อาหารของอวิชชา วิชชา และ วิมุตติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 7 มิถุนายน 2012.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    เราย่อมกล่าว อวิชชา ว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร.



    ก็อะไร เป็นอาหารของอวิชชา

    ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕.


    แม้ นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของนิวรณ์ ๕

    ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓.


    แม้ ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของทุจริต ๓

    ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์.


    แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์

    ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ.


    แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ

    ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย.


    แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

    เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

    ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา.


    แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา

    ควรกล่าวว่า การไม่ฟังพระสัทธรรม.


    แม้การไม่ฟังพระสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของการไม่ฟังพระสัทธรรม

    ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ.


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

    ด้วยประการดังนี้


    การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์

    ย่อมยังการไม่ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์.


    การไม่ฟังพระสัทธรรมที่บริบูรณ์

    ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์.


    ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์

    ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์.


    การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์

    ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์.


    ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์

    ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์.


    การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์

    ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.


    ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์


    นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง อวิชชา ให้บริบูรณ์


    อวิชชา นี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้.!



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบ ตกลงเบื้องบนภูเขา

    เมื่อฝนตกหนัก ๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม

    ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม

    ซอกเขา ลำธาร และห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม

    หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม

    แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม

    แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม

    มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    การไม่คบสัปบุรุษ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง การไม่ฟังพระสัทธรรม ให้บริบูรณ์

    นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง อวิชชา ให้บริบูรณ์

    อวิชชานี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล.



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    เรากล่าว วิชชา และ วิมุตติ ว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร



    ก็อะไร เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ

    ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗.


    แม้ โพชฌงค์ ๗ เราก็ควรกล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗

    ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔.


    แม้ สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔

    ควรกล่าวว่า สุจริต ๓.


    แม้ สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของสุจริต ๓

    ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์.


    แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์

    ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ.


    แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ

    ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย.


    แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

    ควรกล่าวว่า ศรัทธา.


    แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของศรัทธา

    ควรกล่าวว่า การฟังพระสัทธรรม.


    แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

    ก็อะไร เป็นอาหารของการฟังสัทธรรม

    ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ.


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    ด้วยประการดังนี้


    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์

    ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์.


    การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์

    ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์.


    ศรัทธาที่บริบูรณ์

    ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์.


    การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์

    ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์.


    สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์

    ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์.


    การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์

    ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.


    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์

    ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.


    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์

    ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.


    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์

    ย่อมยัง วิชชา และ วิมุตติ ให้บริบูรณ์.

    วิชชา และ วิมุตติ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้.



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา

    เมื่อฝนตกหนักๆอยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม

    ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม

    ซอกเขา ลำธาร และห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม

    หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม

    แม่น้ำน้อย ที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม

    แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม

    มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์

    วิชชา และ วิมุตติ นี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

    ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ

    คัดลอกจาก พุทธรักษา
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=14065
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...