อนุปุพพิกถา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 11 มิถุนายน 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    "การบวช" คืออะไร.?


    ในอรรถกถา ท่านใช้คำว่า "บวช" หรือ "เนกขัมมะ"


    ในภาษาบาลี ท่านหมายถึง "การเว้นทั่ว"

    เว้นอะไร....?

    เว้นจากอกุศลธรรม หรือ เว้นจากบาปธรรม
    ...
    นี่คือ "การบวช"



    "การบวชด้วยเพศ" คือ พระโพธิสัตว์ , ฤาษี , บรรพชิต ๑

    และ "การบวชด้วยข้อปฏิบัติ" หรือ "เนกขัมมะ" ๑.



    ก่อนอื่น
    ...ควรเข้าใจความหมายของคำว่า "เนกขัมมะ"



    "เนกขัมมะ" หมายถึง "การออกจากกาม"

    หรือ การเว้นจากบาปธรรม-อกุศลธรรม ด้วยข้อปฏิบัติ.


    "ข้อปฏิบัติ" หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา

    ได้แก่ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา

    เป็นการอบรมเจริญปัญญา
    ...เพื่อการออกจากกาม (เนกขัมมะ)


    เพราะฉะนั้น

    เมื่อกล่าวถึง "การบวช" หรือ "การออกจากกาม"

    ก็ต้องหมายถึงสองอย่าง คือ โดยเพศ และ โดยข้อประพฤติปฏิบัติ.



    "การบวช"

    ไม่ได้หมายถึง การบวชเป็น "บรรพชิต" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น.


    กล่าวได้ว่า
    "การบวช" มีสองอย่าง คือ การบวชกาย และ การบวชใจ

    หมายถึง การบวชด้วยเพศ และ การบวชด้วยข้อประพฤติปฏิบัติ.



    และควรเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า "การประพฤติ-ปฏิบัติธรรม" คืออะไร.!

    คำว่าพระอริยสงฆ์กับพระอริยบุคคลมีความหมายเหมือนกัน คือ

    หมายถึง พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    ส่วนพระอรหันต์ เป็นพระอริยที่ดับกิเลสทั้งหมดแล้ว ไม่เกิดอีกต่อไป

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

    ๕. กิมัตถิยสูตร
    [๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถาม

    พวกเธออย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อ

    กำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวก

    อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หนทางมีอยู่

    ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.

    [๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนด

    รู้ทุกข์เป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

    สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็นปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูก่อนภิกษุ

    ทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์-

    ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

    จบกิมัตถิยสูตรที่ ๕
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>

    รู้ทุกข์ หรือ เห็นทุกข์ โดยความหมายของพระอริยะ หมายถึง การรู้ตามความเป็นจริง

    เช่น รู้อัสสาทะ (ความน่าพอใจ) รู้อาทีนวะ (โทษ) รู้นิสสรณะ (การสลัดออก)

    รู้ปฏิปทาเพื่อการสลัดออก(หนทางที่เป็นข้อปฏิบัติ) ทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ ๕ หรือ ตา หู

    จมูก ลิ้น กาย ใจ บางนัยหมายถึงรู้ทุกข์คือขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม กำหนดรู้หรือรอบรู้ด้วยปริญญา ๓
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

    ๗. ติตถิยสูตร ว่าด้วยทุกข์

    [ ๒๓๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์

    พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

    ในสำนักพระสมณโคดมเพื่อประสงค์อะไร. พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้

    พึงพยากรณ์แก่พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก

    พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ก็ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า อาวุโส

    ทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณ-

    โคดมเพื่อรู้นั้น เป็นไฉน พวกเธอพึงพยากรณ์แก่พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเรา

    อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

    คือจักษุ ทุกข์คือรูป ทุกข์คือจักษุวิญญาณ ทุกข์คือจักษุสัมผัส

    ทุกข์คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะ

    จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระ-

    ผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์คือใจ ทุกข์คือธรรมารมณ์ ทุกข์

    คือมโนวิญญาณ ทุกข์คือมโนสัมผัส ทุกข์คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

    อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ดูก่อนอาวุโส

    ทั้งหลาย พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่พวกปริพาชกอัญญ-

    เดียรถีย์เหล่านั้น อย่างนี้แล.

    จบ ติตถิยสูตรที่ ๗


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

    ๑๕. นิฆสูตร ว่าด้วยทุกข์ ๓ อย่าง

    [๓๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓

    อย่างเป็นไฉน ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๒ ดูก่อนภิกษุ

    ทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.

    [๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

    ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ ๓ อย่างนี้

    แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

    จบนิฆสูตรที่ ๑๕


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
    อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทางและผู้ไปทำบุญที่วัด กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
    ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
    ศึกษาการรักษาโรค
    ฟังธรรมศึกษาธรรม
    วันนี้ได้ไปบริจาคเลือดครั้งที่ 16

    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


    ขอเชิญท่านสาธุชนร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์พระรัตนตรัยบูชา

    โทร 0844118852

     

แชร์หน้านี้

Loading...