อาบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 12 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เราสามารถเอาอาบัติพระมาปรับใช้อนุโลมใช้กับสามเณรได้หรือป่าว
    เข้าใจว่าได้ตามสมควร แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เช่น เสขิยวัตร ตามเณรก็ต้องปฏิบัติ
    ตามด้วยเช่นกัน หรือการกระทำใดไม่เหมาะสม บรรพชิตไม่ควรทำ สามเณร
    ก็ไม่ควรทำ มีการขับรถยนต์ เป็นต้น แต่เนื่องจากสามเณร เป็นอนุปสัมบัน
    บางอย่าง พระทำไม่ได้ แต่สามเณรทำได้ เช่น การหุงต้มอาหาร การทำกัปปิยะ
    อาหาร การเก็บอาหารไว้ค้างคืน เป็นต้น สามเณรทำได้ สิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยทำให้
    พระภิกษุได้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในบางกาลครับ
    น้ำปานะคือน้ำผลไม้ที่ทรงอนุญาตไว้ มี ๘ ชนิด และอื่นๆ ตามสมควร เมื่อคั้นเอา
    เฉพาะน้ำกรองไม่ให้มีกาก พระภิกษุรับประเคนแล้วฉันได้ตลอดวันและคืนหนึ่ง ส่วน
    น้ำนมสด น้ำนมถั่วเหลือง ไมโล เป็นอาหาร(โภชนะ) ไม่ใช่น้ำปานะ
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
    พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
    เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
    น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำ
    ด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำด้วยผล
    จันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือ
    ลิ้นจี่ ๑.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ด
    ข้าวเปลือก.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอก
    มะซาง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
    คำอธิบายจากอรรถกถา
    สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้น
    ทำ.
    ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ.
    อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.

    ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด
    เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล
    มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
    เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
    มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ
    สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
    น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย
    มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน
    แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม
    เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
    ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย
    แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม
    กาลิกแท้.

    เท่าที่ทราบกระบวนการผลิตน้ำอัดลมดังกล่าว คือ การนำผลโค้กมาต้ม ดังนั้น
    น้ำปานะที่ผ่านการต้มด้วยไฟ ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล แต่เช้าถึงเที่ยงดื่มได้
    ดังข้อความในอรรถกถาพระวินัย
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
    พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
    เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผล
    มะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำ
    ปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำ
    ด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผล
    มะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
    คำอธิบายจากอรรถกถา
    สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้นทำ.
    ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ.
    อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.
    การรักษาอุโบสถศีลของบุคคลในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านเว้นจากกิจการงานที่เคยทำ
    นอกบ้าน อยู่ฟังธรรมที่วัด หรืออยู่กับบ้าน ดังนั้นถ้ามีกิจหน้าที่การงานที่ต้องทำ มี
    ธุรกิจ การค้าขาย เป็นต้น ควรกระทำตามหน้าที่ การรักษาอุโบสถในวันดังกล่าวอาจ
    ไม่สะดวกและไม่สอดคล้องกับอุโบสถศีลที่เราสมาทาน เป็นศีลอุโบสถที่เศร้าหมอง
    อยู่กับอกุศลและความกังวล ก็ไม่ควรรักษาอุโบสถ เพียงเป็นคฤหัสถ์ที่รักษาศีลห้า
    เป็นคนดี ศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจก็ยังยาก ฉะนั้นเราไม่ควรติดในจำนวนข้อ
    ของศีล ว่าจะต้องมีจำนวนมากข้อ เพื่อได้บุญมากแต่ควรรู้จักตนเองตามความเป็นจริง
    ว่าอัธยาศัยของตนจริง ๆ คืออย่างไร สรุปคือ ถ้าวันไหนรักษาอุโบสถ ควรเว้นจาก
    การใช้สเปรย์หรือโรลออนและการงานที่ทำให้กังวล

    เรื่อง คำว่า อยู่จำอุโบสถ

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 529
    อรรถกถาอุโปสถสูตร
    อุโปสถสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า ตทหุ ได้แก่ ในวันนั้น คือในกลางวันนั้น. ในคำว่า
    อุโปสเถ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. วัน ชื่อว่าอุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำของ
    คนทั้งหลาย. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้าจำอยู่ด้วยศีล หรือ
    ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า อุโบสถ นี้ มาในศีล ในประโยค
    มีอาทิว่า เราเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘.
    คนที่รักษาอุโบสถศีล 8 แม้แต่จะอาบน้ำ ก็ใช้สบู่ไม่ได้ ให้อาบน้ำเปล่า ๆ เพราะว่า
    สบู่สมัยนี้ ส่วนมากจะผสมน้ำหอม จะฟังข่าว หรือดูหนังสือพิมพ์ไม่ได้ นอกจากการ
    หนังสือธรรม การรักษาอุโบสถศีล 8 เป็นเรื่องยาก ต้องเป็นอัธยาศัยที่สะสมมา
    เรื่อง จุดประสงค์ของการรักษาอุโบสถที่ถูกต้อง
    คือขัดเกลาและเพื่อดับกิเลส
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 168

    ข้อความบางตอนจาก ทุติยราชสูตร
    ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน
    [๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา
    เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
    แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น
    ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี
    ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ
    อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่
    เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร
    เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะ ส่วนภิกษุ
    ผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระ
    แล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วย
    ความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า
    แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น
    ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี
    ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ
    อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 150
    ข้อความบางตอนจาก สักกสูตร
    ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ทรงเตือนอุบาสกชาวสักกะให้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์
    [๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
    ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวสักกชนบทเป็นอัน
    มาก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับในวันอุโบสถ ถวาย
    อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้าได้ตรัสถามอุบาสกชาวสักกชนบทว่า ดูก่อนอุบาสกชาวสักกชนบท
    ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แลหรือ
    อุบาสกชาวสักกชนบทเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บาง
    คราวข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บาง
    คราวไม่ได้รักษา พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่านทั้งหลาย
    เสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีเสียแล้ว ที่ท่านทั้งหลายเมื่อชีวิตมีภัยเพราะ
    ความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ บางคราวก็รักษาอุโบสถอัน
    ประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่ได้รักษา

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
    กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรตมา
    นาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม ดูก่อน
    ท้าวสหัสนัยน์ พระองค์จงถอยไปเสียจาก
    ที่นี้ ดูก่อนท้าวเทวราช กลิ่นของพวก
    ฤาษีไม่สะอาด.
    [๘๙๘] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
    กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรต
    มานาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม
    ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่น
    นี้เหมือนกับบุคคลนุ่งหวังระเบียบดอกไม้
    อันวิจิตร งดงาม บนศีรษะ ฉะนั้น
    ก็พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของ
    ผู้มีศีลนี้ว่าเป็นกลิ่นปฏิกูลไม่.
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 345
    ข้อความบางตอนจาก คัททูลสูตร
    สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง
    บทว่า จิตฺตสงฺกิเลสา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลายแม้อาบน้ำดีแล้ว
    ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมองนั่นแล แต่ว่าแม้ร่างกายจะ
    สกปรกก็ชื่อว่าผ่องแผ้วได้เพราะจิตผ่องแผ้ว.
    ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-
    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณ
    อันยิ่งใหญ่มิได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมอง สัตว์
    ทั้งหลายจึงชื่อว่า เศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์ สัตว์
    ทั้งหลายจึงชื่อว่า บริสุทธิ์.
    (แต่) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา
    พระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง
    สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์
    สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
    บทว่า สีลกถํ ความว่า กถาปฏิสังยุต ด้วยคุณของศีล มีอาทิ
    อย่างนี้ว่า ชื่อว่าศีลนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ตั้ง เป็นอารมณ์ เป็นเครื่องป้องกัน
    เป็นที่อาศัย เป็นคติ เป็นเครื่องค้ำจุน จริงอยู่ ที่พึ่ง ที่ตั้ง อารมณ์ เครื่อง
    ป้องกัน ที่อาศัย คติ เครื่องค้ำจุน เช่นกับศีล ย่อมไม่มี แก่สมบัติในโลก
    นี้และโลกหน้า เครื่องประดับเช่นกับศีล ย่อมไม่มี ดอกไม้ เช่นกับ ดอกไม้
    คือศีล ย่อมไม่มี กลิ่น เช่นกับกลิ่นศีล ย่อมไม่มี จริงอยู่ โลกพร้อมด้วย
    เทวโลก แลดูการประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล การตกแต่งด้วยดอกไม้
    คือศีล การลูบไล้ด้วยกลิ่นคือศีล ย่อมไม่ถึงความอิ่ม. เพื่อจะแสดงว่า คนได้
    สวรรค์ เพราะอาศัยศีลนี้ พระองค์จึงตรัส สัคคกถา ในลำดับศีล

    คำว่า นเหตุ หมายถึง ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ กล่าวคือ ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ดังนั้น
    ธรรมใด ที่ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ธรรมนั้น ชื่อว่า นเหตุ (โดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่
    จิตทั้งหมด เจตสิก ๔๖ ประเภท, รูปทั้งหมด และ นิพพาน เป็น นเหตุ)
    ก่อนอื่นต้องเข้าใจความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ ก่อนว่า เหตุ ได้แก่เจตสิก
    ๖ ประเภท(ที่เป็นเหตุ) คือ โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโลภะ, อโทสะ และ อโมหะ ส่วน
    สภาพธรรมที่เหลือทั้งหมด เป็น นเหตุ ดังนั้น ที่กล่าวโดยนัยนี้ ไม่ต้องมี กะ ต่อท้าย
    เพราะถ้ามี กะ ต่อท้าย จะมุ่งอธิบายอีกนัยหนึ่ง และ ความหมายจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง
    ดังนั้น เมื่อเข้าใจ ความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ แล้ว ต่อไปก็จะสามารถเข้าใจถึง
    สเหตุกะ และ อเหตุกะ ได้ เพราะตามศัพท์แล้ว สเหตุกะ หมายถึง มีเหตุเกิดร่วมด้วย
    ธรรมใดก็ตามที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า สเหตุกะ เช่น โลภมูลจิต (จิตที่มี
    โลภะเป็นมูล) โดยสภาพของจิตแล้ว เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ) แต่โลภมูลจิต เป็นจิตที่
    มีเหตุเกิดร่วมด้วย นั่นก็คือ มีโลภเหตุ และ มีโมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น โลภมูลจิต
    จึงชื่อว่า สเหตุกะ (มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เป็นต้น
    ส่วน คำว่า อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตาม ที่ไม่มีเหตุเกิด
    ร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ(ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เช่น จักขุวิญญาณ(จิตเห็น)
    เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น ไม่มีเหตุใด ๆ ในบรรดาเหตุ ๖
    เกิดร่วมด้วยเลย ดังนั้น จักขุวิญญาณ จึงชื่อว่า อเหตุกะ และ เจตสิก ๗ ประเภทที่
    เกิดร่วมกับจักขุวิญญาณ ก็ชื่อว่า อเหตุกะ ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นต้น
    ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด จึงต้องเป็นผู้ค่อย ๆ ฟัง ค่อย ๆ ศึกษา สะสมปัญญาไป
    ตามลำดับ เพื่อความเข้าใจในพระธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไป
    เพื่อละคลายความไม่รู้ และ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน
    เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครับ
    สรุปคือ สภาพธรรมที่เป็นเหตุ คือเจตสิก 6 ดวง(โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ
    อโมหะ) โลภมูลจิต เป็นจิต ไม่ใช่เจตสิก 6 ดวงนี้จึงเป็น นเหตุ(ไม่ใช่เหตุ) โลภมูลจิต
    อีก 7 ดวงที่เหลือเป็นจิต ไม่ใช่เจตสิก 6 ดวงนี้จึงเป็นนเหตุ เช่นกันครับ
    ถามในเรื่องของการสวมใส่ชุดของโยมนะครับคือว่าพระหรือสามเณรสวม
    ใส่ชุดของโยมเเล้วเกิดการยินดีมันจะขาดจากความเป็นพระเป็นเณรหรือป่าว
    ตอบยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ และสามเณร แต่พระต้องอาบัติทุกกฏ


    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
    ให้อภัยทานมาทุกวัน ให้ทานแก่สัตว์ตามถนนหนทางได้รักษาผู้ป่วยหลายรายโดยไม่คิดเงิน
    และตั้งใจที่จะศึกษาการรักษาโรค ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจที่จะรักษาศีล
    กำหนดอิริยาบทย่อย ฟังธรรม ศึกษาธณณม นั้งสมาธิ สวดมนต์ เดินจงกรม
    เจริญสมถะกรรมฐาน สร้างบารมี 10 ให้ครบทุกบารมี ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญท่องเที่ยววัดป่าประดู่



    ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2533 ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ประทับอยู่ในท่าตะแคงซ้าย ซึ่งเป็นพุทธลักษณะพิเศษกว่าพระนอนองค์อื่นๆ ชาวระยองนิยมมากราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นศิริมงคล

    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...