อยู่อย่างไร? อายุ 100 ปี มีสุข

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 29 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top" width="160"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="1" valign="middle" width="165">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> นอกจากวันที่ 13 เมษายน ของทุกปีจะเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแล้ว วันนี้ก็ยังถูกกำหนด โดยคณะรัฐมนตรีซึ่งได้ลงมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 หรือเมื่อ 25 ปีที่แล้ว อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็น ‘วันผู้สูงอายุแห่งชาติ’ และได้มีการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุต่อเนื่องมาทุกปี

    นับเนื่องจากวันนั้นการให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุของไทยมีมาอย่างต่อเนื่อง หลายๆฝ่ายต่างเล็งเห็นว่า ‘คนวัยเกษียณ’ นั้น ยังถือเป็นกลุ่มทรัพยากรบุคคล ที่ทรงคุณค่าทั้งต่อชุมชน สังคม และประเทศเป็นอย่างมาก แต่จะทำอย่างไรให้ทรัพยากรบุคคลกลุ่มนี้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ มีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และสามารถอยู่เป็นที่พึ่งของลูกหลานได้นานเท่านาน

    • คนสูงอายุไทยเพิ่มขึ้นทุกปี

    ด้วยวิทยาการทางแพทย์ที่มีความสมัยใหม่ และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การ ‘อยู่ 100 ปี’ หรือมากกว่านั้น ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อีกต่อไปแล้ว

    รศ.ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ ประธานชมรม ‘อยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข’ บอกกับ ‘ธรรมลีลา’ ว่า จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเดือนมกราคมปี 2550 พบว่าจำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยล่าสุดมีการสำรวจ จำนวนประชากรทั้งประเทศที่มีทั้งสิ้น 62,829,000 คน มีประชากรสูงอายุถึง 6,824,000 คน โดยแยกกลุ่มประชากรผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก ประชากรสูงอายุวัยต้น (60-79 ปีขึ้น) มีจำนวน 6,172,000 คน กลุ่มที่สองเป็นประชากรผู้สูงอายุวัยปลาย (80-99 ปี) มี 648,000 คน และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ศตวรรษิกชน (100 ปีขึ้นไป) มีจำนวนถึง 4,000 คน

    “คนแก่ที่มีอายุยืนนั้นไม่ใช่แค่มีอายุมากเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตในวัยชราจะต้องมีชีวิตอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและอยู่ได้โดยการพึ่งพิงตัวเอง จึงจะถือว่าเป็นคนวัยชราที่มีคุณภาพ” ดร.พิชัยกล่าว

    จากการศึกษาดังกล่าวทำให้เราได้รู้ว่า อายุขัยของคนเราเฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ในปีค.ศ.1900 เฉลี่ยได้ 47 ปี แต่เด็กหญิงที่เกิดในวันนี้ จะมีอายุเฉลี่ยถึง 79 ปี ส่วนเด็กชายจะมีอายุเฉลี่ยเพียง 72 ปี ในปีค.ศ.1900 มีคนเพียง 1 ใน 100,000 คน ที่มีอายุถึง 100 ปี ส่วนปัจจุบัน มีคนถึง 1 ใน 10,000 คน ที่มีอายุ ถึง 100 ปี คนที่มีอายุเกิน 100 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มจำนวนขี้นเพียง 1% ต่อปี ปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกามีคนอายุเกิน 100 ปี ราว 50,000 คน และคาดว่าตัวเลขนี้จะถึง 1,000,000 คน ในปี ค.ศ.2050

    • ‘ชรา’ อย่างมีคุณภาพ

    ดร.พิชัย อธิบายอีกว่า จากตัวเลขดังกล่าวทำให้เรารู้ว่าจำนวนประชากรใน วัยชราทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีอัตราเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสิ่ง สำคัญที่คนกลุ่มนี้น่าจะให้ความสนใจก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข อยู่อย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง ไม่เป็นภาระของลูกหลาน

    สิ่งสำคัญที่กลุ่มผู้สูงอายุควรให้ความสนใจมากที่สุดก็คือการดูแลตัวเองทั้งทางร่างกายและจิตใจหลักการ 5 อ.มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    อาหาร คือ อ.ตัวแรกที่มีความสำคัญและจำเป็นที่สุด โดยอาหารที่ควรบริโภคควรเป็นอาหารมังสวิรัติ และเนื้อปลา เป็นอาหารที่สดตามธรรมชาติ ดี กว่าอาหารสำเร็จรูปหรือของทอด รับประทานผัก ผลไม้ และไม่หวาน มัน เค็ม หรือมีรสจัดจนเกินไป

    ออกกำลังกาย เป็น อ.ที่สอง การออกกำลังกาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบการไหลเวียนของหัวใจและหลอดเลือดหมุนเวียนดี ลดไขมัน และเกิดการขยับเขยื้อนข้อต่อต่างๆ ส่วนการออกกำลังกายรูปแบบ ต่างๆ ให้ผลที่แตกต่างกัน ซึ่งการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ควรใช้วิธีการ เดินเร็วอย่างน้อยวันละ 30 นาที ควรทำเป็นประจำทุกวันหรือ 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัยที่สุด

    อารมณ์ คือ อ.ที่สาม เพราะความเครียด ความซึมเศร้า เป็นสาเหตุในการ เกิดโรคด้วย ดังนั้นการผ่อนคลายความตึงเครียด โดยการออกกำลังแบบศาสตร์ ตะวันออก เช่น โยคะ ไท้เก๊ก ชี่กง หรือการทำสมาธิ นั้นสามารถช่วยได้

    อากาศ คือ อ.ที่สี่ อากาศบริสุทธิ์ ข้อนี้สามารถทำได้ง่ายและที่สำคัญควรจะมีการฝึกหายใจลึกๆเพื่อนำออกซิเจนเข้าไปสู่ร่างกายให้มากจะช่วยให้สุขภาพดี ที่สำคัญไม่ควรสูบบุหรี่ ซึ่งถือเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายหลายอย่าง

    ส่วน อ.สุดท้ายคือ อุจจาระ หลายๆคนคงคิดว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญแต่ความจริงแล้ว อ.สุดท้ายนี้มีความสำคัญมาก เพราะการอุจจาระทุกวันนั้นช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทำให้ระบบการทำงาน ของร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์

    • แนะดูแลจิตวิญญาณ

    นอกจากการดูแลร่างกายให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอแล้ว การดูแลรักษาจิตใจ หรือการเอาใจใส่ดูแลด้านจิตวิญญาณก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผสมผสานกับความสมบูรณ์ทางร่างกาย ซึ่งหากสามารถนำมาผนวกกันได้ดีแล้วจะสามารถทำให้ผู้ที่ปฏิบัติสามารถมีชีวิตยืนยาวได้เพราะอาหารกับการฝึกจิตมีความสัมพันธ์กัน

    ดร.พิชัย บอกว่า ชมรมของเรานั้นนอกจากจะเน้นให้สมาชิกในชมรมดูแลตัวเองทางร่างกายแล้วก็จะแนะนำให้สมาชิกดูแลตัวเองด้านจิตวิญญาณอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นว่าการดูแลเรื่องจิตวิญญาณนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ความจริงแล้วมันก็คือการนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันนั่นเอง

    “เราจะสอนให้สมาชิกทุกคนมีศีลธรรมประจำใจ อย่างน้อยก็ต้องสามารถรักษาศีล 5 ข้อได้ เมื่อมีศีลธรรมแล้ว การจะทำใจให้เป็นสมาธิก็ง่าย เพราะเราไม่มีเรื่องกังวลหรือห่วงใดๆมาผูกให้เป็นภาระ ซึ่งเมื่อมีสมาธิแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เรื่องของจิตวิญญาณนั้นคนที่ปฏิบัติจึงจะสามารถรู้ถึงผลของมัน”

    ดร.พิชัยบอกอีกว่า การจะเป็นผู้สูงอายุที่ทรงพลัง อายุยืน ต้องมีความพอใจ และพอในสิ่งที่ตนมี ตื่นเช้าขึ้นมาให้ยิ้มกับตนเอง ชื่นชมตนเอง ทำตัวเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ ทำตัวให้เข้าได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ เข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัว ชุมชน ชมรม ตามโอกาส ตามสภาพร่างกาย

    ประการสำคัญต้องสร้างความมั่นคงเรื่องการเงิน ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว อย่างน้อย ต้องมีพออยู่พอกิน ถ้าจะเริ่มเก็บเงินเมื่อแก่จะไม่ทันกาล การมองโลกในแง่ดี มี พลังชีวิต อยากมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ จะเป็นพลังให้คนเรารักตัวเอง เกิดพฤติกรรมสุขภาพดี คือ กินอาหารเหมาะสม ออกกำลังกายพอเหมาะ แต่สิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงตระหนักไว้คือ ‘กฎแห่งกรรม’ คนทำดีย่อมได้ดี ขอให้หมั่นสร้างสม แต่กุศลกรรม ชีวิตก็จะยืนยาว

    • ขยายเครือข่ายสร้างความร่วมมือทั่วประเทศ

    สำหรับชมรมผู้สูงอายุที่ได้ก่อตั้งมานานและได้รับการยอมรับและถือเป็นต้นแบบที่สำคัญของชมรมอื่นๆ อย่าง ‘ชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข’ ถือเป็นชมรม ผู้สูงอายุที่มีการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในวัยหลังเกษียณ เพื่อดำเนินกิจกรรม ต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม และปัจจุบันนี้มีสมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 60-100 ปี มากกว่า 1,000 คน

    ในขณะเดียวกันชมรมอยู่ร้อยปีก็เป็น ‘ต้นแบบ’ ให้กับชมรมผู้สูงอายุในพื้น ที่ต่างๆทั่วประเทศ ให้ตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าของตนเอง และรู้วิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

    ในปัจจุบันมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมไปทุกจังหวัดและแต่ละจังหวัดก็ได้มีการจัดตั้งแยกย่อยไปตามอำเภอต่างๆมากมาย ทำให้การขยายเครือข่ายของชมรมผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้น

    ดร.พิชัย บอกว่า ทางชมรมอยู่ร้อยปีได้วางแผนการดำเนินงานในปี 2550 ไว้ว่าจะดำเนินการประสานงานกับชมรมผู้สูงอายุตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อจะสามารถสร้างเครือข่ายที่เป็นกัลยาณมิตรกันได้ โดยจะเริ่มต้นที่ชมรมผู้สูงอายุในโรงพยาบาลต่างๆก่อน จากนั้นก็จะพยายามขยายไปยังชมรมผู้สูงอายุตามจังหวัดต่างๆต่อไป

    ที่ผ่านมาเราต้องยอมรับว่าชมรมผู้สูงอายุตามที่ต่างๆนั้นไม่ได้มีการสร้างเครือข่ายกันอย่างจริงจังนัก ทำให้การดำเนินการของแต่ละชมรมไม่เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน บางแห่งก็ไม่ได้มีการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องทำให้เสียโอกาสในการดำเนินกิจกรรมที่ถูกต้อง

    “ปีนี้เราจะรุกอย่างจริงจัง โดยการเชิญชมรมผู้สูงอายุจากจังหวัดต่างๆมาร่วมกิจกรรมในการสวดมนต์ถวายพระพรในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ซึ่งจะถือว่าเป็นกิจกรรมแรกที่ชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศจะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งหากชมรม ผู้สูงอายุใดสนใจจะให้ชมรมอยู่ร้อยปีของเราไปให้ความรู้ต่างๆ สามารถติดต่อไปได้ที่ ชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข อาคารอริยะสัจน์ 4 ซอย 65 ถนนเพชรเกษม แขวงบางแค กรุงเทพฯ หรือโทรศัพท์ 0-2421-0489 และ 0-2421-5286 ได้ทุกวัน” ประธานชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข กล่าวทิ้งท้าย

    วิธีออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

    เป็นที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางกายจากความเสื่อม ยิ่งต้อง ออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพและพิการของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ หัวใจและปอด เป็นต้น

    การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายคล่องตัว ไม่หกล้มง่าย ไม่อ้วนเกินไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง ยิ่งไปกว่านั้น การออกกำลังกายยังช่วยให้ลดความเครียด และสมรรถภาพทาง เพศดีขึ้นอีกด้วย

    ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ์สุวรรณ ภาควิชาอายุรเวชศาสตร์ศิริราชพยาบาล แนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุว่า

    ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้แต่จะออกกำลังกายแบบไหน อย่างไรจึง จะดี และเกิดคุณประโยชน์สูงสุดนั้นมีอยู่หลายวิธี อาทิ การทำกายบริหาร เช่น การหัดพละ การรำมวยจีน ฝึกโยคะ เป็นต้น การฝึกกายบริหารจะช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อแข็งแรง ทรงตัวดี ไม่หกล้มง่าย

    สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรือที่เรียกว่า เล่นกล้าม มีประโยชน์ในกรณีที่ต้องการเสริมสร้างสมรรถภาพของกล้ามเนื้อบางส่วนเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ควรได้ฝึกกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง เพื่อช่วยประคับประคองข้อต่อมิให้ปวดเข่าเวลาเดิน หรือผู้สูงอายุที่ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมและปวดหลัง ก็ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังเพื่อลดอาการดังกล่าว

    นอกจากนี้การเล่นกีฬาที่ตนเองชอบ เป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนานและยังให้ประโยชน์ในด้านสังคมได้พบปะผู้อื่นอีกด้วย แต่สำหรับผู้สูงอายุควรเลือกกีฬาที่ไม่หักโหมจนเกินไป และไม่ควรเล่นเพื่อแข่งขันเอาแพ้เอาชนะกันอย่างจริงจังมากเกินไป เพราะจะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไปในเวลาสั้นๆ และอาจเกิดอันตรายได้

    ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ แนะนำอีกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายแบบที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน 3-5 นาทีขึ้นไป การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้ มีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุและช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบนี้ได้แก่ การวิ่งเหยาะหรือที่เรียกว่า จ๊อกกิ้ง การเดินอย่างเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค หรือการใช้อุปกรณ์บางอย่างช่วย เช่น การเดินบนสายพาน ขี่จักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น

    ส่วนผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องปวดเข่า อาจเลือกใช้วิธีว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายในน้ำ ซึ่งจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวไว้ส่วนหนึ่ง การออกกำลังกายวิธีนี้จะได้ผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด ก็ต่อเมื่อได้ออกกำลังแบบต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น ออกกำลังกายครั้งละ 20-30 นาที ประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ (เช่น ออกกำลังวันเว้นวัน)

    แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ควรเริ่มต้นช้าๆก่อน เช่น เริ่มออกกำลังกายจนหัวใจหรือชีพจรเต้นเร็วประมาณร้อยละ 70-80 ของอัตราเต้น สูงสุดของหัวใจ ซึ่งคำนวณได้โดยใช้สูตรอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ = 220 - อายุ) ตัวอย่างเช่น สมมติว่าผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปี อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจจะเท่ากับ 220-60 คือ 160 ครั้งต่อนาที และการออกกำลังกายจนชีพจรเต้น ประมาณร้อยละ 70-80 ของ 160 ครั้งต่อนาที นั่นคือ 112-128 ครั้งต่อนาที

    “อย่าลืมว่าก่อนออกกำลังกายแบบแอโรบิคทุกครั้งต้องยืดเส้นยืดสาย และเริ่มออกกำลังเบาๆก่อน เป็นการอุ่นเครื่อง และหลังออกกำลังกายได้ตามที่ต้องการแล้วอย่าเพิ่งหยุดทันที แต่ควรค่อยๆผ่อนลงช้าๆ เพื่อมิให้เกิดอันตราย
    ต่อกล้ามเนื้อ”

    การออกกำลังกายนั้น ทำได้ทุกเวลาที่สะดวก แต่เวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายกลางแจ้ง น่าจะเป็นตอนเช้าๆ หรือเย็นๆ ซึ่งอากาศไม่ร้อนจนเกินไป และควรเป็นเวลาเดียวกันทุกครั้งเพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้เหมาะสม

    กินอย่างไรให้อายุยืน

    กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำโภชนาการกับผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาวว่า

    ผู้สูงอายุควรมีการดูแลสุขภาพในเรื่องโภชนาการ เช่นเดียวกันกับบุคคล วัยอื่นๆ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมสลาย แต่เราสามารถทำให้วัยนี้สดชื่น แจ่มใส และมีคุณค่าได้ โดยการมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อเป็นการชะลอการเสื่อมของร่างกายมิให้เกิดขึ้นเร็ว โดยสามารถปฏิบัติตัวดังนี้

    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้อง การของร่างกาย โดยรับประทานมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
    • ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่นพวก ไขมันจากสัตว์ อาหารที่ปรุงจากกระทิ และพวกรสหวานจัด
    • ควรรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา
    • ดื่มนมพร่องมันเนยทุกวัน
    • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
    • พักผ่อนให้เพียงพอ

    นอกจากนี้การมีโภชนาการที่ดีในผู้สูงอายุจะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและลดปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคผนังลำไส้โป่งพอง เป็นต้น

    นอกจากนี้สังขารที่เสื่อมโทรมตามวัยทำให้กิจกรรมในการใช้พลังงานมีน้อยลง มีปัญหาการเคี้ยวรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย แต่แป้งและไขมันสูง ระบบทางเดินอาหารก็ทำงานน้อยลง น้ำย่อยลดลง การดูดซึมลดลง การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลงทำให้ท้องผูก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้ท้องอืด เป็นเหตุให้ไม่อยากรับประทานอาหาร

    ดังนั้น อาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สูง ให้พลังงานเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันก็ให้สารอาหารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่สูง สารอาหารเหล่านี้ได้มาจากหมวดอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีส่วน ในอาหาร เช่น ข้าวซ้อมมือ หัวโจ๊ก ขนมปัง ที่ทำมาจากแป้งไม่ได้ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆหมวดผัก ผลไม้ หมวดเนื้อสัตว์ ไข่ และหมวดนม หรือผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น

    สำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง ควรลดการรับประทานเกลือโซเดียม เพราะการที่ต่อมรับรสทำงานน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่เค็มขึ้นโดยไม่รู้ตัว อาหารที่มีเกลือสูงควรหลีกเลี่ยงได้แก่ อาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ไส้กรอก เป็นต้น นอกจากนี้ควรใช้ซอสปรุงรส เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เต้าเจี้ยว พอประมาณ

    ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะมีการหลั่งของน้ำย่อย และน้ำลายน้อยลง อาหารที่ รับประทานจึงควรเป็นอาหารอ่อนที่เคี้ยวง่าย กลืนง่าย และย่อยง่าย โดยเฉพาะในรายที่มีฟันหรือใส่ฟันปลอม ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการกลืน อาจต้องรับประทานอาหารเหลว ในการปรุงอาหารเนื้อสัตว์ควรสับหรือบด หรือนำมาตุ๋นจนเปื่อย หรืออาจนำมาปั่นใส่น้ำซุปในกรณีที่เคี้ยวไม่ได้

    ประการสำคัญผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาวและมีความสุขอย่างแท้จริง

    (จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 77 เม.ย. 50 โดย พิมพ์สุจี ญาณนะพงศ์)

    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...