เข้าอบรมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (พระอาจารย์จวน)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 15 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR>พอออกพรรษาที่ 3 ได้เพียง 5 วัน ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารก็มารับข้าพเจ้านำไปฝากให้อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ข้าพเจ้าได้มีโอกาสศึกษาอบรมอยู่กับท่านได้ฟังโอวาทของท่านตลอดฤดูแล้ง จนการทั่งถึงเวลาเข้าพรรษาของปีใหม่ และได้อธิฐานพรรษาอยู่กับท่านจนตลอดพรรษาที่ 4 โอวาทส่วนใหญ่ ล้วนแต่แนะนำให้ประพฤติปฏิบัติทางวินัยและธุดงค์ให้เคร่งครัด การภาวนา ท่านก็ให้พิจารณากายเป็นส่วนใหญ่ คือ กายคตานุสติ ให้มีสติ น้อมเข้ามาพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งตามที่ถูกับจริตนิสัยของตน หรือถ้าหากจิตมันไม่สงบมีความฟุ้งซ่าน ท่านก็ให้น้อมนึกด้วยความมีสติระลึกคำบริกรรมภาวนาว่า พุทโธ-พุทโธ เมื่อสงบแล้ว ท่านก็ให้พักพุทโธไว้ให้อยู่ด้วยความสงบ แต่ก็ต้องให้มีสติ ทำให้ชำนิชำนาญ เมื่อชำนาญด้วยการบริกรรม หรือชำนาญด้วยความสงบแล้วท่านให้มีสติ น้อมเข้ามาพิจารณาส่วนใด ส่วนหนึ่งที่ถูกจริตนิสัยของตนด้วยความมีสติเมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วก็ให้สงบ เมื่อสงบพอสมควรแล้ว ก็ให้พิจารณาด้วยความมีสติทุกระยะ มิให้พลั้งเผลอ เมื่อจิตมันรวมก็ให้มีสติระลึกรู้ว่าจิตของเรารวม อยู่เฉพาะจิตหรืออิงอามิส คืออิงกรรมฐาน หรืออิงอารมณ์ อันใดอันหนึ่งก็ให้มีสติรู้ และอย่าบังคับจิตให้รวม เป็นแต่ให้มีสติรู้อยู่ว่า จิตรวม เมื่อจิตรวมอยู่ก็ให้มีสติรู้ และอย่าถอนจิตที่รวมอยู่ให้จิตถอนเอง

    พอจิตถอน ให้มีสติน้อมเข้ามาพิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งที่ตนเคยพิจารณาที่ถูกกับจริตนิสัยของตนนั้นๆ อยู่เรื่อยไปด้วยความมีสติมิให้พลั้งเผลอ ส่วนนิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นนิมิตแสดงภาพภายนอกก็ตาม หรือเป็นนิมิตภายในซึ่งเป็นธรรมะผุดขึ้น ก็ให้น้อมเข้ามาเป็นอุบายของกรรมฐาน ของวิปัสสนาคือ น้อมเข้ามาให้สู่ไตรลักษณ์ ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งหมดคือให้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงก็ย่อมมีความดับเป็นธรรมดา
     

แชร์หน้านี้

Loading...