อานิสงส์ของการหลีกเร้น

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 12 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาณ) เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น จงเป็นผู้ตามประกอบเจโตสมถะในภายใน มีฌานอันตนไม่ละเลย ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนความยินดีในสุญญาคารอยู่เถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อประพฤติกระทำเช่นนั้นอยู่, ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผลทั้งสอง เป็นอันเธอหวังได้ คือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรมนี้ หรือว่าเมื่อเชื้อ (อุปาทิ)เหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลายหน้า1340
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    หน้าที่ ๑๙๓/๔๑๘ข้อที่ ๒๒๓

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรในการหลีกออกเร้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลีกออกเร้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร
    ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป
    ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
    ความเกิดและความดับแห่งสัญญา
    ความเกิดและความดับแห่งสังขาร
    ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๑๔/๓๑๐ข้อที่ ๓๐

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้หลีกเร้นทำความเพียร เพราะเมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าย่อมปรากฏตามความเป็นจริง คือ จักษุย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า
    ไม่เที่ยง รูปย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า
    ไม่เที่ยง จักษุสัมผัสย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้หลีกเร้นทำความเพียร เพราะเมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง
    (ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะภายนอกที่เหลืออีก๕ คือ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง
    จักษุ ทุกประการ.)

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    หน้าที่ ๑๔๘/๔๐๒ข้อที่ ๒๔๙-๒๕๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...