อภินิหารตะกรุดยันต์ของท่านพระอาจารย์มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 9 มกราคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]


    ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นปีที่คณะเสรีไทยกำลังโด่งดังมาก บ้านหนองผือก็เป็นอีกแห่งที่ คณะเสรีย์ไทยได้เข้าไปตั้งค่าย เพื่อฝึกอบรมคณะครูและประชาชนชายหนุ่มให้ไปเป็นกองกำลังทหาร ต่อสู้ ขับไล่ทหารญี่ปุ่นในสมัยนั้น คุณครูหนูไทย สุพลวานิช ( ชาวบ้านหนองผือ ผู้อยู่ในเหตการณ์และเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว ปัจจุบัน ( พ.ศ. ๒๕๔๔ ) ใช้ชีวิตอยู่ในอำเถอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ) เป็นผู้หนึ่งที่ถูกเกณฑ์ให้ไปฝึกอบรมในค่ายนี้ ท่าน เกิดที่บ้านหนองผือนี่เอง เป็นธรรมดาสัญชาตญาณของคนเรา เมื่อตกอยู่ในภาวะเหตุการณ์เช่นนี้ จึงทำให้ แสวงหาสิ่งพึ่งพิงทางใจในยามคับขัน ช่วงเวลาว่างในการฝึกก็นั่งพักผ่อนตามอัธยาศัย พูดคุยสรวลเสเฮฮา กับหมู่เพื่อนร่วมค่ายหลายเรื่องหลายราว จนกระทั่งมาถึงเรื่องของดีของขลังของศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อป้องกัน อันตรายที่จะมาถึงตัว มีเพื่อนคนหนึ่งในจำนวนนั้นได้พูดขึ้นว่า " ท่านพระอาจารย์ใหญ่ในวัดป่าบ้านหนองผือ ทราบข่าวว่าท่านเป็นพระดีองค์หนึ่ง พวกเราจะไม่ลองไปขอของดีกับท่านดูบ้างหรือ ท่านคงจะให้พวกเรา "


    ด้วยคำพูดของเพื่อนจึงทำให้คุณครูหนูไทยนำไปคิดเป็นการบ้าน วันต่อมาคุณครูหนูไทยหาแผ่นทอง มาได้แผ่นหนึ่ง มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ วางใส่จานขันธ์ห้า แล้วให้โยมผู้เฒ่าทายกวัดที่เป็นญาติซึ่งไปจังหัน ที่วัดในตอนเช้านำแผ่นทองถวายท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อให้ท่านทำหลอดยันต์ให้แต่โยมผู้ที่นำแผ่นทองไปนั้น ไม่กล้าเข้าไปหาท่านพระอาจารย์มั่นโดยตรง จึงให้พระอุปัฏฐากเข้าไปลองถามท่านดูก่อน ท่านพระอาจารย์มั่น ได้พูดตอบพระอุปัฏฐากว่า " เขาอยากได้ กะเฮ็ดให้เขาสั้นตั๊ว " ( หมายความว่า เขาต้องการก็ทำให้เขาได้จะเป็น อะไร ) เมื่อพระอุปัฏฐากเข้าใจแล้วจึงบอกให้โยมเอาแผ่นทองมาให้ท่าน รออยู่ประมาณสามวันพระอุปัฏฐาก ท่านก็นำหลอดยันต์นั้นมาให้โยมแล้วโยมผู้เฒ่าคนนั้นจึงนำมาให้คุณครูหนูไทยอีกทีหนึ่ง คุณครูหนูไทยเมื่อได้ ของดีแล้วก็มีความดีอกดีใจเป็นอันมาก ทะนุถนอมเก็บรักษาไว้ในที่มิดชิด และนำติดตัวไปในทุกสถานที่เลย ทีเดียว

    วันหนึ่งว่างจากการฝึกอบรมจึงเดินเที่ยวเล่นไปทางด้านหลังสนาม เผอิญเหลือบไปเห็นพวกเพื่อน สามสี่คนกำลังทำอะไรกันอยู่ข้างมุมสนาม คุณครูหนูไทยจึงเดินไปดูก็เห็นพวกเขากำลังทดลองจะยิง " เขี้ยวหมูตัน " ด้วยอาวุธปืนคาร์ไบน์ ( ชื่อเรียกในสมัยนั้น ) เมื่อเขาทดลองยิงแล้วปรากฎว่า " เขี้ยวหมูตัน " ที่ถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์นั้น แตกกระจายไปคนละทิศละทาง เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของเขี้ยวหมูตันหน้าถอดสี ไปหมด ส่วนเพื่อนคนที่เป็นคนยิงคงจะย่ามใจ หันหน้ามาถามคุณครูหนูไทยที่เดินเข้าไปสมทบทีหลังว่า " มีของดีอะไรมาลองบ้างเพื่อน " ด้วยความซื่อและความเป็นเพื่อน คุณครูหนูไทยจึงตอบเขาไปว่า " มีอยู่ " แค่นั้นแหละเพื่อนคนนั้นก็ก้าวเท้าเข้ามาเอามือล้วงปั๊บไปทีกระเป๋าเสื้อของคุณครูหนูไทยพร้อมกับพูดขึ้นว่า " ไหนเอาของดีมาลองดูหน่อยซิ " โดยคุณครูหนูไทยคิดไม่ถึงว่าเพื่อนจะกล้าทำได้เช่นนั้น แต่ก็ช้าไปเสียแล้ว วัตถุสิ่งนั้นจึงติดมือเพื่อนคนนั้นไป คุณครูหนูไทยวอนขอเขาอย่างไร เขาก็ไม่ยอมคืนให้ท่าเดียว

    ในที่สุดเขาก็นำตะกรุดยันต์นั้นไปวางที่ระยะห่างประมาณสัก ๓ - ๔ วา แล้วเขาก็ถอยกลับมายกปืน ขึ้นเล็งไปที่ตะกรุดยันต์นั้น เพื่อนทุกคนที่อยู่ที่นั่นเงียบกริบ ต่างคนก็ต่างเอาใจไปจดจ่อที่จุดเดียวกัน สักครู่คนยิงจึงกดไกปืนเสียงดัง " แชะ แชะ " แต่ไม่ระเบิด ทั้งหมดที่อยู่ที่นั่นต่างตกตะลึง ครั้งที่สามเขา ลองหันปลายกระบอกปืนนั้นขึ้นบนฟ้าแล้วกดไกอีกครั้ง ปรากฎว่าเสียงปืนกระบอกนั้นดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว บริเวณ ส่วนคุณครูหนูไทยนึกขึ้นได้จึงใช้จังหวะนั้นกระโดดวิ่งเข้าไปหยิบตะกรุดยันต์นั้นอย่างรวดเร็ว แล้ว กำไว้ในมืออย่างหวงแหนที่สุด ถึงแม้พวกเพื่อน ๆ จะขอดูขอชม ก็ไม่อยากให้เขาดูเขาชม เดินบ่ายเบี่ยง ไปทางอื่น แต่พวกเพื่อนก็ขอดูขอชมจนได้ เสร็จแล้วทุกคนจึงพากันเลิกลา กลับไปที่พักของตนด้วยความ ฉงนสนเท่ห์และตื่นเต้นในอภินิหารตะกรุดยันต์ของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก อันนี้คุณครูหนูไทยเล่าให้ ฟังอย่างนั้น

    ภายหลังต่อมาบางคนทราบข่าวจึงพากันไปขอจากท่านพระอาจารย์มั่นที่วัด ส่วนมากจะได้เป็น แผ่นผ้าลงอักขระคาถาด้วยยันต์ สำหรับตะกรุดแผ่นทองนั้นไม่ค่อยมี เพราะแผ่นทองสมัยนั้นหายากมาก ต่อมาไม่นานท่านพระอาจารย์มั่นคงเห็นว่ามากไปจนเกินเลย จึงบอกให้เลิก ท่านบอกว่าสงครามเขาจะสงบแล้ว ไม่ต้องเอาก็ได้ พวกตะกรุดยันต์ ผ้ายันต์ เหล่านั้น นั่นมันเป็นของภายนอก สู้เอาคาถาบทนี้ไปบริกรรมแนบ กับใจไม่ได้ ให้บริกรรม ทุกเช้าค่ำจนขึ้นใจ แล้วจะปลอดภัยอันตรายต่างๆ จะไม่มากล้ำกรายตัวเราได้เลย คาถาบทนั้นว่าดังนี้

    "นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" ฯลฯ
    ( เป็นบทสวด ส่วนหนึ่งของบทสวด โมระปะริตตัง ( คาถายูงทอง ) )


    ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านหนองผือเลยไม่กล้าขอท่านอีก และเป็นความจริงตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นพูด ยังไม่ถึง ๗ วันก็ได้ทราบข่าวว่า เครื่องบินทหารอเมริกันบินไปทิ้งระเบิดปรมาณูใส่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นย่อยยับ จนในที่สุดประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และสงครามในครั้งนั้นก็สงบจบสิ้นลง ดังที่พวกเราท่านทั้งหลายได้รู้จักกันแล้วในหน้าประวัติศาสตร์นั้นแล


    โมระปะริตตัง (คาถายูงทอง)

    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
    นะมัตถุ พุทธานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    นะมัตถุ โพธิยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระโพธิญาณ
    นะโม วิมุตตานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
    นะโม วิมุตติยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่วิมุตติธรรม



    ที่มาhttp://www.luangpumun.org
     

แชร์หน้านี้

Loading...