อาการแบบนี้ คืออะไร กายหายไปทั้งหมด ไม่รับรู้สิ่งรอบข้าง

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย rakjung2524, 22 พฤษภาคม 2014.

  1. rakjung2524

    rakjung2524 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +17
    เหตุการณ์คือ ผมได้บวชภาคฤดูร้อน ตอนอายุ 10 ขวบ และพระอาจารย์ ได้นำสวดมนต์ และนั่งสมาธิ แต่วันนั้น ผมมีอาการ ปวดหัวมาก เหมือนจะเป็นไข้ จะลาอาจารย์ไปนอน ก้ออายเพื่อนเณร ด้วยกัน

    ตอนนั่งสมาธิ ผมจึงได้ นั่งกำหนดพุท โธ ไปที่ศรีษะ ตรงที่ปวดมาก (ปกติ ดูลมหายใจ) แล้วอยู่ๆ จิตก็ดับวูบ ไม่มีร่างกาย ไม่มีสภาพแวดล้อม ไม่มีลมหายใจ ไม่มีความคิด มีเพียงเห็นความสว่างเหมือนตอนกลางวัน แล้วนิ่ง อยู่อย่างนั้น

    จนกระทั่งมีเพื่อน สามเณร องค์หนึ่ง มาเขย่าตัวปลุก จึงกลับคืนมาสู่โลกความเป็นจริง ที่ เพื่อนสามเณรลุกไปนั่งรอรับน้ำปาณะ อีกที่หนึ่งหมดแล้ว เหลือเพียงผม นั่งสมาธิเหลืออยู่องค์เดียว

    และอาการปวดหัว ที่รุนแรง ก็หายไปเหมือนปิดทิ้ง หลังจากออกจากสมาธิ

    หลังจากวันนั้น ผมก็นั่งสมาธิ มาเรื่อยๆ แต่ ไม่เข้าถึงสถาวะนั้นเลย อีกสักครั้ง

    อยากถามท่านผู้รู้ ทั้งหลายว่า สภาวะที่เกิดนั้น เรียกว่าอะไร และผมควรปฏิบัติอย่างไร ถึงจะเข้าถึงได้อีก หรือให้ได้มากกว่านั้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2014
  2. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ไม่มีใครเข้ามาตอบเลย เอาแบบนี้น่ะคุณเจ้าของกะทู้ แกล้งลืมๆเหตุการณ์นั้นไปก่อนน่ะ

    แล้วเริ่มฝึกใหม่ที่กะทู้นี้ กะทู้นี้เน้นฝึกให้เป็นผู้ชำนาญการเข้าออก แบบลืมตาและหลับตาน่ะ ไอ้ตัวอยากเข้าถึงอาการนั้นเป็นตัวปิดกันความก้าวหน้าค่ะ

    ลงสนามฝึกใหม่เลยได้เลย http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คำว่า "สภาวะ" หรือ "สภาวธรรม" หรือ "ปรมัตถธรรม" นั่นแหละ ชื่อของมัน คือมันเป็นอย่างนั้นของมันเองตามเหตุปัจจัยที่พอเหมาะพอดีของมัน ขืนใครไปตั้งชื่อเรียกสภาวะ นั้น ว่า นั่น ว่านี่ ผิดทั้งหมด จะพูดได้บ้างก็ว่าเป็นสมาธิระดับหนึ่งแค่นี้

    อยากจะเข้าถึงอีก ก็ปฏิบัติอย่างที่ทำนั่นแหละ แต่ต้องทำอย่างไม่มีความอยากจะเป็นเช่นนั้นอีก มุ่งปฏิบัติอย่างนั้นหรือทำ โดยไม่ต้องหวังผลสำเร็จเช่นนั้นเช่นนี้ เหมือนคนทำงานมุ่งหน้าทำงานไป เมื่อมันพอเหมาะพอดีของมัน ก็เข้าถึงภาวะเช่นนั้นได้

    สภาวะอย่างที่เล่ามา เคยมีคนทำได้ (เคยคุยกัน) เขานั่งตัวแข็งไม่รับรู้ซึ่งภายนอกเหมือนกัน ขนาดมีคนยกไปตั้งก็ยังไม่รู้สึก พอถึงเวลาที่กำหนดมันก็คลายออกมาเอง ....เขาบอกว่า ต่อมาจะทำให้เข้าถึงสภาวะเช่นนั้นอีก ก็ยังทำไม่ได้เหมือนกัน
     
  4. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    คุณกำหนดรู้ทุกข์ของการปวดหัวอยู่ ขณะที่มีสภาวะนั้นๆใช้หรือเปล่า

    ถ้าใช้ลองกำหนดรู้ทุกข์ใหม่ แต่กำหนดรู้ทมุกขืที่คุณสงสัยเรื่องนี้
    แทนที่คุณจะกำหนดรู้ทุกข์ที่ปวดหัว

    ลองจินตนาการถึงวันนั้น แล้วกำหนดรู้ทุกข์ ที่สงสัย ในสงสัยจะมีทุกข์ และต้องอยู่ข้างในสงสัย

    เชื่อว่าเกิดมีกำลังอะไรมาเกื้อกูลคุณ เพราะภาวนามีอานิสงค์ที่กำหนดรู้ทุกข์
    ใน หัว

    ทำแบบวันนั้นใหม่ แต่ไม่ใช่ทุกข์ ใน หัว
    เปลี่ยนเป็นทุกข์ในสงสัย ใ้หทุกข์อยู่ใน
     
  5. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    วางความอยากได้อารมณ์หรือสภาวะทุกอย่างที่จะเข้ามา ดูลมหายใจไปตลอดเวลา กำหนด ด้วย พุทธ โธ หรือ อะไรก็ได้ แล้วแต่ เราถนัด ก็ จะได้ สภาวะ เกิด ดับ ความไม่เที่ยง ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเราไปยึดสภาวะที่เกิดขึ้นมาอีก ก็ จะเกิด กิเลส ตัณหา อุปาทาน เข้ามาอีก ทำให้ จิตใจ ขุ่นมัว

    สาธุเจริญธรรม
     
  6. rakjung2524

    rakjung2524 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +17
    รู้แล้วว่าสภาวะนี้ เรียกว่าอะไร

    ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณ ทุกท่าน ที่เข้ามาตอบ แสดงความคิดเห็น

    ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าสภาวะ แบบนั้น เรียกว่าอะไร

    จากการสอบอารมณ์จาก
     
  7. rakjung2524

    rakjung2524 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +17
    รู้แล้วว่าสภาวะนี้ เรียกว่าอะไร

    ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณ ทุกท่าน ที่เข้ามาตอบ แสดงความคิดเห็น

    ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าสภาวะ แบบนั้น เรียกว่าอะไร

    จากการสอบอารมณ์จาก ww.larnbuddhism.com/grammathan/meditation3.html

    อาการนี้ เป็นอารมณ์ ของ ฌาน ระดับ ที่ 4 คือ ไม่มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เหลือเพียง เอกัคคตา

    ระดับนี้ จะแยก จิต ออกจากกาย เลยทำให้ ไม่รับรู้ สภาวะรอบข้าง ไม่มีลมหายใจ

    อาการสว่าง นิ่งอยู่อย่างนั้น เป็น เอกัคคตา และอุเบกขา

    ผมคิดว่า เป็นฌาณ ระดับที่ 4 แน่นอนครับ


    แต่ที่เสียดายคือ ผมเพียงเข้าได้โดยบังเอิญ ไม่สามารถเข้าได้บ่อยๆ จนเป็นวสี

    ตอนนี้กำลังฝึก อานาปานสติ สามารถเข้าที่ ปฐมฌาณ และทุติยฌาณอ่อนๆ เพราะไม่ค่อยได้ฝึกบ่อยนัก

    ที่อยากทราบคือ ทำใมอยู่ๆ ชาตินี้ผมไม่เคย เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาณ ตติยฌาน แล้วทำใม กระโดดมา จตุตถฌาน ได้เลย

    อาการแบบนี้ แสดงว่า ชาติก่อน ผมเคยปฏิบัติ มาก่อน หรือปล่าวครับ

    (ผมนั่งเองที่บ้าน ไม่มีครู อาจารย์ เลยมาสอบถาม ณ ที่แห่งนี้ครับ)
     
  8. remixsong

    remixsong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +177
    สิ่งที่เกิดขึ้นเป็น อาการอย่างหนึ่งของจิตที่ มีสมาธิครับ มันเกิดขึ้นโดยฉลับพลันแป๊บเดียวก็หายไป ไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก แสดงว่าชาติกาลก่อนอาจจะ เคยปฎิบัติมาถึงตรงจุดนี้ แต่ถ้าไปยึดติดตรงนี้มากไป อาจเกิดเป็น วิปัสสนูปกิเลส ได้ครับ อาจเกิดเป็นตัว โอภาส,ปีติ, ปัสสัทธ,สุขะ, ชาตินี้ให้เริ่มต้นฝึกใหม่ ตามแบบที่ถูกต้อง ใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์ ของอาการที่เคยเกิดขึ้น ว่าจะต้องวางอารมณ์อย่างไร ต้องปฎิบัติอย่างไรถึงจะเข้า สภาวะธรรม แบบนั้นได้อีก สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนเป็น จุดหมาย ที่ให้เราได้รู้ตำแหน่งที่ตั้งแล้ว เหลือเพียงการเดินทางที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้น แล้วเดินต่อไปถึงเส้นชัย
     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เป็นฌานที่ 5 ไม่ใช่ฌานที่ 4 ครับ
    สภาวะฌานที่ 5 เป็นอรูปฌาน เป็นฌานที่ไม่มีรูปแต่จะเป็นนิมิตรคล้ายว่าเราไปนั่งที่โล่งแจ้ง สว่างไปหมด แต่แสงสว่างนี้คล้ายแสงจันทร์มากกว่าแสงอาทิตย์ สว่างเย็นตา จะรู้สึกว่ามีเราอยู่ด้วย แต่มองไม่เห็นตัวเองเท่านั้น
    สภาพฌานที่4 คืออาการวูบนั้นละครับ เพียงแต่ของคุณน้อยเท่านั้น
    การเข้าฌานที่ 1-4 นั้นหลักจะเป็นกายานุปัสสนา หมายคือรู้กายเห็นกาย จากกายใหญ่สู่กายย่อย กายย่อยหมายถึงจุดใดจุดหนึ่งในร่างกาย
    การเข้าสู่อรูปฌานจะใช้เวทนานุปัสสนา คือความเจ็บปวดตามร่างกายจุดใดจุดหนึ่งเป็นอารมณ์
    หากไม่มีเวทนาให้เข้ามาเพ่งตรงกลางใบหน้า ที่จุดดั้งจมูกหัก เมื่อเพ่งเข้าก็จะเกิดเวทนา ก็จะต่อสู่อรูปฌานได้ครับ
    อารมณ์เวทนาท่านสอนให้ใช้ที่จุดดั้งจมูกหัก หากเป็นที่อื่นก็ให้น้อมมาที่จุดนี้ จุดอื่นนอกจากนี้พอเข้าที่ฌาน5แล้วมันจะหาย แต่ตรงนี้จะอยู่ บางครั้งก็หาย แต่ดูอยู่เรื่อยๆมันก็กลับมาอีก
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  10. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    แบบนี้ผมเคยเป็นเรียกฌาณสี่
    มีข้อดีคือให้รู้มีอยู่นั่น
    เมื่อรู้แล้วปัญญาเกิดตรงไหนกัน
    นั่นแหล่ะมันบอกให้คุณรู้ความจริง

    มันเป็นการเข้าถึงเพราะการนั่ง
    ถ้าไม่นั่งคนเราเข้าถึงได้ใหม
    ต้องได้สิขนาดนั่งยังเข้าถึงมีอยู่ไง
    ทำยังไงก็ให้ฝึกสติแบบเดินจงกรม

    การฝึกสติปัฏฐานสี่ต้องฝึกโดยไม่นั่งสมาธิ
    ฝึกเลยสิทุกอิริบาบทต้องฝึกได้
    เอาสติรู้อยู่กับกายดูทั้งกาย
    อย่าไปหมายในเวทนาหรืออารมณ์

    อยู่กับกายแต่รู้เห็นในทุกสิ่ง
    การทำงานจริงระหว่างกายกับใจนั่น
    เห็นมันคิดเห็นมันสร้างอารมณ์อย่าหลงไปกับมัน
    ฝึกถูกนั้นเพื่อเข้าหาฌาณสี่ที่เคยจำ

    ไม่จำเป็นต้องนั่งเพื่อเข้าหามันอีก
    นั่งยังไงมันก็หลีกไม่พบนั่น
    สภาวะเดิมแค่ให้รู้ว่ามีมัน
    สภาวะใหม่นั่นถึงจะมาให้พบเจอ
     
  11. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    เหมือนเรียนจบปอหนึ่งก็ไม่ต้องเรียนซ้ำในชั้นเก่า
    เพราะตัวเราเรียนมาแล้วจำได้นั่น
    ต้องเรียนชั้นใหม่วิชาใหม่ตามกำลัง
    สติปัญญานั้นมันต้องพัฒนาเอย
     
  12. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    นั่งสมาธิปัญญามันไม่เกิด
    จิตตะเหลิดเพราะนั่งหลับตาตัวใครตัวมันนั่น
    ถ้าลืมตามันก็จะรู่เห็นเหมือนๆกัน
    ถ้าหลับตานั่งลืมขึ้นมาเถียงกันตลอดเลย
     
  13. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    คนทั่วไปไม่เข้าใจสติปัฏฐานของพระพุทธเจ้า
    ท่านสอนเล่าเสร็จธุระทำไงนั่น
    นั่งคู้ขาขัดบัลลังค์ตั้งกายตรงพลัน
    สตินั้นอยู่เหนือดั่งจมูกไม่ออกไปไม่เข้ากาย

    ความรู้สึกทั้งหมดรับรู้หมด
    สติจดบนอากาศเหนือจมูกนั่น
    รู้ทั้งกายรู้นอกกายรู้พร้อมกันพลัน
    แต่ตานั้นไม่ไห้หลับใครพาหลับเอย

    การหลับตาคือการนั่งสมาธิ
    แต่ฝึกสติท่านให้นั่งหลับตาตอนไหน
    ฝึกสติคือรู้ตัวทุกอิริยาบทไง
    ก็ทำไปไม่ไช่นั่งสมาธิหรอกนะเอย
     
  14. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    หรือแปลง่ายๆอานาปาณสติอยู่กับลมเข้าลมออก
    ไม่ได้บอกนั่งหลับตาไช่ใหมนั่น
    ทำอะไรก็รู้ลมอยู่กับลมเข้าออกมัน
    เวทนากายรู้ความคิดรู้ทันนั่นคือฝึกสติเอย
     
  15. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    ฝึกสติแปลง่ายๆรู้ทันหมด
    ลมเข้าออกก็ทันหมดเบากายเบาใจหลาย
    สติอยู่กับลมเหมือนไม่จับที่ใจกาย
    เบาสบายถ้าจับลมแบบรู้ตัว
     
  16. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    ฝึกสติเพื่อให้รู้ทันกายใจหมด
    รู้ไม่หมดเรียกฝึกสติไม่สมหวัง
    ฝึกสติเพื่อรู้ทันให้หมดไม่มีอะไรปิดบัง
    เวทนาความคิดกายใจต้องสมหวังรู้ความจริงหมดเลย

    เมื่อรู้หมดถึงปลอยวางมันได้หมด
    ฝึกตามกฏฐานทั้งสี่ต้องตามฐาน
    กายเวทนาจิตต้องพ้นคิดด้วยฌาณกำลัง
    ถึงฐานธรรมจึงไม่มีอะไรปิดบังในตัวเอง
     
  17. bornstut

    bornstut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +217
    ฝึกสติไม่เป็นปัญญาก็ไม่เกิด
    นั่งสมาธิจิตเตลิดมีให้เห็น
    พวกบ้านิมิตรหลงตัวเองสุดลำเค็ญ
    ฝึกสติเป็นเกิดปัญญาปล่อยวางจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...