อัศจรรย์"แสงเหนือบูรพา"กับข่าวนาซ่าพบเมื่อปี2015(ภาพ&คลิป)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย 9@Phonlee, 7 ธันวาคม 2022.

  1. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    138056.jpg
    บทนำ...เพื่อเชิญชวนร่วมลงบันทึกเป็นข้อมูล)
    วันนี้มาตามล่า(ล่าฝัน)"แสงเหนือบูรพา"
    ใครเคยพบเห็นแสงนี้ที่ไหนบ้าง....ที่บ้านเรา
    เชิญเข้ามาเล่าสู่กันฟังหรือแชร์เป็นรูปภาพยิ่งดี
    ช่วงประมาณเดือนปีไหน ณ สถานที่ใด
    เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลนักท่องเที่ยวต่อไป
    ใครจะไปรู้ถ้าเกิดขึ้น ณ สถานที่ใดบ่อยครั้ง
    ที่นั่นอาจกลายเป็นจุดเช็คอินสำคัญก็ได้


    เช้าวันนี้จะนำภาพ"แสงเหนือบูรพา"
    อัศจรรย์ทางธรรมชาติที่เคยพบเห็น 2 ครั้งมาให้ชม

    คล้าย "แสงเหนือ"ที่เกิดขึ้นทางขั้วโลกเหนือ
    และ"แสงใต้"ที่เกิดขึ้นทางขั้วโลกใต้
    (คล้าย หมายถึงด้านความอัศจรรย์ทางธรรมชาติ)

    แสงเหนือ-แสงใต้ที่บางคณะทัวร์จัดโปรแกรมไปตามล่า
    อาจพอคาดคะเนวันเดือนที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้น
    แต่บางครั้งก็ผิดคาด.....ไปแล้ว"ผิดหวัง"กลับมา
    ที่ไม่ผิดคาดคือ "ความหนาวสั่นที่ติดลบ"

    แสงเหนือ-แสงใต้
    เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานของดวงอาทิตย์
    รวมทั้งองค์ประกอบอื่นเช่นชนิดของก๊าซในบรรยากาศ
    สนามแม่เหล็ก ระดับความสูงในแต่ละชั้นบรรยากาศ
    ช่วงเวลาและสภาพอากาศปลอดโปร่ง
    มีสีสรรและรูปลักษณ์แปลก...ชวนให้ตื่นตาตื่นใจ
    รวมทั้งที่เป็นลำแสงสีพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าชัดเจน

    ลำแสงสีน้ำเงินสีฟ้าหรือสีอื่นพุ่งขึ้นจากขอบฟ้า
    ทอดยาวพาดผ่านท้องฟ้าลงสู่อีกฟากฝั่ง
    จะเรียกว่า "แสงเหนือบูรพา"
    เป็นอัศจรรย์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเหนือท้องฟ้าทิศตะวันออก

    นิยามนี้คงไม่ต่างอะไรกับที่มาของชื่อแสงเหนือ-แสงใต้
    "แสงเหนือ" เป็นอัศจรรย์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทางขั้วโลกเหนือ
    "แสงใต้" เป็นอัศจรรย์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทางขั้วโลกใต้

    ครั้งแรกเมื่อปี 2014 ที่ชายหาดสามร้อยยอด จ.ประจวบฯ
    เช้าตรู่วันนั่นเห็นลำแสงสีน้ำเงินจากฟากฟ้าทิศตะวันออก
    พาดผ่านกลางท้องฟ้าไปลงสู่ขอบฟ้าอีกด้าน
    ....ครั้งนั่นตื่นเต้นกับแสงสีธรรมชาติที่งดงามตระการตา
    ถึงกับเปรยออกมาว่า...เป็นบุญตา...ที่ได้เห็น

    135405.jpg

    133198.jpg

    135411.jpg

    135410.jpg

    ครั้งที่ 2 พบเห็นที่เขาใหญ่เมื่อ29/11/2022
    (ระยะเวลาห่างจากครั้งแรกประมาณ 8 ปี)


    137395.jpg

    136849.jpg

    137406.jpg

    137406.jpg
    เช้ามืดวันนั่นช่วงก่อนที่ตะวันใกล้จะทอแสง
    ขณะที่กำลังฟินกับเมฆหมอกขาวโพนที่ละอ่อน
    ค่อยๆล่องลอยไปปะทะกับขุนเขาอันแข็งแกร่ง
    ขุนเขาคงอยู่...แต่เมฆหมอกแตกกระเจิง
    ...แล้วค่อยๆรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนอีกครั้ง


    พอเงยขึ้นไปมองบนท้องฟ้า Wow !
    ...โชคดีจัง...ที่ได้พบเห็นอีกครั้ง
    ท่ามกลางตะวันสีทองอร่ามจากฟากฝั่งวัดป่าภูหายหลง
    พร้อมด้วย"แสงเหนือบูรพา"พาดผ่านท้องฟ้าลงสู่หุบเขาอีกด้าน
    เป็นภาพอัศจรรย์ธรรมชาติที่งดงามตระการตายิ่ง
    136974.jpg


    136878.jpg
    เช้าตรู่วันรุ่งขึ้นท้องฟ้ายังดูสวยสดงดงาม
    แต่ไม่ปรากฏ"แสงเหนือบูรพา"มาให้ยลโฉม
    คงได้แต่เฝ้ารอ...หวังว่าสักวันหนึ่งคงได้พบเจออีก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  2. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    "แสงเหนือบูรพา"ที่ผมพบเห็นมา 2 ครั้ง
    ครั้งแรกปี 2014 ล่าสุดเมื่อ 29-11-2022
    น่าจะเป็นชนิดเดียวกับลำแสง"สตีฟ"
    ซึ่งค้นพบโดย"นาซา"เมื่อปี 2015
    และการพบเห็นของนักติดตามดูแสงเหนือมือสมัครเล่น
    นำไปสู่การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง
    โดยองค์การอวกาศยุโรป (ESA)

    ได้มีการตรวจสอบปรากฏการณ์แสงนี้โดยฝูงดาวเทียม SWARM
    (ดูรายละเอียดข้อมูลข้างล่างนี้)


    *************************************


    นาซาเผยภาพปรากฏการณ์แสงสีม่วง
    น่าตื่นตาบนท้องฟ้าที่ชื่อว่า "สตีฟ"


    นาซาเผยแพร่ภาพงดงามของปรากฏการณ์ "สตีฟ" (Steve) และ ทางช้างเผือก (Milky Way) เหนือทะเลสาบไชลด์ส ในแคนาดา เมื่อปี 2017

    องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) ได้เผยแพร่ภาพปรากฏการณ์แสงบนท้องฟ้าที่สวยงามตระการตาซึ่งมีลักษณะเป็นลำแสงโค้งสีม่วง

    องค์การนาซาพยายามศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์แสงปริศนาชนิดนี้มาตั้งแต่ปี 2015 โดยมีการสนับสนุนเงินทุนในโครงการวิทยาศาสตร์ที่ขอให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันบันทึกข้อมูลการพบเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์

    แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับลำแสงชนิดนี้ แต่มีการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้มันว่า Strong Thermal Emission Velocity Enhancement (การปล่อยความร้อนรุนแรงจากการเร่งความเร็ว) หรือ Steve (สตีฟ) เพราะเชื่อว่าเกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนหลายพันองศาเซลเซียสที่ด้านบนของชั้นบรรยากาศโลก

    หนึ่งสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทราบก็คือ สตีฟไม่ใช่แสงเหนือ หรือ ออโรร่า บอเรลลิส (aurora borealis) เพราะไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคในลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กโลก และเคยถูกพบเห็นมาแล้วบ่อยครั้ง เพียงแต่ไม่มีผู้ใดสังเกตถึงความแตกต่างและบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ

    นาซา บรรยายถึงลักษณะของสตีฟว่าเป็นลำแสงโค้งลีบเล็ก ทอดตัวเป็นแนวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก และมีความยาวหลายร้อยหรือหลายพันไมล์
    นำ-ปรากฏการณ์สตีฟ-1024x1003.jpg
    (ภาพ Ryan Sault / Albert Aurora Chasers)

    หลังการค้นพบดังกล่าว ได้มีการตรวจสอบปรากฏการณ์แสงนี้โดยฝูงดาวเทียม SWARM ขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งจากการบินผ่านกลุ่มก๊าซที่มีลักษณะคล้ายริบบิ้นยาว 25 กิโลเมตร และอยู่สูงเหนือพื้นโลก 300 กิโลเมตร พบว่าภายในกลุ่มก๊าซมีความร้อนสูงกว่าชั้นบรรยากาศโลกโดยรอบถึง 3,000 องศาเซลเซียส และกระแสก๊าซภายในไหลพุ่งไปทางตะวันตกด้วยความเร็วถึง 6 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่ากระแสอากาศในบริเวณเดียวกัน 600 เท่า

    ในตอนแรก กลุ่มผู้ค้นพบปรากฏการณ์แสงนี้เรียกมันว่า "โค้งโปรตอน" ทั้งที่ไม่ได้เกิดจากอนุภาคโปรตอนแต่อย่างใด ซึ่งในภายหลังมีสมาชิกของกลุ่มเสนอให้เรียกแสงบนท้องฟ้าชนิดนี้ว่า "สตีฟ" ตามชื่อที่ตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Over the Hedge (แก๊งสี่ขา ข้ามป่ามาป่วนเมือง) ตั้งให้กับสัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน


    ขอขอบคุณ...แหล่งที่มา BBC news ไทย


    *******************************
    (เดี๋ยวมาคุยต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2022
  3. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    (บทความ)ข่าวบทย่อย

    กลุ่มนักถ่ายภาพปรากฏการ์แสงเหนือกลุ่มหนึ่ง ได้จับภาพของลำแสงส่องประกายที่พาดผ่านท้องฟ้า ซึ่งสามารถมองเห็นได้บริเวณท้องฟ้าทางเหนือ ตัวอย่างเช่น Calgary หรือ Edmonton มองเห็นเป็นแสงสีม่วงเขียว บางบริเวณก็มองเห็นเป็นรูปเกลียว โดยครั้งแรกๆ ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแสงที่เกิดจากเครื่องบิน แต่จริงๆ แล้ว เป็นแสงที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยตั้งชื่อให้ว่า สตีฟ โดยอ้างอิงมาจากภาพยนต์อนิเมชั่นเรื่อง Over the Hedge ที่เหล่าสัตว์มองเห็นแสงพาดผ่านท้องฟ้า และได้ตั้งชื่อแสงนั้นว่า สตีฟ

    เครดิต : amusingplanet.com

    138810 - Copy.jpg
    เปิดดูไฟล์ 6085467
    Photo credit: Dave Markel


    steve-aurora-26 (1).jpg
    Meet Steve, a stream of hot, fast-moving gas,
    glowing over Porteau Cove Provincial
    Park in British Columbia, Canada, in May 2016.
    Photo credit: Vanexus Photography



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2022
  4. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    นักวิทยาศาสตร์มึน เมื่อ “สตีฟ” ไม่ใช่ “แสงเหนือ”

    (ภาพ-Ryan Sault / Alberta Aurora Chasers)


    นำ-ปรากฏการณ์สตีฟ-1024x1003.jpg

    ย้อนหลังกลับไปราว 2 ปีเศษ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2016 เกิดแถบแสงสีออกม่วงพาดเป็นวงโค้งในท้องฟ้าตอนเหนือของประเทศแคนาดา เป็นระยะทางร่วมๆ 1,000 กิโลเมตร กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ ลึกลับชวนอัศจรรย์ใจ ต่อบรรดานักนิยมเฝ้ามองปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่พบเห็น ซึ่งตัดสินใจขนานนามปรากฏการณ์นี้ว่า “สตีฟ

    “สตีฟ” ได้รับความนิยมในกลุ่มนักสังเกตการณ์สมัครเล่น ถึงขนาดมีการรวมกลุ่มกันตามล่าเพื่อสังเกตปรากฏการณ์ อย่างเช่นกลุ่ม “แอลเบอร์ทา ออโรรา เชสเซอร์ส” เป็นต้น

    เนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับที่เคยเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือหรือออโรราบ่อยๆ ทุกคนเลยคิดว่า “สตีฟ” คือส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์

    ดังกล่าว จนกระทั่งมีรายงานผลการศึกษาวิจัยปรากฏในวารสารวิชาการจดหมายเหตุงานวิจัยด้านธรณีฟิสิกส์ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ทีมนักวิจัยยืนยันว่า “สตีฟ” ไม่ใช่ปรากฏการณ์ออโรรา อย่างที่เข้าใจกัน

    ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยดังกล่าวยิ่งเพิ่มมิติลึกลับให้กับ “สตีฟ” มากขึ้นไปอีกเมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยยืนยันว่านี่คือปรากฏการณ์ลึกลับใหม่ที่แม้แต่วิทยาศาสตร์ยังระบุที่มาแน่ชัดไม่ได้

    ออโรรา หรือแสงเหนือ นั้นเป็นปรากฏ การณ์ที่เกิดจากอนุภาคพลาสมามีประจุที่หลุดออกมาจากดวงอาทิตย์ถูกลมสุริยะหอบข้ามอวกาศมากระหน่ำสู่โลก เมื่อผ่านเข้ามาถึงบรรยากาศโลกในชั้น เทอร์โมสเฟียร์ หรือราว 100 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก แล้วชนกับอนุภาคก๊าซในชั้นบรรยากาศดังกล่าวจนปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นแสง หรือออโรรา นั่นเอง

    แต่จากงานวิจัยของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลแกรี รัฐแอลเบอร์ทา ประเทศแคนาดา ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ระบุว่า “สตีฟ” ไม่ได้เกิดจากอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ดังนั้น จึงไม่ใช่ออโรรา แต่เป็นปรากฏการณ์ที่แตกต่างออกไปอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ยังอธิบายไม่ได้

    บี กัลลาร์โด-ลาคูร์ นักฟิสิกส์อวกาศประจำมหาวิทยาลัยแคลแกรี หนึ่งในทีมวิจัยดังกล่าว ระบุว่า ในขณะที่ออโรราจะเกิดเป็นแผ่นผืนหลากสีขนาดใหญ่บนท้องฟ้ายามค่ำคืน ตั้งแต่สีออกเขียวเรื่อยไปจนถึงสีน้ำเงินและแดง ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของปรากฏการณ์ดังกล่าว สตีฟกลับมีลักษณะเป็นแถบแคบๆ ดูคล้ายกับเป็นแถบริบบิ้น สีขาวแกมม่วง พาดผ่านท้องฟ้า โดยปกติมักปรากฏเป็นแถบเดียว โดยชดเชยความแคบเล็กของมันด้วยความยาว ซึ่งส่วนมากแล้วมักยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร นอกจากนั้น ในขณะที่ออโรรา เหมือนจะขนานไปกับท้องฟ้าในแนวนอน สตีฟกลับเกิดในลักษณะแนวตั้ง เหมือนเสียบตรงอยู่กับท้องฟ้ามากกว่า

    ทีมวิจัยร่วม 2 มหาวิทยาลัย ยังคงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “สตีฟ” ตามที่นิยมกันเช่นเดิม แต่ให้ที่มาไว้ว่าเป็นตัวย่อจากคำเต็มว่า “Strong Thermal Emission Velocity Enhancement-STEVE” ซึ่งเป็นคำอธิบายคุณลักษณะส่วนหนึ่งของสตีฟ จากข้อมูลที่เคยตรวจสอบได้ เมื่อมีดาวเทียมขององค์การอวกาศแห่งยุโรป (อีเอสเอ) โคจรผ่านแถบสตีฟที่เกิดเมื่อปี 2016 ดังกล่าวที่ระดับ 300 กิโลเมตรเหนือผิวโลก อุปกรณ์ในดาวเทียมตรวจจับได้ว่า ภายในแถบสีขาวแกมม่วงดังกล่าวคือก๊าซที่ร้อนจัดมาก โดยอุณหภูมิสูงถึง 3,000 องศาเซลเซียส และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเฉือนผ่านท้องฟ้าในบริเวณดังกล่าว

    ในงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ ทีมวิจัยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมในวงโคจรขั้วโลก ของ องค์การบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติ (โนอา)

    ในการยืนยันข้อมูลดังกล่าวและยืนยันว่าสตีฟไม่ได้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับออโรรา เพราะไม่มีอนุภาคสุริยะปรากฏอยู่

    บี กัลลาร์โด-ลาคูร์ ระบุว่า จากผลวิจัยของทีม มีความเป็นไปได้สูงว่า สตีฟคือปรากฏการณ์ที่เกิดจากกระบวนการในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศตั้งแต่ 80 กิโลเมตร จนถึง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก

    ส่วนจะเกิดขึ้นอย่างไรและด้วยเหตุผลใดนั้น นักวิทยาศาสตร์ยัง “ไม่รู้โดยสมบูรณ์แบบ” เลยทีเดียว ได้แต่เรียกปรากฏการณ์นี้เป็นเบื้องต้นว่า ปรากฏการณ์ “ท้องฟ้าเรืองแสง” เท่านั้นเอง

    ขอขอบคุณแหล่งที่มา มติชนออนไลน์

    www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_1108188
     
  5. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    บางคนอาจมีคำถามในใจว่า...
    โอกาสที่จะพบ “แสงเหนือบูรพา”
    มีความเป็นไปได้ไหม ?


    ในฐานะคนเคยเห็น "แสงเหนือบูรพา”มา 2 ครั้ง

    โดยไม่ตั้งใจเพราะปี2014 ที่เคยเห็น...ลืมไปแล้ว

    คนที่ยังไม่เคยเห็นลำแสงนี้

    เมื่อดูจากภาพถ่ายคงคิดว่าไม่มีอะไรน่าตื่นตา

    ขอตอบว่า “คิดผิด”เพราะภาพจริงตื่นตาตื่นใจกว่ารูปถ่ายหลายเท่า

    แค่ตาแรกที่เห็นหยิบกล้องมือถือใจยังระทึกเพราะกลัวภาพเด็ดจะหายไป

    (ไม่ต้องรีบร้อนเพราะมีเวลาถ่ายรูป10นาทึก่อนความคมชัดของสีจะจางลง)

    โอกาสที่จะพบเห็นไม่ง่าย คงขึ้นกับโชคเหมือนไปดูทะเลหมอกสวยๆ

    แต่ "แสงเหนือบูรพา" คงยากกว่ามากๆๆๆๆ

    อาจเห็นได้เมื่อไม่ตั้งใจ เช่นไปท่องเที่ยวทะเลหรือภูเขา

    ช่วงเช้าตรูก่อนที่พระอาทิตย์จะทอแสงสัก15-20นาที

    คือตั้งจุดประสงค์แค่มาดูแสงสีสวยๆจากพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า

    จะได้ไม่รู้สึกผิดหวังเมื่อไม่เห็น”แสงเหนือบูรพา”


    คราวหน้าไปเที่ยวลองชวนครอบครัวหรือเพื่อนที่ไปด้วยกัน

    ทำกิจกรรมตามล่า-ตามลุ้น”แสงเหนือบูรพา”

    เพื่อเพิ่มสีสันสนุกๆในทริปนั่น


    หวังว่าสักวันหนึ่งคงได้ Wow ! Wow!

    พบเจอ "แสงเหนือบูรพา" ดังใจหมายนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2022
  6. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    รูปข้างบนของจขกท มันเป็นเงามากกว่าแสงครับ แสงสีแดง ๆ ของท้องฟ้าตอนเย็น เกิดจากการหักเหแสงผานชั้นบรรยากาศ กอนที่ดวงอาทิตย์จะตกไม่นาน ตอนดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า มันสามารถอยู่ใต้เมฆได้ ถ้ามองจากมุมมองจองมนุษย์ปกติ แล้วบังเอิญมีเมฆแแถว ๆ นั้น ที่ทำมุมอยูเหนือดวงอาทิตย์ถ้าเทียบกับระดับสายตาเรา ไปอยูเหนือดวงอาทิตย์ในจุดนั้นพอดี ทำให้ตรงนั้นเกิดเงาที่ดูเหมือนแสงขึ้นมา เพราะฉากหลังมันเป็นท้องฟ้า เราก็เลยไม่เห็นว่าเงาของเมฆมันทะมึน เลยดูเหมือนเป็นแสง ก็แค่นั้นครับ
    ช้นบรรยาการแตละชั้นมีความหนาแน่นต่างกันครับ มันจึงเป็นปริซึมตามธรรมชาติ มันจึงมีโอกาศทีแสงสีฟ้าจะหักเหเข้าตาเราจากชั้นบรรยากาศชั้นอื่นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  7. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720

    ขอบคุณครับคุณzalievan
    "แสงสีแดง ๆ ของท้องฟ้าตอนเย็น
    เกิดจากการหักเหแสงผ่านชั้นบรรยากาศ
    ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะตกไม่นาน
    ตอนดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า"


    เป็นมุมมองที่น่าสนใจ
    ต่อกรณีที่ดวงอาทิตย์ใกล้ตกจะเกิดภาพดังที่กล่าว

    ผมอาจจะระบุไม่ชัดเจนว่า
    ภาพ"แสงเหนือบูรพา"ทุกภาพ
    ที่ส่งให้ดูเกิดขึ้นตอนเช้ามืด
    เวลาประมาณก่อน06.00ถึงประมาณ06.10
    เวลาแค่กะประมาณคร่าวๆ
    (รู้เพียงว่าเริ่มถ่ายรัวๆตั้งแต่ฟ้ายังสลัวๆ)

    คนที่ชื่นชอบดูแสงสีพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าตรู่
    จะรู้ว่าท้องฟ้าและบรรยากาศรอบๆ
    เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ4-5วินาที

    ยินดีครับที่ร่วมกันแสดงคคห.
    ขอบคุณครับ
     
  8. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    อ่อ ตอนเช้า ตอนเย็น ดวงอาทิตย์มันอยูใต้เมฆได้เหมือนกันแหละครับ
    ส่วนตัวผมชอบปรากฎการณ์สตีฟมากกว่านะครับ

    https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_719078
     
  9. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า.....
    ไม่ว่าจะแสงเหนือ ,แสงใต้ ,แสงสตีฟ
    หรือแสงเหนือบูรพา หรือแสงอื่นที่อาจพบเห็นต่อไป
    ล้วนมีปัจจัยหรือองค์ประกอบหลากหลายเข้ามากระทบ
    จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์ทางธรรมชาติ
    (รวมทั้งแสงที่คุณZalievan พูดถึงก็เช่นกัน)


    ส่วนประเด็นที่ว่าเกิดจากการหักเหของแสง
    ผมเคยได้ยินและเคยเห็นลำแสงนั่นบ่อย
    ความยาวสั้นๆ สีจางเหมือนเป็นเงา
    และเห็นแค่เวลาสั้นๆเดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว
    เกิดขึ้นในช่วงดวงอาทิตย์กำลังทอและยอแสง
    เป็นภาพธรรมชาติปกติที่เห็นจนชินตา

    แต่ “แสงเหนือบูรพา” ต่างกันเยอะเลย
    ลักษณะเป็นแถบลำแสงสีน้ำเงิน(สีฟ้า)ที่ชัดเจน
    พุ่งขึ้นจากขอบฟ้าทิศตะวันออก
    ทอดยาวผ่านท้องฟ้า(แต่สีช่วงกลางฟ้าจะบางลง)
    แล้วจะชัดเจนอีกครั้งก่อนโค้งลงสู่ขอบฟ้าทิศตะวันตก
    (เป็นการเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งทิศตะวันออก-ตะวันตก)
    ส่วนจะไปไกลอีกร้อยหรือกี่พันกม.(เหมือนสตีฟ)ไม่รู้คร๊าบ
    เพราะไม่สามารถไล่ถ่ายตามลำแสงนั่นได้
    แต่คาดว่าคงคล้ายกับพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
    ...ระยะทางคงไม่จบอยู่เพียงแค่ที่ตาเห็น

    (หรือใครมีรูปประมาณคล้ายที่ผมลงไว้
    หรือลำแสงสวยแปลกตา
    ช่วยแชร์ให้เพื่อนสมาชิกได้ดูบ้าง...ก็ดีเนอะ
    หรือแค่เข้ามาเล่าเรื่องราวที่เคยพบเห็น...ก็ดีใจ
    เพราะต้องการรวบรวมรูปและเก็บข้อมูลไว้
    (ตามบรรทัดแรกที่ผมจั่วหัวไว้ในกระทู้นี้)
     
  10. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    ลำแสง "สตีฟ"

    138809.jpg


    138810 - Copy.jpg

    "สตีฟ" พุ่งจากทิศตะวันออกทอดยาวผ่านฟากฟ้า
    โค้งลงสู่ด้านทิศตะวันตก
    "แสงเหนือบูรพา" ก็เช่นกัน

    (ตามข้อมูลข่าว)รูปที่เห็นเฉกสีออกม่วง

    (จากข้อมูลข่าว)เฉกสีที่ต่างกัน
    ขึ้นอยู่กับระดับความสูงที่ก่อให้เกิดลำแสง
    ระดับความสูงต่ำกว่า100กม.มีก๊าสไนโตเจนมาก
    ลำแสงจะออกมาเป็นสีน้ำเงินหรือสีฟ้า
    ส่วนสีอื่นๆเกิดขึ้นเหนือความสูง120กม.ขึ้นไป
     
  11. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    เบื้องต้นผมเชื่อว่า “แสงเหนือบูรพา”
    มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายลำแสง “สตีฟ”


    (จึงขอนำข้อมูลข่าวสารมาประกอบ)

    ***นาซา บรรยายถึงลักษณะของสตีฟว่าเป็นลำแสงโค้งลีบเล็ก ทอดตัวเป็นแนวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก และมีความยาวหลายร้อยหรือหลายพันไมล์)

    ***นาซา ได้เผยแพร่ภาพปรากฏการณ์แสงบนท้องฟ้าที่สวยงามตระการตาซึ่งมีลักษณะเป็นลำแสงโค้งสีม่วง

    ***ย้อนหลังกลับไปราว 2 ปีเศษ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2016 เกิดแถบแสงสีออกม่วงพาดเป็นวงโค้งในท้องฟ้าตอนเหนือของประเทศแคนาดา เป็นระยะทางร่วมๆ 1,000 กิโลเมตร กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ ลึกลับชวนอัศจรรย์ใจ

    ***นักฟิสิกส์อวกาศประจำมหาวิทยาลัยแคลแกรี หนึ่งในทีมวิจัยดังกล่าว ระบุว่า ในขณะที่ออโรราจะเกิดเป็นแผ่นผืนหลากสีขนาดใหญ่บนท้องฟ้ายามค่ำคืน ตั้งแต่สีออกเขียวเรื่อยไปจนถึงสีน้ำเงินและแดง ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของปรากฏการณ์ดังกล่าว สตีฟกลับมีลักษณะเป็นแถบแคบๆ ดูคล้ายกับเป็นแถบริบบิ้น สีขาวแกมม่วง พาดผ่านท้องฟ้า โดยปกติมักปรากฏเป็นแถบเดียว โดยชดเชยความแคบเล็กของมันด้วยความยาว ซึ่งส่วนมากแล้วมักยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร นอกจากนั้น ในขณะที่ออโรรา(แสงเหนือ) เหมือนจะขนานไปกับท้องฟ้าในแนวนอน สตีฟกลับเกิดในลักษณะแนวตั้ง
     
  12. 9@Phonlee

    9@Phonlee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    1,896
    ค่าพลัง:
    +4,720
    ความสำคัญหรือแก่นแท้ของกระทู้นี้อยู่ที่…
    ความอัศจรรย์ของ “แสงเหนือบูรพา”


    ซึ่งมีโอกาสพบเห็นยากมาก
    แต่บังเอิญผมได้พบด้วยตนเอง2ครั้งในรอบ8ปี
    “และได้บันทึกรูปถ่ายและวิดีโอเก็บไว้”
    ส่วนเหตุที่ทำให้เกิดลำแสงนั่นเป็นแค่แก่นสารรอง
    แต่ก็สนใจเช่นกัน เพราะสนุกและเพลินดี...
    ยามว่างจึงพยายามค้นหาแหล่งข่าวสาร

    เพราะรู้ว่า...ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสรุปความเห็น
    แม้แต่ “สตีฟ” จนถึงวันนี้ทีมนักวิจัยหลายกลุ่ม
    หลายแขนงจากต่างประเทศ
    ยังสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่

    หรือเกิดขึ้นอย่างไรและด้วยเหตุผลใดนั้น
    นักวิทยาศาสตร์ยัง “ไม่รู้โดยสมบูรณ์แบบ” เลยทีเดียว


    ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยบางแห่ง
    ยังเพิ่มมิติลึกลับให้กับ “สตีฟ” มากขึ้นไปอีก
    เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยยืนยันว่า
    นี่คือปรากฏการณ์ลึกลับใหม่
    ที่แม้แต่วิทยาศาสตร์ยังระบุที่มาแน่ชัดไม่ได้



    ********************************
    (วันนี้ผมขอสรุปไว้แค่นี้ก่อนนะครับ)
    ไว้พบข้อมูลข่าวสารประเภทนี้จะนำมาแชร์เพิ่ม
     

แชร์หน้านี้

Loading...