อยากทราบว่า มโนมยิทธิ นี่ ใช่อภิญญาไหมครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย hitman, 4 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +439
  2. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ใช่คับ
     
  3. noway

    noway เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +3,969
    อาจารย์ที่สอน ท่านเรียกว่า
    อภิญญาเล็ก
     
  4. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    ใช่คับแต่เกิดจากการทำฌานอย่างยิ่งยวด กสิณ อาโลกสิณ เตโชกสิณและอื่นๆ ก็ล้วนเป็นเหตุของมโนยิทธิ
     
  5. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    คุณคนนี้ เขียนคำว่า มโนยิทธิ ได้ถูกต้องตรงความหมายและหลักไวยากรณ์
    ไม่ใช่คำว่า มโนมยิทธิ ที่ไปเติม มย ศัพท์เข้าไปในภายหลัง
     
  6. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    ตรงกับภาษาไทยหรือภาษาบาลีหรือว่าภาษามคธละ...เบื่อพวกบ้าตัวหนังสือจัง...ละได้ก็ละนะจะได้ไม่ต้องรู้สึกว่าอะไรๆก็ไม่ถูกไปเสียหมด
     
  7. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ตรงกับหลักบาลีไวยากรณ์สิครับ และตรงกับความหมายของคำว่า มโนยิทธิด้วย
    แต่ถ้าใช้คำว่า มโนมยิทธิ ก็ไม่ผิดหลักไวยากรณ์ เพียงแต่ไม่ตรงความหมาย
    ที่ต้องการจะสื่อว่าฤทธิ์ทางใจ

    แล้วจะให้ละอย่างไร ? จะให้เลิกเขียนถูกไปเขียนผิดสะกดผิดอย่างนั้นหรือ ?
    แล้วการบอกว่า เขียนถูกหรือเขียนผิดนี้ เป็นการกระทำที่ถูกหรือผิด ?
    ถ้าเราจะยึดหลัก เขียนยังไงก็ช่าง แล้วจะมีหนังสือพจนานุกรมไปเพื่อ ???
    แล้วการออกมาบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดนี้ มันเป็นการไปขุดคุ้ยกิเลสจนกระทั่ง
    สูญเสียธรรมอย่างนั้นหรือ ??
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2016
  8. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ทุกวันนี้เพราะการไปแก้ไขศัพท์ของเดิมโดยขาดการตรวจสอบให้รอบคอบ
    แล้วก็ใช้กันต่อๆไป จนกระทั่งตำรับตำราเรียนต่างๆก็เปลี่ยนมาใช้เหมือนกันหมดแล้ว
    ถ้าไม่มีคนท้วงติงบ้างเสียเลย ต่อไปก็จะไม่เข้าใจว่าคำไหนผิด คำไหนถูก
     
  9. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +439
    ไม่รู้ ผมเบื่อ

    มโน เป็นคำนาม แปลว่า " ใจ "

    มัย เป็นคำวิเศษ แปลว่า "สำเร็จด้วย"

    มโนมัย เป็นคำวิเศษ แปลว่า "สำเร็จด้วยใจ"

    อิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ อำนาจ อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์

    มโนมัย สมาส กับ อิทธิ

    ได้คำว่า มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ หรือ แปลตรงตัวเลยคือฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ

    ในที่นี้ เจ้าของกระทู้ ขอพูดถึง เรื่องถอดจิตเป็นต้น



    คนเรานี่ก็แปลก มาทะเลาะกันเรื่องภาษา ถึงว่าไม่สำเร็จกันสักที
     
  10. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    ป่าวไม่ทะเลาะนะภาษาก็คือภาษาสิ่งที่จริก็เป็นสิ่งที่จริง วันนี้เขียนอย่สงวันหน้าก็เขียนอย่างแต่ที่แปลกไม่ว่าวันไหนก็ไม่มีทางทำให้เห็นได้โดยไม่พึ่งภาษา น่าสงสารจังเลย
     
  11. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    มโนยิทธิ มาจาก ศัพท์สองศัพท์ นำมาสนธิกัน คือคำว่า มโน กับ อิทธิ กลายเป็นคำว่า มโนอิทธิ ตามหลักสนธิ แล้วหากสระอยู่หลังให้ลงพยัญชนะอาคมได้ ซึ่งพยัญชนะอาคมมี ๘ ตัว คือ ย ว ม ท น ต ร ฬ ในตัวอย่างคำว่า มโนอิทธิ นี้ ลง ย อาคม
    จึงสำเร็จเป็น มโนยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ ทางใจ

    การลงพยัญชนะอาคมนี้พึงดูตัวอย่างศัพท์หนึ่ง เช่นคำว่า ฉ อภิญโญ ลง ฬ อาคม
    สำเร็จรูปเป็น ฉฬภิญโญ(อภิญญา ๖)
    เอตํ อโวจ ลง ท อาคม สำเร็จรูปเป็น เอตทโวจ (ใครที่เคยสวดพระสูตรอยู่บ่อยๆน่าจะคุ้นกับคำๆนี้ดี)

    ทีนี้ คำว่า มโนมยิทธิ ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกมากล่าวว่ามาจากศัพท์ สามศัพท์
    คือ มโน+มย+อิทธิ สำเร็จเป็น มโนมยิทธิ นั้นก็ถูกเหมือนกัน แปลว่า ฤทธิ์อันสำเร็จแล้วด้วยใจ ไม่ได้แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ เหมือนกับคำแรก เหตุเพราะ มี มย ศัพท์เพิ่มเข้ามา

    ทีนี้มาดูความหมายของศัพท์ทั้งสาม
    มโน แปลว่า ใจ
    มย แปลว่า ความสำเร็จ
    อิทธิ ก็แปลว่า ความสำเร็จ (ฤทธิ์ เป็นการแปล ทับศัพท์)

    ทีนี้เราก็รู้ความหมายกันละว่า
    มโนยิทธิ คำนี้แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ
    มโนยิทธิ คำนี้ แปลว่า ฤทธิ์อันสำเร็จแล้วด้วยใจ(สาเหตุเพราะมีารไปเพิ่ม มย ศัพท์เข้ามา)

    เหตุใดจึงมีการเพิ่ม มย ศัพท์เข้ามา ?
    เข้าใจว่าน่าจะเกิดจาก ผู้เพิ่ม ไปเห็นศัพท์ มโนยิทธิ เแล้ว เกิดความเข้าใจผิดว่า มโนยิทธิ เกิดจาก
    การรวมศัพท์สามศัพท์ คือ มโน+มย+อิทธิ=มโนมยิทธิ แต่คนโบราณคงจะเขียนตกไปหนึ่งตัว ก็เลยเกิดความปรารถนาดีอยากจะแก้ให้ถูก
    จึงได้ไปเติมตัว ม เข้าไปอีกหนึ่งตัว เพื่อให้กลายเป็น มโนมยิทธิ ตามความเข้าใจ
    (โดย ลืมเฉลียวใจว่า มโนยิทธิ นั้นเป็นคำที่เขียนถูกต้องอยู่แล้ว คือมาจากสองคำว่า
    มโน+อิทธิ แต่ลงพยัญชนะอาคม คือ ย เข้าไป จึงกลายเป็น มโนยิทธิ นั่นเอง)

    ความจริงเมื่อสักปีสองปีก่อน ผมเคยเข้าไปที่Facebookเพจหนึ่ง น่าจะเป็นของลูกศิษย์
    ลป.หงส์ เห็นเขียนโดยใช้คำว่า มโนยิทธิ ผมรู้สึกดีใจที่ยังมีคนที่เขียนตามศัพท์เดิมอยู่
    พอมาเห็นคุณ kenny2 ก็ยังใช้ มโนยิทธิ เหมือนกัน ก็เลยรู้สึกดีใจที่ยังมีคนรู้จักและยังใช้ศัพท์เดิม และผมเองก็อยากให้หลายๆคนได้รู้
    และหันมาเขียนตามศัพท์เดิม ถึงแม้คำว่า มโนมยิทธิ จะไม่ผิดหลักไวยากรณ์
    แต่มันไม่ใช่ศัพท์เดิม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2016
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธเจ้า สอนพระจูฬปันถกเถระ ภาวนา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ​



    พระจูฬปันถกเถระ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    <table class="toccolours" id="WSerie_Buddhism" style="float: right; margin: 0 0 1em 1em; text-align:center; border: 1px solid #060;" cellpadding="1" cellspacing="0" width="170px"> <tbody><tr> <td colspan="2" style="font-size: 100%"> <small>ส่วนหนึ่งของ</small>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <hr> [​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">ศาสดา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;"> พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">จุดมุ่งหมาย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">นิพพาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">พระรัตนตรัย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;"> พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">ความเชื่อและการปฏิบัติ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">คัมภีร์และหนังสือ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">หลักธรรม</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">นิกาย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">สังคมศาสนาพุทธ</td> </tr> <tr> <td style="font-size: 90%;">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">การจาริกแสวงบุญ</td> </tr> <tr> <td style="font-size: 90%;">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">ดูเพิ่มเติม</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</td> </tr> </tbody></table> พระจูฬปันถก หรือ พระจูฬปันถกเถระ, พระจุลลปันถกะ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็น 1 ในพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้า
    พระจูฬปันถก เป็นน้องชายของพระมหาปันถก ท่านบวชตามการสนับสนุนของพี่ชาย เมื่อแรกบวชท่านเป็นคนมีปัญญาทึบมาก ไม่สามารถท่องมนต์หรือเข้าใจอะไรได้เลย จึงทำให้ท่านถูกพระพี่ชายของท่านขับไล่ออกจากสำนัก เมื่อพระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง จึงนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราที่ไม่มีความยั่งยืน ท่านจึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้า ขาวนั่นเอง
    เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ<sup id="cite_ref-1" class="reference">[1]</sup>
    พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คือจินตมยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณาให้ เห็นความจริงของโลกได้ด้วยตนเองได้หรือไม่ การท่องจำหรือเรียนเก่งไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม
    เนื้อหา






    ประวัติ

    ออกบวชเพราะพี่ชาย

    พระจูฬปันถกะ เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับพระมหาปันถกเถระผู้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปก่อนหน้า พระจูฬปันถกได้เห็นพี่ชายมีแต่ผู้คนเคารพกราบไหว้ ดูแล้วอยากเป็นบ้าง จึงถามพี่ชายทำอย่างไรถึงมีผู้คนเคารพกราบไหว้ แล้วน้องจะเป็นได้ไหม พี่ชายจึงให้ออกบวช จากนั้นพี่ชายก็ขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาตด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากอยู่แล้ว
    ถูกไล่สึกโดยพี่ชาย

    เมื่อท่านออกบวชพระพี่ชายของท่านได้สอนให้ท่องคาถาบทหนึ่งคือ
    <table style="border-collapse: collapse; margin: default 10px auto 10px auto; width: auto;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ
    คำแปล: ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปรากฏว่าเวลาผ่านไปถึง 4 เดือน ท่านก็ไม่สามารถท่องคาถาดังกล่าวที่มีเพียง 4 บรรทัดได้ <sup id="cite_ref-2" class="reference">[2]</sup> เพราะท่านเป็นคนปัญญาทึบมาก (ท่านกล่าวถึงตนเองเมื่อภายหลังว่า "เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า") จากการผลของกรรมที่ท่านทำไว้ในอดีต ท่านจึงถูกพระพี่ชายของท่านไล่ออกจากสำนัก
    พระพุทธเจ้าโปรดพระจูฬปันถก-บรรลุอรหันต์

    หลังจากท่านถูกพี่ชายไล่สึก ท่านมีความน้อยเนื้อต่ำใจมาก เพราะยังมีความอาลัยในผ้าเหลือง จึงไม่ยอมรับแม้กิจนิมนต์ที่หมอชีวกโกมารภัจจ์นิมนต์พระ 500 เพื่อรับฉันภัตตกิจในวันรุ่งขึ้น ท่านได้ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูวัดชีวกัมพวัน พอดีกับพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาเห็น จึงทรงเขาไปถาม เมื่อทรางทราบความจึงได้ตรัสว่า "ท่านไม่บวชพระเพื่อุทิศพระพี่ชายที่ไหน ท่านบวชเพื่ออุทิศให้เราต่างหาก ท่านมาอยู่กับเราดีกว่า" จากนั้นทรงลูบศีรษะและจับแขนพากลับเข้าวัดไปที่หน้าพระคันธกุฏี จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านพร้อมกับ สั่งให้ท่านลูบผ้านั้นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับภาวนาว่า รโชหรณํ ๆ (แปลว่า เศร้าหมอง) ท่านลูบผ้าได้ไม่นานผ้าขาวนั้นก็หมองคล้ำลง ท่านจึงสติคิดได้ว่า "ผ้านี้แต่ก่อนก็ขาวบริสุทธิ์ แต่พอถูกลูบบ่อย ๆ ก็กลับดำ สรรพสิ่งมันช่างไม่ยั่งยืน" แล้วท่านจึงได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัต ตภาพร่างกายเป็นอารมณ์จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาในวันนั้นเอง แต่บางตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเล่าเรื่อง จูฬเศรษฐิชาดกให้พระจูฬปันถกเถระฟัง
    แสดงฤทธิ์-ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ

    เช้าวันต่อมาพระสงฆ์ 599 องค์ พร้อมทั้งพระพุทธองค์เสด็จไปรับภัตตกิจที่บ้านหมอชีวกโกมารภัจจ์ พอหมอชีวกนำภัตเข้ามาถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงปิดบาตรและตรัสว่า "ยังเหลืออีกรูปหนึ่งในวัด" หมอชีวกจึงใช้ให้คนไปนิมนต์ ปรากฏว่าคนนิมนต์เข้าไปวัดเห็นแต่พระสงฆ์นับพันที่พระจูฬปันถกเนรมิตด้วย ฤทธิ์มโนมยิทธิขึ้นมา จึงกลับมา พระพุทธองค์จึงให้คนนิมนต์กลับไปบอกพระเหล่านั้นอีกว่า พระพุทธองค์เรียกพระจูฬปันถก เมื่อคนนิมนต์ไปที่วัดและเรียกเช่นนั้น ปรากฏว่าพระทุกรูปตอบว่าตนคือจูฬปันถกหมด คนนิมนต์จึงกลับมาอีก คราวนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้คอยส่งเกตว่าองค์ไหนพูดก่อน ให้คว้ามือองค์นั้นไว้ ปรากฏว่าคนนิมนต์กลับไปทำเช่นนั้น พอจับมือพระจูฬปันถกตัวจริง พระที่ถูกเนรมิตรก็หายไปหมด จึงเป็นที่รู้กันว่าพระจูฬปันถกได้กลายเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาในครั้ง นั้นเอง
    ในวันนั้น พระพุทธองค์จึงทรงให้พระจูฬปันถกทำอนุโมทนาแก่หมอชีวก และด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงยกย่องให้พระจูฬปันถกเป็นเอตทัคคะในด้าน ผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ <sup id="cite_ref-3" class="reference">[3]</sup>
    ท่านดำรงสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลก็ได้ดับขันธปรินิพพาน


    https://th.wikipedia.org/wiki/พระจูฬปันถกเถระ
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระมหาปันถกมหาเถระเจ้า พระเอตทัคคะด้านฉลาดในปัญญาวิมุติ และพระจูฬปันถกมหาเถระเจ้า พระเอตทัคคะด้านฉลาดในเจโตวิมุติ และชำนาญในมโนมยิทธิ ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องกัน พระมหาปันถกเป็นพี่ ส่วนพระจูฬปันถกเป็นน้อง เกิดในวรรณะจัณฑาล เนื่องจากบิดากับมารดาเป็นคนต่างวรรณะกัน บิดาเป็นคนวรรณะศูทร ส่วนมารดาเป็นคนวรรณะไวศยะ ซึ่งเป็นธิดาของเศรษฐีราชคหะ ในเมืองราชคฤห์

    พระมหาปันถก และพระจูฬปันถก แม้ตอนแรกจะลำบากเนื่องจากบิดามารดามีฐานะยากจน แต่ต่อมาได้ถูกส่งมาอยู่กับเศรษฐีราชคหะผู้เป็นตา จึงสุขสบายขึ้น เศรษฐีแม้จะรังเกียจมารดาของท่านที่ได้คนวรรณะศูทรเป็นสามี แต่ก็รักหลานทั้ง ๒ มาก เกือบทุกครั้งที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันก็มักจะพาหลานไปด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามเมื่อเจริญวัยขึ้นสองพี่น้องโดยเฉพาะมหาปันถกรู้สึกไม่สบายใจที่ได้ยินใครต่อใครเรียกว่า ‘ลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่’

    พระมหาปันถกและพระจูฬปันถก ออกบวชต่างวาระเช่นเดียวกัน พระมหาปันถกออกบวชก่อน พระจูฬปันถกออกบวชทีหลัง สำหรับพระมหาปันถกนั้น พระพุทธเจ้าตรัสขอท่านจากเศรษฐีราชคหะ ซึ่งเศรษฐีก็ยินดีอนุญาตให้บวชได้ การที่เศรษฐีราชคหะอนุญาตให้พระมหาปันถกออกบวชอย่างง่ายดายโดยไม่คัดค้านนั้น ก็เพราะเห็นว่าการบวชจะเป็นทางช่วยลบปมด้อยของหลานชายที่มักถูกเรียกว่า ‘ลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่’ ลงได้

    พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ท่านเป็นสามเณรก่อน เพราะอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีแล้วจึงทรงบวชเป็นพระให้ ส่วนพระจูฬปันถกออกบวชเพราะความอนุเคราะห์ของพระมหาปันถกผู้พี่ชาย ที่พิจารณาเห็นว่าความสุขที่เกิดจากการได้บรรลุมรรคผลเป็นความสุขชั้นยอด ซึ่งจูฬปันถกน่าจะได้รับบ้าง ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้ พระมหาปันถกจึงไปขออนุญาตเศรษฐีราชคหะ พาจูฬปันถกออกบวช ซึ่งเศรษฐีก็ยินดีอนุญาตให้เหมือนเช่นครั้งที่อนุญาตให้ท่านเองออกบวช

    พระมหาปันถก หลังจากบวชพระแล้ว ท่านเจริญโยนิโสมนสิการ คือกำหนดนามรูปเป็นอารมณ์อย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งได้บรรลุอรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน นั้นแล้วก็เจริญวิปัสสนา ต่อด้วยการพิจารณาองค์ฌานจนเกิดความรู้แจ้งได้บรรลุอรหัตผล พระไตรปิฎกเล่าว่า ท่านตั้งปณิธานไว้ว่าตราบใดยังถอนลูกศรคือตัณหาออกไม่ได้ จะไม่ยอมนั่งแม้แต่ครู่เดียว ปรมัตถทีปนีกล่าวเพิ่มเติมว่า ครั้นตั้งปณิธานอย่างนั้นแล้วท่านก็เจริญวิปัสสนาอยู่ทั้งคืน ด้วยการยืนกับการเดินจงกรม เท่านั้น เมื่อออกจากอรูปฌานก็เจริญวิปัสสนา โดยพิจารณาองค์ฌานเป็นหลัก จนทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

    พระมหาปันถก หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วได้กล่าวแสดงความรู้สึกของท่านว่า...
    "...ครั้งแรกที่ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคน
    เราก็เกิดความสลดใจ (ว่าทำไมจึงไม่มาเฝ้าพระองค์เสียตั้งนาน)
    ต่อมาเราสละสิ่งทั้งปวง ปลงผมและหนวดออกบวช
    เรารักษาศีลได้ดีเยี่ยม
    ศึกษาสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างถ่องแท้
    สำรวมดีแล้วในในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่พ่ายแพ้แก่มาร
    ครั้งนั้นเราตั้งจิตปรารถนาไว้ว่า
    ถ้ายังถอนลูกศรคือตัณหาออกไม่ได้
    เราจะไม่ยอมนั่งแม้เพียงครู่เดียว
    แล้วสิ้นราตรีนั้นเอง พอพระอาทิตย์อุทัย
    เราก็ถอนลูกศร คือตัณหาได้หมดสิ้น
    จากนั้นจึงเข้าไปนั่งขัดสมาธิภายในกุฏิ..."

    พระจูฬปันถก หลังจากบวชแล้วได้ ๔ เดือน ท่านถูกพระมหาปันถกผู้พี่ชายขับไล่ให้สึก เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นท่านท่องจำคาถา (คำร้อยกรอง) ไม่ได้เลยแม้แต่บทเดียว ท่านเสียใจมากจึงจะไปสึก เช้าวันนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาปลอบและพาท่านไปนั่งอยู่หน้าพระคันธกุฎี แล้วทรงประทานผ้าขาวให้ผืนหนึ่ง ทรงสอนให้ ท่านนั่งดูดวงอาทิตย์พลางลูบผ้าขาวพลาง พร้อมทั้งนึกบริกรรมว่า ‘ผ้าเช็ดฝุ่น ผ้าเช็ดฝุ่น’ (รโชหรณํ รโชหรณํ) วิธีปฏิบัติดังกล่าวถูกกับอุปนิสัยท่าน เพราะเมื่อลูบไป ๆ ผ้าก็เริ่มสกปรกทีละน้อยๆ จนมีสภาพเหมือนผ้าเช็ดหม้อข้าว

    ในขณะเดียวกันความรู้ของท่านก็แก่กล้าขึ้นตามลำดับ จนทำให้ท่านมองเห็นความสิ้นความเสื่อมของสังขารได้ชัดเจน ท่านพิจารณาเปรียบเทียบจิตเหมือนผ้าขาว ซึ่งเดิมทีสะอาดแต่มาสกปรกไปเพราะอาศัยร่างกายนี้เอง จึงแสดงให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ท่านพิจารณาอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งจิตสงบบรรลุฌาน ออกจากฌานแล้วก็อาศัยฌานนั้นเองเป็นพื้นฐานเจริญวิปัสสนาต่อไป ท่านเจริญสมถะสลับกับวิปัสสนาอยู่อย่างนี้จนเกิดความรู้แจ้ง ได้บรรลุอรหัตผลหน้าพระคันธกุฎีนั้นเอง

    พระจูฬปันถก หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว พระทั้งหลายถามท่านว่า สามารถบรรลุอรหัตผลได้อย่างไร ในเมื่อท่านเป็นคนปัญญาทึบ ท่านเล่าให้ฟังว่า...
    "..เมื่อก่อนผมเข้าใจได้ช้าจึงถูกตำหนิ
    หลวงพี่ได้ขับไล่ผมให้สึกเสีย
    ผมเสียใจมากเพราะยังอาลัยรักพระศาสนาอยู่
    จึงไปยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวัดชีวกัมพวัน
    ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาหาผม
    ทรงลูบศีรษะแล้วจับแขนพาผมเข้าไปในวัด
    พระศาสดาทรงประทานผ้าแก่ผม
    แล้วทรงพระกรุณาตรัสบอกให้ผมไปนั่งบริกรรมจนขึ้นใจ
    พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทำให้ผมยินดีอยู่ในศาสนา
    บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด
    แล้วผมก็ได้บรรลุวิชชา ๓ ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้หมดสิ้น
    ผมเนรมิตตนได้ ๑,๐๐๐ ร่าง จนถึงเวลาเขานิมนต์
    ผมได้เหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท
    ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองผม..."

    พระมหาปันถก พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะด้านฉลาดในปัญญาวิมุติ (วิปัสสนา) พระมหาปันถก ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกฎุมพี ชาวเมือง หงสวดี มีน้องชายอยู่ ๑ คน (คือพระจูฬปันถกในชาติปัจจุบัน) วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในปัญญาวิมุติ แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทาน แด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุด ท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างที่พระมหากัสสปะ พระราธะ พระอุปเสนะ และพระขทิรวนยเรวตะได้รับมาแล้ว คือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในปัญญาวิมุติ

    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อ เนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตาย เกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นคนวรรณะจัณฑาล หลานของเศรษฐีราชคหะ ครั้นออกบวชก็ได้ บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อออกบวชแล้วมีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในปัญญาวิมุติ

    พระจูฬปันถก พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านฉลาดในเจโตวิมุติ (สมถะ) และชำนาญในมโนมยิทธิ พระจูฬปันถก ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นน้องชายของกฎุมพี ชาวเมืองหงสวดี (คือพระมหาปันถกในชาติปัจจุบัน) วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพี่ชายและพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และด้านชำนาญในมโนมยิทธิ (การใช้ฤทธิ์ทางใจ) แล้วปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏ ด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างที่พระมหาปันถกผู้เป็นพี่ชายได้รับแล้ว คือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และชำนาญในมโนมยิทธิ

    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้น ท่านออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ มีสติปัญญาดีมาก ทรงจำพระพุทธพจน์ไว้ได้มากและแม่นยำ คราวหนึ่งได้ฟังพระปัญญาทึบรูปหนึ่งสาธยายพระพุทธพจน์ผิดๆ ถูกๆ แล้วหัวเราะเยาะ จนพระรูปนั้นอายเลิกท่องจำพระพุทธพจน์อีกต่อไป จากชาตินั้นท่านเวียน ว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านเกิดมาเป็นน้องชายของพระมหาปันถก ตอนบวชใหม่ๆ บาป กรรมที่เคยหัวเราะเยาะพระปัญญาทึบตามมาให้ผล โดยทำให้ท่านไม่ได้กัลยาณมิตรแนะนำการปฏิบัติธรรม จึงไม่สามารถท่องจำคาถาแม้เพียงบทเดียวได้ จนถูกพระมหาปันถกขับไล่ให้สึก

    แต่ต่อมาได้พระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตรทรงแนะนำให้เจริญกรรมฐาน จึงได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนา มาแต่อดีตชาติ ประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วมีความชำนาญในการเข้าสมาธิ และชำนาญในการใช้ฤทธิ์ทางใจเนรมิตร่างกายท่านได้ตั้ง ๑,๐๐๐ ร่างในขณะจิตเดียว พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในการเข้าสมาธิ (เจโตวิมุติ) และชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ

    https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=697136107003600&id=238296179593402
     
  14. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ตามนั้นแหละครับ อยู่ที่คนพิมพ์ ไม่ว่าในเว็บไหนหรือในหนังสือไหน(ที่พิมพ์ขึ้นใหม่)ก็หันมาใช้เหมือนๆกันหมด
    ดังนั้นผมจึงรู้สึกดีใจไง เมื่อเห็นยังมีคนใช้ คำว่า มโนยิทธิ ได้ถูกต้องตามเดิม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2016
  15. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    เอาแบบง่ายๆเลยก็คือ คำที่แปลว่า ฤทธิ์ทางใจนั้นคือ คำว่า มโนยิทธิ จึงจะแปลว่าฤทธิ์ทางใจ

    ส่วนคำว่า มโนมยิทธิ นั้น ไม่ได้แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ แต่แปลว่า ฤทธิ์อันสำเร็จแล้วด้วยใจ
    มันคนละอย่างกัน
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ใช่สิ ภาวนา " นะ มะ พะ ธะ " ก่อนนอนวันละ 15-30 นาทีติดต่อกันสัก 1 สัปดาห์ ของหลวงพ่อฤาษีฯนะ
     
  18. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    น่าสนใจคับ จิตรับรู้อะไรได้ก็จะะยึดและยอมรับว่ามันเป็นไปอย่างนั้นถ้าย้อนทวนก็จะเกิดอะไรบางอย่างที่ ทำไมจึงยอมรับ เพราะมันเป็นของมันแบบนั้นหรือเพราะเราทำให้มันเป็น หลวงปู่คงสอนแต่คนเรามองในสิ่งที่หลวงปู่ไม่ได้เน้นมันจึงดูเหมือนหลวงปู่เน้น...เสียดายหลวงปู่มาสอนอีกก็ไม่ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...