อาจาโรวาท, อาจาราภิวาท( ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 24 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    [​IMG]


    <TABLE class=txt cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center bgColor=#ffcc00 border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (พ.ศ. ๒๔๔๒
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ข้อวัตรข้อปฏิบัติเป็นอย่างไร ก็ให้ดูซิว่าท่านห้ามอะไร เราทั้งหลายก็บวชแล้ว ได้ศึกษามาแล้ว การที่พระพุทธเจ้าสอนทุกสิ่งทุกอย่างในศีล ๒๒๗ ให้งดเว้นนุ่งห่มท่านก็สอน นั่งนอนเดินยืนท่านก็สอน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะบ้วนเขฬะท่านก็สอน จรดคำข้าวเข้าปากท่านก็สอน นี่แหละความละเอียดของท่านที่ต้องการความสวย ความงาม ความสำรวมระวัง นี้เป็นอย่างนี้

    อุบาสกอุบาสิกาก็ดี ท่านก็สอนให้เข้าถึงพระไตรสรณคมน์คือ เอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึงที่ระลึก ที่กราบไหว้ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ นตฺถิ เม สรณํ อัญฺญํ ที่พึ่งของข้าพเจ้าอื่นไม่มี นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น

    ถ้าเราไม่ถือเช่นนี้แล้ว ไตรสรณคมน์ของเราก็เศร้าหมอง เจ้าของเป็นบาปขาดจากพระพุทธศาสนา เหตุนี้ให้พึงรู้พึงเข้าใจต่อไป

    ผู้ปฏิบัติงามศาสนาอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านจะไปหามื้อหาวันทำงานทำการต้องการวันดี ไม่ใช่วันนั้นไม่ใช่วันนี้ไม่ดี วันไม่ได้ทำไรแก่คน วันดีทำไมคนจึงตายได้ วันไม่ดีทำไมคนจึงเกิด ใน ๗ วันนี้ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ มีเท่านี้

    การหาวันนั้น คือวันอย่างนี้ สมมติว่าเราจะทำงานทำการสิ่งใด เราพร้อมแล้วหรือยัง เมื่อหาวันพร้อมเพรียงกันแล้ว จะเอาวันไหนเวลาไหน นัดกันพร้อมกัน ถ้าพร้อมแล้ว วันนั้นแหละเป็นวันดี นี่ให้หาวันอย่างนี้ ถ้าวันใดยังไม่พร้อมกันก็อย่าเพิ่งทำ จะแต่งงานแต่งการ ปลูกบ้านปลูกช่องตึกราม อาคารก็ตาม ขึ้นบ้านใหม่ก็ตามให้รู้ไว้ ถ้าวันนี้มันพร้อมแล้ว เรียบร้อยแล้วก็ทำได้ขึ้นได้ ถ้ายังไม่พร้อมแล้วก็ยังขัดข้องทำไม่ได้ เรียกว่าวันไม่ดี หาวันอย่างนี้หรอก ให้เข้าใจ

    อธิบายมาให้ฟังย่อ ๆ แล้ว ให้ละเว้นการเลือกวันโน้นนี้เสีย

    การดูดวงก็เหมือนกัน ดูเอาว่าดวงดี ดวงไม่ดี ผูกดวงผูกดาว คนโกหก หลอกลวงกันให้วุ่นวายเดือดร้อน ในพระพุทธศาสนา ดวงดีไม่ดีก็ให้ดูเอาซิ ไม่ใช่มาจากฟ้าอากาศ

    ให้ดูดวงดีเดี๋ยวนี้ซิ ดวงดีเป็นยังไง ดวงดีรวมมาสั้น ๆ แล้วคือใจเราดี มีความสุขความสบาย เมื่อใจเราสุขสบายแล้ว ทำอะไรก็สบาย การงานก็สบาย ประเทศชาติก็สบาย นี่แหละดวงดี

    ดวงไม่ดีเป็นไง ดวงไม่ดีคือใจเราไม่ดี ใจมีทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน นี่แหละ ดวงไม่ดี ทะไรไม่ดี หาอะไรก็ไม่ดี นี่เรียกว่าดวงไม่ดี ดูตรงนี้ จะให้ใครดูให้เล่า

    ดูเอาซิ ทุกคนที่มานั่งอยู่นี่ ทั้งพระทั้งเณร ทั้งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ดวงดี ดวงไม่ดีก็ให้พิจารณาตรงนี้ อย่าไปพิจารณาอื่น และอย่าเข้ารีตพวกเดียรถีย์นิครนถ์คนนอกศาสนา ถ้าไปถืออย่างนั้นแล้ว ขาดจากพุทธศาสนา นี่แหละผู้จะปฏิบัติศาสนาจะต้องถืออย่างนี้ อุบาสกอุบาสิกาก็ให้ถือศีล ๕ รักษาศีล ๕ อย่ามัวมารับเอากับพระ ญาติโยมว่าศีลอยู่กับพระ พระว่าศีลอยู่กับพระพุทธเจ้า ศาสนาเป็นของพระพุทธเจ้า ไม่นึกว่าเป็นของเรา เมื่อเราไม่นึกว่าเป็นของเราแล้วเราก็ท้อถอย ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นของของเราแล้วเราก็เอาใจใส่รักษา ศีล... จะไปรับกับใครเล่า

    เราเกิดมามีศีล ๕ พร้อม ตัวศีล ๕ ได้มาพร้อมตั้งแต่เราเกิดมา มีขาทั้งสอง แขนทั้งสอง ศีรษะอันหนึ่ง นี่แหละตัวศีล ๕ อย่าเอา ๕ ไปทำโทษ ๕ โทษ ๕ นั้นคือ ปาณานั้นก็โทษ อทินนานั้นก็โทษ กาเมนั้นก็โทษ มุสานั้นก็โทษ สุรานั้นก็โทษ แน่ะ เป็นโทษทั้งหมด

    นี่เรายุ่งทุกวันนี้ก็เพราะ ๕ อย่างนี้ กลัวคนมาฆ่า กลัวขโมย กลัวคนผิดในกาม กลัวคนมุสาฉ้อโกงหลอกลวง กลัวคนมึนสุราสาโท กัญชายาฝิ่น นี่เป็นโทษ ถ้าเราละเว้นอันนี้แล้ว ท่านว่า สีเล สุคติ ยนฺติ มีความสุข ก็เพราะศีล สีเลน โภคสมฺปทา มีโภคสมบัติก็เพราะศีล นี่แหละให้พากันพึงเข้าใจ ให้ละเว้นโทษทั้งหลาย ๕ อย่างนี้

    เมื่อเราจะรับศีลหรือไม่รับศีล อยู่ที่ไหน ๆ ตัวของเราก็เป็นศีล แม้กระทั่งอยู่ในรก ในป่าในดง ในบ้านในเมือง ในถนนหนทาง เราทำผิด ๕ อย่างนี้แล้วมันก็เป็นศีล อันนี้จะมากล่าวว่าไม่ได้รับกับพระแล้วเราไม่มีศีลนั้น ใช้ไม่ได้ เราก็รู้กันอยู่แล้ว มารับศีลกับพระว่า ปาณาติปาตา เวรมณี พอยุงมากัดตบปั๊บวันยังค่ำมันจะเป็นศีลหรือ มันก็เป็นศีลไม่ได้น่ะซิ ให้รู้จักซิ อทินนาทานา เห็นของเราก็ขโมยซะ ถึงจะว่าวันยังค่ำ มันก็ไม่เป็นศีล เราละเว้นโทษ ๕ อย่างนี้แหละ พากันให้รู้จัก ได้อธิบายมาทั้งข้างนอกข้างในแล้วเอ้าน้อมเข้าไป ในเวลานี้สิ่งเหล่านี้มาจากไหน ให้พากันงดเว้น ต่อไปนี้ให้พากันตั้งจิตดู เพ่งดูโทษทั้งหลายอยู่ที่ไหน สุขอยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ไหน ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจ

    ประเทศของเรามันยุ่งยากตรงไหน เหมือนเราทำถนนหนทาง มันขัดข้องตรงไหนเราก็แก้ไข จิตใจของเราข้องตรงไหนก็ให้แก้ไขเสีย จะมานั่งหลับตาเจ็บเอวเอาเปล่า ๆ เรามานั่งดูตัวของเรา เวลานี้เราอยู่ในชั้นใด ภูมิใดในภพอันใด

    นี่ให้รู้จัก จิตของเราเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลให้รู้จัก จิตของเราสงบหรือไม่สงบ จิตของเราดีหรือไม่ดีให้รู้จัก นี่แหละ กามาวจรํ กุสลํ จิตตํ ให้รู้จักจิตของเรา อุปฺปนฺนํ โหติ มันอุบัติขึ้นจากตนของตนนี้ เอ้า ต่อไปนี้ต่างคนต่างได้ยินได้ฟัง โอปนยิโก คือพิจารณาน้อมเข้ามาดูนะ อันนี้พิจารณาเพ่งดูหัวใจของเรา เราข้องอะไรอยู่ จิตของเราเป็นอย่างไร จิตของเราดีเป็นอย่างไร จิตดีเป็นอย่างนี้ จิตสงบดีมีความสุขความสบายเย็นอกเย็นใจ ไม่ทุกข์ไม่ร้อนไม่วุ่นไม่วาย

    พุทโธ ใจเบิกบานสบาย นี่แหละ นำความสุขความเจริญมาให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า

    เรามาที่นี่ต้องการความสุขความสบาย ความสุขความเจริญ ถ้าจิตของเราเป็นอย่างนี้แล้ว สันทิฏฐิโก เราก็รู้เอง เห็นเอง นี่เป็นอย่างนี้ ถ้าจิตของเราไม่ดีแล้วเป็นอย่างไร จิตไม่สงบ จิตวุ่นวาย จิตทะเยอทะยานดิ้นรน จิตไม่ดีแล้วทุกข์ยาก เดือดร้อนวุ่นวาย ทุกข์ยากลำบาก ให้หนักหน่วง ให้ง่วงเหงา ให้มืดให้มัววุ่นวาย นี่นำสัตว์ทั้งหลายตกทุกข์ได้ยาก ทั้งปัจจุบันและเบื้องหน้า เมื่อจิตเป็นเช่นนี้แล้ว ประเทศชาติของเราก็วุ่นวาย ไม่ใช่อื่นเป็น ไม่ใช่อื่นวุ่นวาย ดวงใจของเรานี้วุ่นวาย เอ้า วัดดูเอาซิ จะกว้างขวางอะไร
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    บุตรภรรยาสามีรักกัน บิดามารดาญาติพี่น้องรักกัน ถ้าจิตไม่ดีแล้วมันก็ทะเลาะกัน นั้นวัดดูซิ ถ้าจิตดีแล้วมันก็ไม่ทะเลาะกัน หรือว่าไง เพ่งดูซิจริงหรือไม่จริงเล่า อยากร่ำอยากรวยอยากสวยอยากงาม บางคนทำไมมันไม่รวย บางคนอยากรวย ทำไมเงินเดือนไม่ขึ้น ทำไมยศไม่ขึ้น เพราะเหตุใด มันไม่ขึ้นเพราะจิตเรามันไม่ดี เราไม่ได้สร้างคุณงามความดีไว้ ในปัจจุบันและเบื้องหน้า จิตไม่ดีทุกข์ยากลำบากอดอยากแน่ะ จิตดวงนี้นำให้เราได้ทุกข์ได้ยาก ทำอะไรมันก็ไม่ขึ้น ทำอะไรมันก็ไม่รวย มันรวยเป็นอย่างไร จิตดีมีความสุขความสบาย อันนี้นำความสุขความเจริญให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า

    ต่อนี้ไปจะไม่อธิบายอีกแล้ว อธิบายไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด

    สรุปหัวข้อแล้วรวมลงที่กายกับใจเท่านี้ เอ้า เพ่งดู อธิบายดีชั่วทั้งภายในภายนอกให้รู้แล้ว ต่อไปนี้ โอปนยิโก จริงหรือไม่จริง ให้พากันเพ่งดูว่ามันข้องตรงไหน มันคาตรงไหน ไม่ดีตรงไหน ให้พากันเพ่งดูอยู่ตรงนั้น อย่าส่งไปข้างหน้ามาข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวา ข้างบนข้างล่าง ให้ตั้งเฉพาะตรงที่รู้เล็งดู ไม่ใช่ดูอื่น ดูจิตของเรา ดูภพของเรา ดูที่พึ่งของเรา ไม่ใช่ดูอื่นไกล ให้ดูให้รู้จัก ที่พึ่งดีหรือไม่ดีต้องรู้จักตรงนี้ สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติพึงรู้เองเห็นเอง ถ้าเราไม่รู้คนอื่นบอกก็ไม่รู้ นี่ข้อปฏิบัติเป็นอย่างนี้ ต่อนี้ไปได้ยินเสียงอะไรก็ตาม ให้สัญญาไว้ว่าสิ่งนี้ไม่มีอันตราย แล้วเราไม่ต้องเดือดร้อนทำจิตของเราและก็จะไม่อธิบายต่อไป จะสงบ เอ้า ต่างคนต่างสงบ วางให้สบาย เราอยากได้ความสุขความสบาย จะได้เป็นบุญวาสนาของเรา จะได้เป็นนิสัยของเรา มันก็พ้นทุกข์

    เราทั้งหลายอยากพ้นทุกข์ ก็ดูเอาซิ มันพ้นทุกข์คือจิตเราไม่ทุกข์ เมื่อจิตเราไม่ทุกข์ มันก็พ้นทุกข์ นี่แหละ เราทำบุญทำกุศล เรียกว่า ปฏิปัตติบูชา บูชาอย่างเลิศอย่างประเสริฐแท้ เข้าถึงธรรมถึงวินัย เข้าถึงพุทธศาสนา ถึงชั้นศาสนา เมื่อทำอย่างนี้แล้วจะไม่ถึงอย่างไรเล่า บอกแล้วในเบื้องต้น ท่านบัญญัติลงที่นี้เรื่องกายกับใจเท่านี้ เอ้า เพ่งดู

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ชี้แจงแสดงให้ฟัง แต่เมื่อพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้ก็มีอยู่อย่างนี้ อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ แต่เมื่อพระตถาคตยังไม่ตรัสรู้ก็มีอยู่อย่างนั้น เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีอยู่อย่างนั้น ไม่ได้มาจากไหน

    เหมือนกับตัวเราเกิดมาแล้ว ก็มีอยู่อย่างนี้ มีทุกข์อยู่อย่างนี้ ทุกข์ทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล ไม่ใช่อื่นเป็นทุกข์ คนทั้งหลายกลัวอดกลัวอยาก กลัวนั้นกลัวนี้เป็นทุกข์ ไม่มียศฐาบรรดาสักดิ์เป็นทุกข์ ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย เป็นทุกข์ นั่นพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ว่าทุกข์ ทุกข์คืออันใดเล่า อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ของจริง ภิกฺขเว ดูก่อนท่านทั้งหลายภิกษุทั้งหลาย ของจริงคืออะไรเล่า ชาติปิ ทกฺขา ทุกข์เพราะความเกิด

    ท่านไม่ได้ว่าอะไรทุกข์ คือความเกิดนั่นและเป็นทุกข์นี่แหละตัวทุกข์

    เราก็พิจารณาซิ อะไรเกิดเล่า คือตัวของเรานี้เกิดมามันก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะความเกิด เกิดเป็นเจ็บเป็นไข้ เกิดเป็นโน้นเป็นนี้ เกิดอยากโน้นอยากนี้ จิตของเราไม่สงบ ก่อกรรมก่อเวรก่อภัยให้เกิดขึ้น ภวาภเว สมฺภวนฺติ เที่ยวต่อภพน้อยๆ ใหญ่ ๆ อยู่มันก็เลยเป็นทุกข์กันสิ เราไม่อยากทุกข์แล้ว เราก็หยุด นั่งอยู่ที่นี้ไม่ก่อกรรมก่อเวรอยู่ ว่าเราไม่ได้ไปทำบาปทำกรรมอะไรดูซิ พิจารณาซิ มันไปเที่ยวต่อภพน้อย ๆ ใหญ่ ๆ อยู่ อารมณ์สัญญาของเรานี่แหละไปสร้างบาปสร้างกรรมไว้ทั้งกลางคืน กลางวัน ทั้งนั่ง ทั้งนอน ทั้งเดิน ทั้งยืน เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนให้มีสติ นั่งก็ดี นอนอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี ให้มีสติอยู่ ให้มันรู้ มีสติสัมปชัญญะ นั่งก็ให้รู้อยู่ว่านั่ง นอน เดิน ก็ให้รู้จัก สติของเราเพ่งเล็งอยู่อย่างนั้น การทำความสงบมิใช่อื่นไกลเพราะฉะนั้นก็ให้พากันเพ่งเล็งดู

    มิใช่อื่นทุกข์ คือความเกิดน่ะเป็นทุกข์ เรานั่งอยู่ที่นี้เราเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ อะไรทุกข์ ต้นไม้ภูเขาเหล่ากอ ดินฟ้าอากาศ ทรัพย์สมบัติ การงานทุกข์หรือ? ก็ไม่ใช่ทุกข์เพราะความเกิดนี้

    ทุกข์ที่สอง ชราปิ ทุกขา ทุกข์เพราะความเฒ่าแก่ชราคร่ำคร่าเพราะความเจ็บความไข้ นั่นเป็นทุกข์ ไม่ใช่อื่นไกล ความเจ็บตรงโน้น ปวดตรงนี้ ความชำรุดทรุดโทรม นั้นแหละความแก่มาถึงแล้ว ไม่ใช่ทุกข์เพราะอื่น ทุกข์เพราะอันนี้

    มรณมฺปิ ทุกขํ ทุกข์เพราะความตาย ไม่ใช่อื่นเป็นทุกข์

    นี่แหละความทุกข์ทั้งหลาย ให้พากันพิจารณาดูซิ อะไรมันเกิด อะไรมันแก่ อะไรมันเจ็บ อะไรมันตายเล่า ?

    เหตุนั้น ท่านยังให้พิจารณาปฏิจจสมุปบาท ท่านให้กำหนดทุกข์ว่า ทุกข์มาจากไหน? อะไรเป็นเหตุปัจจัยมาให้เกิดทุกข์?

    ท่านให้พิจารณาเห็นแล้วว่าทุกข์มันมาจากความตายนี่! ตายนี้เป็นเหตุปัจจัยมาให้ทุกข์ นี่ “ตาย” มาจากไหนเป็นเหตุปัจจัยมาจะให้ตาย มาจากโรคภัยไข้เจ็บอาพาธทั้งหลายต่าง ๆ เป็นเหตุปัจจัยมา อันนี้อาพาธทั้งหลายเหล่านี้มาจากไหนเป็นเหตุปัจจัยมา มาจากชรา ความเฒ่าแก่ชราคร่ำคร่า อันนี้ความเฒ่าแก่ชราคร่ำคร่ามาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากชาติคือความเกิด นี่มาจากนี่ มันคดไปเป็นปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อันนี้ความเกิดนี้มาจากไหนเล่า เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากภพคือ เข้าไปตั้งเข้าไปยึด เข้าไปถือไว้ อารมณ์ของเราไปยึดไว้ ยึดมันก็ก่อภพขึ้น อันนี้ภพมันมาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากอุปาทาน การยึดถือ ทีนี้อุปาทานมาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากตัณหาความทะเยอทะยานอยาก ความดิ้นรนตัณหามาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากเวทนา ทุกขเวทนา ทุกขเวทนา สุขเวทนา เมื่อความทุกข์เกิดขึ้น ก็อยากจะหาความสุข เมื่อสุขเกิดขึ้นก็อยากไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้น นี่มาจากเวทนา ทีนี้เวทนามาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากผัสสะ อันนี้ผัสสะมาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากอายตนะ เป็นบ่อเกิดอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้ อายตนะมาจากไหน เป็นเหตุปัจจัยมา มาจากวิญญาณ วิญญาณมาจากไหน เห็นเหตุปัจจัยมา มาจากสังขาร สังขารมาจากไหน เห็นเหตุปัจจัยมา มาจากอวิชชา นี้ขั้นต้นมันจบนี้

    อวิชชาคือความหลง หลงสมมติ หลงภพ หลงชาติ หลงตน หลงตัว อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา เมื่ออวิชชา ความหลงเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ความปรุงแต่ง เมื่อสังขารมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ฯลฯ ให้พิจารณาทวนกระแสกลับ วิญญาณมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนามีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหามีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติคือความเกิด ชาติมีแล้วก็คือปัจจัยให้เกิดชรา ความชำรุดทรุดโทรมเฒ่าแก่ชราคร่ำคร่า ความเฒ่าแก่ชราคร่ำคร่ามีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดพยาธิความเจ็บไข้และพยาธิมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดความตาย ความตายมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายส นี่แหละ

    เหตุนี้จึงให้พากันนั่งสมาธิพิจารณาตัวของเรากำหนดทุกข์นี้ เรื่องทุกข์ เรื่องสมุทัย นี่แหละความหลงของเรา ให้พากันเพ่งดู นี่ข้อสำคัญว่ามันเป็นอย่างนี้ อกาลิโก ไม่มีกาลเป็นอยู่เสมอ นั่งอยู่ก็เป็นทุกข์ เป็นโทษ ให้พากันรู้จัก ทีนี้ เมื่อฟังแล้ว เอหิปสฺสิโก คำสอน จงร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายให้มาดูธรรม ท่านไม่ได้ให้ไปดูธรรม ท่านให้มาดู ดูรูปธรรมนามธรรมนี้

    รูปธรรมก็คือสภาพร่างกายของเรา นามธรรมคือดวงใจของเรา ตัวคิดตัวนึก ดูเพื่อเหตุใด? เหตุที่เราถือว่ารูปเหล่านี้เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา เป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย เป็นพระเป็นเณร เราถือรูปอันนี้ หากเราเพ่งรูปอันนี้แล้วไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล ไม่มีเราไม่มีเขา เอาอะไรเป็นตัวเป็นตน เอาอะไรเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นที่ไหนเล่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้วางมูลกรรมฐานไว้ให้พิจารณานะโม น้อมเข้ามาพิจารณา มาพิจารรา นะ มาพิจารณา โม นี้ พิจารณาเพื่อเหตุใด เพื่อให้รู้ตัวของเรานี้ว่า เราเป็นของสวยของงาม ว่าเป็นตัวเป็นตน ท่านบอกไว้ในอภิณหปัจเวขณ์ว่า ตจปริยนฺโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ ปูโร นานปฺปการสฺส อสุสจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ อตฺถิ อิมสฺมิ กาเย ในการนี้ ท่านไม่ได้ว่ากายโน้น กายนี้ก็แปลว่าชี้ที่กายของเราทุกคน เต็มไปด้วยความไม่สะอาดต่าง ๆ อตฺถิ อิมสฺมิ กาเย ในการนี้ อะไรล่ะที่อยู่ในกายนี้ เกสาคือผมทั้งหลาย ที่ท่านว่าไม่สะอาด โลมาคือขนทั้งหลาย นขาคือเล็บทั้งหลาย ทนฺตาคือฟัน ตโจคือหนัง นี่เต็มไปด้วยอย่างนี้เรียกของไม่สะอาด...
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถ้าเราเห็นเป็นอย่างนี้แล้ว มันก็ละสักกายทิฏฐิ ความถือว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เราเขาไม่มีเสียแล้ว วิจิกิจฉา ความสงสัยเคลือบแคลงว่าจะดีอย่างโน้นไม่มีเสียแล้ว มันเป็นอย่างนี้ สีลัพพตปรามาส การลูบคลำมันก็ไม่มี สุขจริง ๆ ทุกข์จริง ๆ ดีชั่วจริง ไม่ต้องลูบคลำ ทุกข์อยู่โน้น ทุกข์อยู่นี่ ศีลอยู่โน้น ธรรมอยู่โน้น ไม่มีเสียแล้ว อยู่กับตัวของพวกเรา เหตุนั้นให้พากันพิจารณานี้มันจึงละได้ ถ้ามันไม่เห็นอย่างนี้แล้วก็ว่าเป็นคน เป็นคนละ หาว่าสนุกสนาน หาว่าเป็นของดิบของดี สวยงามอะไรต่าง ๆ แท้ที่จริงมันเป็นอย่างนี้ เราก็พิจารณาให้มันรู้ให้มันเห็น แล้วจะสงสัยอะไรล่ะ เราอยู่อย่างนี้... แล้วก็เพ่งพิจารณามันแน่นอนลงไปอย่างงั้นซิจิตของเรามันจึงสงบ เพราะไม่เห็นอย่างนี้แล้ว ไม่ใช่ตัวแล้วมันจะเอาอะไรเล่า? ไม่ใช่สัตว์ใช่บุคคลเสียแล้ว ไม่ใช่ตนใช่ตัวเสียแล้ว ไม่ใช่เขาใช่เราเสียแล้ว มันก็เลิกอุปาทานการยึดทั้งหลายเสียทั้งหมด

    นี่พิจารณาเพื่อให้รู้ให้จำแนกแจกออกแล้ว ถ้าเราไม่จำแนกแจกออก ก็เข้าใจว่าเป็นคนจริง ๆ เมื่อจำแนกแจกออกแล้ว มันก็ไม่เป็นตัวเสียแล้ว จิตของเรามันก็สงบ มีความสุข

    มีความสุขเพราะว่าเรามียศฐาบรรดาศักดิ์ สุขเพราะทรัพย์สมบัติ ตึก ข้าวของเงินทอง ท่านไม่ได้ว่าอย่างนั้น อะไรสุขล่ะ พอเราละสิ่งเหล่านี้แล้ว จิตของเราก็สงบ นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นเสมอเหมือนจิตสงบไม่มี เหตุนี้เราจะทำจิตให้สงบ เมื่อจิตสงบแล้วมันก็เป็นสุข เพราะไม่ได้ไปก่อกรรม ก่อเวร ก่อภพ ก่อชาติ ภพน้อย ๆ ใหญ่ ๆ ก็ไม่ได้ไปก่อ เราเห็นทุกข์เห็นโทษแล้วในสังขารทั้งหลาย เราไม่หลง พอไม่หลงก็ไม่เวียนกลับ ทีนี้มันหลงก็กลับกลายไปกลับมาอยู่อย่างนี้

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงนั่งสมาธิเพ่งเพื่อไม่ให้หลง ไม่ให้หลงภพ หลงชาติ หลงเกิด หลงแก่ หลงเจ็บ หลงตาย นี่มันหลง หลงแล้วก็เกิดละ ไม่หลงแล้วมันก็ไม่เกิด เกิดทำไม มันก็ทุกข์ นี่เราหลงซิ นี่ข้อสำคัญ

    เอาเข้าที่ดู เพ่งเล็งดูให้มันแน่นอนลงไป เชื่อมันลงไปให้เห็นแจ้งประจักษ์ลงไป สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติพึงรู้เองเห็นเอง โอปนยิโก ก็ให้น้อมเข้ามา ปจฺจตฺตํ รู้จำเพาะตนเท่านั้น ถ้าตนเองไม่รู้ บุคคลอื่นก็บอกอะไรไม่ได้ พิจารณาดูความเกิดของเรา นี่มันเป็นทุกข์อย่างนี้ ที่ได้อธิบายมาแล้ว ต่อไปต่างคนต่างกัน เพ่งเล็งดูให้มันรู้แจ้งเห็นจริง เมื่อตนเห็นแล้ว มันก็เลิกก็ละเอง ตนยังไม่เห็นแล้ว ยังไม่รู้แล้ว มันก็ยังเลิกไม่ได้ ละไม่ได้

    ต่อนี้ไปจะไม่อธิบายเพราะเข้าใจแล้ว

    ต่อไปให้เพ่งดู เมื่อจิตของเรามันไม่ก่อภพก่อชาติแล้วมันก็สงบ มันก็เป็นสุข นี่เราต้องการความสุขความเจริญต้องการความพ้นทุกข์ ความสุขความสบาย ก็เมื่อจิตเราสงบ มันไม่ไปปรุงไปแต่ง ไม่ไปก่อกรรมก่อเวร ไม่ไปทำอะไรสักอย่าง มันนิ่งเฉย มันว่างอยู่หมด นี่มันสุขอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่สุขอยู่ตรงอื่น มันไม่สุขมันเป็นอย่างไร? มันไปปรุงไปแต่ง มันไปก่อกรรมก่อเวรก่อภัยอยู่ นี่ละจะว่าอย่างไรเล่า? กรรมทั้งหลายว่า เราเป็นกรรมอันโน้น เป็นกรรมอันนี้ กรรมไม่มีในต้นไม้ ภูเขาเหล่ากอ ในป่าในดง ในบ้านในเมือง ในถนนหนทาง ในชยมงคลคาถา ท่านว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมเกิดจากนี้ กายกรรม กรรมเกิดจากกายของเรา วจีกรรม กรรมเกิดจากวาจา มโนกรรม กรรมเกิดจากดวงใจของเรา แต่เวลานี้กายกรรมของเราก็ดีแล้ว ไม่มีอะไร นั่งก็เรียบร้อยแล้ว วจีกรรมของเราก็ไม่มีแล้ว ยังเหลือแต่มโนกรรม ความน้อมนึกและระลึกอะไรอยู่ นี่กรรมเป็นของ ๆ ตน กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมนั้นเป็นของ ๆ ตน กลฺยาณํ ปาปกํ วา ตสฺสทายาโท ภวิสฺสามิ

    เราจะทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะรับผลของกรรมนั้นสืบไป เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตถึงอนาคต (เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะรับผลของกรรมนั้นสืบไป) เราก็นั่งดูซิ เราจะไม่สืบอย่างไรเล่า

    ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรล่ะ กรรมอันดี กรรมอันชั่ว

    กรรมดี คือ กลฺยณํ วา กรรมอันดี รวมมาสั้น ๆ คือใจเราดี... มีความสุข ความสบาย เบาตนเบาตัว ไม่มีความปรุงแต่ง มีความเยือกเย็น มีความสุขสบาย ว่างหมด ไม่มีภัยไม่มีเวร ไม่มีอะไรสักอย่าง

    พุทโธ มีแต่ความเบิกบาน พุทโธ ความสว่างไสว พุทโธ ความเป็นผู้ผ่องใส พุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ พุทโธ เป็นผู้รู้ พุทโธ เป็นผู้ไม่ตาย นี่แหละ กรรมอันดี เมื่อใจเราดีแล้ว อดีตมันก็ดี อนาคตมันก็ดี ให้รู้จักไว้อย่างนี้

    ปาปกํ กรรมชั่วล่ะ อยู่ที่ไหนเล่า รวมมาแล้วคือใจไม่ดี ใจไม่ดีคือทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน นั่นแหละกรรมชั่ว เป็นของของใคร มันเป็นของของตนมิใช่หรือ ใครล่ะเป็นผู้ได้รับ ตนเป็นผู้ได้รับมิใช่หรือ ไม่มีผู้อื่นรับ

    ทุกข์มันไม่ได้มีอยู่ในดินฟ้าอากาศต้นไม้ภูเขาเหล่ากอ ในบ้านในเมือง ในถนนหนทาง ใจเราเป็นทุกข์ ความที่พ้นทุกข์คืออะไร? จิตเราไม่ทุกข์ จิตเราไม่ทุกข์มันก็พ้นทุกข์ จิตเรามีทุกข์อยู่มันก็ไม่พ้นทุกข์ ไม่ใช่สิ่งอื่นเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะเราไปปรุงไปแต่ง เพราะเราไปก่อภพก่อชาติขึ้น คืออธิบายมาแล้ว ไปก่อกรรมก่อเวรมาแล้ว หมดกรรมหมดเวรหมดภัยคือจิตสงบอันเดียว ไม่มีวิธีอื่นที่จะล้างบาปล้างกรรมนอกจากนั่งสมาธิจิตสงบนี้

    เมื่อจิตสงบแล้วหมด เพราะไม่ได้ไปก่อบาปก่อกรรม มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา บุญและบาปสิ่งใดใจมันถึงก่อน มโนคือความน้อมนึก ธัมมาคือความคิด บุพพคือเบื้องต้น มันเกิดจากต้น จากตนนี้เอง เราก็เพ่งเล็งดูซิ มันเป็นกรรม อยู่ที่ไหนเล่า มโนกรรม ฉะนั้น เราเพ่งพิจารณาให้มันรู้ซิ กรรมดีก็อธิบายให้ฟังแล้ว กรรมชั่วก็อธิบายให้ฟังแล้ว แน่นอนลงไป เชื่อมั่นลงไป เราจะเอากรรมอันใดเล่า นี้ให้มันรู้มันเห็นซิ สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติ ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นแล้ว มันก็ละไม่ได้ เลิกไม่ได้ไม่ได้ความชั่ว ถ้ารู้แล้วมันก็เลิกก็ละ จะเอาไปทำไม ในความชั่ว จะเอาทำไมทุกข์ เราไม่ใช่ทุกข์ ใครเป็นผู้เป็นเล่า ? เราเป็นผู้เป็น ใครปรุงใครแต่ง เราเป็นผู้ปรุงผู้แต่ง พิจารณาให้มันแน่นอนลงไปซิ ไม่มีผู้อื่นปรุงแต่งให้ ไม่มีบุคคลอื่นทำให้เราทำเอง นั่งอยู่เดี๋ยวนี้แหละ ไม่ต้องสงสัยละ มันเป็นสุข หรือมันเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ ก็นั่นแหละ ความชั่ว มันเป็นสุข ก็นั่นแหละความดี ให้พากันอยากดี ปรารถนาดี ให้มันรู้ มันเห็นซิเอา จะไม่อธิบายแล้วต่อไป ถ้าจะเสียงอะไรก็ตาม สัญญาไว้ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มีอันตรายแล้ว และก็ไม่ต้องเดือดร้อน ต่างคนต่างโอปนยิโก น้อมเข้าไปให้ถึงใจของตนไม่นาน ก็สัก ๓๐ นาที ทดลองดูซิ...

    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> เราเห็นสิ่งทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ตนอยู่ที่ไหนเล่าทีนี้ โอปนยิโก เราต้องน้อมเข้า ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนเท่านั้น ใครเป็นผู้รู้เวทนา ใครเป็นผู้รู้วิญญาณ เราก็ต้องน้อมเข้ามา ใครว่าธาตุดิน ใครว่าธาตุน้ำ ใครว่าธาตุลมและธาตุไฟ ผู้ไม่ได้เป็นพุทธะก็ไม่รู้อะไร เราจำแนกแจกออกไปแล้วก็เหลือแต่พุทธะคือผู้รู้ ดังนี้เราจึงจับตัวมันได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ไม่ใช่ว่าชักบังสุกุลให้ผู้นั้นไปสวรรค์นิพพาน ชักให้คนที่ยังอยู่นี่ดูต่างหาก ท่านให้ดูให้พิจารณาว่าข้องนั่นข้องนี้แล้วมันได้อะไร มันมีอะไร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> เห็นว่ามันไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล ไม่มีเรา ไม่มีเขา สิ่งเหล่านั้นเขาไม่ได้เป็นอะไร เขาต่างอยู่อย่างนั้น เราหลงถือเอาเขา เป็นตัวเป็นตนเสียงเอง เราพิจารณาแยกธาตุจำแนกออกแล้วเลยเห็นว่าไม่มีตัวตน มันก็เลยละสักกายทิฏฐิ สัตว์บุคคลมันก็ละได้วางได้ อารมณ์ สัญญาทั้งหลาย วิจิกิจฉาก็ไม่มีแล้ว สีลัพพัตตปรามาส ความลูบคลำว่าจะดีอย่างนั้นจะดีอย่างนี้ก็ไม่มีแล้ว มันก็เลยละได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> สมาธินั่นคือจิตของเราตั้งมั่น เมื่อตั้งมั่นแล้วจะเอนเอียงอย่างไรเราก็รู้ มันตรงอยู่เราก็รู้ มันนิ่งอยู่เราก็รู้ นี่แหละความสุขทั้งหลายเกิดจากความสงบเป็นสมาธิ ปัญญาก็เกิดจากสมาธินี่แหละ ถ้าเราตั้งหลักฐานได้แล้วมันก็มีรากฐาน ปัญญาก็เกิดขึ้น พอจิตเคลื่อนไหวมันก็รู้แล้ว นั่นเรียกว่าปัญญา จิตนิ่งมันก็รู้อีกนั่นแหละ นั่นเรียกว่าสติ ปัญญาอยู่ตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่อื่นไกล ให้พากันเข้าใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ท่านฟังกันแต่ก่อนท่านได้สำเร็จมรรคสำเร็จผล แต่เราทุกวันนี้เป็นแต่ฟังเลยไม่ได้สำเร็จอะไร คือการไม่กระทำไปพร้อม และไม่ได้พิจารณาไปพร้อมกับการที่สำเร็จน่ะใคร ๆ ก็อยากทำสำเร็จ แต่ความสำเร็จมรรคมันเป็นยังไง สำเร็จมรรคคือการกระทำ เรารักษาศีลภาวนา เป็นอย่างนี้แหละ การกระทำ คือการให้ทาน การสละ การละ การวาง การปล่อยหมดกิเลสตัณหาของเรา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ สละ การละ สิ่งเหล่านั้นแหละจะเข้าถึงการสำเร็จมรรคสำเร็จผล
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ให้พากันเข้าวัดนะ วัดดูจิตใจของเรา ต้องวัดเสมอ นั่งก็วัด นอนก็วัด เดินยืนก็วัด วัดเพราะเหตุใด ให้มันรู้ไว้ว่า จิตเรามันดีหรือไม่ดี ไม่ดีจะได้แก้ไข ต้องวัดทุกวัน ตัดเสื้อตัดผ้าก็ยังต้องวัดไม่ใช่เรอะ ไม่วัดจะใช้ได้อะไรล่ะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> เมื่อเราเวียนเทียนเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้ารอบหนึ่งนึกพุทโธ้ พุทโธ ไปเดินจงกรมไป ไม่ต้องเปล่งวาจา นึกเอาใจใจ เพ่งดูใจของเราจนครบรอบประทักษิณ ๓ รอบ รอบที่หนึ่งแล้ว รอบที่สองให้นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านสอนกายของเรา สอนใจของเราเพื่อให้เรามีความสุข เพื่อให้เรามีความสบาย เพื่อให้เรามีคุณงามความดี นี่รอบที่สอง รอบที่สาม นึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์ปฏิบัติดีทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งดวงใจ มือเราก็ถือดอกไม้ธูปเทียน เวียนประทักษิณ ๓ รอบ นี่ให้เข้าใจอย่างนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ถ้าต้องการสิ่งไม่ดีแล้ว มันอยู่ที่ไหนล่ะ ใจเราไม่ดี เราก็เป็นคนไม่ดีซี พูดง่าย ๆ เราต้องการความดี อะไรดีล่ะ ใจเราดี สงบเป็นสมาธิ มีความเยือกความเย็น เบาสบ๊ายสบายใจ หายเหน็ดหายเหนื่อย เมื่อยล้าไม่มี สบาย พุทโธ เป็นผู้เบิกบาน พุทโธ เป็นผู้สว่างไสว พุทโธ เป็นผู้สบาย ใจเรานี่ละนำความสุขความเจริญให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ความสุขทุกข์ อะไรเป็นสุข อะไรเป็นทุกข์ ให้ฟังดู เราอยากดี อะไรมันดี ความดีก็คืออย่างที่อธิบายให้ฟัง ความดีมันยังงี้ คือใจเราดี ใจเราสงบ ไม่ทะเยอทะยานดิ้นรน ไม่กระวนกระวายเดือดร้อน ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่หงุดหงิด ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ใจเราดีสงบนิ่ง มันว่างโม้ด อารมณ์ทั้งหลายว่างโม้ดไม่มีอะไร ใจสงบมีความสุขความสบาย อันนี้แหละนำความสุขความเจริญมาให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า ดูเอาซี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> มีแต่หัวใจคนมันทุกข์ยาก หัวใจคนวุ่นวายเดือดร้อน นี่แหละให้ดูเอา นี่แหละบาป นี่แหละนรก เมื่อจิตเป็นอย่างนั้นแล้ว เวลาเราดับขันธ์ จิตนั้นก็นำเราไปทุคติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> เพราะฉะนั้นให้รู้จัก ศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ที่กายที่ใจของเรา เมื่อเราปฏิบัติอยู่ ศาสนามันก็เจริญอยู่ ถ้าเราทั้งหลายไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ประพฤติ ไม่ได้กระทำ ก็หมดศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> เหตุนี้เราจะนั่งสมาธิดูว่าจิตของเราตกในชั้นใดภูมิใด เช่น กามาวจรกุศลนี้แบ่งเป็น ๒ นัย แบ่งเป็นอบายภูมิอันหนึ่ง แบ่งเป็นฉกามาวจรสวรรค์อันหนึ่ง เรารู้ได้ยังไง แบ่งเป็นอบายภูมิ คือจิตเราทุกข์ จิตเราไม่ดี จิตเศร้าหมอง จิตวุ่นวาย นี่ไปทางอบายภูมิ ไปทางนรก จิตเราผ่องใส มีความเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส นี่เป็นฉกามาวจรสวรรค์ ทีนี้ให้เราพิจารณาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เห็นแต่ภายนอก ไม่มีแก่นสาร ไม่มีสาระ เราละได้ เรามาเห็นแต่สังขารร่างกายเท่านี้ มาเห็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ มาเห็นอัตภาพร่างกายนี้ มันเกิดจากนี้ทั้งหมด เราก็มาพิจารณาสังขารร่างกายเรานี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> จิตของเรามันมีมาก จิตดี จิตชั่ว จิตสุข จิตทุกข์ มันมีมนุษย์มีหลายชนิด นับแล้วมีถึง ๗ อย่าง มีมนุสสเดรัจฉาโน มนุสสเปโต มนุสสนิริเย ฯลฯ
    มนุสสเดรัจฉาโน ร่างกายเป็นมนุษย์แต่หัวใจเป็นเหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน ไม่รู้จักทำบุญให้ทาน ไม่รู้จักการกราบการไหว้ การเคารพนอบน้อม เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อดับขันธ์ลงไปแล้วก็ไปสู่สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีการกราบไหว้การทำบุญให้ทาน เรื่องเป็นอย่างนั้น
    มนุสสเปโต ใจเหมือนกับเปรต มันมีแต่โมโหโทโส อยากฆ่าอยากฟัน ตีรันฟันแทงกัน ขโมยโพยโจรอย่างนั้น พิจารณาดูซิ มนุษย์นี่แหละเป็น เมื่อดับขันธ์แล้วก็ไปเป็นเปรต
    มนุสสนิริเย มนุษย์เป็นนรก มนุษย์ใจเป็นนรก มนุษย์เกิดมาแล้วมีแต่ความทุกข์อกทุกข์ใจ มันกลุ้มอยู่ในใจ นี่แหละดูซี ดับขันธ์ไปแล้วก็ไปตกนรก มันก็ตกอยู่เดี๋ยวนี้แล้ว คือความทุกข์ความยากนี้แหละตัวนรก ไม่ได้อยู่ที่ดินฟ้าอากาศ ใจเราทุกข์ ใจเรายาก กลุ้มอกกลุ้มใจ นี่แหละพากันดูซี มันเป็นยังงี้แหละมนุษย์เรา จึงให้ภาวนา จะได้มาเลือกเฟ้นสิ่งเหล่านี้
    อันนี้ มนุสสเทโว แปลว่ามนุษย์สูง มนุษย์มีกิริยามารยาท รู้การกราบไหว้พระ ทำบุญให้ทาน รักษาศีลภาวนา เป็นมนุษย์ใจดี รู้จักความเมตตาซึ่งกันและกัน มีความอ่อนน้อมซึ่งกันและกัน มีเมตตาคน เมตตาสัตว์ เอ็นดูคน เอ็นดูสัตว์ มนุสโส แปลว่ามนุษย์สูงละ มนุสสเทโว มนุษย์ที่มีทาน มีศีล มีภาวนา ใจมีหิริโอตตัปปะ ใจมีความละอายต่อบาป กลัวบาป ใจดีมีความสุข ใจมีความสบ๊าย อกใจสบาย ดับขันธ์แล้วไปเป็นเทวบุตร เทวธิดา นี่เป็นอย่างนี้
    มนุสสพรหมา มนุษย์ผู้รักษาศีล ก็มีพรหมจรรย์ประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อภาวนาไป จิตมันว่างโม้ด เหมอนกะอากาศ ไม่มีที่ข้องมันละ เหลือแต่อรูปจิต มันว่างโม้ด ไม่มีอะไรที่ยึด ที่ว่าง ๆ เป็นมนุสสพรหมา ดับขันธ์แล้วก็ไปเป็นพรหม ท้าวมหาพรหม นางมหาพรหม
    มนุสสอรหัตโต เป็นพระอรหันต์ ดับกิเลสตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพชาติหมดแล้วเป็นพระอรหันต์ แน่ะ เป็นยังงั้น เป็นจากมนุษย์นี่แหละไม่ได้เป็นจากที่อื่น
    มนุสสพุทโธ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดสารพัดเญยยธรรมทั้งหลาย ไม่มีที่ปกปิด เป็นผู้รู้แจ้งโม้ด จึงได้วางศาสนาไว้อย่างนี้แหละ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    แต่เราทุกวันนี้ การที่ฟัง – ฟังกันทุกวัน แต่ไม่ปรากฏจะได้สำเร็จมรรคสำเร็จผล คือเราเป็นแต่ฟังแต่เป็นพิธี มิได้ฟังถึงธรรมถึงวินัย ถึงข้อปฏิบัติ ฟังแต่เป็นแต่พิธีเท่านั้น อันนี้การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านวางไว้ถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กายที่ใจของเรานี้เอง นี่เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย มิใช่อื่นเป็นธรรม มิใช่อื่นเป็นวินัย ท่านบอกว่า คือตัวของเรานี่แหละ เป็นธรรมเป็นวินัย
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ดูซิลมหายใจอยู่ที่ไหนเล่า ความรู้เราอยู่ที่ไหนเล่า รู้ว่าสุขก็ดี รู้ว่าทุกข์ก็ดี นี่แหละมาเปิดคัมภีร์ตรงนี้ ถ้าเราไม่เปิดคัมภีร์ตรงนี้แล้วเราไม่รู้จักจะพ้นทุกข์ได้ ถ้าเราน้อมเข้าภายในแล้ว มันจะรู้จัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> รูปดีจะรู้ได้อย่างไรเล่า ว่ารูปนั้นรูปนี้ มันไกลไปรวมสั้น ๆ แล้ว คือใจเราไม่ดี อันนี้รูปไม่ดี รูปดีเป็นอย่างไรเล่า คือใจเราดี นี่ – มันเป็นอย่างนี้ ให้พากันให้พิจารณา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ขันธ์ ขันธ์ก็แปลว่า กอง รูปขันธ์ นี่กองรูปอยู่นี่หมด นี่รูปขันธ์ รูปขันก็ได้แก่อะไร ขาสอง แขนสอง ศีรษะอันหนึ่ง อันนี้รูปขันธ์

    นี่ขันธ์อันนี้แหละ อยู่ในนี้ให้พิจารณารูปอันนี้ สิ่งรูปอันนี้มันเที่ยงหรือไม่เที่ยงละ ให้พิจารณาซี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> อธิบายให้ฟังแล้ว มันหลงอะไร ถ้ามันหลงรูป ก็ยกรูปอันนี้ หลงรูป เสียง กลิ่น รส นี่มันข้องตรงไหนแก้ตรงนั้นเดี๋ยวนี้จึงว่า สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน นี่รู้จักกรรมที่ทำ ฐานะที่ตั้ง เวลานี้เราตั้งฐานอะไร กรรมอันใดอยู่ ไปยึดอันใดอยู่ นี่เราต้องเพ่ง – ดูตรงนี้ ให้มันรู้ จิตของเรา ข้องอะไร มันหลงอะไร ต้องรู้จัก เมื่อเราจิตสงบได้แล้ว มันนิ่งแล้ว มันก็รู้จักที่ข้องมันรู้จักที่คา

    แน่ะ – เมื่อรู้จักแล้วก็ – ตัด นี่ – มันจะได้เป็นวิปัสสนาเกิดขึ้น

    นี่แหละพิจารณาซิ ผมของเรามันเป็นของสวยหรือเป็นของงาม หรือเป็นของสะอาด หรือเป็นของน่าเกลียด ให้พึงรู้พึงเห็นซี่ เห็นว่ามันสวยแล้ว ถ้าผมของเราหลุดใส่ข้าวหรือใส่อาหาร เราก็รับประทานมิได้ แน่ะ – เมื่อรับประทานอาหารไม่ได้ มันเป็นยังไงเล่า รวมแล้วก็เป็นของเกลียด แน่ะ

    ดูซี โลมาคือขน ตามสรรพางค์ร่างกายของเรา ดูซิ นี่ให้พิจารณาอันนี้

    นขา คือเล็บ ดูซีเล็บอยู่ในปลายมือปลายเท้าของเรานี่
    ทนฺตา คือฟัน – อยู่ในปากของเรา สิ่งเหล่านี้แหละ

    ตโจ คือหนัง หนังหุ้มอยู่นี่ – เป็นที่สุดรอบ เอาหนังนี่ออกดูแล้วเป็นยังไง หรือหนังคนอยู่ในจานข้าว เราจะรับได้ไหม

    นี่จำแนกแจกออกอย่างนี้ จึงว่า ภควา เป็นผู้จำแนกแจกธรรม

    เมื่อเราพิจารณาอันนี้ จิตของเรามันจะได้นิพพิทา ความเบื่อหน่ายในรูปในเสียง กลิ่น รส ทั้งหลายทั้งหมด นี่เราเห็นอย่างนี้ ให้เพ่งพิจารณานี่แหละจึงเป็นธรรม จึงเป็นผู้รู้ธรรมเห็นธรรม ถ้าเราไม่จำแนกแจกออกแล้วแหม – เลยถือว่า เราเป็นคนสวยคนงาม คนดี – แน่ะ – ก็เลยหลงอยู่ซี เลยเกิดทิฏฐิ เกิดมานะ เกิดกิเลส เกิดตัณหา เกิดราคะ เกิดโลภะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ เกิดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพชาติขึ้นมา

    นี่แหละ ใจเราเป็นหลักฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จกับดวงใจ สิ่งไร ๆ ทั้งหมด นี่แหละนำมาเตือนใจโดยย่นย่อนี้พอเป็นข้อปฏิบัติ ประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายได้สดับแล้ว ในโอวาทธรรมะคำสั่งสอนโดยย่นย่อนี้ พอเป็นข้อปฏิบัติแล้ว นำไปพิจารณาให้ทะลุหัวข้อใจความในพุทธศาสนา คือกายกับใจนี้ เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา เป็นที่ตั้งแห่งคุณพระพุทธเจ้า เป็นที่ตั้งแห่งพระธรรม เป็นที่ตั้งแห่งพระสงฆ์ เป็นที่ตั้งแห่งมรรคและผล

    เมื่อได้ยินได้ฟังดังนี้ โยนิโสมนสิการ พากันกำหนดจดจำไว้ แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ ฝึกหัดตนของตนเป็นไปในธรรมคำสั่งสอน

    แต่นี้ต่อไป เมื่อเราท่านทั้งหลาย เมื่อไม่มีความประมาทแล้ว จักประสบพบเห็นแต่ความสุข ความเจริญ

    ศาสนาจะเสื่อมเพราะเหตุใด

    เพราะเราไม่ประพฤติเราไม่ปฏิบัติ เรื่องเป็นอย่างนี้ ในคุณพระพุทธเจ้าเราก็ไม่มีความเคารพ ในคุณพระธรรมก็ไม่มีความเคารพ ในคุณพระอริยสงฆ์เราก็ไม่มีความเคารพ ในทานก็ไม่มีความเคารพ ในศีลก็ไม่มีความเคารพ ในภาวนาก็ไม่มีความเคารพ ในปฏิสันถารการต้อนรับซึ่งกันและกันก็ไม่มีความเคารพ เมื่อเราไม่เคารพใน ๗ สถานนี้แหละ เป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อม ถ้าพวกเรายังมีความเคารพอยู่ในสิ่ง ๗ สถานนี้แล้ว ศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ศาสนาจะเสื่อมมันเป็นอย่างไร ศาสนาเจริญเป็นอย่างไร ศาสนาจะเจริญได้คือเรามาทำกันอย่างนี้แหละ เข้าถึงคุณพระพุทธเจ้า เข้าถึงคุณพระธรรม เข้าถึงคุณพระสงฆ์ เข้าถึงคุณพระพุทธเจ้า คือเข้าถึงพุทธะ คือความรู้ เราวางกายให้สบาย แล้วเราระลึกถึงความรู้ของเรา ถ้าเรารู้จักที่อยู่ของพุทธะ ความรู้ ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว (เราก็ไม่สามารถ เข้าถึงพุทธะ) ในเบื้องต้นก็ให้นึกถึงคำบริกรรมเสียก่อน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ศีลนี่เป็นหลักพุทธศาสนา เราดูซิศีลคืออะไร ศีลคือความงามในเบื้องต้น งามท่ามกลาง และงามที่สุด ในบาลีท่านกล่าวว่า อาทิกลฺยรณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ กัลยาณะคือความงาม งามเบื้องต้นคืออะไรเล่า เป็นผู้มีศีล อะไรเป็นศีลเล่า ท่านบอกว่าสำรวมกาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ดูซิกายเราเรียบร้อย วาจาเราเรียบร้อย ใจเราเรียบร้อย ไม่ได้ทำโทษน้อยใหญ่ทั้งกายทั้งใจแล้ว นี่จึงเรียกว่าเป็นผู้มีศีล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ธรรมมันอยู่ตรงนี้ จะเรียนธรรม จะรู้ธรรม ให้มาดูตรงนี้ มาดูรูป ดูเวทนา ดูสัญญา ดูสังขาร ดูวิญญาณ นี้ให้พิจารณารูปนี้แหละ เพ่ง – เพื่อเหตุใด ท่านยังว่ามันหลงรูป หลงรูป รูปอันนี้มันมีอะไรจึงพากันไปหลงอยู่นักหนา พระพุทธเจ้าจึงได้วางไว้ให้พิจารณารูปนี้

    อายตนปัญฺญตฺติ นั่น เป็นบ่อเกิดแห่งความดีและความชั่ว อายตนะภายใน ภายนอก อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา ภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ รวมเข้ามาแล้วสิ่งนี้ก็อยู่ในรูปนี้ นี่เป็นอย่างนั้น

    ธาตุปัญฺญตฺติ บัญญัติธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมกันเข้าเรียกว่าตัวตน สัตว์บุคคล เราเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องมาพิจารณาในรูปนี้ ตั้งสติ เพ่ง – ดูรูปอันนี้ ดูเพื่อเหตุใด เพื่อไม่ให้หลง เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อเราเห็นแล้วไม่หลงรูปอันนี้ เราก็รู้จัก นะ รู้จัก โม หัวใจตัวเราจึงรักษาได้ แต่เวลานี้เราไม่รู้จัก นะ ไม่รู้จัก โม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=txt borderColor=#ffcc00 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD> ทุกสิ่งทุกอย่างมันเหลือแต่ของเปล่า ๆ สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติรู้เองเห็นเอง ถ้าตนไม่รู้ บุคคลอื่นบอกมันก็ไม่เชื่อ มันก็ไม่รู้ ถ้ารู้แล้ว ไม่มีใครบอกได้ มันเป็นอย่างนั้น คนว่าทุกวันนี้ศาสนาหมดคราวหมดสมัย พระอรหัตอรหันต์ก็ไม่มี มรรคผลไม่มีเสียแล้ว คนเข้าใจอย่างนั้นเสียมาก หมดคราวหมดสมัย แท้ที่จริงในนามธรรมคุณท่านบอกว่า อกาลิโก ไม่เลือกกาลเลือกเวลาเลือกฤดู ได้ผลอยู่เสมอ ธรรมะทั้งหลายมันหมดไม่เป็น เพราะว่าธรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ที่อื่นที่ไกลตัวของเรานี้เป็นธรรม มรรคผล การที่ไม่มี เพราะอาศัยคนไม่ปฏิบัติ เมื่อคนไม่ปฏิบัติแล้ว ก็เลยไม่มีมรรคไม่มีผลถ้าคนยังปฏิบัติอยู่ มรรคผลมันก็มีอยู่ตราบนั้น ถ้าคนไม่ปฏิบัติแล้ว ก็จะเอามรรคาจากไหนเล่า มรรคคือการกระทำ เมื่อเรากระทำแล้วก็จะได้รับผล นี่ไม่ได้กระทำแล้วจะเอาผลมาจากไหนล่ะ ท่านจึงว่า อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา แท้ที่จริงธรรมทั้งหลายมีแต่ไหนแต่ไรมา มันมีอยู่อย่างนั้น

    การประพฤติดีปฏิบัติดี นำไปทางดี ประพฤติไม่ดี ทำไม่ดี ปฏิบัติไม่ดี มันก็ไปทางต่ำ ไปทางไม่ดี นี่แหละ พากันเพ่งเล็งดูให้แน่นอนลงไปซิ จะสงสัยอะไรในธรรมในวินัยนี้ในศาสนานี้ ไม่ใช่สงสัยว่าตายแล้วจะเกิดไหม? เราเกิดมาแท้ ๆ ยังว่าไม่ได้เกิดอยู่ เราเกิดมาทั้งนั้นนั่งอยู่นี่ หรือใครไม่ได้เกิดมา มานั่งอยู่อย่างนี้หรือเป็นอยู่อย่างนี้เหรอ ต่างเกิดมาทั้งนั้นไม่ใช่หรือ! ตายแล้วก็ต้องเกิดซิ เวียนว่ายตายเกิด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด ไม่รู้กี่กัปกี่กัลป์อนันตชาติยังไม่รู้ตัว คิดดูซิ พุทโธ ให้มันรู้เสียซิ ให้มันรู้ตนรู้ตัวเสียซิ อย่าได้ไปหลงซิ นี่แหละความหลงของเราเป็นอย่างนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.vimokkhadhamma.com/
     

แชร์หน้านี้

Loading...