อนาลโยคุโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 4 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    [​IMG]
    อนาลโยคุโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    เจ้าประคุณ ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="ขาว อนาลโย">ขาว อนาลโย</st1:personName> หรือที่เป็นที่เคารพสักการเลื่อมใสกันในนามสั่นๆ ว่า " หลวงปู่ขาว " แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี เป็นพระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญญวาสี สายท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ">มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ</st1:personName> ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเช่นเดียวกับอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="ของท่าน เกิดวันอาทิตย์ที่">ของท่าน เกิดวันอาทิตย์ที่</st1:personName> 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 อุปสมบทแล้วตั้งใจปฏิบัติฝ่ายสมถวิปัสสนาอย่างเดียว จนถึงเวลามรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริชนย์มายุ 96 พรรษา
    ชีวะประวัติของท่านระหว่างดำรงชนมายุ ถ้าใช้สำนวนของนักเขียนก็ต้องกล่าวว่า เป็นประวัติที่โลดโผน " มีรส " ที่สุดประวัติหนึ่ง ในทางโลก...ช่วงจังหวะที่ทำให้ชีวิตของท่านหักเหออกจากเพศฆราวาสออกบวชก็เป็นชีวิตที่ " มีรส " ส่วนในทางธรรม เมื่อท่านออกบวชแล้ว การปฏิบัติธรรมของท่านก็ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว พอใจออกท่องเที่ยวธุดงค์เพลิดเพลินอยู่แต่ในป่าลึก พักปฏิบัติบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์เฉพาะตามถ้ำตามเงื้อมหิน บนเขาสูงอันสงัดเงียบอยู่ตลอดเวลา เหมือนพญาช้างสารที่พอใจละโขลงบริวาร ออกท่องเที่ยวไปอย่างเดียวดายในไพรพฤกษ์ ทำให้ท่านได้เห็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งประสบพบเห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชีวะประวัติของท่าน เป็นชีวิตที่โลดโผน " มีรส " เหลือจะพรรณนา ชวนให้เคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็น " เนติ " แบบอย่าง ให้บรรดาศิษย์ปรารถนาจะเจริญรอยตามท่านเป็นอย่างดี
    ท่านผู้สนใจใคร่จะศึกษา อาจจะหาอ่านได้โดยละเอียดจากจากประวัติของท่าน ที่มีท่านผู้รู้ได้เขียนเอาไว้หลายสำนวน โดยเฉพาะที่ " เจ้าพระคุณ ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="มหาบัว ญาณสัมปันโน">มหาบัว ญาณสัมปันโน</st1:personName> " เป็นผู้เขียน ทั้งในหนังสือ " ประวัติอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ " ของท่าน และในหนังสือ " ปฏิปทาของพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น " หรืออีกสำนวนหนึ่งของ นายแพทย์<st1:personName w:st="on" productid="อวย เกตุสิงห์">อวย เกตุสิงห์</st1:personName> ในหนังสือ " อนาลโยวาท "
    ข้อเขียน " อนาลโยคุโณ " ชิ้นนี้ ไม่ใช่ประวัติของท่าน เป็นเพียงบันทึกของผู้ที่เป็นประหนึ่งผงธุลีชิ้นเล็กๆ ที่มีโอกาสถูกลมพัดพาให้ได้ปลิวไปใกล้ท่านบ้างเป็นบางขณะ ได้กราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าไปได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรมที่ท่านเมตตาสั่งสอน ก็ใคร่ที่จะบันทึกเห็นการณ์ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้พบเห็นด้วยตาตนเองไว้เท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อเป็นดังหนึ่งดอกไม้ป่าช่อเล็กๆ ที่ขอกราบวางไว้แทบเท้า เป็นเครื่องสักการบูชาพระสงฆ์พระสาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติถูกต้องแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ทรงคุณ<st1:personName w:st="on" productid="ควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี">ควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี</st1:personName><o:p></o:p>
    หากการเขียนครั้งนี้เป็นการผิดพลาด เป็นความเขลา เป็นความหลง ที่ทำให้กระทบกระเทือนเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ และบริสุทธิ์คุณ<st1:personName w:st="on" productid="ของหลวงปู่ขาว อนาลโย">ของหลวงปู่ขาว อนาลโย</st1:personName> แต่ประการใด แม้เพียงภัสมธุลี ผู้เขียนก็ใคร่ขอกราบ ขอขมา ขอประทานอภัย ไว้ ณ ที่นี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนเพิ่งมีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงเวลาเพียง 6 - 7 ปี หลังนี้เอง ( เมื่อเขียน อนาลโยคุโณ พ.ศ.2527 ) แต่ยังโชคดีอยู่บ้าง ที่ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> ไปวัดถ้ำกลองเพล นับครั้งไม่ถ้วน จึงมีโชคได้เห็นท่านแสดงคารวะธรรม สนทนาธรรม แสดงธรรมสากัจฉาซึ่งกันและกันอย่างรื่นเริง ทำให้นึกถึงความในมงคลสูตรอยู่เสมอในบทหนึ่งที่ว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " สมาณานญฺจ ทสฺสนํ กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ " ความหมายคือ การเห็นสมณะทั้งหลาย 1 การเจรจาธรรมโดยกาล 1 ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยิ้มของหลวงปู่สว่างนัก สว่างเจิดจ้าเข้าไปในหัวใจของผู้ที่พบเห็น ทำให้เรารู้สึกสงบ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก ยิ่งได้ฟังท่านเล่าหรือปรารภกันถึงเรื่องที่ท่านเคยธุดงค์ผ่านกันมาอย่างโชกโชน เรื่องเสือ เรื่องช้าง เรื่องงู เรื่องพญานาค เรื่องยักษ์ ฯลฯ เราก็จะพลอยตาโตลืมวันเวลาที่จะต้องกราบลาท่านหมดสิ้น ไม่ประหลาดใจที่ทำไมเวลาเราจะกราบลาท่านแต่ละครั้ง จะต้องกราบเป็นครั้งที่ 4 ที่ 5 จึงจะตัดใจกราบลาท่านได้จริงๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การพูดถึงสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม อย่างเสือ ช้าง หรืองู ผู้อ่านคงจะผ่านเลยไป แต่เมื่อเอ่ยถึงพญานาค หรือจิตที่จะหยั่งรู้ใจคน บางท่านอาจจะหัวเราะ แต่ผู้เขียนก็ใคร่ขอร้องที่จะให้หยุดระลึกกันก่อน สิ่งที่เราไม่ได้เห็นเอง รู้เองนั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจริงในโลกนี้ เราจะเชื่อว่ามีจริงเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเท่านั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านที่ยังไม่เคยเห็นขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ หรือโลกพระจันทร์ ก็ยังไม่ควรเชื่อว่า มีขั้วโลกเหนือ มีขั้วโลกใต้ มีโลกพระจันทร์จริง ( เพราะเรายังไม่เห็นด้วยตาของตนเอง )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในการนำเสนอบทความคราวนี้ ได้นำคาถาบทที่หลวงปู่ได้มาจากในคราวที่ท่านถอดจิตไปเที่ยวเมืองพญานาคมารวมนำเสนอไว้ด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านเล่าว่า เมืองพญานาคสวยงามมาก คราวนั้นท่านได้พบลูกสวยพญานาคด้วย นางได้มาคารวะ และกล่าวบทคาถาว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " อะหันนะเม นะเมนะวะ ชาตินะวะ " คาถานี้ไม่มีในบาลี ท่านกำหนดจิตถามก็ได้ความแปลว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " ชาติใหม่ของเราไม่มี " อันหมายความว่า นางได้มากล่าวยืนยันถึงชาติใหม่ของหลวงปู่ไว้ว่า ท่านจะไม่มีชาติใหม่อีก ภพชาติของท่านสิ้นแล้ว ( คาถานี้ป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เรื่องการที่ท่านผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ทรงคุณธรรม จะสามารถถอดจิตไปเที่ยวสวรรค์ นาคพิภพ พรหมโลก ได้จริงหรือไม่ประการใดนั้น ใคร่ขอยกไว้ก่อน และถ้าจะวิจารณ์สงสัยต่อไป ผู้เขียนก็ใคร่ขอเล่าเหตุการณ์อันได้ประสบมา ไว้ ณ ที่นี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วันนั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในงานทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="ฝั้น อาจาโร">ฝั้น อาจาโร</st1:personName> ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จำได้ว่าเป็นวันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2525<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกราบนมัสการสมเด็จพระสังฆราช และครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานในปะรำพิธี สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประทับบนพื้นสนามห่างออกมานอกปะรำพิธี โดยมีพวกเราเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทอยู่ใกล้ๆ ระหว่างนั้นคณะผู้ตามเสด็จ และพวกเราต่างได้กลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นบุหงาร่ำโชยมาตลอดเวลา ปรารภกัน และคิดว่าคงจะเป็นกลิ่นดอกไม้ในพวงมาลัยบุหงาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อรับเสด็จตอนเสด็จพระราชดำเนินมาถึง ขณะนั้นเราประหลาดใจกันแต่ว่า ผู้เชิญพวงมาลัยบุหงานั้นอยู่ไกลอีกฝากหนึ่งของสนาม กลิ่นหอมทำไมโชยมาไกลนัก...แต่เราก็ไม่ได้นึกอะไรมากนัก จนกระทั่งถึงเวลาจะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่มาเฝ้าเรียงรายในบริเวณวัด ขณะเสด็จผ่านพระเจดีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ผินพระพักตร์กลับมาหาผู้เขียน และรับสั่งว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " หลวงปู่ขาวก็มาด้วย "
    <o:p> </o:p>
    พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ พระสุรเสียงนั้นดูเหมือนทรงปลื้มปีติจนทอดพระกรมาทรงจับมือผู้เขียนไว้ด้วย แม้รับพระราชกระแสนั้นไว้เหนือเกล้าแล้ว แต่ผู้เขียนก็ยังงงๆ อยู่ กราบบังคมทูลถามไปว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " หวงปู่มาหรือเพคะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นท่าน หลวงปู่ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเพคะ "
    <o:p> </o:p>
    พระองค์ทรงรับสั่งว่า " ได้กลิ่นชานหมากของท่าน "
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนขนลุกซู่ นึกถึงกลิ่นหอมคล้ายบุหงาที่พวกเราคุยถึงกันอยู่ตลอดเวลาเมื่อสักครู่นี้ ชานหมากของหลวงปู่ขาวนั้น ในบรรดาหมู่ลูกศิษย์ทราบกันดีว่าหอมอย่างไร ผู้จัดถวายจะจัด ใบเนียม พิมเสน ฯลฯ สารพัดใส่ไปในหมากด้วย กำลังกราบหลวงปู่เราจะได้กลิ่นหอมของ ของเหล่านี้ ซึ่งคล้ายกับกลิ่นบุหงาโชยอยู่ตลอดเวลา และเราเอง หลายต่อหลายครั้งที่หากนึกถึงหลวงปู่ นึกห่วงใย จะได้กลิ่นหอมของพิมเสน ใบเนียม ชานหมากของท่านอยู่เสมอๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เลยกราบบังคมทูลว่า พวกเรา และหลายท่านในคณะตามเสด็จก็ได้กลิ่นหอมกันทั้งนั้น รวมทั้งสมเด็จพระเทพฯ ก็ยังทรงออกพระโอษฐ์ด้วย เพียงแต่มิใดมีใครนึกเฉลียวใจเท่านั้น ว่าเป็นกลิ่นชานหมากของหลวงปู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เช้าวันรุ่งขึ้นได้มีโอกาสนำหนังสือ " อาจาราภิวาท " ที่พวกเราจัดพิมพ์แจกในงานนั้นไปกราบคารวะท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="เทสก์ เทสรังสี">เทสก์ เทสรังสี</st1:personName> ที่วัดหินหมากเป้ง ท่านก็ถามถึงเรื่องเสด็จพระราชดำเนิน และงานเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนเล่าถวายเรื่องเหตุการณ์โดยทั่วไป และขณะกำลังคิดว่าควรจะเล่าถวายเรื่องที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มีรับสั่งเรื่องกลิ่นชานหมากของหลวงปู่ขาวดีไหมหนอ เดี๋ยวท่านพระอาจารย์ก็จะดุว่าเราสนใจแต่เรื่อง " ฤทธิ์ " มากเกินไป สมควรเล่าหรือไม่หนอ...?<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กำลังคิดอยู่ขณะนั้นเอง ก็กลับได้กลิ่นหอมตลบขึ้นมา เป็นกลิ่นชานหมากอันหอมกรุ่นของหลวงปู่นั้นเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนคิดว่า ท่าน ( หลวงปู่ขาว ) เห็นว่าสมควรแน่แล้ว จึงกล้าเล่าเรื่องถวาย รวมทั้งเรื่องกลิ่นหอมที่บังเกิดใหม่ในขณะกำลังคิดลังเลว่า สมควรจะเล่าถวายท่านพระอาจารย์เทสก์ ดีหรือไม่ดีด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านพระอาจารย์แห่งวัดหินหมากเป้ง ยิ้มอย่างเมตตา และรับว่ากลิ่นหอมเช่นนี้เป็นได้เมื่อจิตของผู้รับ " เข้าถึง " ท่านบอกว่า นี่เป็นนิมิตอย่างหนึ่ง นิมิตมีทั้งภาพ ทั้งเสียง และทั้งกลิ่นหอม จิตของสมเด็จพระนางเจ้าฯ " เข้าถึง " และ " รับ " หลวงปู่ขาว ได้อย่างสนิทใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บ่ายวันนั้นผู้เขียนก็ได้เดินทางมากราบหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้มีโอกาสก็กราบเรียนรายงานท่านว่า เราเพิ่งกลับมาจากการรับเสด็จฯ ที่วัดป่าอุดมสมพร และไปกราบท่านพระอาจารย์เทสก์ มาด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลวงปู่ท่านก็ว่า...ดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กราบเรียนท่านต่อไปถึงเรื่อง แม่เจ้า ทรงรับสั่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    งานหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วานนี้ หลวงปู่ไปด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านบอกว่า ไป...ไปหลายคนเนาะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เอ๊ะ ! หลวงปู่อยู่นี่ หลวงปู่ไปได้อย่างไงเจ้าคะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไปด้วยนี่...ไปด้วยจิต ท่านตอบ พลางเอามือชี้ไปที่ตรงอกของท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คงมีเทพมามากใช่ไหมเจ้าคะ ตอน พ่อเจ้า ทรงชักโกศบรรจุอัฐิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จะให้ขึ้นไปบรรจุบนยอดเจดีย์ มีแสงรัศมีปรากฏงามมากเจ้าค่ะ งานนี้คงมีเทพมาอนุโมทนามากเหมือนกันใช่ไหมเจ้าคะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านว่า มาก...หลาย...เต็มไปหมด ถือพานดอกไม้มาบูชา...อนุโมทนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เรื่องนี้เคยเล่าถวายสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ก่อน แห่งวัดราชบพิธ ท่านรับสั่งว่า ผู้เขียนควรจะบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ มิฉะนั้นนานไปจะลืม คนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรรค์นี้ จะได้รู้จักกันไว้บ้าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลวงปู่ท่านเทศน์เสมอถึงอานิสงส์ของการเดินจงกรม ซึ่งข้อหนึ่งมีอยู่ว่า เทพยดาจะถือพานดอกไม้ มาอนุโมทนา...สาธุ รวมทั้งเล่าด้วยว่า ระหว่างท่านเดินจงกรมจะมีกลิ่นหอม...หอมหลาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กราบเรียนถามว่า หอมอย่างไร...หอมเหมือนดอกอะไร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านจะว่าหอมอีหยัง มันหอมบ่เหมือนดอกไม้บ้านเรา มันแม่นเทพยดาท่านมาอนุโมทนา ถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา...สาธุ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ใครฟังแล้ว จะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง อย่างไรผู้เขียนไม่สนใจ แต่ผู้เขียนเชื่อ และศรัทธาอย่างสนิทใจ และเต็มหัวใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก็อย่าว่าแต่เทพยดาจะมาอนุโมทนาให้หลวงปู่ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ได้กลิ่นหอมเลย แม้อย่างปุถุชนคนธรรมดาผู้เต็มไปด้วยกิเลสหนาปัญญาหยาบอย่างเรา บางครั้งก็ยังได้สัมผัสกลิ่นหอมของดอกไม้ประหลาดบ่อยๆ เลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าเมื่อใดจิตใจเต็มตื้นด้วยศรัทธา และความปรารถนาดี จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวายครูบาอาจารย์ ก็มักจะมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นให้เราชื่นหัวใจ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    [​IMG]
    บางที่สงสัยว่า กลิ่นดอกอะไรหนอ ไม่เคยได้กลิ่น ไม่ใช่มะลิ ไม่ใช่พุทธชาด ไม่ใช่จำปีหรือจำปา จะมีเสียงตอบชัดแจ้ง แจ่มแจ้ง เข้าไปในใจว่า ดอกไม้นั้นไม่มีในโลกนี้ บางที่กำลังคุยกันถึงเรื่องกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าในเวลานั้นมีดอกไม้อะไรอยู่ " กลิ่นพิเศษ " ที่เกิดขึ้น จะเป็นกลิ่นดอกไม้อีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีใน ณ ที่นั้น...ให้อัศจรรย์เล่นเช่นนั้นแหละ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วันหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถยนต์บนถนนแถวๆ จังหวัดสกลนคร มีบางคนในรถที่ได้ข่าวเรื่องนิมิตดอกไม้หอมนี้ อยากทราบรายละเอียดก็ถามผู้เขียนขึ้นมา ขณะกำลังเล่ามาถึงว่า ถ้าเรามีดอกมะลิก็จะไปหอมดอกจำปี ถ้ามีดอกจำปีก็จะไปหอมจำปา และถ้ามีดอกจำปาก็จะไปหอมดอกกุหลาบ ขาดคำว่าดอกกุหลาบ ทั้งรถก็หอมตลบอบอวนด้วยกลิ่นดอกกุหลาบไปหมด ได้กลิ่นกันทุกคนในรถยนต์ รวมทั้งพระคุณเจ้าพระภิกษุ 3 รูป ที่นั่งมาในรถด้วย อย่าว่าแต่ดอกกุหลาบเลย แม้แต่ดอกไม้อื่นดอกเดียวก็ไม่มี และสองข้างทางก็เป็นทุ่งนา ไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่เลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บ่อยครั้ง เมื่อเตรียมจะไปกราบหลวงปู่ขาว พอรถเราแล่นออกจากเมืองอุดรธานี ขึ้นไปวิ่งบนถนนสายอุดร – เลย อันเป็นทางมุ่งไปยังวัดถ้ำกลองเพล จะได้กลิ่นดอกไม้พิเศษหอมปรากฏขึ้น ครั้งแรกๆ พอได้กราบท่าน ก็เล่าถวายเรื่องกลิ่นดอกไม้ที่ปรากฏในรถ ท่านบอกว่า ตั้งใจดี ตั้งใจมาทำบุญ เทวดาเขาก็รัก เขาก็ไปต้อนรับพวกหนู<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นปรกติวิสัยมากขึ้น ครั้งหลังๆ เราก็ไม่ค่อยกราบเรียนท่านนัก และบางทีกำลังเล่าเรื่องกลิ่นหอมในรถระหว่างจะมากราบหลวงปู่ ที่ในห้องที่หลวงปู่นั่งอยู่นั้นเอง จะมีกลิ่นหอมเช่นเดียวกับที่ปรากฏในรถยนต์เกิดขึ้นอีก เป็นพยานการได้กลิ่นของพวกเรา ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " แน่ะหอมอีกแล้ว หลวงปู่เจ้าคะ กำลังหอมเดี๋ยวนี้แหล่ะ "
    <o:p> </o:p>
    ท่านจะ " หวัว " ยิ้มอย่างสว่าง เปิดโลกทั้งโลกให้แจ่มใส เบิกบานด้วยความสุขความสงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " เทพยดาเขากำลังถือพานดอกไม้ มาสาธุ...บูชาอยู่ " ท่านบอก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    " เดี๋ยวนี้หรือเจ้าคะ " ผู้เขียนกราบเรียนถาม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านพยักหน้า และยิ้ม ชี้มือมาข้างพวกเรา " มื้อนี่แหล่ะ "
    <o:p> </o:p>
    เราอดนึกนึกรำพึงในใจไม่ได้ โอ้...อย่าว่าแต่มนุษย์จะมากราบบูชาหลวงปู่เลย แม้เทพเจ้าก็ยังปรารถนามาคารวะบูชาท่าน ด้วยถือเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ ยากจะหานาบุญใดมาเทียบได้ เราช่างมีบุญจริงหนอ ที่ได้มีโอกาสมากราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟังธรรมจากคำสั่งสอนของท่าน ได้สัมผัสจิตอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมของท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เรื่องของการที่ท่านจะ " รู้ใจ " พวกเรานั้น อันที่จริงก็เป็นเรื่อง " หญ้าปากคอก " ของครูบาอาจารย์เกือบทุกรูป ผู้เขียนถูกทรมานมาเสียนักต่อนักแล้ว แรกๆ ก็ลังเลบ้าง อัศจรรย์ใจบ้าง แต่ระยะหลังก็มีศรัทธาโดยแน่นแฟ้น โดยเฉพาะการรู้ใจของหลวงปู่นั้น อยู่เหนือการสงสัยใดๆ ของผู้เขียน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปกติพวกเราชาวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ จะไปทอดผ้าป่าวัดถ้ำกลองเพลกันเกือบทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ท่านจะออกมาชักผ้าเอง ให้พรเอง จนกระทั่งปีหลังๆ มานี้ จึงเห็นว่าจะเป็นภาระแก่ท่านอย่างมาก เพียงแค่ให้เราได้กราบ ได้เห็นหน้าท่าน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยที่ท่านมีอายุมากแล้ว เสียงของท่านจึงค่อนข้างเบา ดังนั้นวันหนึ่งเมื่อผู้เขียนพาเพื่อนคณะใหญ่หลายร้อยคนไปทำบุญ เต็มล้นกุฏิที่ท่านพำนัก ก็แอบนึกในใจว่า น่าเสียดายที่หลวงปู่จะไม่อาจให้พร ให้พวกน้องๆ ได้ยินกันทั่วได้ ท่านมีอายุมากแล้ว น่าสงสารท่าน แต่ถ้าทุกคนได้ยินเสียงของหลวงปู่ให้พร เขาจะชื่นใจกันสักเพียงไหนหนอ วิสัยปุถุชนอดคิดละล้าละลัง กลับไปกลับมาไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จะอย่างไรก็ดี ขณะนั้นเอง โดยไม่ได้ถวายไมโครโฟนเลย หลวงปู่ก็ยิ้มอย่างเมตตา ยิ้มอย่างสว่างหัวใจ ที่ผู้เขียนเรียกว่า " ยิ้มเปิดโลก " ชำเลืองมองมาที่ผู้เขียน แล้วก็ตั้งต้นให้พร เสียงของท่านแจ่มใส ดังกังวานไปทั่วระเบียงหน้าห้องอันกว้างใหญ่ ทุกคนได้ยินชัด แม้แต่บางคนที่ต้องนั่งล้นลงมาตามขั้นบันได ก็คุยว่าได้ยินกันถนัดชัดเจนดี พรของท่านครั้งนี้ยาวมาก ทุกคนชื่นอกชื่นใจไปตามๆ กัน เฉพาะผู้เขียนนั้น...อดน้ำตาคลอไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางเวลาจัดอาหารไปถวายท่าน เห็นอาหารที่ศิษย์แต่ละคนพยายามบรรจงจัดถวาย วางเรียงรายอยู่ตรงหน้าท่านแล้ว เราก็ท้อใจ ท่านจะฉันของเราได้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อท่านฉันอาหารไม่ค่อยได้อย่างนี้ แต่พอนึกเสียใจ สงสารท่าน หลวงปู่จะเหลือบตามอง นัยน์ตาของท่านแจ่มใสบริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม และเมตตาอย่างที่สุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แล้วท่านก็จะพยักหน้าให้พระผู้ปรนนิบัติ ตักอาหารที่เป็นของผู้เขียนให้ป้อนให้ท่าน ถึงแม้ผู้เขียนจะเพิ่งได้มากราบท่านในช่วงเวลาที่ท่านมีชนย์มายุรวมได้เก้าสิบปีแล้วก็ตามที แต่ข่าวคราวเรื่องที่ท่านผ่านชีวิตธุดงค์มาอย่างทรหดอดทน ก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญ นำมายกย่องให้เป็นตัวอย่างแก่ศิษย์รุ่นหลังๆ อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลวงปู่ออกธุดงค์ทุกปีจนอายุเจ็ดสิบกว่าปี จึงยั้งอยู่กับที่บ้าง แต่ก็ยังออกวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางเวลาที่ไปกราบท่าน ถ้าไม่มีหลวงปู่หลุย จันทสาโร หรือท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> นำไป เราก็ไปกันเอง บางครั้งท่านอาจจะเหนื่อย จะไม่ค่อยพูด ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องรับแขกศิษย์กลุ่มอื่นๆ อยู่นาน แต่จะอย่างไรก็ตามที ถ้าผู้เขียนกราบเรียนถามถึง " ถิ่นธุดงค์ " เก่าของท่าน ที่ท่านเคยสร้างบารมี และเราก็เคยทราบประวัติของหลวงปู่มาจากท่านพระอาจารย์จวนอยู่บ้างแล้ว อย่างเช่นที่ถ้ำค้อ ที่ดงหม้อทอง ที่ถ้ำแก้ว และที่ภูวัว เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ลักษณะของป่าเขาลำเนาไพรที่ผ่านมา เสือ ช้าง งูใหญ่ ฯลฯ ท่านทรมานมาแล้วทั้งนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นัยน์ตาของท่านจะแจ่มใสเป็นประกายวาว ถ้านอนอยู่ก็จะลุกขึ้นนั่ง ถ้านั่งอยู่ก็อาจจะลุกขึ้น ทำท่าเสือหมอบ เสือย่าง ให้ดู หลวงปู่ไม่เพียงแค่ทำท่าทางเท่านั้น แต่ก็ทำเสียงด้วย เสือคราง ช้างร้องโกญจนาทอย่างไร ฟังแล้วก็นึกวาดภาพตามท่านไป และพลอยสนุก อยากตามไปลิ้มรสชีวิตธุดงค์อย่างท่านบ้าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราพูดกันอยู่ว่า อย่างพวกเรานี้ ถ้าเข้าป่า เผชิญหน้าเสือ เผชิญหน้าช้าง ก็คงถูกมันขบกัด เหยียบตายแน่ เพราะความที่ฟังแต่ว่า สัตว์เหล่านั้นถูกท่านทรมาน อ่อนศิโรราบไปตามๆ กันแต่อย่างเดียว ก็อาจจะลืมตัวกลัวตายไป เห็นมันก็ไม่วิ่งหนี ลืมนึกไปว่า สัตว์เหล่านั้น " ยอมแพ้ " เฉพาะท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ทรงคุณธรรม อย่างหลวงปู่ ต่างหาก...!<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เวลาหลวงปู่เล่า ท่านจะตบเข่า ตบพื้น ชวนให้นึกสนุกตามท่านไปด้วย จนบางครั้งต้องขออาราธนาว่า พอเถิดเจ้าค่ะ เดี๋ยวหลวงปู่จะเหนื่อย จะเจ็บ ท่านจะหยุด และก็ " หวัว " อย่างพอใจ ที่เราแพ้ท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปีหลังๆ ท่านไม่ค่อยจะมีแรงที่จะคุยให้สนุกมากนัก ด้วยสุขภาพของท่านถดถอยลง แต่ไม่ว่าท่านจะแสดงท่าเหนื่อยหน่าย นิ่งเฉย ไม่ยิ้มแย้มอย่างไรก็ตามที แต่ถ้าเมื่อผู้เขียนไปกราบนมัสการ กราบเรียนเรื่องที่พวกเราตามท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> ไปธุดงค์ถึงถิ่นที่ท่านเคยพำนัก เช่น ที่ดงหม้อทอง ตรงกระท่อมหลังเล็ก ข้างหลังกุฏิหลวงปู่ ที่ตาผ้าขาวอยู่ และช้างยื่นงวงเข้าไปกวาดหาข้าวของในกระท่อม จนเจ้าของต้องไปนั่งตัวลีบ แอบอยู่ที่มุมกระท่อม ที่ถ้ำยาว บนตาดปอ ที่มีพญานาคเกเร มาปรากฏให้ท่านทรมาน ท่านจะแสดงอาการสดชื่น พูดคุยด้วยอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส พอถึงตอนสนุก ผู้เขียนทำท่านเลียนเสียงที่ท่านเคยเล่า ซึ่งคงเพี้ยนจนน่าขบขัน ท่านก็จะหัวเราะอย่างขันเต็มที่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนเคยตัวกับการที่มากราบหลวงปู่ และได้เห็นหลวงปู่ยิ้มแย้มแจ่มใสให้เห็นอยู่ตลอดมา จะมีข่าวอาพาธอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าเข้ากราบ กราบเรียน และให้เสียงว่าเป็นใครมากราบท่าน ( ระยะหลัง นัยน์ตาของท่านแทบมองไม่เห็นเลย ) ท่านก็จะยิ้มด้วยยิ้มที่สว่างหัวใจดังเดิม ผู้เขียนเคยตัวอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งวันสุดท้ายที่ได้กราบท่าน จำได้ว่า เราเพิ่งกลับจากการรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรูปหล่อท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> ที่ภูทอก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2526 รุ่งขึ้นก็ชวนกันว่า ขากลับกรุงเทพฯ ควรจะแวะมากราบหลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วันนั้นมีครูบาอาจารย์นำเรามาหลายท่าน เช่น หลวงปู่หลุย ท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="บัวพา เป็นต้น">บัวพา เป็นต้น</st1:personName> หลวงปู่อาพาธ มีอาการหลอดลมอักเสบอย่างรุนแรง ท่านนอนสงบนิ่ง หลับลึกอยู่บนเตียง แต่มองแล้วก็น่าใจหาย ด้วยสุขภาพของท่านดูทรุดโทรมมาก ผอมจนแทบเห็นกระดูกใสเป็นแก้วเลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปกติถ้าหลวงปู่หลุย มา อย่างน้อยท่านจะลืมตาขึ้นคุยด้วย เพราะท่านสนิทสนมกันมาก ท่านเล่าว่า ท่านบวชวันเดียวกัน หลวงปู่หลุย บวชก่อนท่าน 15 นาที เป็นนาคขวา ส่วนท่านเป็นนาคซ้าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วันนั้นท่านไม่ลืมตา รอกันอยู่พักใหญ่ หลวงปู่หลุย ก็กล่าวว่า ควรปล่อยให้ท่านนอนพักต่อไป อย่าไปรบกวนท่านเลย เราทุกคนจึงออกมาจากห้อง พร้อมทั้งรูดม่านปิดด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขณะที่ทุกคนกลับลงไปจากกุฏิหมดแล้ว ผู้เขียนกลับทรุดตัวลงนั่งหน้าห้อง กราบท่านอีกครั้ง อธิฐานจิตขอให้ท่านหายทุกข์เถิด ที่ท่านบอกรับอาราธนาเราไว้ ว่าจะอยู่ให้จนอายุครบ 100 ปีนั้น ลูกไม่ต้องการแล้ว หลวงปู่ดูทรมานเหลือเกิน ถ้าหลวงปู่จะอยู่ให้ลูกหลานชื่นใจ ก็ขอให้อยู่อย่างเป็นสุขเถิด โปรดอย่าอยู่อย่างในสภาพที่น่าเศร้าสลดใจอย่างนี้เลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนก้มหน้าลงกับพื้นหน้าห้อง...นิ่งอยู่ ใจหนึ่งก็เผอนึกรำพันขึ้นมาว่า หลวงปู่เจ้าขา วันนี้ลูกไม่ได้เห็นหลวงปู่ยิ้ม ดูเหมือนจะหายใจไม่ออก น่าประหลาด ผู้เขียนรู้สึกเหมือนว่า ได้เห็นภาพที่หลวงปู่ที่นอนสงบนิ่ง ไม่ไหวติงนั้น เหมือนจะเริ่มกระดุกกระดิก นัยน์ตาท่านขยับเหมือนจะกระพริบถี่ อันแสดงว่าท่านเริ่มที่จะรู้สึกตัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนขยับตัวจากที่หมอบกราบ และเงยหน้าขึ้นมองไปข้างหน้า ม่านข้างหน้าก็ยังรูดปิดสนิท แต่ " ใจ " เราก็มองผ่านผ้าม่านเข้าไปได้ เห็นนัยน์ตาหลวงปู่กระพริบถี่ แขนขยับ ขณะนั้นผู้เขียนไม่ได้นึกถึงความอัศจรรย์อะไร ที่ว่าทำไมเมื่อเราก้มหน้าอยู่กับพื้น เราจึงเห็น ทำไมผ้าม่านปิดอยู่ เราจึงเห็นภาพภายในห้องหลวงปู่ได้ ใจเราคิดแต่เพียงอย่างเดียวว่า หลวงปู่ตื่นแล้ว และเดี๋ยวหลวงปู่ก็จะยิ้มแล้ว ผู้เขียนให้คนเข้าไปกราบเรียนหลวงปู่หลุย และท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์บัวพา และตัวเองก็รีบเข้าไปกราบท่านข้างในห้อง ท่านกระพริบตาซ้ำๆ แล้วก็ลืมตา ตาท่านคงใสบริสุทธิ์อย่างเดิม แม้จะมีท่าทางระโหยอยู่มากก็ตามที<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านฟังผู้เขียนเล่าเรื่องรับเสด็จแม่เจ้า การจัดตั้งที่บูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระธาตุครูบาอาจารย์ ให้แม่เจ้าสักการบูชา อย่างเช่น พระธาตุของท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="มั่น ภูริทัตตมหาเถระ">มั่น ภูริทัตตมหาเถระ</st1:personName> พระธาตุของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระธาตุของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พร้อมทั้งพระธาตุของท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="วัน อุตตโม">วัน อุตตโม</st1:personName> พระธาตุของท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="สิงห์ทอง ธัมมวโร">สิงห์ทอง ธัมมวโร</st1:personName> และพระธาตุของท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> ด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พอแม่เจ้ารับสั่งที่ภูทอกว่า คิดถึงหลวงปู่ขาว ทางขบวนเสด็จก็เตรียมตัว และวิทยุมาทางอุดรแล้วว่าอาจจะเสด็จฯ มายังวัดถ้ำกลองเพล แต่บังเอิญ พระองค์ท่านต้องเสด็จฯ เยี่ยมราษฏรอยู่นานจนสองทุ่มกว่า พระองค์จึงเสด็จมายังวัดถ้ำกลองเพลไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระที่ปรนนิบัติหลวงปู่ก็รับสั่งว่า เมื่อคืนนี้ทางบ้านเมืองมารอรับเสด็จฯ อยู่จนถึงสามทุ่ม แน่ใจว่าพระองค์ไม่เสด็จแล้วจึงกลับ พอคุยไป สีหน้าท่านแจ่มใสขึ้น ข้อไหนเป็นคำถามต่อท่านโดยตรง ท่านก็ตอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในที่สุด...แม้จะยังมีท่าทางเหนื่อยเพลียอยู่มาก แต่ยิ้มของท่านก็เป็นยิ้มที่เปิดโลก สว่างเข้าไปในหัวใจ ดังเดิม เมตตาธรรมของท่านยังเปี่ยมล้น แม้ในวาระที่สังขารของท่านล่วงไปเกือบจะถึงปลายทางอยู่แล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้นปรากฏว่าวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่ กลับแคบเล็กไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกทิศานุทิศ ได้หลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ เป็นคำรบสุดท้าย นับจำนวนหลายแสนคน เป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในคืนวันถวายพระเพลิงนั้น ได้มีศิษย์ผู้หนึ่งถ่ายภาพเหตุการณ์วันนั้นไว้ หลังจากนำฟิล์มมาล้าง และอัดภาพ ปรากฏว่ามีภาพ " ปาฏิหาริย์ " เกิดขึ้นชุดหนึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาพชุดนี้ คุณ<st1:personName w:st="on" productid="วิรัช ผู้ถ่ายภาพ">วิรัช ผู้ถ่ายภาพ</st1:personName> ยืนยันว่าเป็นภาพที่ถ่ายในคืนถวายพระเพลิงจริง เวลาประมาณ 22.30 น. ขณะถ่ายภาพมองด้วยตาเปล่า จะเห็นเพียงเปลวไฟ และกลุ่มควันขาวกระจายเท่านั้น แต่เมื่อล้างฟิล์ม และอัดแล้ว จึงเห็นเป็นภาพปาฏิหาริย์ เจ้าของภาพได้นำมาถวายให้ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="เพ็ง เขมาภิรโต">เพ็ง เขมาภิรโต</st1:personName> เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล ด้วยเห็นเป็นอัศจรรย์เหมือนกัน กล้องสามารถจับแสง และรังสี อันพิสดารไว้ได้ โดยที่ตาเปล่าไม่อาจจะมองเห็นได้...อย่างงดงาม และบางภาพแม้จะดูมีลักษณะคล้ายกัน และถ่ายในมุมใกล้เคียงกัน แต่ลำแสงหรือรังสีที่ปรากฏนั้น ก็แตกต่างกันไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก่อนจะกล่าวต่อไป ผู้เขียนเห็นสมควรจะต้องเอ่ยถึงภาพปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในกรณีของท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน กุลเชฏโฐ">จวน กุลเชฏโฐ</st1:personName> ศิษย์เอกของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มรณภาพไปก่อนแล้วด้วย ภาพชุดนั้นถ่ายที่ภูทอก มีทั้งหมด 7 ภาพ ด้วยกัน ลักษณะมีรังสีในทำนองเดียวกันกับภาพชุดนี้ของหลวงปู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ถ่ายภาพปาฏิหาริย์ของภูทอก ครั้งแรกเข้าใจว่าภาพของตนเสีย มาบ่นกับเพื่อนว่าฟิล์มม้วนเดียวกัน ถ่ายมาทุกวัดดีหมด ( ผู้ถ่ายภาพร่วมไปในขบวนที่เดินทางไปทอดผ้าป่าหลายวัดด้วยกัน ) ทำไมมาเสียที่ภูทอกแห่งเดียว เจ้าของจะโยนภาพทิ้ง แต่เพื่อนขอนำมาให้ผู้เขียนดู ผู้เขียนพิจารณาแล้ว ก็เห็นประหลาดอยู่ด้วย มีลำแสงแปลกๆ พุ่งจากพระประธานบ้าง จากองค์ท่านพระอาจารย์จวนบ้าง และมีลำแสงฉวัดเฉวียงในอากาศบ้าง แสงเป็นสีฟ้าบ้าง เหลืองนวลบ้าง บางทีภาพถ่ายในเวลาติดกัน โดยสังเกตจากภาพบุคคลในรูปเหล่านั้น เกือบจะอยู่ในท่าเดียวกัน แต่แสงก็มีลักษณะต่างกันอยู่มาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้เขียนจึงนำภาพชุดนั้นไปถวายองค์ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน ท่านถามก่อนว่า">จวน ท่านถามก่อนว่า</st1:personName> เราคิดเช่นไร ผู้เขียนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็เรียนท่าน ภาพที่ภูทอกคิดว่าคงเป็นการถ่ายภาพ " ศักดิ์สิทธิ์ " หรือภาพ " เทวดา " โดยท่านคงจะมี " รังสี " ซึ่งเราไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนั้นความเคลื่อนไหวของเทพคงจะรวดเร็วยิ่งนัก ภาพที่ถ่ายในเวลาใกล้เคียงกัน ลักษณะแสงรังสี ( อันแสดงถึงการเคลื่อนไหว ) ถึงต่างกันไปมาก ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="จวน พยักหน้ารับว่า">จวน พยักหน้ารับว่า</st1:personName> ความเข้าใจของผู้เขียนถูกต้องแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต่อมาเมื่อได้มีโอกาสนำภาพไปถวายครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ รวมทั้งหลวงปู่ขาว ดูด้วย ท่านก็รับว่าเป็นภาพถ่ายรังสีของเทพเช่นกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น ครั้งนี้เมื่อภาพที่ถ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เอง เป็นไปในทำนองเดียวกันกับภาพปาฏิหาริย์ที่ภูทอก จึงเป็นไปได้ไหมว่ารังสีที่ปรากฏในภาพต่างๆกัน จะเป็นการถ่ายภาพ " เทพ " ได้เช่นเดียวกัน เป็นไปได้ไหมว่า ในคืนถวายเพลิงสรีระร่างของหลวงปู่นั้น ได้มี " ปวงเทพ " จากทิพย์วิมาน สวรรค์ รวมทั้งพรหมโลกเบื้องบนลงมาถวายสักการหลวงปู่ และแสดงภาพปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาพปาฏิหาริย์ชุดนี้ผู้เขียนได้ไปเห็นครั้งแรกที่วัดถ้ำกลองเพล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2527 ทางวัดจัดใส่กรอบตั้งให้บูชา มีทั้งหมด 6 ภาพด้วยกัน โดยใส่กรอบ 2 กรอบ กรอบละ 3 ภาพ เมื่อขออนุญาตจะนำมาลงพิมพ์ทำหนังสือ " อนาลโยปูชา " ท่านเจ้าอาวาสก็แกะออกจากกรอบมอบให้ผู้เขียน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รุ่งขึ้นวันที่ 8 ตุลาคม 2527 เมื่อนำภาพเหล่านี้ไปถวายให้ท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="แยง สุกาโม">แยง สุกาโม</st1:personName> และท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="เติมศักดิ์ ยุตติธัมโม">เติมศักดิ์ ยุตติธัมโม</st1:personName> ดูที่วัดภูทอก และกำลังวิจารณ์กันว่า อาจจะมีผู้สงสัยในพระบารมี และพระคุณานุคุณ<st1:personName w:st="on" productid="ของหลวงปู่ขาว อนาลโย">ของหลวงปู่ขาว อนาลโย</st1:personName> คิดว่ามีการอาศัยเทคนิคการถ่ายภาพ ล้างอัดจัดทำกันขึ้นจะได้หรือไม่ ระหว่างนั้นเราจึงสังเกตเห็นว่าภาพชุดนี้กลับกลายเป็นมี 7 ภาพ มีภาพเกินขึ้นมาอีก 1 ภาพ แทนที่จะเป็น 6 ภาพ ดังที่ได้รับมาจากท่านพระอาจารย์ที่วัดถ้ำกลองเพลเมื่อวันวาน และน่าสังเกตด้วยว่า ภาพทั้งหมดไม่มีภาพใดเหมือนหรือซ้ำกันเลย หากจะว่าเมื่อรับมาจากท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" productid="บุญเพ็ง เราอาจจะนับผิด">บุญเพ็ง เราอาจจะนับผิด</st1:personName> อาจจะมี 7 ภาพตั้งแต่ครั้งแรกแล้วก็เป็นได้ แต่...แกะภาพจากกรอบ 2 กรอบ และแต่ละกรอบก็มีภาพอยู่กรอบละ 3 ภาพ เช่นนี้จะไม่เรียกว่าภาพหลวงปู่แสดงปาฏิหาริย์ ก็ไม่ทราบว่าจะคิดอย่างอื่นอย่างใดได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราอดนึกรำพึงอีกครั้งไม่ได้ โอ...อย่าว่าแต่มนุษย์เราจะมีความชื่นชมปีติที่ได้มากราบบูชาหลวงปู่เลย แม้เทพเจ้าก็ยังปรารถนามาคารวะบูชาท่าน ด้วยถือเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ ยากจะหาบุญใดเปรียบปานได้เลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราช่างมีบุญจริงหนอ ที่ได้มีโอกาสมากราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟังคำสั่งสอนของท่าน ได้สัมผัสจิตใจอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมของท่าน แม้สังขารของท่านจะแตกดับไปแล้วตามธรรมดาของโลก แต่พระบารมีและพระคุณานุคุณ " อนาลโย คุโณ " ย่อมจะดำรงอยู่เป็นที่ระลึกนึกถึง เป็นที่เคารพบูชา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ต่อบรรดาศิษย์ ตลอดกาลนาน.

    ผู้เขียนและเรียบเรียง : คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต
    ผู้จัดพิมพ์ : เว็บไซต์บ้านเรือนไทย
     
  2. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    อนุโมทนา สาธุ ครับคุณRINN ที่นำเรื่องราวหลวงปู่มาเผยแพร่




    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...