ คือ.............
    เมื่อผู้ปฏิบัติมีเครื่องอยู่ให้จิตได้เกาะ โดยเอาสติมารู้อยู่ที่ลมหายใจ เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นว่า การเจริญสติอย่างนี้
    เห็นว่ามีความตั้งมั่นที่เพียงพอ โดยอาศัยความค้นหาสมดุลในตนเอง ยกขึ้นอีกขั้น โดยการ สังเกตุถึงลมหายใจ
    ที่ไหลเข้า -ไหลออกนั้น สั้น หรือ ยาว ด้วยการเอาสติเข้าไปรู้ชัดซึ่งอาการ ที่สั้น-ยาว แตกต่างกันไป
    ทำเพียงแค่เท่านี้แต่


    สิ่งที่เกิดขณะนั้น คือ.............
    การที่มีสติรู้ที่ลมหายนั้น เมื่อ พิจารณาว่า ลมหายใจนั้น "สั้น" หรือ "ยาว" มรรคในข้อ "สัมมาสติ" ถึงความบริบูรณ์
    และเป็นการเจริญ สติปัฏฐาน ทั้ง 4 หมวด คือ

    กาย(บางส่วน)
    ***การพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก ว่า สั้นหรือยาว นั้นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดกาย" "เป็นผู้มีปกติพิจารณา
    เห็นกายในกายอยู่"

    เวทนา(บางส่วน)
    ***ในบางขณะที่ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น "เกิดมีความสุข" ขึ้นในจิต ระหว่างนั้น ผู้ปฏิบัติมีสติ
    รู้ว่ามี "สุข"เกิดขึ้น นั่นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดเวทนา" "เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า หายใจออก"

    จิต(บางส่วน)
    ***ในบางขณะที่ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น "เกิดความตั้งมั่นใน" ในจิต ระหว่างนั้น ผู้ปฏิบัติม
    ีสติรู้ว่า "เราเป็นผู้ทำให้จิตเกิดความตั้งมั่น" ขึ้น นั่นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดจิต" "เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น
    จิตในจิตอยู่"

    ธรรม(บางส่วน)
    ***ในบางขณะที่ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น "เห็นความไม่เที่ยง แปรปวน แล้วความดับไป "
    ผู้ปฏิบัติมีสติเห็น "ธรรมชาติของกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ปวนแปร และดับลง" นั่นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดธรรม"
    จนถึงธรรมในขั้นสุดท้ายของสติปัฏฐาน คือ "เห็นความสลัดคืน" (จิตหลุดพ้น)


    ในขณะที่ผู้ปฏิบัติ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น มีผู้รู้หนึ่ง เห็นสภาวะทั้งหลายในข้างต้นเหล่านี้ นั่นคือ
    การเจริญสติปัฏฐานในหมวดต่างๆสลับกันไปเรื่อยๆขึ้นอยู่กับว่าจิตเข้าไป เห็นอะไร และการเจริญอยู่อย่างนี้ คือ
    "การเจริญวิปัสนา" แท้ๆ ที่ปราศจากการคิดแต่เป็นการ "เห็น" สภาวะต่างๆในสติปัฏฐานทั้ง 4


    การที่เรามี"วิหารธรรม
    " อยู่ที่ ลมหายใจ แล้วพิจารณาถึงอาการเข้า-ออก อยู่นั้น ชื่อว่าได้เป็นการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมอยู่
    "ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ

    และเมื่อเพียรรู้ลมหายใจเข้า-ออก ว่า สั้นหรือยาว อยู่นั้น "วิริยสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
    เมื่อเกิดความเพียรอยู่นั้น ปิติที่ไม่อิงอามิส ก็เกิดขึ้น "ปีติสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
    เมื่อเกิดปิติ มีผลให้ กายและจิตก็สงบระงับลง ความสุขก็เกิดขึ้น "ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
    กายที่สงบระงับ มีสุขอยู่จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ "สมาธิสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
    เมื่อจิตตั้งมั่น เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งความตั่งมั่นนั้น ก็เกิดความเป็นกลาง "อุเบกขาสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
    โพชฌงค์ทั้ง7 ก็ถึงความเต็มรอบเพราะเจริญ "อานาปานสติ" นี้


    **********

    และมรรคในข้อ "สัมมาสมาธิ" ก็ถึงความบริบูรณ์พร้อม. ด้วยการเจริญสัมมาสติ อย่างต่อเนื่อง

    จิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง อยู่นั้น เข้าไปเห็น สภาพตามธรรมชาติ ที่แปรปวนเกิด-ดับ บังคับไม่ได้อยู่นั้น ขึ้นชื่อว่า "รู้ทุกข์"
    รู้ลมหายใจอยู่นั้น เห็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด เวทนา >ตัณหา>แล้วไปสร้างอุปาทาน "รู้เหตุให้เกิดทุกข์"
    แต่ละขณะที่อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นแล้ว สติอยู่ที่ลมหายใจ.. อารมณ์ที่พอใจไม่พอใจ ขาดลง เห็นการดับลง(ยังไม่ใช่นิโรธ
    ดับสนิท)เป็นขณะ เห็นถึงความดับของของตัณหา "รู้ความดับไปของทุกข์"
    รู้ว่า การดับของตัณหา (ความทะยานอยาก) ทำอย่างไร คือ "รู้ทางดับทุกข์"
    จึงกลับไปในข้อที่หนึ่งของมรรค คือ "สัมมาทิฐิ" ก็ถึงความบริบูรณ์พร้อม

    มรรคมีองค์ 8 จึงถึงความบริบูรณพร้อม เช่นเดียว กับ โพชฌงค์ 7 และ สติปัฏฐาน4 ด้วยการเจริญ "อานาปานสติ"
    ทุกครั้งที่กลับมารู้ที่ลมหายใจนั้น อาหารของวิญญานได้ดับลง อ่อนกำลังลง ละความเพลินในอารมณ์ เมื่อความเพลินถูกละ
    เวทนา ตัณหา ก็ไม่เกิด เพราะถูกสติตัดไปตั้งแต่เราเอาสติไปรู้ที่ลม เมื่อตัณหาไม่เกิด อุปทานความยึด ของใหม่ก็ไม่เกิด
    ของเก่าก็ถูกลดกำลัง ภพของจิตซึ่งนำไปสู่ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ... ก็ไม่เกิดขึ้น .... อนุสัยอันนอนเนื่องอยู่ก็ถูกถอดถอน
    ออกด้วยแม้ "เจริญอานาปานสติ" ใช้เวลาแค่เพียงลัดนิ้วมือ ดังคำพระพุทธองค์ อานิสงค์มากมายนัก ผมเองไม่อาจพรรณา
    ได้หมดแต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย มีมรรคผลนิพพาน เป็น"แก่นสาร" เป็น"จุดหมาย" อานาปานสตินี้ก็เป็นมรรควิธีหนึ่งที่ น่าจะลอง
    นำไปปฏิบัติอีกมรรควิธีนึง


    ********************

    สรุปการปฏิบัติอย่างนี้
    ผู้ปฏิบัติอานาปานสติ มีความเพียรอยู่อย่างน
    1.เพียรเอาสติมาระลึกอยู่ที่ลมหายใจเข้า - ออก
    2.เมื่อสติชัดขึ้น บ่อยขึ้น พิจารณาว่า ลมหายใจเข้า - ออก นั้น สั้นหรือยาว
    3.ขณะรู้ที่ลมหายใจเข้า - ออกนั้น ว่ายาวหรือสั้น มีสภาวะใดแทรกมาที่จิต รู้ กาย ,เวทนา, จิต ,หรือธรรม อ่าน
    รายละเอียดในเกี่ยวกับ สติปัฏฐานในพระสูตร ... กลับมาอยู่ในวิหารธรรม คือลมหายใจ **ข้อนี้ระวัง รู้แล้วต้องละ
    สภาวะทั้งกาย ,เวทนา, จิต ,หรือธรรม จะไม่เข้าไปคิดแทรกแซง ไม่เข้าไปอยู่ในสิ่งนั้น เสี่ยงต่อการเข้าไปผูกติดกับ
    อารมณ์นั้น จิตจะไม่ตั้งมั่น

    *** หมายเหตุ สิ่งสำคัญ คือ "จิตตั้งมั่นเป็นกลาง" และจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางนี้ จะเข้าไปเห็น "สภาพทุกข์"
    เห็นไตรลักษณ์ จนปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นกลาง ก็จะเห็นเพียงสภาพ ของการเกิด-ดับตามธรรมชาติเท่านั้น ***


    การรู้ที่ลมหายใจเข้า - ออก ว่ายาวหรือสั้นนั้น จิตจะไม่ไหลไปรวมกับลม จนตั้งมั่นเป็นกลาง เป็นขณะๆอยู่นั้น
    เห็นสภาพธรรม (ไม่ใช่คิด) แต่เป็นการเห็น การเกิด-ดับ เป็นของไม่เที่ยง บับคับไม่ได้ จะเห็นถึง "ความว่างจากตัวตน"
    ไม่มีเราอยู่ตรงไหน... สังโยชน์ในข้อ "สักกายทิฐิ" จะถูกละไปถาวร ความเห็นที่คิดว่า เป็นเรา เป็นของเรา ขาดลงด้วยการ
    เห็นไตรลักษณ์ รวมถึง ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยจะถูกละไปถาวร เพราะการเห็นแจ้ง สังโยชน์ในข้อ "วิจิกิจฉา"
    และ "สีลัพพตปรามาส" จึงถูกละไปขาด ดังนี้


    ธรรมะที่พระพุทธองค์แสดง บัญญัติ นั้นแสดงให้เห็นแล้วว่า สอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ไม่มีส่วนไหนขัดแย้งกัน
    สมบูรณ์ในทุกคำ ทุกประโยค เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์นัก.. ผู้ปฏิบัติจะพิสูจน์คำสอนของพระพุทธองค์ได้นั้น ก็มีทางเดียว
    คือการเพียรปฏิบัติ ก็จะเป็นพยานในคำสอนของพระพุทธองค์ได้ด้วยตัวท่านเอง

    *****************


    เกิดมาชาตินี้เราๆท่าน ล้วนโชคดี ที่ได้อัตภาพ ความเป็น "มนุษย์" และเป็นช่วงที่คำสอนของ "พระพุทธเจ้า" แผ่หลาย
    รุ่งเรืองไปในโลก จะหาธรรมคำสอนสักบทหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยาก แต่คำสอนที่รุ่งเรืองไปในโลกนี้ น้อยคนนักจะน้อมนำไป
    ปฏิบัติ พาตัวเองให้พ้นจากทุกข์ ... โอกาสชาตินี้อาจจะดีที่สุด ในระยะเวลาที่เราเวียนว่ายตายเกิดมานานนับชาติไม่ถ้วน
    ได้พบคำสอนของพระพุทธเจ้า ง่ายเพียง คลิ๊กเดียว... ถ้าย้อนไปสมัยก่อน กว่าจะได้ยินได้ฟังธรรมะซักบท ที่เป็นไปเพื่อ
    ความพ้นทุกข์ ต้องลำบากลำบน ทั้งกายและใจ เดินไปหาสัตบุรษ เพื่อได้ยินได้ฟังธรรมกัน... เป็นความลำบากอย่างยิ่ง
    ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น หาอ่าน หาฟังง่ายในยุคเรา แต่ยังขาดคนเอาจริง ... จะรออะไรอยู่ ลมหายใจมีอยู่กับเราตลอด
    ผู้นักปฏิบัติทั้งหลายอย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไป เวลาที่เหลือในอัตภาพ "มนุษย์" นี้ แต่ละคนเหลือไม่เท่ากัน บ้างเหลือสิบปีบ้าง
    ยี่สิบปีบ้าง ... แต่ไม่เกิดกว่าร้อยปี ร่างกายนี้ก็ถึงการแตกสลายไป.. โอกาสอย่างนี้ไม่รู้ว่าจะมีมาอีกเมื่อไหร่ ยังต้องเกิด-ตาย
    ไปอีกซักกี่แสนชาติ.... ต้องเวียนไปใน " นรก เปรต เดรัจฉาน" วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบ แล้วไม่รู้ว่าจะเจอคำสอนของ
    พระพุทธเจ้า ที่เป็นทางแห่งสังสารวัฏ ที่น่าเบื่อหน่าย นี้อีกนาาาาน....ซักแค่ไหน


    สรุปทั้งหมดไม่เป็นเรื่อง "เกินวิสัย" คนธรรมดา อยู่ครองเรือนอย่างเราจะทำได้ อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ ทำถูกหรือไม่
    ลมหายใจเรามีกันอยู่ทุกคน ปล่อยทิ้งปล่อยขว้างมานานแล้ว ต่อจากนี้เรามาทำ "ลมหายใจต่อจากนี้" ให้มีความหมาย
    เป็นเครื่องอยู่ เป็นปัจจัยให้พ้นจากทุกข์ในปัจจุบัน และพ้นทุกข์ไปอย่างถาวร ด้วยการเจริญ "อานาปานสติ" ตามคำ
    สอนของพระพุทธเจ้านี้..... เราท่านสามารถเริ่ม"การรู้ลมหายใจ"ได้ตั้งแต่ วินาทีที่อ่านกระทู้จบนี้เลย



    *************************
    พระสูตรที่อ้างอิง
    ลิงก์ เชิญน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปปฏิบัติกัน
     
  2. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ถ้าพระพุทธเจ้าสอน ท่านสอนให้ รู้ลมหายใจออก ก่อนแล้วจึงรู้ลมหายใจเข้าครับ
     
  3. มังกรไผ่

    มังกรไผ่ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2014
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่เผลอ...ในความไม่ประมาท
     
  4. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    "อานาปานสติ" และ "ทางพ้นทุกข์"

    Q : ธรรมะ จะทำให้คนพ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่ และจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?

    A : ปฏิบัติตามคำสอนของ พระพุทธเจ้า เดินตามมรรคมีองค์8 ซึ่งเป็นทางอันประเสริฐ 8 ประการ
    ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการปฏิบัติแนวทาง อานาปานสติ ตั้งแต่ต้น โดยคร่าวๆให้พอได้เป็นทางในการ
    ปฏิบัติ ค่อยๆอ่านนะครับ อาจจะยาวซักหน่อย ต้องขออภัยด้วย...


    ...................................................

    สมมุติขึ้นว่า

    ชายหนุ่มผู้โชคดี
    ชายหนุ่มคนหนึ่ง หลังจากที่ออกจากงานประจำของเขาแล้ว ได้มีความคิดจะเปิดบริษัทฯ
    เป็นของตนเอง ด้วยความสามารถ และมุ่งมั่น บวกกับโอกาสที่ดี เขาได้เปิดบริษัทฯ
    สมกับที่ตนเองตั้งใจ โดยการได้รับการสนับสนุนการเงินจากผู้ใหญ่ที่รู้จัก เขาเปิดบริษัทฯ
    ด้วยความมั่นใจในตนเองว่า บริษัทฯที่เขาก่อตั้งนี้ จะทำให้เขาร่ำรวย และเป็นที่ยอมรับ
    ของคนรอบข้าง คิดว่าอย่างไรตัวเขาเองก็ไม่มีทางตกต่ำอีกแล้ว ชีวิตจะต้องมีแต่ความสุข
    เพียงอย่างเดียว


    ล้มลง
    หลังจากเปิดบริษัทฯ เขาทำธุรกิจ ได้เจอกับปัญหามากมาย โดนโกงบ้าง ทำงานไม่ได้เงินบ้าง
    เงินทุนที่มีอยู่ก็เริ่มหมด เขาหวังต่อลมหายใจด้วย การกู้เงินจากธนาคาร แต่การกู้ครั้งนั้น
    ไม่ผ่าน.... บริษัทฯ ที่เขาก่อตั้งมากับมือ ก็ต้องปิดตัวลง พร้อมกับเงินที่หมด ตามมาด้วย
    หมายศาลคดีเกี่ยวกับหนี้ และ เรื่องภาษี รถที่เขาใช้ ก็ถูกตามยึด ปัญหาต่างๆ เข้ามารุมเร้า
    ตัวเขาอย่างมากมาย


    ทุกข์เจียนตาย
    ชายหนุ่มจากที่เขาเคยคิดว่า ตนเองโชคดีที่สุด วันนี้ไม่ใช่อีกแล้ว ไม่อยากลุกจากที่นอน
    ไม่อยากรับโทรศัพท์ มันเหมือนคนที่เหือดแห้งไปหมด ไม่คิดว่าชีวิตคนๆหนึ่ง จะทุกข์
    ได้มากมายขนาดนี้


    ทางพ้นทุกข์
    ชายหนุ่มหมดแล้วทุกอย่าง ไม่เหลือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ทำงาน ต้องขายเพื่อใช้หนี้
    ชายหนุ่มคิดขึ้นมาได้ในใจ ถึงสิ่งที่ตนเคยศึกษา เคยสนใจ คือ พระพุทธศาสนา การทำสมาธิ
    เขากำเงินติดตัวไป 15 บาท หวังจะเข้าร้านอินเตอร์เน็ต ไปฟังธรรม เผื่อจะหายทุกข์ไปได้
    เขาเปิดเข้าไปดูใน Youtube พิมพ์คำว่า " ทุกข์ " ไปที่หัวข้อ " ความจริงไม่มีใครทุกข์ "
    เขาฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็พอรู้แล้วว่า " พระพุทธศาสนา " อาจจะพาเขาพ้นจากทุกข์ได้
    เขาเปิด Youtube ต่อไปพบกับ " พุทธวจน " ได้ฟังคำแนะนำถึง " อานาปนสติ " เขาคิดในใจ
    ว่า เขาจะลองปฏิบัติตาม"พระพุทธเจ้า"ดู ด้วยการปฏิบัติอานาปานสติ นี้



    การปฏิบัติของเขา เป็นอย่างนี้

    ชายหนุ่มคนนั้น ปฏิบัติด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และคิดว่าวิธีนี้ จะพาตน
    พ้นจากความทุกข์ที่หนักหนาครั้งนี้ได้ แต่ก็ไม่รู้ว่า การที่ตนระลึกรู้ที่ลม อยู่อย่างนี้
    จะทำให้พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร เขาปฏิบัติไปโดยคิดเพียงว่า พระพุทธเจ้า สรรเสริญว่า
    ทำอย่างนี้เป็นสิ่งดี เค้าจะทำแค่นี้ ไม่ได้หวังมรรคผลอะไร เขาเป็นผู้มีศีลเป็นปกติ ไม่คิด
    เบียดเบียนผู้อื่น เขาจะเอาตัวรอดจากทุกข์ได้อย่างไร อธิบายดังนี้


    ........
    .....
    ...

    ภาคปฏิบัติ

    ยกที่ 1 (อึดอัด)
    ในการรู้สึกที่ลมของชายหนุ่มนั้น จำ อานาปานสติ มาหนึ่งท่อน จาก " พุทธวจน " ดังนี้
    " เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า "

    วันแรกของการปฏิบัติ ชายหนุ่ม ตั้งใจว่าทำทั้งวัน มีสติเมื่อไหร่ กลับมารู้สึกที่ ลมหายใจนี้
    คอยถามตัวเองเสมอว่า ตอนนี้หายใจ " เข้า " หรือ " ออก " ในตอนแรก สติที่มาระลึกได้
    ยังน้อย ทำให้ความคิดยังหลงไปกับการใช้ชีวิตประจำวันอยู่เกือบทั้งวัน กลับมารู้ลมได้ไม่กี่ครั้ง
    พอมีสติมารู้ได้ไม่กี่ครั้ง สติก็กระโดดไปเรื่องอื่น แต่ด้วยความที่ตั้งใจจะเอาจริงในการปฏิบัติ
    " อานาปานสติ " ก็ทำชายหนุ่มให้มีความเพียร แล้วก็กลับมารู้ที่ลมบ่อยขึ้น แต่จริตเขาที่เคย
    บริกรรมว่า พุท-โธ อยู่นั้น ใจมันอยากไป บริกรรม พุท-โธ เพราะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกับจิต แต่เขา
    ก็ต้องฝืนกลับมารู้สึกที่ลม โดยไม่ได้บริกรรมว่า พุท-โธ

    ชายหนุ่มพยายามทำความรู้สึกที่ลมนั้นว่า " มันเข้า หรือออก " ... หากลมเข้า ก็ทำความรู้สึก
    ถึงลมที่กำลังเข้า.... ช่วงแรกของการรู้ลม รู้สึกอึดอัดมาก เป็นเพราะการบังคับลมหายใจ
    ให้เข้า - ให้ออก คือ ไม่ได้เป็นสติที่แท้จริง ยังมีการเจตนาไปเพ่ง ผลที่ได้ ก็คือ รู้สึกอึดอัด
    แน่นหน้าอก ทุกครั้งที่มีสติมาระลึกที่ลมหายใจ

    แต่เมื่อปฏิบัติไปจะทราบเองว่าจะวางจิตแค่ไหนจะเหมาะกับตนเอง แต่เมื่อชายหนุ่มมีความเพียร
    ทดลองวางจิตแค่ไหนว่าพอดี (การค้นหาสมดุลแห่งธรรม) เขาจะรู้ได้เอง และเห็นสมดุลแห่งธรรม
    ของตนเอง... เมื่อชายหนุ่ม พบจุดที่เป็นสมดุลในการระลึกลมหายใจ

    ต่อมาสติก็กลับมารู้ที่ลมนี้บ่อยขึ้น ช่วงที่ชายหนุ่ม ทำช่วงแรก สติยังพร่าเลือน ไม่ชัดนัก ไม่ค่อยรู้สึก
    " อาการของลมที่เข้าหรือออก "
    เขาใส่คำให้กิริยาของลมที่เข้า ว่า " เข้า " แล้วทำความรู้สึกที่ข้างใน ถึงอาการอย่างนั้นเอา
    ส่วนกิริยาของลมที่ออก ว่า " ออก " แล้วทำความรู้สึกที่ข้างใน ถึงอาการอย่างนั้นเอา

    ชายหนุ่มปฏิบัติอย่างนี้ตลอดทั้งวัน เมื่อว่างจากการทำงาน หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด จะพยายาม
    มีสติจะกลับมาที่ลมหายใจนี้เสมอ

    การปฏิบัติของเขาช่วงแรกนี้ ยังไม่เห็นความคิดที่ผุดขึ้นเนื่องจากจิตยัง พะวงอยู่กับการรู้ลม และสติ
    ยังไม่มากพอ... แม้ชายหนุ่มเพิ่งเริ่มปฏิบัติ อานาปานสติ อยู่อย่างนี้ มรรคมีองค์ 8 ก็บริบูรณ์ ได้ด้วย
    เช่นกันดังนี้

    มรรคองค์ที่ 2 ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) ความตั้งใจ จะละทิ้งความคิดในทางกาม ( รูป รส กลิ่น
    เสียง สัมผัส ) พยาบาทเบียดเบียน เพราะการตั้งใจที่จะระลึกแค่ที่ลมหายใจนี้เท่านั้น

    มรรคองค์ที่ 6 ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความพยายามระลึกที่ลมนี้ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ
    ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ( ระลึกถึงลม )ทั้งหลาย
    ที่ยังไม่ได้บังเกิด..... ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความ
    ไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ( ความคิดอกุศล) ที่ยังไม่ได้บังเกิด

    .............................................



    ยกที่ 2 (ปล่อยคำบริกรรม)
    วันต่อมาด้วยความตั้งใจจริงในการปฏิบัติ ตื่นขึ้นมาตอนเช้า ชายหนุ่มลุกจากที่นอนด้วยสติที่เตือน
    ให้มารู้ที่ลมหายใจเลย รู้ได้ซักพัก สติก็หลุดไป กับการทำกิจวัตรประจำวัน... ระหว่างวันนั้น
    เมื่อเห็นว่าสติชัดขึ้น บ่อยขึ้น โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม พยุงมากนัก ก็เริ่มปล่อย คำว่า "เข้า ออก"
    ที่เขาใช้ช่วยในตอนแรก... โดย ทำความรู้สึกที่ลมเข้า " แล้วรู้สึกถึงว่าตอนนี้ลมเข้า "
    ทำความรู้สึกที่ลมออก " แล้วรู้สึกถึงว่าตอนนี้ลมออก " ช่วงที่ปล่อยคำบริกรรม ต้องพยายามพยุงจิต
    แต่เมื่อสติ แข็งแรงขึ้น ก็ไม่ต้องคอยพยุง.. มันจะง่ายขึ้น สบายขึ้น

    ตรงนี้เขาเริ่มมีสติชัดขัด แล้วระลึกถึงลมได้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ จึงดู
    อานาปานสติในขั้นต่อไป

    .............................................



    ยกที่ 3 (ยาวก็รู้สั้นก็รู้)
    เมื่อสติชัดขึ้น ถี่ขึ้น พอจะรู้ทั่วถึง จะเห็นช่องว่างของสติ... ยกตัวอย่าง รู้สึก ที่ลมเข้า-ออกแล้วมัน
    เหลือช่องว่าง ซึ่งตอนแรกของการปฏิบัติ สติตามระลึกแทบไม่ทัน แต่ตอนนี้มันทันจนเหลือ
    ตอนนี้ชายหนุ่ม จึงยกจิตขึ้นอานาปานสติอีกขั้น ขั้นนี้ผู้ปฏิบัติ จะรู้เองว่า " พร้อมเมื่อไหร่ "

    ขั้นนี้ เมื่อเขาหายใจ " เข้า-ออก " ก็สังเกตุว่ามัน สั้นหรือยาว โดยชายหนุ่ม ยึดเอาว่า หายใจเข้าครั้งนี้
    มันสั้นหรือยาว กว่าครั้งที่แลัว ... (พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติอย่างนี้เพื่ออะไร? ก็เพื่อไม่ให้สติไหลไปรวม
    กับลมหายใจนั้นเอง) ช่วงแรกเขาต้องพยายามพยุงจิตตามเคย แต่เมื่อสติดีขึ้น ก็เห็นลมหายใจชัดขึ้น
    จิตที่จดดจ่ออยู่ที่ลมหาย จะได้สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ... เขาได้สังเกตุอย่างนี้ว่า การเจริญอานาปานสติ
    ในระหว่างวัน อายตนะตาที่เปิดอยู่นั้น เมื่อเรามีสติจดจ่อที่ลมหายใจ มีผลทำให้สมาธิและสติกล้าแข็ง
    มากกว่า ตอนที่นั่งทำสมาธิหลับตาเป็นชั่งโมงซะอีก

    ............................................



    ยกที่ 4 (ความคิดผุดขึ้น)
    ชายหนุ่มมีสติ มารู้ที่ลมหายใจชัด จิตจะตั้งมั่นเป็นขณะ... พอจิตตั้งมั่นแล้ว ก็จะเห็นความคิดที่ผุดขึ้น
    มาแทรกระหว่างการรู้สึกที่ลมหายใจ... พอกลับไปที่ลมหายใจ ความคิดก็แทรกอีก เขาเห็นอยู่อย่างนี้
    ช่วงเห็นความคิดผุดขึ้นช่วงแรก เขาจะรู้แค่ว่ามีความคิดเข้ามาแทรก... แต่เมื่อสติกล้าแข็งแล้วนั้น
    จะเห็นเป็นภาพขึ้นมาบ้าง เห็นว่าจิตคิดอะไรบ้าง จะเห็นเรื่องราวชัดเจน เรื่องราวที่ผุดขึ้นนั้น มันมีทั้ง
    เกี่ยวกับปัจจุบันบ้าง เรื่องในอดีตบ้าง เรื่องที่ไม่เคยเจอบ้าง บุคคลที่รู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง ผุดขึ้นมาแทรก
    อยู่ตลอด ชายหนุ่มนั้นเมื่อความคิดผุดขึ้นก็ละจากความคิดนั้น กลับมาที่ลม ไม่ไหล ไปในความคิด
    ไม่พิจารณาอะไร รู้ที่ลมหายใจปัจจุบันขณะ


    การปฏิบัติของเขาลำดับนี้ เริ่มเห็นการเกิด - ดับ ภายใน คือ ความคิด(สังขาร)เกิด , ความคิด(สังขาร)ดับ
    ลมหายใจ(รูป)เกิด , ลมหายใจ(รูป)ดับ..... (เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ) (เป็นผู้มี
    ปกติพิจารณา เห็นกายในกายอยู่)
    มรรคมีองค์ 8 ในองค์ 7 ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ก็บริบูรณ์ เมื่อสติจดจ่อตามระลึกอยู่ ก็เกิดเป็นสัมมา
    สมาธิ มรรคองค์ที่ 8 ก็บริบูรณ์
    ชายหนุ่มก่อนเขาเริ่มปฏิบัติอานาปานสติ เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว บวกกับขณะปฏิบัตินั้นตั้งใจที่จะ
    ถือศีล5 จึงทำให้มรรคองค์ที่ 3 วาจาชอบ (สัมมาวาจา) ซึ่งเป็นศีลข้อ 4... และมรรคองค์ที่ 4 การงานชอบ
    (สัมมากัมมันตะ) ซึ่งเป็นศีลข้อ 1 ,2 ,3 มรรคทั้งสององค์ก็บริบูรณ์.. ในมรรคองค์ที่ 5 อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
    ชายหนุ่มก็บริบูรณ์ด้วยเพราะไม่มีการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ จึงเป็นปัจจัยให้มรรคองค์ที่ 5 นี้บริบูรณ์ด้วย
    เมื่อชายหนุ่มเห็นภายในอยู่อย่างนี้ ก็เห็นถึงสภาพทุกข์ของขันธ์ในภายใน คือมีความดับ ความเปลี่ยนแปลง
    เป็นธรรมดา รู้ว่านี้เป็น "ทุกข์" เห็นว่านี้คือ "เหตุให้เกิดทุกข์" ทำให้เกิดสัมมาทิฐิที่ถูกต้อง ใน มรรคองค์ที่ 1
    สภาวะจิตที่พร้อม ควร แก่มรรคผล ก็เกิดด้วยการเจริญ อานาปานสติ จน มรรคมีองค์8 บริบูรณ์

    .............................................


    ยกที่ 5 (บังคับจิตให้รู้ลม)
    วันนั้นเองตอนเย็นชายหนุ่มนอนเล่นบนที่นอน แล้วก็คิดอย่างนี้ว่า จะลองบังคับไม่ให้จิต เคลื่อนไปไปไหน
    ให้รู้ที่ลมนี้อย่างเดียว พอตั้งใจอย่างนั้น ก็สู้เต็มที่... รู้ลมได้ซักพัก ความคิดเจ้ากรรมผุดขึ้นอีก พยายาม
    ดึงจิตไปที่ลมทันที.. พยายามทรงตัว.. ทรงสติไว้ที่ลม ... แต่ไม่ว่าจะพยายาม ซักแค่ไหนก็เห็นจิตตนเอง
    เคลื่อนไปถี่ขึ้นๆ จิตตั้งมั่น เห็นมันอย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก... จนจิตแจ้งในความเป็นอนิจจัง ที่มันบังคับไม่ได้..
    มันไม่มีตัวตน... มันเป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่มันกระทบ กันอยู่ภายใน ว่างจากความหมาย ทำงานไปเอง เมื่อมีเหตุ
    เมื่อเห็นถึงสภาพภายใน ที่เนื่องด้วยกฏไตรลักษณ์ ย้อนออกมาภายนอก เห็นถึงความไม่เที่ยงของทุกสรรพสิ่ง
    ชายหนุ่มคนนั้นก็เกิดปัญญา แจ้งขึ้นมา ถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มรรคผลเกิดขึ้นที่ตรงนี้ จะการที่มรรคมีองค์8
    บริบูรณ์พร้อมในขณะจิตที่เกิดมรรคผล


    เปรียบเหมือนชายคนๆหนึ่ง นั่งอยู่กลางแดดเวลาเที่ยง มองไปที่ก้อนน้ำแข็ง(ขันธ์5) อยู่บนพื้นกลางแจ้งโดย
    มั่นหมายให้ก้อนน้ำแข็ง(ขันธ์5)นั้น ต้องอยู่คงสภาพเดิม ต้องไม่เปลี่ยนแปลง... แต่เมื่อก้อนน้ำแข็งตั้งอยู่
    ได้ซักพักหนึ่ง ก็ละลายไป และที่สุดก็สลายไปไม่เหลืออะไรแม้แต่หยดน้ำ เหือดแห้งไปด้วย ชายคนนี้จับ
    ก้อนน้ำแข็งก้อนใหม่ขึ้นมาแล้วนั่งดูอยู่อย่างนั้น ก้อนแล้วก้อนเล่า... ก็เป็นของสลาย ไม่คงที่ซักก้อน....
    เมื่อชายคนนี้เห็นอยู่อย่างนี้เค้าควร จะมั่นหมาย ให้ก้อนน้ำแข็ง(ขันธ์5)ที่มันมีสภาพไม่เที่ยง ให้มันเที่ยงหรือไม่
    การเห็นอยู่อย่างนี้ ชายคนนี้ย่อมเห็นความจริง... ความจริง ที่ทำให้เบื่อหน่าย พ้นจากการยึดถือ ว่ามันเป็นของเที่ยงแท้ ถาวร


    ชายหนุ่มพ้นจากทุกข์
    ชายหนุ่มพ้นจากทุกข์ เพราะไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าของทุกอย่างจะถาวร จะเป็นที่ยึด ให้ตนเองได้...
    ของทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างใจ ไม่อยากให้บริษัทเจ๊ง ก็ทำไม่ได้ เขาทำได้แค่ปัจจัยภายนอกให้บริษัท
    คงอยู่ แต่ก็เพราะเหตุปัจจัยหนึ่ง อาศัยปัจจัยหนึ่ง ที่มีสภาพไม่เที่ยง ปัจจัยนั้นๆจะเที่ยงได้อย่างไร
    ชายหนุ่มละความเห็นว่า "มีตัวเรา" ลงได้ เพราะเห็นสภาวะภายในที่มันเกิดขึ้นเอง อยู่เหนือการควบคุม
    ถ้าเป็นของเรา เป็นตัวเรา ต้องบังคับได้ ต้องสั่งได้ ... สั่งให้รู้แค่ลมหายใจ ห้ามไม่ให้เกิดความคิด
    ก็ไม่ได้ ห้ามไม่ให้จิตคิดชั่วก็ไม่ได้ ให้จิตคิดแต่สิ่งดีๆก็ไม่ได้... เมื่อเกิดปัญญา เกิดมรรคผลแล้ว
    ชายหนุ่มกลับมาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าปัจจัยภายนอกจะเปลี่ยนแปลงซักเท่าไหร่ เรื่องที่เกิดขึ้น
    ก็มีธรรมดาต้องดับลง ก็ไม่อาจพาใจเขาให้ได้ทุกข์ ธรรมะของพระพุทธองค์ ทำให้ ชายหนุ่มคนนี้
    พ้นจากความทุกข์ได้ พระพุทธศาสนา และคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่แค่ปรัชญา แต่เป็นทางปฏิบัติ
    ที่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง....


    ...........................................



    ลำดับการปฏิบัติเพื่อรู้ตามซึ่งสัจธรรม

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่าการประสบความพอใจในอรหัตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสพความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น
    เป็นอย่างไรเล่า?

    ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :
    เป็นผู้มีศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อม เข้าไปหาผู้ถึงอริยสัจ (สัปบุรุษ)
    เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้
    เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ
    เมื่อเงี่ยโสตสงสดับ ย่อม ได้ฟังธรรม
    ครั้นฟังแล้ว ย่อม ทรงจำธรรมไว้
    ย่อม ใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้
    เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์
    เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด
    ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสาหะ
    ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อม พิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม
    ครั้นพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรมแล้วย่อม ตั้งตนไว้ในธรรม นั้นผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วยย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยป้ญญา ด้วย


    ( - ม.ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘ )

    ............................


    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการ
    ด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึง
    ต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า
    ‘นี่เป็นแก่นแท้’ ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็
    กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จัก
    เปลือกสด, รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, รู้จักใบอ่อนที่
    ปลายกิ่ง. จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหา
    แก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว
    ก็ตัดเอาแก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่ เป็นแก่นแท้’ ดังนี้.
    สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้”
    ดังนี้.


    ......................
    มู. ม. ๑๒/๓๗๑-๓๗๓/๓๕๒,๓๕๔.



    จบ.

    ..........................
    ที่มา.. https://pantip.com/topic/31612912
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2021
  5. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    กระทู้เก่า

    ผมฝึกอานาฯ มาตั้งแต่ปี38
    รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก

    จนมาถึงตอนนี้ มันก็เป็นวิหารธรรมไปแล้ว
    อยู่กับลมโดยอัตโนมัติ..
     
  6. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    กิวส์ๆ

    เพลิน กับ อานาปานสติ

    เพลิน การได้ลม

    เพลิน การมีกรรมกระถาง

    เฉาฉุ่ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2020
  7. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    พระสมณโคดม ตรัสเอง หากจะเรียก
    พระองค์ว่าเปน อรหันต์ประเภทไหน

    ต้องเรียก วิชา3 สำเร็จด้วยกสิณ10 อเนญชา

    จึงจะชื่อว่า ไม่กล่าวตู่ตถาคต
     
  8. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    อิอิ เดินตามตถาคต หมาไม่กัด

    และเห่าใบตองแห้ง. เห่าไปเรื่อย!! อิอิ
     
  9. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ฝึกให้มาก เจริญให้มาก มีอานิสงค์มาก
    ตถาคตกล่าว...!!!...
     
  10. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    ฮี้ ฮี้ ฮี้

    มาว์ก ข้างไหน ข้าง ต่อเวลา ผลัดวันประกันพรุ่ง

    หรือ

    มาก แบบ โซดาซ่า แฟนต้า ในปัจจุบัน อิ่ม



    ปล ลิง : น้องๆ หนูๆ พึงทราบว่า พระศาสดาสำเร็จ
    อานาปานสติในพระชาติที่เป็นพระโพธิสัตว์ไม่ใช่
    ชาติเดียว แต่ นับไม่ถ้วน ที่สามารถสำเร็จอานาปานสติ
    ขั้น "ไปพรหมโลกด้วยกายเนื้อ เพราะ อาสวะสิ้น"
    (แต่ ไม่เกิด ปหานะ )

    ปล 2 : น้องๆหนู พึงสังเกต การสำเร็จอานาปานสติ
    ของพระศาสดา ไม่มีเรื่อง ทำเรื่อยๆ สะสม เดี๋ยว
    บรรลุเอง ไม่มี นะฮับ จะต้อง มีปฏิภาณ ไหวพริบ
    นิดนึง ไม่เช่นนั้น จะเรียกว่า "ปัญญาทราม"(ปัญญา
    นั่นแหละ ตัวฝุ้ง ขวางไว้ สำนวนโบราณคือ "เข้าไปส่วนสุด"
    หรือ "เข้าไปถือเอา" หรือ "สุดโต่ง" หรือ เกิดอาการ
    " เท่านี้ใช่ อย่างอื่นเปล่า " )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2020
  11. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    พระสูตรก็มีอยู่แล้ว
    กล่าวไว้ชอบแล้ว

    มันอยู่ที่ความโง่หรือฉลาดของคนฝึกต่างหาก

    พระสูตรตรัสไว้ชอบแล้ว
    แต่คนมันชอบตัดต่อ
    ทำให้เพี้ยนไป...
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมว่าจะหายหลงมีสักกายทิฏฐิ ก็ตอนช่วงที่คุณภาวนาไปแล้วไปเห็นว่า มันว่างจากตัวตน ไม่มีเราอยู่ตรงไหนนั่นแหละครับ คือหายหลงเป็นพักๆ เรียกว่าเป็นการใช้ปัญญาอบรมจิตอย่างหนึ่ง น่าจะเป็น 1 ในสัญญา 10 ประการคิดว่านะ

    แต่เรื่องจะละสังโยชน์ได้จริงๆนี่ต้องดูกันต่อไปครับ เพราะจุดนั้นจะเป็นหนังคนละม้วน คล้ายๆที่ทำอยู่นี่ยังเป็นฝั่งโลก ฝั่งสมมุติ เป็นการจัดการในส่วนสมมุติให้ดี ส่วนในฝั่งวิมุตินี่ เราไม่สามารถไปกำหนดกะเกณฑ์อะไรเขาได้เลย เขาจะทำงานของเขาเองหมด เมื่อไหร่ก็ได้ อย่างที่บอก จิตจะดับทุกข์ด้วยตัวจิตเอง พอทุกข์ดับ ความจริงจึงปรากฏ เกิดปัญญาขึ้นมา อุปาทานที่เคยยึดถือจิตว่าเป็นเราเป็นของเราจึงหายไป เห็นทั้งฝั่งสมมุติ ฝั่งวิมุติ เห็นความเคยหลงเอามาเป็นตัวเราของเรา และความไม่หลงเอามาเป็นตัวเรา ต่างกันยังไง ฟ้าแจ้งจางปางเลย

    ทีนี้ไม่ใช่ไปดูว่าจิตที่ดับทุกข์ได้เองแล้วจะไปไหนต่อนะ อุปาทานความหลงเป็นเรามันไม่ได้ไปอยู่ตรงนั้น ไม่ได้อยู่ที่จิตอีก อ้าว งงไปใหญ่ไหม อุปาทานความเห็นว่าเป็นเราไม่ได้อยู่ที่จิต อยู่ต่างหากออกมาอีก จิตส่วนจิต ความคิดส่วนคิด อุปาทานส่วนอุปาทานแยกกันไปหมด กายส่วนกาย เอ้า งงใหญ่ไหม (ถึงได้ว่าต้องแยกรูปแยกนามออกมาแต่ต้น ถึงจะมองออกหมด)

    คือสรุปทุกสิ่งเป็นเพียงองค์ประกอบมารวมๆกัน แล้วก็มีอุปาทานเป็นตัวเชื่อมไว้ เชื่อมด้วยความหลงยึด พออุปาทานความยึดว่าจิตเป็นเราหลุดขาดไป ก็ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างทำหน้าที่ไปตามวาระ ตามเหตุปัจจัยที่ยังมีเฉยๆ ไม่มีความเป็นเราหรือความเป็นอัตตาอะไรเกิดขึ้น

    สมมุติถ้าเวลาที่เกิดหลงอย่างเช่น เกิดมีโทสะขึ้นมา จะสังเกตได้ ตรงจุดที่ว่างๆห่างหายจากความที่เคยมีอุปาทานสำคัญว่าเป็นเราแสดงอาการอยู่ตรงนั้น จะเริ่มกลับมามีมวลพลังงานก่อเป็นอัตตาขึ้นมาใหม่ เริ่มจากมวลพลังงานจางๆ จะค่อยๆ หนาแน่นขึ้นๆ อันนี้อัตตาเริ่มก่อตัว ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาของแต่ละบุคคลจะตามรู้เท่าทันได้ขนาดไหน ถ้ากำลังดีก็ดับไฟได้เร็วได้ไวเอง ตรงนี้คงต้องค่อยๆละกิเลสไป กิเลสหยาบ กลาง ละเอียด ค่อยๆคุ้ยแคะแกะเกากันไป

    แค่เล่าให้ฟังเด้อ..
     
  13. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    การละสักายทิฐิที่เด็ดขาด เกิดจากการเห็นแจ้งไตรลักษณ์ครับ หลายคนจึงเข้าใจผิดอยู่ว่า เราก็เห็นเกิดดับแล้ว เท่ากับเราเห็นแจ้งไตรลักษณ์แล้วสิ แต่จริงๆไม่ใช่ครับ เป็นเพียงการเห็นไตรลักษณ์ ตามธรรมชาติของสามัญลักษณะของมัน เช่นเดียวกับการเห็นคนตายต่อหน้าต่อตา ผู้เห็นก็ไม่อาจจะเห็นแจ้งได้จากการเห็นคนตายนั้น แต่การเห็นแจ้งคือ การเข้าไปเห็น แค่เสี้ยววินาทีเดียวครับ ที่ได้เห็นแจ้งไตรลักษณ์ จะหายสงสัยด้วยการเห็นจริงๆ ไม่การคิดวิเคราะห์จากการฟัง หรือ อ่านมาครับ

    ถ้าผมจะลองเปรียบเทียบดู ก็เหมือนการเห็นดวงจันทร์ ถ้าเราเคยได้ฟังมาว่า ดวงจันทร์เป็นแบบนั้นนี้ คงเปรียบเทียบกับการได้ยินได้ฟังเรื่องของไตรลักษณ์จากคำสอนจากที่ต่างๆ >> จากนั้นขยับไปอีกขั้น คือ เราจ้องมองด้วยตาทั้งสองของเรา เห็นดวงจันทร์จากพื้นโลก ก็คงเทียบกับการเห็นเกิดดับของขันธ์ หรือของเจตสิก จากการภาวนาครับ >> ส่วนการเห็นแจ้งไตรลักษณ์ อาจเปรียบได้กับการไปเหยียบดวงจันทร์ซักครั้งนึง ทำให้รู้ว่าดวงจันทร์จริงๆจะรับรู้สภาพบนดวงจันทร์จริงๆเป็นอย่างไรครับ ความสงสัยที่เคยจินตนาการว่าดวงจันทร์จะเป็นแบบนั้นนี้ ก็สิ้นไปเองครับ เช่นเดียวกับความสงสัยเรื่องในเรื่องตัวตน ว่าจะเป็นจริงตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้หรือไม่ เมื่อได้เห็นก็หมดความสงสัยครับ

    คนทั่วไปมองสังโยชน์เป็นเรื่องเหลือเชื่อ พิศดาร หรือบางคนอาจมองว่าเป็นของเกินเอื่อมถึง แต่ที่จริงสังโยชน์ และการละสังโยชน์เป็นเรื่องเรียบง่ายแบบนี้ครับ
     
  14. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    สูงขึ้นไปกว่านั้นยังมีอีก..

    เหนือ อานาปาน ขึ้นไปอีก..

    อานา เหนือ อานา..

    งง เป่า..

    ยอดสุดของ อานาปาน คือ สติ..
     
  15. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    รู้ลม แต่ ไม่เข้าไปอยู่ในลม..

    รู้ลม แต่ ไม่เข้าไปแทรกแซงลม..


    "ผู้รู้ๆออกมาอยู่นอกๆนี่"
    (คำหลวงปู่เทสก์)

    คำว่า.."นอกๆนี่" นั่นแหละ คือ สติสัมปะชัญญะ..

    คำว่า.."นอกๆนี่" นั่นแหละ คือ ยอดแห่งกรรมฐาน..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2021
  16. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ถ้าตามพระสูตร จริงๆ พระศาสดา เริ่มที่ลมหายใจออก..

    เริ่มที่ลมหายใจออก จบที่ลมหายใจออก..


    เกิดที่ลมหายใจออก ดับที่ลมหายใจออก..
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ลิ้งค์นี้น่าสนใจดีนะ ลองคลิกดู ข้อถัดไป
     
  18. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    เข้าไปอ่านแล้วครับ พระโสดาบันเป็นอย่างหลวงพ่อบอกครับ
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ข้อ 1213 ยิ่งอ่านมันส์เลย ยิ่งตอนท้ายๆข้อ ท่านแพลมๆให้เห็นของจริงว่า กริยาอาการและความเข้าใจเขาเป็นยังไง
     
  20. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    ใช่ครับพระโสดาบันก็เป็นอย่างที่หลวงพ่อบอกครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...