อรรถกถา ถ้าว่าโดยพื้นฐาน ก็คือการขยายความ จากพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย macarkira, 22 สิงหาคม 2021.

  1. macarkira

    macarkira ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2021
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +49
    art_42364983.jpg

    “อรรถกถา”
    ทีนี้ คนที่จะอ่านบาลีพระไตรปิฎก ให้เข้าใจนี้ยากมาก
    ก็จึงมีพระอาจารย์ที่ชำนาญได้รจนา คือ แต่งคัมภีร์
    อธิบายความในพระไตรปิฎกขึ้นมา
    เรียกว่า “อรรถกถา” ซึ่งก็จะคู่เคียงไปกับ พระไตรปิฎก
    คืออธิบาย ไปตามลำดับ ถ้อยคำ
    และข้อความในพระไตรปิฎกนั้น

    %B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2.jpg
    อรรถกถาคืออะไร ? ขอแทรกสักนิด เพื่อจะได้รู้จักกัน พูดง่ายๆ
    ในขั้นพื้นฐาน อรรถกถา ก็คล้ายกับ พจนานุกรม นี่เอง

    อรรถกถา” แปลว่า คำบอกความหมาย
    หรือถ้อยคำที่บอกความหมาย เช่น ไปเจอคำว่า “จรติ” อรรถกถา
    ก็ไขความ คือบอกความหมาย หรือแปลให้ว่า “จรตีติ คจฺฉติ”
    (“จรติ” แปลว่า ไป ) หรือ แปลว่า “จรตีติ วตฺตติ”
    ( “จรติ” แปลว่า เป็นไป ดำเนินไป) หรือบางทีก็แปลว่า
    “จรตีติ กรโรติ” ( “จรติ แปลว่า กระทำ หรือประพฤติ)
    นี่แค่คำง่ายๆ

    ดูที่ยากขึ้นอีกหน่อย เช่นคำว่า “นิทาน” ซึ่งในภาษาไทย

    เอามาใช้จนเพี้ยนความหมายไปแล้ว

    เราอยากรู้ความหมายเดิมจริงในภาษาบาลี ก็ไปเปิดดู

    รรถกถาหนึ่ง ก็บอกว่า “นิทานนฺติ ปจฺจโย”

    ( “นิทาน” แปลว่า ปัจจัย, องฺ.อ.๓/๑๑๘) หรือเรา อ่านพระไตรปิฎก บาลี เล่มที่ ๑๖

    ไปเจอคำว่า “นิทาน” เกิดสงสัยขึ้นมาว่า นิทานที่นั่นแปลว่าอะไร ก็เปิดไปดู

    ในคัมภีร์อรรถกถา ที่ อธิบายพระไตรปิฎกเล่มนั้น ก็พบคำอธิบาย ( สํ.อ.๒/๓๒ )

    บอกว่า คำทั้งหลายเช่น นิทาน สมุทัย เป็นไวพจน์ของคำว่า การณะ

    (คือ แปลว่า เหตุ) อย่างนี้ เป็นต้น นี่แหละ

    เรียกว่า อรรถกถา จึงบอกว่า อรรถกา ก็คือ Dictionary นั่นเอง

    อรรถกถา ถ้าว่าโดยพื้นฐาน ก็คือการขยายความ จากพระไตรปิฎก

    แต่ ในส่วน อรรถกถา ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น ยังเป็นอรรถสังวรรณนา ด้วย

    คือ มิใช่ให้แค่ให้ความหมายของถ้อยคำอย่างเดียว แต่ยังอธิบายขยายความไปอีก

    ว่าถ้อยคำและข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสตรงนี้ๆ มีความหมายกว้างออกไปอย่างไรอีก

    แล้วก็อธิบายเพิ่มเติมออกมา

    เมื่อเป็นอรรถสังวรรณนา ก็อธิบาย บรรยาย พรรณนา

    ไปต่างๆ พอบรรยายไปๆ ท่านก็ยกเรื่องประกอบบ้าง เรื่องเกร็ดบ้าง มาเล่าให้ฟังด้วย

    ทีนี้พระอาจารย์ที่สอนลูกศิษย์ที่ลังกา ก็รู้เรื่องราว เรื่องเล่ากันมาของท้องถิ่น

    ของบ้านเมือง ท่านก็เอาเหตุการณ์ เอานิทานเอาตำนานในเกาะลังกามาเล่าประกอบ

    การสอนด้วย บอกว่า ตอนนั้น พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ ยกทัพไปตีกับ พระเจ้าแผ่นดินองโน้น

    มีเรื่องราวอย่างนั้นๆ เรื่องราวในลังกา ก็มาอยู่ใน อรรถกถา พ่วงติดมาด้วย คนไม่รู้ไม่เข้าใจ

    ก็นึกว่า อันนั้น เป็นอรรถกถา… เปล่า! อันนั้นเป็นเพียงเรื่องที่พ่วงมาในอรรถกถา ก็เท่านั้น

    นี่คนไม่รู้ ก็ไปเที่ยวบอกว่า อรรถกถาไม่น่าเชื่อ เล่าอะไรต่ออะไรก็ไม่รู้

    ที่จริง นั่นไม่ใช่อรรถกถา แต่เป็นเรื่องที่พ่วงติดมา ในอรรถกถา เพียงเท่านั้น


    e_1480639.jpg
    %B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2.jpg
    ชุด หนังสือ อรรถกถาภาษาไทย

    โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
    ในราคามูลนิธิ 20,000 บาท
    (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย)

    จำนวน ทั้งชุด 55 เล่ม
    // บรรจุหนังสือ จำนวน 4 กล่อง

    — — — — — — — — — — — — —

    %E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg

    — — — — — — — — — — — — —

    ดำเนินการจัดส่ง โดย
    “ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์”

    — — — — — — — — — — — — —
    ช่องทางติดต่อ
    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงิน


    สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
    LINE : @trilakbooks
    หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
    https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks

    ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม
    %E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3.jpg
    สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
    086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771


    ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
    เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สอบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
    รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
    โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
    หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ

    — — — — — — —

    %B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87.jpg
    ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
    ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
    ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
    พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
    ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน

    สิ่งอำนวยความสะดวก
    มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ ขนมว่าง


    แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
    https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2



    อรรถกถา” ซึ่งก็จะคู่เคียงไปกับ พระไตรปิฎก
    คืออธิบาย ไปตามลำดับ ถ้อยคำ
    และข้อความในพระไตรปิฎกนั้น เดิมที พระไตรปิฎกเดิม เป็นภาษาบาลีอักษรไทย
    ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เรียกเป็นภาษาบาลี “มหาจุฬาเตปิฎก”
    มีทั้งหมด 45 เล่ม แบ่งเป็น 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก 8 เล่ม ได้แก่
    เล่ม 1-8 พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม ได้แก่เล่ม 9-33
    และพระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม ได้แก่ 34 – 45 เล่ม


    แต่ละปิฎกและแต่ละเล่มมีคัมภีร์อรรถกถา คือหนังสือคู่มือการศึกษา
    พระไตรปิฎกที่โบราณจารย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นต้นมา
    ได้รจนา ขึ้น เพื่ออธิบายความหมายของคำศัพท์ที่เข้าใจยาก
    และความหมายของวลี ประโยค
    หรือข้อความที่มีนัยสลับซับซ้อน อาจทำให้เข้าใจผิด
    และแปลความหมายผิดไปจากพระพุทธประสงค์ในบริบทนั้นๆ ได้
    ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

    e_1481464.jpg
    คัมภีร์อรรถกถาโบราณ ที่มีการค้นพบ ณ ปัจจุบันนี้
    คัมภีร์อรรถกถาเท่าที่ได้พบในขณะนี้ มีมากกว่า 50 เล่ม บางเล่ม มีอายุมากกว่า
    2000 ปี เดิมโบราณาจารย์ ของไทยนำต้นฉบับที่เป็นอักษรเทวนาครีของอินเดียบ้าง
    อักษรสีหลของศรีลังกาบ้าง อักษรพม่าบ้าง มาปริวรรต เป็นอักษรขอมและจาริกลง
    ในใบลาน

    ต่อมาได้ปริวรรตจากอักษรขอมเป็นอักษรไทย และจัดพิมพ์
    เป็นหนังสือครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2462
    สถาบันที่รักษาและสืบทอดอรรถกถาภาษาบาลี
    อักษรไทย มาได้แก่ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
    (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย)

    e_1480612.jpg
    เมื่อกาลเวลาผ่านไป คัมภีร์อรรถกถาเหล่านั้น บางส่วนก็ได้ขาดคราวไป
    และที่เหลือบางส่วนก็ได้ชำรุด ด้วยเพราะเหตุกระดาษหมดอายุการใช้งานไป
    และเนื่องจากการพิมพ์มาช้านาน
    และอีกหลายประการ ยกเว้นบางคัมภีร์ ที่ทางคณะสงฆ์
    ใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาภาษาบาลี ซึ่งมีการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เรื่อยๆ เช่น
    คัมภีร์ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก นายพร รัตนสุวรรณ
    อาจารย์ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    และสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ
    ได้เห็นความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถา เพราะใช้เป็นเครื่องมือ
    ค้นคว้าหาความรู้ในพระไตรปิฎกอยู่สม่ำเสมอ

    และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะ
    จัดพิมพ์คัมภีร์อรรถกถาทั้งที่ขาดคราวและชำรุดขึ้นมาใหม่
    เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกต่อไป
    จึงได้ปรึกษากับผู้ทรงความรู้ในภาษาบาลี
    ทั้งฝ่ายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    และฝ่ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    e_1480640.jpg
    เมื่อมีความเห็นตรงกัน จึงขออนุมัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้ทำหน้าที่ตรวจชำระสอบทานอรรถกถา
    เหล่านั้นกับต้นฉบับของพม่า มีการจัดหัวข้อและวรรคตรงกับพระไตรปิฎก
    ภาษาบาลีฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎกํ” เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้า
    พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าว เมื่อตรวจชำระเสร็จแล้วได้จัดพิมพ์ในนาม
    ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    โดยใช้ชื่อว่า “มหาจุฬาอฏฐกถา” ปรากฏว่า คัมภีร์อรรถกถาเหล่านั้น
    เป็นอุปกรณสำคัญช่วยให้การแปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    สำเร็จลงด้วยดี และอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกของนิสิต
    มหาวิทยาลัยและพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปได้จริง.

    B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A21.jpg
    หนังสืออรรถกถา จะอำนวยความสะดวกในการศึกษาพระไตรปิฎก
    นายพร รัตนสุวรรณ และคณะกรรมการตรวจชำระคัมภีร์อรรถกถา
    จึงมีศรัทธาและกำลังใจเพิ่มขึ้น
    ได้ตรวจชำระคัมภีร์อรรถกถาที่เหลืออยู่ทั้งหมด
    นอกจากนี้ ยังจัดหาคัมภีร์ อรรถกถา คัมภีร์ฏีกา พร้อมทั้งปกรณ์วิเสส
    หรือสัททาวิเสสอักษรพม่า ฉบับฉัฏฐสังคายนามาปริวรรต เป็นอักษรไทย
    แล้วจัดพิมพ์เผยแพร่ในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เช่นเดียวกัน
    คัมภีร์เหล่านี้ ล้วนเป็นสมบัติล้ำคาของมหาวิทยาลัยของชาติ และของพระพุทธศาสนา
    มหาวิทยาลัยจึงขออนุโมทนา ณ ที่นี้ด้วย


    ภาพบรรยากาศการจัดพิธีถวายหนังสือพระไตรปิฎก และ หนังสืออรรถกถาภาษาไทย
    โดยคณะเจ้าภาพ โดย ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกเป็นผู้เผื่อเฟื้อสถานที่

    รายละเอียดหนังสืออรรถกถาภาษาไทย
    ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    จำนวน ๕๕ เล่ม (ครบสมบูรณ์)

    ๑ สมันตปาสาทิกา ภาค ๑
    ๒ สมันตปาสาทิกา ภาค ๒
    ๓ สมันตปาสาทิกา ภาค ๓
    ๔ ทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค (สุมังคลวิลาสินี)
    ๕ ทีฆนิกาย มหาวรรค (สุมังคลวิลาสินี)
    ๖ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (สุมังคลวิลาสินี)
    ๗ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค ๑(ปปัญจสูทนี)
    ๘ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค ๒ (ปปัญจสูทนี)
    ๙ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (ปปัญจสูทนี)
    ๑๐ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (ปปัญจสูทนี)
    ๑๑ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สารัตถัปปกาสินี ๑)
    ๑๒ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สารัตถัปปกาสินี ๒)
    ๑๓ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สารัตถัปปกาสินี ๓)
    ๑๔ อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต (มโนรถปูรณี ๑)
    ๑๕ อังคุตตรนิกาย ทุก-จตุกกนิบาต (มโนรถปูรณี ๒)
    ๑๖ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-เอกาทสกนิบาต (มโนรถปูรณี ๓)
    ๑๗ ขุททกปาฐะ ปรมัตถโชติกา
    ๑๘ ธรรมบท ภาค ๑
    ๑๙ ธรรมบท ภาค ๒
    ๒๐ ปรมัตถทีปนี อุทาน
    ๒๑ ปรมัตถทีปนี อิติวุตตกะ
    ๒๒ ปรมัตถโชติกา สุตตนิบาต ภาค ๑
    ๒๓ ปรมัตถโชติกา สุตตนิบาต ภาค ๒
    ๒๔ ปรมัตถทีปนี วิมานวัตถุ
    ๒๕ ปรมัตถทีปนี เปตวัตถุ
    ๒๖ ปรมัตถทีปนี เถรคาถา ภาค ๑
    ๒๗ ปรมัตถทีปนี เถรคาถา ภาค ๒
    ๒๘ ปรมัตถทีปนี เถรีคาถา
    ๒๙ ชาดก ภาค ๑ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๐ ชาดก ภาค ๒ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๑ ชาดก ภาค ๓ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๒ ชาดก ภาค ๔ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๓ ชาดก ภาค ๕ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๔ ชาดก ภาค ๖ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๕ ชาดก ภาค ๗ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๖ ชาดก ภาค ๘ (ชาตกัฏฐกถา) %B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2.jpg
    ๓๗ ชาดก ภาค ๙ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๘ ชาดก ภาค ๑๐ (ชาตกัฏฐกถา)
    ๓๙ มหานิทเทส (สัทธัมมปปชฺโชติกา)
    ๔๐ จูฬนิทเทส (สัทธัมมปปชฺโชติกา)
    ๔๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาค ๑ (สัทธัมมัปปกาสินี)
    ๔๒ ปฏิสัมภิทามรรค ภาค ๒ (สัทธัมมัปปกาสินี)
    ๔๓ อปทาน ภาค ๑ (วิสุทธชนวิลาสีนิ)
    ๔๔ อปทาน ภาค ๒ (วิสุทธชนวิลาสีนิ)
    ๔๕ พุทธวงศ์ (มธุรัตถวิลาสีนิ)
    ๔๖ จริยาปิฎก (ปรมัตถวิลาสีนิ)
    ๔๗ อัฏฐสาลินี (ธัมมสังคณี)
    ๔๘ สัมโมหวิโนทนี (วิภังค์)
    ๔๙ ปัญจปกรณ์
    ๕๐ กังขาวิตรณีอัฏฐกถา
    ๕๑ มังคลัตถทีปนี ภาค ๑
    ๕๒ มังคลัตถทีปนี ภาค ๒
    ๕๓ มิลินทปัญหา ๔๕๐ มวก.
    ๕๔ วิสุทธิมรรค ภาค ๑ (ไทย)
    ๕๕ วิสุทธิมรรค ภาค ๒ (ไทย)

    (บรรจุทั้งหมด 4 กล่อง )

    ราคามูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    20,000 บาท

    B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2.jpg
    “อรรถกถา เป็นสิ่งที่ควบคู่กับ พระไตรปิฏก”

    อรรถา ถ้าว่ากโดยพื้นฐาน ก็คือการขยายความ
    จากพระไตรปิฎก แต่ ในส่วน อรรถกถา ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น ยังเป็นอรรถสังวรรณนา
    ด้วยคือ มิใช่ให้แค่ให้ความหมายของถ้อยคำอย่างเดียว แต่ยังอธิบายขยายความไปอีก
    ว่าถ้อยคำและข้อความ ที่พระพุทธเจ้าตรัสตรงนี้ๆ มีความหมายกว้างออกไป
    อย่างไรอีกแล้วก็อธิบายเพิ่มเติมออกมา

    สรุป : คัมภีร์อรรถกถา
    จึงเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น

    B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A25.jpg
    45-4.jpg
    อนุโมทนาบุญแด่คณะเจ้าภาพทุกท่านผู้ถวายหนังสือหนังสือ อรรถกถาชุดนี้ครับ

    — — — — — — — — — — — — —

    %E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg

    — — — — — — — — — — — — —

    ดำเนินการจัดส่ง โดย
    “ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์”

    — — — — — — — — — — — — —
    ช่องทางติดต่อ
    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงิน


    สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
    LINE : @trilakbooks
    หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
    https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks

    ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม
    %E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3.jpg
    สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
    086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771


    ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
    เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สอบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
    รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
    โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
    หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ

    — — — — — — —

    %B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87.jpg
    ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
    ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
    ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
    พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
    ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน

    สิ่งอำนวยความสะดวก
    มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ ขนมว่าง


    แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
    https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
     

แชร์หน้านี้

Loading...