อารมณ์อีโก้ (EGO)หรืออุปาทาน : สมเด็จองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 เมษายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระธรรมคำสอนของพระองค์ ทรงเมตตาตรัสสอนไว้เมื่อ ๑๕ ก.ค. ๓๖ ให้ผมและเพื่อนของผม (คุณ สุรีพร (จ๋า) สงวนมานะศักดิ์) ฟัง ผมได้อ่านทบทวนดูแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์ เพราะเหมาะกับเหตุการณ์บ้านเมืองของประเทศไทย ซึ่งกำลังวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ เกี่ยวกับอารมณ์อีโก้หรืออุปาทานของนักการเมืองทั้งหลาย มีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศผันผวนไม่แน่นอน ซึ่งสมเด็จองค์ปฐมก็ทรงตรัสไว้ว่า ให้พิจารณาเห็นเป็นธรรมดาเพราะดวงของเมืองไทยเป็นอย่างนี้เอง จักต้องทำใจให้ยอมรับสถานการณ์ให้ได้ทุก ๆ สภาพ เพราะล้วนเป็นกฎของกรรมทั้งสิ้น
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เรื่องนี้สมเด็จองค์ปฐมปัจจุบันก็ทรงตรัสไว้เมื่อ ๑๕ ปีก่อน ก็เพราะมีนักการเมืองเป็นต้นเหตุเช่นกัน มีผลทำให้คนไทยฆ่ากันตายไปเป็นจำนวนมาก จนในหลวงต้องออกมาห้ามทัพ เรื่องจึงสงบลงได้เกือบทันที ในปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน ในหลวงก็ต้องออกมาปรามประชาชนของท่าน ซึ่งกำลังสร้างกรรมให้นำไปสู่ความฉิบหายไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้ ให้รักความสามัคคี ให้เห็นประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลักสำคัญ ให้ใช้นโยบายสมานฉันท์เป็นหลัก อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่ทุกครั้งที่พระองค์ออกมาห้ามปราม หรือขอร้องก็มีผลดีทุกครั้ง ผมจึงหวังว่าในครั้งนี้ก็คงจะ หรือน่าจะมีผลดีเช่นเคย ผมขอเขียนคำนำไว้ย่อ ๆ แค่นี้
    <O:p></O:p>
    เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและจดจำได้ง่ายๆ จึงขอเขียนแยกออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
    <O:p></O:p>
    ๑. ผู้มีอารมณ์นี้ คือ บุคคลผู้มีอุดมคติ หรืออุดมการณ์เป็นของตนเอง แต่อารมณ์นี้หากบุคคลผู้มีความเชื่อมั่น และนำไปใช้ให้ถูกจริตของบุคคลทั่ว ๆ ไป ก็สามารถปลุกใจให้บุคคลทั่วไปเหล่านั้นมาร่วมแสดงอารมณ์ร่วมด้วย อย่างเช่นนักการเมืองท่านหนึ่ง เขาเอาอุดมการณ์ของเขามาเน้นในเรื่องประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ชักชวนให้บุคคลอื่น ๆ มาแสดงอารมณ์ร่วมกับเขาได้ก็ด้วยตัวนี้
    <O:p></O:p>
    ๒. อย่าไปตำหนิใคร ๆ ว่าเขาโง่ ที่มีอารมณ์ร่วมกับนักการเมืองนั้น ๆเพราะผู้ที่จะไม่มีอารมณ์ร่วมกับนักการเมืองนั้น ก็มีแต่พระอนาคามีผลขึ้นไป เจ้ามักจะมองด้านเดียวว่า ผู้ที่ร่วมชุมนุมสนับสนุนประท้วงกับนักการเมืองนั้น เป็นบุคคลกลุ่มผู้โง่เขลา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ในทางธรรมนั้นก็ต้องถือว่าบุคคลกลุ่มนั้นเป็นผู้มีกรรมอันเกี่ยวเนื่องกัน ถ้ามีแต่อารมณ์ความคิดต่อเนื่องกัน เรียกว่า มโนกรรม ผู้ไปพูดแสดงความคิดต่อเนื่องกันเรียกว่า วจีกรรม ผู้ไปแสดงการกระทำต่อเนื่องกันเรียกว่า กายกรรม
    <O:p></O:p>
    ๓. เจ้ามองอะไรเพียงด้านเดียว กล่าวคือ มักจะมีอารมณ์หลงเยี่ยงปุถุชนธรรมดา ๆอยู่มาก เห็นบุคคลกลุ่มใดเลื่อมใสเข้าข้างนักการเมืองคนนั้น เจ้ามักตำหนิบุคคลกลุ่มนั้นว่าโง่ที่ไม่รู้ หลังฉากที่แท้จริงของนักการเมืองคนนั้น แต่อีกด้านหนึ่งหากมีบุคคลกลุ่มใดตำหนินักการเมืองคนนั้น เจ้าก็คิดว่าเขาเป็นคนดี เป็นคนฉลาด กรรมทั้งสามประการจึงเกิดขึ้นด้วยความไม่เข้าใจในกฎแห่งกรรมของเจ้านี้ ตถาคตตรัสอยู่เสมอ ๆ ว่า มนุษย์มีกรรม กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ กรรมเป็นตัวส่งผลทำให้ต้องมาเกิด และเกิดแล้วย่อมจะหลีกหนีกรรมไปไม่พ้น ถามจริง ๆ เถิดว่า ในเมื่อกรรมเก่ายังหนีไม่พ้น เราจักไปสร้างกรรมใหม่กับนักการเมืองคนนั้นทำไม การมีอารมณ์ต่อเนื่องกัน จะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ล้วนแต่เป็นการต่อกรรมกันทั้งสิ้นเข้าใจไหม
    <O:p></O:p>
    ๔. (เมื่อเราคิดว่า ที่เราพูดก็เพื่อโน้มใจคนที่เข้าใจผิด ให้มาเข้าใจถูก หลวงพ่อฤๅษีท่านยังเคยพูดบ้างในบางโอกาส) พระองค์ทรงตรัสว่า พูดเหมือนกัน แต่อารมณ์ไม่เหมือนกัน สัมภะเกสีท่านพูดแบบรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ท่านจะพูดหรือกระทำใด ๆ แบบดูเหมือนจะตักเตือน ดุด่า หรือแย้มพรายเรื่องนักการเมืองคนนั้น ก็ด้วยอารมณ์สงเคราะห์ไม่ต้องการให้ลูก ๆ หลงผิด ตกนรกไปตามเขา การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับระเบียบวินัย เกี่ยวกับธรรมะปฏิบัติพระทุกๆ องค์ ซึ่งเป็นพระจริง ๆ แล้ว ท่านต้องใช้ไม้แข็งดุด่าเพื่อจะกันไม่ให้ลูกศิษย์ต้องตกนรก
    <O:p></O:p>
    ๕. การมีอารมณ์ร่วม ต่อเนื่องกรรมกับบุคคลที่ทำจิตให้เศร้าหมอง มีแหล่งอบายภูมิ ๔ เป็นไปที่นั้น จะยินดีหรือไม่ยินดีด้วยก็ตาม จัดได้ว่าเป็นอารมณ์อันตราย มิพึงที่จะให้อารมณ์ทั้ง ๒ ประเภทนี้เกิด จะเป็นเหตุให้สูญเสียความดีในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

    ๖. อัตตนา โจทยัต ตานัง เอาไว้นะ ถ้าอยากทรงอารมณ์อุเบกขาให้ได้ดี จะต้องละการตำหนิดี เลว ให้ออกไปจากจิต (หมายเหตุ หมายความว่า ให้คอยจับผิดตนเอง ให้คอยแก้ไขตนเอง ที่ใจของตนเอง อย่าไปยุ่งกับกรรมหรือการกระทำของผู้อื่น หรือจริยาของผู้อื่น ภาษาไทยเป็นคำโดด ๆ จำง่ายๆ ดีก็คือ อย่าเสือก นั่นเอง)
    <O:p></O:p>
    ต่อมาพระองค์ทรงพระเมตตาสอน การวัดผลของอารมณ์ อีโก้ หรืออุปาทาน มีความสำคัญดังนี้
    <O:p></O:p>
    ๑. จะวัดผลได้จากการกระทบของบุคคลที่มีอารมณ์ร่วม อย่างกับนักการเมืองคนนั้น ที่ฮิตติดปากทั้งประเทศ จะด้านดีหรือเลวก็ตาม นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องจากอารมณ์นี้ ยกตัวอย่างการปลูกต้นไม้ของชาวสวน จะสมบูรณ์ งามก็ดี จะแคระแกรนไปก็ดี จะเป็นโรคก็ดี นับว่าล้วนเกิดผลแล้วทั้งสิ้น ต่างกับถ้าหากต้นไม้นั้นตาย อันนั้นแหละจึงจะเรียกว่าได้ว่าไม่มีผล
    <O:p></O:p>
    ๒. โลกนี้จึงเต็มไปด้วยอุปาทาน เพราะคนในโลกยึดถืออุดมการณ์ เกาะโลกว่าสามารถผันแปรได้ตามกระแสอุดมการณ์ของตน ๆ
    <O:p></O:p>
    ๓. เจ้าจงอย่าพึงดูแต่นักการเมือง แม้แต่นักร้อง นักดนตรี ก็แสดงอุดมการณ์ของตน ๆ เพื่อมุ่งหวังหลงยึดว่าโลกเที่ยงทั้งสิ้น ต่างคนต่างแสดงอุดมการณ์ของตน ๆ เพื่อยังจะให้เกิดแนวร่วมของบุคคลภายนอกมาร่วมกันแสดงอารมณ์เห็นด้วยกับอุดมการณ์นั้นๆ คนในโลกจึงว่ายวนร่วมกันอยู่ในกระแสอารมณ์อีโก้นี้ (อุปาทานหรืออุดมการณ์) ติดทุกข์ สุข นินทา สรรเสริญ ลาภ ยศ ตามอุดมการณ์ของตน ๆ ไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด
    <O:p></O:p>
    ๔. ต่างกับชาวโลกุตระ(ชาวโลกที่ต้องการพ้นโลก) เขาจะอยู่อย่างมีจิตสำนึกว่า กิจที่ปฏิบัติตามธรรมศาสดาแห่งตถาคตนี้ยังไม่สิ้น เขาก็จะใช้ความเพียรละซึ่งกิเลสแห่งลาภ ยศ สรรเสริญ นินทา ทุกข์ สุข ระมัดระวังอารมณ์ไม่ให้ไหลไปในทางต่ำ เขาใช้อารมณ์อีโก้ไปในทางแสวงหา มรรค ผล นิพพาน และกิจการใดอันเป็นแนวทางสัมมาปฏิบัติ เขาก็จะกระทำตามนั้นด้วยจิตแน่วแน่
    <O:p></O:p>
    ๕. อารมณ์เดียวกันแต่เปลี่ยนจากดำเป็นขาว จากเกาะโลกกลายเป็นละโลก เห็นโลกรวมทั้งขันธโลกหรือร่างกาย หาความเที่ยงมิได้เลยอยู่เป็นนิจ มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้เป็นปกติ อารมณ์นี้จึงสร้างโลกได้ ทำลายโลกได้และถ้าหากใช้ให้ถูกต้องตามหลักธรรมปฏิบัติ ก็จะทำลายโลกียะ สร้างโลกุตระได้
    <O:p></O:p>
    ๖. ที่ตถาคตตรัสมาทั้งหมดนี้ หวังว่าพวกเจ้าคงเข้าใจ อย่าหลงไปในกระแสอารมณ์ทุกข์-สุขแห่งอารมณ์อีโก้ของชาวโลกียะอีก
    <O:p></O:p>
    หมายเหตุ ผมไปเปิดดู Dictionary ดูคำแปล Ego มีข้อความแปลไว้ดังนี้<O:p></O:p>
    Ego คืออัตตา, อาตมา, ตัวของตัวเอง (ก็คืออุปาทานที่ยึดว่าตัวกูเป็นของกูนั่นเอง)
    <O:p></O:p>
    Egoism คือ การถือการกระทำของตนเอง ของมนุษย์ก็เพื่อตนเองทั้งสิ้น การเชื่อตนเอง การเห็นแก่ตน ความอวดดี (พระองค์จึงตรัสว่า ทุกคนล้วนมี Ego อยู่ในตนทั้งสิ้น แต่ Ego ในทางไหนดีหรือเลว)
    <O:p></O:p>
    ในวันต่อมา พระองค์ทรงพระเมตตามาสอนต่อ มีความสำคัญดังนี้
    <O:p></O:p>
    ๑. มีอยู่ในตัวของจิตทุก ๆ คน เป็นอารมณ์อุปาทานหรือความยึดมั่นถือมั่น
    <O:p></O:p>
    ๒. คนเราจะได้ดีหรือเลวก็อยู่ที่ตัวนี้ เช่น ก.สอบได้ที่ ๑ ในสาขาเคมีมาตลอด ใคร ๆ ก็รู้ว่า ก.เก่ง ก.ก็ยึดมั่นความเก่งนั้นไว้ตามสัญญาและตามตำรามาโดยตลอด ใครจะคัดค้านความเก่งของ ก.ก็ไม่ได้ ก.จึงยึดและปฏิบัติตามสัญญาในความรู้(ความเก่ง) ของตนไว้จนได้ผลดี เพราะการยึดมั่นถือมั่นในความดีของตน นี่เป็นอุปมาทางโลก ทางธรรมก็เช่นกัน พระอริยเจ้าทั้งหลายที่พระองค์สอนจนเกิดมรรคผลนั้น พระองค์ก็ต้องสอนตามอุปาทานเดิมทั้งสิ้น เขายึดมั่นสิ่งใดก็จะยิ่งมีความเพียรในการทำสิ่งนั้น ๆ ให้ปรากฏ
    <O:p></O:p>
    ๓. ถ้าหากคุณหมอไม่มีอารมณ์นี้ ไฉนสัมภะเกสีท่านจักให้หน้าที่นี้เล่า (หมายเหตุ สัมภะเกสีเป็นชื่อของหลวงพ่อฤๅษีที่สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงตรัสเรียกอยู่เสมอ ส่วนหน้าที่นั้นทรงหมายถึง หลวงพ่อฤๅษีมอบหน้าที่ตอบปัญหาธรรมะแทนท่านเมื่อท่านไม่อยู่)
    <O:p></O:p>
    ๔. ถึงจะรอบรู้ในพระไตรปิฎกอย่างท่านเจ้ากรมเสริม เหตุไฉนจึงมิได้ทำหน้าที่นี้เล่า นั่นเป็นเพราะอารมณ์ยึดมั่นในจุดนี้ไม่มี
    <O:p></O:p>
    ๕. Ego ในแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ถ้า Ego เต็มในจุดนั้น ๆ ก็จะกระทำจุดนั้น ๆ ได้ผลดี ๑๐๐%
    <O:p></O:p>
    ๖. อนึ่ง หน้าที่ทางธรรมนั้น เป็นสัตยาธิษฐานมาแต่ชาติก่อนด้วย เป็นการตั้งความปรารถนาจักรื้อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์ แม้จะลาพุทธภูมิแล้ว ก็ยังต้องทำหน้าที่เดิมจนกว่าธาตุขันธ์จะหมดสิ้น เช่น พระมหากัจจายนะ อสีติสาวก เป็นต้น หรืออย่างสัมภะเกสี ท่านผู้ซึ่งบารมีเต็มแล้ว และลาแล้ว ก็ยังทำหน้าที่ขนสรรพสัตว์เข้าพระนิพพาน
    <O:p></O:p>
    ๗. แต่อารมณ์ Ego ทำอะไรจิตท่านไม่ได้ กายของท่านทำหน้าที่ไปต่างหาก จึงดูเด่นเสมือนหนึ่งหาใครเปรียบเทียบไม่ได้ ดูอารมณ์ของท่านเถิด เคยสักครั้งไหมที่ปรารถนาธรรมแล้วจักบอกว่า ธรรมนั้นเป็นของตน มีแต่จักบอกว่า ธรรมนั้นเป็นของตถาคตตรัสไว้อย่างนี้ จิตของท่านหาได้ความคะนองในตน มีแต่เพลิดเพลินและปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นสุขในธรรมนั้น ๆ
    <O:p></O:p>
    ๘. อารมณ์ Ego เกิดได้เพราะไม่รู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิตและกองสังขารแห่งกาย เช่น เหยียบขี้หมา หากเราเหยียบตอนที่มันเก่ามาก จนกลายสภาพไปเป็นดินแล้ว อุปาทานยึดมั่นว่ามันเป็นขี้หมาก็หมดไป จิตสังขารไม่ปรุงแต่งว่าขี้หมามันเหม็น สกปรก และกล้าเหยียบย่ำได้ แต่หากมันยังทรงอยู่ในสภาพเดิมของขี้หมา อุปาทานก็ยึดมั่นว่า มันเหม็น-สกปรก และไม่กล้าจะเหยียบ นี่แหละคืออารมณ์ที่ไม่รู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิต และกายว่าหลงไปในอารมณ์ Ego
    <O:p></O:p>
    ๙. อารมณ์ Ego จึงมีทั้งสองด้าน คือ ด้านดีซึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ และด้านเลวซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งตรงกับคำสอนของพระองค์ที่ตรัสสอนไว้ว่า ธรรมในโลกล้วนมีอยู่เป็นคู่ทั้งสิ้น ทุกอย่างมีเกิดแล้วก็ต้องมีดับ เช่น หลงคิดว่าคำสรรเสริญเป็นของดี แต่แท้จริงแล้วเป็นของเลว (เพราะสรรเสริญกับนินทาเป็นของคู่กัน จะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หรือเหมือนสุขกับทุกข์ก็เป็นของคู่กัน จะเลือกเอาอย่างเดียวไม่ได้ และทุกสิ่งในโลกล้วนเกิด-ดับ ๆ ทั้งสิ้น หรือเกิดกับตายเป็นของคู่กันอย่างแยกไม่ออก)
    <O:p></O:p>
    ๑๐. ตราบเมื่อจิตรู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิต เห็นธรรมไตรลักษณ์ปรากฏเป็นปกติ ก็จะปล่อยวางอุปาทานนั้นได้ และเหยียบขี้หมาแห้งหรือดินนั้นได้อย่างสนิททั้งกายและใจ การยึดคำสรรเสริญก็เช่นกัน หากเห็นไตรลักษณ์แล้วโลกธรรม ๘ จักทำอะไรจิตของเราไม่ได้เลย ทุกสิ่งในโลกล้วนเกิด ดับ ๆ อยู่อย่างนี้เป็นปกติ และทำนองเดียวกัน หากจิตไม่รู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิต ก็จะไม่รู้ว่าโลกธรรมก็เป็นไตรลักษณ์ เกิด-ดับ ๆ อยู่เป็นปกติ จิตจึงปรุงแต่งเป็นอุปาทานยึดติดอยู่กับธรรมโลกนั้นๆ
    <O:p></O:p>
    ๑๑. การทำหน้าที่ทางธรรม จึงต้องมีสติปัญญามิบกพร่อง ต้องสมบูรณ์รู้เท่าทันโลกธรรมทั้ง ๘ อย่าง ด้วยเคารพกฎไตรลักษณญาณ จึงจะทำหน้าที่นั้น ๆ ได้อย่างเป็นสุข
    <O:p></O:p>
    ๑๒. จิตที่ไม่ติดข้องในธรรมก็เหมือนกระจกเงาใส ๆ มีภาพอะไรผ่านมาก็ส่องติดได้หมด เมื่อภาพผ่านไปหรือสภาพนั้นผ่านไป ภาพต่าง ๆ ก็หาได้ติดอยู่ในกระจกเงาใส ๆ นั้นไม่ จิตที่วิมุติก็มีอุปมาคล้าย ๆ ดังกระจกนี้ ธรรมทั้งหลาย จึงมิอาจจะทำร้ายดวงจิตของท่านได้เลย
    <O:p></O:p>
    และทรงพระเมตตาตรัสสอนแถมท้ายไว้ความว่า
    <O:p></O:p>
    หากจะให้เข้าใจในกฎไตรลักษณญาณได้ดีจริง ๆ จักต้องทบทวนวิปัสสนาญาณ ๙ ที่พระองค์สอนไว้เสมอ ๆ ด้วยความไม่ประมาท

    <O:p></O:p>
    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม

    คัดลอกจาก ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น” เล่ม ๔
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    *
    [​IMG]

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน

    <IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 600px; HEIGHT: 300px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FBuddhaSattha%2F158726110822792&width=600&connections=20&stream=true&header=false&height=300" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    *<!-- google_ad_section_end -->
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. อนันตา.

    อนันตา. ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +105
    [​IMG]
     
  4. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    อารมณ์ Ego เกิดได้เพราะไม่รู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิตและกองสังขารแห่งกาย เช่น เหยียบขี้หมา หากเราเหยียบตอนที่มันเก่ามาก จนกลายสภาพไปเป็นดินแล้ว อุปาทานยึดมั่นว่ามันเป็นขี้หมาก็หมดไป จิตสังขารไม่ปรุงแต่งว่าขี้หมามันเหม็น สกปรก และกล้าเหยียบย่ำได้ แต่หากมันยังทรงอยู่ในสภาพเดิมของขี้หมา อุปาทานก็ยึดมั่นว่า มันเหม็น-สกปรก และไม่กล้าจะเหยียบ นี่แหละคืออารมณ์ที่ไม่รู้เท่าทันกองสังขารแห่งจิต และกายว่าหลงไปในอารมณ์ Ego

    ขอกราบโมทนาในธรรมทานด้วยครับ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...