อลัชชี ความหมายที่ถูกต้องคืออะไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aero1, 20 พฤษภาคม 2008.

  1. aero1

    aero1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +54
    มูลแห่งการแยกนิกายหลังพุทธปรินิพานเกิดจากไม่ลงลอยของความเห็นในเรื่องวินัยโดยในที่นี้จะขอยกวินัย

    บางข้อมากล่าวให้พอจับประเด็นได้ ในขณะพระองค์ใกล้ปรินิพานนั้นได้ตรัสกับพระอานนท์ว่าสิกขาบทข้อ

    ใดที่เห็นว่าเล็กน้อยให้หมู่สงฆ์ยกเว้นได้ภายหลังพุทธปรินิพพานหมู่สงฆ์ประชุมกันโดยมีพระมหากัสสปอัน

    เป็นอัครมหาสาวกที่พระองค์ตรัสว่ามีธรรมเสมอพระองค์เป็นประธาน ในที่ประชุมนั้นมีภิกษุจากทั่วเขตมา

    ร่วมประชุมเพื่อสังคยานาพระธรรมวินัยคำสอนจนถึงหัวข้อดังกล่าวหมู่สงฆ์เห็นควรปรับอาบัติทุกกฎแก่พระ

    อรหันต์อานนท์ผู้ซึ่งสำเร็จอรหันต์ก่อนเข้าที่ประชุมนั้นเอง โดยปรับอาบัติทุกกฎไว้หลายข้อหนึ่งในนั้นคือ

    การไม่ทูลถามพระพุทธองค์ว่า อาบัติเล็กน้อยนั้นคือโทษขั้นไหน บ้างก็ว่าตั้งแต่โทษสังฆาทิเสสลงมาเป็น

    อาบัติเล็กน้อย บ้างก็ว่าปาจิตตีย์ลงมาจัดว่าเล็กน้อย บ้างก็ว่าทุกกฎเล็กน้อยในที่ประชุมล้วนเป็นอรหันต์

    ทรงคุณปฏิสัมภิทา(คุณวิเศษครบถ้วน)หลายร้อยองค์นั้นลงความเห็นว่าจะไม่เปลี่ยนหรือยกเลิกหรือละเว้น

    สิกขาบทใดเลยขยายความตรงส่วนนี้ อันว่าศีลภิกษุแยกออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ


    ๑.ศีลที่เป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์ (การปฏิบัติเพื่อมรรคผล) ๑๕๐ ข้อ .

    ๒.ศีลที่เป็นมรรยาทอันดี อีกมากมายแต่ยกเอามาในปาติโมกข์ ๗๗ ข้อ รวมเป็น ๒๒๗ ข้อฉะนั้นในปัจจุบัน

    จึงเข้าใจผิดกันว่าศีลพระสงฆ์มีเพียง ๒๒๗ ข้อ .


    พุทธองค์ตรัสอีกแห่งว่า ผู้ไม่มีความละอายเรียกว่าอลัชชี ในปัจจุบันพุทธศาสนิก ส่วนใหญ่เข้าใจว่าคือผู้

    ต้องปาราชิก จริงๆแล้วหมายถึงภิกษุที่ประเภททำทองไม่รู้ร้อนในการไม่เคารพสิกขาบท คำถามต่อมาคือ

    อาบัติระดับใดละที่เพิกเฉยแล้วเรียก อลัชชี ก็ต้องตอบว่าในทุกสิกขาบท กอปรกับอนุบัญญัติหรือข้อยกเว้น

    ต่างๆพระองค์ตรัสว่าอลัชชีแม้หนึ่งรูปก็สามารถทำให้ภิกษุทั้งร้อยเป็นอลัชชีได้เมื่อลองมาดูชีวิตจริงของ

    พระ ยกตัวอย่างที่พระต้องพบทุกวันถ้าไม่มั่นใจจริงระหว่างหมู่แล้ว อึดอัดมาก เช่น พระ ก รับเงินไว้และซื้อ

    ของด้วยเงิน พระ ข ไม่รู้มาร่วมบริโภคใช้สอย พระ ข โดนอาบัติไปด้วยและท่าน ปรับทุกๆย่างก้าว อีก

    ตัวอย่าง พระ ก รับประเคนของฉันมาผิดวิธี พระ ข ไม่รู้ ไม่เห็น ฉันของนั้นๆด้วย ก็อาบัติไปด้วย แล้วท่าน

    ปรับทุกคำกลืน คือ ๑ กลืน ๑ อาบัติที่ยกมาเป็นอาบัติที่อยู่ในศีลอันเป็นพื้นของพรหมจรรย์หากหมู่สงฆ์อยู่

    กันอย่างพร้อมเพรียงน่ารักเคารพนับถือมากๆ และพร้อมกันนั้นท่านจะรักสามัคคีกันยิ่งกว่าเพื่อนตาย เพราะ

    ท่านจะดูแลอาบัติให้กันและกันด้วย พระในปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่เอาแต่สำคัญผิดว่าพรรษามากหน่อยก็จะ

    ทำงานพระศาสนาในแง่การเผยแผ่พระศาสนา จริงๆแล้วท่านไม่ต้องทำการเผยแผ่หรอก ท่านประพฤติตาม

    คำสอนให้ชัดเจน นั้นนะเป็นการเผยแผ่เชิงคุณภาพอย่างชัดเจนเมื่อผลเกิดแล้วค่อยเผยแผ่หากไม่ปฏิบัติ

    ตามยังดำรงตนเป็นอลัชชีอยู่เป็นการทำลายพระศาสนาทางอ้อมเสียมากกว่า อย่านึกว่าในปัจจุบันไม่มีพระ

    ลัชชี(ผู้ทีมีความละอาย)นะครับมีอยู่แน่นอนพวก เราท่านทั้งหลายคงเคยเห็นในหลวงถวายทานนะครับใน

    ซองที่พระองค์ถวายไม่ใช่เงินแต่เป็นใบปราวนาพระบางท่านก็จะบอกนะครับว่ารับใบปราวนาก็ผิดเหมือนกัน

    สู้รับตรงๆไปเลยบริสุทธิ์ใจดีนั้นว่าไปนั้นกรรมจริงๆ เหตุเพราะศึกษาน้อยถึงแม้จะมีดีกรีสูงสุดทางภาษาบาลี

    หรือจบดอกเตอร์ทางพุทธศาสนาหากไม่ละอายในสิกขาบทก็ยังจัดได้ว่าศึกษาน้อยเพราะคำว่าศึกษาใน

    ความหมายพุทธองค์นั้นกินเนื้อความรวมถึงภาค ปฏิบัติอันมีศีลเป็นเบื้องแรกจริงๆแล้ว ต้องวิเคราะห์ตัวบท

    ขอยกมาอธิบายในที่นี้เลยวินัยสิกขาบทข้อนี้คือ ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองเงินหรือยินดี เงินอันเขา

    เก็บไว้ให้ก็ดีเป็นอาบัติปาจิตตีย์( ๑ ใน ๑๕๐ ) ขยายความดังนี้

    ๑.รับเอง

    ๒.ใช้ให้รับ

    ๓.ไม่รับเองและไม่ใช้ให้คนรับแต่ยินดีในเงินทองที่เก็บไว้ให้


    ทั้ง ๓ ข้อเข้าข้อใดเป็นอาบัติ ท่านที่รับใบปราวนาท่านต้องสำรวมจิตไม่ให้เป็นอาบัติ โบราณท่านให้ทิ้งจิต

    ไปที่ไปที่ ของที่จะได้มาจากเงินนั้นแทนเพื่อกันอาบัติและ ข้อสำคัญอีกบางท่านบอกไม่เห็นเป็นอะไรปลง

    อาบัติเอา หากท่านเป็นอาบัติเดียวกันรับปลงให้กันไม่ได้ครับ บางวัดที่ท่านไม่แน่ใจต้องส่งพระ ๑ รูปไป

    ปลงกับพระต่างวัดแล้วกลับมาวัดเดิมเพื่อชำระศีลก่อนฟังปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน หากไม่ทำอย่างนั้นใน

    ปาติโมกข์ท่านจะถามทุกรูปเป็นบาลีครับว่าท่านยังบริสุทธิ์ดีอยู่หรือหากไม่บอกว่ายังติดข้อไหนอยู่ก็เข้าข่าย

    โกหกครับแล้วจะปฏิบัติหานิพพานที่ไหนละ เมื่อเป็นดังนั้นท่านจะระวังพระจากที่อื่นมากว่าหากศีลไม่เสมอ

    กันเข้ามาแล้วหมู่สงฆ์จะเดือดร้อนจึงดูเสมือนท่านจิตใจคับแคบหรือยกตนข่มท่านในบางครั้งซึ่งมีมูลเหตุ

    และหากท่านเหล่านั้นทราบว่ามีศีลเท่าเทียมกันท่านจะให้การต้อนรับและปฏิสันฐานตามวินัยข้อที่ทรง

    บัญญัติไว้ในเรื่องการดูแลกันและกันอย่างงดงาม ไม่เชื่อท่านที่คิดว่ามีสภาพยกตนข่มท่านลองปฏิบัติดูทำที่

    วิถีการปฎิบัติของตนก่อน .


    หลังจากสังคายนาครั้งแรกไม่นานคณะสงฆ์ได้แยกออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มแรกยึดตามมติเถระคือกลุ่ม

    อรหันต์ปฏิสัมภิทาดังกล่าวมาข้างต้น กลุ่ม๒ ยึดเอาคำพุทธพจน์ที่ให้เว้นได้ในข้อเล็กน้อยและพร้อมกับ

    เรียกตัวเองว่านิกายมหายานอันหมายถึงยานใหญ่สามารถขนคนได้มากเพราะข้อจำกัดไม่มากและข้อขัด

    แย้งน้อยไม่ต่อว่ากันเรื่องศีลเพราะคุณก็ผิดผมก็ผิดว่ากันไม่ได้แต่ก็ยังเห็นต่างกันไปอีกมากมายเพราะหมด

    จุดยืน ไม่มีบรรทัดฐานที่แน่นอนทำให้นิกายมหายานแตกออกไปอีกเป็นร้อยนิกาย อีกทั้งมีพุทธพจน์ตรัสไว้

    ให้โอนอ่อนบัญญัติได้โดยให้โอนอ่อน กับกษัตริย์ในแว่นแคว้นนั้นได้หากจะเกิดราชภัย(คือบางประเทศสั่ง

    ประหารพระเอาดื้อๆ)เห็นได้จากในเมืองจีนสภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศไม่อำนวยจึงเปลี่ยนสิกขาบท ด้วย

    ระยะทางและกาลเวลาพระในประเทศญี่ปุ่นบางนิกายจึงมีภรรยาได้และพร้อมกันนั้นก็ขนานนามกลุ่มแรกว่า

    นิกายหีนยาน อันหมายถึงยานคุณภาพต่ำขนส่งคนได้น้อยในขณะที่กลุ่มแรกเรียกตนเองว่าเถระวาทหรือ

    กลุ่มผู้ฟังคำของพระที่ร่วมประชุมครั้งแรก หลังจากนั้นไม่นานมีการตั้งมหาวิทยาลัยนารันทา แห่งแรกและ

    ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นโดยนิกายมหายาน มีพระเข้ามาศึกษาเป็นหมื่นรูปในจำนวนนั้นมีมหาเถระที่เข้าศึกษาที่

    เป็นที่รู้จักของคนไทยเข้าศึกษาอยู่ด้วยหลายปีท่านผู้นั้นคือ พระถัง ซัมจังรวมอยู่ด้วย หลังจากพระพุทธ

    ธรรมเจริญมากก็ขนานไปกับความเสื่อมเช่นกัน เอกลาภมีมากในเหล่าพระสงฆ์ พระสัทธรรมเริ่มเบี่ยงเบน

    ติดเข้าไปในความรู้ผิดๆบางรูปจึงเริ่มสะสมด้วยเหตุว่าเพื่อสืบพระศาสนาให้มากก ๆนานนๆ เมื่อมีทรัพย์มาก

    ก็เริ่มหลงผนวกกับการสรรเสริญผู้หญิงก็เริ่มเข้ามาจะโดยฝ่ายไหนเริ่มก็แล้วแต่จึงเป็นที่อิดหนาของญาติโยม

    อีกทั้งความแตกแยกของ ๒ นิกายดังกล่าว

    .

    เหล่านี้จัดเป็นภัยภายในของพุทธศาสนา ส่วนภัยภายนอกก็เกิดศาสนาฮินดูใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการผสมคำ

    สอนของพุทธกับพราหมณ์เข้าด้วยกัน จึงแนบแน่นในจิตวิญญาณชาวอินเดียอย่างรวดเร็ว เพราะความเบื่อ

    และหาทางออกไม่ถูกของคนจึงยึดที่พึงไว้ก่อนเพราะสอดรับกับความเป็นอยู่ดั่งเดิมรวมทั้งการถือวรรณะจน

    ขนาดมองพระพุทธองค์เป็นองค์อวตารของเทพฮินดูจึงเกิดการผสมผสานแบบคลาดเคลื่อนในที่สุด กอปร

    กับทางตอนเหนือของอินเดียมีอาณาจักรของประเทศที่นับถืออิสลามอยู่และวิธีการของสมัยนั้นก็ขยายดิน

    แดนกันด้วยการรบอันเป็นเรื่องปกติเหตุการณ์ดำเนินไปอย่างนั้น ประมาณช่วงก่อน พศ.๕๐๐ ในสมัยพระ

    เจ้าอโศกมหาราชนั้น ทรงเป็นยอดนักรบรวบรวมแผ่นดินไว้ได้มากขณะเดียวกันก็รบราฆ่าฟันคนมากมาย

    เช่นกัน ช่วงปลายสมัยทรงเห็นคุณค่าพระธรรมจึงเปลี่ยนมานับถือพุทธธรรมอย่างเต็มพระองค์และมี

    เหตุการณ์หนึ่งที่จัดเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญคือ มีเหตุหมู่สงฆ์ตกลงร่วมลงปาติโมกข์กันไม่ได้ ด้วยเหตุ

    ระแวงเรื่องศีลเพราะหากไม่บริสุทธิ์ ปาติโมกข์ก็ไม่เป็นอันสมบูรณ์พระเจ้าอโศกทรงทราบจึงมีราชดำรัส

    ราวๆว่า "ทหารไปจัดการซะ" ทหารไปถึงก็นิมนต์ให้หมู่สงฆ์ลงปาติโมกข์ แต่อย่างไรพระท่านก็ไม่ลงฟัง

    ปาติโมกข์ ทหารจะเกรงพระอาญาอย่างไรไม่ทราบและด้วยเป็นชาตินักรบมาตลอดชีวิตจึงถามพระที่ละรูป

    และบังคับให้ลงฟังปาติโมกข์ถ้ารูปไหนไม่ลงจะฆ่าให้ตาย พระก็ไม่ลงปาติโมกข์ ทหารจึงลงมือฆ่าพระทีละ

    รูปไม่ทราบว่าฆ่าไปกี่รูป จนกระทั้งมาหยุดอยู่ที่พระรูปหนึ่งทหารไม่กล้าฆ่า เพราะภิกษุรูปนั้นคือพระอนุชา

    ของพระเจ้าอโศกนั้นเอง จึงนำความกลับไปทูลพระเจ้าอโศกเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เสียพระทัยเป็นอย่างมาก

    เพราะทรงไม่มีเจตนาเข่นฆ่าพระ จึงทรงประกาศบำรุงพระศาสนาเป็นอันมากทรง


    สร้างวัดทั่วประเทศ ๘๔,๐๐๐ วัด
    <o>:p> </o>:p>
    ในช่วงเวลานั้นมีนโยบายที่จะส่งพระสงฆ์ออกเผยแผ่พระธรรมคำสอนสู่ประเทศต่างๆ ๙ สาย หนึ่งในนั้นคือ

    พระโสณะและพระอุตตระ เป็นพระสงฆ์อรหันต์ ในสมัยนั้นเดินทางมาดินแดนขวานทอง สืบเชื่อสายบริสุทธิ์

    จากนิกายเถรวาทโดยตรง เพราะทางการสืบวงศ์ภิกษุนั้นหรือการบวชนั้น หากคณะสงฆ์ที่บวชให้มีไม่ครบ

    ตามพุทธานุญาติกำหนด คือ ๕ หรือ ๑๐ รูปขึ้นอยู่กับความยากในการหาพระสงฆ์ในประเทศนั้นๆ ซึ่งหาก

    ครบจำนวนแต่มีผู้ปาราชิกอยู่ด้วย ก็ถือว่าไม่ครบองค์การบวช การบวชนั้นๆก็ไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นพระ

    ฉะนั้นจึงต้องเลือกอุปัชฌาย์และหมู่สงฆ์ที่ผู้บวชมั่นใจ การที่มีการส่งสมณทูตมาประกาศพระศาสนาครั้งนั้น

    จึงจัดว่า การประดิษฐานพระธรรมคำสอนในบ้านเราเริ่มขึ้น ณ เวลานั้น .


    จนกระทั้งลุถึงประมาณปี พศ. ๑๗๐๐ ดินแดนพุทธในอินเดียเกือบทั้งหมดถูกฝังอยู่ใต้ดิน มหาวิทยาลัยนา

    รันทาถูกเผาราบ ห้องสมุดถูกเผาอยู่เป็นเดือนกว่าจะหมด พระสงฆ์ต้องหนีลงใต้บ้าง ถูกฆ่าเป็นอันมาก บ้าง

    ถูกบังคับจับสึก บ้างถูกบังคับให้เสพเมถุน(ร่วมเพศ)เพื่อทำลายสายพันธุ์ หลังจากนั้นไม่นานกล่าวกันว่า

    ชาวอินเดียแม้แต่ฝันก็ไม่เคยฝันถึง วิปัสสนา อันเป็นธรรมลิขสิทธิ์เฉพาะพระองค์อีกต่อไป (ผู้อื่น แสดงได้

    ถึง สมาบัติ ๘ , วิปัสสนา มีแค่ อนิจจัง ทุกขัง) เป็นอันปิดฉากพุทธธรรมยุคเก่าเพียงเท่านั้น ชาวพุทธเรามี

    โอกาสได้รู้เรื่องราวพุทธสถานต่างๆก็เมื่อช่วงยุคล่าอาณานิคม ๑๕๐ปีก่อนนี้เองที่รัฐบาลอังกฤษได้ทำการ

    ขุดสถานที่สำคัญต่างๆ โดยนักโบราณคดีอังกฤษ จนกระทั้งพบพระไตรปิฎกฝังอยู่
    <o>
    :p> </o>:p>
    ด้วยเกิดเรื่องบางอย่างที่อัศจรรย์ใจจึงเดินทางไปเรียนภาษาบาลีที่ประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นเชื้อสายพระสงฆ์

    จากไทยเมื่อ ๒๕๐ ปีนับจากปัจจุบันเพราะศรีลังกาหมดพระที่จะสืบกุลบุตร ทางกษัตริย์อยุธยาจึงส่งพระ

    สงฆ์ไปบวชให้เรียกว่านิกายสยามวงศ์จนถึงทุกวันนี้หลังจากใช้เวลาเรียนอยู่พอสมควรจึงกลับขึ้นไป

    แปลพระไตรปิฎกด้วยตัวเองหลังจากแปลแล้วก็ลองปฏิบัติดูปรากฏว่า นักโบราณคดีหลายท่านบวชเป็น

    ภิกษุสงฆ์ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อมาจึงมีการตั้งศูนย์ศึกษาบาลีขึ้นในประเทศอังกฤษ .



    หน่อโพธิ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เจริญไกลต้น ถึงแม้เป็นลูกไม้ที่หล่นใกล้ต้นก็จริง แต่ใบโพธิและกิ่งก้านนั้นใหญ่

    มากปกคลุมบริเวณกว้าง ถึงเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ย้ายก็อยู่ใกล้ต้นแม่ไม่ได้จะต้องตายในที่

    สุดแพราะร่มเงาปกคลุมหมดไม่สามารถรับแสงแดดได้ ในขณะเดียวกันเมล็ดโพธิก็สามารถแพร่พันธุ์ไปได้

    ไกลมากเพราะมีนก กา นำไป เมื่อได้ที่สิ่งแวดล้อมเหมาะก็สามารถเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงเป็นร่มเงาให้

    ที่นั้นสืบไป จะเห็นได้ว่าในก่อนที่เกิดการล้มสลายพุทธธรรมในอินเดียนั้นประมาณ ๗๐๐ ปี หน่อพุทธะทั้ง

    ๙ หน่อได้ขจรขจายออกไปทุกทิศทุกทาง โดยผสมผสานกลมกลืน กับสภาพแวดล้อมนั้นๆเพื่อช่วยให้โลก

    มีทางออกแห่งจิตใจ โดยสำเร็จประโยชน์ตนแล้วจึงสงเคราะห์ประโยชน์โลกอีกฝ่ายหนึ่งดำรงพระพุทธธรรม

    ไว้ให้นานที่สุด บางท่านอาจกล่าวได้ว่า ก็พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์แล้วว่า ๕,๐๐๐ ปี คืออายุพระ

    สัทธรรมทำไมต้องนานกว่านั้น อธิบายว่าคำว่า ๕,๐๐๐ เป็นจำนวนเรียกโดยประมาณ เช่นตรัสว่า ภิกษุ

    ๕๐๐ ไม่ได้หมายความว่า ๕๐๐ รูปพอดี แต่หมายถึงพระสงฆ์กลุ่มใหญ่ ภิกษุ ๕๐๐, พระสัทธรรม ๕,๐๐๐

    ปีจึงเป็นสำนวน.

    ที่ใช้กันในสมัยนั้น


    ลุถึงแผ่นดินใหม่พุทธธรรมฝ่ายเถระวาทที่เหลืออยู่ในโลกอย่างชัดเจนก็ แถบประเทศไทย พม่าโดยมีการ

    แลกเปลี่ยน กันทำสังฆกรรม เพื่อความคงไว้ซึ่ง ธรรมวินัย แท้ๆ ยกตัวอย่างเช่นกรณีประเทศศรีลังกาที่ได้

    กล่าวมาแล้ว ไทยกับพม่าหรือมอญก็เช่นกันหลังจากศึกสงครามเมื่อพระไตรปิฎกเสียหายก็หาจากแหล่ง

    ประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวมาเติม ในสมัยเสียกรุงครั้งที่ ๑ กรุงสุโขทัยไม่ถูกเผาทำลาย การจัดการจึงไม่ยุ่ง

    ยากเท่าไร ในการทำสังคยนานั้นมีวิธีอิงความบริสุทธิ์ ๒ สถาน คือ


    ๑.ความคงที่มาของพระไตรปิฎกให้ดั่งเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ๒.ความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ที่เป็นองค์กำเนิดรุ่นต่อๆไป งานนี้ค่อนข้างหนักครับเพราะไม่รู้ใครเป็นใคร ดี

    ชอบ อย่างไรดูที่ไหน ก็ต้องใช้ผู้ชำนาญพิเศษ เฉพาะทางมาพิสูจน์กัน
    <o>
    :p> </o>:p>
    <o>:p> </o>:p>
    <o>:p> </o>:p>
    มีเรื่องบันทึกไว้ว่า พระเจ้าตากหลังจากทรงกอบกู้เอกราชได้แล้วนั้น ได้ทรงสังคยานาพุทธธรรมครั้งใหญ่ใน

    ต้นรัชกาล จากการที่ก่อนเคยผนวชอยู่ ๓ พรรษาและพร้อมกับปฏิบัติไปด้วย ในขณะที่เกิดศึกประชิด

    เมืองกรุงศรีอยุธยาใกล้แตกนั้นการต้านทัพพม่าในหัวเมืองบางแห่งใช้พระ เป็นผู้นำการต่อต้านข้าศึกและ

    อาจฆ่าคนหรือสั่งให้ฆ่าไปบ้าง จึงทรงให้จัดนำพระอุปัชฌาย์ทั่วประเทศเข้าเฝ้าและมีพระดำรัสว่าหากท่าน

    ใดรูปใด หมดจากความเป็นพระแล้วให้บอกซะตอนนี้ แล้วพระองค์จะเลือกภรรยาให้ พร้อมให้ทำงานใน

    ราชการ หากยังยืนยันความบริสุทธิ์ก็ให้อธิฐานจิต ดำน้ำจนกว่าจะตีระฆังหากผ่านจนครบเสียงระฆังก็ให้

    กลับไปดูแลพระศาสนาต่อไป หากไม่ผ่านพระองค์จะลงโทษประหารเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง

    พระราชภาระอันหนักขององค์ศาสนูปถัมภกในประวัติศาสตร์ชาติไทยเราเพื่อดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของ

    ขอบขัณฑสีมาในบวรพุทธศาสนา จากนั้นในรัชสมัยพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆมาก็ทรงโปรดให้มีการทำ

    สังคายนาอยู่เสมอเพื่อให้คงความบริสุทธิ์ของพระสัทธรรมไว้ แต่ในส่วนขององค์คณะสงฆ์น้อยครั้งมากที่

    จะมีการจัดการเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากและไม่มีวิธีการที่ชัดเจนในการจัดการนอกจากต้องอาศัยผู้ที่

    มีความแตกฉานทั้ง การศึกษา


    และปฏิบัติพร้อมผลของการปฏิบัติที่ชัดเจนตามคำสอน
    <o>
    :p> </o>:p>
    อนึ่ง ในเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมานั้นมีเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ ตัวภาษาที่ใช้บันทึกพระ

    สัทธรรม อันว่าพุทธองค์ทรงใช้ภาษาบาลีในการอธิบายธรรม จะอธิบายสักเล็กน้อยในภาษาบาลีนั้นเป็น

    ภาษาที่ตายกล่าวคือเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรใช้เขียน มีเพียงภาษาพูดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในครั้ง

    พุทธกาลเท่านั้น พระพุทธองค์จึงใช้ภาษานี้ในการอธิบายพระสัทธรรม อีกทั้งเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์

    ชัดเจนมากความคลาดเคลื่อนของความหมายที่เกิดจากการกร่อนทางภาษาจึงมีน้อยมากจึงเป็นผลดีอย่าง

    มากในการรักษาสืบทอดพระสัทธรรมคำสอนสืบจนปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาลนั้นใช้วิธีท่องจำ พระธรรมถ่าย

    ทอดโดยการบอก ท่อง บ่น จัดแยกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน หลังจากพุทธปรินิพพานเล็กน้อย ได้มีการ

    สังคายนาและจารึกเป็นหนังสือขึ้นโดยใช้อักษรจากภาษาอื่นมาเทียบเสียง เช่น เอาอักษรเทวนาคี มาใช้

    เมื่อพระสัทธรรมถึงประเทศเราในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคชนชาติขอมครองแผ่นดินนี้อยู่ จึงนำเอาอักษรขอมมา

    เทียบเสียงในภาษาบาลี ขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ เช่น เอาอักษรอังกฤษ เทียบเสียงบาลี คำว่า นะ

    โมตัสสะ ก็จะได้ว่า namotussa จะเห็นได้ว่าทำความเข้าใจยากมาก ไทยเราใช้รูปแบบลักษณะนี้มา

    ตั้งแต่เริ่มมี พระสัทธรรมเข้ามา ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะเรียนรู้ธรรมในพระไตรปิฎกได้นั้น จึงต้องเป็นผู้รู้

    ในภาษาอย่างน้อยๆ ๓ ภาษาคือ ๑. รู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้ ๒. รู้ภาษาขอมชัดเจนอ่านออกเขียน

    ได้ ๓. รู้ภาษาบาลีเมื่อผสมอักษรขอมแล้วอ่านออกเขียนได้ ฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจพระไตรปิฎกในสมัยก่อนได้

    จึงมีน้อยมาก ลำพังภาษาไทยเองผู้อ่านออกเขียนได้ก็ไม่มาก ฉะนั้นจึงต้องเป็นผู้มีภูมิรู้ชั้นสูงมากๆ ซึ่งส่วน

    ใหญ่จะเป็นชนชั้นราชวงศ์ หรือหากไม่ใช่ก็จะได้รับแต่งตั้งบางทีก็สถาปนาขึ้นเป็นชั้นต่างๆ เช่น หลวงพ่อ

    ทวด ครั้นได้ข่าวการแต่งตั้งเป็นสังฆราช องค์ท่านจึงหนีเข้าป่าแถบภาคใต้ไม่ขอรับตำแหน่ง สมเด็จโต

    พรหมรังสีหนีเข้าป่าแถบอีสานเหนือจนในหลวงรัชกาลที่ ๔ ตามกลับมาด้วยวิธีให้ส่งตัวพระที่รูปลักษณะ

    คล้ายองค์ปู่โตเข้ามาพระนคร จนกระทั่งหลวงปู่เห็นว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่หมู่สงฆ์จึงกลับเข้ามา

    จำพรรษาในพระนครตั้งแต่นั้น .
    <o>

    :p> </o>:p>
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เช่นกันพระองค์ประสูติภายใต้ร่มเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระ

    พุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์ต้นที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา ขณะสิ้นรัช

    สมัยรัชกาลที่ 2 นั้น พระองค์ทรงพระเยาว์อยู่มาก จึงมีการสรุปตกลงกันของเหล่าบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี

    ข้าราชบริพาร อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา เสด็จขึ้น

    ครองราชย์แทนเจ้าฟ้ามกุฎ(รัชกาลที่๔)และเจ้าฟ้ามกุฎให้ทรงออกผนวชเป็นเณรน้อยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ณ

    วัดมหาธาตุใกล้บรมมหาราชวัง ครั้นเมื่อเข้ามาศึกษาก็ทรงล่ำเรียนด้วยความแตกฉานอย่างรวดเร็วใน ๓

    ภาษาที่เป็นพื้นดังที่กล่าวข้างต้นโดยคณาจารย์ชั้นครูระดับประเทศใช่เวลาเรียน ๓ ปีจึงสามารถอ่านพระ

    บาลีเข้าพระทัย ขณะทรงเป็นเณรน้อยนั้นเอง ทรงศึกษาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จวบจนกระทั้งพระชันษาครบ

    บวช จึงทรงผนวชเป็นภิกษุสงฆ์และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดราชาธิวาสเพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติเพราะวัด

    ราชาในสมัยนั้นมีสภาพเป็นวัดป่า ในขณะนั้นเองทรงมีพระดำริทำไมพระสงฆ์ในขณะนั้นจึงประพฤติหรือมี

    ความเป็นอยู่ไม่เหมือนในพระไตรปิฎก(ในสมัยนั้นพระยังไม่จับหรือรับเงิน ทอง ความประพฤติจึงเป็นเรื่อง

    อื่นๆ) และทรงเริ่มหาภิกษุที่จะให้ความชัดเจนในเรื่องนี้โดยทั่วแคว้น ทรงมีพระโอกาสก็ออกจาริกไปเพื่อดู

    ความเป็นอยู่ของพระในถิ่นไกลๆ ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางเต็มไปด้วยภยันตราย นานาประการ โดยการนั้น

    ทรงพบสมบัติคู่แผ่นดิน เช่น หลักศิลาจารึก พระพุทธรูปองค์สำคัญของประเทศหลายๆ องค์ องค์พระปฐม

    เจดีย์ และทรงตั้งปณิธานอฐิษฐานจิตว่า จักต้องหาให้พบหมู่สงฆ์หมู่ใดที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบศึกษาลงลึก

    ถึงศีลละเอียดรวมทั้งธุดงควัตร ๑๓(ข้อวัตรเด็ดขาด ๑๓ ข้อเพื่อการบรรลุนิพพานธรรม) จากการที่ทรงหา

    หมู่สงฆ์อยู่นั้นพระองค์ทรงผนวชซ้ำ(ทัฬหีกรรม; บวชซ้ำเพื่อทำให้มั่นใจ)อยู่ ๔ ครั้ง จนกระทั้งมีพรรษา

    ใกล้ ๑๐ โปรดให้มีการขุดลูกนิมิต แห่งวัดราชาขึ้นมาดูว่าผูกถูกต้องตามพุทธพจน์หรือไม่ ปรากฏว่าอุโบสถ

    นั้นผูกนิมิตไม่สมบูรณ์ซึ่ง วิธีบวชตามพุทธานุญาติที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งบันทึกไว้ชัดเจนว่าการ

    บวชนั้นๆ ไม่สมบูรณ์ จึงทัฬหีกรรมอีกครั้งกับคณะสงฆ์เชื้อสายมอญ ณ อุโบสถกลางน้ำที่จัดทำเพื่อการนี้

    โดยเฉพาะ(ถือว่าเป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ที่สุด) หน้าท่าน้ำเจ้าพระยาวัดราชาธิวาสนั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็น

    เรื่องที่สำคัญมากเพราะขณะที่วัดราชาถูกสร้างและอุปถัมถ์ โดยผู้ทรงภูมิในสมัยนั้นยังมีการผิดพลาดไม่ตรง

    ตามพุทธพจน์จึงโปรดให้มีการผูกพัทธสีมาใหม่แก้ไขให้ถูกต้อง จากพรรษานั้นไม่นานจึงทรงเห็นว่าการจะ

    อยู่วัดราชาต่อแล้วปฏิบัติที่แตกต่างจากพระยุคนั้น จะเป็นการไม่สะดวกแก่การประพฤติ อีกทั้งพระเถระ(๑๐

    พรรษาขึ้น)มหาเถระ(๒๐ พรรษาขึ้น)ในวัด ที่พรรษามากกว่าพระองค์ก็มาก จึงมีพระดำริหาอารามเพื่อ

    ศึกษาตามแนวที่พระองค์ศึกษามาจากพระไตรปิฎก จึงทรงย้ายมาวัดรังษีบริเวณบางลำพู แล้วทรงตั้งชื่อ

    ใหม่ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร อันมีความหมายว่า ที่พักของวังหน้า(ชั้นยศรองจากพระเจ้าแผ่นดิน) เมื่อเสด็จ

    มาประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศได้มีคณะสงฆ์ที่ติดตามมาด้วยความเลื่อมใสในแนวทางพร้อมกับ

    ราชนิกุล ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ตามมาผนวชกับพระองค์โดยพระองค์ทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ ให้ด้วย

    พระองค์เองและทรงนำประพฤติปฏิบัติ โดยทรงขนานนามคณะสงฆ์นี้ว่าคณะธรรมยุต มีความหมายว่าคณะ

    ที่ใช้ธรรมเป็นข้อยุติ มีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตามแนวพระไตรปิฎกที่สืบต่อกันมาตามสาย พุทธวงศ์นิกาย

    เถรวาทที่มีเจตนาไม่เปลี่ยนคำสอนเดิม ซึ่งเป็นการขัดแย้งอย่างรุนแรงในสมัยนั้นจะด้วยการไม่ได้ศึกษา

    ประวัติกำเนิดเถระวาทหรืออย่างไรไม่ทราบพระในสมัยนั้นส่วนใหญ่จึงเห็นว่าพระธรรมวินัยในสมัยนั้นไม่

    สามารถปฏิบัติตามได้บางเหล่าบางบุคคลที่ศึกษาน้อยยังกล่าวว่าพระองค์ทำสังฆเภทแต่ด้วยความที่เป็น

    หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์และทรงกระทำด้วยความรู้จริงเหตุการณ์จึงไม่รุนแรงมากนักจะเห็นได้ว่าพระองค์ไม่มี

    เจตนาในการแยกนิกายสงฆ์

    นับจากทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารมา พระองค์ผลิตบุคคลากรทางพระศาสนามากมายโดยทรงให้พระภิกษุ

    ที่บวชโดยพระองค์เอง เมื่อมีพรรษามากขึ้น ก็ทรงให้ครองวัดอื่นโดยรอบและพร้อมกันนั้นทรงโปรดให้สร้าง

    วัดขึ้นอีกหลายวัด พระองค์ทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบต่อพระศาสนา เพราะหากมีผู้รู้หนังสือ

    มากก็จะสามารถเรียนรู้หรือถ่ายทอดตามคำพุทธพจน์ได้สะดวกและตรงแนวทางขึ้นจึงทรงโปรดให้มีการ

    เรียนสอนหนังสือในวัดขึ้นซึ่งจัดว่าเป็นระบบการศึกษาครั้งแรกในประเทศและยังมีงานอื่นอีกมากที่ทรง

    ประทานแก่ประเทศชาติและพระศาสนาจวบจนสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถูก

    อัญเชิญให้ลาสิกขาบทเพื่อขึ้นครองราชย์โดยมีภิกษุพรรษา ๒๗ พระ ชนนมายุ ๔๗ พรรษา


    หลังจากขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงสืบสานงานเก่าขณะทรงผนวชโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาออกไปทั่ว

    ประเทศ ในนามคณะสงฆ์ไทย พร้อมกับเริ่มแปลงอักษรขอมในพระไตรปิฎกให้เป็นอักษรไทย(แล้วเสร็จใน

    รัชสมัยรัชกาลที่ ๕) จึงทำให้การเรียนรู้พระธรรมคำสอนสะดวกขึ้น หลักจากพระไตรปิฎกชุดนี้ออกไปทั่ว

    ประเทศ ๑,๐๐๐ ชุด เมล็ดพันธุ์แห่งผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจึง เริ่มประดิษฐาน ในปี พศ.๒๔๑๓ได้เกิดบุคคล

    ที่มีคุณูปการต่อพระสัทธรรมขึ้น คือหลวงปู่มั่น เมื่อถึงอายุครบบวช องค์ท่านได้ออกบวชราวปีพศ.๒๔๓๓

    และเป็นผลผลิตเอกอุชัดเจนในแนวทางเถระวาทที่แน่วแน่ในการประพฤติ พรหมจรรย์ ทั้งสิกขาบทและ

    ธุดงควัตร กล่าวคือเพียบพร้อมทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จัดเป็นผลผลิตโดยตรงของในหลวงรัชกาลที่ ๔

    ทั้งในแง่ของพระไตรปิฎกที่ศึกษาเข้าใจง่ายขึ้นและสายสืบวงศ์การบวชจากพระองค์โดยตรง เป็นแม่ทัพ

    ธรรมในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริงในขณะที่องค์ท่านไม่ได้เป่าประกาศให้เผยแผ่พระศาสนาเยอะๆมากๆนาน

    นนๆ แต่หาก องค์ท่านทำที่ตนเองเมื่อพร้อมแล้วจึงสงเคราะห์หมู่สงฆ์ ตามธรรมและวินัยอันเป็นการเผยแผ่

    พระสัทธรรมอย่างแท้จริง การศึกษาพระไตรปิฎกในปัจจุบันนี้ เริ่มจากการแปลออกเป็นภาษาไทยความ

    หมายไทยฉบับสมบูรณ์เมื่อประมาณ ๕๐ กว่าปีมานี้ ปัจจุบันนี้ พศ.๒๕๕๑ พระไตรปิฎกมีการแปลความ

    หมายออกเป็นภาษาไทยแล้ว การศึกษาง่ายกว่าสมัยก่อนมาก อีกทั้งระบบการค้นหาก็สะดวกคล่องตัวมาก

    จะขาดแคลนก็แต่บุคคลที่ศึกษาและปฏิบัติตามเท่านั้นที่ดูแล้วน่าจะเพิ่มมากขึ้นมากกว่านี้และเป็นกำลังให้

    พระศาสนาต่อไปและช่วยกันลดจำนวนอลัชชีในพระศาสนาให้ลดลงโดยให้ความสำคัญเชิงคุณภาพ

    มากกว่าเชิงปริมาณ
    <o>:p> </o>:p>
    ซึ่งจากการที่ได้พรรณนามานี้ก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะทราบถึงที่มาที่ไปของเรื่อง ราวความเป็นมาของการ

    รักษาไว้ซึ่งพระสัทธรรมบริสุทธิ์ในยุคต่างๆ เพื่อจะได้นำไปเป็นส่วนประกอบในการศึกษาพระสัทธรรมให้ยิ่ง

    ขึ้นไปและพร้อมกันนั้น เพื่อแสดงให้เห็นมูลเหตุ ของจุดผกผันของพระศาสนาในยุคต่างๆเพื่อให้ทราบถึง

    ตำแหน่งที่ยืนในพระศาสนาว่าเราท่านทั้งหลายอยู่ตรงส่วนใดของพระศาสนาเพื่อประโยชน์ในการกำหนด

    ท่าทีว่าการเป็นชาวพุทธของเราท่านทั้งหลายนั้นชัดเจนเพียงใดและมีทางออกของพุทธศาสนิกชนร่วมกัน

    คิดร่วมกันสร้างความสามัคคีของชนในชาติอย่างไรโดยไม่ให้กระทบต่อการทรงไว้ซึ่งแนวทางการศึกษา

    ตามพระไตรปิฎกฉบับเถระวาทซึ่งเป็นเบ้าหลอมวัฒนธรรมของชนในชาติมาอย่างยาวนาน
    <o>
    :p> </o>:p>
    [FONT=&quot]<o>:p> </o>:p>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2008
  2. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ

    เราจะเห็นว่า ทั้งปริยัติก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นนหลักแนวยึดในการที่จะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

    ส่วนการปฏิบัติก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าไม่ลงมือปฏิบัติแล้วย่อมจะไม่รู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง

    ทั้งปริยัติและปฏิบัติ จึงเกิดปฏิเวธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...