อริยสาวกอยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 13 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
    [​IMG]
    [๑๕๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการโดยประการทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อ อริยสาวกนั้นหรือหนอที่พระองค์ตรัสเรียกว่า อยู่ด้วยความประมาท?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทิยะ บุคคลใด ไม่มีโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เราเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนภายนอกตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท ท่านจงฟังให้ดี จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว นนทิยศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
    [๑๖๐๑] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร?
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่าว่าเพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำ�เริญ จำ�แนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติก็ไม่มีปัสสัทธิ(ความสงบ) เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข ์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏเพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำ�กัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติก็ไม่มีปัสสัทธิ(ความสงบ) เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข ์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏเพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำ�มาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับ
    ทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำ�อัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้. อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติก็ไม่มีปัสสัทธิ(ความสงบ) เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข ์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏเพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท
    อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหาเป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ� และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้. อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติก็ไม่มีปัสสัทธิ(ความสงบ) เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข ์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏเพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท
    ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างนี้แล.
    [๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร?
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่าว่าเพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำ�เริญ จำ�แนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวันเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ จิตก็สงบ(ปัสสัทธิ) เมื่อจิตสงบ ย่อมได้เสวยสุขจิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำ�กัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้. อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวันเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ จิตก็สงบ(ปัสสัทธิ) เมื่อจิตสงบ ย่อมได้เสวยสุขจิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำ�มาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำ�อัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวันเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ จิตก็สงบ(ปัสสัทธิ) เมื่อจิตสงบ ย่อมได้เสวยสุขจิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหาเป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ� และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจแล้วด้วยด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ จิตก็สงบ(ปัสสัทธิ) เมื่อจิตสงบ ย่อมได้เสวยสุขจิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท
    ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    หน้าที่ ๓๙๔/๔๖๙หัวข้อที่ ๑๕๙๙-๑๖๐๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • C3_IMG_1854.jpg
      C3_IMG_1854.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123.6 KB
      เปิดดู:
      154
    • dd-hny-002.jpg
      dd-hny-002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.1 KB
      เปิดดู:
      200
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...