"อะควาเรียม" โลกใต้สมุทร

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 13 ธันวาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>12 ธันวาคม 2548 11:01 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อุโมงค์ใต้น้ำของสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โซน Ocean Theatre</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>Ragged-tooth Shark</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อุโมงค์ใต้น้ำของสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โชว์การให้อาหารปลาฉลาม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>การดูแลปลาฉลามเสือทรายที่เพิ่งขนย้ายมาถึง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>มร.เจฟ ออลสัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ภาพปะการังสีสันงดงาม และมวลหมู่ปลาทะเลที่แหวกว่ายเป็นฝูงใหญ่ ก่อนแตกฮือเมื่อมีสัตว์นักล่าอย่างฉลามว่ายโฉบเข้าไปใกล้ ท่ามกลางผืนน้ำสีฟ้าครามใสนั้นดึงดูดสายตาให้ชวนมองอย่างไม่รู้เบื่อ ถ้าหากคุณไม่ใช่นักดำน้ำ โอกาสเดียวที่จะได้สัมผัสบรรยากาศแห่งโลกใต้ท้องทะเลแบบนี้ นอกจากนั่งหน้าจอทีวีแล้วก็ต้องเสียเงินเพื่อซื้อตั๋วเข้าไปชม "อะควาเรียม" เท่านั้น

    อะควาเรียมในเมืองไทย

    "อะควาเรียม" หรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำนั้น นับว่ามิใช่ของใหม่ในสังคมไทย เห็นได้จากจำนวนอะควาเรียมทั้งของรัฐและเอกชนมากมาย อาทิ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก, "วังปลา" ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร, สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ม.บูรพา บางแสน, สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต เป็นต้น โดยเฉพาะ 2 แห่งหลังนั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเปิดทำการมาได้หลายสิบปีแล้ว

    นอกจากนี้ ยังมีอะควาเรียมขนาดเล็กของรัฐอีกหลายแห่ง อีกทั้งอะควาเรียมของเอกชนที่เพิ่งเปิดได้ไม่นานอย่าง อันเดอร์วอเตอร์เวิร์ล พัทยา รวมทั้ง อะควาเรียมมูลค่ากว่า 900 ล้านบาท ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างขององค์การสวนสัตว์ จ.เชียงใหม่ ท่ามกลางความขัดแย้งและกระแสข่าวมากมาย ถึงการก่อสร้างที่มีปัญหาส่อเค้ารางจะเป็นเกมการเมือง เพื่อแย่งชิงอะควาเรียมที่กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาโปรเจกต์ของโครงการเชียงใหม่เวิร์ล

    ล่าสุด พร้อมๆ กับการแกรนด์โอเพนนิ่งของ "สยาม พารากอน" ศูนย์การค้าระดับเวิร์ลคลาสใจกลางกรุงเทพมหานคร ก็มีการเปิดตัวอะควาเรียมแห่งใหม่ล่าสุดของเมืองไทย "สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล" อุทยานสัตว์น้ำระดับโลก


    "สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล" อุทยานใต้สมุทรกลางกรุง

    ข้อมูลระบุว่า บริษัท สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ โอเชียนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจอุทยานสัตว์น้ำอันดับ 1 ของโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์กว่า 15 ปี ปัจจุบันโอเชียนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป เป็นเจ้าของธุรกิจอุทยานสัตว์น้ำระดับโลกถึง 4 แห่ง อันได้แก่ บริสเบน และเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย, นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และเมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้

    สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล ใช้เงินลงทุนไปกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท มีพื้นที่จัดแสดงขนาด 10,000 ตร.ม. (เทียบเท่ากับสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานสากล 2 สนาม) จุน้ำได้มากถึง 4 ล้านลิตร (เทียบเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก 3 สระ) ถือเป็นอุทยานสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานี้

    นอกจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ระบบกรองน้ำทะเลเทียมที่ใช้ภายในอะควาเรียมซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีมูลค่ากว่า 10 ล้านบาทแล้ว จุดเด่นของ สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล ได้แก่ อุโมงค์ใสใต้น้ำเปิดมุมมองกว้างถึง 270 องศา, สามารถชมชีวิตสัตว์ใต้ทะเลได้รอบทิศทาง 360 องศา (ในพื้นที่วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 10.5 เมตร) และมีแท็งก์แสดงความสวยงามของปะการัง "Deep Reef" สูงถึง 8 เมตร

    ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับอะควาเรียมแห่งอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกแล้ว นอกจากออสเตรเลีย สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล นับเป็นอะควาเรียมแห่งที่ 2 ที่สามารถชมได้ 360 องศา แต่ความยาวของอุโมงค์ใสใต้น้ำนั้นก็ยังมีความยาวน้อยกว่า อะควาเรียม "อันเดอร์วอเตอร์ เวิร์ล" ของสิงคโปร์ ที่ยาว 83 เมตร และสั้นกว่า "เซี่ยงไฮ้ โอเชี่ยน อะควาเรียม" ที่มีอุโมงค์ทางเดินใต้น้ำที่ยาวที่สุดถึง 155 เมตร

    ด้านอัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 450 บาท เด็ก 280 บาท นั้น มีบางเสียงติงว่าออกจะแพงเกินไปหน่อยเมื่อเทียบกับค่าครองชีพของคนไทย แต่อีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่าเหมาะสมดีแล้วกับเงินลงทุนมหาศาลและความรู้ที่จะได้รับตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับอัตราค่าเข้าชมอะควาเรียมของต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่จะแพงกว่าของไทยเกือบเท่าตัว

    ในโซนอื่นๆ จากทั้งหมด 7 โซนของสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล ยังมีการจัดสภาพป่าดิบชื้น แสดงปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และรวบรวมสัตว์น้ำที่หายากจากทั่วโลก กว่า 3 หมื่นชีวิต จาก 400 สายพันธุ์ เช่น หมึกวงแหวนฟ้า, นกเพนกวิน, ฉลามเสือทราย, ฉลามงวงช้าง, ปลามังกรลีฟฟี่, ปูแมงมุมยักษ์ และอื่นๆ

    ด้านการขนย้ายสัตว์น้ำเข้าประเทศนั้น ทางสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล ใช้ระบบการขนส่งทางอากาศ โดยในแต่ละขั้นตอนจะมีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และมีการขออนุญาตเข้าไปดำเนินงานในเขตสนามบิน รวมทั้งประสานกับกรมประมงทุกขั้นตอน กว่า 10 เที่ยวบินในการขนย้ายนั้น สัตว์แต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน วิธีการจัดการก็ย่อมแตกต่างกัน บางชนิดต้องขออนุญาตจากหลายหน่วยงาน สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใดที่หายากก็จะนำมาจากการเพาะพันธุ์ของบริษัทแม่ที่ออสเตรเลีย แม้จะมีปัญหาติดขัดเรื่องเอกสารและระบบราชการบางอย่างบ้าง แต่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดล้วนได้รับการระมัดระวังในการขนส่งเป็นอย่างดี

    นับตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางนั้น อาจมีสัตว์บางชนิดเสียชีวิตระหว่างทางไปบ้าง แต่ทางคณะทำงานรับรองแข็งขันว่า เมื่อรับสัตว์ต่างๆ ออกจากดอนเมืองนั้น ไม่มีชีวิตใดสูญเสียขณะอยู่ในมือพวกเขาเลย รายละเอียดต่างๆ แม้กระทั่งอุณหภูมิของน้ำ จะถูกระบุมาให้ปฏิบัติตามโดยผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด เวลาในการขนส่งถูกคำนวณอย่างแน่นอน เพราะหากช้าไปไม่กี่นาที สิ่งมีชีวิตสูงทั้งคุณค่าและมูลค่านั้นอาจตายได้

    โดยธรรมเนียมการขนส่งสิ่งมีชีวิตบางชนิดนั้นจำเป็นต้องน็อกสัตว์ให้สลบเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างการขนส่ง แต่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์อย่างบริษัทฯ จะทราบว่า หากน็อกแล้วจะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูให้สัตว์กลับมาสดชื่นเป็นเดือน จึงเลือกที่จะขนส่งมาแบบไม่น็อก ทางทีมงานจึงจะมีวิธีการทำให้สัตว์เฉื่อยหรือทำกิจกรรมน้อยลง เช่น ทำให้น้ำเย็นกว่าปกติโดยใช้แบตเตอรี่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของน้ำ แต่ก็ต้องไม่เย็นจนเกินไป รวมทั้งรถตู้ที่มีตัวควบคุมอุณหภูมิ

    ตัวอย่างเทคนิคหนึ่งในการขนส่ง คือ การขนส่งปลาฉลามในล็อตแรกๆ ต้องรักษาอุณหภูมิ ทางสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล ก็ต้องดีลกับผู้ส่งทางแอฟริกาใต้เป็นพิเศษ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการดีไซน์แพกเก็จจิ้งใหม่จากถังเหลี่ยม มาเป็นถังกลม เพื่อให้ฉลามได้มีโอกาสว่ายวน ซึ่งจะทำให้ฉลามเกิดผ่อนคลายมากขึ้นระหว่างเดินทาง

    มร.เจฟ ออลสัน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล จำกัด เปิดเผยว่า พันธุ์สัตว์น้ำที่จะนำมาจัดแสดงนั้น จะมีทั้งสายพันธุ์ที่มาจากประเทศไทย และประเทศต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ "ปลาฉลามเสือทราย" พันธุ์ Carcharias taurus ซึ่งมาจากทางตอนใต้ของแอฟริกา ซึ่งเป็นพระเอกตัวจริงของทางสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล โดยจะนำมาจัดแสดงอยู่ในส่วนของโซน Open Ocean ที่จำลองการอาศัยอยู่รวมกันของหมู่ฝูงปลาอันชาญฉลาด กับสัตว์ที่ชอบพรางตัวอยู่ในก้นทะเลลึก

    มร.เจฟ กล่าวทิ้งท้ายว่า "บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า ฉลามเสือทราย ซึ่งเป็นหนึ่งในไฮไลต์สำคัญ จะกลายเป็นขวัญใจของผู้ที่มาเยี่ยมชม พร้อมๆ กับสัตว์น้ำอีกกว่า 400 ชนิดที่จะมาเปิดโลกแห่งสีสัน ความน่าพิศวง และความชาญฉลาดของชีวิตใต้ท้องทะเลลึกให้ผู้ที่เข้าชมได้เห็นอย่างใกล้ชิด"

    เสียงจากคนรักทะเล

    ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทะเล กล่าวถึงอะควาเรียมในฐานะคนรักทะเลว่า ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า สำหรับบางแห่ง เช่น ในห้างสรรพสินค้าที่นำปลามาใส่ตู้ให้คนดู เขาไม่ถือว่าเป็นอะควาเรียม "อย่างนั้นเขาเรียกว่า การเอาปลามาโชว์ให้ตาย นั่นมันคนกรณีกัน มันเป็นการตกแต่ง ผมไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว"

    "ในกรณีของอะควาเรียมซึ่งจริงๆ แล้วมองในสองแง่ แง่หนึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่าลืมว่าคนที่สนใจทะเล ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถไปทะเลได้ เราพูดกันถึงเด็ก 6-7 ขวบ พูดถึงคุณลุงคุณป้าอายุ 60-70 ซึ่งการไปดำน้ำ มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะฉะนั้น ถ้าเขารักทะเลแล้ว เขาก็อาจจะอยากเรียนรู้เกี่ยวกับทะเล โดยเฉพาะเด็กๆ นี่ โอกาสที่เขาจะได้ดูมันก็จะต้องใช้อะควาเรียมเข้ามาประกอบด้วย ถึงจะได้เห็นของจริง เพราะในมุมมองหนึ่งก็คือว่า ถ้าเขามาดูปลาในอะควาเรียมแบบนี้ เขาก็อาจจะไม่เลี้ยงปลาเองก็ได้ มันก็เป็นมุมมองที่ช่วยอนุรักษ์ และช่วยให้ความรู้"

    การที่เมืองไทยมี Aquarium เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป นับเป็นสิ่งที่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรละเลยการดูแลคุณภาพน้ำ สร้างระบบนิเวศน์ที่ดีและเหมาะสมให้กับปลา ซึ่งจะต้องมีการวิจัย ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล

    แต่อีกในมุมมองหนึ่งก็คือ หากอะควาเรียมไม่ได้รับการดูแลที่ดี ขาดนักวิชาการที่มีความสามารถ ไม่มีระบบที่เป็นมาตรฐาน ปลาก็ย่อมตาย ดร.ธรณ์กล่าวว่า อะควาเรียมหลายแห่งพอปลาตายก็ไปซื้อปลามาใหม่ หรือปลาป่วยก็ซื้อใหม่แล้ว เพราะว่าค่ารักษาปลาแพงกว่าค่าซื้อปลาใหม่

    "บางแห่งก็คิดว่าเงินสร้างได้ โดยที่ไม่คิดว่าจริงๆ แล้วอะควาเรียมสร้างไม่ยาก แต่ทำให้ปลาในอะควาเรียมไม่ตายมันยาก มันมีบทเรียนหลายต่อหลายแห่งแล้วที่ลงทุน 100-200 ล้าน สร้างเสร็จแล้วก็ปลาตายหมด แล้วก็ซื้อมาใหม่ปลาก็ตายหมด จนต้องหยุดไปเลย นี่พูดถึงของภาครัฐนะครับ"

    ฉะนั้นแล้ว ในทัศนะของเขาจึงขึ้นอยู่กับว่าอะควาเรียมที่สร้างขึ้นมามีการเตรียมระบบ เตรียมความพร้อม รวมทั้งการให้ความรู้ด้วยว่าอยู่ในระดับไหน โดยเฉพาะอะควาเรียมของภาครัฐนั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะอะควาเรียมที่มีส่วนใหญ่นั้น มักจะเน้นโชว์ความสวยงามซึ่งเป็นเพียงเปลือกนอก ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่อยู่ลึกลงไปอย่างความรู้ จะมีก็เพียงแต่อะควาเรียมที่บางแสน และภูเก็ตเท่านั้น ที่เข้าตา ดร.ธรณ์ เนื่องจากเป็นศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์น้ำควบคู่ไปด้วย

    "ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ทุกวันนี้ทุกคนอยากจะทำอะควาเรียมกันหมด เท่าที่ผมได้ยินมาก็เป็นสิบๆ โครงการ ตั้งแต่ อบต. อบจ. ต่างๆ นี้น่าเป็นห่วงมากเพราะอะควาเรียมไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะปลาทะเล ถ้าจะเอาเงิน 200-300 ล้าน ไปลงทุนสร้างอะควาเรียมใหม่โดยที่ไม่มีระบบรองรับ จะไปจ้างคนมาเพื่อเลี้ยงปลา แล้วคนที่จะเลี้ยงปลาตู้ได้จริงๆ มันมีไม่มากหรอกครับ แล้วยิ่งระดับใหญ่ขนาดอะควาเรียมมันต้องอาศัยความชำนาญ อาศัยระบบรองรับ แล้วยิ่งไปจ้างเขาด้วยเงินเดือนข้าราชการก็คิดเอาเองแล้วกันครับว่าเขาจะมาทำไหม แล้วก็ระบบต่างๆ ก็มักจะมีปัญหา"

    ส่วนกรณีการนำสัตว์ใกล้สูญพันธุ์มาเลี้ยงในอะควาเรียมนั้น ดร.ธรณ์กล่าวว่าเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาแต่ละกรณี ไม่อาจพูดแบบเหมารวมได้

    "ขึ้นอยู่กับแต่ละอะควาเรียมด้วยว่า ต้องแสดงความโปร่งใส ว่าระบบของเขาเป็นยังไง บอกผู้ชมว่าสัตว์ที่คุณกำลังเห็นอยู่นี้เป็นสัตว์อนุรักษ์ใกล้จะสูญพันธุ์นะ แต่เราได้ปรึกษาและร่วมดูแลกับกรมประมง อย่างเช่น เต่าทะเลบางแห่งก็มีข้อตกลงกับกรมประมง เนื่องจากทางกรมไม่มีที่เลี้ยงก็เอามาฝากอะควาเรียมไว้ ก็เลี้ยงไปด้วยให้คนชมไปด้วย อย่างนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเป็นการไปจับสัตว์จากทะเลมาเพื่อโชว์ผมก็ไม่เห็นด้วย"

    นอกเหนือจากทวงถามถึงหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลอะควาเรียมโดยตรงแล้ว ดร.ธรณ์ฝากทิ้งท้ายอย่างน่าคิดว่า "ผมอยากเห็นอะควาเรียมในเมืองไทยสัก 3-4 แห่งที่ดีจริงๆ ดีกว่ามีนับ 10 แห่งแล้วปลามันตายหมด"

    ด้าน นณณ์ ผาณิตวงศ์ บรรณาธิการนิตยสาร "Aqua" นิตยสารปลาสวยงาม ที่ดูจะเป็นฝ่ายที่ยืนตรงกันข้ามกับนักอนุรักษ์มาโดยตลอดนั้น กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มคนที่เลี้ยงปลาสวยงามนั้นดูจะตกเป็นผู้ร้ายของสังคมมาโดยตลอด แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามีการศึกษา ค้นคว้าเป็นอย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจเลี้ยงปลาตู้แต่ละชนิด จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าการเลี้ยงปลาสวยงามนั้นเป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน โดยปราศจากการแสวงหาความรู้โดยสิ้นเชิง

    "คนเลี้ยงปลาสวยงามโดยเฉพาะปลาทะเล เหมือนเป็นผู้ร้ายไปจับปลาออกมาจากทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรามีเทคโนโลยี มีการศึกษาจนกระทั่งนักเลี้ยงปลาในเมืองไทยมีความรู้และสามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาต่างๆ ได้"

    ส่วนการมีอะควาเรียมที่ได้มาตรฐานระดับโลกในเมืองไทยนั้น นณณ์กล่าวว่า นับเป็นความภาคภูมิใจที่มีสถานที่ให้ความรู้เช่นนี้ เพราะที่ผ่านมาอะควาเรียมในบ้านเรามักจะเน้นความอลังการ ขณะที่แผ่นป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ กลับมีอยู่นิดเดียว และที่แปลกก็คือ ถึงมีคนก็ไม่ค่อยอ่านหรือให้ความสนใจ ซึ่งถ้าหากลองไปตามอะควาเรียมในต่างประเทศแล้วจะมีวิทยากรคอยนำชมและอธิบายให้ความรู้ ปัจจุบันนี้ในบ้านเราก็เริ่มมีบ้างแล้ว

    "อะควาเรียมของรัฐเท่าที่ผมไปสัมผัสมา เริ่มมีการเพาะพันธุ์ พยายามศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่สำหรับสยาม โอเชี่ยน เวิร์ล แล้ว ผมว่าเขาเป็นอะควาเรียมที่เน้นไปเชิงคอมเมอร์เชียลมากกว่า อะควาเรียมในต่างประเทศเขามีการวิจัย ศึกษาเพาะพันธุ์ แต่ของเรายังอยู่ในขั้นจับสัตว์ในธรรมชาติมาให้ดู คนเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่ได้เลี้ยงเพื่อศึกษา แต่เพื่อความเพลิดเพลิน"

    "ที่ผ่านมาจะเคยมีปัญหาอย่างกรณีอะควาเรียมที่เกาะสมุยที่เลี้ยงไม่ดี แต่ผมว่าถ้าเราย้อนกลับมาทำจริงๆ จังๆ ระบบต่างๆ เราสามารถเลี้ยงได้จริง แล้วมันสามารถทำให้เด็ก ให้คนแก่ ให้ทุกคนมีโอกาสได้ดู" นณณ์ กล่าว

    แต่ไม่ว่าจะตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใดเป็นหลัก อย่างน้อยการเริ่มต้นจากความเพลิดเพลินก็อาจทำให้เด็กๆ เยาวชนไทยหันมาสนใจศึกษาปลาทะเลเหล่านี้อย่างจริงจังมากขึ้น ส่วนจิตสำนึกในการอนุรักษ์นั้นคงมิใช่เรื่องที่จะปลูกฝังกันได้เพียงชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมงในอะควาเรียมเท่านั้น

    ที่สำคัญ อย่าละเลย "เจ้าของชีวิต" ที่ถูกนำมาให้เราศึกษาอย่างทิ้งขว้างก็แล้วกัน

    อะควาเรียมระดับโลกที่น่าสนใจ

    -The Georgia Aquarium ที่เพิ่งเปิดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นอะควาเรียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งล่าสุด ด้วยความจุน้ำทะเลได้มากกว่า 8 ล้านแกลลอน (ประมาณ 30.4 ล้านลิตร) และสัตว์กว่า 1 แสนตัว ที่มาจาก 500 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งแซงหน้าขนาดและความจุของอะควาเรียมขนาดใหญ่ที่สุดก่อนหน้านี้ อย่าง "Shedd aquarium" ของชิคาโก ที่จุน้ำได้เพียง 5 ล้านแกลลอน และสัตว์ทะเลเพียง 20,000 ตัว

    - Shanghai Ocean Aquarium อะควาเรียมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ครอบคลุมเนื้อที่กว่า 22,400 ตร.ม. ประกอบด้วยส่วนที่อยู่บนดิน 5 ชั้น และใต้ดิน 3 ชั้น สร้างโดยทีมงานเดียวกับอันเดอร์วอเตอร์ เวิร์ล สิงคโปร์ และ "นานจิง อันเดอร์วอเตอร์ เวิร์ล" มีไฮไลต์อยู่ที่อุโมงค์ทางเดินใต้น้ำที่ยาวที่สุดถึง 155 เมตร ที่ประกอบไปด้วยกระจกใสแผ่นใหญ่ยาวตลอดแนวอุโมงค์นั้น มูลค่ากว่า 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

    -KAIYUKAN Aquarium ตั้งอยู่ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นอะควาเรียมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ด้วยปริมาณความจุน้ำกว่า 11,000 ตัน ซึ่งถือเป็นอะควาเรียมที่จุน้ำได้ปริมาณมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และแท็งก์ขนาดใหญ่ความจุกว่า 7,500 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นอยู่ที่ ผู้เข้าชมสามารถสังเกตดูปลาฉลามวาฬและปลากระเบนราหูผ่านกระจกหน้าต่างอะคริลิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก อัตราค่าเข้าชมอยู่ที่ ผู้ใหญ่ 2,000 เยน เด็ก 900 เยน (เข้าชมเป็นหมู่คณะมีส่วนลด)

    -Sydney Aquarium อะควาเรียมที่น่าสนใจอันดับ 1 ของออสเตรเลีย และหนึ่งในอะควาเรียมขนาดใหญ่อันน่าตื่นตาตื่นใจที่สุดของโลก อาหาร 70 กิโลกรัม, น้ำ 6 ล้านลิตร กับจำนวน 11,500 สัตว์ทะเลของออสเตรเลีย เป็นเพียงแค่ปริมาณเฉลี่ยต่อวัน ณ อะควาเรียมแห่งนี้ แนวหินปะการังชายฝั่งที่ "ซิดนีย์ อะควาเรียม" นี้ ยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบ้านของปลาหลายพันสายพันธุ์, สัตว์ทะเลประเภทกุ้ง ปู ด้วยความจุน้ำปริมาณเกินกว่า 2.6 ล้านลิตร อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 27 ดอลลาร์ ออสเตรเลีย, เด็ก 14 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

    เรื่อง : รัชตวดี จิตดี


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...