"อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา" "ลานิญา" ยังอยู่ อย่าไว้ใจสภาพอากาศปี"54

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 3 มกราคม 2011.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    "อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา" "ลานิญา" ยังอยู่ อย่าไว้ใจสภาพอากาศปี"54



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากอุบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฝนตกผิดฤดู หิมะตกหนัก อากาศร้อนจัด ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

    ไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบตลอดปี 2553 จากปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล นักวิชาการหลายสำนักมองว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติมาจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

    อย่างไรก็ตาม ตัวการที่แท้จริงอาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งหมด "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและ ฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสภาพภูมิอากาศ ถึงมุมมองและ ความเห็นในเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยตลอด ปี 2553 ที่ผ่านมา พร้อมกับประเมิน สภาพภูมิอากาศในปี 2554

    ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปี 2553

    ตลอดปี 2553 สภาพอากาศมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ตั้งแต่ต้นปีเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ เกิดภาวะภัยแล้ง ทั่วประเทศ พอช่วงปลายปีเดือนสิงหาคม-ตุลาคมคาดว่าปรากฏการณ์เอลนิโญจะคลี่คลาย แต่กลับเกิดปรากฏการณ์ลานิญาเข้ามาแทนที่ ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่องมากกว่าทุกปี เกิดน้ำท่วมกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้พื้นที่การเกษตร บ้านเรือนเสียหายประเมินมูลค่าหลายแสนล้านบาท มีผู้เสียชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อมจากอุบัติที่เกิดขึ้น กว่า 200 คน

    อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะโทษปัจจัยภายนอก หรือโทษว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเดียวคงไม่ใช่ ส่วนหนึ่งมาจากเราไม่ได้ตระหนัก และเตรียมการรองรับ ทั้งยังไม่ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เป็นการประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป หรือไม่ได้ประเมินความเสี่ยงเลย เช่น ที่โคราชน้ำท่วมหนักเกิดความเสียหายเป็น วงกว้าง เพราะไม่คิดว่าฝนจะตกหนัก เพราะช่วงเวลา 20-30 ปีไม่เคยตกหนักขนาดนี้ ผมคิดว่าประเมินระยะสั้นเกินไป ถ้ามองย้อนหลังไปอีกถึงปี 2520 คิดว่าน่าจะมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ้าง

    สาเหตุหลักที่เกิดภัยธรรมชาติ

    ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของ "การแปรปรวนสภาพอากาศ" เกิดจากการแกว่งตัวของมวลอากาศมาสู่แนวปะทะที่เส้นศูนย์สูตรแกว่งตัวมาเจอกัน ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่าน มีฝนตกหนัก เกิดปรากฏการณ์ลานิญาในช่วงเดือนกันยายน

    เท่ากับปี 2553 เกิดขึ้นทั้ง 2 ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นแต่ก็เคยขึ้นมาแล้วไม่ใช่ไม่เคยเกิด ถ้ารัฐบาลประเมินย้อนหลังไปมากกว่า 30 ปี ก็คิดว่าจะเตรียมรับมือได้ทัน ผมคิดว่าการประเมินความเสี่ยงของการแปรปรวนสภาพอากาศในรอบ 60 ปีเหมาะสมที่สุด 20-30 ปีนั้นสั้นไป ประเมินได้แค่วงรอบเดียวเท่านั้น ข้อมูลย้อนหลังทำได้ไม่ครอบคลุม ถ้าประเมินระยะยาวคงจะดีกว่านี้ ทั้งหมดนี้ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

    ปี 2554 จะเกิดเหตุรุนแรงหรือไม่

    นักวิชาการหลายสำนักมองในแง่ดีว่าสภาพอากาศประเทศไทยในปี 2554 จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อน ฝนตก หนาวไม่รุนแรง แต่ผมยังไม่ปักใจเชื่อทั้งหมด เพราะจากการคาดการณ์โมเดลของปี 2553 ก็ผิดทั้งหมด จากที่ต้นปีเกิดภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนิโญ และคิดว่าจะคลี่คลายช่วงปลายปีแต่ผลกลับไม่ใช่ มีฝนตกหนักทั่วประเทศ ดังนั้นสภาพอากาศในปีนี้จึงยังวางใจไม่ได้

    เพราะสภาพหนาวช่วงปลายปีคล้ายกับช่วงปลายปี 2552 ประกอบกับปรากฏการณ์ลานิญายังไม่แกว่งตัวกลับ หรือยัง "ไม่คืนตัว" ดูได้จากการที่อุณหภูมิน้ำทะเลมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางอุณหภูมิน้ำทะเลยังเย็นอยู่ แสดงให้เห็นว่าลมตะวันออก ที่พัดมาทางตะวันตกยังแรงอยู่ เพราะฉะนั้นจึงคาดการณ์ว่าฝนยังตกต่อเนื่องจากนี้ไปอีกประมาณ 2-3 เดือน ปริมาณฝนก็ยังมีมากพอสมควร แต่ปรากฏการณ์ของลานิญาจะค่อย ๆ เบาลงเรื่อย ๆ คิดว่าจะคาดการณ์ได้ชัดเจนอีกทีในช่วงเดือนมกราคม

    จะเตรียมรับมือได้อย่างไร

    ถ้าเป็นอย่างนั้นเราไม่เรียกว่าคาดการณ์แต่เรียกว่าการสมมติ เพราะการคาดการณ์จะใช้หลักวิชาการ หลักฟิสิกส์มาประเมินพิสูจน์ได้ ซึ่งก็อาจจะผิดได้ แต่ไม่ใช่การ สมมติ เพราะการสมมติไม่จำเป็นต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์ หรือหลักฟิสิกส์ใด ๆ มาประกอบการประเมินเลย

    ปรากฏการณ์เอลนิโญ ลานิญาอาจไม่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเพราะความแปรปรวนของสภาพอากาศ 2 คำนี้แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงหมายถึงเหตุการณ์จะเกิดถี่ขึ้น 2 หรือ 3 ปีเกิดขึ้น 1 ครั้ง แต่ถ้าแปรปรวนอาจจะมีระยะเวลานานมากกว่าจะย้อนกลับมาเกิดเหตุการณ์ ดังเช่นในปี 2553 ที่เกิดขึ้นปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญาในปีเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุบังเอิญ นาน ๆ เกิดขึ้นที แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ถ้าในปี 2554 เกิดขึ้นอีก ก็น่าจะเป็นสาเหตุ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

    ที่เป็นข้อสังเกตคือสภาพอากาศในขณะนี้ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อย่างในฤดูหนาวยังมีฝนตก ซึ่งคนทั่วไปอาจจะเห็นว่าไม่ได้รับผลกระทบ และเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ในทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องจับตามองจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว เกิดการแกว่งตัว ลอยตัวของมวลอากาศมหาสมุทรอาร์กติก ใช้พลังงานมหาศาล ซึ่งเป็นเหตุชี้สัญญาณเบื้องต้นที่จะเกิดความรุนแรงในอนาคต

    ความกังวลเกี่ยวกับประเมินความเสี่ยง

    ผมเป็นห่วงมากที่หลายฝ่ายเอาเรื่องเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปผสมกับการแปรปรวนของสภาพอากาศ การรับมือจะไม่สอดคล้องกัน น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งหมด ซึ่งทำให้หลงประเด็นหลัก ทุกสิ่งทุกอย่างอ่อนไหวไปกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่ตัวชี้นำตัวหลักที่จะมากระทบยังมาไม่ถึง

    ขนาดเรื่องของแปรปรวนเรายังรับมือ ไม่อยู่ ไม่มีจุดประเมินที่แท้จริงและนิ่งพอ ก็ฟุ้งซ่านไปเรื่อย ความเสียหายที่ผ่านมาประเทศไทยต้องจำไว้เป็นบทเรียน ปรับมาตรการรับมือให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพราะปัจจุบันการออกมาตรการบางทีก็ใหญ่ บางทีเล็กเกินไป จากประเมิน ความเสี่ยงคลาดเคลื่อน ซึ่งระยะสั้นในปัจจุบันยังพอมีมาตรการอยู่ ยังใช้ได้ ยังไม่มีความจำเป็นปรับเปลี่ยนอะไรมาก ที่ต้องทำมากกว่าเดิม คือ ต้องประเมินความเสี่ยงรอบการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติให้ยาวนานขึ้น

    เพราะความเสี่ยงไม่ใช่แค่ทางกายภาพอย่างเดียว บางพื้นที่น้ำท่วมได้ บางพื้นที่แม้จะท่วมก็แค่ตาตุ่ม ท่วมแค่วันเดียว ก็ไม่ได้เอาปัจจัยมาดูทั้งพื้นที่ เพราะฉะนั้นต้องฉายให้เห็นภาพโดยรวมทั้งหมด นำมาเป็นหลักการในการตัดสินใจ เพื่อทำแผนปฏิบัติการ พยายามพลิกวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นโอกาส ปรับตัวให้ได้ เมื่อน้ำท่วมก็คิดให้ได้ว่าจะใช้ประโยชน์จากน้ำท่วมได้อย่างไรบ้าง เป็นต้น อาจจะเป็นโจทย์ยาก แต่ก็ต้องค้นหาคำตอบ เพราะเราไม่สามารถเลือกได้ว่าปรากฏการณ์เอลนิโญ หรือลานิญาจะเกิดเมื่อใด อาจจะเกิดโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว จึงต้องเตรียมรับมือไว้เสมอ

    ----------

    ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    "�ҹ��� ʹԷǧ�� � ��ظ��" "�ҹԭ�" �ѧ���� �����������Ҿ�ҡ�Ȼ�"54 : ��ЪҪҵ��͹�Ź�
     
  2. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    ปี53 ภัยธรรมชาติมาทุกรูปแบบ อากาศแปรปรวน แรงกว่าสถิติ 100 ปี



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อมองในแง่ "ภัยธรรมชาติ" ปี 2553 ถือเป็นปีที่มีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นความร้อน น้ำท่วม ภูเขาไฟปะทุ ซูเปอร์ไต้ฝุ่น สึนามิ พายุหิมะ ดินถล่ม และภัยแล้ง ที่คร่าชีวิตมนุษย์รวมกันอย่างน้อย 2.5 แสนคน หรือสูงกว่ายอดผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมูลค่าอีกมหาศาล

    ความเข้มข้นของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้คำว่า "ที่สุดในรอบ 100 ปี" แทบจะหมดความหมาย เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ไม่ธรรมดา

    และแม้ว่าหายนะจากธรรมชาติบางส่วนเกิดขึ้นตามวัฏจักรปกติ แต่ต้องยอมรับว่า "น้ำมือมนุษย์" ทำให้ภัยธรรมชาติเหล่านี้รุนแรงยิ่งกว่าเดิมหลายเท่าตัว และทำให้ปี 2553 กลายเป็นปีที่เกิดภัยธรรมชาติแบบสุดขั้วหลายต่อหลายครั้ง

    เมื่อผนวกกับการก่อสร้างและการพัฒนาที่ด้อยคุณภาพ ทำให้เหตุการณ์แผ่นดินไหวหลายครั้งคร่าชีวิตมนุษย์มากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะปัจจุบัน มีคนยากจนจำนวนมากขึ้นอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะต้านภัยธรรมชาติอันหนักหน่วง ดังนั้นจึงหมายความว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม หรือพายุไซโคลน ก็จะทำให้มีคนเสียชีวิตมากขึ้นด้วย

    เริ่มต้นศักราชในเดือนมกราคมด้วยแผ่นดินไหวในเฮติ ที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 220,000 คน ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมากขนาดนี้คือ คนส่วนใหญ่ยากจนและอยู่อาศัยในบ้านที่สร้างอย่างไร้มาตรฐาน ทั้งนี้ ริชาร์ด ออลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายลดความเสี่ยงภัยธรรมชาติแห่งฟลอริดา อินเตอร์เนชั่นแนล ยูนิเวอร์ซิตี้มองว่า หากเกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงขนาดเดียวกันในปี 2528 น่าจะมีผู้เสียชีวิตเพียง 80,000 คนเท่านั้น

    จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ เกิดแผ่นดินไหวในชิลี ซึ่งแม้ว่าจะมีความรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในเฮติ แต่เนื่องจากเกิดในบริเวณที่มีประชากรอยู่อาศัยน้อย และอาคารก่อสร้างดีกว่า ทำให้มีคนเสียชีวิตเพียง 1,000 คน

    ทั้งนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศชี้ว่า ภูมิอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลง จากผลของโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทำให้เกิดภาวะอากาศรุนแรงแบบสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อนเรื่อยไปถึงน้ำท่วม

    อย่างเช่นที่เกิดในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เพราะขณะที่รัสเซียประสบภัยจากคลื่นความร้อนอันหนักหน่วง แต่กลับเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน จมพื้นที่ราว 62,000 ตารางไมล์ หรือขนาดเท่ากับ รัฐวิสคอนซินของสหรัฐ สภาพอากาศที่มีทั้งร้อนและพายุในคราวเดียวกัน คร่าชีวิตมนุษย์เกือบ 17,000 คน หรือมากกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาเสียอีก

    คราวนี้ลองมาดูสถิติต่าง ๆ ของภัยธรรมชาติในรอบปีที่ผ่านมาในหลากแง่มุมกันบ้าง

    คร่าชีวิตมนุษย์มากแค่ไหน ?

    ขณะที่แผ่นดินไหวในเฮติ คลื่นความร้อนในรัสเซีย และน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน คือภัยธรรมชาติที่คร่าชีวิตมนุษย์ครั้งใหญ่ที่สุด ปี 2553 ถือเป็นปีที่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นถี่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ๆ ในชิลี ตุรกี จีน อินโดนีเซียเช่นกัน และหากนับจนถึงกลางเดือนธันวาคม พบว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไปถึง 20 ครั้ง เทียบกับในอดีตที่เคยเกิดเพียง 16 ครั้งต่อปีเท่านั้น

    ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า หากนับถึงเดือนกันยายน ภัยน้ำท่วมคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 6,300 ชีวิต ใน 59 ประเทศ มีหลายประเทศที่ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นจีน อิตาลี อินเดีย โคลัมเบีย ชาด ฟิลิปปินส์ จีนบางส่วน ออสเตรเลีย รวมถึงไทยที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในแถบภาคอีสาน ภาคกลางบางส่วน และภาคใต้บางส่วน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ชีวิต สร้างความเสียหายต่อเรือกสวนไร่นา และย่านธุรกิจสำคัญมหาศาล

    หากรวมผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติทุกประเภท สวิส รี ระบุว่า นับถึงวันที่ 30 พ.ย.มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกเกือบ 260,000 คน เทียบกับยอดผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ 15,000 คนในปี 2552

    รุนแรงเพียงใด ?

    หลังจากพายุหิมะพัดถล่มสหรัฐ รวมถึงเหตุการณ์หิมะตกหนักในรัสเซียและจีนเมื่อช่วงต้นปี อุณหภูมิในโลกก็แปรปรวนกลายเป็นร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่า ปี 2553 อาจเป็นปีที่ทำสถิติร้อนที่สุดสำหรับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หรืออย่างน้อยติดอันดับ 1 ใน 3 ของปีที่ร้อนที่สุด ขณะที่ศูนย์ข้อมูล ภูมิอากาศแห่งชาติของสหรัฐระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปีเดียวกัน นับถึงสิ้นเดือนตุลาคมอยู่ที่ 58.53 องศาฟาห์เรนไฮต์

    และมีหลายพื้นที่ทำสถิติร้อนที่สุด เช่น ลอสแองเจลิส ที่สร้างสถิติร้อนที่สุดถึง 113 องศาฟาห์เรนไฮต์ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. และก่อนหน้านั้นปากีสถานก็เผชิญกับวันที่ร้อนที่สุดที่ระดับ 129 องศาฟาห์เรนไฮต์เช่นกัน

    ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ เริ่มต้นปีด้วยอากาศหนาวเย็นในฟลอริดา ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นฤดูร้อนที่สุดของพื้นที่ดังกล่าว

    และมาส่งท้ายในช่วงคริสต์มาสที่ควรเป็นเวลาของการฉลองอย่างมีความสุขกับครอบครัว แต่คนจำนวนมากกลับต้องนั่งแกร่วอยู่ตามสนามบินในหลายประเทศของยุโรป เพราะหิมะตกหนักทำให้จราจรทางอากาศและการคมนาคมทางบกระหว่างเมืองในยุโรปเป็นอัมพาตไปหลายวัน เช่นเดียวกับเหตุการณ์พายุหิมะที่พัดถล่มฝั่งตะวันออกของสหรัฐหลังวันคริสต์มาส ที่ส่งผลให้การคมนาคมทางบกและทางอากาศหยุดชะงักไปเช่นกัน และมีการยกเลิกเที่ยวบินไปกว่า 6,000 เที่ยว

    ด้านภาคเหนือของออสเตรเลียพบกับฝนตกหนักที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม แต่ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้กลับพบภัยแล้งอย่างหนัก เช่นเดียวกับลุ่มน้ำอะเมซอนที่พบกับปัญหาภัยแล้งด้วยระดับน้ำต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์

    ความเสียหายมหาศาล

    สวิส รี ประเมินว่า ภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.22 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2553 หรือมีมูลค่า สูงกว่าขนาดเศรษฐกิจฮ่องกง แต่แม้ว่าจะเป็นสถิติสูงกว่าปกติ แต่ก็ไม่ใช่สถิติสูงสุดเพราะภัยธรรมชาติในรอบปีดังกล่าวมักเกิดในพื้นที่ยากจนที่ไม่มีการประกันภัย เช่น เฮติ เป็นต้น

    ประหลาดอย่างไร ?

    เหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุในไอซ์แลนด์ส่งผลให้จราจรทางอากาศในน่านฟ้ายุโรปเป็นอัมพาตต่อเนื่องหลายวัน ทำให้คนกว่า 2 ล้านคนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนเดินทางเนื่องจากภัยธรรมชาติที่เหนือการคาดคิดนี้ นอกจากนี้ยังมีการปะทุของภูเขาไฟในอีกหลายพื้นที่ เช่น คองโก กัวเตมาลาซิตี เอกวาดอร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้คนต้องหนีหลบภัย ขณะที่นิวยอร์กซิตีต้องเผชิญกับพายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นน้อยมากในแถบนั้น และฝั่งตะวันออกของสหรัฐถูกถล่มด้วยพายุหิมะอย่างหนักหน่วง

    ส่วนประเทศในเอเชียอย่างอินโดนีเซีย พบกับภัยธรรมชาติ หนัก ๆ ถึง 3 ระลอก ในรอบ 24 ชั่วโมงเมื่อเดือนตุลาคม เริ่มจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิตามมาคร่าชีวิตคนไปกว่า 500 ชีวิต ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยภูเขาไฟปะทุที่ทำให้คนกว่า 390,000 คนต้องหนีภัยชั่วคราว ภัยพิบัติระลอกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่แดนอิเหนาต้องรับมือกับอุทกภัย แผ่นดินถล่ม และ แผ่นดินไหวหลายครั้งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนไปแล้วใน ช่วงต้นปี

    หากมองในแง่ความประหลาดสุดขั้ว ปี 2553 ถือเป็นตัวอย่าง ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเริ่มต้นปีด้วยปรากฏการณ์ "เอลนิโญ" ที่ส่งผลให้เกิดภาวะภูมิอากาศแบบสุดขีดไปทั่วโลก ก่อนที่จะเกิดภาวะ "ลานินญา" ที่เป็นสาเหตุของอากาศสุดขั้วในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญและลานินญาแบบเข้มข้นในรอบปีเดียวกันถือเป็นเรื่อง "ไม่ปกติ" เลย


    -------------
    ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    ��53 ��¸����ҵ��ҷء�ٻẺ �ҡ����û�ǹ �ç����ʶԵ� 100 �� : ��ЪҪҵ��͹�Ź�
     

แชร์หน้านี้

Loading...