อยากทราบว่า เทพครูโขน พ่อแก่ ปู่ฤาษี ไทยใช่ดวงจิตเดียวกับเทพโขน เปอร์เซีย เบงกาลีไหม

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย sirenia, 26 พฤศจิกายน 2013.

แท็ก: แก้ไข
  1. sirenia

    sirenia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +192
    [​IMG]


    ตอนสมัยเด็กๆเคยเรียนนาฏศิลป์ ครูสอนนาฏศิลป์สมัยนั้นมักจะเป็นสาวไทยทางใต้ หน้าคมๆ เหมือนแขกขาว ร้องเอื้อนเก่ง พวกนักเรียนที่เขาคัดว่า เหมาะแสดงรามเกียรติ, นางสีดา, สุครีพ, พาลี, ฉุยฉาย เบญจกาย, พลายชุมพล, โขนและนาฏศิลป์ คนไหนหน้าแขกๆ ครูจะชอบมาก จะได้แสดงเป็นตัวเอก

    มาเข้าเรื่องคือ ทุกครั้งที่มีการเรียนโขน เขาก็จะมีการไหว้ครูกันก่อน ซึ่ง ดิฉันเคยได้ยินได้ฟังบ่อยมากว่า พ่อแก่ หรือ ปู่ฤษี พระพิฆเนศ เทพ หนุมาน ทศกัณฑ์ มีความสำคัญมาก และต้องมีการไหว้เศียร ทั้งหมด รวมทั้งนางสีดาด้วย ประหนึ่งเป็น เทพ หรือ คุรุ ก็มีเรื่องเล่านักต่อนักถึงคนที่ทำผิด หรือ เอาหัวโขนหรือ ชฏา นางสีดา มาใส่เล่น ก็จะโดนสิงค์ บ้าง เจอหลอก อะไรพวกนี้


    ไม่เพียงเท่านี้ยังมีบุคคลมากมายในเมืองไทยที่มีองค์พ่อแก่ หรือ ฤษีนารอท
    มีประโยคที่ว่า ห้ามนำหัวลิงไปไว้ข้างหัวยักษ์เพราะจะตีกัน ซึ่งตามตำนานรามเกียรติ์ ลิงกะยักษ์นั้นไม่ถูกกัน และ ถ้าเอาเศียรวางใกล้กันก็จะมีรอยหัวโขนแตกหักถูกขีดข่วนเสมออันสืบเนื่องมาจาก เทพ ลิง กับยักษ์ตีกัน


    ทีนี้ดิฉันได้ไปอ่านประวัติมาคะว่า จริงๆแล้วการแสดงโขนนี้ ในไทยสมัยก่อนเป็นการแสดงชั้นสูงมากและเฉพาะคนในวังจะได้ดู ต้องมีการไหว้ครู ต้องมีพราหมณ์ กำกับ แต่ประวัติโขนจริงๆแล้ว ไทยเรารับมาจากอินเดียตะวันออกฝั่งเบงกอล หรือพวกอินเดียใต้ แขกทมิฬ

    คำว่า โขนของไทยมาจาก คำว่า "โขละ" หรือ "โขล" ในภาษาเบงกาลี่ (อินเดียตะวันออก บางครั้งเขียนด้วยคำว่า "โขฬะ") ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน

    คำว่าโขนในภาษาทมิฬ มีจุดเริ่มต้นจากคำว่าโขล ซึ่งมีความใกล้เคียงกับโกลหรือโกลัมในภาษาทมิฬ หมายความถึงเพศหรือการแต่งตัว การประดับตกแต่งร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าให้สวยงามตามแต่ลักษณะของเพศหญิงและเพศชาย หรืออีกความหมายหนึ่งของโกลหรือโกลัมคือการใช้แป้งโรยประดับตกแต่งหน้าบ้าน

    นอกจากนี้ โขนยัง มีการสืบทอดตำนานมายาวนานถึงสมัย เปอร์เซีย โบราณคำว่าโขนในภาษาอิหร่าน มีที่มาจากคำว่าษูรัต ควาน หมายความถึงตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมีผู้ขับร้องและให้เสียงแทนตัวหุ่น

    ดังนั้นคำถามของดิฉันก็คือ เทพโขนที่ คนไทยไหว้กันและมาแสดงอภินิหาร สิงค์ บ้างอะไรบ้างนี้ ใช่ องค์เดียวกับเทพโขนของ อินเดียและอิหร่านหรือไม่ เหตุใด เวลามาสิงค์ โขนไทยก็แสดงแบบไทย แต่ไปสิงค์ คนแสดงโขนอินเดีย ก็รำแบบ อินเดีย สิงค์ของอิหร่านก็แสดงแบบอิหร่าน คะ




    [MUSIC]http://k007.kiwi6.com/hotlink/ftboa1i78z/Estampie_-_Disse_mi2.mp3[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤศจิกายน 2013
  2. เพลงธรรม

    เพลงธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +280
    ท่านไม่ได้มาสิงหรอกครับ เกิดจากภาวะจิตอ่อน ไม่เข้มแข็ง พอได้ยินเพลงหน้าพาทย์ก็เกิดอาการประหลาดๆ
     
  3. sirenia

    sirenia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +192
    อันนี้ดิฉันฟังคนอื่นพูดมาว่า มีคนโดนนางสีดาเข้านะคะ ไม่เคยรำอะไรก็ออกมารำสวย และชฏาก็ถอดไม่ออก จนต้องไปอัญเชิญพราหมณ์มาทำพิธี และคนที่เขาโดนเข้าแม้เวลาไม่รำก็จะพูดจาทำท่าเหมือนตุ๊กตาหุ่นกระบอกนะคะ
     
  4. sirenia

    sirenia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +192
    ขออนุญาต นำ คริป รายการเดอะ ช็อค มาลงคะ ฟังเรื่องที่ 3 นะคะ จะเป็นตอน หัว โขน อันนี้ฟังแล้วก็คล้ายๆกับที่พี่สาวดิฉันไปเจอ ที่ ตำหนักพ่อปู่ฤาษีนะคะ


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=DUprDUMMMMY]The Shock รวมเรื่องน่ากลัว เดือน ก.พ. 2556 - YouTube[/ame]
     
  5. เพลงธรรม

    เพลงธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +280
    ที่แสดงแบบไทยเพราะสิงคนไทย ถ้าสิงคนจีนก็แสดงแบบจีน ถ้าสิงฝรั่งก็แสดงแบบฝรั่ง คงเป็นไปตามสัญชาติที่เข้าสิงครับ
     
  6. ออมชอม

    ออมชอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +117
    ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ แต่ขอบคุณสำหรับเรื่องราวค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...