อริยบุคคล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 12 มิถุนายน 2008.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อสังสารวัฏได้แล้ว

    อริยบุคคล แบ่งตามประเภทใหญ่ มี 2 คือ
    1. พระเสขะ คือคือพระผู้ยังต้องศึกษาไตรสิกขาเพิ่มขึ้นต่อไปอีกจนกว่าจะสำเร็จ
    2. พระอเสขะ คือพระผู้ศึกษาสำเร็จแล้ว เสร็จกิจการศึกษาแล้ว ไม่ต้องศึกษาอะไรต่อไปอีก

    อริยบุคคล แบ่งตามประเภทบุคคล มี 4 คือ
    อริยบุคคล แบ่งตามประเภทย่อย มี 8 จัดเป็น 4 คู่
    • คู่ที่ 1 พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค.... โสดาปัตติผล
    • คู่ที่ 2 พระผู้ตั้งในสอิทาคามิมรรค.... สกิทามิผล
    • คู่ที่ 3 พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค.... อนาคามิผล
    • คู่ที่ 4 พระผู้ตั้งอยู่ในอรหันตมรรค.... อรหันตผล
    โสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม (คืออริยมรรค)


    โสดาบัน เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามีอนาคามีอรหันต์ ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ
    1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา
    2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสังสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
    3. สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา
    ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่นๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้ คฤหัสถ์ คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น

    การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียรฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน

    สกทาคามี หรือ สกิทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่ ๒ ใน ๔ ประเภท ที่เรียกว่า "ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว" หมายถึง พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพาน

    ผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระโสดาบัน อีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือ
    • กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ
    • ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ คล้ายความพยาบาทอย่างละเอียด
    หากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามี


    อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหมโลกนั้นเลย

    อนาคามี เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ ใน ๔ ประเภท คือ โสดาบันสกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) อีก ๕ ประการ คือ
    1. รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ
    2. อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ
    3. มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี(แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น
    4. อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต
    5. อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง
    อนึ่งพึงเข้าใจว่า แม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชน (ผู้ยังไม่เป็นบรรลุเป็นพระอริยบุคคล) เช่น มานะ อุทธัจจะ หรือ อวิชชา แต่สังโยชน์เบื้องสูงอันเป็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของพระอนาคามีนั้น เป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมาก


    ลักษณะของพระอรหันต์

    พระอรหันต์ ๒ คือ
    1. พระวิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
    2. พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
    แบ่งตามคุณวิเศษ


    พระอรหันต์ ๔ คือ
    1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว)
    2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ))
    3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิวิธี) หูทิพย์(ทิพยโสต) ตาทิพย์(ทิพฺพจักขุ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ))
    4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง ๔ ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานในธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉานในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ
    แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตน


    พระอรหันต์ ๕ คือ
    1. พระปัญญาวิมุต
    2. พระอุภโตภาควิมุต
    3. พระเตวิชชะ
    4. พระฉฬภิญญะ
    5. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
    พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ ๕ นัย คือ
    1. ไกลจากกิเลส
    2. กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
    3. เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
    4. เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
    5. ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     
  2. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนาสาธุ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และเหล่าอรหันตสาวกทั้งหลาย ดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยเส้นทางสายใด เส้นทางสายนั้นคือ สติปัฎฐาน 4 ดังนี้<O:p</O:p
    ดูกร ท่านผู้ใดเห็นภัยในวัฎฎสงสารทั้งหลาย ทางคือ สติปัฎฐาน 4 นี้ เป็นทางสายเดียวที่เป็นไปพร้อม เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความเศร้าโศกเสียใจพิไรรำพัน เพื่อดับทุกข์ดับโทมนัส เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ดังนี้ สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
     
  3. lonely_pkw

    lonely_pkw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +333
    อนุโมทนาสาธุ

    นิพพานัง ปัจจะโย โหตุ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอให้ดังก้องถึงพระนิพพาน
     
  4. ธรรมะชาติ

    ธรรมะชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +64
    พวกท่านเหล่า สงฆ์ ทั้งหลาย ท่านจะไม่เดียวดายอีกต่อไป บัดนี้ ตถาคต ได้ลงมาสู่โลกมนุษย์แล้ว ยึดถือ เอา ศีล 5ไว้ ฝึก สมาธิ จะทำให้เกิด ปัญญา ตถาคต ได้เป็นผู้นำ เหล่ามวลหมู่เทพ เทวดา มาจรรโลง พุทธศาสนา เอง ในประเทศไทย นี้เอง ผู้ใดที่ค้นหา ตถาคตพบ ผู้นั้นจักเห็นธรรม ผู้แสวงหานิพพาน จะได้รับคำสั่งสอนจาก ตถาคต เอง เฉกเช่นพุทธกาล
     
  5. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    นี้แน่ะ ช่วย
    ว่าแต่ Google หรือ yahoo เนี่ย
     
  7. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    สังขารุเบกขาญาณนี้ เป็นปัจจัยที่จะให้สำเร็จเป็นพระกริยบุคคล ๗ จำพวก
    คือ สัทธานุสารีจำพวก ๑ สัทธาวิมุตรติจำพวก ๑ กายสักขีจำพวก ๑
    อุภโตภาควิมุตติจำพวก ๑ ธัมมานุสารีจำพวก ๑ ทิฏฐิปัตตจำพวก ๑
    ปัญญาวิมุตติจำพวก ๑
    รวมเป็น ๗ จำพวกด้วยกัน

    สังขารุเบกขาญาณ เป็นปัจจัยให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลเท่านั้น
    แต่ยังไม่ได้เป็นพระอริยะบุคคลทันที เมื่อถึงสังขารุเบกขาญาณ

    แต่ต้องผ่านอนุโลมญาณ โดยให้เข้าถึงสังขารุเบกขาญาณเนือง ๆ
    เพื่อให้มีกำลังเพียงพอที่จะเข้าูสู่โคตรภูญาณให้ได้

    เมื่อนั้นก็จะแลเห็นอริยภูมิ
     
  8. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    แลเห็นอริยภูมิ ขั้นแรกเห็นอย่างไร

    เห็นแบบ ไม่มีเรา ไม่มีเขา
    มีแต่ความบริสุทธิ์
    แต่ยังไม่ได้ชิมลิ้มรสแห่งความบริสุทธิ์นั้น
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา
    2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสังสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
    3. สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา
    ตัด 3อย่างนี้ได้ก้เห็น และชัดด้วยไม่ต้องสงสัยเลย ตาเกสเอาตัวนี้ก่อน สักกายทิฐิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...