อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 (พุทธวจน:มรรควิธีที่ง่าย)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sirisuk, 24 กันยายน 2011.

  1. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    อานาปานสติ
    สติปัฏฐาน4

    (พุทธวจน:มรรควิธีที่ง่าย)


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
    จึงทำสติปัฏฐานทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้ ?

    --------

    (เห็นกายในกาย)

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น


    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว
    ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ ในบรรดากายทั้งหลาย.


    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ---------------------------------------------

    13-อานาปานสติ สติปัฏฐาน4


    :cool: มีต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มิถุนายน 2012
  2. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    เห็นเวทนาในเวทนา

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวว่า
    การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ---------------------------------------------

    13-อานาปานสติ สติปัฏฐาน4


    :cool: มีต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2011
  3. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    เห็นจิตในจิต

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ เป็นสิ่งที่มีได้
    แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    -----------------------------------------------

    13-อานาปานสติ สติปัฏฐาน4

    :cool: มีต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2011
  4. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    เห็นธรรมในธรรม

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ” หายใจออก
    ย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
    เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.

    ---------------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
    ย่อมทำสติปัฏฐาน ทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ได้.

    --------------------------------------------

    ปฐมภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. 19 / 424 / 1402-10

    13-อานาปานสติ สติปัฏฐาน4

    การปฏิบติสติปัฏฐาน๔ -อานาปนสติ๑๖ ขั้นตอนของพระพุทธเจ้า-การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2011
  5. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    พุทธวจนบรรยาย ณ ปูนซีเมนต์นครหลวง

    พุทธวจนบรรยาย ณ ปูนซีเมนต์นครหลวง

    -การปฏิบติสติปัฏฐาน๔
    -อานาปานสติ๑๖ ขั้นตอนของพระพุทธเจ้า
    -การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

    <IFRAME height=349 src="http://www.youtube.com/embed/FGtWpiaCWz8" frameBorder=0 width=560 allowfullscreen=""></IFRAME>



    การปฏิบติสติปัฏฐาน๔ -อานาปนสติ๑๖ ขั้นตอนของพระพุทธเจ้า-การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


    :cool:
     
  6. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    ในบุญกุศลทุกอย่างกับทุกท่าน
    ที่ได้เผยแผ่พระธรรมด้วยครับ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2012
  7. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    อนุโมทนา สาธุ กับเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่เสียสละเวลาทำกระทู้ดีๆ ให้สมาชิกเว็ปพลังจิตได้ศึกษาธรรมะกัน :cool:


    [​IMG]

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม 7)

    ผลบุญจากธรรมทาน ซึ่งชนะทานทั้งปวง
    เพราะสร้างปัญญาให้เกิด

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. การให้ธรรมเป็นทาน คือ การให้เขาอ่านหรือฟัง หรือดูแล้วเกิดปัญญา เป็นการเพิ่มปัญญาบารมีให้กับตนเองด้วยและกับผู้อื่นด้วย จักทำให้มีปัญญาตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ เข้าถึงพระนิพพานเร็วเข้า

    ๒. อย่าลืมเราให้ทานอันใด เราย่อมได้ทานอันนั้นตอบสนอง จักหวังผลหรือไม่หวังผลตอบแทนก็ตาม แต่กฎของกรรมก็เที่ยงอยู่อย่างนี้แหละ

    ๓. อนึ่ง แม้เรื่องภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เจ้าเขียนนั้น การเขียนบรรยายธรรมไว้ใต้ภาพ ก็อย่าให้ย่อมากไปจนเสียใจความของธรรมะ ความใดควรยาวก็ให้ยาวเข้าไว้ ความใดควรสั้นก็สั้นตามนั้น ต้องให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจในธรรมปฏิบัติได้เป็นสำคัญ นั่นแหละจึงจักมีอานิสงส์ที่สมบูรณ์


    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2012
  8. CLUB CHAY

    CLUB CHAY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    507
    ค่าพลัง:
    +1,412
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญที่ช่วยเผยแพร่ธรรมะเป็นธรรมทานนะครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ


    (f)
     
  9. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์

    สติปัฏฐาน4 โพชฌงค์7
    ( สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ )

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็สติปัฏฐานทั้ง 4 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
    จึงทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ได้ ?

    --------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !

    สมัยใด ภิกษุ
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำก็ดี,
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี,
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี,
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

    สมัยนั้น
    สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง,
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
    ชื่อว่าย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา
    สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่
    ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาได้ปรารภแล้ว
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้วเช่นนั้น
    ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น ( อามิส = รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ | นิรามัส = ไม่อิงอามิส )

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ
    แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่
    จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ----------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สติปัฏฐานทั้ง 4 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
    ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ได้.

    -----------------------------------

    มหาวาร. สํ. 19 / 424 / 1402-1

    07-สติปัฏฐาน4 โพชฌงค์7
     

แชร์หน้านี้

Loading...