อาหารเพิ่มภูมิต้านทาน

ในห้อง 'เมนูอาหารและวิธีการทำอาหาร' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 8 กันยายน 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=t_cordia align=left>อาหารเพิ่มภูมิต้านทาน
    ร่างกายเราต้องการสารอาหารเท่าไร่เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน ?
    [​IMG] งานวิจัยชี้ว่า การทำงานของระบบภูมต้านทานเราไม่ต้องการวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณมากอย่างที่เราคิด เพียงแต่เรารับประทานให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการเท่านั้น และในความเป็นจริงถ้ากินมากเกินไปกลับเป็นอันตรายได้ เช่น การได้รับธาตุเหล็กสูงเกินควรอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งแย่พอๆ กับการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ทำนองเดียวกับแร่ธาตุทองแดง ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดปัญหาอนุมูลอิสระในร่างกายมีผลต่อาการทำลายดีเอ็นเอ

    แร่ธาตุสังกะสีเป็นอีกตัวหนึ่งในการป้องกันหวัด แต่ถ้าได้รับมากเกินควรก็จะลดการดูดซึมของแร่ธาตุทองแดงและลดถูมิต้านทานได้

    ฉะนั้นอาหารที่หลากหลายและมีสารอาหารที่สมดุลที่เราเลือกกินในชีวิตประจำวันกลับจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันมีข้อมูลที่แสดงว่าการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุรวม (multivitamin and minerals) วันละครั้งสามารถเพิ่มระบบภูมิต้านทาน ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและคนที่มักจะรับประทานอาหารไม่ครบส่วน
    วิตามินอีเพิ่มภูมิต้านทาน
    จากการวิจัยพบว่า การเสริมวิตามินอีวันละ 200 ไอยู เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการเพิ่มภูมิต้านทาน และปริมาณที่สูงกว่านี้ไม่ได้เพิ่มผลดีแต่อย่างใด

    โรคหัวใจและโรคมะเร็ง
    อาหารไขมันต่ำเกินไปอาจสร้างปัญหาลดภูมิต้านทาน ในขณะที่อาหารไขมันสูงเกินไปสร้างปัญหาโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ไขมันที่มีบทบาทต่อระบบภูมิต้านทาน คือ กรดไขมันจำเป็น ลิโนเลอิค (กลุ่มกรดไขมันโอเมก้า 6) และกรดไขมันจำเป็น แอลฟาลิโนเลนิค (กลุ่มโอเมก้า 3 พบมากในปลาทะเล แฟลคซีด วอลนัท และน้ำมันคาโนลา) หากร่างกายได้รับกรดไขมันทั้งสองไม่เพียงพอ จะทำให้แผลหายช้า คนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในปริมาณกรดโอเมก้า 6 เพราะทุกวันนี้ร่างกายได้รับอย่างเกินพอ แต่กรดโอเมก้า 3 ซึ่งเพิ่มภูมิต้านทาน เรามักจะรับประทานกันไม่เพียงพอ

    หวัดกับภูมิต้านทาน
    การรับประทานวิตามินซีในขนาดสูงๆ ไม่สามารถป้องกันหวัดได้ การวิจัยพบว่าการเสริมวิตามินซีวันละ 2,000 มก. เพียงลดความรุนแรงของอาการหวัดและระยะเวลาของการเป็นหวัดเท่านั้น แต่โดสสูงขนาดนั้นไม่แนะนำสำหรับเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และอาจทำให้เกิดอาการถ่ายท้องบ่อยหรือนิ่วในไตในบางคน ข้อแนะนำ กรณีที่รับประทานวิตามินซีขนาดสูงไม่ควรเกิน 1,000 มก./วัน และแบ่งเป็น 2 โดสๆ ละไม่เกิน 500 มก. แต่การดื่มน้ำส้มคั้นมากๆ จะได้ทั้งน้ำและวิตามินซีที่จะเพิ่มภูมต้านทานและลดอาการหวัดได้

    สมุนไพรบางชนิดได้รับการยอมรับว่า อาจมีส่วนในการเพิ่มภูมิต้านทาน เช่น เอ็คไคนาเชีย (Echinacea) โสม เครื่องเทศบางชนิดได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม ขมิ้น (turmeric) เห็ดหอมญี่ปุ่น (shitake) และกระเทียม เป็นต้น

    [​IMG]อาหารและสมุนไพรเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
    การบริโภคอาหารอย่างหลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพฤษเคมีอย่างเพียงพอที่จะเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

    สารอาหารหลายๆ ชนิดที่ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสารอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน ผลต่อภูมิคุ้มกัน แหล่งอาหาร
    เบต้าแคโรทีน(วิตามิน เอ) - เพิ่มการทำงานของเซลที่ดักจับเชื้อโรค (killer cells) พบมากในแครอท ฟักทอง มันเทศ ผักใบเขียวจัด แคนตาลูป
    มะปรางสุก มะม่วงสุก มะละกอสุก
    วิตามินบี 6 - ช่วยเซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างแอนติบอดี พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชไม่ขัดสี ไก่ หมู กล้วย
    วิตามินซี - ป้องกันเซลเม็ดเลือดชนิด neutrophills ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อแบคทีเรีย มีมากในผลไม้ตระกูลส้ม สตรอเบอรี่ พริกหวาน บร็อคโคลี
    มะเขือเทศ
    วิตามินอี - เพิ่มการสร้างแอนติบอดี ช่วยสร้างเสริมการทำงานของทีเซลล์ (T Cells) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการป้องกันการติดเชื้อร่วมกับบีเซลล์ (B Cells) มีมากในถั่วเปลือกแข็ง วีทเจิร์ม + วิตามินอีเสริม(100 - 400 ไอยู)
    โปรตีน - ช่วยผลิตและรักษาปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว มีมากในผลิตภัณฑ์นมขาดไขมัน ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ถั่ว เปลือกแข็ง
    ซีลีเนียม - เพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ ที่ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน(immune cells) มีมากในเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารทะเล ถั่วบราซิล
    สังกะสี - ช่วยสร้างและเสริมการทำงานของเซลเม็ดเลือด นิวโทรฟิล(neutrophills) และ killer cells ป้องกันเซลล์ในระบบภูมิคุมกันถูกทำลายโดยการลดไซโตคายน์(cytokines) ซึ่งควบคุมการบวมอักเสบ เสริมสร้างบีเซลล์และทีเซลล์ มีมากในวีทเจิร์ม ถั่วดำ เนื้อวัวไม่ติดมัน อาหารทะเล(โดยเฉพาะปู)

    การปฏิบัติตัวง่ายๆในการบริโภคอาหารเพิ่มภูมิต้านทานคือ รับประทานอาหารให้หลากหลาย รับประทานถั่วต่างๆ และรับประทานปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ส่วนอาหารไขมันควรจำกัดให้ต่ำกว่า 30% ของพลังงาน โดยการจำกัดปริมาณน้ำมันที่ใช้ทำอาหารจำกัดเนย มาจารีน ใช้น้ำมันพืชพอสมควร ลดอาหรทอด และลดการใช้กะทิ

    กรณีที่ต้องการเสริม วิตามินและแร่ธาตุรวม หรือมัลติวิตามินที่ให้สารอาหารประมาณ 100% ของข้อกำหนดประจำวัน โดยเฉพาะ วิตามินบีวันละเม็ดก็เพียงพอแล้ว ผู้สูงอายุอาจพิจารณาการเสริมวิตามินอีธรรมชาติวันละไม่เกิน 200 ไอยู ทั้งนี้อย่าลืมปรึกษาแพทย์และนักโภชนการถึงปริมาณที่เหมาะสม
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD class=t_cordia align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- End Article Content -->
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cc3366>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=t_ms10 align=right bgColor=#ffffff>อ่านเพิ่มเติมในคอลัมน์ Nutrition Therapy นิตยสาร Health & Cui</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...