อย่าแก้ปัญหาที่บุคคลอื่น มุ่งแก้ไขตนเองเป็นสำคัญ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 เมษายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ๑. มีเหตุอะไรเกิดขึ้น อย่าไปแก้ไขที่บุคคลอื่น ให้มุ่งแก้ไขตนเองเป็นสำคัญ โดยยกสังโยชน์ขึ้นมาวัดกิเลสที่คุกรุ่นอยู่ในจิตของตนขณะนี้ แล้วแก้ด้วยกรรมฐานแก้จริตในกองนั้นๆ จึงจักแก้อารมณ์เลวของจิตลงได้ อย่าไปคิดว่าคนอื่นเลว ให้คิดว่าตนเองนี่แหละเลวยิ่งกว่าคนอื่นเสีย หันมามุ่งปฏิบัติเอาแต่เรื่องส่วนตนเสีย เพราะธรรมภายนอกแก้ไขยาก หรือแก้ไขไม่ได้ ให้แก้ไขธรรมภายในจักง่ายกว่ามาก ให้ใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่ามีความประมาทในชีวิต ความตายจักเข้ามาถึงเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น มรณา และอุปสมานุสสติ พยายามกำหนดเข้าไว้ เพื่อจักได้ช่วยให้จิตมุ่งพระนิพพานมากขึ้น
    <O:p></O:p>
    ๒. ให้ทำงานทั้งหมดด้วยความอดทน เห็นทุกข์มากเท่าไหร่ หรือได้รับความทุกข์มากเท่าไหร่ ให้พิจารณาลงตรงหลักวิปัสสนาญาณซึ่งมี ๙ ข้อ โดยเฉพาะข้อแรก ให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วในที่สุดก็อนัตตา ไม่มีอะไรที่จักยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเราได้เลย แล้วจบลงตอนท้ายว่า ทุกข์อย่างนี้จักมีกับเราเป็นชาติสุดท้าย ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น แล้วพยายามรักษาอารมณ์จิตให้เยือกเย็นเข้าไว้ อย่าลืมจุดมุ่งหมายของจิตว่าเราจักทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน ตั้งใจปักหลักให้มั่นคงด้วยวิริยะ - ขันติ - สัจจะบารมี การปฏิบัติให้หมั่นเพียรละซึ่งความโลภ - โกรธ - หลงด้วยศีล - สมาธิ - ปัญญา หรือทาน - ศีล - ภาวนา ทำให้ถูกจุดแล้วจักถึงจุดหมายปลายทางได้ง่าย
    <O:p></O:p>
    ๓. พิจารณาการเจ็บป่วยให้เป็นอริยสัจ ว่าเกิดแล้วต้องเจ็บ - ต้องป่วยจริงไหม แล้วในที่สุดร่างกายนี้ก็ต้องตายจริงไหม ให้พิจารณาหาความจริงอยู่เสมอ ให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา แล้วให้ปล่อยวางความกังวลที่มีอยู่กับร่างกายนี้ลงเสียให้ได้ เอาจิตออกมาให้เป็นเอกเทศของจิต อย่าไปเกี่ยวเกาะอยู่กับร่างกาย (แยกกาย - เวทนาเป็นเรื่องของกาย เป็นสันตติภายนอก และแยกจิตหรืออารมณ์ของจิตกับธรรมที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของจิต เป็นสันตติภายใน อย่าให้สันตติไปปิดบังกฎของไตรลักษณ์ลงเสีย)
    <O:p></O:p>
    ๔. ร่างกายไม่ดี ยิ่งต้องรักษากำลังใจให้ดี เวลานี้พึงคิดว่าความตายกำลังใกล้เข้ามา จักได้ไม่ประมาทในชีวิต การป่วยไข้ไม่สบายเป็นการเตือนให้เห็นมรณะภัย จิตจักได้เห็นร่างกายตามความเป็นจริง อย่าได้มัวเมาในความเป็นอยู่ คิดแต่ว่าร่างกายนี้จักยังอยู่ ให้สอบจิตดูถ้ายังเมาอยู่กับอารมณ์เกาะติดโลกและ ขันธโลก (ขันธ์ ๕) ก็สอบตกในการปฏิบัติธรรม และหากมีอาการขัดข้องขุ่นเคืองในกฎของกรรมที่ให้ผลอยู่ ก็เป็นการสอบตกในอารมณ์ปฏิฆะเช่นกัน ขอให้ปรับปรุงจิตใจตนเองให้ดีขึ้นด้วย ทุกอย่างจักต้องอาศัยกำลังใจของตนเองเป็นสำคัญด้วย บารมี ๑๐ จึงทิ้งไม่ได้ ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอ
    <O:p></O:p>
    ๕. งานวิปัสสนาธุระกับคันธธุระจักต้องไปด้วยกัน (งานทางโลกกับงานทางธรรม หรืองานของกายอยู่กับโลก งานของจิตอยู่กับธรรม) เพราะลำพังคิดแต่จักทำแต่วิปัสสนาธุระอย่างเดียวนั้น กำลังของจิตยังไม่พอ การทำงานให้พระพุทธศาสนา เช่น การทำงานของวัดเป็นการสร้างเสริมบารมีเป็นการสั่งสมบุญ (เป็นวิหารทานอันเป็นบุญสูงสุดในพุทธศาสนาในวัตถุทาน ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญสู้ถวายวิหารทานครั้งเดียวไม่ได้) คนฉลาดในเรื่องสะสมบุญในวัตถุทานทางโลก เวลาวัดมีงานเขาจึงเอากายมาช่วยทำงานให้กับวัด ตามกำลังใจและกำลังกายของเขา เพื่อเป็นปัจจัยให้จิตมีกำลังเพิ่มขึ้น และเข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย ส่วนใหญ่อารมณ์จิตของคนเรามักไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ คือ ชอบคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว อันเป็นบาปอกุศล ดังนั้นเมื่อยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด สิ่งใดเป็นบุญ เป็นกุศลก็พึงให้จิตเกาะไว้ แม้จักเป็นบุญหรือทานเล็กน้อย ก็ยังดีกว่าจิตไปเกาะบาป เกาะอกุศล ดังนั้นพึงระวังคำพูด อย่าให้ไปเบียดเบียนใครได้นั่นแหละจักดีมาก แม้แต่อุปมา-อุปมัยก็เป็นภัยกระทบแก่บุคคลอื่นได้ บางครั้งอุปมา-อุปมัยนั่นแหละสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง ฟังแล้วนำไปปรุงแต่งเป็นมโนกรรมได้โดยง่าย เช่น เราไปตำหนิกรรมของใครเข้า แต่ไม่ออกชื่อ คนฟังก็ไปปรุงแต่งธรรมเอาว่า คงจะเป็นคนนั้นคนนี้ ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงไม่ใช่ เรื่องการพูดอุปมาอุปมัยที่ไม่ชัดเจนจึงต้องพิจารณาก่อนให้รอบคอบด้วย
    <O:p></O:p>
    ๖. อย่าสนใจในเรื่องราวของบุคคลอื่น กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ ไม่มีใครหนีพ้นกฎของกรรมไปได้ ให้พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมที่เข้ามาในวิถีชีวิตขณะนี้ จิตจักต้องมีความมั่นคง อย่าท้อแท้หวั่นไหวกับกฎของกรรม พวกเจ้ายังจักต้องฝึกจิตให้ยอมรับกฎของกรรมอีกนาน คนเรานี้แปลก รู้ทั้งรู้อยู่ว่ากรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ แล้วกรรมทั้งหลายที่อันจักเกิดขึ้นแก่ใครได้ ก็เนื่องด้วยเหตุจากบุคคลนั้นได้ทำเอาไว้ แต่พอผลของกรรมเข้ามากระทบ กล่าวคือให้ผลแก่คนผู้กระทำเอาไว้เอง กลับโวยวายไม่ยอมรับกฎของกรรมนั้นๆ จักให้พระท่านช่วย พระท่านก็ช่วยได้อยู่ แต่ต้องไม่เกินวิสัยกฎของกรรม (หากเราไม่เคยก่อกรรมเหล่านี้ไว้ก่อนในอดีต วิบากกรรมเหล่านี้ก็เกิดกับเราไม่ได้ในปัจจุบัน) ดังนั้นอารมณ์ของจิตนั้นสำคัญที่สุด มีอะไรก็ให้ลงตรงกฎของธรรมดาเข้าไว้ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถพ้นกฎของกรรม หรือกฎของธรรมดาได้ ให้ดูกำลังของท่านพระอริยเจ้าเบื้องสูงทั้งหลาย ที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจากสุปฏิปันโน - อุชุปฏปันโน - ญายปฏิปันโน - สามีจิปฏิปันโนตามลำดับ หมายความว่าจากเป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกิทาคามี (เป็นผู้มีอธิศีลและกรรมบถ ๑๐) เป็นพระอนาคามี (เป็นผู้มีอธิจิตหรือทรงฌาน หรือมีญาณ) เป็นพระอรหันต์ (สามี แปลว่าเป็นใหญ่ในความดีทั้งหมดในพุทธศาสนา) ให้ดูกำลังใจของท่าน กายจักเสื่อมคือป่วยขนาดไหนก็ตาม แต่กำลังใจของท่านเด็ดเดี่ยวอยู่เสมอ ไม่ผลีผลาม สุขุมรอบคอบ ให้ศึกษาปฏิปทาของท่านและพึงปฏิบัติตามไปด้วย
    </SPAN><O:p></O:p>
    ๗. ให้ระลึกนึกถึงความตายที่ใกล้เข้ามาสู่ชีวิตอยู่เสมอ อายุยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งใกล้ความตายเข้าไปทุกที ไม่พึงประมาทในชีวิต ช่องทางใดเป็นหนทางแห่งความดี ให้กำหนดจิตให้มีสติ - สัมปชัญญะ พยายามรักษาความดีนั้นเข้าไว้ให้มั่นคง ยิ่งปรารถนาพระนิพพาน ยิ่งพึงที่จักตรวจสอบอารมณ์อันใดที่จักทำเพื่อพระนิพพาน ให้หมั่นลด - ละความโลภ - โกรธ - หลงที่ยังอยู่ในจิตของตนให้เขาบางลง และเมื่อรู้ตนเองว่าสัญญาเป็นอนิจจา ยังจำคนจำชื่อคนไม่ค่อยได้ ก็จงฝึกสติ - สัมปชัญญะเข้าไว้ ให้มีมารยาทดีกับทุกๆ คน ที่พบเห็น โดยเฉพาะตอนวัดมีงาน ซึ่งต้องพบกับผู้คนเป็นจำนวนมาก ก็ต้องยิ้มรับไว้ก่อน พูดดี-ทำดีกับทุกคน จักได้หมดปัญหาเรื่องจำคน จำชื่อคนไม่ค่อยได้ บางครั้งสัญญานี่แหละเป็นตัวทำพิษให้กับจิต จงอย่าไปยึดถือให้มันเที่ยง จักต้องทำจิตให้ยอมรับนับถือว่า สัญญามันไม่เที่ยง แต่ในขณะเดียวกันก็อย่าให้สัญญาเป็นพิษ กลับมาทำร้ายจิตตนเอง
    <O:p></O:p>
    ๘. ให้มองความเสื่อมของร่างกาย เป็นเรื่องธรรมดา เพราะผู้มีร่างกายทุกคน ไม่สามารถที่จักหนีพ้นสภาวะนี้ไปได้ พึงทำจิตให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า เราจักมีร่างกายนี้เป็นชาติสุดท้าย ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น พยายามทรงจิตให้รักพระนิพพานเข้าไว้ แล้วพิจารณาทุกข์ของร่างกายให้มาก จนจิตปลดจากร่างกายลงไปได้ในที่สุด ให้พิจารณาร่างกายของคนก็ดี ของสัตว์ก็ดี แม้วัตถุธาตุต่างๆ ก็เป็นเพียงสภาวะของธาตุ ๔ เข้ามาประชุมชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ช้าก็เสื่อม ไม่ช้าก็สลายตัว จิตจักได้ไม่ประมาทในชีวิต พร้อมทั้งคลายความปรารถนาที่จักอยากโลก-โกรธ-หลงไปเพื่อประโยชน์อันใด ในเมื่อไม่ช้าไม่นานก็ตายแล้ว ทรัพย์ทั้งหลายไม่ใช่สมบัติของเราแม้กระทั่งร่างกายที่รักหวงแหนมากที่สุด ก็ยังไม่ใช่ของเรา เมื่อความตายมาถึงก็ไม่สามารถที่จักนำเอาร่างกายนี้ไปได้ ดังนั้นการไปพระนิพพานเป็นของไม่ยาก หากเข้าใจธรรมในจุดนี้ เพียงแต่พยายามพิจารณาปลดร่างกายนี้ว่ามันหาใช่เรา หาใช่ของเราให้มากจนจิตเรายอมรับความเป็นจริงของร่างกายเท่านั้น
    <O:p></O:p>
    ธัมมวิจัย เกี่ยวกับธรรมของร่างกายที่ทรงตรัสสอนในข้อ ๘ นี้ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๔ ก.พ. ๒๕๕๒ ทางคริสต์ศาสนาเขาสมมุติว่าเป็นวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก เขาก็แสดงความรักกันในแบบต่างๆ ตามจริตนิสัยและกรรมของแต่ละคน ซึ่งมีมาไม่เสมอกัน ก็เป็นกรรมของเขา ให้มองให้เห็นเป็นธรรมดา ให้เอากรรมหรือการกระทำของเขามาเป็นครูสอนเรา ก็จะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ขอเขียนแยกเป็นข้อๆ ดังนี้
    <O:p></O:p>
    ๘.๑ ในฐานะที่พุทธศาสนาสอนให้คนเห็นทุกข์ตามความเป็นจริง เพราะหากผู้ใดยังไม่เห็นทุกข์ตามความเป็นจริงได้ ก็ไม่สามารถจะพ้นทุกข์ได้ในชาติปัจจุบันนี้
    <O:p></O:p>
    ๘.๒ ปุถุชนย่อมคิดว่า ร่างกายหรือขันธ์ ๕ เป็นเขาเป็นของเขาเป็นธรรมดา อารมณ์นี้คืออารมณ์หลง หลงคิดว่ากายเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อเริ่มต้นผิด จิตเป็น มิจฉาทิฎฐิ ยิ่งคิด - ยิ่งพูด - ยิ่งทำก็เป็น มิจฉาทิฎฐิ หรือผิดตลอดกาล เขาไม่เห็นทุกข์จากการมีร่างกายแล้วยังคิดว่า โลกนี้เป็นสุขน่าอยู่น่าอาศัย รวมทั้ง ขันธโลกของร่างกายของเขาก็น่ารัก น่าถนอม น่าบำรุงบำเรอให้มันเป็นสุขยิ่งขึ้น จึงแสดงกรรมหรือการกระทำในรูปแบบต่างๆ เพิ่มความทุกข์ให้ยิ่งๆ ขึ้นกับจิตตนเอง ซึ่งก็เป็นธรรมดาอีกนั่นแหละ เพราะเขาไม่รู้ว่าตัวจริงๆ ของเขา คือจิตที่มาอาศัยร่างกายอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น
    <O:p></O:p>
    ๘.๓ จุดที่เขาหลงมากที่สุด คือไม่เห็นความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความสกปรก ซึ่งมีขี้ทั้งตัว ตั้งแต่หัวอันมีขี้หัว-ขี้เหงื่อ-ขี้ไคลไหลออกมาอยู่บนหัวเขาตลอดเวลา ต่ำลงมาก็ขี้ห ู- ขี้ตา - ขี้มูก - ขี้ปาก - ขี้เหงื่อ - เสลด - น้ำลาย - ขี้เต่าลงไปจนถึงขี้มือ - ขี้ตีน สรุปขี้ทั้งตัวกลับไม่เห็นเห็นเพราะความหลงปิดตา - ปิดใจไว้หมด ยิ่งลอกหนังหุ้มกายออกแล้ว จะเห็นน้ำเลือด - น้ำเหลือง - น้ำหนอง - เสลด - น้ำลาย - อาหารเก่า - อาหารใหม่ - น้ำดีขี้เยี่ยวทั้งตัว เป็นต้น หากเขาเห็นความจริงตามนี้ เขาคงไม่อยากจะเกิดมาล้างขี้ - ล้างเยี่ยว ล้างสิ่งปฏิกูลสกปรกที่ตัวเขาทุกๆ วันอีก เป็นขี้ข้ารับใช้มัน หลงมากก็เช็ดถู หาของมาบำรุง-บำเรอมันอยู่เกือบตลอดเวลา แล้วยังหลงคิดว่ามีความสุขเสียอีกที่ได้รับใช้มัน จึงมีสภาพเหมือนติดคุกที่มีขี้ทั้งตัวตลอดชีวิต หรือต้องเลี้ยงลูกอ่อนตลอดชีวิต หมายความว่าต้องป้อนข้าว - อาบน้ำ - เข็ดขี้ - เช็ดเยี่ยวให้มันทุกวันตลอดชีวิต ไม่มียกเว้นแม้แต่วันเดียว ก็ขอเขียนไว้เพียงแค่ตัวอย่างเท่านั้น
    <O:p></O:p>
    ๘.๔ ทุกๆ ปีก็ยังย้ำความหลงให้กับตนเอง เพราะกลัวจะลืมความหลงร่างกายของตนเอง แล้วยังชักชวนผู้อื่นให้หลงตามตนด้วยอุบายต่างๆ พวกชาวพุทธตามสำมะโนครัว ขาดปัญญาก็หลงตามเขาไป ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นชาวพุทธ มิใช่ชาวคริสต์ ก็เป็นธรรมดาอีกนั่นแหละ จะไปว่าชาวคริสต์ก็ไม่ถูก เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ยังหลงคิดว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่จำนวนมาก จึงฉลองความแก่ของตน ยินดีปรีดาด้วยกับความแก่ของตนเอง โดยจัดงานฉลองวันเกิดของตน ฉลองวันปีใหม่กันอย่างขาดสติ เกินพอดีจนมีอุบัติเหตุถึงตายกันมากทุกๆ ปี สำหรับพวกพุทธแท้ ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ซึ่งไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านเอาปัญญาเร่งรัดปฏิบัติจิตตนเองให้ละความโลภ - โกรธ - หลงด้วยศีล - สมาธิ - ปัญญา หรือทาน - ศีล - ภาวนา เพื่อให้กิเลสของท่านลดน้อยลงตามลำดับ มุ่งเอาจิตเข้าสู่พระนิพพานจุดเดียว หากร่างกายเกิดตายขึ้นมาด้วยอุบายสั้นๆ ว่า รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน (ผมไม่ขอเขียนรายละเอียด)
    <O:p></O:p>
    ๙. ให้ระวังอารมณ์จิตของตนเข้าไว้ อย่าได้หวั่นไหวกับข่าวลือทั้งปวง (รวมทั้งวันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ด้วย) แล้วให้เห็นเป็นธรรมดาของโลก เกาะติดเท่าไหร่ ทุกข์ก็เกิดกับจิตมากเท่านั้น ให้วางโลกธรรมทิ้งเสียค่อยๆ ทำไป สิ่งเหล่านี้จิตมันเกาะติดมานาน ก็ต้องเพียรละอย่างจริงจัง รักษากำลังใจให้ตั้งมั่นว่า เราจักทำทุกสิ่งเพื่อพระนิพพาน อย่าให้อารมณ์ปรุงแต่งของตนเอง ทำร้ายจิตของตนเอง เพราะจักให้ท้อแท้หมดกำลังใจไปทุกเรื่อง เวลานี้พวกเจ้ากฎของกรรมให้ผลอยู่ ก็ต้องรับผลตามวาระกฎของกรรม แต่ถ้าหากรู้จักใช้สถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ ความก้าวหน้าของจิตก็จักขึ้นได้อย่างเห็นได้ชัด เรื่องทั้งหมดขอให้พิจารณาลงว่าเป็นกฎของกรรม ไม่มีใครทำให้อย่างนี้ มีแต่ตัวเราเองนั่นแหละเป็นผู้ทำกรรมอย่างนี้ไว้เอง เมื่อวาระกรรมเก่ามันเข้ามาถึง จะรับหรือไม่รับก็ต้องเจอ มันหนีกันไม่พ้น จักต้องทำจิตให้เข้มแข็งอดทนจนกว่าวาระกฎของกรรมมันจักผ่านพ้นไป นี่แหละเจ้าให้รู้จักถามจิตแล้วให้จิตตอบ พิจารณาไปจนกว่าจิตจักยอมรับกฎของกรรมอย่างจริงใจ เมื่อนั่นแหละจักมีปัญญาเกิดขึ้นมาตัดกิเลส
    <O:p></O:p>
    ๑๐. การเกิดมาในโลกนี้ไม่มีใครหนีกฎของกรรมพ้นไปได้ ยิ่งหนียิ่งทุกข์ เพราะดิ้นมากจิตยิ่งรุ่มร้อน แต่ถ้าหากยอมรับนับถือในกฎของกรรม จิตก็จักไม่ทุกข์ ค่อยๆ พิจารณาไป แล้วจิตจักเกิดปัญญาขึ้นได้ และสิ่งสำคัญจักต้องประคองกำลังใจของตนเองเข้าไว้ อย่าให้ตกเป็นอันขาด เช่น ร่างกายทรุดโทรมลงไป ก็เพราะวัยมันสูงขึ้น ความแข็งแรงก็ลดน้อยลง เป็นธรรมดาของร่างกาย ให้วางอารมณ์จิต กายทำงานได้แค่ไหนก็ให้พอใจแค่นั้น อย่าให้ขาดทุน ส่วนงานทางจิตจุดนี้ต้องเร่งหนัก เพราะจิตไม่เหนื่อย ไม่ต้องพักอย่างกาย หากรู้จักเดินสายกลางเอาไว้ ยิ่งร่างกายไม่ดี ยิ่งจักต้องรักษากำลังใจ หรือปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นด้วยความไม่ประมาทในชีวิต ยิ่งร่างกายแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นชัดเท่าไหร่ ก็ยิ่งจักต้องพยายามตัดห่วง - ตัดกังวล - ตัดอาลัยทั้งหมด ให้พยายามชำระจิตให้ผ่องใส มุ่งไปสู่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น จำไว้ชีวิตของคนเราเกิดคนเดียว ตายก็ตายคนเดียว อย่าไปห่วงใยใครทั้งหมด เพราะในขณะที่ใกล้จักตายแล้วไม่มีใครช่วยเราได้ แม้แต่เราเองก็ช่วยใครไม่ได้ ตนเท่านั้นแหละที่เป็นที่พึ่งแห่งตน ให้มุ่งชำระจิตของตนเองเพื่อไปในถิ่นที่ตนต้องการ ต้องการพระนิพพาน จักต้องลดละซึ่งกิเลสคือความโกรธ - โลภ - หลงให้หมดไปด้วย และในขณะเดียวกัน อย่าทิ้งภาพกสิณพระนิพพาน ตราบใดที่สังโยชน์ ๑๐ ไม่ขาดสะบั้น ทางลัดก็จงอย่าทิ้ง (รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน) เพราะไม่แน่ใจว่ากรรมปาณาติบาต จักมาตัดรอนชีวิตของร่างกายเมื่อไหร่
    <O:p></O:p>
    ๑๑. ต้องหมั่นถนอมสุขภาพของร่างกายตนเองเอาไว้ด้วย อย่าพึงตรากตรำหรือเบียดเบียนร่างกายของตนเองให้มากเกินไป ให้พิจารณาว่าจักอยู่อย่างไร กาย - วาจา - ใจจักไม่ถูกเบียดเบียนโดยอาศัยสังโยชน์ ๑๐ เข้าเทียบ จึงจักเห็นหน้าเห็นหลังของกาย - วาจา - ใจที่ถูกเบียดเบียนอยู่ ปฏิบัติกันไปปฏิบัติกันมา หมั่นเพียรย้อนหน้า - ย้อนหลังดูอารมณ์ของจิต ดูกิริยาของวาจา ดูอาการของกายของตนเองบ้าง จักได้รู้ว่าผลของการปฏิบัติเวลานี้ถอยหลังหรือก้าวหน้ากันแน่ และเวลานั้นจงอย่าคิดเข้าข้างตนเองเป็นอันขาด เพราะถ้าหากคิดเข้าข้างตนเองแม้แต่นิดเดียว อุปาทานก็จักเอาไปกินทันที และจักไม่เห็นความเบียดเบียนตามความเป็นจริง
    <O:p></O:p>
    ๑๒. อย่าไปสนใจกับจิตของบุคคลอื่น ให้รักษาดูแลจิต อบรมจิตของตนเองให้มาก และพึงสำรวจจิตของตนเองดูว่า เวลาที่ผ่านไปได้พึงทำกิจที่สมควรเพื่อพระนิพพานหรือไม่ วันหนึ่งๆ ปฏิบัติธรรมได้เท่าไหร่ หรือปล่อยจิตให้มีอารมณ์นอกลู่นอกทางพระกรรมฐานเพื่อพระนิพพานไปเท่าไหร่ และได้ใช้กำลังใจหรือบารมี ๑๐ ประการ พร้อมที่จักตัดสังโยชน์ที่คั่งค้างอยู่สักเท่าไหร่ เหล่านี้จักต้องดูเอาไว้ด้วย อย่าสักแต่ว่ามีชีวิตอยู่ไปวันๆ โดยที่ไม่มีจุดหมายปลายทางเอาเสียเลยว่า ขณะนี้ชีวิตร่างกายมันใกล้ความตายเข้าไปทุกที
    <O:p></O:p>
    ๑๓. อย่าทำใจให้ย่นย่อต่ออุปสรรคทั้งปวง ให้มองทุกอย่างเป็นเรื่องของกรรมฐาน และจำไว้ว่าอย่าไปแก้ปัญหาที่ใคร ให้แก้ปัญหาทั้งหมดที่จิตของตนเอง ชีวิตนี้สุดท้ายแล้วเรื่องที่จักให้ไม่มีอุปสรรคของชีวิตเลยนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะ ทุกคนที่เกิดมามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์การเกิดก็เนื่องด้วยยังไม่หมดกรรม จิตยังเป็นทาสของกิเลสอยู่ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องพบกับอุปสรรคขัดข้องนานาประการ อันเนื่องด้วยกฎของกรรมแต่ก่อนเก่าทั้งสิ้น ดังนั้นยิ่งปรารถนาจักไปพระนิพพานในชาตินี้ก็ยิ่งมีอุปสรรคมากขึ้นเพราะคิดจักหนีแล้วจากบาปอกุศล ก็ยิ่งพบอุปสรรคหนักอย่างนี้เป็นของธรรมดา พิจารณาให้ลงเป็นของธรรมดา แล้วจักคลายความหนักใจลงได้
    <O:p></O:p>
    ๑๔. อย่าไปคิดว่าใครดี อย่าไปคิดว่าใครเลว ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง หรือตามกรรม ก็จักลงตัวธรรมดาได้ พิจารณาตรงนี้ให้มากๆ เพราะถ้าหากจิตลงจุดนี้ได้ จักสบาย และอยู่ได้อย่างมีความสุขมากที่สุด พิจารณาลงกรรมใครก็กรรมมัน แล้วจิตจักสบายใจที่สุด ไม่ยุ่งกับจริยาของผู้อื่นอีก ดั่งคำอุทาน ๔ ประโยคที่พระองค์ทรงตรัสเมื่อทรงบรรลุเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในโลกความว่า<O:p></O:p>
    ก) สุขอื่นเสมอด้วยความสงบไม่มี<O:p></O:p>
    ข) สุขเพราะหมดตัณหา ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว<O:p></O:p>
    ค) สุขเพราะหมดความเบียดเบียนตนเองแล้ว (พ้นภัยตนเองแล้ว)<O:p></O:p>
    ง) สุขอย่างยอด เพราะหมดความถือตัวถือตนแล้ว (หมดมานะทิฎฐิ)<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>



    <CENTER>รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน</CENTER>
     
  2. Merciful

    Merciful สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +1
    อนุโมทนา สาธุขอรับ

    เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์มากขอรับ
     
  3. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    *
    [​IMG]

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน

    <IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 600px; HEIGHT: 300px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FBuddhaSattha%2F158726110822792&width=600&connections=20&stream=true&header=false&height=300" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    *<!-- google_ad_section_end -->
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  4. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    อย่าไปสนใจกับจิตของบุคคลอื่น ให้รักษาดูแลจิต อบรมจิตของตนเองให้มาก และพึงสำรวจจิตของตนเองดูว่า เวลาที่ผ่านไปได้พึงทำกิจที่สมควรเพื่อพระนิพพานหรือไม่ วันหนึ่งๆ ปฏิบัติธรรมได้เท่าไหร่ หรือปล่อยจิตให้มีอารมณ์นอกลู่นอกทางพระกรรมฐานเพื่อพระนิพพานไปเท่าไหร่ และได้ใช้กำลังใจหรือบารมี ๑๐ ประการ พร้อมที่จักตัดสังโยชน์ที่คั่งค้างอยู่สักเท่าไหร่ เหล่านี้จักต้องดูเอาไว้ด้วย อย่าสักแต่ว่ามีชีวิตอยู่ไปวันๆ โดยที่ไม่มีจุดหมายปลายทางเอาเสียเลยว่า ขณะนี้ชีวิตร่างกายมันใกล้ความตายเข้าไปทุกที
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ขอกราบโมทนาในธรรมทานด้วยครับ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...