อาสวักขยญาณ ปัญญาญาณแห่งความรู้ อันเป็นเหตุสิ้นอาสวะ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 19 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    “ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี "


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    อาสวักขยญาณ<o></o>​

    [๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัวบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่าสระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

    <o></o>
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะแม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    <o></o>
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    <o></o>
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ

    <o></o>
    ดูกรมหาบพิตร ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี.<o></o>
    <o></o>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๗๒๔ - ๑๘๙๐. หน้าที่ ๗๒ - ๗๘.<o></o>



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1370509/[/MUSIC]


    อนุโมทนาภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

    (ภาพแทนตัวท่านสมาชิกพลังจิตท่านใด ขออภัยจำไม่ได้ ขอท่านมีส่วนแห่งกุศลทุกประการ สาธุ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]

    เข้าฌานอันเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดผ่องแผ้ว
    แล้วกำหนดสำเหนียกสิ่งที่ปรากฏในจิตใจขณะนั้นโดย ไตรลักษณ์
    เมื่อเกิดความรู้เห็นโดยไตรลักษณ์แจ่มแจ้งขึ้น
    จิตก็ผ่องแผ้วพ้นอาสวะทันที<o></o>​

    <o></o>
    การเจริญเพื่ออาสวักขยญาณ คือ เข้าฌานชั้นใดชั้นหนึ่ง ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตลอดถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ (ถ้าได้) แล้วพิจารณาสิ่งที่ถึงความเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ในฌานนั้นๆ ให้เห็นโดยไตรลักษณะอย่างถี่ถ้วน เห็นแล้วเห็นอีก จนจิตวางอุปทานในสิ่งนั้นๆ ได้ ก็ชื่อว่าบรรลุถึงอาสวักขยญาณ จะรู้ขึ้นในขณะนั้นเองว่าสิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจที่ต้องทำอีกแล้ว
    <o></o>
    ทั้งนี้ เฉพาะสมาบัติสองประการ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น …. เป็นสมาบัติประณีตเกินไป จะเจริญวิปัสสนาภายในสมาบัตินั้นไม่ได้ ท่านว่าพึงเข้าและออกเสียก่อน ....
    <o></o>
    ในลำดับที่ออกจากสมาบัตินั้น จิตใจยังอยู่ในลักษณะสงบผ่องใส คล้ายยังอยู่ในฌาน พึงรีบทำการเจริญวิปัสสนาทันที โดยยกเอาสัญญาเป็นเครื่องกำหนดนั้นมาเป็นอารมณ์ หรือสิ่งใดๆ มาปรากฏแก่จิตใจ
    <o></o>
    ในขณะออกจากฌานใหม่ๆ นั้น ก็พึงยกเอาสิ่งนั้นๆ มาพิจารณาโดยไตรลักษณ์ ให้เห็นชัดแจ้งแล้วๆ เล่าๆ จิตใจก็จะถอนความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงได้.
    <o></o>
    จิตใจของผู้บรรลุถึงอาสวขยญาณ เป็นจิตใจที่ผ่องแพ้ว ชื่นบาน เยือกเย็น และมั่นคง ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ตื่นเต้น ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ใดๆ แม้จะร้ายแรงสักปานใดก็ตาม
    <o></o>
    <o></o>
    ที่มาข้อมูล สาธุ : http://ekkbook.blogspot.com/2010/08/5.html

    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์

    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมคุณพระสงฆ์
    บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า

    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ ปัญญามีความเพียร ขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ
    <o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    จรณะ ๑๕ คือข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุวิชชา หรือความรู้ในพุทธศาสนา

    การรู้นั้นง่าย แต่การปฏิบัตินั้นยาก ค่อย ๆหมั่น ค่อยๆ เพียร

    จรณะ ๑๕ คือข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุวิชชา หรือความรู้ในพุทธศาสนา<O></O>
    ขยายความ จรณะ ๑๕ คือข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุวิชชา หรือความรู้ในพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่

    หนึ่ง สังวรศีล คือ การสำรวมปฏิบัติศีล จนเกิดปัญญา หมายถึง สภาวะธรรมที่ปฏิบัติศีลเพื่อให้เกิดจิตแห่งศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหุสัจจะ จนกระทั่งมี วิริยะ สติ จนกระทั่งเกิดจิตตัวสำคัญยิ่ง คือ
    ปัญญา แล้วต่อจากนั้น จะเกิดสภาวะจิตขั้นลึกซึ้งต่อไปอีก คือ ฌาน ซึ่งก็เป็นจิตที่ได้มาเพราะการ
    สังวรศีลเหมือนกัน<O></O>
    สอง สำรวมอินทรีย์ คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่าสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖
    หรือการระมัดระวังในการเห็นของตา ในการดมกลิ่นของจมูก ในการฟังเสียงของหู ในการรู้รส
    ของลิ้น ในการสัมผัสของกาย และในการคิดของใจ อย่าให้ออกไปในทิศทางที่จะทำ ให้เกิดโลภ
    โกรธ หลง รวมทั้งการติดในอบายมุข ถ้าผู้ใดสำรวมอินทรีย์ได้อย่างสมบูรณ์ จะเกิดจิตที่เป็น วิ
    มุติ คือ จิตที่หลุดล่อน จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว<O></O>
    สาม โภชเนมัตตัญญุตา คือ การรู้จักพิจารณาประมาณในเรื่องของเครื่องอุปโภค บริโภค
    อันเป็นสิ่งที่คนเราจะต้องคลุกคลีด้วยในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เราได้รู้จักประมาณ ไม่ไปหลงไป
    ละโมบในเรื่องเหล่านี้ จนตกเป็นทาสของมัน<O></O>
    สี่ ชาคริยานุโยคะ คือ การกำหนดพิจารณาในเรื่องหลับนอน เรื่องนอน ควรนอนให้มีสติ
    และกำหนดการตื่นในการนอน เรียกว่าในนอนมีตื่น และฝึกไปจนถึงขั้นในตื่นมีพักมีหยุดด้วย
    จะทำให้เป็นผู้มีความรู้สึกแววไว สติมั่นคงสดชื่นอยู่เสมอ<O></O>
    ห้า ศรัทธา เมื่อปฏิบัติจรณะ ๔ ข้อ ดังข้างต้นแล้ว จะรู้เห็น จะเห็นผล จึงเกิดศรัทธาหรือ
    ความเชื่อถือขึ้นมา<O></O>
    หก หิริ พอมีความเชื่อถือเกิดขึ้นมาแล้ว ต่อไปพอรู้เห็นถึงสิ่งที่ชั่ว ไม่งาม และเป็นบาป ก็
    จะเกิด หิริ หรือความละอายต่อความชั่ว ความไม่งาม ความบาป ความตํ่าเหล่านั้น<O></O>

    เจ็ด โอตตัปปะ พอมีหิริ แล้วยิ่งฝึกฝนตนเองต่อไป จิตก็จะยิ่งรู้ชั่วรู้บาปชัดมากยิ่งๆ ขึ้น
    จนกระทั่งจิตของเราไม่กล้าทำ ความชั่ว หรือเกรงกลัวต่อความชั่ว คือมี โอตตัปปะ เกิดขึ้น<O></O>
    แปด พหุสัจจะ คือการรู้ความจริงแจ้งของชีวิตของสัจธรรมได้มากขึ้น ได้กว้างขวางขึ้น รู้
    กิเลสมากขึ้น และละกิเลสได้มากขึ้นด้วย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการฝึกฝนตนเองจนถึงขั้นนี้<O></O>
    เก้า วิริยะ ยิ่งตัวเราฝึกฝนตนเองจนได้ผลเห็นผล ก็จะยิ่งทำ ให้มีวิริยะ หรือ ความเพียร เพิ่มมากยิ่ง
    ขึ้นไปอีก<O></O>
    สิบ สติ หรือการที่จิตอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น เพราะความฟุ้งซ่านลดลง ก็จะยิ่งดีขึ้นกลาย
    เป็นจิตที่มีสติอันเป็นจิตที่มีพลัง<O></O>
    สิบเอ็ด ปัญญา หรือความสามารถเห็นแจ้งรู้จริงในความจริงยิ่งๆ ขึ้นจะบังเกิด เมื่อจิตมี
    สติอยู่ในตัวมาก และพร้อมบริบูรณ์ด้วยจรณะทั้ง ๑๑ ที่กล่าวมาทั้งหมดให้เห็นจริง เป็นจริง เป็น
    การกระจ่างแจ้งชัดเจน<O></O>

    (เมื่อเกิด “สติ” และ “ปัญญา” บริบูรณ์ สิ่งที่จะเกิดจริงเป็นจริงตามมาคือ ความเป็น “ฌาน” ซึ่งแปลว่าเพ่ง แปลว่าเผา ซึ่งก็คือเผากิเลสของตนเอง)<O></O>
    <O></O>

    สิบสอง ฌานหนึ่ง เพ่งเผากิเลสตนจน เป็นภาวะจิตที่ จิตสงบเงียบ จิตคิดอารมณ์หนึ่ง จิตอ่านอารมณ์ จิตชุ่มชื่น จิตมีความสุข จิตมีความเป็นหนึ่ง จิตเสรี เบิกบาน ละกามคุณ และอกุศลธรรม
    สิบสาม ฌานสอง เป็นภาวะจิตที่ จิตไม่คิดอ่านอะไร จิตสบาย ชื่นบาน ผ่องใสและเป็นหนึ่งเด่นยิ่งขึ้น เพราะอำนาจความสงบ ปราศจากอารมณ์คือไม่สังโยคกับอารมณ์ภายนอก เป็นจิตระงับวิตกวิจารณ์ เหลือเพียง ปิติ สุข และเอกัคคตา
    สิบสี่ ฌานสาม เพ่งเผากิเลสตนจน เป็นภาวะสิ้นกำหนัดในปิติ จิตจางปิติ เป็นกลาง หมดความรู้สึก มีอุเบกขา วางเฉยไม่เสวยปิติ มีสติสัมปชัญญะกำกับ สี่ เพราะมีสติควบคุม เสวยอุเบขาสุขุมสุข ด้วยนามกาย เป็นสุขวิหาร ประณีตสุขุม ถึงความเป็นหนึ่ง มีอารมณ์น้อย
    สิบห้า ฌานสี่ เพ่งเผากิเลสตนจน เป็นภาวะ ละ สุข ทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนได้แล้ว คือไม่มีสุข ทุกข์ มีแต่อุเบกขา กับสติ และความบริสุทธิ์ของจิตอยู่ คือ ระงับลมหายใจอันเป็นที่ตั้งของสุขทุกข์ได้ จิตเป็นกลาง มีสติพละกำกับ พร้อมด้วยสติสัมโพชฌงค์ และสติสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์แรกของมรรค มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง (ตามลักษณะพระบาลีแจ้งไว้คือ รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ใจเป็นกลางเที่ยงธรรม สติมีกำลังควบคุม จิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง จิตใจสงบเป็นหนึ่ง)
    <O></O>
    <O></O>
    จรณะ ๔ ข้อแรก เรียกว่า “จรณะ ๔”<O></O>
    จรณะ ๑๑ ข้อแรก ถ้าพิจารณาจากทฤษฎี “ศีล สมาธิ ปัญญา” ของศาสนาพุทธ ก็คือศีลอันยิ่ง หรือ อธิศีล นั่นเอง<O></O>
    ส่วน จรณะ ๑๒ ๑๓ ๑๔ และ ๑๕ อันได้แก่ ปฐมฌาน ซึ่งอารมณ์แห่งปฐมฌานมี ปีติ เป็นตัววัด มันเอิบอาบซาบซ่าน มีความเบากาย เบาใจ การจะขึ้นสู่ทุติยฌานได้ ต้องละวิตก วิจาร ต่อมา เมื่อจะผ่าน ตติยฌาน ละปิติ และจตุตถฌาน ต้องละ สุข ทุกข์ เหลือแต่อุเบกขา กับสติ และความบริสุทธิ์ อิสระแห่งจิต<O></O>

    การรู้นั้นง่าย แต่การปฏิบัตินั้นยาก <O></O>​
    หากจะรู้จักความดีได้ ก็ต้องเคยเห็นความชั่ว จะรู้ว่าสุขเป็นเช่นไรก็ต้องรู้จักทุกข์เช่นกัน ในยามที่ความทุกข์ย่างกรายเข้ามาในชีวิตหลายคนมักครํ่าครวญ หารู้ไม่ว่าเป็นช่วงเวลาที่จะสามารถพินิจพิจารณา มองเห็นชีวิตตามความเป็นจริง หากรู้จักพลิกวิกฤตเป็นโอกาสก็สามารถนำ มันมาเป็นบันไดส่งให้ก้าวข้ามไปได้ มนุษย์บางส่วนเคยเกลือกกลั้วกับกิเลส หากท้ายสุดสามารถตัดสิ่งร้อยรัดอันได้แก่กิเลสทั้งปวดทิ้งเสียได้ และรู้จักประโยชน์แห่งความว่างเปล่า ด้วยการเทสิ่งที่เต็มทิ้งเสียก่อน ดังเช่นภาชนะที่ว่างเปล่าจึงจะใช้ประโยชน์ได้แท้จริงเมื่อมีภาชนะแล้ว เจ้าของภาชนะก็มีทางเลือกว่าจะบรรจุของที่เป็นประโยชน์หรือสิ่งสกปรกไร้แก่นสารลงไปอีก หากท่านใดมีภาชนะที่ว่าง ดวงจิตที่สะอาดเป็น
    ทุนเดิม <O></O>
    <O></O>
    นับว่าเป็นผู้มีปัญญาสามารถก้าวหน้าในการปฏิบัติจิต อย่าได้ละทิ้งโอกาสอันดีงามเสียแต่หากท่านใดที่เคยเกือกกลั้วกับกิเลส กิเลสจะหลอกล่อ จะวัดใจ หากท่านสามารถเห็นถึงตัวตนที่แท้จริงของสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่จะมาหลอกล่อให้ใจหลงระเริงไป เสมือนการดื่มยาพิษแก้กระหาย ท่านเหล่านั้น นับว่าน่าสรรเสริญยิ่งกว่า เพราะสามารถใช้กำลังใจตนเอาชนะกิเลสพ้นมา จากปลักตมได้ แต่อีกบางพวกที่มีทุนเดิมเป็นดวงจิตที่สะอาดอยู่แล้ว กิเลสจะหลอกล่อชักนำ ว่าจะยอมหยิบสิ่งสกปรกหรือสิ่งไร้แก่นสารใส่ภาชนะของตนหรือเปล่า <O></O>
    <O></O>
    มนุษย์กำเนิดมาให้ถูกธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทดสอบ ขึ้นชื่อว่า “นํ้า” แม้แต่นํ้าใจ ยังไหลลงตํ่าเสมอ เจ้าของต้องรู้จักทดนํ้าให้สูงขึ้น เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากนํ้านั้น จะเห็นได้ว่า จรณะ ๑๒ ถึง ๑๕ นี้ ที่แท้ก็คือ จิตอันยิ่ง หรืออธิจิต หรือขั้นสมาธิ ในความหมายที่แท้จริงของราชาโยคะด้วยเช่นกัน
    เมื่อผู้ใดฝึกฝนตนเองจนถึงพร้อมหมดในจรณะ ๑๕ แล้ว ก็จะมีพื้นฐานที่มั่นคงที่จะไปบรรลุ “อธิปัญญา”หรือ ความรู้แจ้งอันยอดยิ่งของพระพุทธศาสนาซึ่งเรียกว่า ญาณ ๘ (ไม่ใช่ ฌาน)<O></O>
    <O></O>

    ญาณ และ ฌาน ซึ่งสองคำ นี้มีความหมายแตกต่างกัน




    <O></O>”ฌาน” แปลว่าเพ่ง แปลว่าเผา ซึ่งก็คือเผากิเลสของตนเอง <O></O>
    ส่วน “ญาณ” แปลว่าเครื่องรู้ (ในวิทยา หรือ วิชชา) ขยายเป็น “ญาณรู้ ๘ ประการ” นั้น ได้แก่
    ๑. วิปัสสนาญาณ หรือญาณที่มีปัญญาญาณอย่างถูกต้องอันเป็นสภาวะจริง ไม่ใช่แค่ภาษา
    อย่างเดียว และเป็นการรู้ยิ่งของจิต รู้จิตจริงๆ เกิดความเชื่อมั่นว่าทำ ได้
    ๒. มโนมยิทธิ หรือจิตเก่งกล้า มีอิทธิ มีความเก่งในการที่จะทำ ให้จิตหลุดพ้น
    ๓. อิทธิวิธี หรือการมีวิธีมากขึ้น มีกรรมวิธีแนบเนียนขึ้น ทำ ได้เก่งขึ้น
    ๔. โสตทิพย์ หรือความสามารถรู้ลึกซึ้ง คือสามารถรู้ “นาม” จากเพียงการสัมผัส “รูป”
    สามารถรู้ความละเอียดจากการสัมผัสความหยาบ ซึ่งแตกต่างจากโสตทิพย์ที่คนทั่วไปเข้าใจโดย
    ผิวเผิน
    ๕. เจโตปริยญาณ หรือญาณที่รอบรู้ลึกซึ้งเข้าไปอีกมากยิ่งขึ้น จนเข้าใจถึงฐานของ ราคะ
    มูล โทสะมูล โมหะมูล อันเป็นการรู้พิเศษชนิดที่เป็นจิตที่ลึก มีอำนาจสามารถแยกแยะอย่างซับ
    ซ้อนเข้าไปถึงขั้นลึกสุด ละเอียดสุดของจิต
    ๖. บุพเพนิวาสานุสติ หรือการใช้สติทบทวนดูของเก่าของใหม่ ดูกิเลสจริง ดูความเคย
    ความเป็นมาแล้วจริงๆ แล้วเทียบกับความหลุดพ้นที่เราเป็นได้ในขณะนี้ เพื่อนำ มาปรับปรุงตน
    เองอีก
    ๗. จุตูปปาตญาณ หรือการรู้แจ้งแทงทะลุเรื่องการเกิดดับ อย่างสิ้นสงสัย อย่างเห็นแจ้ง
    ในวัฏสงสาร
    ๘. อาสวักขยญาณ คือการรู้จิตวิญญาณแท้รู้กิเลสจริง ลึกละเอียดสุขุม ประณีต จนถึง
    สภาพแห่งอาสวะ อนุสัย ที่สามารถดับประหารได้อย่างแท้จริง สิ้นสูญเหลือแต่ “จิตที่สะอาด
    บริสุทธิ์อย่างที่สุด”<O></O>

    หลักจรณะ ๑๕ เป็นหลักประพฤติปฏิบัติที่ประเสริฐโดยแท้ของ มหาศาสดา ที่ชื่อ สิทธัตถะ ผู้รู้แจ้งแทงทะลุในเรื่องจิตวิญญาณในเรื่องอำนาจ หรือคุณวิเศษ เป็นเสมือนทฤษฎี การวางระบบ พัฒนาคนได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด

    ธรรมบางส่วนจากหนังสือวิถีมังกร
    ดร. สุวินัย ภรณวลัย
    <O></O>
    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : ธรรมะออนไลน์<O></O>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2011
  4. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    [​IMG]
    กราบอนุโมทนาสาธุบุญด้วยค่ะ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    <TABLE id=post4265340 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_4265340 class=alt1>
    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมกันสร้างพระไตรปิฎก
    และเผยแพร่ธรรมะ
    และทำบุญสร้างกุศลทุกอย่าง
    ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และในอนาคตกาล
    ด้วยครับ
    การสะสมบุญ คือ การสะสมความสุขความเจริญ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->deelek<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>Last edited by deelek; เมื่อวานนี้ at 08:07 PM.
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("4265340")</SCRIPT> [​IMG] </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=thead>deelek</TD></TR><TR><TD class=vbmenu_option>ดูรายละเอียดของ</TD></TR><TR><TD class=vbmenu_option>ส่งข้อความส่วนตัวถึงคุณ deelek</TD></TR><TR><TD class=vbmenu_option>ค้นหาโพสเพิ่มเติมของ deelek</TD></TR><TR><TD class=vbmenu_option>Add deelek to Your Contacts</TD></TR><TR><TD class=vbmenu_option>deelek Donation Stats</TD></TR><TR><TD class=vbmenu_option>View deelek's Videos </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    อนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้และทุกท่านด้วย
    ขอธรรมะไปอ่านไปฟังด้วย พระนิพพาน
     
  7. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    "อาสวักขยญาณ" ญาณนำสู่ "โลกุตตระ"

    น้อมอนุโมทนา สาธุการกับคุณพี่บุญญสิกขา ด้วยครับ
     
  8. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG]
     
  9. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขออนุโมทนาสาธุครับ....
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     

แชร์หน้านี้

Loading...