อุโบสถไม้สักทองฝังมุก หนึ่งเดียวในสยามที่"วัดศรัทธาธรรม"

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 29 มิถุนายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=585 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>อุโบสถไม้สักทองฝังมุก หนึ่งเดียวในสยามที่"วัดศรัทธาธรรม"</TD></TR><TR><TD vAlign=top>28 มิถุนายน 2550 19:05 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] วัดศรัทธาธรรม หรือวัดมอญเป็นโบราณสถานที่เชิดหน้าชูตาของจ.สมุทรสงครามซึ่งเป็นวัดที่มีอุโบสถสร้างด้วยไม้สักทองฝังมุกแท้เพียงแห่งเดียวในสยามและเป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์กลางการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา และสังคมของชุมชนชาวมอญ ณ ต.บางจะเกร็ง



    วัดศรัทธาธรรม สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๓๔๑ ด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวมอญประมาณ๑๐ ครอบครัว ที่หนีสงครามกลางเมืองในพม่า เข้ามาพึ่งความร่มเย็นบนผืนแผ่นดินไทย ตราบจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้ยังคงเป็นศูนย์รวมพลังแห่งศรัทธา และเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญอันสำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธ โดยมีพระพุทธชินราชเป็นพระประธาน
    แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปก็สามารถแวะเข้าไปชมความงดงามตระการตาของ อุโบสถอันสวยงามซึ่งประดิษฐ์บรรจงโดยฝีมือช่างอันยากยิ่งกว่าการแกะสลักธรรมดาหลายร้อยเท่า
    ย้อนอดีตกลับไปวัดศรัทธาธรรมสมัยนั้นยังไม่มีชื่อ จึงใช้ชื่อที่ชาวมอญอาศัยอยู่ เรียกว่า วัดมอญเมื่อมีที่ดินที่ทางราชการแบ่งไว้ปลูกสร้างวัดชาวมอญที่อาศัยอยู่ก็ร่วมแรงร่วมใจสร้างศาลาหลังเล็กๆ ประมาณ ๒-๓ หลัง เพื่อเป็นที่ทำบุญกุศล ศาลาที่สร้างในสมัยนั้นอยู่ทางปากอ่าว หรือปากแม่น้ำแม่กลอง
    เมื่อมีศาลาจึงมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ปีละ๓-๔ รูป ไม่มีพระจะปกครองสงฆ์ที่จำพรรษา ชาวมอญที่อาศัยอยู่เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่ที่มีพรรษามาจากวัดบางลำภู อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ชื่อว่า ท่านอาจารย์ม่องเพื่อมาปกครองดูแลสงฆ์ในขณะนั้น
    ถือว่าอาจารย์ม่องเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ปกครองสงฆ์ต่อมาอดีตเจ้าอาวาสวัดนี้ คือ พระอาจารย์เจียวัดใหญ่นครชุมม์จ.ราชบุรี พระอาจารย์สั้นวัดดาผาอ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และ พระครูศรัทธาสมุทรคุณ(หลวงพ่อลิ)
    ปัจจุบันชุมชนมอญที่อัมพวานั้นมีเพียงเรื่องเล่า ผู้คนและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ผิดกับที่ชุมชนมอญบางจะเกร็ง ที่ยังเป็นชุมชนมอญที่เข้มแข็ง แม้การใช้ภาษามอญของชาวบ้านจะเหลือน้อย มีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่ยังใช้ แต่ชาวบ้าน รวมทั้งผู้นำชุมชน คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าอาวาสวัด ยังคงเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีมอญ มีการอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ การแห่โหน่ (ธงตะขาบ) อยู่มิได้ขาด
    นายภิวัฒน์รักชาติ ประชาสัมพันธ์วัดศรัทธาธรรมกล่าวว่า พระครูสมุทรคุณวิสุทธิวงศ์(หลวงพ่อชุบ) คิดที่จะสร้างอุโบสถไม้สักทองฝังมุกขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแทนดอนหอยหลอด เพราะเวลาดอนหอยหลอดน้ำขึ้น จะไม่เห็นดอน จึงมีปณิธานแน่วแน่ว่า จะสร้างอุโบสถที่ทำจากไม้สักทองทั้งหลัง ท่านจึงสะสมไม้มาเป็นเวลา ๑๐ ปี เมื่อเล็งเห็นว่าวัดพร้อมแล้วจึงสร้างเมื่อปี ๒๕๓๕
    ส่วนช่างที่ร่วมกันสร้างอุโบสถไม้สักทองฝังมุกได้แก่ ๔ สกุลช่าง คือ ๑.ช่างสมุทรสงครามเป็นโครงสร้างและฐานของอุโบสถทั้งหมด ๒.ช่างชัยนาทแกะสลักบนฝาของเปลือกหอยมุก๓.ช่างเพชรบุรีที่ทำด้านบนเป็นลายทอง๔.ช่างราชบุรีปิดทองด้านนอกตามเสาของอุโบสถระยะเวลาในการทำภายในอุโบสถใช้เวลาถึง ๔ ปี เกือบจะได้ทำพิธีเปิดอุโบสถ หลวงพ่อชุบก็มรณภาพ
    จากนั้น พระครูพิพิธพิพัฒนโกศล(หลวงพ่อหลี) ได้สานต่องานที่เหลืออีก๒๐ เปอร์เซ็นต์ จนวันนี้เหลืองานอีกประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นหน้าต่าง ๑๐ คู่ ต้องใช้เปลือกหอยมุกในการตกแต่งทั้งหมด เนื่องจากเปลือกหอยมุกที่นำใช้นั้นมีความพิเศษถึง ๓ ชนิด ๑.มุกธรรมดา หรือมุกจาน ๒.มุกไฟ จะเป็นมุกที่เป็นสีๆ และ ๓.หอยมุกเป๋าฮื้อ ในส่วนนี้ต้องนำเข้าเท่านั้น ส่วนงบประมาณในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงินกว่า ๑๐๐ ล้านบาท
    "อุโบสถสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังภายนอกอุโบสถ เสาระเบียงฝังมุกลายไทย ผนังภายนอกฝังเปลือกหอยมุกเป็นลายเทพพนม อันวิจิตรบรรจง ส่วนเครื่องบนประดับช่อฟ้า ใบระกา ที่กลางหน้าบันทั้งสองด้าน จำหลักลายหงส์ภายใต้เศวตฉัตรอยู่บนพื้นลายกนกเปลว ภายในอุโบสถ ประดิษฐ์ด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังฝังมุก แสดงเรื่องราวพุทธประวัติและภาพด้านล่างคือ ภาพวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์เนื่องจากอุโบสถหลังนี้ฝังด้วยมุกเกือบทั้งหมด เมื่อพระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า มุกที่ฝังไว้นอกผนังอุโบสถรูปลายเทพพนม จะสะท้อนแสงระยิบระยับส่งประกายสวยงามยิ่ง" นายภิวัฒน์กล่าว
    ผู้มีจิตศรัทธาต้องการร่วมบริจาคสมทบทุนในการตกแต่งบานหน้าต่างอุโบสถด้วยหอยมุกขนาดต่างๆให้สำเร็จลุลวงด้วยดี สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดศรัทธาธรรม ต.บางจะเกร็ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ๗๕๐๐๐ โทร.๐-๓๔๗๑-๑๓๐๕, ๐-๓๔๗๑-๓๖๔๒, ๐๘-๓๐๓๓-๖๖๘๔

    เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง
    ภาพ สุรจิตร ศิริ


    -->[​IMG]
    วัดศรัทธาธรรม หรือวัดมอญเป็นโบราณสถานที่เชิดหน้าชูตาของจ.สมุทรสงครามซึ่งเป็นวัดที่มีอุโบสถสร้างด้วยไม้สักทองฝังมุกแท้เพียงแห่งเดียวในสยามและเป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์กลางการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา และสังคมของชุมชนชาวมอญ ณ ต.บางจะเกร็ง

    [​IMG]

    วัดศรัทธาธรรม สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๓๔๑ ด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวมอญประมาณ๑๐ ครอบครัว ที่หนีสงครามกลางเมืองในพม่า เข้ามาพึ่งความร่มเย็นบนผืนแผ่นดินไทย ตราบจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้ยังคงเป็นศูนย์รวมพลังแห่งศรัทธา และเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญอันสำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธ โดยมีพระพุทธชินราชเป็นพระประธาน
    แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปก็สามารถแวะเข้าไปชมความงดงามตระการตาของ อุโบสถอันสวยงามซึ่งประดิษฐ์บรรจงโดยฝีมือช่างอันยากยิ่งกว่าการแกะสลักธรรมดาหลายร้อยเท่า

    [​IMG]
    ย้อนอดีตกลับไปวัดศรัทธาธรรมสมัยนั้นยังไม่มีชื่อ จึงใช้ชื่อที่ชาวมอญอาศัยอยู่ เรียกว่า วัดมอญเมื่อมีที่ดินที่ทางราชการแบ่งไว้ปลูกสร้างวัดชาวมอญที่อาศัยอยู่ก็ร่วมแรงร่วมใจสร้างศาลาหลังเล็กๆ ประมาณ ๒-๓ หลัง เพื่อเป็นที่ทำบุญกุศล ศาลาที่สร้างในสมัยนั้นอยู่ทางปากอ่าว หรือปากแม่น้ำแม่กลอง
    เมื่อมีศาลาจึงมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ปีละ๓-๔ รูป ไม่มีพระจะปกครองสงฆ์ที่จำพรรษา ชาวมอญที่อาศัยอยู่เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่ที่มีพรรษามาจากวัดบางลำภู อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ชื่อว่า ท่านอาจารย์ม่องเพื่อมาปกครองดูแลสงฆ์ในขณะนั้น
    ถือว่าอาจารย์ม่องเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ปกครองสงฆ์ต่อมาอดีตเจ้าอาวาสวัดนี้ คือ พระอาจารย์เจียวัดใหญ่นครชุมม์จ.ราชบุรี พระอาจารย์สั้นวัดดาผาอ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และ พระครูศรัทธาสมุทรคุณ(หลวงพ่อลิ) [​IMG]

    ปัจจุบันชุมชนมอญที่อัมพวานั้นมีเพียงเรื่องเล่า ผู้คนและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ผิดกับที่ชุมชนมอญบางจะเกร็ง ที่ยังเป็นชุมชนมอญที่เข้มแข็ง แม้การใช้ภาษามอญของชาวบ้านจะเหลือน้อย มีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่ยังใช้ แต่ชาวบ้าน รวมทั้งผู้นำชุมชน คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าอาวาสวัด ยังคงเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีมอญ มีการอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ การแห่โหน่ (ธงตะขาบ) อยู่มิได้ขาด
    นายภิวัฒน์รักชาติ ประชาสัมพันธ์วัดศรัทธาธรรมกล่าวว่า พระครูสมุทรคุณวิสุทธิวงศ์(หลวงพ่อชุบ) คิดที่จะสร้างอุโบสถไม้สักทองฝังมุกขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแทนดอนหอยหลอด เพราะเวลาดอนหอยหลอดน้ำขึ้น จะไม่เห็นดอน จึงมีปณิธานแน่วแน่ว่า จะสร้างอุโบสถที่ทำจากไม้สักทองทั้งหลัง ท่านจึงสะสมไม้มาเป็นเวลา ๑๐ ปี เมื่อเล็งเห็นว่าวัดพร้อมแล้วจึงสร้างเมื่อปี ๒๕๓๕ ส่วนช่างที่ร่วมกันสร้างอุโบสถไม้สักทองฝังมุกได้แก่ ๔ สกุลช่าง คือ ๑.ช่างสมุทรสงครามเป็นโครงสร้างและฐานของอุโบสถทั้งหมด ๒.ช่างชัยนาทแกะสลักบนฝาของเปลือกหอยมุก๓.ช่างเพชรบุรีที่ทำด้านบนเป็นลายทอง๔.ช่างราชบุรีปิดทองด้านนอกตามเสาของอุโบสถระยะเวลาในการทำภายในอุโบสถใช้เวลาถึง ๔ ปี เกือบจะได้ทำพิธีเปิดอุโบสถ หลวงพ่อชุบก็มรณภาพ [​IMG]

    จากนั้น พระครูพิพิธพิพัฒนโกศล(หลวงพ่อหลี) ได้สานต่องานที่เหลืออีก๒๐ เปอร์เซ็นต์ จนวันนี้เหลืองานอีกประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นหน้าต่าง ๑๐ คู่ ต้องใช้เปลือกหอยมุกในการตกแต่งทั้งหมด เนื่องจากเปลือกหอยมุกที่นำใช้นั้นมีความพิเศษถึง ๓ ชนิด ๑.มุกธรรมดา หรือมุกจาน ๒.มุกไฟ จะเป็นมุกที่เป็นสีๆ และ ๓.หอยมุกเป๋าฮื้อ ในส่วนนี้ต้องนำเข้าเท่านั้น ส่วนงบประมาณในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงินกว่า ๑๐๐ ล้านบาท "อุโบสถสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังภายนอกอุโบสถ เสาระเบียงฝังมุกลายไทย ผนังภายนอกฝังเปลือกหอยมุกเป็นลายเทพพนม อันวิจิตรบรรจง ส่วนเครื่องบนประดับช่อฟ้า ใบระกา ที่กลางหน้าบันทั้งสองด้าน จำหลักลายหงส์ภายใต้เศวตฉัตรอยู่บนพื้นลายกนกเปลว ภายในอุโบสถ ประดิษฐ์ด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังฝังมุก แสดงเรื่องราวพุทธประวัติและภาพด้านล่างคือ ภาพวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์เนื่องจากอุโบสถหลังนี้ฝังด้วยมุกเกือบทั้งหมด เมื่อพระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า มุกที่ฝังไว้นอกผนังอุโบสถรูปลายเทพพนม จะสะท้อนแสงระยิบระยับส่งประกายสวยงามยิ่ง" นายภิวัฒน์กล่าว
    ผู้มีจิตศรัทธาต้องการร่วมบริจาคสมทบทุนในการตกแต่งบานหน้าต่างอุโบสถด้วยหอยมุกขนาดต่างๆให้สำเร็จลุลวงด้วยดี สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดศรัทธาธรรม ต.บางจะเกร็ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ๗๕๐๐๐ โทร.๐-๓๔๗๑-๑๓๐๕, ๐-๓๔๗๑-๓๖๔๒, ๐๘-๓๐๓๓-๖๖๘๔

    [​IMG]


    เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง
    ภาพ สุรจิตร ศิริ

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=567 align=center border=0><TBODY><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD><!---------------------------------open คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------><!---------------------------------close คุณคิดอย่างไรกับข่าวนี้-------------------------------------------></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=8>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    --------------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/06/29/j001_124830.php?news_id=124830
     
  2. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,182
    น่าเสียดายจัง
    เฮ้อ ไม่เที่ยงหนอ
     
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ร่วม [​IMG] อนุโมทนาบุญด้วยครับ.^./|\.^. [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...