อนาลโยคุโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 13 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]
    อนาลโยคุโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    เจ้าประคุณ ท่านพระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ขาว อนาลโย</st1:personName> หรือที่เป็นที่เคารพสักการเลื่อมใสกันในนามสั่นๆ ว่า " หลวงปู่ขาว " แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี เป็นพระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญญวาสี สายท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ">มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ</st1:personName> ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเช่นเดียวกับอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ของท่าน เกิดวันอาทิตย์ที่">ของท่าน เกิดวันอาทิตย์ที่</st1:personName> 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 อุปสมบทแล้วตั้งใจปฏิบัติฝ่ายสมถวิปัสสนาอย่างเดียว จนถึงเวลามรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริชนย์มายุ 96 พรรษา


    ชีวะประวัติของท่านระหว่างดำรงชนมายุ ถ้าใช้สำนวนของนักเขียนก็ต้องกล่าวว่า เป็นประวัติที่โลดโผน " มีรส " ที่สุดประวัติหนึ่ง ในทางโลก...ช่วงจังหวะที่ทำให้ชีวิตของท่านหักเหออกจากเพศฆราวาสออกบวชก็เป็นชีวิตที่ " มีรส " ส่วนในทางธรรม เมื่อท่านออกบวชแล้ว การปฏิบัติธรรมของท่านก็ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว พอใจออกท่องเที่ยวธุดงค์เพลิดเพลินอยู่แต่ในป่าลึก พักปฏิบัติบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์เฉพาะตามถ้ำตามเงื้อมหิน บนเขาสูงอันสงัดเงียบอยู่ตลอดเวลา เหมือนพญาช้างสารที่พอใจละโขลงบริวาร ออกท่องเที่ยวไปอย่างเดียวดายในไพรพฤกษ์ ทำให้ท่านได้เห็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งประสบพบเห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชีวะประวัติของท่าน เป็นชีวิตที่โลดโผน " มีรส " เหลือจะพรรณนา ชวนให้เคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็น " เนติ " แบบอย่าง ให้บรรดาศิษย์ปรารถนาจะเจริญรอยตามท่านเป็นอย่างดี

    ท่านผู้สนใจใคร่จะศึกษา อาจจะหาอ่านได้โดยละเอียดจากจากประวัติของท่าน ที่มีท่านผู้รู้ได้เขียนเอาไว้หลายสำนวน โดยเฉพาะที่ " เจ้าพระคุณ ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="มหาบัว ญาณสัมปันโน">มหาบัว ญาณสัมปันโน</st1:personName> " เป็นผู้เขียน ทั้งในหนังสือ " ประวัติอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ " ของท่าน และในหนังสือ " ปฏิปทาของพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น " หรืออีกสำนวนหนึ่งของ นายแพทย์<st1:personName w:st="on" ProductID="อวย เกตุสิงห์">อวย เกตุสิงห์</st1:personName> ในหนังสือ " อนาลโยวาท "


    ข้อเขียน " อนาลโยคุโณ " ชิ้นนี้ ไม่ใช่ประวัติของท่าน เป็นเพียงบันทึกของผู้ที่เป็นประหนึ่งผงธุลีชิ้นเล็กๆ ที่มีโอกาสถูกลมพัดพาให้ได้ปลิวไปใกล้ท่านบ้างเป็นบางขณะ ได้กราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าไปได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรมที่ท่านเมตตาสั่งสอน ก็ใคร่ที่จะบันทึกเห็นการณ์ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้พบเห็นด้วยตาตนเองไว้เท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อเป็นดังหนึ่งดอกไม้ป่าช่อเล็กๆ ที่ขอกราบวางไว้แทบเท้า เป็นเครื่องสักการบูชาพระสงฆ์พระสาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติถูกต้องแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ทรงคุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี">ควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี</st1:personName>
    <st1:personName w:st="on" ProductID="ควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี"></st1:personName><O:p</O:p
    หากการเขียนครั้งนี้เป็นการผิดพลาด เป็นความเขลา เป็นความหลง ที่ทำให้กระทบกระเทือนเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ และบริสุทธิ์คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ของหลวงปู่ขาว อนาลโย">ของหลวงปู่ขาว อนาลโย</st1:personName> แต่ประการใด แม้เพียงภัสมธุลี ผู้เขียนก็ใคร่ขอกราบ ขอขมา ขอประทานอภัย ไว้ ณ ที่นี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้เขียนเพิ่งมีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงเวลาเพียง 6 - 7 ปี หลังนี้เอง ( เมื่อเขียน อนาลโยคุโณ พ.ศ.2527 ) แต่ยังโชคดีอยู่บ้าง ที่ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> ไปวัดถ้ำกลองเพล นับครั้งไม่ถ้วน จึงมีโชคได้เห็นท่านแสดงคารวะธรรม สนทนาธรรม แสดงธรรมสากัจฉาซึ่งกันและกันอย่างรื่นเริง ทำให้นึกถึงความในมงคลสูตรอยู่เสมอในบทหนึ่งที่ว่า
    <O:p
    " สมาณานญฺจ ทสฺสนํ กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ " ความหมายคือ การเห็นสมณะทั้งหลาย 1 การเจรจาธรรมโดยกาล 1 ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด
    <O:p
    ยิ้มของหลวงปู่สว่างนัก สว่างเจิดจ้าเข้าไปในหัวใจของผู้ที่พบเห็น ทำให้เรารู้สึกสงบ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก ยิ่งได้ฟังท่านเล่าหรือปรารภกันถึงเรื่องที่ท่านเคยธุดงค์ผ่านกันมาอย่างโชกโชน เรื่องเสือ เรื่องช้าง เรื่องงู เรื่องพญานาค เรื่องยักษ์ ฯลฯ เราก็จะพลอยตาโตลืมวันเวลาที่จะต้องกราบลาท่านหมดสิ้น ไม่ประหลาดใจที่ทำไมเวลาเราจะกราบลาท่านแต่ละครั้ง จะต้องกราบเป็นครั้งที่ 4 ที่ 5 จึงจะตัดใจกราบลาท่านได้จริงๆ
    <O:p
    การพูดถึงสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม อย่างเสือ ช้าง หรืองู ผู้อ่านคงจะผ่านเลยไป แต่เมื่อเอ่ยถึงพญานาค หรือจิตที่จะหยั่งรู้ใจคน บางท่านอาจจะหัวเราะ แต่ผู้เขียนก็ใคร่ขอร้องที่จะให้หยุดระลึกกันก่อน สิ่งที่เราไม่ได้เห็นเอง รู้เองนั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจริงในโลกนี้ เราจะเชื่อว่ามีจริงเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเท่านั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านที่ยังไม่เคยเห็นขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ หรือโลกพระจันทร์ ก็ยังไม่ควรเชื่อว่า มีขั้วโลกเหนือ มีขั้วโลกใต้ มีโลกพระจันทร์จริง ( เพราะเรายังไม่เห็นด้วยตาของตนเอง )
    <O:p</O:p
    ในการนำเสนอบทความคราวนี้ ได้นำคาถาบทที่หลวงปู่ได้มาจากในคราวที่ท่านถอดจิตไปเที่ยวเมืองพญานาคมารวมนำเสนอไว้ด้วย
    <O:p
    ท่านเล่าว่า เมืองพญานาคสวยงามมาก คราวนั้นท่านได้พบลูกสวยพญานาคด้วย นางได้มาคารวะ และกล่าวบทคาถาว่า
    <O:p
    " อะหันนะเม นะเมนะวะ ชาตินะวะ " คาถานี้ไม่มีในบาลี ท่านกำหนดจิตถามก็ได้ความแปลว่า
    <O:p
    " ชาติใหม่ของเราไม่มี " อันหมายความว่า นางได้มากล่าวยืนยันถึงชาติใหม่ของหลวงปู่ไว้ว่า ท่านจะไม่มีชาติใหม่อีก ภพชาติของท่านสิ้นแล้ว ( คาถานี้ป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย )
    <O:p</O:p
    เรื่องการที่ท่านผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ทรงคุณธรรม จะสามารถถอดจิตไปเที่ยวสวรรค์ นาคพิภพ พรหมโลก ได้จริงหรือไม่ประการใดนั้น ใคร่ขอยกไว้ก่อน และถ้าจะวิจารณ์สงสัยต่อไป ผู้เขียนก็ใคร่ขอเล่าเหตุการณ์อันได้ประสบมา ไว้ ณ ที่นี้
    <O:p
    วันนั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในงานทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ฝั้น อาจาโร">ฝั้น อาจาโร</st1:personName> ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จำได้ว่าเป็นวันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2525
    <O:p
    หลังจากทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกราบนมัสการสมเด็จพระสังฆราช และครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานในปะรำพิธี สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประทับบนพื้นสนามห่างออกมานอกปะรำพิธี โดยมีพวกเราเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทอยู่ใกล้ๆ ระหว่างนั้นคณะผู้ตามเสด็จ และพวกเราต่างได้กลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นบุหงาร่ำโชยมาตลอดเวลา ปรารภกัน และคิดว่าคงจะเป็นกลิ่นดอกไม้ในพวงมาลัยบุหงาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อรับเสด็จตอนเสด็จพระราชดำเนินมาถึง ขณะนั้นเราประหลาดใจกันแต่ว่า ผู้เชิญพวงมาลัยบุหงานั้นอยู่ไกลอีกฝากหนึ่งของสนาม กลิ่นหอมทำไมโชยมาไกลนัก...แต่เราก็ไม่ได้นึกอะไรมากนัก จนกระทั่งถึงเวลาจะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่มาเฝ้าเรียงรายในบริเวณวัด ขณะเสด็จผ่านพระเจดีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ผินพระพักตร์กลับมาหาผู้เขียน และรับสั่งว่า
    <O:p
    " หลวงปู่ขาวก็มาด้วย "
    <O:p
    พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ พระสุรเสียงนั้นดูเหมือนทรงปลื้มปีติจนทอดพระกรมาทรงจับมือผู้เขียนไว้ด้วย แม้รับพระราชกระแสนั้นไว้เหนือเกล้าแล้ว แต่ผู้เขียนก็ยังงงๆ อยู่ กราบบังคมทูลถามไปว่า
    <O:p
    " หวงปู่มาหรือเพคะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นท่าน หลวงปู่ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเพคะ "
    <O:p</O:p

    พระองค์ทรงรับสั่งว่า " ได้กลิ่นชานหมากของท่าน "
    <O:p</O:p

    ผู้เขียนขนลุกซู่ นึกถึงกลิ่นหอมคล้ายบุหงาที่พวกเราคุยถึงกันอยู่ตลอดเวลาเมื่อสักครู่นี้ ชานหมากของหลวงปู่ขาวนั้น ในบรรดาหมู่ลูกศิษย์ทราบกันดีว่าหอมอย่างไร ผู้จัดถวายจะจัด ใบเนียม พิมเสน ฯลฯ สารพัดใส่ไปในหมากด้วย กำลังกราบหลวงปู่เราจะได้กลิ่นหอมของ ของเหล่านี้ ซึ่งคล้ายกับกลิ่นบุหงาโชยอยู่ตลอดเวลา และเราเอง หลายต่อหลายครั้งที่หากนึกถึงหลวงปู่ นึกห่วงใย จะได้กลิ่นหอมของพิมเสน ใบเนียม ชานหมากของท่านอยู่เสมอๆ<O:p


    เลยกราบบังคมทูลว่า พวกเรา และหลายท่านในคณะตามเสด็จก็ได้กลิ่นหอมกันทั้งนั้น รวมทั้งสมเด็จพระเทพฯ ก็ยังทรงออกพระโอษฐ์ด้วย เพียงแต่มิใดมีใครนึกเฉลียวใจเท่านั้น ว่าเป็นกลิ่นชานหมากของหลวงปู่
    <O:p
    เช้าวันรุ่งขึ้นได้มีโอกาสนำหนังสือ " อาจาราภิวาท " ที่พวกเราจัดพิมพ์แจกในงานนั้นไปกราบคารวะท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="เทสก์ เทสรังสี">เทสก์ เทสรังสี</st1:personName> ที่วัดหินหมากเป้ง ท่านก็ถามถึงเรื่องเสด็จพระราชดำเนิน และงานเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนเล่าถวายเรื่องเหตุการณ์โดยทั่วไป และขณะกำลังคิดว่าควรจะเล่าถวายเรื่องที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มีรับสั่งเรื่องกลิ่นชานหมากของหลวงปู่ขาวดีไหมหนอ เดี๋ยวท่านพระอาจารย์ก็จะดุว่าเราสนใจแต่เรื่อง " ฤทธิ์ " มากเกินไป สมควรเล่าหรือไม่หนอ...?

    <O:p</O:pกำลังคิดอยู่ขณะนั้นเอง ก็กลับได้กลิ่นหอมตลบขึ้นมา เป็นกลิ่นชานหมากอันหอมกรุ่นของหลวงปู่นั้นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้เขียนคิดว่า ท่าน ( หลวงปู่ขาว ) เห็นว่าสมควรแน่แล้ว จึงกล้าเล่าเรื่องถวาย รวมทั้งเรื่องกลิ่นหอมที่บังเกิดใหม่ในขณะกำลังคิดลังเลว่า สมควรจะเล่าถวายท่านพระอาจารย์เทสก์ ดีหรือไม่ดีด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่านพระอาจารย์แห่งวัดหินหมากเป้ง ยิ้มอย่างเมตตา และรับว่ากลิ่นหอมเช่นนี้เป็นได้เมื่อจิตของผู้รับ " เข้าถึง " ท่านบอกว่า นี่เป็นนิมิตอย่างหนึ่ง นิมิตมีทั้งภาพ ทั้งเสียง และทั้งกลิ่นหอม จิตของสมเด็จพระนางเจ้าฯ " เข้าถึง " และ " รับ " หลวงปู่ขาว ได้อย่างสนิทใจ
    <O:p
    บ่ายวันนั้นผู้เขียนก็ได้เดินทางมากราบหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้มีโอกาสก็กราบเรียนรายงานท่านว่า เราเพิ่งกลับมาจากการรับเสด็จฯ ที่วัดป่าอุดมสมพร และไปกราบท่านพระอาจารย์เทสก์ มาด้วย
    <O:p
    หลวงปู่ท่านก็ว่า...ดี
    <O:p
    กราบเรียนท่านต่อไปถึงเรื่อง แม่เจ้า ทรงรับสั่ง
    <O:p
    งานหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วานนี้ หลวงปู่ไปด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
    <O:p
    ท่านบอกว่า ไป...ไปหลายคนเนาะ
    <O:p
    เอ๊ะ ! หลวงปู่อยู่นี่ หลวงปู่ไปได้อย่างไงเจ้าคะ
    <O:p
    ไปด้วยนี่...ไปด้วยจิต ท่านตอบ พลางเอามือชี้ไปที่ตรงอกของท่าน
    <O:p
    คงมีเทพมามากใช่ไหมเจ้าคะ ตอน พ่อเจ้า ทรงชักโกศบรรจุอัฐิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จะให้ขึ้นไปบรรจุบนยอดเจดีย์ มีแสงรัศมีปรากฏงามมากเจ้าค่ะ งานนี้คงมีเทพมาอนุโมทนามากเหมือนกันใช่ไหมเจ้าคะ
    <O:p
    ท่านว่า มาก...หลาย...เต็มไปหมด ถือพานดอกไม้มาบูชา...อนุโมทนา
    <O:p
    เรื่องนี้เคยเล่าถวายสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ก่อน แห่งวัดราชบพิธ ท่านรับสั่งว่า ผู้เขียนควรจะบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ มิฉะนั้นนานไปจะลืม คนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรรค์นี้ จะได้รู้จักกันไว้บ้าง
    <O:p
    หลวงปู่ท่านเทศน์เสมอถึงอานิสงส์ของการเดินจงกรม ซึ่งข้อหนึ่งมีอยู่ว่า เทพยดาจะถือพานดอกไม้ มาอนุโมทนา...สาธุ รวมทั้งเล่าด้วยว่า ระหว่างท่านเดินจงกรมจะมีกลิ่นหอม...หอมหลาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กราบเรียนถามว่า หอมอย่างไร...หอมเหมือนดอกอะไร
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านจะว่าหอมอีหยัง มันหอมบ่เหมือนดอกไม้บ้านเรา มันแม่นเทพยดาท่านมาอนุโมทนา ถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา...สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ใครฟังแล้ว จะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง อย่างไรผู้เขียนไม่สนใจ แต่ผู้เขียนเชื่อ และศรัทธาอย่างสนิทใจ และเต็มหัวใจ<O:p</O:p

    <O:p
    ก็อย่าว่าแต่เทพยดาจะมาอนุโมทนาให้หลวงปู่ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ได้กลิ่นหอมเลย แม้อย่างปุถุชนคนธรรมดาผู้เต็มไปด้วยกิเลสหนาปัญญาหยาบอย่างเรา บางครั้งก็ยังได้สัมผัสกลิ่นหอมของดอกไม้ประหลาดบ่อยๆ เลย<O:p
    <O:p
    ถ้าเมื่อใดจิตใจเต็มตื้นด้วยศรัทธา และความปรารถนาดี จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวายครูบาอาจารย์ ก็มักจะมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นให้เราชื่นหัวใจ <O:p</O:p
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]
    บางที่สงสัยว่า กลิ่นดอกอะไรหนอ ไม่เคยได้กลิ่น ไม่ใช่มะลิ ไม่ใช่พุทธชาด ไม่ใช่จำปีหรือจำปา จะมีเสียงตอบชัดแจ้ง แจ่มแจ้ง เข้าไปในใจว่า ดอกไม้นั้นไม่มีในโลกนี้ บางที่กำลังคุยกันถึงเรื่องกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าในเวลานั้นมีดอกไม้อะไรอยู่ " กลิ่นพิเศษ " ที่เกิดขึ้น จะเป็นกลิ่นดอกไม้อีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีใน ณ ที่นั้น...ให้อัศจรรย์เล่นเช่นนั้นแหละ

    วันหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถยนต์บนถนนแถวๆ จังหวัดสกลนคร มีบางคนในรถที่ได้ข่าวเรื่องนิมิตดอกไม้หอมนี้ อยากทราบรายละเอียดก็ถามผู้เขียนขึ้นมา ขณะกำลังเล่ามาถึงว่า ถ้าเรามีดอกมะลิก็จะไปหอมดอกจำปี ถ้ามีดอกจำปีก็จะไปหอมจำปา และถ้ามีดอกจำปาก็จะไปหอมดอกกุหลาบ ขาดคำว่าดอกกุหลาบ ทั้งรถก็หอมตลบอบอวนด้วยกลิ่นดอกกุหลาบไปหมด ได้กลิ่นกันทุกคนในรถยนต์ รวมทั้งพระคุณเจ้าพระภิกษุ 3 รูป ที่นั่งมาในรถด้วย อย่าว่าแต่ดอกกุหลาบเลย แม้แต่ดอกไม้อื่นดอกเดียวก็ไม่มี และสองข้างทางก็เป็นทุ่งนา ไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่เลย<O:p</O:p
    <O:p
    บ่อยครั้ง เมื่อเตรียมจะไปกราบหลวงปู่ขาว พอรถเราแล่นออกจากเมืองอุดรธานี ขึ้นไปวิ่งบนถนนสายอุดร
     
  3. คุณ 4

    คุณ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +5,159
    กราบโมทนาคับ

    "อิทังโข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะ นิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ
    โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค
    ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ"

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

    เสียดายจังไม่ไมีภาพให้ดูภาพด้วย
     
  4. Nefertity

    Nefertity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +634
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ
    พอได้อ่านบทคัดจากหนังสือ"อนาลโยคุโณ" นี้แล้ว ก็พลันบังเกิดปิติอีกครั้งเมื่อสัญญาเดิมได้ย้อยไปในวันที่ 21 ต.ค. 49 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปเพื่อทอดกฐินที่วัดป่าศรัทธาถวายที่จังหวัดอุดรธานี และได้แวะไปที่วัดถ้ำกลองเพลมาด้วย ซึ่งในวันดังกล่าว ได้มีโอกาสไปกราบสักการะพระอัฐฐิธาตุของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่บรรจุได้ในพระธาตุเจดีย์ภายในวัด และกระทำประทักษิณ 3 รอบเพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา ในขณะนั้นก็ไดกลิ่นเช่นเดียวกันกับที่ผู้เขียนเรื่องอนาลโยคุโณ ได้รับประสบการณ์ดังกล่าวมาเช่นกัน ทำให้ได้ทราบว่ากลิ่นที่ได้รับเป็นเมตตาบารมีจากหลวงปู่ขาว เพื่อโปรดสัตว์ที่จมทุกข์อย่างข้าพเจ้า จึงได้ตั้งสัจจาอธิฐานขอถึงพระนิพพานภายในชาตินี้ต่อพระอัฐฐิธาตุของหลวงปู่ขาวในครั้งนั้น และการตอบรับก็คือกลิ่นหอมที่รุนแรงขึ้น จนต้องไปเดินหาต้นไม้รอบๆเพื่อหาดูว่าเป็นดอกไม้ป่าหรือไม่ ซึ่งก็ไม่พบดอกไม้หอมประเภทใดบนนั้น มีแต่เพียงพวงมาลัยแห้งกรังเก่าคร่ำที่มีคนมาบูชาไวนานมากทีเดียว ไม่อาจส่งกลิ่นหอมใดๆได้อีกแล้ว ข้าพเจ้าจึงแน่ใจยิ่งขึ้นเมื่อได้อ่านบทคัดจากหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    ปล.ทางขึ้นพระเจดีย์ค่อนข้างลึกลับซับซ้อนอยู่บ้างจึงต้องซอกแซกเดินหาทางขึ้นยากนิดหน่อย แต่ศรัทธาจะนำพาไปได้ และสภาพเจดีย์ก็เก่าและทรุดโทรมมาก แต่เสียดายที่ไม่ได้นำกล้องพกไปด้วย จึงไม่มีรูปพระเจดีย์ซึ่งเป็นบริเวณที่ข้าพเจ้าได้กลิ่นมาให้ได้ชื่นชมกัน หากใครหาภาพมาได้ ก็ขอเชิญนำมาให้ทุกคนได้เห็นเป็นมงคลด้วยกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2007

แชร์หน้านี้

Loading...