เข้าวัด ฝึกสมาธิ ดีจริงหรือ ???

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย YUT_KOP, 11 เมษายน 2010.

  1. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ผมไม่ขอเอยนาม วัดที่สอนสมาธิ กรรมฐาน เดินจงกลม ซึ่งมีมากมายที่โด่งดัง

    พี่ชายผม ก็ได้ไปฝึกสมาธิ มาอย่างเต็มที่ มาแล้ว 5-6 เดือน

    กลับบ้านก่อนนอน นั้งสมาธิ เดินจงกลม ตื่นเช้าก็ทำสมาธิ เดินจงกลม

    ทำเเบบนี้ 6 เดือน แล้วไม่เคยขาดแม้นแต่วันเดียว การเจริญสมาธิทำได้ดีพอ

    สมควร แต่ผมกลับ แปลกใจเวลาได้ สนธนาธรรม กับเค้า จึงได้รู้ว่า

    เข้าไม่เข้าใจหลักธรรมใดๆเลย อ้างว่า ไม่จำเป็น มันไกลเกินจะรู้

    ไม่รู้จัก ศีล5 ว่า สำคัญอย่างไร อ้างว่า ไม่สำคัญ ทำสมาธิอย่างเดียวดีกว่า

    ผมเลยแปลกใจอย่างมาก ว่า.......

    วัดที่นิยมสอน กรรมฐาน ทำไม ไม่ให้พื้นฐาน ศีล กับผู้ฝึกสมาธิเลย

    จะให้นั้งหลับตา เจริญกรรมฐานฝ่ายเดียว กลับบ้าน ก็ ฆ่าปลา ตีหัวปลามาทำต้มยำ ทำแกง เหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้น กินเหล้านิดๆหน่อยๆได้

    ตกดึก นั้งสมาธิ เดินจงกรม

    ศีลคืออะไร สำคัญอย่างไรไม่สน

    แล้วแบบนี้ สมาธิ หรือ ปัญญา ที่เกิดจะกลายเป็น มิจฉาฑิฐิ หรือป่าว

    ขอทีเถอะ สอนศีล หรือ หลักธรรม ให้พวกเค้าด้วย ไม่ใช้แค่หลับตาทำสมาธิ
     
  2. พระวิภังค์

    พระวิภังค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    347
    ค่าพลัง:
    +2,238
    ชื่อหัวข้อกับเนื้อความดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันสักเท่าไหร่นะครับ

    แล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ คุณควรถามคำถามนี้กับพี่ชายคุณและพระอาจารย์ที่สอนกรรมฐานให้พี่ชายคุณมากกว่านะครับ จะได้คำตอบที่ชัดเจนมากกว่านะครับ

    ขอบคุณครับ

    ปล.การเข้าวัดสำหรับผู้ใหม่ต่อการปฏิบัติธรรม ย่อมยังมีความสำคัญมากอยู่ครับ
     
  3. วรรณนรี05

    วรรณนรี05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +903
    เห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้ นะ วัดดังแท้ๆ สอนสมาธิ แต่ไม่รู้เรื่องศิล และให้คนไม่รู้ความ

    ละเอียดของศิลจบออกมาเป็นครูสอน สมาธิ มากๆๆๆ อย่างน่าใจหาย ไม่เชื่อลองทดสอบ

    ได้เลย พวกที่บอกว่าเป็นครูสอนได้รับใบรับรองมานะ วัดนั้นอยู่ใน ก ท ม นี่เอง
     
  4. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +7,749
    ครับสมาธิก็มีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ การฝึกสมาธิพึงฝึกให้สอดคล้องไปในทางสัมมาสมาธิจึงจะถูกต้อง เห็นด้วยในการปูพื้นฐานพึงต้องรู้และเข้าใจในเรื่องศีลเป็นพื้นฐาน ก็จะช่วยให้สัมมาสมาธิเกิดขึ้นได้ดี
     
  5. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ถามว่า คนนั้งกรรมฐานเก่ง แล้ว ฆ่าปลาทำอาหารเอง โดยไม่สะทก สะท้าน

    ถึงบาปเวรกรรม

    เค้าจะเรียกว่า ถอยหลังคงคลอง หรือ ก้าวหน้า ครับ

    ถ้าบังเอิญผู้เข้ามาอ่าน ไปอาจารย์สอน กรรมฐานที่ใดแล้ว

    ก็กรุณาสอน ธรรรมะ ของพระพุทธเจ้า ให้แง่คิดหลักธรรม ฝั่งเข้าไปในจิต

    ไม่ใช้แค่ หลับตา ได้นาน แล้ว โลภ โกรษ หลง ยังอยู่เต็มหัวใจ ยังเบียดเบียนสัตว์ต่างๆ

    ยังรักษาศีล 5 ไม่ได้แม้นแต่น้อย

    นั้งได้นาน กำหนดจิตได้ดี ดูทางเดินของจิตได้ดี

    ไม่ได้หมายความว่า ท่านมาถูกทางนะครับ

    ที่ถูกคือทำอย่างไร พิจรณา อย่างไร ให้รู้จัก ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแท้จริง

    วัดกันที่ โลภ โกรษ หลง ลดลงไหม ควบคุมได้ไหม สติมาทันอารมณ์โกรษไหม

    และมี หิริโอตะปะ ไหม
     
  6. กุญแจไขปริศนา

    กุญแจไขปริศนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2009
    โพสต์:
    903
    ค่าพลัง:
    +979
    ฝึกสมาธิทำที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น
    คุณก็ไม่ควรจะไปวิจารณ์หรือตัดสินความคิดเห็นของคนอื่นๆอย่างน้อยคนที่คุณพูดถึงก็มีความวิริยะพยายามไม่ใช่น้อย คุณนั่นแหละทำตัวเองให้ดีเข้าไว้เถอะ
     
  7. zetsubo

    zetsubo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +751
    งื้มมม
    ก็ฝึกปฎิบัติอยู่เหมือนกันทำสมาธิได้ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานก่อนไม่ใช่หรอคะ= =<!-- google_ad_section_end -->
    วัดที่ช้าพเจ้าไปต้องบวชเนกขัมมะรักษาศีลแปดก่อนค่ะพระอาจารย์ถึงจะสอนการฝึกสมาธิให้
     
  8. ภวโลกร้อน

    ภวโลกร้อน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    444
    ค่าพลัง:
    +1,272
    เจ้าของกระทู้ต้องไปที่ ห้องอภิญญา-สมาธิ ห้องนั้นมีผู้รู้เยอะเลย

    จะได้รับคำตอบที่ดีทีเดียวค่ะ..
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    วัดอยู่ที่ไหน?
    อาราม กุติ อุโบสถ ศาลา หรือ ห้องน้ำ ...
    ต้นไม้ พระสง แมว หมา เด้กวัด เณร หนังสือ พระไตร เครื่องเสียง ....
    คำว่าวัดอยู่ที่บุคคลหรืออยู่ที่วัตถุ ในวัดมีข้าวของมากมายมีทั้ง บุคคล และวัตถุมากมาย
    จะบอกว่าไปวัดไปยืนหน้าวัดก้เรียกว่าไปวัด ไปสนทนากับเณรมาก้เรียกว่าไปวัด
    ไปทำบุญใส่บาตรก้เรียกว่าไปวัด อย่างไหนที่ถูกที่สุดและอย่างไหนที่ควรและเหมาะสมที่สุด
    ไปวัดไปทำอะไร?
    ไปวัดแล้วควรจะกราบพระก่อน หรือควรจะใส่บาตรก่อน หรือควรจะ รักษาศิลก่อน หรือควรทำสมาทิก่อน หรือควรวิปัสนาก่อน หรือควรศึกษาธรรมให้รู้ก่อน สิ่งใหนที่คนไปวัดควรกระทำก่อน



    ทุกสิ่งล้วนไม่ได้ผูกไว้ทีวัดหรือที่ตัวบุคคล แต่อยู่กับวาสนา อยุ่กับตัวผู้ปติบัติเองมีใจมีวาสนาไปในทางใด

    ไปวัดได้อะไรบ้าง?
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <BIG>ก ร ะ จ ก เ ง า ส า ม า ร ถ ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เ ห็ น ค ว า ม ส ว ย ง า ม
    ห รื อ ขี้ ริ้ ว ข อ ง ร่ า ง ก า ย เ ร า ไ ด้ ฉั น ใ ด
    ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม ต า ม ก า ล
    ก็ ส า ม า ร ถ ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ค ว า ม ดี ง า ม
    ห รื อ ค ว า ม บ ก พ ร่ อ ง ใ น ตั ว เ ร า ไ ด้ ฉั น นั้ น
    </BIG>

    ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม ต า ม ก า ล ห ม า ย ถึ ง อ ะ ไ ร ?

    การฟังธรรมตามกาล คือการขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้น มาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มี คุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร
    เช่น เมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความกตัญญูแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาสำรวจดูใจของตนเองทันทีว่า เรามีความกตัญญูไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร เมื่อฟังธรรมแล้วสำรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรจึงจะดี

    ก า ล ที่ ค ว ร ฟั ง ธ ร ร ม

    [​IMG] วันธรรมสวนะ คือวันพระนั่นเอง เฉลี่ยประมาณ ๗ วัน/ครั้ง ทั้งนี้ เพราะธรรมดาคนเราเมื่อได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือนจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่ แต่พอผ่านไปสัก ๗ วัน ชักจะเลือนๆ ครู อาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ๗ วัน ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง
    [​IMG] เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือเมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอ
    ความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
    ๒.๑ เมื่อกามวิตกกำเริบ คือเมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ เรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
    ๒.๒ เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ คือเมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศศักดิ์ศรีก็ตาม
    ๒.๓ เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือเมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา
    เมื่อใดที่ความคิดทั้ง ๓ ประเภทนี้เกิดขึ้น ให้รีบไปฟังธรรม อย่ามัวชักช้า มิฉะนั้นอาจไปทำผิดพลาดเข้าได้
    [​IMG] เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม คือเมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรมมาแสดงธรรมให้รีบไปฟัง เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก ต้องรอให้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน

    คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ผู้ แ ส ด ง ธ ร ร ม ที่ ดี

    “อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ของง่ายเลย ผู้ที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง จะต้องอยู่ในธรรมถึง ๕ ประการ”
    นี่คือพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ ถึงคุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี ๕ ประการ คือ
    [​IMG] ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่อง ไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอน แสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่จะแสดงเช่นนี้ได้จะต้อง
    ๑.๑ มีความรู้จริง รู้เรื่องที่จะเทศน์จะสอนดีพอที่จะทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง
    ๑.๒ มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด รู้สภาพจิตใจของผู้ฟังว่า ควรรู้อะไรก่อนอะไรหลัง
    ๑.๓ ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้า ทำอะไรมีแผน ไม่ดูเบา ไม่ใช่เทศน์ตามอำเภอใจ
    ต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับได้
    [​IMG]ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็อ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อ ผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหนประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้
    [​IMG] ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปี่ยมในใจ ถ้าพูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทัน สติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะต้องพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดีต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมจริงๆ มุ่งทำประโยชน์แก่ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที
    [​IMG] ต้องไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียงคำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะ ไม่ว่าการแสดงธรรมนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนมาฟังมากน้อยเท่าไรก็ไม่ถือเป็นอารมณ์ แสดงธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่างานของคนใหญ่คนโตก็แสดงอย่างเต็มที่ แต่งานของคนธรรมดาสามัญ ก็แสดงกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าผู้ใดแสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง กระแสเสียงที่แสดงก็มักจะเต็มไปด้วยการประจบประแจงเจ้าภาพซึ่งเป็นนายจ้าง ลงได้เอาอามิสมาเป็นเจ้าหัวใจแล้วละก็ เป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว
    [​IMG] ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่าง เรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหาย การฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็น การกระทำผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ
    เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ แทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์ และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติ ควบคุมผู้ทำการสอนพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาได้ยากในศาสนาอื่นๆ

    คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ผู้ ฟั ง ธ ร ร ม ที่ ดี

    [​IMG] ไม่ลบหลู่คุณท่าน คือไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถหรือคุณธรรมของผู้แสดงธรรม
    “โธ่ พระเด็กๆ เรานี่ฟังหลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้ว มาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไร” อย่าคิดอย่างนั้น
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนถึงสิ่งต่อไปนี้ไว้ว่าอย่าดูแคลน
    ๑.๑ อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์ เพราะกษัตริย์บางพระองค์แม้อายุยัง น้อยก็เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราช ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปีเศษ ปกครองถึงค่อนโลก
    ๑.๒ อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก เพราะกัดแล้วตายได้
    ๑.๓ อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย เพราะไม้ขีดก้านเดียวอาจเผาเมืองได้
    ๑.๔ อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม เพราะสมณะบางรูป แม้อายุยังน้อยก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ ๗ ขวบ ก็เป็นพระอรหันต์แล้ว
    [​IMG]ไม่คิดแข่งดี ไม่ยกตนข่มท่าน
    “ถึงท่านจะเป็นพระ แต่เราก็จบปริญญาตรี โท เอก มาแล้ว รู้จักโลกมามากกว่าท่านเยอะ แถมอายุมากกว่าอีก” อย่าคิดอย่างนั้น
    ถ้าเรามัวคิดว่าเราเก่ง เราดีกว่าผู้แสดงธรรม ก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังสิ่งที่เป็นความรู้หรือแง่คิดดีๆ ที่ควรได้รับจากการฟังธรรม เหมือนอุรุเวลกัสสปะ ที่มัวคิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ เหนือกว่าพระพุทธองค์ จึงไม่ได้ฟังธรรมจากพระองค์ จนสุดท้าย เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเตือนให้เลิกหลงตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์ จึงได้คิด และตั้งใจฟังธรรมจากพระองค์ด้วยความเคารพ ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
    [​IMG]ไม่จับผิด ไม่มีจิตกระด้าง เพราะในการฟังธรรมนั้น ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไรก็สามารถน้อมใจตามไป ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้น แต่ถ้าเรามัวจับผิดผู้แสดงธรรมว่า เทศน์ตรงนี้ก็ไม่ถูก ตรงนี้ก็ไม่เหมือนกับที่เราเคยฟังมา ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็ ใจเราจะไม่มีสมาธิในการฟังธรรม และจะไม่สามารถน้อมใจตามไป จนเกิดความรู้ความเข้าใจได้เลย
    [​IMG] มีปัญญา คือฉลาด รู้จักพิจารณาไตร่ตรองตามธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นอย่างแยบคาย ทำให้มีความแตกฉาน เข้าใจธรรมได้รวดเร็วและลึกซึ้ง ส่วนผู้ที่ทำความเข้าใจได้ช้า ก็อย่าดูแคลนตัวเองว่าโง่ จนไม่สามารถรองรับธรรมได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด แม้จะฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้ ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภายหน้า เมื่อได้ฟังซ้ำอีกก็จะเข้าใจได้ง่าย
    [​IMG] ไม่ถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ
    “โธ่ เรื่องง่ายๆ แค่นี้ เข้าใจแล้วน่ะ ไม่ต้องอธิบายให้ฟังอีกก็ได้” อย่าคิดอย่างนั้น
    การฟังธรรมนั้นมีคุณประโยชน์มาก แม้เป็นสิ่งที่รู้แล้วเข้าใจแล้ว เมื่อฟังซ้ำอีก ย่อมได้ความแตกฉานในธรรมมากยิ่งขึ้น เหมือนพระมหากัปปินะฟังธรรมจากพระพุทธองค์ครั้งแรก ก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และเมื่อได้ฟังพระองค์แสดงธรรมเรื่องเดิมซ้ำอีก ก็บรรลุธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นพระอรหันต์

    อุ ป นิ สั ย จ า ก ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม

    อุปนิสัย หมายถึง ความประพฤติ ความเคยชินที่ติดตัวเรามา และจะติดตัวเราไปเป็นพื้นใจในภายหน้า
    การฟังธรรม จะทำให้เกิดความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในใจเรา แล้วเป็นเครื่องอุดหนุน ให้เรามีความเจริญรุ่งเรือง และเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ผู้ที่หมั่นฟังธรรมแล้ว พยายามศึกษา ทำความเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็พยายามจำ จะได้รับอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
    [​IMG] เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก มีปัญญารู้ธรรมได้รวดเร็ว สามารถระลึกถึงธรรมได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตามธรรมนั้น บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
    [​IMG] เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก เมื่อมีภิกษุผู้มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรม ก็จะระลึกถึงธรรมได้ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
    [​IMG] เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก แม้ไม่มีภิกษุผู้มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรม แต่เมื่อได้ฟังเทพบุตรแสดงธรรม ก็จะระลึกถึงธรรมได้ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
    [​IMG] เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมเกิดในเทวโลก แม้ไม่มีภิกษุผู้มีฤทธิ์หรือเทพบุตรมาแสดงธรรม แต่เมื่อได้ยินคำตักเตือนจากเพื่อนเทพบุตรด้วยกัน ก็สามารถระลึกธรรมได้ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
    พวกเราที่สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกันบ่อยๆ แม้ยังไม่เข้าใจความหมาย ของคำบาลี แต่ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดความคุ้นเคยในสำเนียงภาษาธรรมะ ภพเบื้องหน้าได้ยินใครสวดมนต์ ก็อยากเข้าใกล้ ได้ยินใครพูดธรรมะก็อยากเข้าใกล้ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจได้ง่าย เพราะมีอุปนิสัยพื้นใจมาแต่เดิมแล้ว ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
    <BIG>
    [​IMG]
    </BIG>
    ก า ร ฟั ง ธ ร ร ม ต า ม ก า ล
    [​IMG] เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาก่อน
    [​IMG] เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน และสามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
    [​IMG] เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น
    [​IMG] เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือกิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้ มีความเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิต วกวนเฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสีย ประคองความเห็นที่ถูกไว้
    [​IMG] เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น เพราะการฟังธรรม จะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเรา เลิกละจากความคิดฟุ้งซ่าน ในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด
    “ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จรดกระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา” สํ. ม. ๑๙/๔๙๒/๑๓๔
    จบมงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    [​IMG] <TABLE borderColor=#ff6666 height=200 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=177>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <BIG>ต้ น โ พ ธิ์ ต้ น ไ ท ร ห า ก ป ลู ก ไ ว้ ใ น ก ร ะ ถ า ง
    ถึ ง จ ะ ไ ม่ ต า ย ก็ ต้ อ ง ก ล า ย เ ป็ น ไ ม้ แ ค ร ะ แ ก ร็ น
    แ ต่ ถ้ า น ำ ไ ป ป ลู ก ใ น ที่ ดิ น ดี มี บ ริ เ ว ณ ก ว้ า ง ข ว า ง น้ ำ ท่ า อุ ด ม ส ม บู ร ณ ์
    ก็ โ ต วั น โ ต คื น ก ล า ย เ ป็ น ต้ น ไ ม้ ใ ห ญ่ แ ผ่ กิ่ ง ก้ า น ส า ข า เ ต็ ม ที่
    เ ช่ น กั น ค น เ ร า ห า ก ต ก อ ยู่ ใ น สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ที่ เ ล ว
    ถึ ง จ ะ มี ค ว า ม รู้ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ก็ ย า ก ที่ จ ะ เ อ า ดี ไ ด้
    แ ต่ ถ้ า อ ยู่ ใ น ถิ่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม แ ล้ ว
    ก็ ส า ม า ร ถ ส ร้ า ง ค ว า ม เ จ ริ ญ ก้ า ว ห น้ า ไ ด้ โ ด ย ง่ า ย </BIG>

    ถิ่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม ห ม า ย ถึ ง อ ย่ า ง ไ ร ?

    ถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง ถิ่นที่สิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สุขภาพกายและใจ ยิ่งกว่านั้น ยังสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประกอบ กิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย และสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่
    ถิ่นที่เหมาะสม มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงถิ่นที่อยู่ทุกระดับ เช่น บ้านที่เราอาศัย โรงเรียนที่เราเรียน สถานที่ที่เราทำงาน หมู่บ้านชุมชนที่เราอยู่ ตำบลที่เราตั้งหลักฐาน อำเภอ จังหวัด ประเทศ ทวีป เป็นต้น
    <BIG>
    วิ ธี อ ยู่ ใ น ถิ่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม
    </BIG>

    [​IMG] เลือกที่อยู่ที่ทำงานที่เหมาะสม เราควรแสวงหาถิ่นที่เหมาะสมอยู่อาศัยให้ได้จึงจะเจริญ เช่น แสวงหาโรงเรียนดีๆ ที่ทำงานดีๆ ทำเลปลูกบ้านดีๆ จะบวชก็หาวัดดีๆ

    [​IMG]พัฒนาที่อยู่ที่ทำงานให้เป็นถิ่นที่เหมาะสม ไม่ว่าเราจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม ต้องพยายามพัฒนาถิ่นที่เราอยู่ให้เป็นถิ่นที่เหมาะสมอย่างเต็มความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่เราอยู่ สถานที่ที่เราทำงาน หรือชุมชนที่เราอยู่อาศัยก็ตาม โดยยึดหลักการพัฒนาให้เป็นถิ่นที่เหมาะสมดังนี้
    <BIG>
    ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ถิ่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม
    </BIG>

    [​IMG] อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นที่ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ดี เช่น ถ้าเป็นบ้าน ก็ต้องให้มีต้นไม้ร่มรื่น น้ำไฟสะดวก ถ้าเป็นโรงเรียน ก็ต้องมีสุขลักษณะดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีเสียงอึกทึก มีบริเวณกว้างขวาง มีสนาม กีฬา ถ้าเป็นที่ตั้งร้านค้า ก็ต้องเป็นบริเวณที่อยู่ในย่านชุมชน การคมนาคมสะดวก ถ้าเป็นจังหวัดหรือภาค ก็ต้องเป็นบริเวณที่สภาพภูมิศาสตร์ดี เช่น ไม่ลุ่มไม่ดอนเกินไป ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป เป็นต้น
    [​IMG] อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นบริเวณที่สามารถจัดหาอาหารได้สะดวก เช่น อยู่ใกล้ตลาด หรือบริเวณที่มีการเกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารได้เองอย่างพอเพียง และเป็นที่ที่สามารถประกอบธุรกิจการงานหารายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ดี
    [​IMG]บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่อยู่นั้นต้องไม่มีนักเลงอันธพาล โจรผู้ร้ายไม่ชุกชุม คนส่วนใหญ่ในละแวกนั้นเป็นคนดี มีศีลธรรม มีวินัย ใฝ่หาความก้าวหน้า
    [​IMG] ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึง ความดีงาม ความเหมาะสม ใน ๒ ลักษณะคือ

    ในทางโลก หมายถึง ในถิ่นนั้นมีโรงเรียน สถานศึกษาสำหรับให้ความรู้ได้อย่างดี ตลอดจนมีหลักการปกครอง การบริหารราชการบ้านเมืองที่ดีอีกด้วย ในทางธรรม หมายถึง ในถิ่นนั้นมีพระภิกษุ หรือฆราวาสผู้รู้ธรรม เป็นบัณฑิต สามารถให้การอบรมสั่งสอนศีลธรรมได้อย่างดี หรือถิ่นที่พระพุทธ-ศาสนาแผ่ไปถึง สามารถให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ ทำสมาธิภาวนาได้เป็นนิจ
    <BIG>
    [​IMG] ก า ร อ ยู่ ใ น ถิ่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม
    </BIG>

    [​IMG]ทำให้ได้รับความสุขกายสุขใจเต็มที่
    [​IMG] ทำให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
    [​IMG] ทำให้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเต็มที่ ทั้งทาน ศีล ภาวนา
    [​IMG] ทำให้ได้ลาภอันประเสริฐ คือได้ความศรัทธาในพระรัตนตรัย
    [​IMG] ทำให้ได้ฟังธรรมอันประเสริฐ คือได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
    [​IMG] ทำให้ได้รู้พระสัทธรรม คือได้ศึกษาธรรมะ
    [​IMG] ทำให้ได้การเห็นอันประเสริฐ คือได้เห็นพระรัตนตรัย
    [​IMG] ทำให้ได้การศึกษาอันประเสริฐ คือได้ศึกษาศีล สมาธิ ปัญญา
    [​IMG] ทำให้ได้การบำรุงอันประเสริฐ คือได้บำรุงพระพุทธศาสนา
    [​IMG]ทำให้ได้การระลึกอันประเสริฐ คือใจระลึกผูกพันอยู่กับพระรัตนตรัย
    [​IMG] ทำให้ได้นิสัยไม่ประมาท โดยดูตัวอย่างจากผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
    [​IMG] ทำให้ได้ที่พึ่งอันสูงสุด คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    [​IMG] ทำให้ได้อริยทรัพย์ คือหนทางสู่นิพพาน
    ฯลฯ
    <BIG><BIG>จบมงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
    </BIG></BIG>
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    [​IMG]"การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญาอันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น"
    ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล “ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน” นี่คือพุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะขีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่า
    ฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย
    ปัญญาเกิดได้จาก ๒ เหตุใหญ่คือ
    ๑.จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
    ๒.จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย
    วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย
    แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ
    สนทนาธรรมตามกาลคืออะไร ?
    การสนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน ๒ คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศลไปในตัวด้วย

    ในพระพุทธศาสนา คำว่า “ธรรม” มีความหมายกว้าง อยู่ ๒ ประการ คือ
    ๑.ธรรมหมายถึงความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะ คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ
    ๒.ธรรมหมายถึงความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตา กรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม
    การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนาให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดีจะได้ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือ ความจริงตามธรรมชาติไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์
    ความยากในการสนทนาธรรม
    การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “คุยธรรมะ” นั้นดูเผินๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยกันตามธรรมดานั้นแหละ เราก็คุยกันออกบ่อยไป เพียงแต่เรื่องที่คุยเป็นเรื่องธรรมะเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการสนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นานก็มักมีเรื่องวงแตก กันอยู่บ่อยๆ พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะกันพ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนาฆ่า ลูกบอกบาปเพราะรู้ว่ามันจะต้องตายก็ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม

    ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ
    ๑.คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือ เมื่อเข้าใจอย่างไรแล้ว ก็สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิตเป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง คือ
    ๑.๑ เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
    ๑.๒ เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
    ๑.๓ ต้องพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ
    ๑.๔ ต้องพูดถูกกาลเทศะ
    ๑.๕ ต้องพูดด้วยจิตเมตตา
    การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจ คนส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนาธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว “คุณก็เก่ง ฉันก็เก่ง” เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ใช่มานั่งติอย่างเดียว “คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ดี” คนเรายังไม่หมดกิเลส เดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตนข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวดกัน “ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ” อะไรทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ ๒-๓ คำ จะกลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะพอดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต
    ๒.คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผินๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งฟังๆไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังธรรมะที่ถูกต้อง คือฟังด้วยความพิจารณา แต่การรู้จักควบคุมใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะใหคนอื่นฟังหลายเท่า ที่ว่ายากนั้นก็เป็นเพราะ
    ๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการไปฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองฟังไปได้สักนิด หนังตาก็เริ่มหนัก พาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่า การควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่งๆ เสียอีก
    ๒.๒ ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเข้าไปสู่ใจ ทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่างๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอยต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับ
    ความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัวเลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ
    ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ จนเคยชินฝึกเป็นคนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอ รู้จักประมาณ และมีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรม ฟังธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้
    ๓.คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือ ต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะฟัง แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูดก็จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟังยอมเราหมด แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูดทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดีกิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด
    ผู้ที่จะสนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจนมีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำพูดที่ไม่ชอบใจได้ทั้งจากคนที่สูงกว่า และต่ำกว่า มีความว่าง่ายสอนง่ายในตัว และต้องเลือกคู่สนทนาเป็นคือ ต้องเป็นคนประเภทสมณะ ใฝ่สงบด้วยกัน
    มีผู้อุปมาไว้ว่า การพูดธรรมให้คนอื่นฟังก็เหมือนชกลม ชกจนหมดแรงเราก็ไม่เจ็บสักนิด ลมมันแพ้เราทุกที ทีนี้การฟังธรรมที่คนอื่นพูด เหมือนการชกกระสอบทราย คือ ชกไปก็รู้สึกเจ็บมือมาบ้าง ฟังเขาพูดก็เหมือนกันใจเราสะเทือนบ้าง แต่การสนทนาธรรมนั้นเหมือนการขึ้นชกบนเวทีจริงๆ เราชกเขา เขาชกเรา ชกกันไปชกกันมา ถูกล่อถูกหลอก ถูกกวนใจตลอดเวลาถ้าไม่ระวังให้ดี อาจทนไม่ได้โกรธขึ้นมาตนเองกลายเป็นคนพาลไป

    ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม
    ๑.ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ หรือถ้ารักษาศีล ๘ มาล่วงหน้าสัก ๗ วัน ก่อนสนทนาได้ยิ่งดี ไม่ใช่เพิ่งสร่างเมาแล้วมาคุยธรรมะกันหรือว่ากินเหล้าไปคุยธรรมะไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้
    ๒.ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสนทนาธรรมถ้าได้ทำสมาธิก่อนจะดีมาก เพราะใจจะผ่องใสดีทำสมาธิเหมือนอย่างกับว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวของเราเป็นก้อนธรรมทั้งก้อน ให้ตัวเป็นธรรมใจเป็นธรรมเสียก่อนแล้วจึงมาสนทนาธรรมกัน
    ๓.แต่งกายสุภาพ ทีแรกเราชำระศีลให้บริสุทธิ์เน้นกายกับวาจาเป็นธรรมแล้ว พอเราทำสมาธิบ่อยๆ เข้า ใจของเราก็เป็นธรรมด้วยถึงเวลาจะสนทนา ก็ต้องแต่งกายให้สุภาพ ให้เครื่องประกอบกายของเราก็เป็นธรรมด้วย ไม่ใช่เสื้อผ้าสีบาดตา แบบก็สุภาพ สะอาด ถ้าเป็นชุดขาวได้จะดีมาก
    ๔.กิริยาสุภาพ จะยืน จะเดิน จะนั่ง ให้เรียบร้อย หนักแน่น สงบเสงี่ยม สำรวม มีกิริยาเป็นธรรม ไม่ให้กิริยาของเราทำให้ผู้อื่นขุ่นใจ เข่น เดินลงส้นเท้ามาปังๆ
    ๕.วาจาสุภาพ คือ มีวาจาสุภาษิตดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่พูดเสีงดัง ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่รู้บอกว่าไม่รู้ ควรชมก็ชม ควรติก็ติแต่ไม่ด่า
    ๖.ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์ หรือปฏิเสธอรรถกถาฎีกา โดยเด็ดขาดเพราะพุทธพจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น โดยเนื้อแท้แล้วย่อมถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซนต์ อรรถกถาหรือฎีกาเกือบทั้งหมดก็ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่า สติปัญญาของเรามีพอจะไตร่ตรองตามท่านหรือไม่ถ้าเราไปกล่าวค้านหรือปฏิเสธโดยเด็ดขาดไว้แล้ว ประการแรก ก็ไม่รู้จะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน ประการที่ ๒ หากคู่สนทนาอธิบายหรือชี้แจงถึงเหตุผลให้เราฟัง แม้เราจะเข้าใจก็อาจไม่ยอมรับเพราะกลัวเสียหน้ามีทิฐิ ทำให้เกิดการวิวาทบาดหมางใจกันได้ ดังนั้น สำหรับอรรถกถาหรือฎีกา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ควรแสดงเพียงแต่ว่ารู้สึกสงสัย หรือแสดงความเห็นของตนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า พร้อมกับขอความเห็นจากคู่สนทนา
    ๗.ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว ไม่ใช้คำพูดก้าวร้าวรุนแรงแต่ใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ประสานน้ำใจ
    ๘.ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง เราพูดอะไรไปถ้าเขาเย้ามาอย่าเพิ่งโกรธ ให้พิจารณาไตร่ตรองดูโดยแยบคาย เพราะบางทีเราอาจมองข้ามอะไรบางอย่างไป เรื่องบางเรื่องอาจถูกในที่หนึ่ง แต่ผิดในอีกที่หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ถ้าเราด่วนโกรธเสียก่อนความคิดที่จะไตร่ตรองตามก็ไม่มี ปัญญาของเราจะถูกความโกรธปิดบังหมด
    ๙.ไม่ปรารถนาลามก คิดที่จะให้ตนมีชื่อเสียง อยากเด่นอยากดังตังใจจะฉีกหน้าผู้อื่นเพื่อให้ตนดัง ถ้าวันไหนจะไปสนทนาธรรม แล้วเกิดมีความรู้สึกอยากจะไปฉีกหน้าใคร วันนั้นนอนอยู่บ้านดีกว่า มันไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว อย่าไปแกว่งปากหานรกเลย
    ๑๐.ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา จะเอาความรู้เราไปต่อเอาความรู้คนอื่นเขามา ไม่ใช่ไปเพื่ออวดรู้ แต่จะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน
    ๑๑.ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นอวดดี หรือนินทาคนอื่นไป เช่นพูดเรื่องบาป พูดไปพูดมา กลายเป็นว่า “ฉันน่ะไปทำทานไว้ที่นั่นที่นี่” กลายเป็นอวดว่าฉันใจบุญนะ หรือพูดเรื่องทาน พูดไปพูดมากลายเป็นว่า “อุ๊ย แม่คนนั้นน่ะขี้เหนียว อีตาเศรษฐีนั้นก็ขี้เหนียว” ถามว่าใครดี “ฉัน ฉัน” อย่างนี้ใช้ไม่ได้
    ๑๒.ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ

    วิธีสนทนาธรรม
    โดยสรุปหลักในการสนทนาธรรมรวมได้เป็น ๓ ประการ คือ
    ๑.สนทนาในธรรม คือ เรื่องที่จะสนทนากันต้องเป็นเรื่องธรรมะให้อยู่ในวงธรรมะ อย่าออกนอกวง เช่นถ้าพูดถึงการทำความดีก็ให้สุดแค่ทำดีอย่าให้เลยไปถึงอวดดี ถ้าจะพูดถึงเรื่องการป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว ก็ให้สุดแค่ป้องกันการทำชั่ว อย่าให้เลยไปถึงนินทาคนอื่น
    ๒.สนทนาด้วยธรรม คือ ผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ เช่น ทางกายก็มีการเคารพกันโดยฐานานุรูป ควรไหว้ก็ไหว้ ควรกราบก็กราบ อย่าคิดทะนงตัวด้วยเหตุคิดว่ามีความรู้มากกว่าเขา ในทางวาจาก็ใช้ถ้อยคำสุภาพเรียบร้อย เป็นวาจาสุภาษิต ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกก็ชม ถ้าอีกฝ่ายผิดก็ทักโดยสุภาพไม่กล่าววาจาเหน็บแนมล่วงเกิน และถ้าพลาดพลั้งก็ขอโทษไม่ใช่สนทนากันด้วยกิเลส หรือปล่อยกิเลสออกมาโต้กันดังได้กล่าวมาแล้ว
    ๓.สนทนาเพื่อธรรม คือ ผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจของตนให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่จะอวดรู้หรือวดธรรมะ แม้บางจังหวะเราเป็นผู้แสดงความรู้ออกไปก็คิดว่าเราจะเอาความรู้ของเราไปต่อเอาความรู้ของผู้อื่นเข้ามา มิใช่จะเพื่ออวดรู้

    วิธีเลือกคู่สนทนาธรรม
    หลักในการเลือกคู่สนทนาธรรมมีอยู่ ๒ ประการคือ
    ๑.คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรม และสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะแม้เป็นฆราวาสก็เป็นคนรักสงบ ไม่เป็นคนชอบอวดภูมิ ชอบโม้
    ๒.เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะกับบุคคลนั้นๆ เช่น คุยเรื่องพระวินัยกับผู้เชี่ยวชาญพระวินัย คุยเรื่องชาดกกับผู้เชี่ยวชาญชาดกจะสนทนาเรื่องสมาธิก็เลือกสนทนากับผู้ที่เขาฝึกสมาธิมาแล้วอย่างจริงจัง เป็นต้น

    การสนทนาธรรมในครอบครัว
    ตั้งแต่โบราณในครอบครัวไทยก็มีการสนทนาธรรมกันอยู่เป็นประจำ เช่น กลางวันพ่อแม่ออกไปทำนา ทำสวน ทำงานอื่นๆ ผู้เฒ่า ปู่ย่าตายายที่อยู่บ้าน ก็ทำงานสานกระบุง ตะกร้า ไปบ้าง ทำงานอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ก็วิ่งเล่นกันอยู่ใกล้ๆ สักพักปู่ย่าตายายก็เรียกมาล้อมวงเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งก็ไม่พ้นนิทานธรรมะเรื่องชาดกบ้าง เรื่องอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ฟังแล้วสงสัยสิ่งใดก็ซักถามกันทำให้บ่อย ๆจะได้ซึมซาบธรรมะไปในตัว หรือตกเย็นตอนรับประทานอาหารก็อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตารับประทานอาหารเสร็จแล้ว พ่อแม่ก็หยิบยกเรื่องธรรมะมาคุยกันบ้าง เล่าให้ลูกฟังบ้าง เป็นการสนทนาธรรมกันในครอบครัว ขณะเดียวกันก็คอยสังเกตลูกๆ ด้วย เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ก็พอจะทราบอยู่บ้างว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าในวันนั้นเขาไปทำอะไรผิดมา จะมีพิรุธอยู่ในตัว ถ้าพ่อแม่สังเกตก็จะเห็น แล้วก็จะได้ตักเตือนสั่งสอนกัน แต่ถ้าเด็กทำผิดถึง ๓ ครั้งแล้วยังจับไม่ได้ ก็จะไม่มีพิรุธให้เห็นอีก เพราะเด็กจะเกิดความเคยชิน และถึงจะจับได้ภายหลังก็แก้ยาก เพราะเคยชินเป็นนิสัยแล้ว
    ปัจจุบัน โอกาสที่จะสนทนาธรรมกันในครอบครัวมีน้อยลง ส่วนใหญ่พอตกเย็นหลังจากรับประทานอาหารแล้ว พ่อแม่ลูกก็นั่งล้อมวงหน้าทีวีไม่มีโอกาสได้พูดคุยธรรมะกัน ซึ่งอันนี้เป็นข้อบกพร่อง จะทำให้พวกเราพลาดไป ถ้าพ่อแม่คนไหนอยากได้ลูกดี เป็นลูกแก้ว นำชื่อเสียงความเจริญมาสู่ตระกูล อยากให้ครอบครัวร่มเย็น อย่ามองข้ามอันนี้ไป ให้รื้อฟื้นการสนทนาธรรมในครอบครัวขึ้นมาให้ได้ ถ้าเป็นประเภทอาหารเย็นพ่อไปงานเลี้ยงที่หนึ่ง แม่ไปธุระอีกที่หนึ่ง ให้ลูกๆ รับประทานอาหารกันเอง หรืออยู่กับพี่เลี้ยง นั่นพลาดแล้ว
    พ่อแม่ที่มัวแต่คิดจะหาเงินให้ลูก แต่ลืมนึกถึงการปลูกฝังธรรมแก่ลูกๆ ตั้งแต่ยังเล็ก โอกาสที่ลูกจะเสียคนมีมากเหลือเกิน

    อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล
    ๑.ทำให้จิตเป็นกุศล
    ๒.ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
    ๓.ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
    ๔.ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมะที่ตนยังไม่ได้ฟัง
    ๕.ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
    ๖.ทำให้บรรเทาความสงสัยเสียได้
    ๗.เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
    ๘.เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
    ๙.เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้
    ๑๐.ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    [​IMG] <TABLE borderColor=#ff6666 height=200 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=177>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <BIG>ต้ น ไ ม้ ที่ ใ ห้ ผ ล แ ล ะ ร่ ม เ ง า
    น อ ก จ า ก จ ะ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เ ป็ น ไ ม้ มี ป ร ะ โ ย ช น์ แ ล้ ว
    ย่ อ ม ไ ด้ รั บ ก า ร ดู แ ล ใ ส่ ปุ๋ ย พ ร ว น ดิ น ยิ่ ง ๆ ขึ้ น ไ ป อี ก ฉั น ใ ด
    ผู้ ที่ รู้ จั ก ใ ห้ ท า น น อ ก จ า ก จ ะ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เ ป็ น ค น มี ป ร ะ โ ย ช น์ แ ล้ ว
    ย่ อ ม ไ ด้ รั บ ก า ร ย ก ย่ อ ง ส ร ร เ ส ริ ญ
    ช่ ว ย เ ห ลื อ ส นั บ ส นุ น จ า ก ค น ทั้ ง ห ล า ย อี ก ฉั น นั้ น</BIG>

    ท า น คื อ อ ะ ไ ร ?

    ทาน แปลว่า การให้ หมายถึง การสละสิ่งของของตน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
    การให้ทาน เป็นพื้นฐานความดีของมนุษยชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดเสีย มิได้ในการจรรโลงสันติสุข
    พ่อแม่ ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่เลี้ยงเรามา เราเองก็ตายเสียตั้งแต่เกิดแล้ว
    สามีภรรยา หาทรัพย์มาได้ไม่ปันกันใช้ ก็บ้านแตก
    ครูอาจารย์ ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เรา เราก็โง่ดักดาน
    คนเรา ถ้าโกรธแล้วไม่ให้อภัยทานกัน โลกนี้ก็เป็นกลียุค
    ชีวิตของคนเราจึงดำรงอยู่ได้ด้วยทาน เราโตมาได้ก็เพราะทาน เรามีความรู้ในด้านต่างๆ ก็เพราะทาน โลกนี้จะมีสันติสุขได้ก็เพราะทาน การให้ทานจึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติ

    ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ท า น
    [​IMG] อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน
    [​IMG]ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือการให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เช่น ให้ศิลปวิทยาการต่างๆ เรียกว่า วิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ทำใจให้ผ่องใส เรียกว่า ธรรมทาน
    [​IMG]อภัยทาน คือการสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาท ให้ขาดออกจากใจ
    การให้ธรรมะเป็นทาน ถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุด มีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวง เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันกิเลส สามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้จักจบสิ้น ทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ส่วนทานชนิดอื่นๆ ผู้รับได้รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไป
    "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง" ขุ. ธ. ๒๕/๓๔/๖๓

    จุ ด มุ่ ง ห ม า ย ข อ ง ก า ร ใ ห้ ท า น
    [​IMG]ให้เพื่อทำคุณ เป็นการให้เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ให้เพื่อให้ผู้รับนิยมชมชอบในตัวผู้ให้ ไม่ได้มุ่งเพื่อเป็นบุญ เช่น คนที่สมัครผู้แทนฯ ถึงเวลาหาเสียงทีก็เอากฐิน ผ้าป่า ไปทอด ๑๐ วัด ๒๐ วัด ไปสร้างสะพาน สร้างถนน เพื่อให้ชาวบ้านเห็นว่าตนเป็นคนใจบุญ จะได้ลงคะแนนเสียงให้ตน หรือบางคนรักพี่สาวเขา ก็เลยเอาขนมไปฝากน้องชาย การให้อย่างนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้รับรักตัวผู้ให้ การทำเช่นนี้ถ้าถามว่าได้บุญไหม ก็เห็นจะต้องตอบว่า ได้เหมือนกันแต่น้อยเหลือเกิน ได้ไม่เต็มที่ การให้ที่จะได้บุญมากนั้น ต้องให้เพื่ออนุเคราะห์ และสูงขึ้นไปอีกคือให้เพื่อบูชาคุณ
    [​IMG]ให้เพื่ออนุเคราะห์ เป็นการอุดหนุนเอื้อเฟื้อกัน ให้ด้วยความเมตตากรุณา เช่น พ่อแม่ให้อาหารแก่ลูก ครูอาจารย์ให้ความรู้แก่ศิษย์ ผู้มีทรัพย์บริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจน เป็นต้น
    [​IMG]ให้เพื่อบูชาคุณ เมื่อมีผู้ปรารถนาดีต่อเรา เมตตากรุณา ช่วยเหลืออุปการะเรา เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เราก็แสดงความเคารพนบนอบท่านด้วย กาย วาจา ใจ บูชาคุณท่านด้วยทรัพย์สินตามกำลัง ยามท่านเจ็บป่วยก็ช่วย พยาบาลรักษา ไม่ละทิ้งท่านทั้งในยามสุขและยามทุกข์ นอกจากนี้บุคคลที่ควรบูชาคุณ คือพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงคุณธรรม เป็นผู้ชี้ทางสันติสุขแก่โลก ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ เป็นธุระคอยสั่งสอน อบรมแนะนำประชาชนให้พ้นทุกข์ เราก็ควรบูชาท่านด้วยปัจจัยสี่ เพื่อให้ท่านมีกำลังบำเพ็ญสมณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ตามสมณวิสัยได้เต็มที่


    ข้ อ เ ตื อ น ใ จ

    คนเราเมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติแม้แต่เข็มเล่มเดียวก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำทรัพย์ติดตัวไปได้ คือการนำทรัพย์นั้นไปทำทาน
    ทานเป็นประโยชน์แก่ผู้มีชรา (ความแก่) พยาธิ (ความเจ็บ) มรณะ (ความตาย) เผาผลาญอยู่ ถ้ารู้จักขนทรัพย์ออกด้วยทาน ทรัพย์นั้นย่อม เป็นประโยชน์แก่เขาได้ ทรัพย์ที่บำเพ็ญทานแล้ว ชื่อว่าขนออกแล้ว ดูเถอะ เจ้าของเรือนที่ถูกไฟไหม้ ทรัพย์ใดที่ขนออกได้ก็เป็นประโยชน์แก่เขา ส่วน ทรัพย์ใดที่ขนออกไม่ได้ ก็ต้องถูกไฟไหม้อยู่ในเรือนนั่นเอง

    <BIG>
    ท า น ที่ ใ ห้ แ ล้ ว ไ ม่ ไ ด้ บุ ญ
    </BIG>

    [​IMG] ให้สุรายาเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ
    [​IMG] ให้อาวุธ เช่น เขากำลังทะเลาะกัน ยื่นปืน ยื่นมีดให้
    [​IMG] ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนังดูละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริบ
    [​IMG] ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆ ไป ให้เจ้านาย ฯลฯ
    [​IMG] ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือลามกและสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย


    วิ ธี ท ำ ท า น ใ ห้ ไ ด้ บุ ญ ม า ก

    การทำทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ
    [​IMG]วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกง หรือเบียดเบียนใครมา
    ให้ทานด้วยน้ำพริกผักต้มที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ ได้กุศลมากกว่า ให้อาหารโต๊ะจีนราคาตั้งพัน ด้วยเงินทองที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์
    [​IMG] เจตนาบริสุทธิ์ คือมีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ออกจากใจของตน ทำเพื่อเอาบุญ ไม่ใช่เอาหน้าเอาชื่อเสียง ไม่ใช่เอาความเด่นความดังความรัก จะต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ
    - ก่อนให้ก็มีใจเลื่อมใสศรัทธาเป็นทุนเดิม เต็มใจที่จะทำบุญนั้น
    - ขณะให้ก็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจเบิกบาน
    - หลังจากให้ก็มีใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดายสิ่งที่ให้ไปแล้ว
    [​IMG] บุคคลบริสุทธิ์ คือเลือกให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม โดยทั่วไปแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก แต่ถึงกระนั้นก็ทรงสอนให้เลือก ถ้าจะนิมนต์พระภิกษุเฉพาะเจาะจง ก็ให้นิมนต์พระที่เคร่งครัดในสิกขาวินัยน่าเลื่อมใส ถ้าจะนิมนต์พระไม่เฉพาะเจาะจง ให้สมภารจัดให้ ก็ให้เลือกนิมนต์จากหมู่สงฆ์ที่ประพฤติสิกขาวินัยเคร่งครัด สำหรับผู้ให้ทานคือตัวเราเอง ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก จะเห็นว่าทุกครั้งที่เราจะถวายสังฆทาน พระท่านจะให้ศีลก่อน เพื่อว่าอย่างน้อยที่สุดในขณะนั้นเรายังมีศีล ๕ ครบ จะได้เกิดบุญกุศลเต็มที่


    ผ ล ข อ ง ท า น

    การให้ทานเป็นเรื่องของความชุ่มเย็น ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอย่อมมีใจผ่องใสเยือกเย็น หมู่ชนที่นิยมการให้ทาน ย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจ เนื่องจากต่างคนต่างมีอัธยาศัยไมตรีถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อนึ่ง ผลบุญจากการให้ทาน จะสะสมอยู่ในใจของเรา ทำให้มีอำนาจมีพลังสามารถดึงดูดทรัพย์ได้ ถ้าใครสั่งสมการให้ และการเสียสละมามาก จะมีพลังดูดทรัพย์มาก ถ้าใครมีใจตระหนี่มีความ โลภมาก จะมีพลังดูดทรัพย์น้อย โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า คนทำทานมามากจะทำให้รวย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงยกย่องทานไว้หลายลักษณะดังนี้ คนควรให้ในสิ่งที่ควรให้ ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๑๐๑๒/๒๑๗
    การเลือกให้ทานพระสุคตสรรเสริญ ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๑๑๘๔/๒๔๙
    คนพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๓๘
    เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้วทักษิณาทานหาชื่อว่าเป็นของน้อยไม่ ขุ. วิ. ๒๖/๔๗/๘๒
    บุญของผู้ให้ย่อมเจริญก้าวหน้า ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘/๒๑๕
    ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ สํ. ส. ๑๕/๘๔๕/๓๑๖
    ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๕/๔๓
    ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับความสุข องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๗/๔๕
    ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้อมฤตธรรม (กินททสูตร) สํ. ส. ๑๕/๑๓๘/๔๔
    ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ นระใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นระนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ (มนาปทายีสูตร) องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔/๕๖
    <BIG>

    [​IMG]
    </BIG>
    <BIG>ก า ร บ ำ เ พ็ ญ ท า น</BIG><BIG></BIG>
    [​IMG] เป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย
    [​IMG] เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง
    [​IMG] ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
    [​IMG] ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
    [​IMG] ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
    [​IMG] ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์
    [​IMG] ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
    [​IMG] ฃทำให้เข้าสังคมได้คล่องแคล่ว
    [​IMG] ทำให้แกล้วกล้าอาจหาญในทุกชุมชน
    [​IMG] ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
    [​IMG] แม้ตายแล้วก็ไปเกิดในสวรรค
     
  14. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <BIG><BIG>
    [​IMG]
    </BIG></BIG>

    <TABLE borderColor=#ff6666 height=200 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=177>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <BIG>เ ด็ ก ต้ อ ง ก า ร ตั ว อ ย่ า ง ที่ ดี
    จ า ก พ่ อ แ ม่ ค รู อ า จ า ร ย์ ฉั น ใ ด
    ช า ว โ ล ก ทั้ ง ห ล า ย ก็ ต้ อ ง ก า ร ตั ว อ ย่ า ง ที่ ดี
    จ า ก ส ม ณ ะ ฉั น นั้ น
    </BIG>
    ท ำ ไ ม จึ ง ต้ อ ง เ ห็ น ส ม ณ ะ ?
    ความสุขทั้งหลายในโลกนี้มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
    [​IMG] ความสุขที่ต้องอิงวัตถุกามหรือกามสุข เป็นความสุขทางเนื้อหนัง เช่น ได้เห็นรูปสวยๆ ได้ฟังเพลงเพราะๆ ได้กลิ่นหอมๆ ได้กินอาหารอร่อยๆ ได้สัมผัสที่นุ่มนวล ฯลฯ จัดเป็นความสุขภายนอกที่เห็นกันได้ง่าย
    [​IMG] ความสุขที่ไม่ต้องอิงวัตถุ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาให้ใจสงบและเกิดปัญญา เป็นความสุขของผู้เข้าถึงธรรม จัดเป็นความสุข ภายใน เมื่อเทียบกันแล้ว ความสุขภายในอันเกิดจากความสงบนั้น เป็นสุขที่ เลิศกว่าอย่างเทียบไม่ได้ แต่เห็นและเข้าใจได้ยากกว่า
    ความสุขภายในนั้น เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะเราคาด คะเนไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติธรรม ยังไม่เคยพบกับความสุขชนิดนี้ ก็จะไม่คุ้น แม้อ่านจากตำราก็ยากจะเข้าใจ เช่น พระท่านบอกว่าผู้ที่รักษาศีลแล้วจะมีจิตที่ร่าเริงแจ่มใส ถ้าคนยังไม่เคยปฏิบัติธรรมจะนึกค้านทันที ว่าคนรักษาศีลจะร่าเริงได้อย่างไร จะทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็ต้องคอยระวังกลัวจะผิดศีล สู้คนไม่มีศีลไม่ได้ จะดื่มเหล้าก็ดื่มได้ จะเที่ยวก็เที่ยวได้ เห็นพวกขี้เมาร้องรำทำเพลง เชียร์มวยแทงม้าส่งเสียงกันอึงคะนึง ร่าเริงสนุกสนานกว่าตั้งเยอะ แล้วมาบอกว่ารักษาศีลแล้วจิตจะร่าเริงแจ่มใส อย่ามาหลอกกันให้ยากเลย เราไม่ยอมเชื่อหรอก
    ต่อเมื่อใดได้พบคนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ เห็นคนที่รักษาศีลมาแล้ว อย่างดีเยี่ยม หน้าตาท่านก็ผ่องใส ไม่บึ้งไม่ตึง พูดจาก็ไพเราะ ถึงได้เชื่อว่า เออจริง คนที่รักษาศีลมาแล้วอย่างดี เขาร่าเริง แต่ร่าเริงอีกอย่าง ไม่เหมือนที่เราเคยเห็น ไม่เหมือนที่เราเคยรู้จัก ถึงแม้ยังไม่ปักใจเชื่อแต่อย่างน้อยก็คิดที่จะทดลองทำตาม แม้ไม่ได้ทำตามอย่างน้อยก็ฉุกคิดถึงการทำความดีบางอย่างขึ้นมาได้
    คนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ คือสมณะ ซึ่งถ้าใครได้เห็นแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจให้คิดถึงธรรม เหมือนระเบิดที่จุดชนวนแล้วย่อมแสดงอานุภาพออกมาเต็มที่ สติปัญญา ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ จะได้รับการกระตุ้นจากการเห็นสมณะให้นำมาใช้สร้างความดีได้เต็มที่

    ส ม ณ ะ คื อ ใ ค ร ?

    สมณะ แปลว่า ผู้สงบ หมายถึง บรรพชิตที่ได้บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกฝนตนเองด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มาแล้วอย่างเต็มที่ จนกระทั่งมีกายวาจา ใจ สงบแล้วจากบาป สมณะทุกรูปจึงต้องเป็นบรรพชิต แต่บรรพชิตบางรูปอาจไม่ได้เป็นสมณะก็ได้
    “คนเราไม่ใช่จะเป็นสมณะเพราะหัวโล้น คนที่ไม่ทำกิจวัตร มีแต่พูดพล่อยๆ มีความริษยากัน เป็นคนละโมบ จะจัดเป็นสมณะได้อย่างไร คนที่เราตถาคตเรียกว่าสมณะนั้น จะต้องเป็นผู้ระงับจากการทำบาป น้อยใหญ่เสีย” ขุ. ธ. ๒๕/๒๙/๕๐

    ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส ม ณ ะ

    [​IMG]สมณะต้องสงบกาย คือมีความสำรวม ไม่คะนอง ไม่มีกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ชกต่อย ฆ่าฟัน สะพายดาบ พกมีดพกปืน เดินขบวน หรือเฮโลยกพวกเข้าชิงดีชิงเด่น แย่งที่อยู่ที่ทำกินกัน อันเป็นกิริยาของคนไม่สงบ คนที่เป็นสมณะไม่ว่าจะเข้าที่ไหนจะอยู่ที่ไหน ย่อมจะไม่ทำความชอกช้ำแก่ใคร
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชมพระโมคคัลลานะในเรื่องนี้ว่า ท่านแม้จะมีฤทธิ์เดชมาก แต่ไม่ว่าจะไปที่ใด ก็ไม่เคยทำความช้ำชอกแก่ตระกูลนั้นเลย จะบิณฑบาตรับของถวายอะไรก็ตาม ก็คอยดูว่าเขาจะเดือดร้อนไหม รับแต่พอประมาณ เปรียบเหมือนแมลงภู่บินเข้าสวน ดูดเกสรดอกไม้จนอิ่มหนำสำราญ แต่ไม่เคยทำความช้ำชอกให้แก่ดอกไม้เลย
    นอกจากนี้แล้วสมณะยังต้องคำนึงถึง สมณสารูป คือจะทำอะไรต้องให้ควรแก่สมณวิสัย
    [​IMG] สมณะต้องสงบวาจา คือไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้ายใคร ไม่ยุยงใส่ร้ายป้ายสีกัน จะเป็นระหว่างพระกับพระ หรือพระกับฆราวาสก็ตาม จะทำไปโดยอ้างคณะ อ้างนิกาย อ้างวัด อ้างพวกไม่ได้ทั้งนั้น มีแต่วาจาที่เป็นอรรถเป็นธรรม ไม่ใช่วาจาเหมือนคมหอกคมดาบ แม้การพูดให้คนอื่นกระดากขวยเขิน เช่น พูดจาเกาะแกะผู้หญิงเล่นสนุกๆ ก็ผิดสมณสารูป
    [​IMG] สมณะต้องสงบใจ คือทำใจให้หยุดนิ่งเป็นสุขอยู่ภายใน สงบจากบาปกรรม ตรึกนึกถึงธรรมเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ทำเป็นสงบแต่เปลือกนอกเหมือนเสือเฒ่าจำศีล จิตใจของสมณะที่แท้ย่อมเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ไม่เป็นภัยต่อผู้ใด
    การที่มีความสงบกาย วาจา ใจ ทั้ง ๓ ประการนี้ ส่งผลให้สมณะมีความสง่างามอยู่ในตัว
    มีคำอยู่ ๒ คำที่ใช้ชมความงามของคน คือถ้าชมชายหนุ่มหญิงสาวทั่วไปเราใช้คำว่า สวยงาม แต่ถ้าจะชมสมณะเราใช้คำว่า สง่างาม เป็นความงามที่สง่า และยังมีความสงบเสงี่ยมอยู่ในตัว ทั้งสง่างามและสงบเสงี่ยม แต่ไม่จ๋อง ไม่กระจอกงอกง่อย เพราะมีความเชื่อมั่นในคุณธรรมที่ตนเองปฏิบัติอยู่ มีความอิ่มเอิบอยู่ในธรรม เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงอานิสงส์ของการประพฤติดีปฏิบัติชอบ
    “สมณะจึงเป็นมาตรฐานความประพฤติของชาวโลกทั้งหลาย”

    ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส ม ณ ะ ใ น เ ชิ ง ป ฏิ บั ติ

    [​IMG] สมณะต้องไม่ทำอันตรายใคร ไม่ว่าทางกายหรือทางวาจาก็ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร แม้ในความคิดก็ไม่คิดให้ร้ายใคร
    [​IMG] สมณะต้องไม่เห็นแก่ลาภ ดำรงชีพอยู่เพียงเพื่อทำความเพียร มี ความสันโดษ ไม่เป็นคนเห็นแก่กิน เห็นแก่ปากแก่ท้อง
    [​IMG]สมณะต้องบำเพ็ญสมณธรรม พยายามฝึกฝนตนเอง ไม่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ กิจวัตรของสมณะ เช่น การสวดมนต์ทำวัตร การศึกษาพระธรรมวินัย กิริยามารยาทต่างๆ ตั้งใจฝึกฝนอย่างเต็มที่
    [​IMG] สมณะต้องบำเพ็ญตบะ คือทำความเพียรเพื่อกำจัดกิเลส เป็นทหารในกองทัพธรรมอย่างเต็มที่ ตั้งใจรบเอาชนะกิเลสให้ได้ ไม่ว่าจะโดยการเดินจงกรม ทำสมาธิ อยู่ธุดงค์ ก็ตาม

    ช นิ ด ข อ ง ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

    การเห็นของคนแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ
    [​IMG] เห็นด้วยตา เรียกว่า พบเห็น คือเห็นถึงรูปร่าง ลักษณะกิริยามารยาทอันสง่างาม และสงบของท่าน
    [​IMG] เห็นด้วยใจ เรียกว่า คิดเห็น คือนอกจากจะเห็นตัวท่านซึ่งเป็นสมณบุคคลแล้ว ยังพิจารณาตรองดูด้วยใจ จนสามารถคาดคะเนได้ถึงคุณธรรมภายใน ที่ทำให้ท่านสงบเสงี่ยม แต่สง่างามอย่างน่าอัศจรรย์ หรือเรียกว่าเห็นถึงสมณธรรมของท่าน
    [​IMG] เห็นด้วยญาณ เรียกว่า รู้เห็น คือไม่ใช่เป็นเพียงการคิดคาดคะเนถึงคุณธรรมของท่านเท่านั้น แต่เห็นด้วยญาณทัสนะ เห็นด้วยปัญญาทางธรรม ทีเดียวว่า ท่านมีคุณธรรมมากเพียงใด เป็นการเห็นของผู้ที่ปฏิบัติธรรมมาดีแล้ว จนกระทั่งเกิดญาณทัสนะ แล้วอาศัยญาณทัสนะ มองทะลุเข้าไปในใจคนอื่นได้ การเห็นชนิดนี้ชัดเจนถูกต้องแน่นอนไม่มีการผิดพลาด

    กิ จ ที่ ค ว ร ท ำ เ พื่ อ ใ ห้ เ กิ ด ป ร ะ โ ย ช น์ จ า ก ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

    ในการเห็นสมณะนั้น ถ้าหากเห็นเพียงชั่วขณะ เช่น เห็นท่านเดินผ่านไป หรือเราเผอิญเดินไปเห็นท่าน แล้วก็ผ่านเลยไป อย่างนั้นได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่จากการเห็นสมณะ พึงกระทำดังนี้
    [​IMG]ต้องเข้าไปหา หมายถึง หมั่นเข้าใกล้ ไปมาหาสู่ท่าน เห็นคุณค่าในการเห็นสมณะ แม้งานจะยุ่งเพียงไร ก็พยายามหาเวลาเข้าไปหาท่านเสมอ เพื่อรับการถ่ายทอดคุณธรรม
    [​IMG]ต้องเข้าไปบำรุง หมายถึง เข้าไปช่วยทำกิจของท่าน เช่น ปัด กวาดเช็ดถูกุฏิ จัดหาปัจจัย ๔ ไปถวายท่าน ท่านจะได้ไม่มีภาระมาก และจะได้มีเวลามีโอกาสได้สนทนาธรรมกันมากขึ้น
    [​IMG]ตามฟัง หมายถึง ตั้งใจฟังคำเทศน์คำสอนของท่านด้วยใจจดจ่อ
    [​IMG] ตามระลึกถึงท่าน หมายถึง เมื่อพบท่านได้ฟังคำสอนของท่านแล้ว ก็ตามระลึกถึง ทั้งกิริยามารยาทของท่าน นำคำสอนโอวาทของท่านมาไตร่ตรอง พิจารณาอยู่เสมอ
    [​IMG] ตามดูตามเห็น หมายถึง ดูท่านด้วยตาเนื้อของเราด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างหนึ่ง และตามดูท่านด้วยความคิดและปัญญาทางธรรม ให้เห็นตัวสมณธรรมของท่านอีกอย่างหนึ่ง เห็นท่านทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น ไม่ดื้อรั้น

    เ ห ตุ ที่ ช า ว โ ล ก อ ย า ก ใ ห้ ส ม ณ ะ ห รื อ พ ร ะ มี ศี ล ไ ป เ ยี่ ย ม บ้ า น

    เมื่อสมณะหรือพระผู้มีศีลบริสุทธิ์เข้าสู่สกุลใด มนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ ประการ ดังนี้
    [​IMG] จิตของเขาย่อมเลื่อมใสเพราะได้เห็นสมณะ เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์
    [​IMG] เขาย่อมพากันต้อนรับกราบไหว้ให้อาสนะแก่สมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการเกิดในสกุลสูง
    [​IMG] เขาย่อมกำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ในสมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้เกียรติศักดิ์อันยิ่งใหญ่
    [​IMG] เขาย่อมแจกจ่ายทานตามสติกำลังในสมณะผู้เข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้โภคะใหญ่
    [​IMG] เขาย่อมไต่ถาม สอบสวน ฟังธรรม จากสมณะซึ่งเข้าไปสู่สกุล เป็นผลให้สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการได้ปัญญาใหญ่

    ข้ อ ค ว ร ป ฏิ บั ติ เ มื่ อ พ บ ส ม ณ ะ

    [​IMG] ถ้าไทยธรรมมีอยู่ พึงต้อนรับด้วยไทยธรรมนั้นตามสมควร
    [​IMG] ถ้าไทยธรรมไม่มี พึงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์
    [​IMG] ถ้าไม่สะดวกในการกราบก็ประนมมือไหว้
    [​IMG] ถ้าไหว้ไม่สะดวกก็ยืนตรง หรือแสดงความเคารพด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น หลีกทางให้
    [​IMG] อย่างน้อยที่สุด ต้องแลดูด้วยจิตเลื่อมใส
    <BIG>
    [​IMG]
    </BIG>
    ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ
    [​IMG] ทำให้ได้สติ ฉุกคิดถึงบุญกุศล
    [​IMG] ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดีตามท่าน
    [​IMG] ทำให้ตาแจ่มใสดุจแก้วมณี
    [​IMG] ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท
    [​IMG] ชื่อว่าได้บูชาพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง
    [​IMG] ทำให้ได้สมบัติ ๓ คือมนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ โดยง่าย
    [​IMG] ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
    ฯลฯ

    ตั ว อ ย่ า ง อ า นิ ส ง ส์ ก า ร เ ห็ น ส ม ณ ะ

    พระสารีบุตรสมัยที่ยังเป็นกุลบุตรชื่อ อุปติสสะ เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง ได้ศึกษาศิลปวิทยาการทางโลก มาจนจบวิชา ๑๘ ประการ หลังจากสำเร็จการ ศึกษาแล้วต้องการแสวงหาโมกขธรรม จึงออกบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก เพราะขณะนั้นยังไม่พบพระพุทธศาสนา ศึกษาจนหมดแล้วก็ยังไม่สามารถปราบกิเลสในตัวได้ จึงออกท่องเที่ยวไปโดยหวังว่าอาจพบพระอรหันต์ในโลกนี้
    อยู่มาวันหนึ่งไปพบพระอัสสชิ ซึ่งเป็นพระอรหันต์แล้ว กำลังเดินบิณฑบาตอยู่ เห็นท่านมีผิวพรรณผ่องใส กิริยามารยาทงดงาม ท่าทางสงบสำรวม เกิดความเลื่อมใสจึงติดตามไปและจัดที่นั่งให้ฉันอาหาร รอจนท่านฉันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เข้าไปกราบเรียนถามท่านว่า
    “ท่านขอรับ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณก็บริสุทธิ์ ท่านตั้งใจบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร?”
    พระอัสสชิตอบว่า
    “พระมหาสมณะผู้เป็นบุตรศากยราช ผู้ออกบวชจากศากยตระกูลนั้นมีอยู่ เราตั้งใจบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น”
    พระสารีบุตรถามต่อว่า
    “ศาสดาของท่านมีปกติสอนอย่างไร?”
    พระอัสสชิตอบว่า
    “เราเป็นผู้บวชใหม่อยู่ เพิ่งเข้าสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นาน ไม่อาจแสดงธรรมให้พิสดารได้ แต่เราพอจะแสดงได้เฉพาะความย่อ
    ธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสสอนอย่างนี้”
    พระสารีบุตรท่านฟังแล้วตรองตาม ก็ได้เข้าถึงธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบันอยู่ตรงนั้นเอง
    พวกเราฟังดูแล้วเป็นอย่างไร ธรรมที่พระอัสสชิทรงแสดง ฟังแล้วก็งั้นๆ ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ค่อยซาบซึ้งเท่าไร เพราะภพในอดีตพบเห็นสมณะมาก็มาก แต่ยังไม่ค่อยได้ใส่ใจ แค่พบเห็นด้วยตาเนื้อ ยังไม่ได้คิดเห็นด้วยใจ หรือรู้เห็นด้วยญาณทัศนะถึงคุณธรรมของท่าน
    แต่พระสารีบุตรท่านไม่ใช่อย่างเรา ท่านเห็นสมณะข้ามภพข้ามชาติมามาก เห็นแล้วก็ไม่ใช่เพียงแค่พบเห็น แต่พยายามทั้งคิดเห็นรู้เห็นถึงคุณธรรมของท่าน พยายามตรึกตรองให้เข้าใจให้ได้ มาในภพนี้ พระอัสสชิเทศน์เพียงสั้นๆ ย่อๆ เท่านี้ท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน นี่คืออานิสงส์ของการเห็นสมณะทั้งภพในอดีตและภพชาติปัจจุบัน
    นอกจากนี้เราลองสังเกตถึงคุณธรรมของท่านทั้งสองต่อไปอีก พระสารีบุตรก็เป็นคนรู้จักกาลเทศะ รอปรนนิบัติจนพระอัสสชิฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงได้ถามธรรมะ พระอัสสชิเองก็มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเต็มที่ ตนเองเป็นถึงพระอรหันต์แล้ว แต่ก็ยังถ่อมตนว่ายังเป็นผู้บวชใหม่อยู่ เพิ่งเข้าสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นาน ยังไม่อาจแสดงธรรมโดยพิสดารได้ ได้แต่แสดงแบบย่อๆ
    เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคน ใครที่นึกเอาว่าตนเองเก่งนักเก่งหนา วางก้ามวางโตน่ะ ลองถามตัวเองดูก่อนเถอะว่า คุณธรรมในตัวนั้นมีขนาดไหน เก่งกล้าสามารถจริงแล้วหรือถึงได้อวดเบ่งอย่างนั้น อย่าเลย มาฝึกฝน ตนเองให้มีคุณธรรมจริง แต่ไม่อวดตัวอวดเบ่งอย่างพระอัสสชิ และให้มีความเคารพ รู้จักเห็นสมณะอย่างพระสารีบุตรกันเถิด
    จบมงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
     
  15. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เข้าวัดได้ประโยชหลากหลาย เหมือนเดินเข้าซุปเปอมาเกตอยู่ที่ว่าจะได้อะไรออกมา

    มีสติที่กายและใจตน ย่อมเป็นดั่งเสาหลักปักกลางใจไม่ไหลตามไม่หลงไปตามกิเลสหรือสิ่งใดหรือผู้ใด

    มีสติในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่กายใจตน ไปสนสิ่งอื่นที่มากระทบหลักใจไม่อยู่กับกายเราใจเราไปอยู่ที่อื่นมันย่อมไม่มั่นคงย่อมไหลตามกิเลสไป
     
  16. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,516
    ค่าพลัง:
    +9,769
    บัวมีหลายเหล่า ฉันใด ก็ฉันนั้น

    บางคน ไม่รักษาศีล แต่ชอบทำแต่ทาน ก็มี
    บางคนชอบนั่งสมาธิ แต่ไม่ทำทาน ก็มาก
    กรณีนี้ ชอบนั่งสมาธิ แต่ไม่รักษาศีล

    หากถามว่าได้บุญหรืออานิสงส์ใดหรือไม่ ตอบได้ทันทีว่าได้แน่ เพราะเป็นกรรมฝ่ายดี ส่วนการก่ออกุศลกรรมใหม่ของเขาก็ต้องแยกพิจารณาเป็นกรณี ๆ
    ไปตามเหตุการณ์แต่ละเรื่อง อย่าสรุปเหมารวมว่าไปวัดแล้วไม่ดี

    ในครั้งพุทธกาลเคยมีพราหมณ์หลังปฏิบัติธรรมมาทั้งคืน ตอนเช้าเดินกลับบ้าน
    ระหว่างทางมีโขมยวิ่งราวทรัพย์ชาวบ้าน วิ่งหนีสวนมา และได้ทิ้งของให้ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าว่าพราหมณ์นั้นเป็นขโมย จึงถูกชาวบ้านทำร้ายจนตาย

    ชาวบ้าน สงสัยกันอย่างมากว่าทำไมทำบุญคือปฏิบัติธรรมแล้วกลับได้ผลกรรมร้ายแบบนี้ จึงไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ๆ ก็อธิบายให้ฟังอย่างละเอียด สรุปคือเป็นเพราะบุพกรรมแต่เก่าก่อนมาส่งผล ไม่ใช่กรรมปัจจุบันในภพนี้
    และทรงย้ำว่า อย่าสงสัยในเรื่องของกรรม เมื่อทำความดีทำแล้วได้ผลกรรมดีแน่นอน

    สมาธิที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ จะมีทางที่จะเข้าถึงวิปัสสนาญาณหรือบรรลุธรรมได้ยากมาก เพราะจะต้องเผชิญกับนิวรณ์ที่จะเป็นอุปสรรคใหญ่คอยกั้นเอาไว้
     
  17. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    พื้นฐานของสมาธิคือศีลเจ้าค่ะ ถ้าไม่ทีศีลก็ไม่ถึงคำสอนของพระพุธเจ้า

    ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อศีลเกิดสมาธิก็เกิดเมื่อ 2 อย่างควบคู่กันไปปัญญาจึงเกิด ถ้ามีแต่สมาธิศีลไม่มี ปัญญาก็ไม่เกิด
     
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    มาดูภาพสมณะให้เกิดอุดมมงคลกัน
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1HiWbQnUx6k]YouTube - ภาพพระสุปฏิปันโน[/ame]
     
  19. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +5,066
    อย่างน้อยพี่ชายคุณก็ได้ก้าวเดินเข้าหาศาสนา ถึงจะไม่ครบเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ ดีกว่าไม่เอาอะไรเลย อย่างน้อยพี่คุณก็ยังให้เวลาช่วงหนึ่งของวัน เอาหินทับหญ้า เป็นความคิดเห็นส่วนตัว อาจจะผิดก็ได้ในความถูกต้องของผู้รู้
     
  20. อิริ

    อิริ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +68
    ธาตุกินธาตุ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...