อริยทรัพย์ โลกียทรัพย์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย jumook, 2 กันยายน 2011.

  1. jumook

    jumook เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2009
    โพสต์:
    121
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,043
    อริยทรัพย์ โลกียทรัพย์


    การเดินทางไกลในสังสารวัฏ เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางคือพระนิพพานนั้น จำต้องมีเสบียงเดินทางไกล ที่จะทำให้ชีวิตปลอดภัยและมีชัยชนะ คำว่า ปลอดภัย คือ ปลอด

    จากภัยในอบาย ซึ่งหมายถึง ไม่ต้องพลัดตกลงไปเกิดในภูมิของนรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน แต่ดำรงชีวิตอยู่อย่างผู้มีชัยชนะ ในเบื้องต้นก็คือ เวียนวนอยู่ในสอง

    ภพภูมิเท่านั้น ได้แก่ เทวโลกและมนุษย์โลก เวลาเป็นมนุษย์ก็ตั้งใจสั่งสมบุญสร้างบารมี พอหมดอายุขัย ก็ได้ไปเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ เมื่อถึงขีดถึงคราวก็ลงมาสร้างบุญ

    บารมีกันต่อ มาเพิ่มเติมบุญบารมีทั้งทาน ศีล ภาวนา ให้กลั่นกล้าและเข้มข้นยิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือชีวิตที่ปลอดภัยและมีชัยชนะในระหว่างเวียนว่ายตายเกิด อย่างไรก็ตาม การจะ

    ได้ชัยชนะที่แท้จริงที่ไม่มีวันกลับแพ้นั้น ต้องได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายอันสูงสุด ดังนั้น เพื่อความมั่นใจและการเดินทางไกลที่ปลอดภัย สิ่งที่เราต้องทำให้ได้

    ทุกวัน คือ หมั่นนั่งสมาธิเจริญภาวนา เพราะจะทำให้เรามีมหาสติมหาปัญญา สามารถดำเนินชีวิตได้ถูกต้องและบริสุทธิ์อย่างพระอริยะเจ้าทั้งหลาย จนกระทั่งได้เข้าสู่พระ

    นิพพาน


    มีธรรมภาษิตซึ่งปรากฏในขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า


    “ตัณหา ย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประมาท ตัณหาอันชั่วช้า ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น”


    จาก พระคาถานี้แสดงให้เห็นว่า เชื้อแห่งตัณหาเป็นผลพวงมาจากความประมาท ยิ่งประมาทมากกิเลสตัณหาจะครอบงำใจได้มาก และความเศร้าหมองความทุกข์ทั้งหลาย

    จะตามมา ตัณหาความทะยานอยาก นับเป็นวัฏจักรแห่งทุกข์ในวัฏสงสารทีเดียว เชื้อโรคเพียงนิดหน่อยหากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาย่อมระบาดไปทั่วร่างกายมากขึ้น ฉันใด เชื้อ

    แห่งตัณหาหากปล่อยไว้ด้วยความประมาทชะล่าใจย่อมพอกพูนมากขึ้น ฉันนั้น


    ฉะนั้น ผู้รู้ทั้งหลาย ท่านจึงไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต สิ่งใดที่หมิ่นเหม่ต่ออบายภูมิ ท่านจะไม่ไปเกี่ยวข้อง ดังเช่นพระเถระท่านหนึ่ง ที่ปฏิเสธทรัพย์สมบัติที่สามารถใช้สอย

    ทั้งชาติก็ไม่มีวันหมด จากหมู่ญาติที่ปรารถนาจะยกให้ถ้าท่านลาสิกขา พระเถระคิดอย่างไรกับทรัพย์สมบัติเหล่านั้น เราก็มาติดตามศึกษากัน ดังนี้


    พระ เถระรูปนี้มีนามว่ามาลุงกยะ ในอดีตชาติก่อนที่จะมาเกิดในยุคของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่านได้สั่งสมบุญบารมีประเภทเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพราะท่านทราบดีว่า

    การสร้างบารมี คือ เป้าหมายหลักของการมาเกิดในแต่ละชาติ และชีวิตหลังความตายนั้นยืนยาวกว่าชีวิตในโลกมนุษย์มากนัก ท่านจึงตระหนักเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมตอน

    เป็นดีกว่าไปเห็นตอนตาย เพราะถ้าไปเห็นตอนตายแล้ว ก็จะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมอะไรได้ ดังนั้น ท่านจึงไม่ประมาทในชีวิต และสั่งสมบุญสร้างบารมีอยู่เป็นนิตย์มิได้

    ขาด


    ครั้น มาในภพชาติสุดท้าย ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ได้ทำไว้ ได้ส่งผลให้ท่านมาเกิดในตระกูลที่ทำหน้าที่ดูแลการเงินประจำท้องพระคลังของ พระเจ้าปเสนทิโกศล โดยมีชื่อว่า

    มาลุงกยบุตร เมื่อโตเป็นหนุ่ม เนื่องจากในชาติหลังๆ ท่านใช้ชีวิตอย่างสมถสันโดษด้วยการออกบวชเป็นบรรพชิตมาตลอด ฉะนั้น เมื่อท่านมีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และ

    ได้ฟังธรรม จึงเหมือนถูกตามกลับมาเป็นพุทธบุตรอีก ก่อนหน้านี้ที่ลืมไปนั้น เพราะความตายมาพรากเอาความทรงจำไปเท่านั้น แต่ในใจลึกๆ เหมือนกับว่าชีวิตขาดอะไรไป


    ฉะนั้น เมื่อฟังพระธรรมจบ ท่านจึงตัดสินใจบวชทันที การตัดสินใจอย่างฉับพลันเช่นนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย ต้องมีอัธยาศัยความคุ้นกับการประพฤติพรหมจรรย์มาหลายชาติ

    ท่านจึงทำได้ง่าย เพราะคนเราคุ้นเคยอย่างไรมักจะทำอย่างนั้น เหมือนบางคนเข้าใจไปเองว่าขายหรือดื่มเหล้าไม่บาปไม่เดือดร้อนใคร เพราะเงินก็เงินของเราเองไปซื้อเหล้า

    การแสดงทัศนคติเช่นนี้ แม้ไม่ได้เบียดเบียนผู้อื่นโดยตรง แต่ก็เบียดเบียนตัวเอง ที่คุ้นกับการทำเช่นนี้ เพราะในอดีตคุ้นกับการคบคนพาล เป็นเรื่องของการคุ้นเคยกับการทำ

    ชั่ว แต่พระเถระท่านทำความดีมามาก จึงคุ้นเคยกับความดี ดังนั้น ท่านจึงทำความดีได้ง่าย พอตัดสินใจว่าจะบวชก็บวชได้ทันที โดยไม่ต้องกังวล


    เนื่อง จากว่าภพชาติที่ผ่านๆมา ท่านได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิมาตลอด เป็นผลให้ท่านสามารถทำใจหยุดใจนิ่งได้ดี จึงมีผลการปฏิบัติธรรมที่ก้าวหน้าเร็วมาก และไม่นาน

    ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตายในวัฏสงสาร และท่านเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา คือ สิ้นอาสวกิเลส มีตาทิพย์ หูทิพย์

    ระลึกชาติได้ รู้การไปเกิดมาเกิดของสรรพสัตว์ มีฤทธิ์ทางใจ เป็นพระอรหันต์ผู้มีอานุภาพมาก


    หลัง จากที่ท่านได้บรรลุธรรมสิ้นกิเลสอาสวะ ท่านก็นึกถึงญาติโยม อยากจะให้เขาได้รับความสุขอย่างที่ท่านได้รับบ้าง จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ออกเดินทางทันที

    ฝ่ายญาติๆ ของท่าน ครั้นทราบว่าท่านกลับมาบ้าน จึงพากันมากราบ หลังจากถามสารทุกข์สุกดิบกันแล้ว ญาติๆ ก็แสดงทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดของตระกูลให้ท่านดู โดย

    ขนเอามากองไว้ข้างหน้าท่าน แล้วกราบเรียนท่านว่า “ถ้าท่านสึกออกมาใช้ชีวิตฆราวาส เราทุกคนยินดียกทรัพย์มรดกที่สะสมมานับตั้งแต่บรรพบุรุษให้ท่านเป็นเจ้าของ ทั้ง

    หมด ท่านจงลาสิกขาออกมาเถิด เพราะทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไม่มีใครจะดูแลต่อได้ อีกอย่างที่สำคัญ คือ ตระกูลของเราจะมีผู้สืบสกุลที่มีความสามารถอย่างท่าน และการอยู่

    ครองเรือนสามารถทำบุญได้เหมือนกัน ไม่เห็นต้องบวชให้ลำบากเลย” หมู่ญาติคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง ก็ช่วยกันอ้อนวอนกึ่งบังคับเพื่อให้ท่านสึก


    แม้ เหตุการณ์จะดำเนินไปเช่นนี้ พระเถระก็ไม่ยินดียินร้ายต่อทรัพย์สมบัติที่กองอยู่ต่อหน้าและคำพูดที่หมู่ ญาติสรรหามาเพื่อเกลี่ยกล่อมให้ท่านลาสิกขา เพราะท่านเป็นพระ

    อรหันต์ จึงไม่มีกิจที่เนื่องด้วยฆราวาสแล้ว และเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลที่มั่นคงและสมบูรณ์ที่สุด มีสติและปัญญาสมบูรณ์ตลอดเวลา กิเลสตัณหาไม่มีแก่ท่านแล้ว เมื่อโอกาสมา

    ถึง ท่านจึงเหาะไปยืนสงบนิ่งสง่างามในอากาศท่ามกลางหมู่ญาติแล้วแสดงธรรมโปรดว่า “ทรัพย์ที่พวกท่านมีอยู่นั้น มีความหายนะคือตัณหาครอบงำอยู่ เราทุกคนเหมือนลิง

    ที่ต้องการทรัพย์สมบัติคือผลไม้ในป่า ต้องเร่ร่อนแสวงหาไปเรื่อยๆ เพราะตัณหาความทะยานอยาก และตัณหาความทะยานอยากนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีวันเต็ม แม้แต่ภพสาม

    หรือพรหมโลกยังแคบเกินไปที่จะบรรจุตัณหาของสรรพสัตว์ให้เต็มได้ ผู้ประมาทจะทำให้ตัณหาพอกพูนขึ้น ตัณหาที่พอกพูนขึ้นจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ฉะนั้น ท่านทั้ง

    หลายอย่ายินดีในทรัพย์สมบัติของนอกกายนี้เลย” เมื่อหมู่ญาติเห็นการแสดงปาฏิหาริย์พร้อมกับได้ฟังธรรมจากท่าน จึงหูตาสว่าง มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็น

    อุบาสกอุบาสิกา มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึงในที่สุด และได้เป็นตระกูลอุปัฏฐากบำรุงพระภิกษุสามเณรนับจากวันนั้นเป็นต้นมา


    เรา จะเห็นว่า อริยทรัพย์ภายในประเสริฐกว่าโลกียทรัพย์ทรัพย์ภายนอก ที่สามารถเอาชนะตัณหาความทะยานอยากได้ อีกทั้งจะทำให้เป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จะเป็นผู้

    มีจิตใจหนักแน่นไม่หวั่นไหวอย่างที่ปุถุชนทั้งหลายกำลังเป็นกัน อยู่ เพราะจิตใจของเขาไม่มีหลักเกาะ จึงขาดที่พึ่ง ดังนั้น ทรัพย์สินเงินทองที่มี ส่วนหนึ่งนอกจากเอาไว้ใช้

    หล่อเลี้ยงสังขารและบำรุงครอบครัวแล้ว เราต้องนำมาใช้สร้างบารมี เพื่อชีวิตของเราจะได้ไม่ตกอยู่ในความประมาท และจะได้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองฝ่ายเดียว


    เมื่อ เรายิ่งหมั่นสั่งสมบุญให้ทานอยู่เป็นนิตย์ ผลแห่งทานจะส่งผลให้เรามีความสุขสบาย ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่ต้องกังวลกับเรื่องการทำมาหากินมากนัก และ

    เมื่อจะรักษาศีลหรือเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำทาน จะทำให้เราสามารถทำได้ง่าย เพราะไม่ต้องไปมัวกังวลกับเรื่องปากเรื่องท้อง ฉะนั้น หนทางการ

    สร้างบารมีของพวกเรา จึงจำเป็นต้องบำเพ็ญมหาทานบารมีให้มากๆ เพื่อระยะทางแห่งพระนิพพานจะได้ย่นย่อเข้ามา เราจะได้ไปสู่อายตนนิพพาน ไปเสวยเอกันตบรมสุข

    สุขอย่างยอดเยี่ยมที่ไม่มีสุขใด ไม่ว่าจะเป็นสุขของมนุษย์ ของเทวดา ของพรหม หรือของอรูปพรหม ก็ไม่อาจเทียบได้กับสุขในพระนิพพาน ฉะนั้น ให้พวกเราตั้งใจกันให้ดี

    ให้สั่งสมบุญบารมีให้เต็มที่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2011
  2. jumook

    jumook เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2009
    โพสต์:
    121
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,043
    ผู้ไกลห่างจากเบญจกามคุณ




    การที่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน


    สังสารวัฏ เพราะใช้ชีวิตอย่างประมาท หลงใหลไปตามกระแส


    กิเลส ทำให้พลาดพลั้งไปประกอบบาปอกุศล ต้องไปเกิดใน


    นรกบ้าง ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานบ้าง พอ


    พ้นจากการเสวยทุกข์ในอบายภูมิ จะมาเกิดเป็นมนุษย์ชดใช้


    วิบากที่ยังเหลืออยู่ บางคนเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อละโลกไป ต้อง


    ไปเสวยทุกข์ใหญ่ในโลกันตมหานรก กลายเป็นตอขวางวัฏฏะ



    แม้มีโอกาสมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะผิดพลาดไปทำบาปอกุศล


    ซ้ำและตกไปในอบายอีก การจะหลุดพ้นจากวัฏจักรนี้ได้ ต้อง


    อาศัยท่านผู้มีบุญบารมีมาแนะนำ เพราะฉะนั้น ทุกๆ คนอย่า


    ได้ประมาทในชีวิต ให้รักในการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งอยู่ภายใน



    ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพราะที่ตรงนี้เท่านั้น ที่จะ


    สามารถควบคุมใจไม่ให้ใช้ชีวิตอย่างประมาท จะทำให้ชีวิต


    ของเราสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง อยู่ตรงไหนก็มีความสุขตลอด


    เวลา ฉะนั้น ต้องปฏิบัติธรรมะให้ได้ทุกๆ วัน อย่าให้ขาดแม้


    แต่วันเดียว


    มีธรรมภาษิตซึ่งปรากฏในเตลุกานิเถรคาถา ความว่า
    พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีอาวุธ คือ ปัญญา เป็นที่พึ่งแก่ผู้มีภัย ผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระนิพพาน พระองค์ได้ประทานบันไดอันทอดไว้ดีแล้ว อันบริสุทธิ์และสำเร็จด้วยไม้แก่น คือ พระธรรม ซึ่งเป็นบันไดอันมั่นคงแก่เราผู้ถูกกระแสตัณหาพัดพาไป ผู้อาศัยบันไดขึ้นสู่ปราสาท คือ สติปัฏฐาน ย่อมได้เห็นท่า คือ อริยมรรคอันอุดม”


    อาวุธ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระปัญญาธิคุณ หรือ


    พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ตลอด ๔๕



    พรรษาของการเผยแผ่พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์นั้น พระองค์ไม่


    เคยใช้อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างอื่นในการเอาชนะข้าศึกศัตรู



    เพราะพระองค์ทรงเว้นจากการทำปาณาติบาต ทรงเว้นขาด


    จากการฆ่า แต่ทรงขจัดอาสวกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขัน


    ธสันดานของเหล่าเวไนยสัตว์ ชัยชนะของพระองค์ คือ การที่


    เหล่าเวไนยสัตว์ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากกิเลส


    อาสวะตามพระองค์ไปด้วย


    พระ ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และได้นำมาตรัส


    สอนแก่สัตว์โลก เป็นสุดยอดของปัญญาที่จะเอาชนะปัญหา


    และอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน เปรียบเสมือนขั้นบันไดที่ให้


    สรรพสัตว์ได้ก้าวข้ามสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน จะได้ไม่ต้องทน


    ทุกข์ทรมานอยู่ในภพสาม ซึ่งเป็นเสมือนคุกขนาดใหญ่ที่คอย


    กักขังสรรพสัตว์เอาไว้ โดยเฉพาะหัวข้อธรรม คือ สติปัฏฐาน


    อันประกอบไปด้วยธรรม ๔ ประการ คือ การตามเห็นกายใน


    กาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต้องอาศัย


    ภาวนามยปัญญาที่เกิดจากการทำใจหยุดใจนิ่งภายในตัวเท่า


    นั้น จึงจะสามารถทำให้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ได้บรรลุถึง


    อริยมรรค คือ พระนิพพานได้ เหมือนดังเรื่องของพระเถระ ผู้


    แสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ที่จะได้นำมาเล่าให้ศึกษากัน



    ดังนี้


    *มก.เตลุกานิเถรคาถา เล่ม ๕๓/๓๗




    *เรื่อง มีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล มีปริพาชกท่านหนึ่งชื่อเตลุกา


    นิ เป็นคนถือศีล นุ่งขาวห่มขาว มีอัธยาศัยไมตรี ชอบศึกษา


    หาความรู้ เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ท่านได้


    ท่องเที่ยวไปตามสำนักของคณาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงใน


    สมัยนั้น ซึ่งล้วนอวดอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ รู้หนทางไปสู่


    พระนิพพาน แต่ทุกครั้งที่เข้าไปหาและได้เจรจาปราศรัย ต้อง


    พบกับความผิดหวังทุกครั้ง เพราะคำตอบของคณาจารย์เจ้า


    ลัทธิต่างๆ ล้วนแต่วกไปวนมาหาที่สุดมิได้ แต่เพราะท่านเป็น


    ผู้สั่งสมบุญมาดี จึงสามารถสอนตนเองได้ว่า สิ่งที่ท่านเหล่า


    นั้นร่ำเรียนกัน ไม่ใช่ปฏิปทาเพื่อนำไปสู่พระนิพพาน


    ปกติ ของปริพาชกจะมีอัธยาศัยรักความเงียบสงบ ไม่ชอบ


    เที่ยวเตร่สนุกสนานเฮฮาเหมือนเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เพราะ


    ท่านมีอุปนิสัยในการประพฤติพรหมจรรย์ต่อเนื่องกันมาหลาย


    ชาติ กระทั่งวันหนึ่ง การแสวงหาทางสู่ความหลุดพ้นของท่าน


    ได้สิ้นสุดลง เมื่อมีโอกาสมาฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธ


    เจ้า โดยหลังจากที่ท่านได้เที่ยวจาริกไปตามสำนักอาจารย์


    ต่างๆ แล้ว ก็กลับมายังกรุงสาวัตถี ขณะนั้นท่านได้เห็น


    มหาชนกำลังถือดอกไม้และของหอมไปวัดพระเชตวัน จึงถาม


    ว่า พุทธบริษัททั้งหลายต่างมุ่งหน้าไปที่ไหนกัน เมื่อทราบว่า


    จะไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความใฝ่รู้ ท่าน


    จึงเดินทางไปฟังธรรมพร้อมกับเหล่าพุทธบริษัท หลังจากฟัง


    พระธรรมเทศนาแล้ว ก็พบคำตอบที่แสวงหามาอย่างยาวนาน


    ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้รู้แจ้งโลกอย่างแท้จริง ทรงนำ


    สรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง จึงทำให้ปริพาชกเกิด


    ความเชื่อมั่นว่า ท่านผู้นี้เป็นบรมครูที่แท้จริง จากนั้น จึงตัดสิน


    ใจเปลี่ยนจากการนุ่งขาวห่มขาว มาขอบวชเป็นพระภิกษุใน


    บวรพุทธศาสนา


    ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ท่านได้สั่งสมมาอย่างดีแล้ว กับพระ


    สัมมาสัมพุทธเจ้าหลายพระองค์ เมื่อบวชแล้ว ใช้เวลาไม่นาน


    นักในการบำเพ็ญสมณธรรม ในที่สุดได้บรรลุธรรมเป็นพระ


    อรหันต์ ผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชาและปฏิสัมภิทาญาณ ทำให้


    ความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะของท่าน สม
    ปรารถนาในวันนั้น


    วัน หนึ่ง ขณะที่พระเถระกำลังนั่งสนทนาธรรมอยู่กับเพื่อน


    สหธรรมิก เมื่อพิจารณาถึงคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ และหวน


    ระลึกถึงการปฏิบัติของตนในครั้งก่อน จึงกล่าวสรรเสริญคุณ


    ของพระบรมศาสดาว่า “แต่ก่อน เราแม้มีความเพียร เที่ยว


    แสวงหาธรรมเครื่องพ้นทุกข์อยู่นาน แต่ไม่ได้ผลแม้เพียง


    ความสงบใจ จึงเที่ยวถามสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอ


    ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่


    อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใคร ในเมื่อใจของเรายังดิ้นรนไป


    มาเพราะกิเลส เหมือนปลาที่ติดเบ็ด เพราะหลงกินเหยื่อของ


    นายพราน เราถูกบ่วงใหญ่ คือ กิเลสผูกรัดไว้อย่างแน่นหนา



    เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วยบ่วงของท้าวสักกะ เราไม่


    สามารถทำลายบ่วง คือ กิเลสนั้นให้หลุดออกไปได้ จึงไม่พ้น


    จากความโศกและความร่ำไร ใครเล่าในโลกนี้ จะสามารถช่วย


    เราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้นไปได้ เราจะยอมรับสมณะหรือ


    พราหมณ์ท่านใดไว้เป็นผู้แสดงธรรมอันเป็นเครื่องกำจัด กิเลส



    เราจะปฏิบัติธรรมอันเป็นเครื่องพ้นจากชราและมรณะของใคร


    จิต ของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย มากไปด้วยความ


    แข่งดีและความกระด้างอันเกิดจากความทยานอยาก ขอท่าน


    จงดูเถิด กายอันเนื่องด้วยสัมผัสทั้ง ๖ เกิดขึ้นในที่ใด ย่อม


    แล่นไปในที่นั้นทุกเมื่อ เราจมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่อันนำดิน คือ



    ธุลีไปไม่ได้ เป็นห้วงน้ำที่ลาดไปด้วยความริษยา ความแข่งดี


    และความฟุ้งซ่านในกามคุณทั้งหลาย เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่



    ที่มีเมฆ คือ ความฟุ้งซ่านเป็นเครื่องคำรน มีสังโยชน์เป็น


    หยาดฝน ย่อมนำบุคคลผู้มีความเห็นผิดไปสู่สมุทร คือ อบาย



    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็นเครื่อง


    กั้นกระแสของตัณหาเหล่านั้นเถิด อย่าให้กระแสตัณหาอัน


    เกิดจากใจ พัดพาท่านทั้งหลายไป


    พระ ศาสดาผู้มีอาวุธ คือ ปัญญา เป็นผู้ที่หมู่ฤๅษีได้อาศัย



    เป็นที่พึ่งแก่เราผู้มีภัย ผู้แสวงหาฝั่ง คือ นิพพาน พระองค์ได้


    ทรงประทานบันไดอันทอดไว้ดีแล้ว ที่ทำด้วยไม้แก่น คือ พระ


    สัทธรรม เป็นบันไดมั่นคงแก่เรา ผู้ถูกกระแสตัณหาพัดไป พระ


    พุทธองค์ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ที่หมักดองอยู่


    ในใจเราให้หมดสิ้นไป”


    นี่ เป็นวาทธรรมของพระอรหันต์ ที่ท่านหลุดพ้นแล้ว เราทั้ง


    หลายก็เช่นกัน หากปรารถนาจะหลุดพ้นจากภพสาม ต้อง


    น้อมนำธรรมะของพระพุทธองค์มาปฏิบัติ ไม่ใช่แค่ฟังพอ


    ผ่านๆ หรือศึกษาพอเป็นความรู้ประดับสติปัญญา แต่ต้องนำ


    มาขบคิดพิจารณาและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง แม้พระ


    พุทธองค์จะทรงดับขันธปรินิพพานนานมาแล้ว แต่พระ


    สัทธรรมอันบริสุทธิ์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ยังคงทนต่อ


    การพิสูจน์ เป็นเอหิปัสสิโก พร้อมที่จะให้เรานำไปปฏิบัติและ


    เข้าถึงได้ เพียงน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ สามารถทำให้เรา


    หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง เพราะธรรมดาของสรรพสัตว์ทั้ง


    หลาย ต่างปรารถนาความสุขและความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้ง


    มวล ฉะนั้น ตอนนี้จึงเป็นโอกาสสำหรับเรา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ


    การปฏิบัติของเรา ถ้าเราตั้งใจจริง จะสมความปรารถนากัน


    ทุกๆ คน

     
  3. Suprawee

    Suprawee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +310
    เนื้อหาดีมากครับ หามาลงบ่อยๆนะครับ อนุโมทนาบุญกับคุณ jumook ด้วยครับ
     
  4. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระสงฆเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สองฯ

    ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สอง ฯ

    ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระสงฆเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สอง ฯ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สาม ฯ

    ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สาม ฯ

    ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สาม ฯ


    อนุโมทนา ในบทความครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...