"อริยทรัพย์"....ทรัพย์สินที่นำติดตัวไปได้เมื่อตายไปแล้ว

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>

    [​IMG]
    </CENTER>
    <!--images-->ทรัพย์สินที่นำติดตัวไปได้เมื่อตายไปแล้ว

    อริยทรัพย์ ลองอ่านดู ค่อยๆอ่านแล้วพิจารณา อ่านแล้วดี ส่งต่อได้บุญมาก( ธรรมทาน)


    วันนี้เป็นวันพระตามปฏิทินทางจันทรคติที่เวียนมาอีกครั้งทุกๆ ๖ วัน ๗ วัน หรือ ๘ วัน เป็นธรรมเนียมของชาวพุทธ เมื่อถึงวันพระก็จะเข้าวัดกันเพื่อประกอบกิจทางศาสนา มีการบูชาพระรัตนตรัย ให้ทาน บริจาคข้าวของต่างๆ สมาทานศีลด้วยความมีหิริโอตตัปปะ ความอายและเกรงกลัวบาป ฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่อเสริมสติปัญญา ความรู้ ความฉลาด เป็นการสะสมอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน ด้วยการสละทรัพย์ภายนอก มีเงินทองข้าวของทรัพย์สมบัติต่างๆ บริจาคถวายทานให้กับพระสงฆ์องค์เจ้า เป็นการเอาทรัพย์ภายนอกแลกทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายในก็คือคุณธรรมความดีทั้งหลาย

    การไปวัดจึงเหมือนกับการไปธนาคารเพื่อไปทำธุรกรรมการเงิน ถ้าจะเดินทางไปต่างประเทศก็ต้องแลกเงินเป็นสกุลต่างๆ ไปประเทศอังกฤษก็แลกเงินสกุลปอนด์ของอังกฤษ เพราะเงินไทยใช้ได้แต่ในประเทศไทยเท่านั้น เวลาไปต่างประเทศก็ต้องใช้เงินสกุลของประเทศนั้นๆ ฉันใด ภพชาตินี้ก็เป็นเหมือนประเทศหนึ่ง เมื่อตายไปก็ต้องไปอีกภพชาติหนึ่ง อีกประเทศหนึ่ง สิ่งที่จะเอาติดตัวไปได้ก็คือทรัพย์ภายในที่เรียกว่าอริยทรัพย์ เป็นเหมือนเงินสกุลของประเทศที่เราจะไป ส่วนทรัพย์ภายนอก เช่นทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง ไม่สามารถเอาติดตัวไปได้แม้แต่บาทเดียว สตางค์แดงเดียวก็เอาไปไม่ได้

    คนฉลาดจึงเอาทรัพย์ภายนอกมาแลกเป็นทรัพย์ภายในไว้ เอาทรัพย์ภายนอกที่มีมาฝากไว้ในธนาคารบุญ แล้วแลกเป็นเงินสกุลต่างๆ เวลาเดินทางไปภพหน้าชาติหน้า ก็จะมีทรัพย์ติดตัวไป เป็นอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน เป็นทรัพย์ที่ไม่มีใครแย่งหรือขโมยไปได้ ไม่เหมือนทรัพย์ภายนอก โดนขโมยไป ถูกโกงไป หรือถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองยึดไปก็ได้ แต่ทรัพย์ภายในหรืออริยทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่ไม่มีใครแย่งชิงไปได้ เป็นทรัพย์ของเราโดยแท้ เป็นทรัพย์ที่ติดตัวไปกับเรา เมื่อเราตายไปแล้วเราต้องเดินทางต่อไป ถ้ามีทรัพย์ภายในเราก็จะไปสู่สุคติ ไปสู่ที่ที่มีแต่ความสุขความเจริญ เป็นเทพ เป็นพรหม เป็นพระอริยบุคคล เป็นมนุษย์ ถ้าไม่มีอริยทรัพย์ ตายไปก็จะต้องไปสู่อบาย สู่ทุคติเท่านั้น เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก เพราะขาดอริยทรัพย์ที่จะฉุดรั้งไว้ไม่ให้ไปสู่ที่ต่ำ นักปราชญ์คนฉลาด ผู้รู้จักเหตุรู้จักผล เมื่อได้ยินได้ฟังพระธรรมคำสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเกิดศรัทธา ย่อมน้อมเอาสิ่งต่างๆที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนมาประพฤติปฏิบัติกับตน ดังที่ท่านทั้งหลายได้มากระทำกันในวันนี้ เป็นการมาสะสมทรัพย์ภายในหรืออริยทรัพย์

    อริยทรัพย์ มี ๗ ประการด้วยกัน คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อ ๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา ๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก ๖. จาคะ ๗. ปัญญา

    ๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อในพระพุทธเจ้า เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จริงเห็นจริง รู้ในสิ่งต่างๆที่เราไม่รู้กัน เช่นรู้เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ รู้เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด รู้เรื่องบาป รู้เรื่องบุญ รู้เรื่องคุณ รู้เรื่องโทษ รู้เรื่องมรรค ผล นิพพาน คือสิ่งที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญผู้เต็มไปด้วยอวิชชา ยังไม่สามารถล่วงรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้ ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยสติปัญญาความรู้ความฉลาด วิริยะความอุตสาหะพากเพียร ขันติความอดทน สะสมบุญบารมีมาเป็นกัปเป็นกัลป์ จนบรรลุเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า มีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา เห็นสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในไตรภพ ในโลกทั้ง ๓ นี้ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ โลกของการเวียนว่ายตายเกิด ผู้มีดวงตาเห็นธรรมสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ พวกเรายังมืดบอด ยังไม่รู้ไม่เห็น แต่มีแววแห่งความฉลาด ตรงที่ยอมรับว่าเรายังโง่อยู่ และยอมรับว่าพระพุทธเจ้าฉลาดกว่าเรา เมื่อพระพุทธองค์เป็นผู้มีความฉลาดกว่าเรา รู้มากกว่าเรา เราจึงเชื่อพระพุทธเจ้า คือเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมีอยู่ ๓ ข้อใหญ่ๆ คือ ๑. กรรม ๒. วิบาก ๓. สัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆตน

    ๑. เชื่อว่ากรรม คือการกระทำทาง กาย วาจา ใจ เป็นเหตุที่นำมาซึ่งความสุขหรือความทุกข์ ความเจริญหรือความเสื่อม ภพชาติต่างๆเป็นผลที่เกิดมาจากกรรม เช่นเชื่อว่าเหตุที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เพราะในอดีตเคยทำความดีรักษาศีลไว้ จึงทำให้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างนี้เป็นต้น

    ๒. เชื่อวิบากผลของกรรม เชื่อว่าเมื่อทำกรรมไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่ว จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น เช่นการได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเดรัจฉาน เป็นสุนัข เป็นแมว เป็นวิบาก เป็นผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต ได้ทำกรรมมาต่างกันจึงทำให้มาเกิดต่างกันไป มีความแตกต่างไม่เท่าเทียมกัน ทางด้านเพศ ทางด้านรูปร่างหน้าตา ทางด้านความรู้ความฉลาด ทางด้านฐานะการเงิน เหล่านี้เรียกว่าวิบาก คือผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต เชื่อว่าเราเป็นอยู่อย่างนี้ก็เพราะทำมาแค่นี้ สะสมบุญบารมีมาแค่นี้ ทำมาแค่นี้ก็ได้แค่นี้ ถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็ต้องสะสมบุญบารมีให้มากขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดของบุญบารมี ก็จะบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน การสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก

    ๓. เชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน เมื่อทำกรรมแล้ววิบากย่อมตามมาเหมือนเงาตามตัว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครช่วยใครให้พ้นวิบากกรรมของตนไปได้ หรือสร้างบุญกุศลให้แก่กันได้ เมื่อถึงเวลาที่ผลบุญจะเกิดขึ้นกับผู้หนึ่งผู้ใด ก็ไม่มีใครไปห้ามได้ เช่นเดียวกับผลของบาปกรรม เมื่อถึงเวลาที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่มีใครไปยับยั้งได้ สิ่งที่ทำได้ก็คือช่วยเท่าที่จะช่วยได้ ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเรา ก็ต้องทำใจให้นิ่งเฉยเป็นอุเบกขา ยอมรับความจริงว่า สัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน จักทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ไม่มีใครยับยั้งผลของกรรมได้ เมื่อถึงเวลาก็ต้องรับผลของกรรมกันทุกๆคน

    ๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา เมื่อมีศรัทธาแล้วเราก็จะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน โดยเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราก็จะทำแต่สิ่งที่ดีและหลีกเลี่ยงการทำบาป ด้วยการรักษาศีลตามกำลังศรัทธา วิริยะ สติ ปัญญา ตั้งแต่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ จนถึง ศีล ๒๒๗ ศีลคือความปกติทางกายและทางวาจา ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่สร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ ละเว้นจากการเสพสุรายาเมา

    ๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เมื่อเห็นว่าการทำบาปเป็นสิ่งไม่ดี จึงละเว้น ด้วยหิริ ความอายบาป และโอตตัปปะ ความกลัวบาป ทุกคนมีความอายกัน แต่สิ่งที่น่าอายกลับไม่อาย กลับไปอายในสิ่งที่ไม่น่าอาย เช่นไปอายในความยากจน ในรูปร่างหน้าตาที่ไม่สวยงาม ในความโง่เขลาเบาปัญญาของตน สิ่งที่น่าอายคืออะไร ก็คือการกระทำความชั่วทั้งหลาย เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดประเวณี การพูดปดมดเท็จ การเสพสุรายาเมา เพราะเมื่อทำบาปไปแล้วก็เหมือนกับเอาไฟมาเผาตัวเองและผู้อื่น สร้างความทุกข์ทรมานให้กับตนและผู้อื่น เป็นสิ่งที่น่าอับอาย น่าขยะแขยงอย่างยิ่ง

    เช่นเดียวกับความกลัว สิ่งที่น่ากลัวกลับไม่กลัว สิ่งที่ไม่น่ากลัวกลับไปกลัว เช่นกลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวเลย เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดกับทุกๆคน เป็นธรรมดา เป็นปกติของธาตุขันธ์ ของร่างกาย เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ผู้ที่กลัวคือผู้ที่มีความสำคัญมั่นหมาย ไปยึด ไปติด ว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของๆเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็คิดว่าเราแก่ เราเจ็บ เราตาย แทนที่จะคิดว่าร่างกายแก่ ร่างกายเจ็บ ร่างกายตาย ก็กลับไปหลงคิดว่าร่างกายนี้แหละคือเรา เมื่อจิตติดอยู่กับร่างกาย ก็เลยคิดว่าจิตเป็นกาย กายเป็นอะไรจิตก็เป็นไปด้วย ก็เลยเกิดความกลัวขึ้นมา นี่คือความหลง

    ถ้าได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรมแล้วจะสามารถแยกแยะกายออกจากจิตได้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากายก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตก็เป็นอย่างหนึ่ง กายนี้เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แล้วกลายเป็นอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น นี่คือเรื่องของร่างกาย เป็นธาตุขันธ์ล้วนๆ มาจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่เป็นเพราะขาดปัญญาเลยทำให้จิตถูกอวิชชาครอบงำ ไปยึด ไปติด ไปหลงว่าร่างกายนี้เป็นจิต จิตเป็นร่างกาย เมื่อร่างกายเป็นอะไรไป ก็เกิดกลัวขึ้นมา กลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย สำหรับผู้ที่ได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรมอย่างถ่องแท้แล้ว อย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะไม่กลัว ความแก่ เจ็บ ตาย เลยแม้แต่น้อย ท่านตายได้ในทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน ด้วยความเป็นปกติสุข ไม่มีความหวั่นไหว เพราะท่านมีปัญญา มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ท่านปล่อยวาง ไม่ไปยึดไม่ไปติดในธาตุขันธ์ ถ้ายังดีอยู่ก็เอาไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมือนเสื้อผ้าที่ยังดีอยู่ก็ใส่ไป ถ้าขาดก็ทิ้งไปฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้นเมื่อถึงเวลาแตกดับก็ทิ้งไป

    สิ่งที่น่ากลัวคืออะไร ก็คือบาปกรรม การกระทำความชั่วทั้งหลาย เพราะจะนำมาซึ่งความทุกข์ความหายนะ เริ่มตั้งแต่ในปัจจุบัน เมื่อทำความชั่วแล้วจิตจะมีความร้อน มีความกังวล มีความหวาดวิตก เกิดความกลัวขึ้นมา กลัวจะถูกจับได้ว่าทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เมื่อตายไปก็ต้องไปใช้กรรมในอบายต่อไป ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เพราะขาดหิริ ความอาย และโอตตัปปะ ความกลัวบาป ขาดศรัทธา ไม่เชื่อในเรื่องบาปกรรม ก็เลยเกิดความประมาทขึ้นมา คิดว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเรื่องแต่งขึ้นมา เพื่อหลอกให้ทำความดีโดยไม่มีผลดีอะไรตามมา ถ้าคิดเช่นนี้ จะเป็นคนที่สร้างความทุกข์อย่างแสนสาหัสให้กับตนเอง เพราะจะไม่มีหิริโอตตัปปะ แล้วจะทำบาปไปไม่มีที่สิ้นสุด ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ ก็จะมีหิริโอตตัปปะ ความอายและความกลัวบาป จะสะสมบุญแบบไม่กลัวจน ไม่กลัวว่าจะเสียเงิน เสียทอง เสียเวลา เพราะบุญกุศลที่ได้นั้น มีคุณค่ามากยิ่งกว่าเงินทอง ยิ่งกว่าเวลาที่เสียไป เพราะได้อริยทรัพย์นั่นเอง

    ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก การได้ยินได้ฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้รู้มาก เป็นผู้ศึกษามาก การที่ได้ศึกษามากต้องอาศัยการได้ยินได้ฟังจากผู้ที่มีความรู้ โดยเฉพาะรู้ทางธรรม เพราะธรรมเป็นแสงสว่างนำชีวิต ให้รู้จัก บาป บุญ คุณ โทษ กรรม และ วิบาก ถ้าได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ ต่อไปจะเป็นผู้ที่มีความรู้มาก เป็นพหูสูต เป็นพาหุสัจจะ คือเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก เป็นอริยทรัพย์

    ๖. จาคะ การเสียสละ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนให้แก่ผู้อื่น เป็นการลดละความเห็นแก่ตัว ความหลงในตัวตน โดยเห็นว่าสมบัติเงินทองที่มีอยู่เป็นสมบัติผลัดกันชม ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องพลัดพรากจากกัน ไม่ใช่ของๆตน ทรัพย์สมบัติที่แท้จริงต้องเป็นอริยทรัพย์ ที่เกิดจากจาคะ การเสียสละ แจกจ่าย แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ถ้ามีทรัพย์ที่เหลือใช้แล้วไม่เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการบริจาคแบ่งปันให้กับผู้อื่น ก็จะไม่มีอริยทรัพย์ เหมือนกับการไม่ได้แลกเงินตราต่างประเทศไว้ใช้เวลาเดินทางไปต่างประเทศ จะมีแต่เงินที่ไม่สามารถเอาติดตัวไปใช้ได้ ไปเกิดภพหน้าชาติหน้า ก็จะมีแต่ความอดอยากขาดแคลน ในปัจจุบันก็จะถูกอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลงคุกคาม สร้างความร้อนรนให้แก่จิตใจ หาความร่มเย็นเป็นสุขไม่ได้

    ๗. ปัญญา ความรู้ความฉลาด คือรู้ความจริง รู้อะไรคือเหตุ รู้อะไรคือผล รู้อะไรคือบาป รู้อะไรคือบุญ รู้อะไรคือคุณ รู้อะไรคือโทษ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้ารู้แล้วย่อมทำแต่สิ่งที่ดีที่งาม ละเว้นจากการประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม นำความสุขมาสู่ตน บาปกรรมไม่ทำ ทำแต่บุญอย่างเดียว เหมือนกับคนที่ไปธนาคาร ไม่กู้หนี้ยืมสิน มีแต่ฝากอย่างเดียว หนี้สินมีเท่าไรก็ชดใช้หมด เมื่อหมดหนี้สินแล้วก็สบายใจ ผู้ที่มีหนี้สินรุงรังมีแต่ความทุกข์ใจ ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ก็คิดหนีหนี้ด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ฆ่าที่ตัวต้นเหตุของการมีหนี้สิน คือตัวฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ตัวโลภ ตัวอยากต่างหาก ที่ทำให้มีหนี้มีสิน ต้องฆ่าด้วยการประหยัด มักน้อย สันโดษ

    ถ้ามีการประหยัด มักน้อย สันโดษแล้ว ก็จะใช้จ่ายอยู่ในกรอบของรายได้ มีเงินมีทองเท่าไรก็จะมีพอใช้ เพราะได้ควบคุมตัณหา ความอยากความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน ถ้าไม่แก้ตรงนี้ ไม่ว่าจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกกี่ภพกี่ชาติ ก็จะต้องมีหนี้สินอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินไม่ได้ ก็ต้องฆ่าตัวตายไปเรื่อยๆเพราะติดเป็นนิสัย จึงต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือการเอาชนะความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ความอยาก ความโลภทั้งหลายด้วยการประหยัดมัธยัสถ์ และความมักน้อยสันโดษ

    เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขทั้งในปัจจุบันและในภพหน้าชาติหน้าจึงควรสะสม อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อ ๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา ๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก ๖. จาคะ ๗. ปัญญา การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้

    โดย : คนดอยคอยรัก

    ที่มา เอ็มไทย <!--detail--><!-- [​IMG] -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2010
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ . . .ดีแล้วชอบแล้ว




    .
     
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    อนุโมทนาจ๊ะปุ๊กก้าที่ส่งลิงค์ดีๆ มาให้ ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่นำมาเผยแพร่นะ สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    หลักธรรมของนักบริหาร
    <O:p
    หลักธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล นับถึงปัจจุบัน<O:p</O:p
    เป็นเวลา 2540 กว่าปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็น<O:p</O:p
    เครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าว<O:p</O:p
    เป็นความจริงที่ สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า “สัจธรรม” ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริงอยู่ที่เราจะนำ<O:p</O:p
    หลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือ<O:p</O:p
    และปฏิบัติอย่างมากมาย ซึ่งได้นำเสนอไว้บ้าง เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    พรหมวิหาร 4<O:p</O:p
    เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา) ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ<O:p</O:p
    1. เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข <O:p</O:p
    2. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์<O:p</O:p
    3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข<O:p</O:p
    4. อุเบกขา วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อคติ 4<O:p</O:p
    อคติ หมายความว่า การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม มี 4 ประการ

    1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่<O:p</O:p
    2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ<O:p</O:p
    3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา<O:p</O:p
    4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว<O:p</O:p
    อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่ ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม

    <O:p</O:p
    สังคหวัตถุ 4 <O:p</O:p
    เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง และหมู่คณะก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง<O:p</O:p
    1.ทาน ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้<O:p</O:p
    2.ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน<O:p</O:p
    3.อัตถจริยา ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์<O:p</O:p
    4.สมานนัตตตา วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิทธิบาท 4<O:p</O:p
    เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ<O:p</O:p
    1.ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน<O:p</O:p
    2.วิริยะ ความขยันมั่นเพียร<O:p</O:p
    3.จิตตะ ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน<O:p</O:p
    4.วิมังสา ไตร่ตรองหาเหตุผล
    <O:p</O:p
    ทศพิธราชธรรม 10 ประการ<O:p</O:p
    เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาลแด่นักบริหาร เช่น<O:p</O:p
    สรรพสามิตจังหวัด สรรพสามิตอำเภอ ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้<O:p</O:p
    หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้<O:p</O:p
    1. ทาน คือ การให้ปัน ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์<O:p</O:p
    2. ศีล ได้แก่การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม<O:p</O:p
    3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อน<O:p</O:p
    ของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข<O:p</O:p
    4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม<O:p</O:p
    5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ<O:p</O:p
    6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ<O:p</O:p
    7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ<O:p</O:p
    8. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนคนอื่น<O:p</O:p
    9. ขันติ ได้แก่ ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น<O:p</O:p
    10. อวิโรธนะได้แก่ การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม
    <O:p</O:p
    บารมี 6<O:p</O:p
    เป็นหลักธรรมอันสำคัญที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมาก<O:p</O:p
    สำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือปฎิบัติ มีอยู่ 6 ประการคือ<O:p</O:p
    1. ทาน การให้เป็นสิ่งที่ควรให้<O:p</O:p
    2. ศีล การประพฤติในทางที่ชอบ<O:p</O:p
    3. ขันติ ความอดทนอดกลั้น<O:p</O:p
    4. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร<O:p</O:p
    5. ฌาน การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง<O:p</O:p
    6. ปรัชญา ความมีปัญญารอบรู้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขันติโสรัจจะ

    เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม (ธรรมทำให้งาม)<O:p</O:p
    1. ขันติ คือ ความอดทน มีลักษณะ 3 ประการ <O:p</O:p
    1.1 อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย วาจา ที่ไม่น่ารักออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น<O:p</O:p
    1.2 อดใจทนได้ต่อความลำบากตรากตรำหรือความเหน็ดเหนื่อย<O:p</O:p
    2. โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ธรรมโลกบาล

    เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข มี 2 ประการคือ<O:p</O:p
    1. หิริ ความละอายในตนเอง<O:p</O:p
    2. โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อทุกข์ และความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อธิฐานธรรม 4

    เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิตย์ เพื่อเป็นเครื่องนิยมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริง<O:p</O:p
    รู้จักเสียสละ และบังเกิดความสงบ มี 4 ประการ

    1. ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รู้ในวิชา<O:p</O:p
    2. สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริงไม่ทำอะไรจับจด<O:p</O:p
    3. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือ สละความเกียจคร้าน หรือความหวาดกลัวต่อความยุ่งยาก ลำบาก
    4. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือ ยับยั้งใจมิให้ปั่นป่วนต่อความพอใจ รักใคร่ และความขัดเคืองเป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คหบดีธรรม 4

    เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือนพึงยึดถือปฏิบัติ มี 4 ประการ คือ
    1. ความหมั่น
    2. ความโอบอ้อมอารี<O:p</O:p
    3. ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ<O:p</O:p
    4. ความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ราชสังคหวัตถุ 4

    เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องช่วยในการวางนโยบายบริหารบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี <O:p</O:p
    มี 4 ประการ คือ<O:p</O:p
    1. ลัสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดปรีชาในการพิจารณาถึงผลิตผลอันเกิดขึ้นในแผ่นดิน แล้วพิจารณาผ่อนผันจัดเก็บเอาแต่บางส่วนแห่งสิ่งนั้น<O:p</O:p
    2. ปุริสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดในการดูคนสามารถเลือกแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในความถูกต้องและเหมาะสม<O:p</O:p
    3. สัมมาปาลัง การบริหารงานให้ต้องใจประชาชน<O:p</O:p
    4. วาจาเปยยัง ความเป็นบุคคลมีวาจาไพเราะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวตามเหตุการณ์ <O:p</O:p
    ตามฐานะและตามความเป็นธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สติสัมปชัญญะ
    เป็นหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประพฤติเป็นอันมาก<O:p</O:p
    1.สติ คือ ความระลึกได้ก่อนทำ ก่อนบูชา ก่อนคัด คนมีสติจะไม่เลินเล่อ เผลอตน<O:p</O:p
    2.สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวในเวลากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    อกุศลมูล 3
    อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความชั่ว มี 3 ประการคือ<O:p</O:p
    1. โลภะ ความอยากได้<O:p</O:p
    2. โทสะ ความคิดประทุษร้ายเขา<O:p</O:p
    3. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นิวรณ์ 5
    นิวรณ์ แปลว่า ธรรมอันกลั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี มี 5 ประการ<O:p</O:p
    1. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ มีพอใจในรูป เป็นต้น<O:p</O:p
    2. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น<O:p</O:p
    3. ถีนมิทธะ ความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม<O:p</O:p
    4. อุธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ<O:p</O:p
    5. วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจได้<O:p</O:p
    <O:p
    <O:p
    ผู้กำจัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้ ย่อมได้นิสงส์ 5 ประการคือ

    1. ไม่ข้องติดอยู่ในกายตนหรือผู้อื่นจนเกินไป<O:p</O:p
    2. มีจิตประกอบด้วยเมตตา<O:p</O:p
    3. มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี<O:p</O:p
    4. มีความพินิจและความอดทน<O:p</O:p
    5. ตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง
    <O:p</O:p
    เวสารัชชกรณะ 5
    เวสารัชชกรณะ แปลว่า ธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้นมี 5 ประการ คือ

    1. ศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ<O:p</O:p
    2. ศีล ประพฤติการวาจาเรียบร้อย<O:p</O:p
    3. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก<O:p</O:p
    4. วิริยารัมภะ ตั้งใจทำความพากเพียร<O:p</O:p
    5. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อริยทรัพย์ 7
    1. ศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ<O:p</O:p
    2. ศีล ประพฤติการวาจาเรียบร้อย<O:p</O:p
    3. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต<O:p</O:p
    4. โอตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต<O:p</O:p
    5. พาหุสัจจะ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมามาก<O:p</O:p
    6. จาคะ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้<O:p</O:p
    7. ปัญญา ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นไท<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สัปปุริสธรรม 7
    เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี (ผู้ประพฤติชอบ) มี 7 ประการ

    1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้ว่าเป็นเหตุ<O:p</O:p
    2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล<O:p</O:p
    3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน<O:p</O:p
    4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ<O:p</O:p
    5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม<O:p</O:p
    6. ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักสังคม<O:p</O:p
    7. บุคคลโรปรัชญญุตา ความเป็นผู้รู้จักคบคน
    <O:p</O:p
    คุณธรรมของผู้บริหาร 6
    ผู้บริหาร นอกจากจะมีคุณวุฒิในทางวิชาการต่าง ๆ แล้วยังจำเป็นต้องมีคุณธรรมอีก 6 ประการ

    1. ขมา มีความอดทนเก่ง<O:p</O:p
    2. ชาตริยะ ระวังระไว<O:p</O:p
    3. อุฎฐานะ หมั่นขยัน<O:p</O:p
    4. สังวิภาคะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่<O:p</O:p
    5. ทยา เอ็นดู กรุณา<O:p</O:p
    6. อิกขนา หมั่นเอาใจใส่ตรวจตราหรือติดตาม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ยุติธรรม 5
    นักบริหารหรือผู้นำมักจะประสบปัญหาหรือร้องเรียนขอความเป็นธรรมอยู่เป็นประจำ<O:p</O:p
    หลักตัดสินความเพื่อให้เกิดความ “ยุติธรรม” มี 5 ประการ คือ<O:p</O:p
    1. สัจจวา แนะนำด้วยความจริงใจ<O:p</O:p
    2. บัณฑิตะ ฉลาดและแนะนำความจริงและความเสื่อม<O:p</O:p
    3. อสาหะเสนะ ตัดสินด้วยปัญญาไม่ตัดสินด้วยอารมณ์ผลุนผลัน<O:p</O:p
    4. เมธาวี นึกถึงธรรม (ยุติธรรม) เป็นใหญ่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง<O:p</O:p
    5. ธัมมัฎฐะ ไม่ริษยาอาฆาต ไม่ต่อเวร<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า 7
    นักบริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมหวังความเจริญก้าวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเครื่องเจริญยศ (ความก้าวหน้า) ไว้ 7 ประการ คือ<O:p</O:p
    1. อุฎฐานะ หมั่นขยัน<O:p</O:p
    2. สติ มีความเฉลียว<O:p</O:p
    3. สุจิกัมมะ การงานสะอาด<O:p</O:p
    4. สัญญตะ ระวังดี<O:p</O:p
    5. นิสัมมการี ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงธรรม<O:p</O:p
    6. ธัมมชีวี เลี้ยงชีพโดยธรรม <O:p</O:p
    7. อัปปมัตตะ ไม่ประมาท<O:p</O:p
    <O:p
    ไตรสิกขา
    เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด นักบริหารต้องประกอบตนไว้ใน<O:p</O:p

    ไตรสิกขาข้อที่ต้องสำเหนียก 3 ประการ คือ<O:p</O:p
    1. ศีล<O:p</O:p
    2. สมาธิ<O:p</O:p
    3. ปัญญา<O:p</O:p
    ทั้งนี้เพราะ ศีล เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด<O:p</O:p
    สมาธิ เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ<O:p</O:p
    ปัญญา เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง รู้ถูก รู้ผิด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระพุทธโอวาท 3
    นักบริหารที่ทำงานได้ผลดี เนื่องจากได้ ”ตั้งใจดี” และ “มือสะอาด” พระพุทธองค์ได้วางแนวไว้ 3 ประการ ดังนี้<O:p</O:p
    1. เว้นจากทุจริต การประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา ใจ<O:p</O:p
    2. ประกอบสุจริต ประพฤติชอบ ทางกาย วาจา ใจ<O:p</O:p
    3. ทำใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฎิบัติ ย่อมจักนำความเจริญ ตลอดจนความสุขกาย<O:p</O:p
    สบายใจ ให้บังเกิดแก่ผู้ประพฤติทั้งสิ้น สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “ ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง” ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม


    ที่มา : ttp://area10.excise.go.th/file/knowledge/Buddha.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2010
  5. ราศีสิงห์

    ราศีสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    815
    ค่าพลัง:
    +2,118
    "อริยทรัพย์"....ทรัพย์สินที่นำติดตัวไปได้เมื่อตายไปแล้ว

    ยังไม่ทันอ่านรายละเอียดเจอหัวข้อกระทู้ก็ขนลุกแล้วครับ สาธุอนุโมทนา สู่ทางนิพพานทุกคนครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. ถนอม021

    ถนอม021 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,098
    ค่าพลัง:
    +3,163
    กราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

    ขอกุศลผลบุญนี้ช่วยให้ทุกท่านประสบความสำเร็จทุกสิ่งดังใจหวัง

    แคล้วคลาดจากบ่วงมาร

    เจ้ากรรมนายเวรทุกภพชาติอโหสิกรรมให้

    และได้เข้าถึงแดนพระนิพพานในภพนี้ชาตินี้ด้วยเทอญ

    สาธุ สาธุ สาธุ

    นิพพานนะ ปัจจุโย โหตุ

    เรา รัก we love
     
  7. singhol

    singhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +1,941
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ....ขอให้ชาวพุทธทุกคนมีอริยทรัพย์ติดตัวต่อไปในชาติหน้าด้วยเทอญ
     
  8. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ กับ ทุก ๆ ท่าน ที่ได้นำธรรมะที่ดีมาเผยแพร่เป็นบุญกุศล และผู้ที่เข้ามาร่วมอนุโมทนา ด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...