อารมณ์อีโก้ (EGO) หรืออุปาทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย bhothisata, 24 พฤษภาคม 2010.

  1. bhothisata

    bhothisata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +5,182
    อารมณ์อีโก้ (EGO) หรืออุปาทาน
    (โดยสมเด็จองค์ปัจจุบัน)


    พระธรรมคำสอนของพระองค์ ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 35 ให้ผมและเพื่อนของผม (คุณสุรีพร (จ๋า) สงวนมานะศักดิ์) ฟัง ผมได้อ่านทบทวนดูแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ เพราะเหมาะกับเหตุการณ์บ้านเมืองของประเทศไทย ซึ่งกำลังวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ เกี่ยวกับอารมณ์อีโก้หรืออุปาทานของนักการเมืองทั้งหลาย มีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศผันผวนเป็นธรรมดา ซึ่งสมเด็จองค์ปฐมก็ทรงตรัสไว้ว่า “ให้พิจารณาเห็นเป็นธรรมดา เพราะดวงเมืองของเมืองไทยเป็นอย่างนี้เอง จักต้องทำใจให้ยอมรับสถานการณ์ให้ได้ทุก ๆ สภาพ เพราะล้วนเป็นกฎของกรรมทั้งสิ้น”
    เรื่องนี้สมเด็จองค์ปัจจุบันก็ทรงตรัสไว้เมื่อ 15 ปีก่อน ก็เพราะมีนักการเมืองเป็นต้นเหตุเช่นกัน มีผลทำให้คนไทยฆ่ากันตายไปเป็นจำนวนมาก จนในหลวงต้องออกมาห้ามทัพ เรื่องจึงสงบลงได้เกือบทันที ในปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน

    ในหลวงก็ต้องออกมาปรามประชาชนของท่าน ซึ่งกำลังสร้างกรรมนำไปสู่ความฉิบหายไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้ ให้รักความสามัคคี ให้เห็นประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลักสำคัญ ให้ใช้นโยบายสมานฉันท์เป็นหลัก อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่ทุกครั้งที่พระองค์ออกมาห้ามปราม หรือขอร้องก็มีผลดีทุกครั้ง ผมจึงหวังว่าในครั้งนี้ก็คงจะหรือน่าจะมีผลดีเช่นเคย ผมขอเขียนคำนำไว้ย่อ ๆ แค่นี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและจดจำได้ง่าย ๆ จึงขอเขียนแยกออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้

    1. “ผู้มีอารมณ์นี้คือ บุคคลผู้มีอุดมคติ หรือมีอุดมการณ์เป็นของตนเอง แต่อารมณ์นี้หากบุคคลผู้มีความเชื่อมั่น และนำไปใช้ให้ถูกจริตของบุคคลทั่วไป ก็สามารถปลุกใจให้บุคคลทั่วไปเหล่านั้นมาร่วมแสดงอารมณ์ร่วมด้วย อย่างเช่นนักการเมืองท่านหนึ่ง เขาเอาอุดมการณ์ของเขามาเน้นในเรื่องประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ชักชวนให้บุคคลอื่นๆ มาแสดงอารมณ์ร่วมกับเข้าได้ก็ด้วยตัวนี้

    2.
    อย่าไปตำหนิใครๆ ว่าเขาโง่ ที่มีอารมณ์ร่วมกับนักการเมืองนั้น ๆ เพราะผู้ที่จะไม่มีอารมณ์ร่วมกับนักการเมืองนั้น ก็มีแต่พระอนาคามีผลขึ้นไป จ้ามักจะมองด้านเดียวว่า ผู้ที่ร่วมชุมนุมสนับสนุนประท้วงกับนักการเมืองนั้น เป็นบุคคลกลุ่มผู้โง่เขลา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ในทางธรรมนั้นก็ต้องถือว่าบุคคลกลุ่มนั้น เป็นผู้มีกรรมอันเกี่ยวเนื่องกัน ถ้ามีอารมณ์ความคิดต่อเนื่องกัน เรียกว่า มโนกรรม ผู้ไปพูดแสดงความคิดต่อเนื่องกันเรียกว่า วจีกรรม ผู้ไปแสดงการกระทำต่อเนื่องกันเรียกว่า กายกรรม

    3. “เจ้ามองอะไรเพียงด้านเดียว กล่าวคือ มักจะมีอารมณ์หลงเยี่ยงปุถุชนธรรมดาอยู่มาก เห็นบุคคลกลุ่มใดเลื่อมใสเข้าข้างนักการเมืองคนนั้น เจ้ามักตำหนิบุคคลกลุ่มนั้นว่าโง่ที่ไม่รู้ หลังฉากที่แท้จริงของนักการเมืองคนนั้น เจ้าก็คิดว่าเขาเป็นคนดี เป็นคนฉลาด
    กรรมทั้งสามประเภทจึงเกิดขึ้น ด้วยความไม่เข้าใจในกฎแห่งกรรมของเจ้านี้ ตถาคตตรัสอยู่เสมอว่าว่า มนุษย์มีกรรม กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ กรรมเป็นตัวส่งผลทำให้ต้องมาเกิด และเกิดแล้วย่อมจะหลีกหนีกรรมไปไม่พ้น ถามจริง ๆ เถิดว่า ในเมื่อกรรมเก่ายังหนีไม่พ้น เราจักไปสร้างกรรมใหม่ต่อเนื่องกับนักการเมืองคนนั้นทำไม การมีอารมณ์ต่อเนื่องกัน จะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ล้วนเป็นการต่อกรรมกันทั้งสิ้น ข้าใจไหม

    4. (เมื่อเราคิดว่า ที่เราพูดก็เพื่อโน้มใจคนที่เข้าใจผิด ให้มาเข้าใจถูก หลวงพ่อฤาษีท่านยังเคยพูดบ้างในบางโอกาส) พระองค์ทรงตรัสว่า
    พูดเหมือนกัน แต่อารมณ์ไม่เหมือนกัน สัมภะเกสีท่านพูดแบบ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ท่านจะพูดหรือกระทำใด ๆ แบบดูเหมือนจะตักเตือน ดุด่า หรือแย้มพรายเรื่องนักการเมืองคนนั้น ก็ด้วยอารมณ์สงเคราะห์ไม่ต้องการให้ลูก ๆ หลงผิด ตกนรกไปตามเขา การกระทำใดๆ เกี่ยวกับระเบียบวินัย เกี่ยวกับธรรมะปฏิบัติพระทุกๆองค์ ซึ่งเป็นพระจริง ๆ แล้ว ท่านต้องใช้ไม้แข็งดุด่าเพื่อจะกันไม่ให้ลูกศิษย์ต้องตกนรก


    5. “
    การมีอารมณ์ร่วม ต่อเนื่องกรรมกับบุคคลที่ทำจิตให้เศร้าหมอง มีแหล่งอบายภูมิ 4 เป็นที่ไปนั้น จะยินดีหรือไม่ยินดีด้วยก็ตาม จัดได้ว่าเป็นอารมณ์อันตราย มิพึงที่จะให้อารมณ์ทั้ง 2 ประเภทนี้เกิด จะเป็นเหตุให้สูญเสียความดีในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

    6. “อัตตนา โจทยัต ตานัง เอาไว้นะ ถ้าอยากทรงอารมณ์อุเบกขาให้ได้ดี จะต้องละการตำหนิดี เลว ให้ออกไปจากจิต” (หมายเหตุ หมายความว่า ให้คอยจับผิดตนเอง ให้คอยแก้ไขตนเองที่ใจตนเอง อย่าไปยุ่งกับกรรมหรือการกกระทำของผู้อื่ร หรือจริยาของผู้อื่น ภาษาไทยเป็นคำโดด ๆ จำง่าย ๆ ดีก็คือ
    อย่าเสือก นั่นเอง)





    ต่อมาพระองค์ทรงพระเมตตาสอน การวัดผลของอารมณ์อีโก้ หรือ อุปาทาน มีความสำคัญดังนี้
    1. “จะวัดผลได้จากการกระทบบุคคลที่มีอารมณ์ร่วม อย่างกับนักการเมืองคนนั้น ที่ฮิตติดปากคนทั้งประเทศ จะด้านดีหรือเลวก็ตาม นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องจากอารมณ์นี้ ยกตัวอย่างการปลูกต้นไม้ของชาวสวน จะสมบูรณ์งามก็ดี จะแคระแกรนไปก็ดี จะเป็นโรคก็ดี นับว่าล้วนเกิดผลแล้วทั้งสิ้น ต่างกับถ้าหากต้นไม้นั้นตาย อันนั้นแหละจึงจะเรียกได้ว่าไม่มีผล”

    2. “
    โลกนี้จึงเต็มไปด้วยอุปาทาน เพราะคนในโลกยึดถืออุดมการณ์ เกาะโลกว่าจะสามารถผันแปรได้ตามกระแสอุดมการณ์ของตน

    3. “เจ้าจงอย่าพึงดูแต่นักการเมือง แม้แต่นักร้อง นักดนตรี ก็แสดงอุดมการณ์ของตน เพื่อมุ่งหวัง
    หลงยึดโลกเที่ยงทั้งสิ้น ต่างคนต่างแสดงอุดมการณ์ของตน เพื่อยังจะให้เกิดแนวร่วมของบุคคลภายนอก มาร่วมกันแสดงอารมณ์เห็นด้วยกับอุดมการณ์นั้น ๆ คนในโลกจึงว่ายวนร่วมกันอยู่ในกระแสอารมณ์อีโก้นี้ (อุปาทานหรืออุดมการณ์) ติดทุกข์ สุข สรรเสริญ ลาภ ยศ ตามอุดมการณ์ของตนไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด

    4. “ต่างกับชาวโลกุตระ (ชาวโลกที่ต้องการหลุดพ้น) เขาจะอยู่อย่างมีจิตสำนึกว่า กิจที่ปฏิบัติตามธรรมศาสดาแห่งตถาคตนี้ยังไม่สิ้น เขาก็ใช้ความเพียรละซึ่งกิเลสแห่งลาภ ยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ระมัดระวังอารมณ์ไม่ให้ไหลลงไปในทางต่ำ
    เขาใช้อารมณ์อีโก้ไปในทางแสวงหา มรรค ผล นิพพาน และกิจการใดอันเป็นแนวทางสัมมาปฏิบัติ เขาก็จะกระทำตามนั้นด้วยจิตอันแน่งแน่

    5. “
    อารมณ์เดียวกันแต่เปลี่ยนจากดำเป็นขาว จากเกาะโลกกลายเป็นละโลก เห็นโลกรวมทั้งขันธโลกหรือร่างกาย หาความเที่ยงมิได้เลยอยู่เป็นนิจ มันเป็นของมันอยู่อ่างนี้เป็นปกติ อารมณ์นี้จึงสร้างโลกได้ ทำลายโลกได้ และถ้าหากใช้ให้ถูกต้องตามหลักธรรมปฏิบัติ ก็จะทำลายโลกียะ สร้างโลกุตระได้

    6. “ที่ตถาคตตรัสมาทั้งหมดนี้ หวังว่าพวกเจ้าคงเข้าใจ อย่าหลงไปในกระแสอารมณ์ทุกข์-สุขแห่งอารมณ์อีโก้ของชาวโลกียะอีก”

    หมายเหตุ ผมไปเปิดดู Dictionary ดูคำแปล Ego มีข้อความแปลไว้ดังนี้

    Ego คืออัตตา, อาตมา, ตัวของตัวเอง (ก็คืออุปาทานที่ยึดว่าตัวกูเป็นของกูนั่นเอง)
    Egoism คือ การถือการกระทำของตนเอง, ของมนุษย์ก็เพื่อตนเองทั้งสิ้น, ดารเชื่อตนเอง, การเห็นแก่ตน, ความอวดดี (พระองค์จึงตรัสว่า ทุกคนล้วนมี Ego อยู่ในตนทั้งสิ้น แต่ Ego ในทางไหน ดีหรือเลว)

    ในวันต่อมา พะองค์ทรงพระเมตตามาสอนต่อ มีความสำคัญดังนี้


    1. “Ego มีอยู่ในตัวของจิตทุกคน เป็นอารมณ์อุปาทานหรือความยึดมั่นถือมั่น”

    2. “คนเราจะได้ดีหรือเลวก็อยู่ที่ตัวนี้ เช่น ก. สอบได้ที่ 1 ในสาขาเคมีมาตลอด ใครๆก็รู้ว่า ก.เก่ง ก. ก็ยึดมั่นความเก่งนั้นไว้ตามสัญญาและตามตำรามาโดยตลอด ใครจะคัดค้านความเก่งของ ก. ก็ไม่ได้ ก.จึงยึดและปฏิบัติตามสัญญาในความรู้(ความเก่ง) ของตนไว้จนได้ผลดี เพราะการยึดมั่นในความดีของตน นี่เป็นอุปมาทางโลก
    ทางธรรมก็เช่นกัน พระอริยะเจ้าทั้งหลายที่พระองค์สอนจนเกิดมรรคผลนั้น พระองค์ก็ต้องสอนตามอุปาทานเดิมทั้งสิ้น เข้ายึดมั่นสิ่งใด ก็จะยิ่งมีความเพียรในการทำสิ่งนั้น ๆ ให้ปรากฏ

    3.
    ถ้าหากคุณหมอไม่มีอารมณ์นี้ ไฉนสัมภะเกสีท่านจักให้หน้าที่เล่า” (หมายเหตุ สัมภะเกสี เป็นชื่อของหลวงพ่อฤาษีที่สมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสเรียกอยู่เสมอ ส่วนหน้าที่นั้นทางหมายถึง หลวงพ่อฤาษีมอบหน้าที่ตอบปัญหาธรรมะแทนท่านเมื่อท่านไม่อยู่)

    4. “ถึงจะรอบรู้ในพระไตรปิฏกอย่างท่านเจ้ากรมเสริม เหตุไฉนจึงมิได้ทำหน้าที่นี้เล่า นั่นเป็นเพราะอารมณ์ยึดมั่นในจุดนี้ไม่มี”

    5. “
    Ego ในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้า Ego เต็มในจุดนั้นๆ ก็จะกระทำจุดนั้นๆ ได้ผลดี 100
    เปอร์เซ็นต์”

    6. “
    อนึ่ง หน้าที่ทางธรรมนั้น เป็นสัตยาธิษฐานมาแต่ชาติก่อนด้วย เป็นการตั้งความปรารถนาจักรื้อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์ แม้ว่าจะลาพุทธภูมิแล้ว ก็ยังต้องทำหน้าที่เดิมจนกว่าธาตุขันธ์จะหมดสิ้น เช่น พระมหากัจจายนะ อสีติสาวกเป็นต้น หรืออย่างสัมภะเกสีท่านผู้ซึ่งบารมีเต็มแล้ว และลาแล้ว ก็ยังทำหน้าที่ขนสรรพสัตว์เข้าถึงพระนิพพาน

    7. “แต่อารมณ์ Ego ทำอะไรจิตท่านไม่ได้ กายของท่านทำหน้าที่ไปต่างหาก จึงดูเด่นเสมือนหนึ่งหาใครเปรียบเทียบไม่ได้ ดูอารมณ์ของท่านเถิด เคยสักครั้งไหมที่ปรารภธรรมแล้วจักบอกว่า ธรรมนั้นเป็นของตน มีแต่จักบอกว่า ธรรมนั้นเป็นของตถาคตตรัสไว้อย่างนี้ จิตของท่านหาได้มีความคะนองในตน มีแต่เพลิดเพลินและปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นสุขในธรรมนั้นๆ”

    8. “อารมณ์ Ego เกิดได้เพราะมีรู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิตและกองสังขารแห่งกาย เช่น
    เหยียบขี้หมา หากเราเหยียบตอนที่มันเก่ามาก จนกลายสภาพไปเป็นดินแล้ว อุปาทานยึดมั่นว่าเป็นขี้หมาก็หมดไป จิตไม่สังขารปรุงแต่งว่าขี้หมามันเหม็น-สกปรก และกล้าเหยียบย่ำได้ แต่หากมันยังทรงอยู่ในสภาพเดิมของขี้หมา อุปทานก็ยึดมั่นว่า มันเหม็น-สกปรก และไม่กล้าเหยียบ นี่แหละคืออารมณ์ที่ไม่รู้เท่าทันกองสังขาร
    แห่งจิตและกายว่าหลงไปในอารมณ์ Ego”

    9.
    อารมณ์ Ego จึงมีทั้งสองด้าน คือ ด้านดีซึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิและด้านเลวซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งตรงกับคำสอนของพระองค์ที่ตรัสสอนไว้ว่า ธรรมในโลกล้วนมีอยู่เป็นคู่ทั้งสิ้น” ทุกอย่างมีเกิดแล้วก็ต้องมีดับ เช่น หลงคิดว่าคำสรรเสริญเป็นของดี แต่แท้จริงแล้วเป็นของเลว (เพราะสรรเสริญกับนินทาเป็นของคู่กัน จะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หรือเหมือนสุขกับทุกข์ก็เป็นของคู่กัน จะเลือกเอาอย่างเดียวไม่ได้ และทุกสิ่งในโลกล้วนเกิด-ดับ ๆ ทั้งสิ้น หรือเกิดกับตายเป็นของคู่กันอย่างแยกไม่ออก)

    10. “
    ตราบเมื่อจิตรู้เท่ากันกองสังขารแห่งจิต เห็นธรรมไตรลักษณ์ปรากฎเป็นปกติ ก็จะปล่อยวางอุปาทานนั้นได้ และเหยียบขี้หมาแห้งหรือดินนั้นได้อย่างสนิททั้งกายและใจ การยึดคำสรรเสริญก็เช่นกัน หากเห็นไตรลักษณ์แล้วโลกธรรม 8 จักทำอะไรจิตเราไม่ได้เลย ทุกสิ่งในโลกล้วนเกิด-ดับ ๆ อยู่อย่างนี้เป็นปกติ และทำนองเดียวกัน หากจิตไม่รู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิต ก็จะไม่รู้ว่าโลกธรรมก็เป็นไตรลักษณ์ เกิด-ดับ ๆ อยู่เป็นปกติ จิตจึงปรุงแต่งเป็นอุปาทานยึดมั่นติดอยู่กับธรรมโลกนั้น ๆ

    11. “การทำหน้าที่ทางธรรม จึงต้องมีสติปัญญามิบกพร่อง ต้องสมบูรณ์รู้เท่าทันโลกธรรมทั้ง 8 อย่าง ด้วยเคารพในกฎไตรลักษณญาณ จึงจะทำหน้าที่นั้น ๆ ได้อย่างเป็นสุข”

    12.
    “จิตที่ไม่ติดข้องในธรรมก็เหมือนกระจกเงาใส ๆ มีภาพอะไรผ่านมาก็ส่องติดได้หมด เมื่อภาพผ่านไปหรือสภาพนั้นผ่านไป ภาพต่าง ๆ ก็หาได้ติดอยู่ในกระจกใส ๆ นั้นไม่ จิตที่วิมุติก็มีอุปมาคล้าย ๆ ดังกระจกนี้ ธรรมทั้งหลายจึงมิอาจจะทำร้ายดวงจิตของท่านได้เลย”

    และทรงพระเมตตาตรัสสอนแถมท้ายไว้ ความว่า
    หากจะให้เข้าใจในกฎไตรลักษณญาณได้ดีจริง ๆ จักต้องทบทวนวิปัสสนาญาณ 9 ที่พระองค์สอนไว้เสมอ ๆ ด้วยความไม่ประมาท

    พิมพ์จากหนังสือ
    “ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม 4)”
    โดย
    พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)
    รวบรวมโดย:
    พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    โมทนากับญาติธรรมที่ส่งบทความนี้มาให้อ่าน พี่ขอส่งต่อให้กัลยา๊ณมิตรได้อ่านธรรม ขององค์สมเด็จเพื่อการวางอุเบกขาดังที่ได้เคยพยายามบอกกับทุกๆท่านครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...