อาศัย อัตตา จึงจะถึงพระนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ratercracker, 18 กรกฎาคม 2009.

  1. ratercracker

    ratercracker เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +729
    ตามพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงกำหนดวิธีการทำสมาธิ ไว้ชัดแจ้ง เมื่อได้สมาธิแล้ว ท่านให้ใช้อัตตาในสมาธิ ส่งไปในสมาธิ อัตตาในที่นี้ จะเป็นลักษณะของตัวตน ร่างกาย เพื่อให้เห็นถึงสภาพ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สภาวธรรม และการแปรเปลี่ยนของวัฏฏะ ได้อย่างรวดเร็ว เฉียบพลัน โดยท่านได้ตรัสกับ ปิโลติกะปริพาชก กับ ชาณุสโสณีพราหมณ์ (บาลี มู.ม.๑๒/๓๓๖/๓๒๙) ว่า
    "พระสมณโคดมย่อมให้บรรพชา แก่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นบวชแล้วในธรรมวินัย เป็นผู้หลีกออกสู่ที่สงัด ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีอัตตา ส่งไปในสมาธิภาวนา อยู่เป็นปกติ ไม่นานเลย ก็ทำให้แจ้งได้ ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ( นิพพาน)... ได้ด้วยปัญญายิ่งเอง เข้าถึงสุขแห่งพรหมจรรย์นั้นแลอยู่"
    และด้วยอัตตาอันได้จากสมาธิภาวนานั้นเอง จึงปรากฏเป็นพุทธพจน์ที่ว่า "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แปลว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน" (๒๕/๒๒/๓๕)
    คำว่า ที่พึ่ง ภาษาบาลี คือ สรณะ ดังนั้น ตนจะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ต้องมีตนเป็นสรณะ คำว่า ตน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า เป็นร่างกายที่มีเลือดเนื้อ มีชีวิตหายใจได้ขณะนี้ แล้วก็พึ่งตัวเองทำงาน ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ อตฺตา หรือ ตน หรือ กาย ในที่นี้ อันจะเป็นสรณะได้คือ กายในกาย จะมีได้โดยการ ปฏิบัติสมาธิจิต เพื่อให้ เห็นกายในกาย และกายในกายเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งได้ การส่งกายในกาย เข้าไปในสมาธิ ก็คือการติดตามเห็นกายในกาย นั่นเอง ดังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพุทธวจนะ ตรัสไว้แก่พระอานนท์ ในพระไตรปิฎกบาลีเถรวาท (บาลี มหา.ที. ๑๐/๑๑๘ /๙๓) (บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๐๕/ ๗๑๒-๓) ว่า
    "อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่ง กายในกาย มีความเพียร มี สัมปชัญญะ... มีสติ.. เป็นผู้ตามเห็น ซึ่งธรรมในธรรม ฯลฯ
    อานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า มีอัตตา (ตน) เป็นเกาะ มีอัตตา (ตน) เป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ไม่มีอื่นเป็นสรณะฯลฯ"
    จากที่ยกมาส่วนนี้ จะเห็นได้ว่า สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเทศนานั้น มิได้ปฏิเสธความมีตัวตน แต่ทรงให้ยึดตนเป็นสรณะ และตนหรือกายนั้น จะต้องหาให้พบ ซึ่งเรียกว่า ให้ตามเห็นกายในกาย คือ กายธรรม ไม่ใช่กายเนื้อ (กายอันเกิดจาก สมาธินิมิต) และพุทธพจน์เช่นนี้ จะมีอยู่ทั่วไป ในพระไตรปิฎก เป็นคำสองคำ เช่นเดียวกับคำว่า พระธรรมวินัย (ธมฺมวินเย) ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงคำว่า กายในกาย กับ ธรรมในธรรม จึงใช้คำว่า ธรรมกาย ก็คือการรวมกันระหว่าง คำว่า ธรรมกับกาย จึงจะเห็นในภาษาบาลีใช้ว่า ธมฺมกาโย, ธมฺมกายา, ธมฺมกายญจ ซึ่งเป็นคำเรียก หมายรวมมรรควิถี อันให้ปฏิบัติเข้าถึงพระนิพพาน ทางเดียวเท่านั้น ดังได้กล่าวมาแต่ต้น พุทธบริษัทที่ใฝ่ใจในการศึกษา และสัมมาปฏิบัติ พึงค้นคว้า และเข้าใจในพุทธพจน์ให้ถ่องแท้ ถึงที่มาแห่งศัพท์นั้นๆ เพื่อความกระจ่าง และภาคภูมิใจ ในการที่ได้เรียนรู้ พระสัทธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันทรงสั่งสอน วิชชาธรรมกายนี้ แก่อรหันตสาวก โดยให้สร้างสมาธิ มีนิมิตรูปกายของพระพุทธเจ้า เป็นที่ตั้ง ปรากฏยืนยันใน พระไตรปิฎกเถรวาท (บาลี ขุทนิกาย อปาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔) ว่า
    "สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺกาโย มม สํวทฺธิโต มยาฯ"
    "...ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์ อันหม่อมฉัน ทำให้เจริญมากมาย ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลิน ของหม่อมฉัน อันพระองค์ ทำให้เจริญแล้ว.."
    นี่คือคำตอบและที่มาว่า เหตุใดจึงต้องมีรูปนิมิตองค์พระ ( พระพุทธรูป) เป็นที่พิจารณา สิ่งที่ควรพิจารณา ในพระไตรปิฎกส่วนนี้ คือคำว่า ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลิน อะไรที่ทำให้เพลิดเพลินได้ นี่เป็นข้อที่น่าสงสัย ในความคิดมนุษย์ยุคนี้ คำตอบมีอยู่แล้ว อย่างชัดแจ้งว่า ความยิ่งใหญ่ และแปรเปลี่ยนของธรรมกาย มากมายหลายกาย ปรากฏการณ์ดังกล่าว จึงทำให้เกิดการเพลิดเพลิน ซึ่งพระไตรปิฎก ก็อธิบายไว้ชัดใน (บาลี ปัจเจกพุทธาปทาน ขุททกนิกาย อปทาน ๓๒/๒/๒๐)
    "มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา จิตฺตติสฺสรา.."
    "มีธรรมอันยิ่งใหญ่ มีธรรมกายมากมาย มีจิตเป็นอิสระ"
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ และ ๓๓ นี้เป็นเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนวิชชาธรรมกาย ให้กับพุทธสาวก จึงปรากฏคำอธิบายส่วนผล หรือเรียกว่าประสบการณ์ของ พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ที่ได้ปฏิบัติตามมรรควิธี ของพระพุทธองค์แล้วนำมากล่าวว่า มีอาการ และได้พบเห็นอะไรบ้าง เพื่อผู้ที่ใฝ่ปฏิบัติในภายหลัง ได้รับรู้ว่าเป็นเช่นไร ปฏิบัติในวิถีเดียวกัน คือ ทำสมาธิ ใช้นิมิตแสงสว่าง (โอภาส) กำหนดเห็นพระพุทธรูปภายในกาย และกายทั้งหลายนั้น จะซ้อนกันอยู่หลายชั้น เป็นลักษณะของ กายในกาย และยังอธิบายถึง วิธีหยุดจิตไว้ ณ ที่ใดอีกด้วย โดยท่านได้กล่าวไว้ว่า ให้หยุดอยู่ภายใน ของภายใน คือ หยุดจิต ณ ภายใน ของกายที่อยู่ภายในกาย ซึ่งพระพุทธองค์ตรัส ณ เชตวันวิหาร ปรากฏในพระไตรปิฎก (บาลี เทฺวธาวิตกฺกสูตร สีหนาทวรรค มู. ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒)
    "ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ เราจึงได้ดำรงจิตให้ "หยุดอยู่" ภายใน ของ ภายใน กระทำให้มีอารมณ์เดียว (สมาธิ) ตั้งมั่นไว้..."
    ที่กล่าวมาโดยย่อนี้ เราพอสรุปจากพระไตรปิฎกได้ว่า การปฏิบัตินั้น ต้องยึดหลักใหญ่ คือ สมาธิ นิมิต แสงสว่าง และจำ รูปกาย และทำจิตให้หยุดอยู่ภายใน ของกายในกาย และนั่นคือหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะถึงโลกุตรธรรม คือพระนิพพานตาม พระพุทธวจนะ ดังปรากฏใน บาลี มหาวาร.สํ (๑๙/๒๔๖-๒๔๘/๘๒๐-๘๒๔) ว่า
    "...เพื่อบรรลุเญยยธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง... คือภิกษุเป็นผู้มีธรรมดา ตามเห็นกายในกาย ...นี้แหละทางเดียว ดังนี้"
    นี่คือสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักทดสอบทดลอง และนักปฏิบัติ และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า มนุษย์ไม่ว่ายุคใดๆ ไม่จำกัดภูมิปัญญา สามารถใช้ วิชชาธรรมกาย ในพระไตรปิฎก เป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ถึงโลกุตรธรรมได้ จริงหรือไม่ อยู่ที่การปฏิบัติ นี่คือสิ่งที่ท้าทายความจริงจากพระไตรปิฎก และควรที่นักปฏิบัติ ทางสมาธิจิต และนักค้นคว้า ควรที่จะช่วยกันจรรโลง ค้นหาความจริงให้ได้ จากการปฏิบัติ มิใช่เพียงแค่อ่านตำรา แล้วกลายเป็นวิวาทะกัน และนั่นแหละจึงจะเรียกว่า "ปราชญ์" ที่แท้จริง
    ;aa44
    ที่มา
     
  2. อู๋ซิน

    อู๋ซิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +45
    ก็ใช่ ก่อนจะละอัตตาได้มันก็ต้องดูสิ่งที่เรียกว่าอัตตาอยู่แล้ว อนุโมทนา ครับ
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    มันก็จริงครับแต่ มันเป็นอัตตาในเบื้องต้นไม่ใช่อัตตาในเบื้องปลายครับ จึงจะเห็นทางสู่ความเป็นอริยะสัจย์ครับ
     
  4. minidog

    minidog Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    266
    ค่าพลัง:
    +91
    อ่านแต่ตำราไม่ได้มันต้องลองทำด้วยตนเองถึงจะบอกได้
     
  5. สมคิด แซ่อื้อ

    สมคิด แซ่อื้อ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +5
    ต้องมีความอยากสุดขีดถึงจะบรรลุธรรม
     
  6. อู๋ซิน

    อู๋ซิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +45
    ใช่ ๆ คนตั้งกระทู้คงจะหมายความว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ละมั้งครับในตอนแรก แต่ต่อไปก็ต้องละตัวตน เพราะถึงเราไม่สมมุติว่าขันธ์ 5 เป็นตัวเรา มันก็อยู่ของมันได้ การสมมุติว่าขันธ์ 5 เป็นตัวเราซะอีกที่มันทำให้ชีวิตเราไม่รู้จักพอในกิเลสซะที
     
  7. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    คงไม่มีใครคิดอยากจะกินแก้วน้ำด้วยหรอกเนอะ
     
  8. อู๋ซิน

    อู๋ซิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +45
    อนัตตา คือธรรมชาติทั้งปวงที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปโดยไม่มีเจ้าของ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเรียกว่าตัวเรา ตัวเขา สิ่งนั้นก็ไม่มีเจ้าของทั้งนั้น สิ่งนั้นก็คือจิตใจกับร่างกายที่ทำงานร่วมกัน อันได้แก่ กายเนื้อ จิตรู้ จิตรู้สึก จิตคิด จิตจำ ที่เรียกรวมๆว่าขันธ์ 5 นั่นเอง อันนี้ก็ไม่มีเจ้าของครับ เราไปสมมุติเองว่าเราเป็นเจ้าของขันธ์ 5 นั้นทั้งๆที่ไม่มีตัวเราจริงๆ แล้วธรรมชาติอื่นๆก็ไม่มีเจ้าของนะอย่างทรัพย์สินเราครอบครองแต่เราไม่ใช่เจ้าของแน่นอนเพราะตายไปมันไม่ติดเราไป ส่วนที่ว่าเอกภพต่างๆก็ไม่มีเจ้าของนะ ไม่มีพระเจ้ามาสร้าง มาทำลาย ไม่มีพระเจ้ามาเป็นเจ้าของเอกภพนั้น
    อัตตา คือมีเจ้าของ เช่นของเรา ของเขา กายเรา กายเขา ใจเรา ใจเขา นี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...