อย่างไร เรียกว่า ศึกษาและเผยแพร่พุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 9 พฤษภาคม 2014.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ในหัวข้อกระทู้นี้ จะกล่าวว่าเป็นการสอบความรู้ของบรรดาเหล่าที่เป็นอาจารย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หรือจะกล่าวว่า เป็นการแนะแนว หรือ สอนให้กับบรรดา ผู้ที่มีความรู้ในทางพระไตรปิฎก ให้ได้เกิดความคิด เกิดความเข้าใจในหลักการทางพุทธศาสนา เพิ่มพูนมากขึ้น
    ศาสนา เป็นเรื่องของ หลักการ ในการละลายพฤติกรรมในการดำรงชีวิต ในการดำรงชีพร่วมกันของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หลักการหรือหลักธรรมทางศาสนา จึงมุ่งเน้นให้ผู้ศรัทธาเกิดปสาทะ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ และได้ผลหรือเกิดผลดีต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งทาง กาย วาจา ใจ
    อีกอย่างหนึ่ง ศาสนา เป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือ หลุดพ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งมีข้อที่ต้องโต้แย้งและถกเถียงกันมากมาย และต้องอาศัยเวลาเป็นตัวตัดสินว่า อย่างไรเรียกว่า หลุดพ้นจากวัฏสงสาร อย่างไรเรียกว่า " นิพพาน" ไม่ใช่ศึกษาเพียงในตำรา แต่ทำไม่ได้ แต่ก็ยังดันทุรังสอนผู้อื่น ดันทุรังเผยแพร่ (อันนี้เป็นข้อคิดสำหรับท่านทั้งหลาย)
    การศึกษาพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ของผู้ศรัทธา ก็ล้วนได้รับการศึกษาจากเหล่าบรรดา พระสงฆ์ และบรรดาผู้ที่ได้ชื่อเรียกว่า "อาจารย์" คือผู้มีความรู้ในทางด้านหลักธรรมและหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา
    ส่วน เหล่าพระสงฆ์ และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหลักธรรมและหลักปฏิบัติก็ล้วนศึกษาสิ่งที่ได้กล่าวไป จากพระไตรปิฎกเป็นหลัก
    การศึกษาจากพระไตรปิฎก ท่านทั้งหลายต้องใช้วิจารณญาณ ใช้ความคิด พิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริงที่ว่า พระไตรปิฎกเกิดขึ้นเมื่อหลายร้อยหลายพันปีที่ผ่านมา ทั้งศัพท์ภาษา สำนวนโวหาร ก็ล้วนเป็นศัพท์ภาษา และสำนวนโวหารสมัยโบราณ อีกทั้งในพระไตรปิฎก ยังแฝงไว้ซึ่งสิ่งที่ต้องนำมาคิดพิจารณาแยกแยะให้เป็นไปตามหลักความจริงตามธรรมชาติ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสมองสติปัญญาของแต่ละบุคคลว่า จะสามารถคิดพิจารณาให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความในพระไตรปิฎกได้กี่มากน้อย
    ยกตัวอย่างสำหรับท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหลักธรรม และหลักปฏิบัติในพุทธศาสนา ในเรื่องของการ
    "ดับกิเลส" ท่านทั้งหลายมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถสอนหรือเผยแพร่ ให้ผู้ศรัทธาได้รู้ได้เข้าใจว่า "ดับกิเลส"ดับอย่างไร
    หรือ อย่างไรเรียกว่า "ดับกิเลส" ถ้าท่านทั้งหลายยกเอาหลักธรรมต่างๆมากล่าวอ้างโดยไม่ได้คิดพิจารณาถึงหลักความจริงหรือหลักธรรมชาติ ย่อมไม่สามารถที่จะสอนหรือเผยแพร่ให้กับผู้อื่นเกิดความรู้ความเข้า หรือจะเรียกว่า ยากที่จะสอนให้ผู้อื่นเกิดความรู้ความเข้าใจ
    รวมไปถึงตัวท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ก็ไม่สามารถเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างแท้จริงได้ว่า
    ดับกิเลส อย่างไร แบบไหน ใช้หลักการอย่างไร
    แต่ถ้าท่านทั้งหลายคิดพิจารณาตามยุคตามสมัย ใช้ศัพท์ภาษาที่เข้าใจง่าย แต่ต้องเปรียบเทียบหรือขยายความจากสิ่งที่อยู่เดิมคือความในพระไตรปิฎก นั่นย่อมหมายถึง "การศึกษาและการเผยแพร่พระพุทธศาสนา"ที่ถูกต้อง
    หากผู้ศรัทธาในพุทธศาสนาอื่นๆ ไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรียนรู้ยากศึกษายาก เข้าใจยาก ปฏิบัติยาก แถมรู้เพียงแต่ตามตำรา ปฏิบัติไม่ได้ ที่ได้กล่าวไป ไม่ใช่การเผยแพร่พุทธศาสนา เพื่อความเจริญรุ่งเรือง แต่มันจะเป็นการทำลายหรือยับยั้งความเจริญของศาสนา
    การใช้ศัพท์ภาษา และสำนวนของภาษาเป็นเรื่องสำคัญในการเผยแพร่หลักธรรมและหลักปฏิบัติ การศึกษาในหลักธรรมหรือหลักปฏิบัติ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะถ้าหาก รู้ผิด เข้าใจ ก็ย่อมสอนกันไปแบบผิดๆ ไม่ใช่ผิดธรรม ผิดแบบบิดเบือนหลักการทางพุทธศาสนา จะเรียกว่า ในพระไตรปิฎกสอนไปอย่างหนึ่ง แต่พวกท่านไม่รู้ ไม่คิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง หลักธรรมชาติ ก็สอนไปอีกอย่าง สร้างความรู้ความเข้าใจในทางที่ผิดๆ มามากต่อมาก
    ยกตัวอย่าง การสอนในเรื่อง ของ ฌาน(ชาน) เป็นต้น
    ที่ข้าพเจ้ากล่าวไปทั้งหมดข้างต้น เป็นการสอบความรู้ เป็นการแนะแนว สอน ให้กับบรรดาท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน คือ เกี่ยวข้องกับการศึกษา เผยแพร่หลักธรรม หลักปฏิบัติ ทางพุทธศาสนา ให้เกิดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปตามยุคสมัย ถึงแม้ว่า พวกท่าน อาจจะไม่ยอมรับในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้สอนไปก็ตามแต่
    หากท่านทั้งหลายมีความตั้งใจที่จะ ศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างถูกวิธี เพื่อสร้างความมี ศรัทธาปสาทะ ในหลักธรรมและหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ก็ให้ท่านทั้งหลายได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรอง ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้เถิด

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
    ๙ พ.ค.๒๕๕๗
     

แชร์หน้านี้

Loading...