เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กับไตรลักษณ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย OddyWriter, 30 เมษายน 2009.

  1. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    กระทู้นี้ตั้งขึ้นมาด้วยความสงสัยครับ

    มีท่านใดพอพอจะอนุเคราะห์ได้

    คือไตรลักษณ์จะประกอบด้วย

    อนิจจัง
    ทุกขัง
    อนัตตา

    แต่ปัญหาของผมคือ เคยได้ยินคำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    เลยอยากทราบว่า 3 ข้อนี้คือหลักการของอะไร (คืออยากทราบชื่อหลักนี้น่ะครับ)

    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  2. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    อธิบายง่ายๆสั้นๆพอเข้าใจ ไตรลักษณ์เป็นคุณสมบัติของจิต
    จิตกับความคิดคือตัวเดียวกัน ถ้าเราปล่อยให้จิตเราเป็นธรรมชาติ
    จิตซึ่งเป็นขบวนการความคิดก็จะดำเนินไป โดยมีไตรลักษณ์คอย
    กำกับ ซึ่งทำให้เราเห็นถึงการทำหน้าที่ของจิต คือเกิดทุกข์
    ความไม่เที่ยง คือแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และไม่สามารถบังคับมันได้


    ดังกล่าวไว้ข้างต้น จิตเป็นขบวนการความคิด ในขณะจิตหนึ่ง
    จิตมีดวงเดียวแต่มีอารมณ์ต่างๆเกิดพร้อมกับจิตด้วยเรียกว่าเจตสิก
    จิตจะทำหน้าที่ของมันไปในอารมณ์ต่างๆภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์
    แล้วดับไป เกิดจิตดวงใหม่ขึ้นทำหน้าที่ของมันใหม่ พออธิบายได้
    การเกิดขึ้น คือการที่เกิดจิตหรือขบวนการความคิดใหม่ขึ้น
    การตั้งอยู่ คือการที่จิตหรือความคิดแสดงอารมณ์ให้รู้
    การดับไป คือเมื่อจิตหรือความคิดเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น แสดงให้เห็นว่าจิตดวงเก่าได้ดับไปแล้ว
     
  3. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    เกิดขึ้น .... ตั้งอยู่ .... ดับไป ....

    กับ กฏไตรลักษณ์ .... คือ

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา....

    คำทั้ง สองชุดนี้ แตกต่างที่ บัญญัติทางภาษา ... แต่ความหมาย นั้น เหมือน กัน คือ...

    เกิดขึ้น คู่กับ อนิจจัง
    ...จริงๆ อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง เหตุที่ผมนำ สองคำนี้มาคู่กัน เพราะ การเกิดของทุกสรรพสิ่งล้วนมาจาก สิ่งต่างๆ คือมีเหตุมาประกอบกันให้เกิด... การเกิดนั้น จึง "ไม่เที่ยง"
    จะเกิดเป็นอะไร ก็สุดแท้แต่ว่า เหตุ เป็นอย่างไร...ผลก็เกิด ขึ้นอย่างนั้น..เหตุเปลี่ยน ผล..ก็เปลี่ยน.. จึงชื่อไม่เที่ยง...การเกิด จึง เท่ากับ ..อนิจจัง....ยิ่งเปรียบกับอารมณ์ หรือจิต ที่เกิด ขึ้น...ก็จะยิ่งเห็นชัด.... เมื่อตากระทบ รูป... หู กระทบเสียง... ลิ้นกระทบ รส..จมูก กระทบกลิ่น กายสัมผ้ส...เกิดอารมณ์ หนึ่งๆขึ้น...สิ่งที่เกิด ก็แปรเปลี่ยนไปตามจิตที่ ปรุ่งแต่งนั้นอีก...เด๋วสุข เด๋วทุกข์ ในเรื่องๆเดียวกันนั้น... จึง ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง

    ตั้งอยู่ คู่กับ..ทุกข์
    ...เพราะ เมื่ออารมณ์ใดๆตั้งอยู่ แสดงว่าจิตเข้าไป เกาะเกียวสิ่งนั้นไว้ ไปยึดถือสิ่งนั้นไว้ ความทุกข์ก็เกิด...ส่วนคำว่าสุข จริงๆแล้ว สุข..จริงเหรอ?? หรือ แค่ความทุกข์ลดลงนิดหนึ่งก็รู้สึกว่า สุขแล้ว...เช่น อยู่ในอากาศ ร้อนๆ..ก็ รู้สึกว่า ทุกข์ใจหงุดหงิด พอมีลมโชยมานิดหนึ่ง ก็...รู้สึกดี..สบายขึ้นจิตก็ แปรความรู้สึกนั้นว่า สบายเป็นสุขขึ้น แต่จริงๆแล้ว แค่ ทุกข์ลดลงนิดนึ่ง ก็เรียกว่าสุขแล้ว...ความสุขจริงๆ จึงไม่มี(ในทางโลก นะ) ดังนั้น อารมณ์ใด ตั้งอยู่...จึง เทียบได้กับทุกข์...

    ดับไป คู่กับ อนัตตา
    ...อนัตตาแปลว่า ไม่มี ตัวตน... เมื่อ เอา สองคำข้างต้น (เกิดขึ้น-ตั้งอยู่...หรือ อนิจจัง-ทุกขัง) มาพิจารณา เราก็จะเห็นว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นตัว เป็นตน ที่จริงแท้เลย... ทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแปรเปลี่ยนไปตาม เหตุ...
    เหตุ เปลี่ยน ผล ก็เปลี่ยน เมื่อเห็นได้ดั่งนี้... จิตก็คลายความยึดมั่น คลายความยึดเกาะ
    ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ความทุกข์ จึงลดลง ความสุขก็มากขึ้น .. เป็น สุขที่ไม่อาศัยเหตุปัจจัยภายนอก

    ...แถมให้นิด...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...
    นี่แหละคับ หัวใจของ วิปัสนากรรมฐาน... ใครที่บอกว่า เดินวิปัสนาอยู่ ต้องเห็น กฏไตรลักษณ์ นี่.... ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ ก็ไม่เรียกว่า วิปัสนา...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2009
  4. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    เกิดขึ้น .... ตั้งอยู่ .... ดับไป ....กับ กฏไตรลักษณ์ .... คือ
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา....
    คำทั้ง สองชุดนี้ แตกต่างที่ บัญญัติทางภาษา ... แต่ความหมาย นั้น เหมือน กัน คือ...
    ถ้าเรามองดู ความหมายอาจคล้ายกัน แต่เป็นคนละคำกันครับ
    เกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไป เป็นคำที่ไปขยายคำว่า ไตรลักษณ์
    ทุกคำเชื่อมโยงกัน อาศัยกันและกัน แต่มิใช่คำเดียวกัน
    ดังนั้นเมื่อเกิดไตรลักษณ์ จะตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป ซึ่งเป็นขบวนการความคิดอันเก่า แล้วก่อให้เกิดขบวนการความคิดใหม่ขึ้นมา ตั้งอยู่
    ดับไป วนเวียนอยู่อย่างนี้

    เกิดขึ้น คู่กับ อนิจจัง
    ...จริงๆ อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง เหตุที่ผมนำ สองคำนี้มาคู่กัน เพราะ การเกิดของทุกสรรพสิ่งล้วนมาจาก สิ่งต่างๆ คือมีเหตุมาประกอบกันให้เกิด... การเกิดนั้น จึง "ไม่เที่ยง"
    จะเกิดเป็นอะไร ก็สุดแท้แต่ว่า เหตุ เป็นอย่างไร...ผลก็เกิด ขึ้นอย่างนั้น..เหตุเปลี่ยน ผล..ก็เปลี่ยน.. จึงชื่อไม่เที่ยง...การเกิด จึง เท่ากับ ..อนิจจัง....ยิ่งเปรียบกับอารมณ์ หรือจิต ที่เกิด ขึ้น...ก็จะยิ่งเห็นชัด.... เมื่อตากระทบ รูป... หู กระทบเสียง... ลิ้นกระทบ รส..จมูก กระทบกลิ่น กายสัมผ้ส...เกิดอารมณ์ หนึ่งๆขึ้น...สิ่งที่เกิด ก็แปรเปลี่ยนไปตามจิตที่ ปรุ่งแต่งนั้นอีก...เด๋วสุข เด๋วทุกข์ ในเรื่องๆเดียวกันนั้น... จึง ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง
    ความหมายของคำว่าอนิจจังไม่ใช่คำเดียวกับเกิดขึ้น พออธิบายได้ดังนี้ ทุกสิ่งอย่างเมื่อเกิดขึ้นมันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันไม่สามารถคงทนอยู่ได้ ตั้งอยู่ชั่วคราวแล้วจึงดับไป ทำให้เกิดทุกข์ขึ้น เพราะไม่สามารถบังคับให้มันอยู่กับเราได้ จะสังเกตุได้ว่า ทุกคำเชื่อมโยงกัน
    เป็นผลของกันและกัน แต่ไม่ใช่คำเดียวกัน

    ตั้งอยู่ คู่กับ..ทุกข์
    ...เพราะ เมื่ออารมณ์ใดๆตั้งอยู่ แสดงว่าจิตเข้าไป เกาะเกียวสิ่งนั้นไว้ ไปยึดถือสิ่งนั้นไว้ ความทุกข์ก็เกิด...ส่วนคำว่าสุข จริงๆแล้ว สุข..จริงเหรอ?? หรือ แค่ความทุกข์ลดลงนิดหนึ่งก็รู้สึกว่า สุขแล้ว...เช่น อยู่ในอากาศ ร้อนๆ..ก็ รู้สึกว่า ทุกข์ใจหงุดหงิด พอมีลมโชยมานิดหนึ่ง ก็...รู้สึกดี..สบายขึ้นจิตก็ แปรความรู้สึกนั้นว่า สบายเป็นสุขขึ้น แต่จริงๆแล้ว แค่ ทุกข์ลดลงนิดนึ่ง ก็เรียกว่าสุขแล้ว...ความสุขจริงๆ จึงไม่มี(ในทางโลก นะ) ดังนั้น อารมณ์ใด ตั้งอยู่...จึง เทียบได้กับทุกข์...
    คุณจะเอาคำว่าตั้งอยู่มาคู่กับทุกข์ได้อย่างรัย การตั้งอยู่หมายถึงการตั้งอยู่ของขันธ์ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของสังขาร ทำให้เกิดอารมณ์ เวทนาขึ้น ในขันธ์เวทนานี้ มีทั้งสุข ทุกข์และเฉยๆ ความหมายของทุกข์ในที่นี้ คือทุกข์เกิดจาก การเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,และดับไปของขันธ์ ที่กล่าวมานี้ประโยคบางประโยคหรือคำบางคำเพื่อชี้ให้ผู้ปฎิบัติ
    เข้าใจถึงการทำงานของจิตตามความจริง ซึ่งผู้ปฏิบัติยังไม่ใช่อริยบุคคล ยังมองไม่เห็นทุกข์ในทางธรรม

    ดับไป คู่กับ อนัตตา
    ...อนัตตาแปลว่า ไม่มี ตัวตน... เมื่อ เอา สองคำข้างต้น (เกิดขึ้น-ตั้งอยู่...หรือ อนิจจัง-ทุกขัง) มาพิจารณา เราก็จะเห็นว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นตัว เป็นตน ที่จริงแท้เลย... ทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแปรเปลี่ยนไปตาม เหตุ...
    เหตุ เปลี่ยน ผล ก็เปลี่ยน เมื่อเห็นได้ดั่งนี้... จิตก็คลายความยึดมั่น คลายความยึดเกาะ
    ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ความทุกข์ จึงลดลง ความสุขก็มากขึ้น .. เป็น สุขที่ไม่อาศัยเหตุปัจจัยภายนอก
    คำว่าอนัตตาเป็นคำอธิบาย ให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนและบังคับไม่ได้ของขันธ์ ไม่ได้แปลว่าดับไป สิ่งที่ดับไปคือขบวนการของขันธ์
    ถมให้นิด...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...
    นี่แหละคับ หัวใจของ วิปัสนากรรมฐาน... ใครที่บอกว่า เดินวิปัสนาอยู่ ต้องเห็น กฏไตรลักษณ์ นี่.... ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ ก็ไม่เรียกว่า วิปัสนา...
    ใช่ครับวิปัสสนาต้องให้เห็นไตรลักษณ์(อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา)
    แต่ถ้าจะให้ดี ต้องเห็นการเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไปของไตรลักษณ์ด้วย
     
  5. อวิปลาส

    อวิปลาส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +353
    เอาให้เห็นภาพจริงๆง่ายๆ....
    ร่างกายคนเราเกิดมา จากอยู่ในท้องแม่ตั้งแต่วินาทีแรก แล้วเป็นก้อนเลือดเวลาผ่านไปแขนขา หัวตัวเป็นรูปเป็นร่าง คลอดมาเป็นเด็กทารก เวลาผ่านไปเป็นเด็กโตเป็นหนุ่มเป็นสาว เรียนรู้เรื่องต่างๆมากมายในโลกใบนี้ เวลาผ่านไปความแก่เฒ่าเข้าครอบครองแล้วก็ ตาย...สมมุติที่อธิบายมานั้นเป็นผู้ชายชื่อ..หม่ำ..

    เขามีตัวตน..(เกิดขึ้น) เขามีระยะเวลาในการดำรงค์อยู่(ตั้งอยู่) เขามีเวลาตายแน่ในชีวิตเขา(ดับไป)

    ร่างกายของเขาค่อยๆเติบโตทุกวินาทีจากเด็กจนเขาตาย(อนิจจัง)
    โรคภัยไข้เจ็บ ความหิวข้าว หิวน้ำ มีร้อนมีหนาว ความแก่ชรา(ทุกข์ขัง) เมื่อร่างกายนี้มันทนทุกข์ขังไม่ใหวมันก็ต้องแตกสลายดับลงไป หาตัวตนหาคนไม่เจอเสียแล้วเพราะเขาฝังเขาเผาไฟ ร่างกายมันสลายกลายเป็นปุ๋ยของพืชของผักของหญ้าไปเสียแล้ว(อนัตตา)

    ส่วนเรื่องธรรมนั้นผู้ที่รู้ก็ได้อธิบายบ้างแล้วของผมเอาหยาบๆให้ดูแค่นี้แหละ

    ;9k
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2009
  6. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    ขอบพระคุณทุกท่านมากครับ

    เริ่มเข้าใจนิดๆ แล้วล่ะครับ เมื่อก่อนผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป

    จนเริ่มศึกษาแหละ ถึงได้พบว่าไม่ใช่ ก็เลยเกิดคำถามว่าแล้วสิ่งนี้คืออะไร

    เลยมาตั้งกระทู้ถามที่นี่

    ขอสรุปความเข้าใจนะครับ

    คือ ไตรลักษณ์เนี่ยะ เป็นภาวะของจิตที่จะมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น

    จากนั้นก็จะมีการตั้งอยู่ของไตรลักษณ์ สุดท้ายไตรลักษณ์ก็จะดับไป

    ผมเข้าใจถูกไหมครับ???

    ขอบคุณทุกท่านครับ
     
  7. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ คับ ขออนุโมทนา ในกุศลจิตที่กรุณาชี้แจ้งนะคับ (smile)
    ...จริงๆแล้ว คำทั้งสองชุด คือ เกิดขึ้น..ตั้งอยู่...ดับไป กับ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา (กฏไตรลักษณ์)
    เราจะเข้าใจอย่างไรนั้นอยู่ที่การตีความ และ ปัญญาในการเห็นธรรมตามจริง เพิ่งถอนสมมุติ บัญญัติ ออกไป ผมสรุป สั้นๆอีกครั้งละกันคับ คำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้ามองผิวเผิน จะเห็นว่าเป็นส่วนขยาย ไตรลักษณ์ ไม่ผิดหรอกคับ...เป็นเช่นนั้นจริงๆ
    ...แต่ที่ผมอธิบายไปแล้วนั้น เป็นการ เผิกถอนสมมุติ บัญญัติออกไป คือดูที่อาการของทุกสิ่งในโลก(ไม่เน้นว่าเฉพาะ เรื่องจิต อย่างเดียว) ว่า ทำใม?จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.. เมื่อเรามองแต่อาการของทุกสิ่งในโลก แค่ คำว่าอนิจจัง คำเดียว ก็รวมความหมายของ คำว่า..เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป..ได้แล้วคับ เพราะเป็นคำขยายความของคำว่าอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่แน่นอน..นี่ข้อแรกนะคับ...คือ ข้อที่ว่า อนิจจังไม่เที่ยง..
    ...แล้วถามตัวเองต่อไปอีกว่า ทุกข์ หรือทุกขัง ทำไม? จึงทุกข์ผมก็ตอบตัวเองว่า เพราะมันแปรเปลี่ยน มีการตั้งอยู่ แล้วดับไป...เมื่อมันตั้งอยู่จิตก็เข้าไปยึดเกาะ ทั้งเกาะในลักษณะไม่อยากให้สิ่งนั้นๆอยู่..นี่ก็ทุกข์...อยากให้มันดับไป แต่ไม่ดับดังใจอยาก..นี่ก็ทุกข์ .... ทุกข์เพราะไม่เข้าใจไตรลักษณ์ ทุกเพราะ ตัญหาคือความอยาก..อยากให้ได้ดั่งใจเรา...นี่เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็เป็นทุกข์ อาการที่มันตั้งอยู่ จึงทำให้ทุกข์ แต่ถ้าเข้าใจไตรลักษณ์...เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด ของมันก็เกิด...หมดเหตุปัจจัยมันก็ดับ เป็นธรรมดาของมันเอง..มันจะตั้งอยู่หรือดับไปก็ไม่ทุกข์ร้อนกับมัน...เพราะหมดอยาก หมดตัญหา แค่รู้ว่า...มันกะลังตั้งอยู่นะ เด๋วมานก็ดับไป...แค่นั้นเอง นี่คืออารมณ์พระอริยะเจ้า แต่ที่ผมอธิบายไปแล้วนั้น ในกระทู้ที่แล้ว คืออารมณ์ ปุถุชน..พระพุทธองค์ก็บอกไว้...การเกิดเป็นทุกข์ คือ เพราะมีเกิดจึงทุกข์..นี่ข้อ2 คือทุกขัง หรือ ทุกข์
    ...สุดท้าย อนัตตา... ก็อย่างที่บอกไว้คับว่า...เห็น2ข้อแรก คือ เห็นมันเิกิด ตั้งอยู่ หรือ เห็น อนิจจัง ทุกข์ขัง...แล้วก็เห็นมันดับไป เน้นนะคับว่า...."ต้องเห็นนะ ไม่ใช่เข้าใจ" สรุป คือเห็น เกิด-ดับ นั้นแหละคับ และไม่ใช่แค่จิตนะคับ..เห็นทุกอย่างในโลกนี้ เห็นภายนอก เกิด-ดับ จิตก็คลายการยึดเกาะกับสิ่งภายนอก ทั้ง รถกู บ้านกู เมียกู ลูกกู ทุกอย่างที่เป็น "ของกู"...เมื่อมองเข้ามาที่ตัวเรา ร่างกายเราก็ไม่มีตรงไหนเที่ยง ไม่มีตรงไหนตั้งอยู่ได้นาน มันแปรเปลี่ยบังคับไม่ได้ทั้งนั้นแม้จิต สติ สมาธิ ก็ไม่เที่ยง ไปยึดมันก็ทุกข์ นี่แหละคับมองมาในเราร่างกายนี้มันก็คลายตัวลงหมด คือ ละสักกายะทิฏฐิ เหมือนเด็กเบื่อของเล่น..แต่ก็รู้ว่าเหมือนเราอาศัยบ้านเขาอยู่ ก็ไม่นิ่งดูดาย ปัดกาดเช็ดถูไปตามกาล..ถึงเวลาไปก็ไป เพราะไม่ใช่บ้านของเรา...
    ...ที่อธิบายมายึดยาวขนาดนี้ก็เพราะเห็นภูมิธรรมของคุณบุญพิชิตว่า... น่าจะเข้าใจ ธรรมะคือธรรมชาติ คือทั้งหมด ไม่ใช่แค่จิตเพียงอย่างเดียว ... แต่เราเน้นพัฒนาที่จิต สติ เพราะ เป็นการแก้ ทุกข์ ที่ต้นเหตุเท่านั้นเอง...กฏไตรลักษณ์ จึงไม่ใช่แค่ จิตอย่างเดียว แต่หมายรวมถึง ทุกสิ่งในโลก ไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือ กฏไตรลักษณ์...ยกเว้นอย่างเดียวเท่านั้นเอง ที่อยู่เหนือกฏไตรลักษณ์ (มีสิ่งเดียวเท่านั้น แต่ขอละไว้สำหรับผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วก็แล้วกัน จะเข้าใจเอง..รู้เองว่า อะไรอยู่เหนือกฏไตรลักษณ์)

    เห็นไหม?คับ คุณเอง อธิบาย คำว่าอนิจจัง ก็ต้องใช้คำว่า "เกิดขึ้น" แล้วจึงต่อด้วย..มันไม่สามารถคงทนอยู่ได้ ตั้งอยู่ชั่วคราวแล้วจึงดับไป..มันเป็นอาการของคำว่าอนิจจัง...คือมันต้อง "เกิด" ก่อน จึงแปรเปลี่ยน จึงเป็นอนิจจัง ซึ่งก็เป็นการใช้บัญญัติทางภาษามาอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เพื่อสือสารนั้นเอง..ผมถึงบอกว่า โดยความหมาย มันเหมือนกัน เพราะก็อย่างที่คุณบอกแหละคับ มันเกี่ยวเนื่องกัน มันแยกกันไม่ได้ เพราะเป็นอาการของมัน เป็นทางดำเนินของมัน ไม่เช่นนั้นก็ไม่มี "อนิจจัง" ถ้าไม่มี.."การเิกิด"

    เห็นไหม?คับคุณก็บอกว่า ..." การตั้งอยู่หมายถึงการตั้งอยู่ของขันธ์ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของสังขาร ทำให้เกิดอารมณ์ เวทนาขึ้น ในขันธ์เวทนานี้ มีทั้งสุข ทุกข์และเฉยๆ"...ซึ่งที่คุณบอกก็ชัดอบู่แล้วว่า การตั้งอยู่หมายถึงการตั้งอยู่ของขันธ์ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของสังขาร ทำให้เกิดอารมณ์ เวทนาขึ้น... ซึ่งเวทนา ก็มีทุกข์ และคำว่า สุข ผมก็บอกแล้วว่า สุขจริงเหรอ? อาการที่ว่าสุข(ของปุถุชนนะ) ส่วนอุเบกขาเวทนา นั้น มีในทุกคน..แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นได้..คือมีอยู่โดยธรรมชาติของเขาเอง...แต่ผู้จะเห็น หรือ ทรงอารมณ์อุเบกขาได้นั้น ไม่ใช่ปุถุชนแน่...และคุณก็บอกเองอีกว่า..."ความหมายของทุกข์ในที่นี้ คือ เกิดจาก การเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,และดับไปของขันธ์"...เพราะเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,จึงมีทุกข์ มันก็เข้าตำราเดียวกัน คือเพราะ มีการ ตั้งอยู่ จึงทุกข์ หรือจะอธิบายโดยละเอียด คือ..เมื่อมันตั้งอยู่ ที่ตั้งอยู่ได้นาน จน "ทุกข์เกิด เพราะ จิตเราเข้าไปยึดเกาะเขาไว้ จึงทุกข์.. เพราะโดยปกติแล้ว จิตเกิด-ดับเร็วมาก ถ้าจิตไม่เข้าไปยึดไว้ และปรุ่งแต่งต่อเนื่องแล้ว มันก็จะดับไปในเวลาอันรวดเร็ว โดยธรรมชาติของมันเอง... เพราะ จิตเกิดดับที่ละดวง อันนี้ผู้ฝึกสติมาดีแล้วเท่านั้น จึงจะเห็นได้..ส่วนใหญ่ที่เอามาพูดๆกัน พูดตามตำราทั้งนั้น...เช่น ตัวโกรธ...หรืออารมณ์โกรธ ...อาการที่ว่า "เห็นก่อนจะโกรธ เป็นอย่างไร"... เพราะโดยปกติ..จิตผู้รู้ จะรู้จิตอีกดวงหนึ่งได้ ดวงนั้นต้อง "ดับ" ไปแล้ว แล้วจิตผู้รู้ตามรู้ไปติดๆ..เห็นจิตตัวโกรธที่ดับไปแล้ว...

    ดังนั้นคำว่า..เห็นตัวโกรธ ก่อนจะโกรธ..เป็นอย่างไร...
    ...ตรงนี้อธิบายได้ว่า (ตามที่ผมเห็นเองนะ..อาจจะไม่ตรงกับผู้อื่นก็ได้)..คำว่าอารมณ์ ทุกชนิด รัก โลภ โกรธ ..จะเกิดจาก ความรู้สึกหลายๆความรู้สึกรวมกัน จึงเป็นอารมณ์ อารมณ์หนึ่งขึ้นมา... เช่นตัวโกรธ...ก่อนตัวโกรธจริงๆจะเกิด คือจะเกิดความรู็้สึก ไม่ชอบใจ ขุ่นใจ ขัดใจ อึดอัด คือไม่ได้ดั่งใจ ความรู้สึกนี่ หลายๆตัวรวมกัน คือหลายๆครั้ง รวมกัน มันจึงเป็นความโกรธ...เหมือร ฝนก่อนจะตก..ก็จะมีเมฆฝน มืดครึมเกิดขึ้นก่อน จึงจะมีฝนตก...เมื่อสติคุณไว ทันกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่มากระทบ คุณก็จะเห็นแล้วว่า...นี่นะ ถ้าปล่อยไปมันก็จะต้องโกรธแล้วนะ...นี่แหละคับ อาการของการที่ว่า..เห็นตัวโกรธก่อนจะโกรธ...
    ...คับผมไม่ได้บอกว่า แปลว่านะคับ ...แต่หมายถึงว่า เพราะมันดับไป จึงรู้ว่ามันไม่มีตัวตนจริงๆ...ถ้ามันไม่ดับ ก็ไม่มีทางรู้เลยว่า ตัวตนจริงๆแล้วไม่มี...
    ...เน้น...ผมไม่ได้ บอกว่า อนัตตาแปลว่า ดับไปนะคับ อ่านอ้างอิงเปรียบเทียบดูก็ได้คับว่า มีประโยคไหน ผมบอกว่า แปลว่าหรือเปล่าคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2009
  8. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    คับ...จะเข้าใจอย่างไร ไม่สำคัญ
    ..สำคัญที่ว่า คุณ เห็นไตรลักษณ์ จริงๆ..แล้วหรือยัง...

    เพราะความเข้าใจ กับ การเห็นของจริงนั้นต่างกันนะคับ...
    ...ความเข้าใจเกิดจาก ปัญญาที่ชื่อว่า จินตมยปัญญา คือใช้ความคิด อนุมานเปลี่ยนเทียบด้วยเหตุและผล แล้วเกิดการประมวลผลออกมาว่า น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้...แต่การเห็นของจริง จะเกิดปัญญาอีกชนิดหนึ่ง มันต่างกันมากนะคับ

    ผมสนใจที่คุณบอกว่า..."เมื่อก่อนผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
    จนเริ่มศึกษาแหละ ถึงได้พบว่าไม่ใช่ ก็เลยเกิดคำถามว่าแล้วสิ่งนี้คืออะไร
    เลยมาตั้งกระทู้ถามที่นี่
    ...

    คุณศึกษาอย่างไรคับ จึงเข้าใจเช่นนั้นว่า..ทั้งสองอย่างเป็นคนละตัวกันไม่เหมือนกัน..อธิบายเพิ่มเติมสักนิดก็ดีนะคับ... สาธุ
     
  9. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณนัทครับ ผมยังไม่ข้าใจเลยว่าคำตอบของคุณ
    แย้งผมหรือว่าเป็นแนวทางเดียวกันกับผม เพื่อความ
    เข้าใจ ผมจะอธิบายให้กระชับขึ้น ก่อนอธิบายผมมีข้อชี้แนะ
    บางประการดังนี้ การตอบคำถามของจขกทในนี้ เป็นสภาวะ
    ปกติธรรมดาซึ่งต้องคิดต้องวิเคราะห์ หาใช่การทำวิปัสสนาหรือ
    อยู่ในสภาวะเจริญสติไม่ จึงอยากจะให้คุณนัทอธิบายเฉพาะข้อ
    ปริยัท ส่วนการปฏิบัติและปริเวท เป็นหน้าที่ของจขกทเองที่
    จะนำไปหาผลเอง เพื่อความเข้าใจและไม่เสียเวลา
    *ปริยัติ คือ ชื่อเรียกคำสอน
    *ปฎิบัติ คือ การนำคำสอนมาปฏิบัติ
    *ปฏิเวท คือ ความรู้ที่เกิดภายในใจหลังจากการปฏิบัติ ซึ่ง
    เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะต่อบุคคลผู้ปฏิบัติเอง ผมจึงเห็นว่าเราควร
    ละข้อนี้ไว้เพื่อให้จขกทค้นหาเอง
    ผมขอเริ่มอธิบายข้อปัญหาของเราเลย
    ในขณะจิตหนึ่งจิตจะมีเพียงหนึ่งดวง ภายในจิตนั้นยังมีตัว
    เจตสิก(อารมณ์ต่างๆ) มีคุณสมบัติเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต
    ภายในจิตนั้นซึ่งเป็นขบวนการความคิด จะเกิดอารมณ์ขึ้น
    และเกิดไตรลักษณ์ ทุกอย่างภายในจิตดวงเดียว แต่มี
    หลายอย่าง เช่น เจตสิก ไตรลักษณ์ ทุกตัวในถ้าแยกออก
    ทุกตัวจะแสดง การเกิด,ตั้งอยู่,ดับไปให้ดู
    และที่สำคัญที่สุด จิตดวงนั้นซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นประธาน
    ในขณะนั้น ก็จะแสดงการเกิด,ตั้งอยู่,ดับไปด้วย
    ฉะนั้นเราจึงไม่สามารถแยกส่วนประกอบของไตรลักษณ์
    มาเทียบเคียงกับการเกิด,ตั้งอยู่ดับไปได้
    กล่าวง่ายๆคือ ไตรลักษณ์คือส่วนหนึ่งภายในจิต
    แต่การเกิด,ตั้งอยู่,ดับไป ครอบคลุมจิตทั้งดวง
    การที่ผมยกจิตขึ้นมาเพราะเป็นการง่ายที่จะอธิบายและมอง
    ถึงจขกท จะได้ประโยชน์และเข้าใจมากที่สุด[​IMG]
     
  10. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ..[​IMG] อนุโมทนาในกุศลจิต คับ..
    ผมเองก็คิดเช่นเดียวกัน คือเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ได้ผ่านเข้ามาอ่าน..และเจ้าของกระทู้เป็นหลัก..
    ...แต่การอธิบายธรรม ผมมักจะอธิบายตามผู้ฟัง ว่ามีการปฏิบัติ ไปถึงไหนแล้ว..หรือแค่กำลัง หาข้อมูล..หรือแค่ ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้น..ก็พยายามให้ตามกำลังที่ผมได้ปฏิบัติมา..
    ...ที่สำคัญ ผมไม่ใช่นักปริยัติธรรม.. การอธิบายของผมจึงอธิบายตามที่เห็น..และผมก็เชื่อว่า ทุกคนสามารถเห็นตามได้ไม่ยาก ขอแค่ลงมือปฏิบัติ เท่านั้นเอง... เหมือนชื่อผมและคับ..."เอหิปัสสิโก" แปลว่า ทุกท่านจงเข้ามาดูเองเถิด...ไม่มีทางเลยคับที่จะ ฟังแล้วแจ้งได้เลย ต้องลงมือปฏิบัติก่อน ก็คือ..ต้องถึงพร้อม ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ก็จะได้ปฏิเวทเอง... (3คำนี้ก็เป็นบัญญัติภาษา ) ซึ่งถ้าพูดภาษาชาวบ้าน คือลงมือศึกษา เมื่อได้ความรู้พอเป็นแนวทาง ก็นำไปปฏิบัติ..ก็จะเห็นผลเอง..
    ความหมายของ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวทก็เหมือนกำ คำว่า.. ศึกษา ลงมือทำ ก็ได้ผลเอง...และทั้ง3 ส่วน ก็ไม่ใช่ว่าแยกเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ... แต่มันถึงพร้อมได้ เป็นขณะๆไป เป็นเรื่องๆไปนั้นเอง...เพราะ ธรรมะหรือธรรมชาตินั้นเขาแสดงตัวให้เราดู ตลอดเวลา อยู่ทีเราว่า...จะเห็นหรือเปล่าเท่านั้นเอง...การอธิบายจึงอธิบายเป็นองค์รวมได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัตินั้นเอง

    และในกระทู้ที่แล้ว ก็อธิบาย เป็นแนวทางในการพิจารณา (เดินวิปัสนา)เพื่อให้ได้คำว่า.."เห็นธรรมตามจริง".. เท่านั้นเอง แต่จะได้เห็นหรือไม่ ก็ต้องลงมือปฏิบัติเอง ..ผมเป็นแค่ผู้ชี้ทางเท่านั้นเอง..

    ต่อคำถามที่ว่า...ผมแย้ง หรือ เห็นด้วย ..ก็มีทั้งสองส่วนคับ..ที่เห็นด้วยผมก็บอกไปแล้วคับว่าเห็นด้วยในส่วนไหน...ตรงส่วนไหน ที่ไม่เห็นด้วยก็ชี้แจ้งไปแล้วนะคับว่าไม่เห็นด้วยเพราะอะไร.. ลองค่อยๆ ทำใจเป็นกลางแล้วย้อนอ่านดูคับ...เพราะปัญหาของคุณบุญพิชิต คือ ยึดติดในส่วนของบัญญัติทางภาษา..ลองเพิกถอน สมมุติ,บัญญัติออก ก็จะเห็นในส่วนของปรมัติธรรมเองนะคับ
    ลองสมมุติตัวเองว่าไม่รู้บาลี...แล้วจะอธิบาย กฏไตรลักษณ์ โดยภาษาไทยธรรมดา ก็ต้องใช้คำว่า เกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไป.. เข้ามาอธิบายแทน คำว่า อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา... ซึ่งถ้าจะอนุโลมเปรียบเที่ยบ...คำ2ชุดเอาโดยความหมายองค์รวมก็ดั่งที่ผมอธิบายไปแล้วนั่นแหละคับ...
    ..ยินดีนะคับที่ได้แลกเปลี่ยนสนทนาธรรม...ขอให้ความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ปฏิบัติทุกท่านคับ...สาธุ[​IMG]
     
  11. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977

    เอ่อ! คืองี้ครับ เมื่อก่อนผมไม่เคยฟังเทศน์ ฟังธรรม อะไรมาก่อนครับ ไม่เคยถือศีล เป็นแต่อาราธนาศีล (เรียกว่าครบแหละครับ ไม่ถือศีล ไม่ฟังธรรม)

    เดี๋ยวนี้ก็ฟังธรรมะทางวิทยุเกือบทุกวัน ได้ยินพระท่านพูดถึงไตรลักษณ์ แล้วก็บอกว่ามี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เราก็นึกในใจ อ้าว! ไม่ใช่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แบบที่เราเคยดูในหนังตอนเด็กๆ เหรอ?

    สำหรับคำว่าศึกษาของผมก็มาจากการที่ผมฟังวิทยุ แล้วก็อ่านหนังสือธรรมะบรรยายบ้าง ธรรมนิยายบ้าง พุทธประวัติบ้าง แล้วก็อ่านจากเว็บธรรมะหลายๆ เว็บ(ผมเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คือการศึกษานะครับ...หรือผมเข้าใจผิด)

    ผมรักพระพุทธเจ้า อยากเข้าใจธรรมะที่พระองค์สอน

    เท่านี้แหละครับ
     
  12. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ คับ...
    ...อ้อ..เข้าใจแล้วคับ.. ที่คุณศึกษาอยู่ก็ไม่ผิดหรอกคับ..
    ผมผิดเอง เพราะไปตีความว่า คุณ ปฏิบัติแล้ว...หมายถึงปฏิบัติธรรม

    ถ้าแค่ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางไว้ก่อน เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น ก็..โอเค คับ
    คุณเข้าใม่ผิดหรอกคับ

    ...ถ้าจะให้ดี ก็ลงมือปฏิบัติด้วยจะดีที่สุดคับ ชีวิตคนเราไม่มีอะไรแน่นอน ยิ่งปราถนาดวตาเห็นธรรมด้วยแล้ว.. อย่าชักช้าเลยคับ เริ่มต้นด้วยกานสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ.. ในชีวิตประจำวันก็สังเกิดดูความคิดเรา อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ศึกษาเข้ามาในตัวเราแล้ว เอาไปเที่ยบกับ คำสอนครูบาอาจารย์ดู...คุณจะได้สัมผัสด้วยตัวเอง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอย่างไร..หรือเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป มันให้อะไรเราบ้าง... จะลองพิจารณาตามที่ผมอธิบายไปในกระทู้ก่อนหน้านี้ก็ได้นะคับ เอาเป็นแนวทางในการพิจารณา

    อย่าลืมคับ..ตำราเล่มใหญ่ที่ต้องศึกษาให้แจ่มแจ้ง คือตัวเรา

    สาธุ
     
  13. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวกับคุณนัทก่อน ผมไม่ใช่นักปริยัทและบาลีผม
    ก็แปลได้เป็นบางคำ เมื่อก่อนครั้งที่ผมเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ผมศึกษาแนว
    ทางหลักๆเอง และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติได้พอสมควร ก็พอเข้าใจพระอธิธรรมได้โดยไม่ต้องท่องจำ
    *นักปฏิบัติผู้พอมีภูมิอยู่บาง ต้องสามารถเข้าใจต่อผู้ถามในเนื้อหาคำถามว่า ผู้ถามต้องการสิ่งใดและอุปนิสัยของผู้ถามว่าเป็นคนเช่นไร
    เพื่อที่จะได้ตอบในสิ่งที่ผู้ถามต้องการได้ชัดเจน ไขข้อข้องใจให้ผู้ถามได้ มิใช่จะตอบแต่ในสิ่งที่ตนรู้ตนเข้าใจแต่เพียงตนเอง

    ต่อคำถามที่ว่า...ผมแย้ง หรือ เห็นด้วย ..ก็มีทั้งสองส่วนคับ..ที่เห็นด้วยผมก็บอกไปแล้วคับว่าเห็นด้วยในส่วนไหน...ตรงส่วนไหน ที่ไม่เห็นด้วยก็ชี้แจ้งไปแล้วนะคับว่าไม่เห็นด้วยเพราะอะไร.. ลองค่อยๆ ทำใจเป็นกลางแล้วย้อนอ่านดูคับ...เพราะปัญหาของคุณบุญพิชิต คือ ยึดติดในส่วนของบัญญัติทางภาษา..ลองเพิกถอน สมมุติ,บัญญัติออก ก็จะเห็นในส่วนของปรมัติธรรมเองนะคับ
    ลองสมมุติตัวเองว่าไม่รู้บาลี...แล้วจะอธิบาย กฏไตรลักษณ์ โดยภาษาไทยธรรมดา ก็ต้องใช้คำว่า เกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไป.. เข้ามาอธิบายแทน คำว่า อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา... ซึ่งถ้าจะอนุโลมเปรียบเที่ยบ...คำ2ชุดเอาโดยความหมายองค์รวมก็ดั่งที่ผมอธิบายไปแล้วนั่นแหละคับ...
    คุณนัทครับผมเข้าใจดีเรื่องบัญญัติ ปรม้ติ การทำวิปัสสนาท่านมิให้นำบัญญัติมาพิจารณา ให้พิจารณาอารมณ์ปรมัติ แต่ที่จะกล่าวนี้เป็นบัญญัติที่บัญญัติขึ้นภายหลัง

    บางครั้งผู้ปฏิบัติได้บรรลุธรรมอันใดอันหนึ่ง แล้วต้องการมาอธิบายสั่งสอนผู้อื่น ท่านจำเป็นต้องบัญญัติคำขึ้นภายหลังเป็นการชี้ให้ผู้อื่นเข้าใจ อย่างเช่นคำที่เราถกกันอยู่ก็เช่นกัน คุณเคยได้ยินคำว่า รู้แจ้งแทงตลอดมั้ย จากการที่ผู้บรรลุธรรมได้เห็นการทำงานของไตรลักษณ์แล้วท่านยังพบธรรมอีกตัวคือการเกิด,ตั้งอยู่และดับไปท่านจึงนำมาบัญญัติไว้เป็นคำต่างหากไม่เกี่ยวกับไตรลักษณ์
    *ความเข้าใจของคุณปักใจอยู่กับการไม่ให้ความสำคัญเรื่องบัญญัติ
    แต่หาใช่เช่นนั้นไม่ เพราะถ้าเราจะบอกถึงสิ่งที่เราพบในอารมณ์ปรมัติ
    เราต้องบัญญัติคำขึ้นใหม่ เพื่อให้แตกต่างจากคำที่มีอยู่เดิม

    *ถ้าคุณต้องการให้แปลคำว่าไตรลักษณ์ เป็นภาษาไทย ผมก็จะแปลดังนี้
    อนิจจัง แปลไทย ความไม่เที่ยง (เป็นคำนาม)
    ทุกขัง แปลไทย ความทุกข์ (เป็นคำนาม)
    อนัตตา แปลไทย ความไม่มีตัวตน (เป็นคำนาม)
    ผมไม่เห็นมีคำไหนแปลว่า การเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไปเลย และสามตัวนี้ก็เป็นคำกิริยาทั้งสามตัวซึ่งแตกต่างกับข้างบนที่เป็นคำนาม

    [​IMG]เจริญในธรรมครับ
     
  14. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    ขอบคุณคุณนัทครับ

    คุณนัทไม่ได้ผิดหรอกครับ จริงๆ แล้วผมก็กำลังปฏิบัติอยู่ครับ ก็อานาปนสติก่อน พอนิ่งแล้วค่อยเข้ากรรมฐานตามที่เคยไปร่ำเรียนมาจากวัดอัมพวัน

    เหตุที่อานาฯ ก่อน เพราะเป็นสิ่งที่ติดมาสมัยเด็ก คุณพ่อคุณแม่สอนจะทิ้งก็เสียดาย แต่ก็รักวิปัสนาแบบยุบหนอ พองหนอของหลวงพ่อจรัญ เพราะทำได้ตลอดเวลา

    (ไม่ทราบว่าทำแบบนี้ถูกหรือเปล่า?)

    ผมไม่ได้หวังอะไรเลยครับ ไม่รู้ไม่เห็นอะไรก็ไม่เป็นไร ขอแค่ดวงตาเห็นธรรมเท่านั้นแหละ (ปฏิญาณไปแล้วด้วยสิ แม้เลือดในกายจะแห้งเหือดตายก็ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ซึ่งเรื่องนี้สมควรทำหรือเปล่าก็ไม่รู้?)

    เมื่อก่อนพยายามถือศีล แต่ไม่สำเร็จ พอมาเจริญกรรมฐานศีล 5 ดันมาเอง (หรือว่าอันนี้คิดไปเอง?)

    จริงๆ แล้วผมยังมีอะไรสงสัยอีกมากมายมหาศาล แต่ไม่ค่อยกล้าถาม เพราะเกรงว่า จะกลายเป็นคำถามนั้นจะเป็นการแฝงอวดอุตริหรือเปล่า? นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผมไม่ได้บอกไปในข้อความก่อนหน้านี้ว่าผมเองก็เจริญกรรมฐานอยู่โดยเพียงแค่คุมสติอยู่ที่ท้องเท่านั้นเอง เดินจงกลมบ้างตามแต่สะดวก

    ถ้ามีอะไรแนะนำได้เต็มที่เลยครับ แต่ขอภาษาง่ายๆ หน่อยก็ดีครับ นึกว่าให้คนที่ความรู้น้อยอ่านก็แล้วกัน

    เพราะศัพท์บางคำ ผมก็อ่านแล้วไม่เข้าใจจริงๆ ถึงต้องหันไปพึ่งธรรมะนิยายไงครับ เข้าใจง่ายดี
     
  15. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ..คับ ขอนุโมทนาในกุศลจิต ที่กรุณาชี้แจ้งให้ทราบ..[​IMG]


    ...ก็ไม่ปฏิเสธคับว่าผมพอมีภูมิธรรมอยู่บ้าง ก็พยายามสนใจต่อคำถามว่าผู้ถามต้องการสิ่งใด และพยายามตอบให้ และต่อไปอีก 1 สเต็ป เพื่อความก้าวหน้าในการพิจารณาธรรม (ถ้าผู้ฟังมีปัญญารับได้)
    ...แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น..ก็มิได้หมายความว่าผมอยากจะเป็นครูบาอาจารย์ผู้ได้..ภูมิธรรมผมไม่ถึงขั้นนั้น..ดังนั้นการบอกกล่าวผมถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยน..
    ผมบอกในสิ่งที่เห็น..เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ยังไม่เห็น มิใช่จะอวดภูมิรู้แต่ประการใด..


    ...ตรงนี้ต้องขออนุญาตินะคับ..เพราะเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก ว่า.. "การเกิด,ตั้งอยู่และดับไปท่านจึงนำมาบัญญัติไว้เป็นคำต่างหากไม่เกี่ยวกับไตรลักษณ์" .. เพราะ คำสองชุดนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงแยกกันไม่ได้..
    คุณ ลองมอง คำ2ชุด ตามหลัก การอาศัยกันให้เกิด (อทิปปัจยตา) หรือ เพราะมีสิ่งหนึ่งอีกสิ่งหนึ่งจึงมี...เปลี่ยบเที่ยบได้ดั่งนี้คับ
    1.เพราะมีการเกิดขึ้น..จึงมีการเปลี่ยนแปลง จึงเรียกว่า อนิจจัง
    2.เพราะมีการตั้งอยู่ ..จึงมีความทุกข์เกิดขึ้น จึงเรียกว่า ทุกขัง
    3.เพราะเห็นการดับไป..จึงรู้ว่า ไม่มีตัวตน จึงเรียกว่า อนัตตา
    ...หรือจะเปรียบเทียบอีกแบบคือว่า..สมมุติ คุณไม่รู้จักภาษาบาลี ไม่เคยได้ยินคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา..เลย แต่คุณเห็น สิ่งๆหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป...เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้..เราก็สามารถเรียกว่า..คุณคนนั้น..ที่เห็น การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ว่า...ได้เห็นไตรลักษณ์แล้ว...
    ...นี่แหละคับ คือสาเหตุที่ผมบอกว่า.. เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เหมือนกันกับ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป คือ อันเดียวกับกฏไตรลักษณ์นั้นเอง...

    สาธุคับ... เหตุที่ผมดูเหมือนจะไม่ให้ความสำคัญ ในสมมุติ-บัญัติ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ติดในสมมุติ-บัญญัติ และสมุติ-บัญญัติ ก็ทำให้เกิดทุกข์ร้อนขึ้นโดยไม่รู้ตัว...ผมจึงพยายามชี้ให้มองเลยลงไปถึง ปรมัติธรรม คือสิ่งที่เป็นจริง จริงๆ หรือเรียกว่าเห็นธรรมตามจิงนั้นเอง...
    [​IMG]สาธุ ขอให้เจริญในธรรม เช่นกันคับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2009
  16. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ คับ การที่เรามีการสวดมนต์บ้าง นั่งสมาธิบ้าง และตามดู จิตตัวคิดตัวนึกบ้างในชีวิตประจำวัน... นี่ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมแล้วคับ..
    ที่เหลือ ก็จะเห็นธรรมตามจริงขึ้นมาเอง ตามเหตุ ตามปัจจัยคับ

    การเจริญสติ โดย ใช้อานาปานสติ หรือ หยุบหนอพองหนอ ใช้อันไหนก็ได้คับเหมือนกันคับถ้าเราทำเพื่อเจริญสติ ไม่มีผิดหรอกคับ

    ส่วนเรื่องภาษาในการอธิบาย ถ้าคำไหนไม่เข้าใจก็ถามได้เลยคับเต็มที่เลย..ผมตอบไม่ได้ก็คงมีท่านอื่นเข้ามาช่วยกันตอบแหละคับ ถือเอาว่า กระทู้นี้ ผมก็จะแวะเวียนเข้ามาดู เพื่อคุยกันนะคับ อาจจะไม่ได้เข้ามาทุกวัน แต่ก็จะพยายามเข้ามาเมื่อมีโอกาสคับ...

    ขออนุโมทนาด้วยอีกครั้งต่อสัจจะวาจาที่ตั้งไว้ ว่า...(ปฏิญาณไปแล้วด้วยสิ แม้เลือดในกายจะแห้งเหือดตายก็ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ซึ่งเรื่องนี้สมควรทำหรือเปล่าก็ไม่รู้?) เป็นการสมควรอย่างยิ่งแล้วคับ สาธุ
     
  17. ดับ

    ดับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +533
    ผมรักพระพุทธเจ้า อยากเข้าใจธรรมะที่พระองค์สอน

    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าธรรมอยู่ที่อื่นเลยนอกจากอยู่ที่ตัวเรา(ไม่รู้ว่าภาษาที่ใช้จะถูกใจใครไหม)พยายามอยู่กับตัวเอง มองตัวเองให้เห็นเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติคือมันไม่เที่ยง เกิดใหม่เราเป็นเด็ก โตขึ้นเป็นผูใหญ่ แล้วก็แก่ แล้วก็ตาย หรือดูที่ลมหายใจก็ได้ หายใจเข้าแล้วมันก็ออก บางทีสั้นบางทียาว นี่เห็นอนิจจังละ ทำไมต้องหายใจ ไม่หายใจแล้ว...ทำไมต้องกิน ไม่กินแล้ว....ทำไมต้องนอน ไม่นอนแล้ว...ทำไมต้องเดิน เดินแล้วเมื่อย เมื่อยก็เป็น... ทำไมต้องพบกับความไม่พอใจ ไม่พอใจก็...
    ความโกรธ โกรธก็.... ความหิว หิวก็...ความเจ็บไข้ ก็...ฯลฯ นี่ทุกขังละ สุดท้ายแล้วสิ่งที่เกิดก็ดับไป สลายไป ธาตุ4ขันธ์5ที่ตัวเีราเองที่เราคิดว่าเป็นเรา
    สุดท้ายก็กลายเป็นธรรมชาติ กลายเป็นธาตุไป กลับสู่สามัญ ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้
    นี่ก็เห็นอนัตตา หากเรายังหลงยืดติดอยู่ในวังวนนี่ก็เชื่อได้ว่าจะพบกับทุกข์อย่างแน่นอน อยากจะหลุดจากวังวนนี้ วังวนนี้มีรูปเป็นที่ตั้ง รูปคืออัตตา ทิ้งอัตตาก็คือตัวตนที่คุณคิดว่าเป็นคุณก่อน ก็คือสักกายะฐิถิ
    สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีใน ขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์ อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยน แปลง เราไม่ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่ สลายตัว แต่นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการและพยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความ ปรารถนาในที่สุดก็สลายตัวจนได้เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา กฎธรรมดา ต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครมีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดาไม่หวั่นไหวในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะ ป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุเกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือ ว่าธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้ โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลกก็เป็นความสุขที่มีผี สิง คือสุข ไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุขความทุกข์ก็ ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะการ มีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้วก็ต้อง มีทุกข์ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือสูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้ แต่ตัวเองก็แบกทุกข์เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้ จริงจังไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดาสิ้นจิตเมื่อเห็นอย่างนี้ ความสงบ ระงับจากความหวั่นไหวของการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วย เหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติหรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตาย กำลังคืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎ ของธรรมดารู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความทุกข์และความตายอย่างไม่มี อะไรหนักใจจิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่าละสักกายทิฏฐิได้แล้ว ได้คุณสมบัติของ พระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง ๒. วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคง ว่าผลของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง ๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอม ให้ศีลบกพร่อง เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้อง รอให้ใครบอก และออกใบประกาศโฆษณา องค์ของพระโสดาบัน เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็น คู่มือพิจารณาตัวเอง ๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต ๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย แม้แต่จะพูด เล่นๆ ก็ไม่พูด ๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจาก พระนิพพาน พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้ ถ้าท่านได้ ท่านเป็น พระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนักแต่ถ้าอารมณ์ อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบัน เสียก่อนสำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควร ก้าวต่อไป อย่าหยุดยั้งเพียงนี้เพราะ มรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก

     
  18. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    โอโห้! ผมนึกว่ากระทู้นี้จะจบไปแล้วนะครับเนี้ย
    เห็นวันก่อนก็เข้าไม่ใช่หรือครับ ทำอย่างนี้ผมก็
    แย่สิครับตั้งหลักไม่ทันเลย[​IMG]
    ...ก็ไม่ปฏิเสธคับว่าผมพอมีภูมิธรรมอยู่บ้าง ก็พยายามสนใจต่อคำถามว่าผู้ถามต้องการสิ่งใด และพยายามตอบให้ และต่อไปอีก 1 สเต็ป เพื่อความก้าวหน้าในการพิจารณาธรรม (ถ้าผู้ฟังมีปัญญารับได้)
    ...แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น..ก็มิได้หมายความว่าผมอยากจะเป็นครูบาอาจารย์ผู้ได้..ภูมิธรรมผมไม่ถึงขั้นนั้น..ดังนั้นการบอกกล่าวผมถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยน..
    ผมบอกในสิ่งที่เห็น..เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ยังไม่เห็น มิใช่จะอวดภูมิรู้แต่ประการใด..
    ที่ผมกล่าวไปตอนแรก ความหมายของผมคือให้
    คุณนัท พิจารณาคำถามของผู้ถามให้ดีเสียก่อน
    อยากรู้สิ่งใดต้องการให้อธิบายอะไร แต่คุณนัท
    ไปตอบในสิ่งผู้ถามไม่ได้ถาม อย่างเช่น เขาถาม
    ว่า จะไปไหน แต่กลับตอบว่า กินข้าวแล้ว
    ตรงนี้ต้องขออนุญาตินะคับ..เพราะเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก ว่า.. "การเกิด,ตั้งอยู่และดับไปท่านจึงนำมาบัญญัติไว้เป็นคำต่างหากไม่เกี่ยวกับไตรลักษณ์" .. เพราะ คำสองชุดนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงแยกกันไม่ได้..
    คุณ ลองมอง คำ2ชุด ตามหลัก การอาศัยกันให้เกิด (อทิปปัจยตา) หรือ เพราะมีสิ่งหนึ่งอีกสิ่งหนึ่งจึงมี...เปลี่ยบเที่ยบได้ดั่งนี้คับ
    ผมว่าเราถกกันยาวๆ เราต้องเอาประเด็นสำคัญ
    ผมว่าคุณอย่าคอยจ้อง จุดเล็กๆน้อยมาเปิดประเด็นใหม่
    ข้อความที่คุณขีดเส้นใต้ เป็นแค่สิ่งเปรียบเทียบของผู้
    บรรลุธรรมและบัญญัติคำมาสอนศิษย์(สิ่งสำคัญผมเห็น
    กระทู้ความเห็นผมก็ตอบเลยไม่มีเวลาไปหาข้อมูลนะครับ)
    เอากันให้ชัดๆไปเลยนะครับ ความหมายมันคลาย
    กันแต่เป็นธรรมคนละตัว
    รบกวนถาม คุณไปหาข้อมูลจากหนังสือของพระอาจารย์ทางใต้
    ใช่ไหมครับ ขอแนะนำนะครับหนังสือท่านดีมากแต่ก็อ่านยาก
    มากเช่นกัน คุณต้องอ่านหลายๆรอบและทำความเข้าใจดีๆนะครับ

    1.เพราะมีการเกิดขึ้น..จึงมีการเปลี่ยนแปลง จึงเรียกว่า อนิจจัง
    2.เพราะมีการตั้งอยู่ ..จึงมีความทุกข์เกิดขึ้น จึงเรียกว่า ทุกขัง
    3.เพราะเห็นการดับไป..จึงรู้ว่า ไม่มีตัวตน จึงเรียกว่า อนัตตา

    1.ถ้ามีการเกิด อย่างเดียว จะเรียกว่าอนิจจัง(ไม่เที่ยง)
    ได้อย่างไร มันจะต้องตั้งอยู่และดับไปให้เห็นจึงจะเข้า
    หลักไม่เที่ยง(อนิจจัง) ความหมายไม่เที่ยงคือไม่อยู่
    สภาพเดิมแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
    2.ถ้ามันตั้งอยู่ของมันเฉยๆจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร
    ความทุกข์เกิดจากการแปรเปลี่ยนของการเกิด
    ตั้งอยู่ ดับไป มิได้ตั้งอยู่อย่างเดียวจึงทำให้เกิดทุกข์
    3.อนัตตาในที่นี้น่าจะให้ความหมายว่า บังคับไม่ได้
    การเกิด,ตั้งอยู่,ดับไป บังคับไม่ได้
    *ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า ธรรมทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยเป็น
    ส่วนประกอบซึ่งกันและกัน จึงเป็นธรรมคนละตัวกัน
    *ขอเสริมอีกนิดคำว่าอนัตตาถ้าจะแปลว่าไม่มีตัวตน
    น่าจะให้ความหมายว่า ธรรมทุกตัวที่กล่าวมาล้วนไม่มี
    ตัวตน

    ...หรือจะเปรียบเทียบอีกแบบคือว่า..สมมุติ คุณไม่รู้จักภาษาบาลี ไม่เคยได้ยินคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา..เลย แต่คุณเห็น สิ่งๆหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป...เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้..เราก็สามารถเรียกว่า..คุณคนนั้น..ที่เห็น การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ว่า...ได้เห็นไตรลักษณ์แล้ว...
    ...นี่แหละคับ คือสาเหตุที่ผมบอกว่า.. เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เหมือนกันกับ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป คือ อันเดียวกับกฏไตรลักษณ์นั้นเอง...
    *ไตรลักษณ์หมายถึงลักษณะสามอย่างนะครับ แต่ถ้าผม
    จะนำแค่อย่างเดียวมากล่าวละครับ สมมุติผมไม่รู้บาลี
    ผมเห็นการเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไป ผมจะกล่าวว่า ชีวิตนี้
    มันไม่เที่ยงจริงๆหนอทำไมเกิดมาอยู่ดีแล้วต้องมาตายด้วย
    *หรือว่าทำไมคนเราเกิดมาอยู่ดีๆต้องมาตาย ทุกข์จริงๆ
    *ทำไมเราบังคับการเกิดแล้วให้อยู่ไม่ต้องตายไม่ได้นะ
    ถ้าเราสังเกตุที่กล่าวข้างต้นให้ดี ธรรมหนึ่งตัวประกอบขึ้น
    ด้วยธรรมสามตัว จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นธรรมตัว
    เดียวกัน
    สาธุคับ... เหตุที่ผมดูเหมือนจะไม่ให้ความสำคัญ ในสมมุติ-บัญัติ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ติดในสมมุติ-บัญญัติ และสมุติ-บัญญัติ ก็ทำให้เกิดทุกข์ร้อนขึ้นโดยไม่รู้ตัว...ผมจึงพยายามชี้ให้มองเลยลงไปถึง ปรมัติธรรม คือสิ่งที่เป็นจริง จริงๆ หรือเรียกว่าเห็นธรรมตามจิงนั้นเอง...
    ต้องพูดกันตามความเป็นจริงนะครับ ว่าเราอยู่ในสังคม
    จะต้องติดต่อกับผู้คนซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นปุถุชนคนธรรมดา
    ต้องใช้สมมุติบัญญัติติดต่อกัน เราคงไม่ใช่อารมณ์ปรมัติ
    หรอกนะครับ ถ้าเรากำลังทำวิปัสสนาอยู่คนเดียวก็ว่าไป
    อย่าง ผมว่าคุณต้องแยกแยะเวลาและเหตุการให้ดีด้วย
    *คุณนัทครับเราต้องยึดมั่นกันไว้เลยนะครับเราจะถกกันเพื่อ
    ความรู้เป็นหลัก บางครั้งคำบางคำอ่านดูอาจจะทำให้ไม่พอใจเรา
    ต้องไม่โกรธกันนะครับ ผมขอให้คุณนัทเอาความเมตตาเป็นที่ตั้ง
    เพราะบางครั้งผมอาจพลั้งไปบ้าง*
    เจริญในธรรมครับ[​IMG]
     
  19. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณนัทครับ ผมขออธิบายเพิ่มเติมจากการที่เคยอธิบายเล็กน้อย
    เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ปรมัติหรือการทำวิปัสสนา อันที่จริงผมไม่
    กล่าวในตอนแรกเพราะ ไม่ทราบว่าจขกท เคยปฏิบัติกรรมฐาน
    หรือยัง สิ่งสำคัญกลัวเป็นการเปิดประเด็นเพิ่ม
    *คุณนัท คุณเคยกล่าวว่าการทำวิปัสสนา ต้องเห็น
    ไตรลักษณ์จึงเรียกว่าวิปัสสนา ใช่แล้วถูกต้องครับ
    ตอนนี้เรามาดูการเข้าถึงวิปัสสนา ขอยกตัวอย่างสั้นๆ
    สมมุติเรายื่นอยู่ แล้วมีคนมาเหยียบเท้าเรา เราจะรู้
    สึกโกรธ เท่ากับว่าอารมณ์โกรธได้เกิดขึ้นและตั้งอยู่
    แล้ว ในเวลาเดียวกันคนที่เหยียบเท้ากล่าวคำขอโทษ
    เรารู้สึกหายโกรธ อารมณ์โกรธหายไปหรือดับไป
    จึงครบองค์ประกอบของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    แต่มันก็ไม่ใช่การทำวิปัสสนาและเหตุการนี้ก็เกิดขึ้นได้
    ทั่วไปตามปกติ
    *ที่นี้เราลองเอาเหตุการณ์เดิมมา วิปัสสนาจะเกิด
    ได้ดังนี้ เมื่อเราถูกเหยียบเท้าเกิดอารมณ์โกรธขึ้น
    ในขณะที่อารมณ์โกรธตั้งอยู่ ถ้าเรามีสติระลึกรู้ได้
    อารมณ์โกรธจะหายไปหรือดับไป แล้วเอาสติหรือตัวรู้
    มาพิจารณาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปทีนี้เราจึงจะเห็น
    ไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์จะทำให้เห็นหรือจะเรียกว่าปลง
    ก็ได้ โดยการพิจารณาว่า การเกิด,ตั้งอยู่,ดับไป
    ล้วนไม่เที่ยง การเกิด,ตั้งอยู่,ดับไป ล้วนเป็นทุกข์
    การเกิด,ตั้งอยู่,ดับไป ทุกอย่างล้วนบังคับไม่ได้ และ
    ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่มีตัวตน
    จากการที่กล่าวข้างต้น ไตรลักษณ์จะเกิดได้ต่อเมื่อ
    เกิดอารมณ์ วิปัสสนาญาณ แต่การเกิดขึ้น,ตั้งอยู่และ
    ดับไป เกิดได้แม้ไม่ได้อยู่ในอารมณ์ วิปัสสนา
    ด้วยเหตุนี้จึงพอจะกล่าวได้ว่า เป็นธรรมคนละตัวกัน

    [​IMG]เจริญในธรรมครับ
     
  20. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    ขอบคุณคุณบุญพิชิต คุณนัท และคุณดับ

    กระทู้นี้ทำให้ผมเข้าใจอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องดีนะครับ

    อย่างน้อยหลักไตรลักษณ์ ซึ่งหมายถึงลักษณะ 3 อย่างก็มีที่นี่

    อนิจจัง ความไม่เที่ยง เพราะตอนที่ผมตั้งกระทู้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะได้คำตอบหรือไม่ กระทู้จะถูกลบไหม กระทู้จะอยู่นานมั๊ย ไม่มีอะไรเที่ยงแท้เลยในตอนตั้งกระทู้ แล้วก็ได้รับความอนุเคราะห์จากทุกท่าน เรียกว่า อนิจจังเกิด อนิจจังตั้งอยู่ แล้วอนิจจังก็ดับไป

    ทุกขัง ความทุกข์ใจ เพราะความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งดูผู้รู้ถกปัญหาที่เราซึ่งเป็นคนไม่รู้ (เรียกว่ากิเลสหนา แถมปัญญาดันทึบอีก) มองซ้ายที ขวาที แล้วยังงี้ข้าพเจ้าจะรู้ไหมเนี่ยะ (ประโยคนี้พูดคลายเครียดนะครับ) ยอมรับว่าเป็นทุกข์นะครับ ที่เห็นผู้รู้ถกกัน แล้วเราก็ได้แต่มองไปมองมา ทั้งหมดนี้ก็ได้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และทำท่าว่าจะดับไปในไม่ช้านี้

    อนัตตา ความไม่มีตัวตน ก็ได้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และคงดับไปในวันใดวันหนึ่งสำหรับกระทู้นี้ เพราะคำถามทั้งหมดเกี่ยวกับไตรลักษณ์นี่อยู่ใน internet เป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ แม้แต่ internet เอง เป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น

    อย่างน้อยก็ทำให้ผมเข้าใจว่าทั้งไตรลักษณ์และการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปสัมพันธ์กันอย่างไร

    ต้องขอขอบคุณทั้ง 3 ท่านมากนะครับ ที่กรุณาสละเวลามาตอบกระทู้ให้ แม้จะถกกันเรื่องธรรมะบ้างซึ่งก็เป็นธรรมดา เพราะแต่ละท่านก็นั่งอยู่กันคนละมุม อาจเห็นแตกต่างกันไปบ้าง

    แต่น่าแปลก คำตอบของคุณดับนี่ ทำให้ผมต้องอ่านวนไปวนมาหลายรอบมากที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...