อย่าปล่อยวันนี้ให้ผ่านไปเปล่าๆ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย TUK2800, 17 ตุลาคม 2008.

  1. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    <TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    [​IMG]

    อย่าปล่อยวันนี้ให้ผ่านไปเปล่าๆ
    โดย ธรรมธร


    วันหนึ่งเมื่อผ่านไป ไม่สามารถเอาคืนมาได้แม้แต่นิดเดียว ถ้าเราเห็นความจริงวันนี้ ก็ควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะชีวิตของเราอยู่กับวันนี้เท่านั้น เพราะเมื่อวานก็ผ่านไปแล้ว และพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นวันนี้อยู่นั้นเอง

    ทุกคนเกิดมาด้วยสาเหตุใดเราไม่รู้ได้ด้วยตนเอง แต่เรารู้ได้ ว่าสิ่งที่เราควรจะได้คือความสุข ความแตกต่างกันก็คือความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะความคิดอ่าน ประสพการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน จึง มีตั้งแต่ความสุขจากการผิดศีลเช่นกีฬาฆ่าสัตว์ ดื่มสุรา จนถึงสุขของนักบวช ซึ่งบางคนดูแล้วรู้สึกไม่น่าจะสุขได้ อย่างไรก็ตามทุกคนก็ยอมรับว่าความสุขที่ดีนั้น ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ทำนองเราก็ไม่อยากให้คนอื่นทำอย่างนั้นกับเราหรือคนที่เรารัก ความสุขที่ดียิ่งกว่านั้นคือไม่เบียดเบียนตนเองด้วย

    ในศาสนาพุทธทำอย่างไรเราจึงจะได้สิ่งที่ดีที่สุด เมื่อพระพุทธองค์ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ทรงรับสั่งให้พระธรรมเป็นศาสดาแทน พระธรรมสรุปรวมแล้วคือ ทาน ศีล ภาวนา การมีชีวิตที่มีสุขอย่างง่ายๆ และปลอดภัยไม่ประมาทตามหลักศาสนาพุทธก็คือปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา นั่นเอง อย่าปล่อยวันนี้ให้ผ่านไปโดยไม่ทำทาน ศีล ภาวนา

    การให้ทานไม่จำเพาะแค่การบริจาคทรัพย์สินเท่านั้น ออกแรงกายก็เป็นทาน ตัวอย่างเช่นเพียงแค่เราเดินไปที่ถนน เห็นเศษขยะเราช่วยหยิบใส่ถังขยะ นี่คือการให้แรงกายเป็นทานเพื่อส่วนรวมไม่ใช่หรือ ยังมีสิ่งอื่นเล็กน้อยที่เราทำได้มากกว่านี้ เมื่อเห็นคนต่างชาติเดินผ่านมาเรา เพียงแต่ยิ้มให้เขา นี่ก็เป็นทาน กายที่เกิดผลดีในจิตใจแก่ผู้รับแล้ว เรายังทำทานทางวาจาได้อีก การให้ความรู้ให้คำปลอบให้กำลังใจ จูงใจคนอื่นให้สบายใจนี่เป็นทานทางวาจาแล้ว

    การให้อภัยผู้อื่น โดยคิดว่า คนเราก็เหมือนกันแหละต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ทั้งนั้น ทำพลาดพลั้งกันได้ เราเองก็เคยทำผิด ทุกคนอีกไม่นานก็ตายๆ กันไปหมดนั่นแหละ จะเอาอะไรกันนักหนา จะไปทะเลาะกันทำไม จะไปเกลียดกันทำไม แล้วให้อภัย อภัยทานยิ่งใหญ่มาก ไม่เพียงแต่เราจะสบายใจในทันที เลิกโกรธ นอนหลับสบาย เท่านั้นยังป้องกันกรรมที่จะตามมาตั้งหลายอย่างอันเกิดจากการจองเวรหรือลุแก่โทสะอีกด้วย นี่ก็เป็นการให้ทานแล้ว

    การให้ธรรมะเป็นทานยิ่งดีใหญ่ การสอนธรรมะนั้นเป็นการสอนตัวเองไปด้วย ทำความดีให้ผู้อื่นด้วย คนเราตราบที่เป็นมนุษย์ปุถุชนอยู่จะดีเลิศประเสริฐศรีนั้นหายาก ล้วนแต่มีจุดอ่อน จุดยึดติดกันทั้งนั้น ต่อให้จุดอ่อนมีน้อย ถ้าไม่ตั้งสติเวลามีของมากระทบใจแรงๆ ก็โกรธ หลง ได้เช่นกัน ความโลภไม่น่ากลัวเพราะเกิดช้าค่อยๆ คิดแก้ก็ทัน ความโกรธความหลงนี้น่ากลัวเกิดเร็วไม่ตั้งสติมักแก้ไม่ทัน โดยเฉพาะเรื่องที่กระทบศักดิ์ศรีเกียรติภูมินี่ยิ่งหนัก เพราะคนเราได้สะสมอัตตาคือยึดในตัวเราว่า เราดีเราเก่งเรารวย เราประสพความสำเร็จ เราเรียนสูง เรามียศ เราสูงศักดิ์ เราหาเงินได้มาก หรือเราบวชมานาน สิ่งพวกนี้เราสะสมไว้ตลอดชีวิต

    เวลากระทบเรื่องนี้หรือที่สมัยนี้เรียกเสียฟอรม์ เสียหน้าหรือแทงใจดำ เราก็มักจะยอมไม่ได้ บางคนจึงไปทะเลาะกับตำรวจจราจรบ้าง ยามประตูในเรื่องที่ตนเป็นฝ่ายผิดทั้งนั้นแต่ขอผ่อนผันหน่อยขออนุโลมหน่อย ทำนองว่าเห็นแก่หน้าบ้าง ทั้งที่คนอื่นเขาทำตามหน้าที่ ก็ไปโกรธเขาด้วยความหลงความโกรธจึงเห็นผิดไปชั่วขณะ จนเวลาผ่านไปจึงมาสอนตนได้ภายหลัง หรือเมื่อกระทำพลาดตามโทสะแล้ว จึงมาคิดได้ภายหลัง แต่ก็เสียหายไปแล้วจึงแก้ได้ยากหรือบางทีแก้ไม่ได้เลย คนเราพลาดแบบนี้ได้ทุกคนการสอนตนเองบ่อยจึงอาจช่วยยับยั้งได้บ้าง

    การมีศีลช่วยอะไรได้มากกว่าที่คิด ควรพยายามรักษาศีลของตนไว้เท่าที่ทำได้ ถ้าอาชีพของเราต้องฆ่าสัตว์ก็รักษาศีลสี่ข้อก็ได้ ควรทำเท่าที่ทำได้ และทำที่เรามีให้ดีที่สุด มิใช่พังตามกันไปหมด อย่าไปมองการกระทำความเลวของคนอื่นที่เขากระทำได้มากกว่าเรา จงมองคนอื่นที่เขาทำดีกว่าเรา เพื่อปรับปรุงตัวเรา แต่เมื่อเรารับกรรมและท้อแท้จึงมองคนอื่นที่เขารับกรรมมากกว่าเราเพราะนี่คือธรรมะ ที่มีไว้เมื่อเรารับผลกรรม

    การภาวนาแปลว่ากระทำให้มาก ควรทำความสงบฝึกใจให้เป็นสมาธิให้มาก เพราะสมาธินำมาซึ่งปัญญา ปัญญาอาจจะมาได้หลายทาง การอ่านมากฟังมากคิดมาก ก็เกิดปัญญาได้ แต่ใจสงบเกิดปัญญาในธรรมะได้มากที่สุด และปัญญาในธรรมะเท่านั้นที่จะดับทุกข์ใจได้ ความสงบหรือสมาธิเป็นผลจาการฝึกสติ สติที่ดีที่สุดคือสติจากลมหายใจหรืออานาปานสติ เป็นสติที่ล้ำค่า แม้จะในที่พลุกพล่านหนวกหูบริกรรมภาวนาไม่ได้ก็ฝึกลมหายใจได้ แม้กำลังเจ็บปวดเช่นปวดหัวอย่างหนักก็ฝึกลมหายใจได้ และปวดหัวก็เบาลงด้วย

    การฝึกแบบอื่นเช่นท่องคำไปด้วย ตอนปวดหัวมากเครียดมากบางทีทำไม่ได้ แต่อานาปานสติคือลมหายใจทำได้ทุกกรณี เป็นมหาสติที่ดึงจิตวิญญาณได้ เป็นสติที่ทุกคนควรได้ฝึกเพียงตามดูลมหายใจ หรือกำหนดรู้ลมในจุดที่เราสบายเท่านั้น หรือทำใจให้เฉยทำทีมองดูว่าใจเราจะคิดอะไร และพยายามไม่คิด ใจจะจับลมหายใจเองโดยอัตโนมัติ เป็นการฝึกที่พระพุทธองค์สรรเสริญและรับรองว่าจะนำสิ่งที่ดีตามมาทุกอย่าง จนถึงขั้นบรรลุธรรม และเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ใช้มากที่สุด



    ..................................................

    บทความจาก
    ชมรมผู้บริโภคสื่อสีขาว
    http://whitemedia.org/
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>

    "อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. DD.

    DD. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    556
    ค่าพลัง:
    +103
    อนุโมทนากับสาระดีดีที่แบ่งปันให้กันครับ

    [​IMG] สาธุ สาธุ สาธุ [​IMG]
     
  3. ริมน้ำไนล์

    ริมน้ำไนล์ ริมน้ำไนล์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +34
    สติที่ดีที่สุดคือสติจากลมหายใจหรืออานาปานสติ เป็นสติที่ล้ำค่า
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  4. sirmai

    sirmai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +98
    ครับ
     
  5. promwikorn

    promwikorn สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +24
    ดีมากเลยครับ แต่บางครั้งเราก็ลดอัตตายากอยู่นะ
     
  6. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    [​IMG]
    ศีล คือพื้นฐาน

    “ภิกษุทั้งหลาย ! การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่งอันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ การงานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้อันบุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด
    ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอัน น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน….. ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ฯ”

    พลกรณียสูตร ๑๙/๗๖



    http://www.dhammajak.net/book-dhammaraksa/3.html
     
  7. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    ผู้รักษาศีลคือผู้รักตน
    คำว่า “ศีล” ในที่นี้ ผู้เขียนหมายรวมไปถึงกรรมบถ ๑๐ ด้วย เพราะในกรรมบถ ๑๐ นั้น มีทั้งศีลและธรรมรวมกัน นี่ว่าเฉพาะที่รู้ๆ แล้ว ไม่ว่าศีล ๕ ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล ท่านก็เรียกว่า “ธรรม” เหมือนกันหมด​
    เหตุใดผู้รักษาศีลจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตน ?
    ประเด็นนี้ เป็นจุดที่น่าให้ความสนใจมาก เพราะถ้าใครเข้าใจประเด็นนี้ได้อย่างถูกต้องแล้ว เขาจะสนใจศีลและหมั่นรักษาศีลไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่ศีล ๕ อุโบสถศีล จนถึงกรรมบท ๑๐ ซึ่งมีครบทั้งกายวาจาและใจเลย เรามาดูกันง่ายๆ ไม่ต้องไปใช้วิชาคำนวณคำเนินอะไรให้มันเมื่อยมือ หรือเมื่อยสมองหรอก เอากันที่ศีล ๕ ก่อน
    การไม่ฆ่าคน เป็นเหตุให้เราไม่มีเวร ไม่ต้องคอยหลบซ่อนตัว กลัวเขาจะมาฆ่าตอบ หรือญาติมิตรของผู้ถูกฆ่าจะมาฆ่าตอบ จะไปไหน ? จะกินจะนอนมันก็สบายไม่ต้องคอยหวาดระแวงภัย
    การไม่ลักขโมยของคนอื่น ก็เป็นเหตุให้ไม่ต้องมีเรื่องฟ้องร้องขึ้นโรงศาล หรือถูกใส่ความเพราะความเป็นคนหัวขโมย ไม่ต้องถูกจับใส่คุกเพราะเหตุอทินนาทาน
    การไม่เป็นคนเจ้าชู้ประตูดิน ไม่เป็นคนเที่ยวสำส่อนไม่ว่าผัวเขาหรือเมียใครไชไม่เลือก ก็จะไม่ต้องคอยระวังว่าผัวหรือเมียเขาจะมาฆ่าแกง เพราะเหตุว่าไปแย่งหรือล่วงเกินของรักของหวงของเขา อันเป็นเหตุให้ไม่มีเรื่อง “ศึกในมุ้ง” ให้ขายหน้าไปทั่วแผ่นดิน และครอบครัวก็ไม่ปกติสุขถึงต้องฆ่ากันตายด้วย
    การไม่พูดปด ก็จะไม่เป็นเหตุให้ต้องถูกใส่ความหรือถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาท ทำให้คำพูดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ น่าเคารพ เป็นที่ไว้วางใจของคนทั่วไปในเรื่องคำพูด
    การไม่ดื่มน้ำนรก นอกจากจะไม่เป็นต้นเหตุให้ก่อกรรมทำชั่วต่างๆ ได้มากมายแล้ว ยังไม่เป็นเหตุให้บั่นทอนกำลังกาย และกำลังสติปัญญาของตนอีกด้วย แถมยังจะปลอดโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมาจากการเป็นคนขี้เหล้าได้อีกมากมายด้วย
    ท่านยังพอจะมองเห็นหรือยังว่า ศีลแต่ละข้อนั้นนอกจากจะไม่ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน อันเป็นทางไหลมาของเวรกรรมต่างๆ แล้ว ตัวเราเองก็จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ปิดภัยและเวรต่างๆ เสียได้อย่างสิ้นเชิง ที่จะแสดงออกมาทางกายและวาจา ด้วยเหตุดังกล่าวมา ผู้ที่รักษาศีลจึงได้ชื่อว่ารักตน
    นี่เป็นอานิสงส์ของศีล ๕ เรามาดูอานิสงส์ของศีล ๘ หรืออุโบสถศีลกันสักหน่อยเป็นไร ?
    ความจริงศีล ๘ นี้ สำหรับชาวบ้านก็ไม่มีความจำเป็นอะไรมากนักที่จะต้องรักษา โดยเฉพาะคนที่ยังอยู่ใน “วัยงาน” คือ ยังต้องประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวอยู่ โดยเฉพาะก็คนที่ยังไม่หมดในเรื่องของเพศหรือกามคุณ ถ้าผัวหรือเมียยังหนุ่มหรือสาวอยู่ ใครขืนรักษาศีล ๘ เป็นประจำ ถ้าเมียหรือผัวไม่มีชู้ และยังอยู่ด้วยกันได้ ก็ต้องจัดว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ยกเว้นแต่ท่านผู้นั้นจะสำเร็จธรรมขั้นสูง คือ เป็นพระอนาคามีบุคคลไปแล้วเท่านั้น
    แต่สำหรับคน “วัยงอม” คือ วัยที่ปลดระวางแล้ว ก็สมควรที่จะรักษาศีล ๘ ได้แล้ว เพราะจะเป็นเหตุให้อายุยืนยาว ถ้างดเว้นเรื่องการกินให้น้อยลง หรือกินให้ถูกต้องตามวัย และงดเว้นกามกิจเสียได้ แต่ว่าศีลอุโบสถนี้ มีความสำคัญและจำเป็นแก่ทุกคนในแง่ของการพัฒนาชีวิต ถ้ามีโอกาสจะรักษาได้แม้นานๆ ครั้งก็ยังดี เพราะอุโบสถศีลเป็น “วัตร” ชนิดหนึ่งที่ช่วยฝึกหัดขัดเกลานิสัยส่วนเกินได้อย่างดี เมื่อเราได้รักษาศีล ๕ แล้ว ลองรักษาอุโบสถศีลแล้ว ก็น่าจะชิมลองรักษา “กรรมบถ ๑๐” ดูบ้าง ว่ามันจะมี รสชาติเป็นอย่างไร ? มันจะยากง่ายแค่ไหน ?
    ที่ผู้เขียนให้ความสนใจแก่กรรมบถ ก็เพราะในกรรมบถนั้นมีกระบวนการ “พัฒนาชีวิตครบวงจร” กล่าวคือ มีการพัฒนากาย วาจาและใจไปพร้อมกัน ไม่ต้องไปแยกทำทีละหนคนละคราว (ท่านที่สนใจการรักษากรรมบถ ๑๐ ขอให้อ่านจากหนังสือ “สุขสันต์วันเกิด” ของผู้เขียนได้ เพื่อประหยัดกระดาษจึงไม่นำมาลงให้ซ้ำกัน)
    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ผู้อ่านบางท่านคงเห็นแล้วว่าการล่วงละเมิดศีลนั้น มิได้จะทำให้คนอื่นหรือสัตว์อื่นเดือดร้อนเท่านั้น แต่ตัวเองนั่นแหละเดือดร้อนก่อน เมื่อตัวเองสร้างเหตุด้วยการนำเวรภัยมาสู่ตนเอง หรือหาสิ่งมึนเมามาประทุษร้ายสติสัมปชัญญะของตนเองให้เกิดความเดือดร้อนเช่นนี้แล้ว คนที่ล่วงศีลจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รักตนเองได้อย่างไรกัน ? เพราะโดยปกติคนทั่วไป มักทำอะไรๆ ก็เพื่อจะให้ตัวเราสบายและสนุก ไม่เคยคิดถึงหัวอกของคนอื่นว่าเขาจะระทมขมขื่น หรือปวดร้าวหัวใจสักเพียงไหน ? ถ้าไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็รู้ได้ยาก
    นี่ว่าเฉพาะเหตุผลในปัจจุบัน ยังไม่ได้ว่าถึงผลแห่งกรรมที่ข้ามภพชาติ ที่เราจะต้องไปเสวยอีกนับไม่ถ้วนและยาวนาน ซึ่งมีอยู่แน่ๆ แต่เราไม่รู้ เพราะเราไม่มีญาณพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าวมา การรักษาศีลนอกจากจะไม่เป็นการประทุษร้ายตนเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแล้ว ยังจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตนเองและรักผู้อื่น (คือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะตน) อีกด้วย
    ดังนั้น ผู้รักตนจึงควรรักษาศีล ๕ อุโบสถศีล กรรมบถ ๑๐ ตลอดจนการเจริญธรรมต่างๆ มีสติ สมาธิ และวิปัสสนา เป็นต้น อยู่เป็นประจำเถิด แล้วท่านจะพบกับความประเสริฐทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย

    .....................

    http://www.dhammajak.net/book-dhammaraksa/3.html
     
  8. ถนอม021

    ถนอม021 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,098
    ค่าพลัง:
    +3,163
    อนุโมทนาสาธุด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ

    และขออุทิศบุญกุศลทั้งปวงแด่เจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ
    ให้ทุกท่านมีความสุขกายสุขใจตลอดไป ขอให้อโหสิรรมและ
    ขออโหสิกรรมกับทุกรูปทุกนามด้วยเถิด ให้ทุกท่านได้พระนิพพาน
    ในชาตินี้ด้วยเถิด

    ถนอม สุพัตรา ถกนธ์ พร้อมครอบครัวและญาติมิตร

    หลังจากสวดบูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลามาก แนะนำบทสวดพุทธมนต์แบบย่อ ๆ แต่มีพลานุภาพมาก มีอานิสงส์มาก สวดไม่เกิน 5 นาทีจบ ดังนี้

    นะโม 3 จบ


    หัวใจ อิติปิโส ว่า
    อิสะวาสุ

    นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ นะมะอะอุ

    หัวใจพาหุง
    พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ
    หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
    หัวใจบารมี 30 ทัส
    ทา สี เน ปะ วิ ขะ สะ อะ เม อุ
    หัวใจพระอาการวัตตาสูตร
    มุนินทะ วะทะนัมโพชะ คัพพะสัมภาวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะ ยะตัง มะนัง
    หัวใจพระธารณะปริตร
    ทิฏฐิลา ทัณฑิลา มันติลา โรคิลา ขะระรา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
    หัวใจพระไตรปิฎก
    จิเจรุนิ
    หัวใจพระคาถาชินบัญชร
    ชะ จะ ต ะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ธะ ขะ อา ชิ วา อะ ชิ สะ อิ ตัง
    คาถาบูชาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์
    นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ

    [​IMG]สวดจบควรแผ่เมตตาทุกครั้ง[​IMG]

    แผ่เมตตาจิต
    ...ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

    อานิสงส์การแผ่เมตตา
    ...ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไปเ มื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเราหรืออีกนัยหนึ่งว่า เราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป

    ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหาย เป็นปกติดั่งเดิมได้

    ประโยชน์จากการฝึกจิต
    ...ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า

    นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดัน โลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม



    จากหนังสือ เรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี
     
  9. กัมพ์

    กัมพ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +118
    อนุโมทนาสาธุครับ....

    เวลาเป็นของมีค่าจริงๆ......อย่าปล่อยให้มันผ่านไปเปล่าๆ
     
  10. Nutuk

    Nutuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +347
    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ


    -----------------------------------------
    “การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง”
     
  11. TJ69

    TJ69 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนาสาธุ

    -------------------------------------------
    อย่าลืมดูแลหัวใจคนอื่น...ด้วยการถ่อมตน <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...